ตอนที่ ๖ (ชุดที่ ๒) เรื่องภพภูมิต่างๆ (มนุษย์ เทวดา พรหม)
|
|||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
ในแต่ละภูมิมีรายละเอียดปรากฏอยู่ ในพระอภิธรรมปริจเฉทที่ ๕ ในเอกสารชุดนี้ จะนำมา อธิบายพอสังเขป เป็นแนวทางให้เห็นภาพรวม ของภูมิต่าง ๆ เท่านั้น ดังนี้ | |||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
กามสุคติภูมิ หมายถึง ภูมิที่มีความเป็นอยู่ด้วยความสนุกเพลิดเพลินอยู่ในกามคุณอารมณ์ ล้วนแต่สวยงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทวภูมิ ซึ่งเป็นดินแดนที่ไปเสวยผลบุญ ที่ตนเองได้กระทำไว้ ทุกอย่างจะเป็นทิพย์ เพียงแต่ตั้งความปรารถนาต้องการสิ่งใด สิ่งนั้น ๆ ก็จะบังเกิดขึ้นมาทันทีด้วยอำนาจของบุญ อย่างไรก็ดีถ้าจะพิจารณาโดยหลักธรรมแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นกิเลสตัณหาทั้งสิ้น เป็นการติดอยู่ในรูปที่สวย ๆ เสียงที่ไพเราะ รสที่อร่อย ๆ หรือสัมผัสที่อ่อนนุ่ม ความยินดีในสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า กามตัณหา ซึ่งจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนกระวนกระวายใจ หาความสุขความสงบอย่างแท้จริงไม่ได้ | |||||||||||||||||||
ในกามสุคติภูมิ แบ่งได้เป็น ๗ ภูมิ คือ | |||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||
|
มนุษยภูมิ ๑
คำว่า มนุษยภูมิ หมายถึง ที่อยู่อาศัยของมนุษย์หรือของคน มนุษย์ที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดินนี้อยู่ในทวีปใหญ่ ๆ ๔ ทวีป ด้วยกัน อยู่ในทิศทั้ง ๔ ของเขาสิเนรุ มีทวีปใหญ่น้อยเป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐ รวมแล้วได้ ๒๐๐๐ ทวีป มีชื่อดังนี้ ดูภาพประกอบ | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
นอกจากนี้ ยังมี ภูเขาจักรวาล ซึ่งเป็นภูเขาที่กั้นระหว่างจุฬโลกธาตุด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||
ในสารัตถทีปนีฎีกา กล่าวไว้ว่า มหานรก ทั้ง ๘ ขุม และ อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกบริวารของมหานรก ตั้งอยู่ที่ใต้พื้นดินธรรมดา ลึกลงไปตรงกันกับ ชมพูทวีป รวมเนื้อที่กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ สูง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ยกมากล่าวโดยสรุปชี้ให้เห็นว่า ภูมิต่างๆ นั้น มีความสัมพันธ์กับ ขุนเขาสิเนรุ อย่างไร ซึ่ง คนในยุคปัจจุบันที่ไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรม ยากที่จะเชื่อหรือเข้าใจได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||
(ดูภาพประกอบท้ายชุด)
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติของมนุษย์ในชมพูทวีป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
๑. มีจิตใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง เป็นมนุษย์ที่มีจิตใจกล้าหาญที่จะทำดีและไม่ดีได้อย่างสุด ๆ คือ ในทางดีนั้น สามารถทำได้จนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า อัครสาวก มหาสาวก ปกติสาวก อภิญญาลาภี ฌานลาภี ตลอดจนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ตรงกันข้ามกับในทางที่ไม่ดีนั้น สามารถทำได้ถึงกับฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ กระทำโลหิตุปบาท และสังฆเภท (อนันตริยกรรม ๕) | ||||||||||||||||||||||||||||||
๒. มีความเข้าใจในเหตุอันควรหรือไม่ควร สามารถที่จะวิเคราะห์วิจัย ค้นคว้าหาเหตุผล ให้รู้สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริง | ||||||||||||||||||||||||||||||
๓. เข้าใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ชาวชมพูทวีป จะรู้และเข้าใจว่า การทำ การพูด การคิด อย่างไร จึงจะให้ประโยชน์ในชาตินี้ ให้ประโยชน์ในชาติหน้า หรือให้ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ทำให้พ้นจากทุกข์โดยเด็ดขาด | ||||||||||||||||||||||||||||||
๔. เข้าใจในสิ่งที่เป็นกุศล และอกุศล การทำ การพูด การคิด ที่เป็นไปด้วยอำนาจของความโลภ ความอยากได้ เป็นไปด้วยอำนาจของความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท หรือเป็นไปด้วยอำนาจของความลุ่มหลงมัวเมาก็จะหลีกเลี่ยงไม่กระทำ เพราะเข้าใจผลกรรมจากการทำ การพูด การคิดนั้น ๆ แล้วหันมาทำในสิ่งที่เป็นบุญกุศล การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญวิปัสสนา | ||||||||||||||||||||||||||||||
๕. เชื่อว่าพวกตนนั้นมีเชื้อสายมาจากพระเจ้ามนุ ซึ่งมีตำนานเล่าว่า พระเจ้ามนุนี้เป็นพระโพธิสัตว์ ที่ปกครองชาวชมพูทวีป มาด้วยความเที่ยงธรรม เสมือนบิดาปกครองบุตร ทำให้ชมพูทวีปมีความ รุ่งเรืองสืบทอดกันมา | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
ท่องแดนสวรรค์
|
||||||||||||||
ถ้าจะเปรียบเทียบความสุขในมนุษยโลก กับความสุขบนสรวงสวรรค์ในเทวภูมิแล้ว ห่างไกล กันเหมือนฟ้ากับดิน พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในวิตถตสูตร คัมภีร์อังคุตตรนิกาย อัฏฐนิบาต ว่า “ ราชสมบัติของมนุษย์ เป็นเหมือนสมบัติของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ในสรวงสวรรค์ ” หมายความว่า ถึงจะเกิดเป็นราชาพระมหากษัตริย์ หรือพระเจ้าจักรพรรดิ เสวยสุขอยู่ในราชสมบัติ เมื่อเทียบความสุขในเทวภูมิแล้ว ก็เทียบได้กับสมบัติของคนกำพร้า ซึ่งแทบจะไม่มีสมบัติอะไรติดตัวเลย ความพิเศษของเทวโลก เทวภูมิ หรือ เทวดานั้น มีอะไรที่ไม่เหมือนกับมนุษย์มี เช่น เทพบุตรเทพธิดาทุกคนในสรวงสวรรค์ ไม่มีคนแก่อย่างเมืองมนุษย์ มีแต่หนุ่มสาวเหมือนกันหมด เทพธิดาจะมีอายุราว ๑๖ ปี ส่วนเทพบุตรก็จะมีอายุราว ๒๐ ปี เหมือนกันหมดทุกคน จึงไม่มีคนแก่ในสรวงสวรรค์ ทุกอย่างจะเป็นทิพย์หมด เช่น อาหาร วิมาน ร่างกาย ซึ่งเราจะมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ เรียกว่า อทิสสมานกาย การเกิดขึ้นของเทวดาในสรวงสวรรค์ ไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ หรือครรภ์ของมารดาอย่างมนุษย์ เป็นการลักษณะของ โอปปาติกกำเนิด เมื่อเกิดขึ้นจะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวทันที | ||||||||||||||
|
||||||||||||||
๑. ถ้าสร้างบุญกุศลไว้มาก จะเกิดในวิมานของตนเอง เหมือนคนรวยย่อมมีบ้านของตนเอง ไม่ต้องไปเช่าหรืออาศัยคนอื่นอยู่ | ||||||||||||||
