<<<                   >>>

หลักสูตร เรียนพระอภิธรรมทางอินเตอร์เนต

 

ตอนที่ ๓ (ชุดที่ ๒) ประเภทของจิต

รูปาวจรจิต

 

          รูปาวจรจิต คือจิตที่เข้าถึงความเป็นฌาน ซึ่งเกิดจากการเจริญสมาธิ (สมถภาวนา) คำว่า ฌาน แปลว่า จิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน มีการเพ่งกสิณ หรือการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น
          ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นข้าศึกของฌาน คือ ธรรมที่คอยขัดขวางไม่ให้ฌานจิตเกิดขึ้น เรียกว่า นิวรณ์
 
          นิวรณ์ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. กามฉันทนิวรณ์
  คือ ความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และ การสัมผัสถูกต้อง ที่น่าอภิรมณ์ เมื่อใดที่ไปเพลิดเพลิน ติดใจในสิ่งเหล่านี้แล้ว จิตก็จะไม่สามารถเข้าถึงฌานได้
๒. พยาปาทนิวรณ์
  คือ ความมุ่งปองร้ายผู้อื่น เปรียบเหมือนน้ำ ที่เดือดพล่าน ถ้าจิตครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ ฌานจิตก็จะเกิดไม่ได้ จึงต้องใช้ปีติข่ม ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อฌานจิตนี้
๓. ถีนมิทธนิวรณ์
  คือ ความหดหู่ ความท้อถอย ไม่ใส่ใจ เป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น เปรียบเหมือนน้ำ ที่มีจอก มีแหนปิดบังอยู่ ถ้าจิตใจเกิดความท้อถอย ไม่ใส่ใจต่ออารมณ์ ที่กำลังเพ่งอยู่ ฌานย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องใช้วิตกข่ม ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ ต่อฌานนี้
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
  คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำ ที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ ถ้าจิตใจยังนึกคิด ในเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ จิตก็จะไม่สามารถที่จะเข้าถึงฌานได้ ต้องใช้สุขข่มอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์
  คือ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ เปรียบเหมือนน้ำที่ขุ่น เป็นตม หรือน้ำที่ตั้งไว้ในที่มืด ถ้าเกิดลังเล ไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงฌานไม่ได้ตราบนั้น ต้องใช้วิจารข่ม ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้เสีย
          
          เมื่อได้ข่มนิวรณ์ ที่เป็นปฏิปักษ์ธรรม ที่ขัดขวาง มิให้เกิดฌานได้เมื่อใด ฌานจิต จึงจะเกิดขึ้นได้เมื่อนั้น ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ ยังคงมีอยู่ประการใด ประการหนึ่งเพียงประการเดียว ฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เหตุนี้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงสำคัญยิ่ง ที่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานจิต ดังนั้นจึงเรียกธรรม ๕ ประการนี้ว่า เป็น องค์ฌาน เพราะเป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌานจิต กล่าวคือ
 
      องค์ฌาน มี ๕ ประการ
วิตก ทำหน้าที่ ข่มถีนมิทธนิวรณ์
วิจาร " ข่มวิจิกิจฉานิวรณ์
ปีติ " ข่มพยาปาทนิวรณ์
สุข " ข่มอุทธัจจนิวรณ์
เอกัคคตา " ข่มกามฉันทนิวรณ์
          
การข่มนิวรณ์ด้วยองค์ของฌานทั้ง ๕ มีดังนี้
           ๑. วิตก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เริ่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เป็นต้นว่า ใช้ดินมาทำกสิน แล้วยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ คือการเพ่งดวงกสิณ โดยไม่ให้จิตใจ ไปนึกคิดเรื่องราวต่าง ๆ ถ้าจิตนึกคิดเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ จิตก็จะตกไปจากการเพ่งดวงกสิณ ต้องยกจิตขึ้นสู่การเพ่งใหม่ จิตจะต้องเพ่งอยู่กับดวงกสิณตลอดเวลา เมื่อจิตเกิดความท้อถอย ความง่วง (ถีนมิทธะ) ก็จะเข้าครอบงำจิตใจได้ (วิตกเจตสิก ข่มถีนมิทธเจตสิก)
          
