ตอนที่ ๔ เรื่องเจตสิก
เจตสิก ๕๒
เจตสิก คืออะไร ? | |||||||||||||||||||||||
เจตสิก เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในจิตใจของคนเรา ที่ช่วยตัดสินใจ หรือปรุงแต่งจิตใจ ในการทำบุญและทำบาป ซึ่งธรรมชาตินี้ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกันกับจิต อาศัยวัตถุ เดียวกันกับจิต เหมือนกระแสไฟและแสงสว่าง ที่ต้องอาศัยหลอดไฟเกิดขึ้น | |||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||
เมื่อพิจารณาดูจิตใจ ของพี่น้องทั้งสองคนแล้ว จะพบว่า จิตใจของคนทั้งสอง ต่างก็ถูกปรุงแต่ง จากธรรมชาติอย่างหนึ่ง คือ เจตสิก นั่นเอง แต่เป็นเจตสิกคนละฝ่าย นางสาว ข. มีเจตสิกฝ่ายดีเข้าปรุงแต่งจิตใจ ทำให้เป็นคนใจบุญ สุนทาน ส่วน นาย ก. ถูกเจตสิกฝ่ายไม่ดีปรุงแต่งจิตใจ ทำให้เห็นดีเห็น ชอบสนุกเพลิดเพลิน ไปในทางฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำความเดือดร้อนให้กับ คนอื่นสัตว์อื่น | |||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||
การทำงานของเจตสิก | |||||||||||||||||||||||
จิต กับ เจตสิก เป็นนามธรรมเหมือนกัน จึงเข้าประกอบกันได้สนิท เหมือนน้ำกับน้ำตาล หรือ น้ำกับสีพลาสติก โดยจิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต ให้รู้อารมณ์เป็นไปต่าง ๆ ตามลักษณะของเจตสิก เช่นจิตเห็นพระธุดงค์กำลังเดินบิณฑบาต เจตสิกก็ปรุงแต่งจิตให้อยากทำบุญใส่บาตร กับพระธุดงค์องค์นั้นเป็นต้น ในการนี้จึงนับว่าจิต (เห็น) เป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่คิดจะทำบุญใส่บาตร จึงได้อิงอาศัยจิตเกิดขึ้น | |||||||||||||||||||||||
จำนวนเจตสิก | |||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||
แสดงภาพประกอบเจตสิก ๕๒
|
อัญญสมานาเจตสิก
คำอธิบายเจตสิกแต่ละดวง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปกิณณกเจตสิก
พวกที่ ๒ เข้าปรุงแต่งจิตใจในคนบางคน (ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อกุศลเจตสิก
๒. เจตสิกฝ่ายไม่ดี (อกุศลเจตสิก ๑๔) |
|
อกุศลเจตสิก เป็นเจตสิกที่ชั่ว ที่บาป ที่หยาบ ที่ไม่งาม ที่ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้เมื่อเข้าประกอบกับจิตแล้ว ก็ทำให้จิตเศร้าหมอง เร่าร้อน และทำให้เสียศีลธรรม |
อกุศลเจตสิก ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น ไม่ประกอบกับจิตอย่างอื่นเลย ขณะที่อกุศลเจตสิกเข้าปรุงแต่งจิตใจ จะทำให้จิตใจผู้นั้นเป็นคนใจบาปหยาบช้า ทำแต่ความชั่วความทุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายแก่ตนเองและสังคม เมื่อตายลงย่อมไปสู่ทุคติ คืออบายภูมิ ๔ ได้แก่นรก เปรต อสุรกายและเดรัจฉาน |
|
อกุศลเจตสิก แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม คือ กลุ่มของความมัวเมาลุ่มหลง (ไม่รู้ความจริง) กลุ่มของความโลภ กลุ่มของความโกรธ กลุ่มของความหดหู่ท้อถอย และ กลุ่มของความลังเลสงสัย |
โมจตุกเจตสิก
๑. กลุ่มของความมัวเมาลุ่มหลง โมจตุกเจตสิก(ไม่รู้ความจริง) |
|