๒. ถ้าสร้างบุญกุศลไว้น้อย ไม่มีวิมานของตนเอง ก็ต้องไปเกิดในวิมานของเทวดาองค์อื่น ที่สร้างกุศลไว้มาก โดย | ||||||||||||||
|
||||||||||||||
นี่คือลักษณะการเกิดขึ้นของเทวดาประเภทโอปปาติกกำเนิด ซึ่งก็ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ควรรู้ควรเข้าใจเรื่องของเทวภูมิ | ||||||||||||||
|
||||||||||||||
|
๑. จาตุมหาราชิกาภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ ๑)
|
||||||||||||||||
มหาราชทั้ง ๕ นี้ เป็นผู้รักษามนุษยโลก หรือเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล ซึ่งมีสถานที่ปกครองตั้งแต่ตอนกลางของเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงมนุษยโลก มีอาณาเขตแผ่ออกไปจดขอบจักรวาล เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ทั้งหมด เป็นบริวารภายใต้อำนาจของมหาราชทั้ง ๔ | ||||||||||||||||
เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิแล้ว ๕๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ | ||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีอยู่ตั้งแต่กลางเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินที่มนุษย์อยู่ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้ | ||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ภุมมัฏฐเทวดา | ||||||||||||||||
ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะอยู่ตอนกลางรอบเขาสิเนรุ มีปราสาทเป็นวิมานของตนเอง สำหรับ เทวดาอื่นที่ไม่มีวิมาน ก็ต้องไปอาศัยอยู่ตามสถานที่ดังกล่าวข้างต้น โดยถือเอาสถานที่นั้นเป็นวิมานของตน | ||||||||||||||||
รุกขเทวดา | ||||||||||||||||
ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มีอยู่ ๒ จำพวก คือ พวกที่มีวิมานอยู่บนต้นไม้ กับพวกที่ไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานนั้น จะเอา วิมานตั้งอยู่บนยอดไม้ ส่วนเทวดาที่ไม่มีวิมานของตนเอง ก็จะอาศัยอยู่บนคบไม้ หรือ กิ่งก้านของต้นไม้ | ||||||||||||||||
อากาสัฏฐเทวดา | ||||||||||||||||
ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานของตนเองในอากาศ ตั้งอยู่ในอากาศ ภายใน และภายนอกของวิมาน จะประกอบด้วยรัตนะ ๗ อย่าง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ของกุศลกรรม คือ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ว เชียร เงิน และทอง บางวิมานก็มี ๒ รัตนะ บางวิมานก็มี ๓, ๔, ๕, ๖ รัตนะ ขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ตนได้สร้างไว้ วิมานเหล่านี้ จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ เขาสิเนรุ | ||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา บางพวกก็ขาดเมตตาธรรม จัดเป็นพวกเทวดาใจร้าย มี ๔ จำพวก คือ | ||||||||||||||||
๑. คันธัพพี คันธัพโพ | ||||||||||||||||
ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เรา เรียกกันว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ให้ เกิดเจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย หรือนำมาปลูกบ้านเรือน เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้าน เรือน หรือเครื่องใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น | ||||||||||||||||
๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี | ||||||||||||||||
ได้แก่ เทวดากุมภัณฑ์ ที่เราเรียกว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษา สมบัติต่าง ๆ มี แก้วมณี เป็นต้น และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีผู้ล่วงล้ำ ก้ำเกินก็ให้โทษต่าง ๆ เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรุฬหก | ||||||||||||||||
๓. นาโค นาคี | ||||||||||||||||
ได้แก่ พวก เทวดานาค จะมีวิชาเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องเที่ยวไปในมนุษยโลก บางทีก็เนรมิตเป็นคน หรือเป็นสัตว์ เช่น เสือ ราชสีห์ เป็นต้น โดยเฉพาะชอบลงโทษพวกสัตว์นรก เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรูปักขะ | ||||||||||||||||
๔. ยักโข ยักขี | ||||||||||||||||
ได้แก่ พวก เทวดายักษ์ จะพอใจในการเบียดเบียนสัตว์นรก เทวดา จำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เทวดาทั้ง ๔ จำพวกนี้ จะเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ เพราะอยู่ใกล้ชิดกับมนุษยภูมิ | ||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
มนุษย์จะไปเกิดเป็นเทพยดาในสรวงสวรรค์ นั้น จะต้องประกอบกรรมอันเป็นบุญเป็นกุศล เช่น การทำบุญใส่บาตร ทำทาน รักษาศีล เป็นต้น ในการจะไปเกิดในสวรรค์ชั้นใด ก็จะต้องทราบถึงวิธีการวางใจ ในการทำบุญว่า ทำเพื่ออะไร วางใจอย่างไรจะได้บุญมาก จะไปสวรรค์ชั้นใด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ใน ทานสูตร ว่า | ||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ตัวอย่างของผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือ | ||||||||||||||||
พระเจ้าพิมพิสาร แห่งกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของพระเจ้าอาชาตศัตรู ได้ทรงปฏิบัติธรรมจนสำเร็จเป็นโสดาบันบุคคล เมื่อสวรรคตแล้วก็ไปบังเกิด ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ เป็นสหายของท้าวเวสสุวรรณมหาราช ชื่อว่า ชนวสภยักษ์ |
๒. ดาวดึงสาภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ ๒)
ดาวดึงสาภูมิ หมายถึง ภูมิอันเป็นที่เกิดของบุคคล ๓๓ คน ที่ได้สร้างกุศลไว้ในอดีต เป็น “สหบุญญการี” ที่มี มาฆมานพ เป็นหัวหน้า เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดเป็นพระอินทร์ พร้อมบริวารอีก ๓๒ รวม เป็น ๓๓ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ในชั้นดาวดึงส์ ดาวดึงสาภูมินี้ เป็นผืนแผ่นดินผืนแรก ที่เกิดขึ้นในโลก หลังจากโลกนี้ถูกทำลายด้วยน้ำ เมื่อน้ำงวดลงแผ่นดินผืนแรก ที่โผล่ขึ้นก่อนแผ่นดินอื่น ๆ ก็คือ ยอดเขาสิเนรุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ นี้เอง | ||||||||
|
||||||||
เทวดาที่อยู่บนชั้นดาวดึงส์มีอยู่ ๒ จำพวก คือ | ||||||||
|
||||||||
|
||||||||