           ๒. วิจาร คือการประคองจิตให้มั่นคงอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคองจิต ไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง เหมือนการถลาไปในอากาศของนก (วิตกเหมือนการกระพือปีกของนก) ดังนั้น ผู้ปฏิบัติควรทำจิตใจ ให้ตั้งมั่น ไม่ให้เกิดความลังเลสงสัยเกิดขึ้นในจิตใจ ว่าการเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานจริงหรือ ถ้าเกิดลังเลใจ (วิจิกิจฉา) จิตก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง
          
          ๓. ปีติ คือความปลาบปลื้มใจ อิ่มเอิบใจในการเพ่งอารมณ์ เมื่อได้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ต้องประคองจิตให้มั่น โดยปราศจากการท้อถอย และลังเลใจ ความปลาบปลื้ม อิ่มเอิบใจย่อมเกิดขึ้น ขณะที่จิตมีปีติ ปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่นั้น ก็จะไม่มีความพยาบาท มุ่งร้าย หรือขุ่นเคืองใจ เข้ามาแทรกแซงได้
ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ มี ๕ ประการ คือ
๑) ขุททกาปีติ ปลาบปลื้มใจ เล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
๒) ขณิกาปีติ " ชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อยๆ
๓) โอกกันติกาปีติ " ถึงกับตัวโยกตัวโคลง
๔) อุพเพงคาปีติ " จนตัวลอย
๕) ผรณาปีติ " จนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วกายและใจ
          ปีติ ที่เป็นองค์ฌาน ที่สามารถข่มพยาบาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึงผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบ และมีกำลังน้อยอยู่
          
          ๔. สุข ในองค์ฌาน หมายถึง ความสุขใจ หรือโสมนัสเวทนา เมื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แล้ว ประคองให้จิตตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์ จนปีติเกิดเช่นนี้แล้ว สุขก็ย่อมเกิดตามมา ความสุข ก็คือความสงบ ที่ปราศจากความฟุ้งซ่าน รำคาญใจนั่นเอง
          
          ๕. เอกัคคตา คือจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ ในอารมณ์เดียว คือจะแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เอกัคคตามี ๓ ระดับ คือ
๑) ขณิกสมาธิ หรือบริกรรมสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้ชั่วขณะ หรือเป็นสมาธิ ขณะบริกรรม ว่าปฐวี ๆ เป็นต้น
๒) อุปจารสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใกล้จะได้ฌาน
๓) อัปปนาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่น หรือแนบแน่น อยู่ในอารมณ์ที่กำหนด ไม่ซัดส่ายไปไหน กิเลสไม่สามารถรบกวนได้ และอัปปนาสมาธิ ก็คือ ฌานจิต ที่เป็นอัปปนา เกิดขึ้นแล้ว
          
          การข่มนิวรณ์ ด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เป็นการประหาณ ไว้ได้นานตราบเท่าที่ ฌานยังไม่เสื่อม เปรียบประดุจหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็งอกขึ้นไม่ได้ฉันใด ถ้าฌานยังไม่เสื่อมนิวรณ์ ก็ไม่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ฉันนั้น หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็จะเสื่อมไปได้เมื่อนั้น
          
 
ตามนัยแห่งพระอภิธรรม จำแนกประเภทของฌานไว้ ๕ ฌาน เรียกชื่อว่า ฌานปัญจกนัย ฌานทั้ง ๕ นี้ได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ " - วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ " - - ปีติ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ " - - - สุข เอกัคคตา
ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ " - - - อุเบกขา เอกัคคตา
          
แต่ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามแนวแห่งพระสูตร จำแนกประเภทแห่งฌานออกเป็นฌาน ๔ เรียกว่า ฌานจตุกนัย ดังนี้
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ " - วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ " - - ปีติ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ " - - - อุเบกขา เอกัคคตา
          
          เหตุที่ทุติยฌาน ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ละวิตกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งต่างจากทุติยฌาน ตามนัย แห่งพระสุตตันตปิฎก ที่ละวิตกและวิจารได้พร้อมๆ กัน เป็นเพราะว่า การละวิตก และวิจารได้ในเวลาเดียวกัน สามารถกระทำได้เฉพาะ ผู้ปฏิบัติที่เป็นติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) เท่านั้น
          เหตุนี้ทางพระสูตร จึงแสดงว่า รูปฌานมี ๔ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็นฌาน ๘ และเมื่อกล่าวโดยการเข้าฌานสมาบัติ จะเรียกว่า สมาบัติ ๘
          ทางพระอภิธรรม แสดงว่า รูปฌานมี ๕ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็น ฌาน ๙ หรือ สมาบัติ ๙
 
          ปฐมฌานจะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีองค์ฌานคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ครบทั้ง ๕ เพื่อข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้สงบราบคาบ แต่หลังจาก ที่เข้าปฐมฌานได้อย่างชำนิชำนาญแล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับฌานจิต ก็จะอ่อนกำลังลง จนไม่สามารถเข้าแทรกแซงได้ เพราะถูกข่มไว้ ด้วยอำนาจของปฐมฌานจิต เมื่อมาถึงตอนนี้ หากผู้ปฏิบัติต้องการได้ฌานที่สูงขึ้นไป ก็จะต้องละองค์ฌานเบื้องต่ำ อันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข ตามลำดับ ฌานจิตก็จะเลื่อนสูงขึ้น ตามลำดับเช่นกัน

รูปาวจรกุศลจิต

 

รูปาวจรจิต มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๕ ดวง ได้แก่
รูปาวจรกุศลจิต ดวง คือ ปฐมฌานกุศล - ปัญจมฌานกุศล
รูปาวจรวิบากจิต ดวง คือ ปฐมฌานวิบาก - ปัญจมฌานวิบาก
รูปาวจรกิริยาจิต ดวง คือ ปฐมฌานกิริยา - ปัญจมฌานกิริยา
          
          เป็นจิตที่เกิดขึ้น โดยการบำเพ็ญสมาธิ หรือสมถภาวนา ในตอนแรก ย่อมเป็นมหากุศลจิต แต่เมื่อเจริญภาวนาไป จนได้สมาธิแนบแน่น เป็นอัปปนาสมาธิแล้ว จิตจึงเปลี่ยนจาก มหากุศลจิต เป็นรูปาวจรกุศลจิต ที่เกิดพร้อมกับองค์ฌาน ๕
 
รูปาวจรกุศลจิต มี ๕ ดวง คือ
รูปาวจรกุศลจิตดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นปฐมฌานกุศล (ฌานที่ ๑)
รูปาวจรกุศลจิตดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นทุติยฌานกุศล (ฌานที่ ๒)
รูปาวจรกุศลจิตดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นตติยฌานกุศล (ฌานที่ ๓)
รูปาวจรกุศลจิตดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นจตุตถฌานกุศล (ฌานที่ ๔)
รูปาวจรกุศลจิตดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นปัญจมฌานกุศล (ฌานที่ ๕)

รูปาวจรวิบากจิต

 

          เป็นจิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศลจิต ที่ทำหน้าที่เกิด (ปฏิสนธิ) ในรูปภูมิ คือเป็น จิตของรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๕ ดวง เท่ากับรูปาวจรกุศลจิต
 
รูปาวจรวิบากจิต มี ๕ ดวง คือ
รูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นปฐมฌานวิบาก (ฌานที่ ๑)
รูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นทุติยฌานวิบาก (ฌานที่ ๒)
รูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นตติยฌานวิบาก (ฌานที่ ๓)
รูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นจตุตถฌานวิบาก (ฌานที่ ๔)
รูปาวจรวิบากจิตดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นปัญจมฌานวิบาก (ฌานที่ ๕)

รูปาวจรกิริยาจิต

 

          เป็นจิตของพระอรหันต์ ที่เข้าถึงรูปฌาน มีลักษณะเช่นเดียวกับ รูปาวจรกุศลจิต แต่เกิดขึ้นกับ พระอรหันต์เท่านั้น จึงชื่อว่า รูปาวจรกิริยาจิต เพราะไม่มีผลเป็นวิบากจิตในอนาคต มี ๕ ดวง
 
รูปาวจรกิริยาจิต มี ๕ ดวง คือ
รูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นปฐมฌานกิริยา (ฌานที่ ๑)
รูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นทุติยฌานกิริยา (ฌานที่ ๒)
รูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นตติยฌานกิริยา (ฌานที่ ๓)
รูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นจตุตถฌานกิริยา (ฌานที่ ๔)
รูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย
เป็นปัญจมฌานกิริยา (ฌานที่ ๕)
 

อรูปาวจรจิต

 