เจตสิกกลุ่มนี้ เมื่อได้ประกอบ หรือสิงสู่จิตใจของผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นขาดสติสัมปชัญญะ ทำอะไรผิดพลาดไปหมด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นชั่วกลายเป็นดี คิด ทำ พูดในสิ่งที่ชั่วร้าย มองโลกในแง่ร้าย หาความสุขไม่ได้ เมื่อตายลงย่อมเข้าถึงอบายภูมิทั้ง ๔ หรือเข้าถึงความเป็นเดรัจฉาน ได้แก่ความหลงผิดไม่รู้ความจริง ความไม่ละอายต่อบาป ความไม่เกรงกลัวต่อบาป และฟุ้งซ่านรำคาญใจ ในความชั่วที่ได้กระทำไปแล้ว และความดีที่ไม่ได้ทำ ได้แก่ |
๑) โมหเจตสิก คือ ความหลง ทำให้ไม่รู้ความจริงของสภาวธรรม ไม่รู้เรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ หนทางที่จะดับทุกข์ เป็นต้น |
๒) อหิริกเจตสิก คือ ความไม่ละอายต่อบาป ไม่ละอายต่อการทำอกุศล เนื่องจากไม่เคารพในตนเอง ในวัย ในเพศ หรือในตระกูลของตน เป็นต้น จึงเกิดการทำชั่วโดยไม่ละอายต่อบาป |
๓) อโนตตัปปเจตสิก คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำอกุศลกรรม ไม่มีความเกลียดต่อบาป อันเนื่องมาจากในจิตใจนั้น ขาดความเคารพต่อผู้อื่น ไม่มีความเกรงใจผู้อื่น จึงสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นโดยง่าย |
๔) อุทธัจจเจตสิก คือ ความฟุ้งซ่าน ไม่มีความสงบใจ คิดนึกไปในเรื่องราวต่าง ๆ มากมายจนทำให้นอนไม่หลับ เนื่องจากขาดความฉลาด ที่จะผูกจิตใจของตนไว้กับท่าทางการนอน หรือลมหายใจ หรือผูกไว้กับการภาวนา พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก |
โลติกเจตสิก
|
||||||||||||||
โทจตุกเจตสิก
|
|||||||||||||||||||
ถีทุกเจตสิก
๔. กลุ่มของความหดหู่ท้อถอย (ถีทุกเจตสิก) เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ คือ |
|
๑) ถีนเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตใจหดหู่ท้อถอย ไม่อยากจะทำคุณงามความดี หรือเพียรพยายามต่อไป เวลาอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรมอยู่ จะเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร เช่นบางคนตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่พอปฏิบัติได้เพียง ๓ วัน ก็เกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย จนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถูก ถีนเจตสิก เข้าปรุงแต่งจิตใจ ทำให้เกิดความท้อแท้ขึ้นมานั่นเอง |
|
๒) มิทธเจตสิก คือ เจตสิกที่ทำให้จิตใจง่วงซึม ท้อถอยจากความตั้งใจ อยากที่จะนอนหรือนั่งสัปหงก โงกง่วง สมองไม่ปลอดโปร่งคิดอะไรไม่ออก จึงเป็นสิ่งที่กางกั้นกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทำนบกั้นน้ำไว้ ทำให้พืชไร่ไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำ |
|
เจตสิก ๒ ดวงนี้ เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้า ในด้านความคิดและการกระทำทั้งปวง จะเกิดพร้อมกันเสมอ ในคนที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง (สังขาริกจิต) ถ้าไม่เกิดก็ไม่เกิดด้วยกัน เหมือนดวงไฟกับ แสงสว่าง เมื่อดวงไฟหรี่แสงสว่างก็จะลดน้อยลงไปพร้อม ๆ กัน |
วิจิกิจฉาเจตสิก
๕. กลุ่มของความลังเลสงสัย วิจิกิจฉาเจตสิก เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือ |
|