จักรวาลหนึ่ง ๆ วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์ ส่วนที่เป็น พื้นดิน หนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ โดยมี พื้นน้ำ รองรับหนา ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ น้ำนี้ตั้งอยู่บน ลม ซึ่งมีความหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ | ||||||||
เขาสิเนรุ เป็นภูเขาสูงสุดตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล หยั่งลงสู่ห้วงน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ และสูงขึ้นไปในอากาศ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ยอดเขาสิเนรุมีลักษณะกลม มีเทือกเขา ๗ เทือก ล้อมรอบอยู่ คือ | ||||||||
(ภาพสมมุติ)
|
||||||||
|
||||||||
๑.ยุคันธร ๒.อีสินธร
๓.กรวิก ๔.สุทัสสนะ ๕.เนมินทร
๖.วินัตตถะ ๗.อัสสกรรณ ซึ่งเป็นภูเขาทิพย์ |
||||||||
แผ่นดินชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่บนยอดเขาสิเนรุนี้ มีลักษณะกลม กว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สุทัสสนะนคร ซึ่งเป็นนครของพระอินทร์ กว้าง ๑๐๐ โยชน์ มี กำแพง ล้อมรอบ ๔ ชั้น มี ประตู ด้านละ ๒๕๐ ประตู รวม ทั้ง ๔ ด้าน มีประตู ๑,๐๐๐ ประตู | ||||||||
ในสุทัสสนะนครนี้ มี ปราสาทเวชยันต์ ที่เป็นที่อยู่ของท้าวสักกะ (พระอินทร์) ทิศใต้ของนครมีสวนดอกไม้ชื่อ นันทวัน กว้าง ๑๐๐ โยชน์ ในสวนมีสระโบกขรณี ๒ สระ คือ มหานันทา และจุฬนันทา ขอบสระและรอบ ๆ บริเวณสระปูลาดด้วยแผ่นศิลา เป็นที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ | ||||||||
ทิศตะวันตก ของสุทัสสนะนคร มีสวนชื่อ จิตรลดา กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง คือ วิจิตรา และ จุฬจิตรา | ||||||||
ทิศเหนือ ของสุทัสสนะนคร มีสวนชื่อ มิสสกวัน กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง คือ ธัมมา และ สุธัมมา | ||||||||
ทิศใต้ มีสวนชื่อ ผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง คือ ภัทรา และ สุภัทรา สวนทั้ง ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นรมณียสถาน สำหรับพักผ่อนรื่นเริงของเทวดาในชั้นดาวดึงส์ | ||||||||
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของสุทัสสนะนคร มีสวนอีก ๒ แห่ง คือ สวน ปุณฑริกะ และมหาวัน ที่สวนปุณฑริกะมี ต้นปาริชาติ สูง ๑๐๐ โยชน์ แผ่กิ่งก้านสาขาออกไป ๕๐ โยชน์ เมื่อคราวออกดอกจะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปไกล ๑๐๐ โยชน์ ที่ใต้ต้นปาริชาติมีแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ ยาว ๖๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ มีสีแดงเหมือนดอกชบา ยุบได้เวลานั่ง ฟูขึ้นเมื่อเวลายืนขึ้น หน้าแท่นศิลานี้มีศาลาฟังธรรม ชื่อว่า ศาลาสุธัมมา มีเจดีย์มรกต คือ จุฬามณี สูง ๑๐๐ โยชน์ ซึ่งบรรจุพระเขี้ยวแก้วข้างขวา ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระเกศา ที่ทรงตัดไว้ในตอนเสด็จออกบรรพชา | ||||||||
สวนมหาวัน เป็นที่ประทับสำราญพระอิริยาบถของ ท้าวสักกะเทวราช (พระอินทร์) มีสระโบกขรณี สุนันทา กว้าง ๔ โยชน์ และมีวิมานรายล้อมอยู่ ๑,๐๐๐ วิมาน | ||||||||
|
||||||||
ความเป็นอยู่ของเทวดาในชั้นดาวดึงส์ ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากผลบุญ ที่ได้กระทำไว้ อารมณ์ ที่ได้รับในชั้นดาวดึงส์ จึงล้วนแต่เป็นอารมณ์ที่ดีเลิศ เทพบุตร จะมีวัย ๒๐ ปี ส่วน เทพธิดา มีวัย ๑๖ ปี เหมือนกันทุก ๆ องค์ ไม่มีการแก่ เจ็บ ตาย ให้ปรากฏเห็น มีแต่ความสวยงาม เป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดไปจนกระทั่งตาย | ||||||||
เทวดาในเทวโลกนี้ เกิดขึ้นโดยโอปปาติกกำเนิด คือ โตทันที มีอวัยวะครบบริบูรณ์ ถ้าจะเกิดเป็น บุตรเป็นธิดา ก็จะเกิดขึ้น ในตัก ถ้าจะเกิดเป็น บาทบริจาริกา (ภรรยา) จะไปเกิดใน ที่นอน ถ้าเกิดเป็นเทวดา ผู้รับใช้ ก็จะเกิด ภายในวิมาน | ||||||||
เมื่อ เทวดาเกิด ขึ้น ในวิมาน ของเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งแล้ว ก็จะต้องเป็นบริวารของเจ้าของวิมานนั้น ๆ โดยเทวดาอื่นจะมาแย่งชิงไปไม่ได้ ถ้าเกิดระหว่างแดนวิมานต่อวิมาน ก็ต้องดูว่าใกล้เคียงกับวิมานขององค์ใด ก็จะเป็นบริวารของเจ้าของวิมานนั้น ถ้าเกิดระหว่างกลางวิมานต่อวิมาน ถ้าหันหน้าไปทางวิมานใด ก็ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของวิมานนั้น ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็จะพากันไปให้พระอินทร์เป็นผู้พิจารณา ถ้าผู้เกิดมาไม่หันหน้าไปทางวิมานใด ก็ต้องตกเป็นบริวารของพระอินทร์ไป | ||||||||
เทพบุตรองค์หนึ่ง ๆ อาจจะมีนางฟ้าเป็นบาทบริจาริกา (ภรรยา) ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐ หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่ตนได้ทำไว้ และเทวดาจำนวนมาก ที่ไม่มีวิมานเป็นของตนเอง บางทีก็เกิดความวุ่นวายทะเลาะวิวาท มีการพิพากษาตัดสินกันเหมือนกับมนุษยโลกของเรานี้ | ||||||||
ความเป็นอยู่ของเทวดาในเทวโลกนี้ ก็เป็นไปเช่นเดียวกับมนุษยโลก มีการไปมาหาสู่ เบียดเบียนกัน มีนักดนตรี นักร้อง เทพบุตร เทพธิดา มีความรักใคร่ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน หากขาดคู่ครอง ก็ย่อมจะเกิดความเบื่อหน่าย ในความเป็นอยู่ของตน ไม่เบิกบานรื่นเริงเหมือนเทวดาที่มีคู่ครอง เทวดาในชั้นดาวดึงส์ ทั้งหลาย ต่างก็ไปหาความสุขสำราญในสวนทั้ง ๔ แห่ง พร้อมด้วยบริวารของตน ๆ อย่างสำเริงสำราญ | ||||||||
ในเทวภูมื ชั้นดาวดึงส์มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง และเป็นเทวโลกที่มีความเกี่ยวพันกับ พระพุทธศาสนาอยู่มาก โดยเฉพาะพระอินทร์ หรือท้าวสักกะเทวราชซึ่งได้เกื้อหนุนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาติสุดท้าย ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีเป็นพระเวสสันดร และยังได้ตักบาตรแก่ พระมหากัสสปเถระที่ออกจากนิโรธสมาบัติด้วย เป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ให้ผลในทันที ทำให้รัศมีกายและวิมานที่เคยรุ่งโรจน์แจ่มจรัสน้อยนั้น กลับสวยงามเจิดจ้าขึ้นมาในทันที | ||||||||
|
||||||||
ผู้ที่ปรารถนาจะเกิดเป็นพระอินทร์ จะต้องหมั่นสร้างบุญกุศลโดยสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีคุณธรรม ๗ ประการ คือ | ||||||||
|
||||||||