         คือจิตที่มีอารมณ์อันปราศจากรูป (มีบัญญัติและนามเป็นอารมณ์)
          ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐาน จนได้รูปฌานชั้นที่ ๕ แล้ว หากปรารถนาที่จะเจริญฌานสมาบัติ ให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็จะต้อง เจริญอรูปฌานอีก ๔ ชั้นแต่ละชั้นมีลักษณะ ดังนี้
อรูปฌานชั้นที่ ๑ ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะเพ่งอากาศ ที่ว่างเปล่าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์ ในการเจริญกรรมฐาน อารมณ์เช่นนี้เรียกว่า กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ
อรูปฌานชั้นที่ ๒ ชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมนำเอาฌานจิต ที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน
อรูปฌานชั้นที่ ๓ ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญ วิญญานัญจายตนฌาน บ่อยๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่าอากาศ อันไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี หรือ วิญญาณ คือตัวรู้ รู้ว่า อากาศนั้น ไม่มีที่สิ้นสุดก็ดี จริงๆแล้วก็คือความไม่มีอากาสานัญจายตนฌาน ที่เป็นอารมณ์ ของวิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ปฏิบัติ จึงน้อมเอาสภาพที่ไม่มี อากาสานัญจายตนฌานเช่นนี้ มาเป็นอารมณ์ ในการเจริญกรรมฐานเรียกว่า นัตถิภาวบัญญัต
อรูปฌานชั้นที่ ๔ ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ผู้ปฏิบัติจะน้อมเอาความสงบอันประณีตละเอียดอ่อนของฌานจิต ที่เกิดในอรูปฌานชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌานจิต มาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน
 
          อรูปาวจรจิต หรือ อรูปจิต หรือ อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้น หรือ ๔ ฌานนี้ แต่ละฌานจะแตกต่างกันที่ลักษณะของอารมณ์เท่านั้น
          ส่วนองค์ฌานนั้น เหมือนกันทั้งหมด คือมีเพียงอุเบกขา กับเอกัคคตาเท่านั้น เช่นเดียวกันกับองค์ฌานของรูปาวจรปัญจมฌาน (รูปฌานที่ ๕) ดังนั้น จึงถือว่า อรูปฌานเป็น ปัญจมฌาน ด้วย
          
       อรูปาวจรจิต มี ๑๒ ดวง แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. อรูปาวจรกุศลจิต มี ดวง
๒. อรูปาวจรวิบากจิต มี ดวง
๓. อรูปาวจรกิริยาจิต มี ดวง

อรูปาวจรกุศลจิต

 

      อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นอในขณะที่เข้าอรูปฌาน ชั้นต่างๆ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
๑. อากาสานัญจายตนกุศลจิต
๒. วิญญานัญจายตนกุศลจิต
๓. อากิญจัญญายตนกุศลจิต
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต
 
 
       อรูปาวจรวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศลจิต ซึ่งจะนำไปเกิดเป็นอรูปพรหมโลกชั้นต่างๆ ตาม กำลังของอรูปาวจรกุศลจิต มีจำนวน ๔ ดวงเช่นกัน คือ
๑. อากาสานัญจายตนวิบากจิต
๒. วิญญานัญจายตนวิบากจิต
๓. อากิญจัญญายตนวิบากจิต
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิต
 
 
       อรูปาวจรกิริยาจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้น ในขณะที่เข้าอรูปฌาน ชั้นต่างๆ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
๑. อากาสานัญจายตนกิริยาจิต
๒. วิญญานัญจายตนกิริยาจิต
๓. อากิญจัญญายตนกิริยาจิต
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยาจิต
 
          การปฏิบัติทางจิต ในสายสมาธิ หรือสมถกรรมฐาน มีสูงสุดเพียงเท่านี้คือ มีรูปฌาน ๕ อรูปฌาน ๔ รวม เรียกว่า สมาบัติ ๙ ถ้านับรูปฌาน ๔ ตามนัยแห่งพระสูตร ก็จะเป็น
รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเรียกว่า สมาบัติ ๘
นั่นเอง
 