วิจิกิจฉาเจตสิก คือ ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ จนไม่กล้าตัดสินใจในสิ่งที่เผชิญหน้าอยู่ เป็นเจตสิกที่ไม่มีกลุ่มมีเพียงดวงเดียวเท่านั้น เมื่อเกิดขึ้นกับจิตใจของคนเราแล้ว สามารถจะทำให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชาตินี้ ชาติหน้า จะมีจริงหรือ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำความดี ทั้งหลาย ทำให้ความดีที่กระทำอยู่ เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ เราควรจะได้มีความรู้ความเข้าใจ ในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือ มารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน |
โสภณเจตสิก
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วีรตีเจตสิก
๒. เจตสิกฝ่ายดีใช้ในการรักษาศีล | ||||||||
เรียกว่า วิรตีเจตสิก จะประกอบกับจิตของคน ในขณะรักษาศีล เป็นสภาวธรรมที่ปรุงแต่งจิตให้ งดเว้นจากการทำบาปมี ๓ ลักษณะด้วยกัน บางคนเว้นจากการทำบาป โดยอัธยาศัย มีจิตเมตตาต่อสัตว์ ทั้งหลายเป็นนิสัยประจำตน บางคนเว้นจากการทำบาปเป็นวัน ๆ เช่น การสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ในวันพระ เป็นต้น และลักษณะที่ ๓ เป็นการเว้นจากการทำบาปโดยเด็ดขาด ไม่ทำทุจริตทางกายวาจาเลย ได้แก่ จิตของพระอริยบุคคล | ||||||||
|
||||||||
การงดเว้นจากการทำบาปนี้ ชื่อว่าเป็นการเจริญกุศล ย่อมจะทำให้ผู้ปฏิบัติได้เกิดเป็นมนุษย์หรือ เกิดเป็นเทวดา หรือเป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานในที่สุด ย่อมเป็นที่รักที่พอใจของบุคคลทั่วไป จะมีความสุขสวัสดี ทั้งยามหลับและยามตื่น | ||||||||
|
อัปปมัญญาเจตสิก
๓. เจตสิกฝ่ายดีใช้ในการเจริญพรหมวิหาร | ||||||
|
||||||
ในชีวิตประจำวันของเรา ถ้าได้เห็นคนยากจน หรือคนขอทาน กำลังได้รับความทุกข์ หรือได้รับความอดอยากอยู่ จิตใจเราเกิดความสงสาร ปรารถนาต้องการให้เขาพ้นจากความทุกข์ ขณะนั้นกุศลจิต คือกรุณาเจตสิกได้เกิดขึ้นแล้วในจิตใจ ความสงบเยือกเย็นเป็นสุขย่อมเกิดขึ้น ถ้าได้พบกับบุคคล ที่ประสบกับความสุขความสมหวังในชีวิต และจิตใจพลอยแสดงความยินดี ชื่นชมที่เขาได้รับความสุขสมหวังนั้น ปรารถนาให้เขาได้รับความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปอย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ๆ เลย นี้ชื่อว่า มุทิตาเจตสิก ได้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ทำกรุณาและมุทิตาให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญในพรหมวิหารธรรม จิตใจจะมีความอ่อนโยนเป็นสมาธิ ถ้าทำให้มากขึ้น อาจถึงฌานได้ ผู้เจริญอยู่ในพรหมวิหารธรรม จะทำให้มีความสุขปราศจากทุกข์และศัตรู มีความสุขทั้งในยามตื่นและหลับ ทำให้เป็นผู้ฝันดี มีเทวดารักษา เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ ไฟ ยาพิษ และอาวุธไม่กล้ำกรายมาถึง ทำให้สีหน้าผ่องใสเมื่อใกล้ตายก็มีจิตผ่องใส เข้าถึงสุคติภพ |
ปัญญินทรียเจตสิก
๔. ปัญญินทรียเจตสิก | ||||||||||||||||||||||||||||||||
เป็นเจตสิกที่มีความสำคัญมาก เมื่อเข้าปรุงแต่งจิตแล้ว จะทำให้จิตนั้นรู้ และเข้าใจในเหตุผล สภาพความเป็นจริงของรูปนาม ทำให้เห็นความเป็นไปของรูปนามว่า รูปนามนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน ที่จะบังคับบัญชาสั่งการ ให้เป็นไปตามความปรารถนาได้ ตลอดจนรู้แจ้งในอริยสัจ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
การจำแนกปัญญา | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||
|