ปัจจุบัน พระอินทร์หรือ ท้าวสักกะเทวราชองค์นี้ ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน แล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนา จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสักกปัณหสูตร นับเป็นพระอริยบุคคลขั้นแรก ในพระพุทธศาสนา และอยู่ในดาวดึงส์พิภพนี้ต่อไป จนสิ้นอายุขัย เมื่อจุติจากชั้นดาวดึงส์แล้ว จะมาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลก และสำเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล เมื่อสิ้นชีพแล้วก็กลับไปเกิดในชั้นดาวดึงส์อีก และได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นอายุแล้วจะไปบังเกิดเป็นพรหมโลก ในชั้นสุทธาวาสภูมิขั้นต้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐาภูมิ ตามลำดับ และเข้านิพพานในชั้นสุดท้ายนี้ นี่เป็นเรื่องราวของพระอินทร์พอสังเขป | ||||||||
สถานที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อัน เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญของเทวโลก คือ | ||||||||
|
||||||||
ศาลาสุธัมมา เป็นสถานที่ฟังธรรมในเทวโลก บรรดาเทวดาทั้งหลาย จะมาประชุมกันเพื่อฟังธรรม โดยมีท้าวสักกะเทวราช องค์อมรินทร์เป็นประธาน ศาลาสุธัมมานี้ ประกอบด้วยรัตนะ ๗ สูง ๕๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ พื้นประกอบด้วยแก้วผลึก เสาเป็นทอง เครื่องบนคือ ขื่อ คาน ระแนง เป็นต้นทำด้วยรัตนะทั้ง ๗ หลังคามุงด้วยอินทนิล เพดาน เสา ประกอบเป็นแก้วระพาฬ ลวดลายต่าง ๆ ช่อฟ้า ใบระกา ทำด้วยเงิน | ||||||||
ภายในศาลา ตรงกลางเป็นที่ตั้งธรรมาสน์สูง ๑ โยชน์ ทำด้วยรัตนะทั้ง ๗ ปกกั้นด้วยเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ข้างธรรมาสน์ เป็นที่ประทับของท้าวโกสีย์เทวราช ถัดไปเป็นที่ประทับของเทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์และเทวดาอื่น ๆ | ||||||||
ศาลาสุธัมมานี้ ตั้งอยู่ข้าง ต้นปาริฉัตร ซึ่งออกดอกปีละครั้ง เมื่อเวลาใกล้จะผลิดอก ใบปาริฉัตรจะมีสีนวล เวลานั้นเหล่าเทวดา จะมีความยินดีปรีดา ว่าอีกไม่ช้าจะได้เห็นดอกออกสะพรั่ง ฉายสีแดง เป็นรัศมีแผ่ไปในปริมณฑลประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ส่งกลิ่นหอมไปตามลมได้ไกล ๑๐๐ โยชน์ | ||||||||
ดอกปาริฉัตรนี้ เมื่อต้อง ลมกันตนะ
จะหล่นลงมาเอง ไม่ต้องสอยและมี ลมสัมปฏิจฉนะ รองรับดอกไม้ไม่ให้ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินได้ ลมปเวสนะ ทำหน้าที่พัดพาเอาดอกเก่าที่เหี่ยวเฉาออกไป ลมสันถกะ ก็จะพัดจัดระเบียบเรียบร้อย มิให้ไปกองรวมกัน |
||||||||
การฟังธรรมในศาลาสุธัมมานี้ เมื่อถึงเวลาที่จะมาประชุมฟังธรรม ท้าวสักกะอมรินทร์ ก็จะทรงเป่า สังข์วิชยุตตระ ซึ่งยาว ๑๒๐ ศอก ดังก้องกังวานทั่วไปทั้งภายในและภายนอกพระนครสุทัสสนะ เสียงสังข์ที่เป่าครั้งหนึ่งจะดังปรากฏอยู่นานถึง ๔ เดือนมนุษย์ | ||||||||
เทพบุตร เทพธิดาทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์ เมื่อได้ยินเสียงสังข์ ต่างก็พากันมาสู่ศาลาสุธัมมา รัศมีจากร่างกาย และแสงจากเครื่องประดับของเทวดาทั้งหลาย ก็สว่างไสวไปทั่วศาลา ท้าวสักกะเทวราช เมื่อเป่าสังข์แล้วก็เสด็จจากปราสาทเวชยันต์ พร้อมด้วยมเหสีทั้ง ๔ องค์ ทรงขึ้น ช้างเอราวัณ มีเทพยดาห้อมล้อมตามเสด็จ ไปสู่ศาลาสุธัมมา ประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านองค์ | ||||||||
สุนังกุมารพรหม เสด็จจากพรหมโลกมาแสดงธรรมเป็นประจำ แต่บางครั้งท้าวอมรินทร์ก็ทรงแสดงเอง หรือบางทีเทพบุตรผู้มีความรู้ธรรมะดีก็จะเป็นผู้แสดง | ||||||||
ศาลาสุธัมมานี้ แม้ในเทวภูมิเบื้องบนอีก ๔ คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี ก็มี ศาลาสุธัมมา เช่นเดียวกัน | ||||||||
เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้ว ๑๐๐ ปี ในมนุษย์เท่ากับ ๑ วัน ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ | ||||||||
|
||||||||
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ถ้าผู้ใดทำทานโดยไม่หวังผลบุญของการทำทาน แต่ทำทานโดยคิดว่าการทำทานนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม เมื่อตายลงย่อมไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์
|
||||||||
ตัวอย่างของผู้ไปเกิดในชั้นดาวดึงส์ คือ มาฆมานพ พร้อมด้วยสหาย ๓๒ คน ขณะที่เป็นมนุษย์ ได้ช่วยกันทำถนนหนทาง ทางเดินที่ไม่สะดวก ให้สัญจรไปมาได้สะดวก ขุดบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง เคารพนอบน้อมในผู้ใหญ่ บำรุงเลี้ยงบิดามารดา เมื่อสิ้นชีวิต จึงได้ไปบังเกิดเป็นพระอินทร์ ในชั้นดาวดึงส์สถาน พร้อมด้วยบริการดังกล่าวแล้ว | ||||||||
|
||||||||
ได้แก่สวนสวรรค์ซึ่งเป็นอุทยานทิพย์ที่มีชื่อเสียง ๔ อุทยานด้วยกัน คือ | ||||||||
|
||||||||
ซึ่งเป็นสวนขวัญอุทยานทิพย์ที่มีความรื่นรมย์ สนุกสนาน หาที่เปรียบไม่ได้ในมนุษยโลก ซึ่งเต็มไปด้วยบุปผาชาตินานาพรรณ มีสระโบกขรณีอันทิพย์ มีน้ำใสดั่งแก้ว มีก้อนศิลาที่เป็นทิพย์มีรัศมีรุ่งเรือง มีแท่นที่นั่งอันอ่อนนุ่มมีสีใสสะอาด เหล่าเทพบุตรเทพธิดา ก็จะมาในสวนสำราญเหล่านี้อย่างไม่ขาดสาย | ||||||||
เป็นสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง สร้างด้วยแก้วอินทนิลอันเป็นทิพย์ มีความสวยงาม รุ่งเรืองยิ่งนัก ยอดพระเจดีย์เป็นทองคำบริสุทธิ์ ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประการ (รัตนะคือแก้ว ๗ ประการ) เจดีย์นี้สูง ๘๐,๐๐๐ วา มีกำแพงทองคำล้อมรอบทั้ง ๔ ทิศ มีความยาว ๑๖๐,๐๐๐ วา ประดับด้วยธงนานาชนิด พระเจดีย์นี้เป็นที่บรรจุสิ่งที่มีค่ายิ่ง ๒ อย่าง คือ | ||||||||
๑. พระเกศโมลี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือมวยผมที่ตัดออก ขณะที่เสด็จออก บรรพชา (ภิเนษกรมณ์) และได้อธิษฐานว่า “ถ้าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้มวยพระเกศโมลีจงลอยขึ้นไปบนนภากาศเถิด อย่าได้ตกลงสู่พื้นปฐพีเลย” ครานั้นสมเด็จพระมหาอมรินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ในชั้นดาวดึงส์นี้ จึงนำเอาพระผอบทองมารองรับพระเกศโมลีไว้ แล้วนำขึ้นไปบนดาวดึงส์สวรรค์ สร้างเจดีย์สำหรับบรรจุพระโมลีโดยเฉพาะ | ||||||||