          ทั้งสมาบัติ ๙ หรือสมาบัติ ๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้เคยศึกษามาแล้ว ในสำนักของดาบสทั้ง ๒ ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงอำลาจากดาบสทั้ง ๒ มาแสวงหาทางพ้นทุกข์ ด้วยพระองค์เอง จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
          เพราะฉะนั้น การปฏิบัติทางจิตในสายสมาธิ (สมถกรรมฐาน) เพียงอย่างเดียวนั้น จึงไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ต้องเจริญสติปัฏฐาน หรือที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน เท่านั้น จึงจะเป็นหนทางพ้นทุกข์ ถึงซึ่งสันติสุข คือ พระนิพพานได

โลกุตตรจิต

 

โลกุตฺตร มาจากคำว่า โลก + อุตฺตร
โลก หมายถึง กามโลก (กามภูมิ)
รูปโลก (รูปภูมิ)         และ
อรูปโลก (อรูปภูมิ)
อุตฺตร หมายถึง เหนือ หรือพ้น
          โลกุตฺตร หมายถึง ธรรมที่เหนือโลกทั้ง ๓ ธรรมที่พ้นจากโลกทั้ง ๓
                    อันหมายถึง นิพพาน
 
          ดังนั้น โลกุตตรจิต จึงหมายถึง จิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์
       โลกุตตรจิต นั้นมี ๒ ชาติ คือ
ชาติกุศล  เรียกว่า โลกุตตรกุศลจิต หรือ มรรคจิต มีจำนวน ๔ ดวง
ชาติวิบาก  เรียกว่า โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต มีจำนวน ๔ ดวง เช่นกัน
  รวมเป็น โลกุตตรจิต ๘ ดวง  
 
 
          โลกุตตรกุศลจิต หรือ อีกนัยหนึ่ง เรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่จากโลก เป็นจิตที่ประหาณอนุสัยกิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน
       โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต กล่าวโดยย่อ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
๑. โสดาปัตติมัคคจิต
๒. สกทาคามิมัคคจิต
๓. อนาคามิมัคคจิต
๔. อรหัตตมัคคจิต
ดูภาพประกอบ

โลกุตตรวิบากจิต หรือผลจิต ๔ ดวง

 

          โลกุตตรวิบากจิต หรือ อีกนัยหนึ่งเรียกว่า ผลจิต เป็นจิตที่เป็นผลของ โลกุตตรกุศลจิต เป็นจิตที่พ้นจากโลก เป็นจิตที่ประหาณแล้ว ซึ่งอนุสัยกิเลส เป็นปฏิปัสสัมภณปหาน คือละได้โดยสงบ
          
           เมื่อมัคคจิต เกิดขึ้นและดับลงแล้ว ผลจิต ก็จะเกิดติดต่อกันทันทีทันใด โดยไม่มีระหว่างคั่น คือไม่มีจิตใดเกิดขึ้นมาคั่นเลย ดังนั้น จึงเรียก มัคคจิตว่า อกาลิโก เพราะเป็นเหตุให้ผลจิตเกิดขึ้น ในปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอกาลรอเวลาเลย
          
ผลจิต ๔ เมื่อกล่าวโดยย่อ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
๑. โสดาปัตติผลจิต
๒. สกทาคามิผลจิต
๓. อนาคามิผลจิต
๔. อรหัตตผลจิต
          
 
          
          กิเลสทั้งหมด จะเข้าประกอบ เฉพาะกับอกุศลจิตเท่านั้น ดังนั้น การประหาณกิเลสก็คือ การประหาณอกุศลจิต ทั้ง ๑๒ ดวง นั้นเอง กิเลสแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ การประหาณกิเลสแต่ละระดับ จะต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกันดังนี้
          
๑. วีติกกมกิเลส
          คือ กิเลสอย่างหยาบ ที่แสดงออกมาทางกาย หรือทางวาจา กิเลสชั้นนี้ระงับไว้ได้ด้วยศีล สงบได้เป็นครั้งคราว ขณะที่ยังมีการรักษาศีลอยู่ การประหาณในลักษณะนี้ เรียกว่า ตทังคปหาน
          
๒. ปริยุฏฐานกิเลส
          คือ กิเลสอย่างกลาง ที่เกิดอยู่ภายในใจ ไม่ถึงกับแสดงออกมาทางกาย หรือวาจา ตัวเองรู้ได้ ผู้อื่นบางทีก็รู้ บางทีก็ไม่รู้ กิเลสชนิดนี้สามารถข่มไว้ได้ ด้วยอำนาจของสมาธิ (อัปปนาสมาธิ) เป็นเวลานานตราบเท่าที่ สมาธิยังไม่เสื่อม การประหาณในลักษณะนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
          