๒. พระบรมธาตุ เขี้ยวแก้วเบื้องขวา ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่ถวาย พระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โทณพราหมณ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ได้นำเอาพระเขี้ยวแก้วซ่อนไว้ที่ผ้าโพกศรีษะ แล้วจึงได้จัด พระบรมสารีริกธาตุที่เหลือออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อถวายแก่กษัตริย์ต่าง ๆ ในครั้งนั้น ท้าวสักกะเทวราช จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เขี้ยวแก้วจากผ้าโพกศรีษะของโทณพราหมณ์นั้น ลงสู่พระผอบทองคำทิพย์อีกทอดหนึ่ง ด้วยกิริยาอันเลื่อมใสยิ่ง แล้วรีบเสด็จมาประดิษฐานบรรจุไว้ในพระเกศจุฬามณีเจดีย์นี้ | ||||||||
อยู่ในอุทยานทิพย์ ปุณฑริกวัน มีบริเวณกว้างขวางมีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน กลางสวนนั้นมี ต้นไม้ทองหลางใหญ่แผ่สาขาอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งชื่อว่า ต้นปาริชาต หรือ กัลปพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ทิพย์ มีแท่นศิลาแก้วนามว่า “บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์” เป็นแท่นสีแดงดังดอกชบา อ่อนนุ่มดังฟูก เมื่อพระอินทราธิราชประทับ พักผ่อนอิริยาบถอยู่เหนือแท่นศิลาอาสน์แล้ว แท่นทิพย์นี้ก็จะอ่อนยุบลงไป และเมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้น แท่นศิลาก็จะฟูขึ้นเต็มตามเดิม เป็นแท่นศิลาที่ประหลาดมหัศจรรย์ ยุบและฟูขึ้นเองโดยธรรมชาติ | ||||||||
ต้นกัลปพฤกษ์นี้ ๑๐๐ ปี ถึงจะออกดอกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงคราวนั้นดอกไม้ในสวรรค์นี้ก็จะบานสะพรั่ง เหล่าเทพบุตรเทพธิดา ก็จะพากันมารื่นเริง ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาเฝ้า จนกว่าดอกไม้จะบาน ครั้นดอกไม้สวรรค์นั้นบานแล้ว ก็จะปรากฏแสงรุ่งเรือง งดงามยิ่งนัก รัศมีของดอกปาริชาต จะส่องรัศมีรุ่งเรืองไปไกลหลายหมื่นวา เมื่อลมรำเพยพัดพาไปในทิศใด ย่อมส่งกลิ่นหอมไปในทิศนั้น เป็นระยะไกลแสนไกล ดอกไม้นี้จะบานสะพรั่งไปทุกกิ่งก้านทั่วทั้งต้น ถ้าเทพบุตรเทพธิดาองค์ใด ปรารถนาจะได้ดอกปาริชาต ก็จะตกลงมาในมือดั่งรู้ใจ ถ้ายังไม่ได้รับในมือดอกก็ยังไม่ทันตกลงดิน โดยมีลมชนิดหนึ่งจะพัดชูดอกไว้ในอากาศ จนกว่าเทพยดาผู้ใดประสงค์ก็จะมารับเอาไป | ||||||||
เป็นเทวสถานที่อยู่ไม่ไกลจากต้นปาริชาตเท่าไรนัก เป็นศาลาทิพย์ที่งามสง่ายิ่งนัก ศาลานี้เต็มไปด้วยแก้วผลึก ประดับไปด้วยแก้วรัตนะ ๗ ประการ มีกำแพงล้อมรอบเป็นทองคำ ที่ศาลานี้มีดอกไม้พิเศษอีกชนิดหนึ่งชื่อว่า ดอกอสาพติ หนึ่งพันปีจะออกดอกครั้งหนึ่ง ส่งกลิ่นหอมอบอวล เทพธิดาทั้งหลาย ก็จะเปลี่ยนเวรกันมาเฝ้า โดยมีจิตผูกพันรักใคร่ดอกไม้นี้ยิ่งนัก | ||||||||
ศาลาสุธรรมานี้ เป็นที่ประชุมฟังธรรม ของเหล่าเทวดาสัมมาทิฏฐิทั้งหลาย ซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้น |
๓. ยามาภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ ๓)
ยามาภูมิ เป็นเทวภูมิ หรือ สวรรค์ ชั้นที่ ๓ ซึ่งสวยงามและประณีตกว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นสวรรค์ที่พรั่งพร้อม ด้วยความสุขที่เป็นทิพย์ ปราศจากความยากลำบากใด ๆ พระสยามเทวาธิราช หรือ เรียกว่า พระสุยามะ หรือ ยามะ ผู้เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองในสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งในสวรรค์แต่ละชั้นนั้นต่างก็ต้อง มีหัวหน้าที่เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองแต่ละชั้น ๆ คือ | |||||||
** สวรรค์ชั้นที่ ๑ จาตุมหาราชิกาภูมิ | |||||||
|
|||||||
** สวรรค์ชั้นที่ ๒ ดาวดึงสาภูมิ | |||||||
|
|||||||
** สวรรค์ชั้นที่ ๓ ยามาภูมิ | |||||||
|
|||||||
** สวรรค์ชั้นที่ ๔ ดุสิตาภูมิ | |||||||
|
|||||||
** สวรรค์ชั้นที่ ๕ นิมมานรดี | |||||||
|
|||||||
** สวรรค์ชั้นที่ ๖ ปรนิมมิตวสวัตดี | |||||||
|
|||||||
ยามาภูมินี้ เป็นภูมิที่ตั้งอยู่ในอากาศ จึงไม่มีเทวดาประเภทที่อาศัยบนพื้นดิน คือ กุมมัฏฐเทวดา มีแต่พวกอากาสัฏฐเทวดาพวกเดียว มีวิมาน ทิพยสมบัติ ร่างกาย สวยงามและประณีตกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ อายุขัยก็ยืนกว่าด้วย | |||||||
พื้นที่ของยามาภูมิอยู่ในอากาศ สูงกว่ายอดเขาสิเนรุ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีบริเวณกว้างขวางขยายออกไป จนจดกำแพงจักรวาล มีวิมานของเทวดาเรียงรายอยู่โดยทั่วไป | |||||||
เมื่อเทียบเวลาระหว่าง มนุษย์กับสวรรค์ชั้นยามาภูมิแล้ว ๒๐๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ในสวรรค์ชั้นยามา | |||||||
|
|||||||
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ถ้าผู้ใดทำทานโดยไม่คิดว่าเป็นการทำดี “แต่คิดว่า บิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เคยทำบุญทำทานมา โดยตลอด เราก็ควรจะได้ทำตามประเพณีที่ท่านเคยทำมา” | |||||||
ถ้าผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายใน สวรรค์ชั้นยามา | |||||||
ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในชั้นยามาภูมิ คือ อุบาสกผู้หนึ่ง มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้อุทิศถวายอาหารเป็นสังฆทาน แก่พระภิกษุสงฆ์วันละ ๔ รูปทุกวัน ได้จ้างบุรุษผู้หนึ่งคอยเปิดปิดประตูเวลา พระจะมารับสังฆทาน บุรุษนั้นต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ ที่มารับสังฆทาน ด้วยความนอบน้อมเลื่อมใสศรัทธา เมื่ออุบาสกผู้นั้นดับชีพลง ได้ไป บังเกิดในสวรรค์ชั้นยามา ส่วนบุรุษผู้ต้อนรับเฝ้าประตู ก็ไปบังเกิดในดาวดึงส์ สถานสวรรค์ชั้นถัดลงมา |
๔. ดุสิตาภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ ๔)
ดุสิตาภูมิเป็นสวรรค์ที่ปราศจากความร้อนใจ มีความยินดีแช่มชื่นใจในทิพยสมบัติของตนอยู่เป็นนิตย์ เป็นภูมิที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ ทั้งหลายก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลก และบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยังเป็นที่เกิดของผู้ที่จะเป็น อัครสาวก ก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลกอีกด้วย ดังนั้น เทวดาที่อยู่ในชั้นดุสิตาภูมินี้ จึงนับว่าเป็นเทวดาที่ประเสริฐกว่าเทวดาในภูมิอื่น ๆ |
ดุสิตาภูมิ เป็นภูมิที่ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากชั้นยามาขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีบริเวณแผ่กว้างออกไปจนจดขอบจักรวาล มีเทวดาที่เป็นอากาสัฎฐเทวดาเท่านั้น โดยมีท้าวสันตุสิตเทวราช เป็นผู้ปกครอง มีวิมาน ทิพยสมบัติ ร่างกาย สวยงามประณีตกว่าเทวดาในชั้นยามา อายุก็ยืนกว่าประมาณ ๔ เท่า |
เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิแล้ว ๔๐๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ในสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิ |
|
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ผู้ใดให้ทานโดยไม่คิดว่าทำตามบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี แต่ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงหากิน สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้หุงหากิน ถ้าเราไม่ให้ทาน ก็เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง เมื่อเขาตายลง ก็ย่อมไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต |
ตัวอย่างที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ได้แก่ พระนางสิริมหามายา พุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง ครั้นประสูตพระโพธิสัตว์แล้ว ๗ วัน ก็ดับขันธ์ไปอุบัติเกิด เป็นเทพบุตรงามโสภา อยู่ในสวรรค์ชั้นนี้ อาจมีคำถามว่า ทำไมต้องเกิดเป็นเทพบุตรซึ่งเป็นชาย เกิดเป็นเทพธิดาไม่ได้หรือ ด้วยเหตุผลมีว่า เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธชนนี ซึ่งมีบุญญาธิการ ถ้าไปเกิดเป็นเทพธิดาแล้ว หาก เทพบุตรองค์ใดเกิดความปฏิพัทธ์มีจิตรักใคร่เสน่หา จะเกิดเป็นโทษอย่างยิ่งแก่เทพบุตรองค์นั้น |
๕. นิมมานรดีภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ ๕)
นิมมานรดีภูมิเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๕ เทวดาที่เกิดในภูมินี้ย่อมมีความสนุกเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง ๕ ที่ตนเนรมิตขึ้นมาตามความพอใจของตน เทวดาที่เกิดอยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ดาวดึงส์ ยามา และดุสิตา ทั้ง ๔ ภูมินี้ ย่อมมีคู่ครองของตนเป็นประจำอยู่มากบ้าง น้อยบ้าง ตามบุญญาธิการของตน แต่ในชั้นนิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี ๒ ภูมินี้ ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เทพบุตรหรือเทพธิดาในชั้นนี้ เวลาใดที่จะปรารถนาใคร่เสพในกามคุณ เวลานั้นก็จะเนรมิตเทพบุตรเทพธิดาขึ้นมา ตามที่ใจปรารถนา เมื่อได้ เพลิดเพลินกับการเสพกามคุณนั้น ๆ สมใจแล้ว เทพบุตรเทพธิดาที่เนรมิตมานั้น ก็จะอันตรธานหายไป เมื่อ ปรารถนาอีกก็เนรมิตขึ้นมาใหม่ เมื่อสมปรารถนาแล้วก็หายไป มีความเพลิดเพลินเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป |
เมื่อพิจารณาดูแล้วก็น่าไปเกิด แต่เมื่อพิจารณาโดยสภาวธรรมแล้ว จะเห็นว่าเป็นการไปใช้ บุญเก่าจากที่ได้สะสมมาแล้วมากมาย พร้อมนี้ก็สะสมกิเลสใหม่ไปด้วย เมื่อหมดบุญเก่า ก็ต้องไปรับผลของกิเลสที่สะสมใหม่นั้นอีก เมื่อพ้นจากเทวภูมิแล้ว อาจจะไปเกิดในอบายภูมิได้ จึงไม่ควรที่จะยินดี แต่ให้มองเห็นวัฏฏะของชีวิตว่า ตราบใดเมื่อยังมีการเกิดอีก ความทุกข์ความโทมนัสไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แน่นอน |
นิมมานรดีภูมินี้ อยู่กลางอากาศห่างจากดุสิตาภูมิขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีแต่อากาสัฏฐเทวดา อย่างเดียว ที่มีความสวยงาม ประณีตกว่าเทวดาในชั้นดุสิตา มีอายุยืนกว่า ประมาณ ๔ เท่า |
|
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ผู้ใดทำทานโดยไม่คิดว่าเราหุงหากิน แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ได้หุงหากิน เราจะไม่ให้ทานก็ไม่บังควรอย่างยิ่ง แต่ได้คิดว่าเราจะให้ทาน เหมือนอย่างฤาษีทั้งหลาย ที่ได้กระทำมาในอดีต เมื่อตายลงย่อมไป บังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี |
ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ก็คือ หญิงชรายากจนอนาถา ผู้หนึ่ง ได้ใส่บาตรด้วยน้ำผักดอง แก่พระมหากัสสปเถระเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ พอตกกลางคืน เข้านอนเกิดเป็นโรคลมฉับพลัน ถึงแก่ความตาย ซึ่งก่อนที่จะตาย นางยังชื่มชมปีติโสมนัสอยู่ในใจ ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า ได้กรุณามาโปรดถึงหน้าบ้าน เพื่ออนุเคราะห์ให้นางได้ทำทาน ทำให้นางไปเกิดเป็นเทพนารี มีฤทธิ์ มีอนุภาพมากในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี เสวยทิพยสมบัติอยู่ในปราสาทพิมาน |
๖. ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ ๖)
ปรนิมมิตวสวัตดีภูมิเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๖ ที่มีความสุขความสำราญ มีความเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง ๖ เป็นอย่างยิ่ง เมื่อปรารถนาเสวยกามคุณเมื่อใด เทวดาองค์อื่นรู้ใจคอยปรนนิบัติ โดยเนรมิตให้ตามความต้องการ | ||||||||
เทวดาในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมินี้ ทั้งเทวดาที่เป็นเทพบุตรและเทพธิดา เวลาใดที่ปรารถนาจะเสวยในกามคุณ ก็มีเทวดาที่รู้ใจเนรมิตให้ เมื่อได้เสวยกามคุณสมความปรารถนาแล้ว สิ่งที่เนรมิตมาก็จะสิ้นไป เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี จึงไม่มีคู่ครองประจำเหมือนกับเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ดาวดึงส์ ยามา และ ดุสิตา | ||||||||
ปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ ตั้งอยู่ในอากาศ ห่างจากนิมมานรดีภูมิ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ปรนิมมิตวสวัตดี ภูมินี้มีแต่อากาสัฏฐเทวดาอย่างเดียว มีท้าวปรนิมมิตตเทวราช หรือ ท้าววสวัตดีเทวราช เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครอง อากาสัฏฐเทวดาทั้งหลายในภูมินี้ | ||||||||
วิมาน ทิพยสมบัติและร่างกาย มีความสวยงามประณีต มากกว่าเทวดาในชั้นนิมมานรดี มีอายุ ยาวกว่าประมาณ ๔ เท่า ถือว่าเป็นยอดภูมิ คือ ภูมิที่สูงสุดของเทวดาในเทวภูมิ ๖ ท้าววสวัตดีเทวราช ซึ่งปกครองในสวรรค์ชั้นนี้นั้น มิใช่มีอำนาจปกครอง แต่เฉพาะเทวดา ที่อยู่ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิเท่านั้น แต่ยังมีอำนาจปกครองทั่วไป ถึงสวรรค์ชั้นต่ำลงอีก ๕ ชั้นด้วย คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ด้วย | ||||||||
เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ แล้ว ๑,๖๐๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี | ||||||||
|
||||||||
ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า ผู้ใดทำทานโดยไม่ได้คิดว่า ทำทานตามฤาษีในอดีตที่เคยทำมา แต่คิดว่าทำทาน เพื่อให้จิตเกิดความปลื้มปีติในบุญที่ทำ | ||||||||
ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้แก่ นางสิริมา เดิมเป็นหญิงนครโสเภณีชั้นสูง เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนา จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สำเร็จเป็นโสดาบัน มุ่งหน้า ประกอบแต่การกุศลตลอดมา มีการถวายทาน รักษาศีล ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย ถวายสลากภัตวันละ ๘ สำรับ อาราธนาให้พระภิกษุสงฆ์ไปสู่เรือนตน เพื่อรับสลากภัตวันละ ๘ รูป ทุกวัน ทานจะถวายอาหารอย่างประณีตที่สุด เท่าที่จะทำได้ ถวายให้อย่างจุใจ ถวายภิกษุรูปเดียวสามารถจะฉันได้ถึง ๓ ถึง ๔ รูป เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นสูงสุดในเทวโลก เสวยสุขอันเปี่ยมล้นหฤทัยสุดจะพรรณา | ||||||||
|
||||||||
มารหมายถึง สิ่งที่มาขัดขวางการทำความดี ทำให้ผู้ที่จะทำความดีเกิดความหวาดกลัว หรือ ท้อแท้หมดกำลังใจ ในการที่จะทำความดีต่อไป มี ๕ ประเภท คือ | ||||||||
๑. กิเลสมาร | ||||||||
สิ่งที่มาขัดขวางในการทำความดี คือ กิเลส ที่มีอยู่ในใจ ได้แก่ นิวรณ์ของเรานั่นเอง ในขณะที่ทำความดี เช่น การทำทาน รักษาศีล หรือ เจริญภาวนา บางครั้งก็เกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย ไม่อยากที่จะทำความดีต่อไป ถ้าเราไม่รู้เท่าทันว่านั่นคือ มารเข้ามาดลใจแล้ว เราก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของมัน คือ เลิกทำความดีเสียกลางคัน กิเลสซึ่งเป็นมารที่อยู่ในใจเราก็ดีใจ ที่สามารถทำให้คนที่ทำความดี เลิกทำความดีลงได้ | ||||||||
๒. ขันธมาร | ||||||||
สิ่งที่มาขัดขวางก็คือ ร่างกายขันธ์ของเรานี้แหละเป็นตัวขัดขวาง ยิ่งย่างเข้าวัยชราก็เห็นได้ชัดเจน จะนั่งฟังเทศน์ก็นั่งไม่ได้นาน บางทีต้องนอนฟังเทศน์ ดูแล้วไม่เป็นการแสดงความเคารพพระธรรม หรือต่อพระสงฆ์ที่กำลังแสดงธรรม จะลุก จะยืน จะเดิน ก็ขัดยอกเจ็บปวดไม่คล่องตัว เหมือนอย่างตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว ฉะนั้น ที่พูดว่าแก่แล้วค่อยเข้าวัดนั้น ดูจะไม่ถูกต้องนัก นอกจากหามเข้าวัดเท่านั้น ในการทำความดี จึงต้องรีบทำแต่เมื่อตอนที่ยังมีร่างกายแข็งแรง เมื่อแก่เสียแล้วโอกาสที่ทำความดีก็มีน้อย หรือตายเสียก่อนที่จะทำความดี | ||||||||
๓. อภิสังขารมาร | ||||||||
การทำสมาธิจนได้อรูปฌาน ทำให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม นานแสนนาน แทนที่จะทำวิปัสสนากรรมฐาน ภายใน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อาจจะสำเร็จมรรคผลนิพพานได้ ดังนั้นการทำฌาน จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำมรรคผลนิพพานในระดับหนึ่ง | ||||||||
๔. เทวปุตตมาร | ||||||||
ก็คือเทวดานี้แหละเป็นมาร คอยสกัดกั้นขวาง มิให้คนเราได้เข้าถึงมรรคผล หรือสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เช่น มาขัดขวาง ในตอนที่พระโพธิสัตว์ทรงม้ากัณฑกะ พร้อมนายฉันนะ พญามารก็มาสกัดกั้น ไม่ให้พระโพธิสัตว์ออกบวช ได้บอกให้ทราบว่าอีก ๗ วัน สมบัติของพระจักรพรรดิอันได้แก่ จักรแก้ว แก้วมณี จะบังเกิดขึ้นแล้ว ขออย่าได้ทรงออกผนวชเลย และในตอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะตรัสรู้เป็นอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มารผู้นี้ก็ได้ส่งบุตรสาวชื่อ ตัณหา ราคา และอรดี มาร่ายรำยั่วยุให้พระองค์ ทรงมายินดีในกามคุณ เมื่อไม่ได้ผลก็ยกทัพมาชิงรัตนบรรลังค์ ที่ทรงประทับอยู่ว่าเป็นของตน ดังนั้นเทวดาพวกนี้จึงจัดว่าเป็น เทวปุตตมาร | ||||||||
๕. มัจจุมาร | ||||||||
มารคือความตาย เป็นสิ่งที่มาขัดขวางผู้ที่กำลังทำความดีอยู่ ให้ต้องสิ้นชีพลงหมดโอกาสที่จะเข้าถึง มรรค ผล นิพพานได้ ดังนั้น ความตายจึงจัดเป็นมารอย่างหนึ่ง | ||||||||
|
||||||||
การเสวยกามคุณของเทวดา ในสวรรค์ หรือ เทวภูมิ ทั้ง ๖ ชั้นนั้น มีวาทะของอรรถกถาฎีกา และ เกจิอาจารย์ กล่าวไว้ขัดแย้งกัน | ||||||||
วาทะของเกจิอาจารย์ ได้กล่าวไว้ว่า
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
วาทะของ อรรถกถา และ ฎีกา กล่าวไว้ตรงกันว่า | ||||||||
“ การเสวยกามคุณของเทวดาทั้ง ๖ ชั้น นั้นเป็นไปโดยปกติ เช่นเดียวกับพวกมนุษย์ทั้ง หลายนั่นเอง ” | ||||||||
|
||||||||
ในกามภูมิ ๑๑ สัตว์ที่ไม่เสพ อสัทธรรม หรือ เมถุนธรรม มี ๒ จำพวก คือ | ||||||||
|
||||||||
เพราะสัตว์นรก และ นิชฌามตัณหิกเปรต นั้น ต้องเสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส ถูกไฟนรก เผาผลาญร่างกายอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีโอกาสที่จะคิดนึกถึงกามคุณนั้นเลย | ||||||||
|
||||||||
ในเทวภูมินั้นมีพระอริยบุคคล มากกว่ามนุษยภูมิ เพราะการแสดงธรรมแต่ละครั้ง ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเทวดาฟังธรรมและสำเร็จเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระโสดาบันบุคคล และพระ สกทาคามีบุคคล ที่มีอยู่ในเทวโลกนั้น นับประมาณไม่ได้ เพราะมีจำนวนมากมาย | ||||||||
สำหรับพระอนาคามีบุคคล และพระอรหันต์ นั้น พระอนาคามีบุคคลเมื่อสิ้นชีพแล้ว จะไม่กลับมาเกิดในเทวโลกและมนุษยโลกอีก จะไปเกิดในพรหมโลก คือ สุทธาวาสภูมิ ๕ ส่วนพระอรหันตบุคคล เมื่อสิ้นชีพแล้วก็เข้าสู่ปรินิพพาน จะไม่เกิดอีก | ||||||||
มนุษยโลกในยุคปัจจุบัน เข้าสู่กลียุค
คือ มี สัปบุรุษ (คนดี) อยู่เพียง ๑ ส่วนใน ๔ ส่วน นอกนั้นเป็น อสัปบุรุษ (คนพาล) ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่สนใจในเรื่องปริยัติศาสนา และปฏิบัติศาสนา จึงขาดความรู้ความเข้าใจในศาสนา พอที่จะนำตน ให้พ้นจากปุถุชนสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ |
||||||||
|
ท่องพรหมโลก
|
|||||