๓. อนุสัยกิเลส
          คือ กิเลสอย่างละเอียด ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานของตนเอง และผู้อื่นก็ไม่สามารถรู้ได้ นอกจากพระพุทธองค์เท่านั้น ต้องประหาณด้วยปัญญา ในมัคคจิตทั้ง ๔ อันเป็นการประหาณได้ โดยสิ้นเชื้อ และจะไม่กลับมีขึ้นอีก การประหาณในลักษณะนี้ เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
 
โสดาปัตติมัคคจิต ประหาณโลภมูลจิต ที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และโมหมูลจิต ที่ประกอบด้วยความสงสัย
สกทาคามิมัคคจิต ประหาณกิเลสที่เหลือ ให้มีกำลังเบาบางลง
อนาคามิมัคคจิต ประหาณโทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง
อรหัตตมัคคจิต ประหาณโลภมูลจิต ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และ โมหมูลจิตที่ประกอบด้วย ความฟุ้งซ่าน ๑ ดวง
รวมมัคคจิต ๔ ดวง ประหาณอกุศลจิตได้ ๑๒ ดวง จึงไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีกเลย เพราะถูกประหาณอย่างสิ้นเชิง ด้วยมัคคจิตทั้ง ๔ เหมือนกับการถอนราก ถอนโคนต้นไม้ ไม่มีโอกาสที่ จะงอกขึ้นมาได้อีก
(ดูภาพประกอบ การจำแนกโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวง)
          
 
๑. เมื่อโสดาปัตติมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด โสดาปัตติผลจิต ก็เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นขึ้นมาทันที ชื่อว่าเป็น โสดาบันบุคคล หรือ เสขบุคคล
           โสดาบันบุคคล หรือ เสขบุคคล คือบุคคลที่จะต้องศึกษา เพียรพยายามประหาณกิเลส ส่วนที่เหลือต่อไปอีก ซึ่งต้องใช้เวลาอีกไม่เกิน ๗ ชาติ จึงจะประหาณกิเลสได้หมด แล้วจึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์
       โสดาบันบุคคล มี ๓ ประเภท คือ
๑) เอกพีชีโสดาบัน คือ โสดาบันที่จะเกิดอีกชาติเดียว ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว
๒) โกลังโกลโสดาบัน คือ โสดาบันที่จะต้องเกิดอีก ๒ – ๖ ชาติ ก็จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้มีอินทรีย์ไม่แก่กล้านัก คือปานกลาง
๓) สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน คือ โสดาบันจะต้องเกิดอีก ๗ ชาติ จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
          
เหตุที่พระโสดาบัน ต้องแบ่งเป็น ๓ ประเภท
          เนื่องจากการอบรมอินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มาไม่เท่ากัน คือ อย่างแรงกล้า ปานกลาง และอย่างอ่อน อย่างไรก็ดี พระโสดาบันทั้ง ๓ ประเภทนี้ จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ชื่อว่าได้ปิดประตูอบาย ได้อย่างแน่นอน แต่จะไปเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เทวดาบ้าง แต่ก็ยังมีพระโสดาบัน อีกประเภทหนึ่ง ที่มีอัธยาศัยยินดีพอใจ ในการท่องเที่ยวไปในวัฏฏะจนครบ ๗ ชาติ เรียกว่า วัฏฏภิรตโสดาบัน จะไปเกิดในเทวโลกทั้ง ๖ ตลอดจนอกนิฏฐพรหม เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี วิสาขามหาอุบาสิกา ท้าวสักกเทวราช เป็นต้น
          
๒. เมื่อสกทาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด สกทาคามิผลจิตย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ทำให้สำเร็จเป็น พระสกทาคามีบุคคล
           สามารถเข้าเสวยวิมุตติสุข (ความสุขที่เกิดจาก ผลของการประหาณกิเลส ของสกทาคามิมัคคจิต) ขณะเข้าผลสมาบัติได้ ซึ่งจะกลับมาเกิดในมนุษยโลก อีกเพียงครั้งเดียว และสำเร็จเป็นพระอรหันต์
 
       พระสกทาคามีบุคคล มี ๕ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
๒. ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
๓. ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก ไปเกิดบนเทวโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
๔. ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในเทวโลก มาเกิดในมนุษยโลก แล้วทำความเพียรจนสำเร็จพระอรหันต์
๕. ผู้สำเร็จเป็นพระสกทาคามีในมนุษยโลก ไปเกิดบนเทวโลก แล้วกลับมาเกิดในมนุษยโลก อีกครั้งหนึ่งทำความเพียรแล้วบรรลุพระอรหันต์
          
๓. เมื่อพระอนาคามิมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด อนาคามิผลจิตย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นทันที สำเร็จเป็น พระอนาคามีบุคคล
           ซึ่งจะไม่มาเกิดใหม่ในมนุษยโลกอีก จะไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา หรือจะไปเกิดในรูปภูมิ ๑๐ ที่นอกจากสุทธาวาส ๕ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และอรูปภูมิ ๔
       พระอนาคามีบุคคล มี ๕ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. พระอนาคามี ที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์ แล้วนิพพานในกึ่งแรกของอายุในภูมินั้น
๒. พระอนาคามี ที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์ แล้วนิพพานในกึ่งหลังของอายุในภูมินั้น
๓. พระอนาคามี ที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์ โดยไม่ต้องใช้ความเพียรมากแล้วนิพพาน
๔. พระอนาคามี ที่เกิดในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง บรรลุพระอรหันต์ ต้องใช้ความเพียรมากแล้วนิพพาน
๕. พระอนาคามี เกิดในสุทธาวาสตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๕ ตามลำดับ แล้วเข้านิพพาน ในชั้นที่ ๕ นั้น
          
๔. เมื่ออรหัตตมัคคจิต เกิดขึ้นแก่บุคคลใด อรหัตตผลจิต ก็จะบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นทันที เป็น พระอรหันต์
          ซึ่งเป็นการประหาณกิเลสขั้นสุดท้าย คือโลภมูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวง และโมหมูลจิต ที่ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน ๑ ดวง เป็นการประหาณอกุศลจิต ๑๒ ครบถ้วน อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ก็จะหมดไปโดยสิ้นเชิง ด้วยเพราะไม่มีที่จะอาศัยเกิด (อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง จะประกอบกับอกุศลมูลจิต ๑๒ ดวง เท่านั้น)
 
          พระอรหันต์ มีเรียกได้หลายชื่อตามลักษณะและความหมายต่าง ๆ ดังนี้
     พระอรหันต์ ๓ ประเภท (แบ่งตามลักษณะการประหาณกิเลส)
๑. พระอรหันต์ หมายถึง ผู้บริสุทธิ์จากกิเลส
๒. พระขีณาสพ หมายถึง ผู้สิ้นแล้วซึ่งอาสวกิเลส
๓. อเสขบุคคล หมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ต่อไปอีก
          
     พระอรหันต์ ๒ประเภท (แบ่งตามลักษณะของการหลุดพ้นจากอาสวกิเลส)
๑. ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ โดยการเจริญวิปัสสนา
๒. เจโตวิมุตติ หมายถึง ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ โดยการเจริญสมถและวิปัสสนา
          
     พระอรหันต์ ๓ ประเภท (แบ่งตามลักษณะระยะเวลาการสร้างบารมี)
๑. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
          โดยการตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้
๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
          ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แต่สอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่ได้
๓. พระอรหันตสาวก ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยทั่วไป
พระอรหันต์โดยทั่วไป แบ่งตามความสามารถออกได้อีก ๓ ประเภท คือ
ก. ปกติสาวก หมายถึง พระสาวก หรือพระอรหันต์ทั่วไป
ข. มหาสาวก หมายถึง พระสาวกผู้ใหญ่ผู้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า ๘๐ รูป ส่วนมากจะได้รับการยกย่องว่าเป็น เอตทัคคะ (ความเป็นเลิศ)
ค. อัคคสาวก หมายถึง พระโมคคัลลาน์ ซึ่งเป็นอัคคสาวกเบื้องซ้าย และ พระสารีบุตร พระอัคคสาวกเบื้องขวา ซึ่งจะเห็นในโบสถ์ที่ยืนอยู่ด้านซ้าย และขวาของพระประธาน
 
          
          
     พระอรหันต์ ๓ ประเภท (แบ่งตามลักษณะปัญญาที่รู้พิเศษ)
๑. พระอรหันต์ผู้มีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ คือ
๑) อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานรู้ในผลทั้งปวงที่มาจากเหตุ
๒) ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานรู้ในเหตุทั้งปวงที่มาจากผล
๓) นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานรู้ที่มาของผลและเหตุทั้งปวง
๔) ปฏิภานปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาที่แตกฉานในธรรม ๓ ประการข้างต้น มีความคล่องแคล่ว ว่องไว เฉียบแหลมคมคาย
๒. พระอรหันต์ผู้ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ดังกล่าวข้างต้น
          
อภิญญา ๓    อภิญญา ๖    (วิชา ๓ วิชา ๖)
อภิญญา ๖ คือ
๑) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
๒) ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์และรู้ว่าตายแล้วไปเกิดที่ไหน
๓) อาสวักขยญาณ รู้วิธีทำกิเลสให้หมดไป
๔) ปริจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น
๕) ทิพพโสตญาณ หูทิพย์
๖) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้

ตารางจำแนกจิต ๘๙ ออกเป็น ๙ ประเภท

 

๑. โดยชาติ
๒. โดยภูมิ ๓. โดยโสภณ
  มี ๔ ชาติ คือ
๑. อกุศลชาติ ๑๒
๒. กุศลชาติ ๒๑
๓. วิบากชาติ ๓๖
๔. กิริยาชาติ ๒๐
  มี ๔ ภูมิ คือ
๑. กามภูมิ ๕๔
๒. รูปภูมิ ๑๕
๓. อรูปภูมิ ๑๒
๔.
โลกุตตรภูมิ   ๘
  มี ๒ คือ
๑. อโสภณจิต ๓๐
๒. โสภณจิต ๕๙
     
     
          
๔. โดยโลก
๕. โดยเหตุ ๖. โดยฌาณ
  มี ๒ คือ
๑. โลกียจิต ๘๑
๒. โลกุตตรจิต
  มี ๒ คือ
๑. อเหตุกจิต ๑๘
๒. สเหตุกจิต ๘๑
  มี ๒ ชาติ คือ
๑. อฌาณจิต ๖๒
๒. ฌาณจิต ๒๗
          
๗. โดยเวทนา
๘. โดยสัมปโยค ๙. โดยสังขาร
  มี ๕ คือ
๑. สุขเวทนา
๒. ทุกขเวทนา
๓. โสมนัสเวทนา ๓๐
๔. โทมนัสเวทนา
๕. อุเบกขาเวทนา ๕๔
  มี ๒ คือ
๑. สัมปยุตตจิต ๕๕
๒. วิปปยุตตจิต ๓๔
  มี ๒ คือ
๑. อสังขาริกจิต ๓๗
๒. สสังขาริกจิต ๕๙
          
          โลกุตตรจิตโดยพิสดารนั้น คือ โลกุตตรจิคโดยย่อ ๘ ดวงนั้นเอง แต่นำไปจำแนกตามฌาณที่ได้ ดังตารางต่อไปนี้
มัคคจิต ๒๐ ดวง
มัคคจิต โดยย่อ ๔ ดวง มัคคจิต โดยพิสดาร ๒๐
รวม
(ดวง)
ตามนัยของ
การประหาณกิเลส
นัยของฌาณทีได้
ฌาณที่ ๑ ฌาณที่ ๒ ฌาณที่ ๓ ฌาณที่ ๔ ฌาณที่ ๕
๑. โสดาปัตติมัคคจิต
๒. สกทาคามิมัคคจิต
๓. อนาคามิมัคคจิต
๔. อรหัตตมัคคจิต
 
ผลจิต ๒๐ ดวง
ผลจิต โดยย่อ ๔ ดวง ผลจิต โดยพิสดาร ๒๐
รวม
(ดวง)
ตามนัยของ
การประหาณกิเลส
นัยของฌาณทีได้
ฌาณที่ ๑ ฌาณที่ ๒ ฌาณที่ ๓ ฌาณที่ ๔ ฌาณที่ ๕
๑. โสดาปัตติผลจิต
๒. สกทาคามิผลจิต
๓. อนาคามิผลจิต
๔. อรหัตตจิต
          
ดูภาพประกอบ ดังนี้

<<<                   >>>