ผู้ที่จะไปเกิดเป็นพรหมจะต้องได้ ฌาน ซึ่งถือว่าเป็นบุญ ที่มีกำลังแรงมาก ถ้าฌานไม่เสื่อม ชาติหน้าจะต้องไปเกิด เป็นพรหมแน่นอน ถือเป็น “ครุกรรม” คือกรรมหนักที่เป็นฝ่ายดี พรหมที่มีรูป หรือ รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น ดังนี้ | |||||
|
|||||
ได้แก่ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนบรรลุปฐมฌาน โดยมีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา | |||||
|
|||||
ดังนั้น ผู้ที่ได้ปฐมฌานจึงไปเกิดได้ ๓ ภูมิ ด้วยกันตามกำลังของฌานที่ได้ คือ | |||||
๑. พรหมปาริสัชชาภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้ เกิดด้วยอำนาจของปฐมฌาน ที่มีกำลังอ่อน เป็นพรหมที่ไม่มีอำนาจพิเศษอะไร จัดอยู่ในประเภทพรหมที่ เป็นบริวาร คอยรับใช้พรหมที่เป็นหัวหน้า คือ ท้าวมหาพรหม มีอายุ ๑ ใน ๓ มหากัป | |||||
๒. พรหมปุโรหิตาภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้เกิดด้วยอำนาจของฌาน ที่มีกำลังปานกลาง เป็นพรหมที่ปรึกษา ในกิจการงานของพรหมที่เป็นหัวหน้า คือ ท้าวมหาพรหม มีอายุ ๑ ใน ๒ ของมหากัป | |||||
๓. มหาพรหมาภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้เกิดด้วยอำนาจของฌานที่มีกำลังแก่กล้า เป็นพรหมที่เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ปกครองพรหมในชั้นปฐมฌานภูมิทั้งหมด มีอายุ ๑ มหากัป | |||||
ที่ตั้งของปฐมฌานภูมิ ๓
|
|||||
พรหมทั้ง ๓ ชั้นนี้ ตั้งอยู่กลางอากาศในระดับเดียวกัน ห่างจากเทวดาชั้นสูงสุด คือ ปรนิมมิตวสวัตดี ประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน สวนดอกไม้ และสระโบกขรณี อันล้วนด้วย รัตนะทั้ง ๗ มีรัศมีแวววาวสวยงามยิ่ง ถึงอย่างไรก็ดี เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ หรือลม ปฐมฌานภูมินี้ ย่อมถูกทำลายไปด้วยทุกครั้ง | |||||
|
|||||
ได้แก่ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน จนบรรลุทุติยฌาน หรือตติยฌาน ซึ่งมีจิตที่ละเอียดกว่าปฐมฌาน สำหรับทุติยฌาน องค์ฌานจะลดลงเหลือเพียง ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา ผู้ที่ได้ตติยฌาน องค์ฌานลดลงเหลือ ๓ คือ ปีติ สุข และ เอกัคคตา พรหมในทุติยฌานภูมินี้ เป็นพรหมที่มีรัศมีประจำกาย แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ เช่นเดียวกับปฐมฌานภูมิ คือ มีกำลังอ่อน ปานกลาง และแก่กล้า ดังนั้น ผู้ที่ได้ทุติยฌาน และตติยฌาน จะไปเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจของวิตกและวิจารนั้นใกล้เคียงกันมาก ในทุติยฌานภูมินี้ แบ่งออกเป็น ๓ ภูมิ คือ |
|||||
๑. ปริตตาภาภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้จะมี รัศมีไม่สว่างรุ่งโรจน์นัก เกิดด้วยอำนาจ ของทุติยฌานที่มีกำลังอ่อน เป็นพรหมที่เป็นบริวาร คอยรับใช้ พรหมที่เป็นหัวหน้า คือ อาภัสสรพรหม มีอายุ ๒ มหากัป | |||||
๒. อัปปมาณาภาภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีรุ่งโรจน์หาประมาณมิได้ เกิดด้วยอำนาจของทุติยฌานที่มีกำลังปานกลาง มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ในกิจการงานของอาภัสสรพรหม มีอายุ ๔ มหากัป | |||||
๓. อาภัสสราภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีแผ่ซ่านออกจากร่างกาย เกิดด้วยอำนาจ ของทุติยฌานที่มีกำลังแก่กล้า เป็นพรหมที่เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า อยู่ในชั้นทุติยฌานภูมิ ๓ มีอายุ ๘ มหากัป | |||||
ที่ตั้งของทุติยฌานภูมิ ๓
|
|||||
ทุติยฌานภูมิ ๓ นี้ ตั้งอยู่กลางอากาศ สูงจากปฐมฌานภูมิขึ้นมาประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน ดอกไม้ และสระโบกขรณี ที่สวยงามประณีตยิ่งกว่าปฐมฌานภูมิ ๓ | |||||
|
|||||
ได้แก่ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนบรรลุจตุตถฌาน เป็นฌานที่ประณีตกว่าทุติยฌาน และตติยฌาน องค์ฌานจะลดลงเหลือ ๒ คือ สุข และ เอกัคคตา เป็นพรหมที่มีรัศมีกายสวยงาม แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ กำลังอ่อน ปานกลาง และแก่กล้า แบ่งออกเป็น ๓ ภูมิ คือ | |||||
๑. ปริตตสุภาภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีสวยงามไม่มากนัก เกิดขึ้นด้วยอำนาจของจตุตถฌานที่มีกำลังอ่อน เป็นพรหมที่เป็นบริวารคอยรับใช้ พรหมที่เป็นหัวหน้า คือ สุภกิณหาพรหม มีอายุ ๑๖ มหากัป | |||||
๒. อัปปมาณสุภาภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีสวยงามหาประมาณมิได้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของจตุตถฌานที่มีกำลังปานกลาง เป็นพรหมที่ให้คำปรึกษา ในกิจการงานของพรหมที่เป็นหัวหน้า คือ สุภกิณหาพรหม มีอายุ ๓๒ มหากัป | |||||
๓. สุภกิณหาภูมิ | |||||
พรหมที่เกิดในภูมินี้จะ มีรัศมีสวยงามทั่วร่างกาย เกิดขึ้นด้วยอำนาจของจตุตถฌาน ที่มีกำลังแก่กล้า เป็นพรหมที่เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ปกครองพรหมในชั้นตติยฌานภูมิ ๓ ทั้งหมด มีอายุ ๖๔ มหากัป | |||||
ที่ตั้งของตติยฌานภูมิ ๓
|
|||||
ตติยฌานภูมิ ๓ นี้ ตั้งอยู่กลางอากาศห่างจากทุติยฌานภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ในระดับเดียวกันทั้ง ๓ ภูมิ ประกอบด้วยรัตนะทั้ง ๗ พรั่งพร้อมด้วยวิมาน สวน สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์ |
จตุตถฌาณภูมิ ๗
ได้แก่ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน จนบรรลุปัญจมฌาน เป็นฌานที่ประณีตกว่าจตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา แบ่งออกเป็น ๗ ภูมิ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคล ๕ ภูมิ เรียกว่า สุทธาวาสภูมิ ๕ อีก ๒ ภูมิ เป็นที่เกิดของอริยบุคคล และผู้ที่ยังไม่ได้เป็นอริยบุคคลได้ตามสมควร คือ |
๑. เวหัปผลาภูมิ |
เป็นภูมิที่มีผลอันไพบูลย์ พ้นจากอันตรายใด ๆ คือ เมื่อ โลกถูกทำลาย ด้วยไฟ ปฐมฌานภูมิ ๓ จะถูกทำลายหมด เมื่อคราว โลกถูกทำลายด้วยน้ำ ปฐมฌานภูมิ ๓ และทุติยฌานภูมิ๓ จะถูกทำลายหมด เมื่อ โลกถูกทำลายด้วยลม ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ และตติยฌานภูมิ ๓ จะถูกทำลายหมด ซึ่ง เวหัปผลาภูมินี้จะพ้นจากอันตรายทั้ง ๓ ขณะที่โลกถูกทำลาย พรหมในภูมินี้ มีอายุ ๕๐๐ มหากัป |
๒. อสัญญสัตตาภูมิ |
พรหมที่เกิดในภูมินี้จะมีแต่ รูปขันธ์อย่างเดียว ไม่มีนามขันธ์ เรียกว่า พรหมลูกฟัก มีลักษณะเหมือนหุ่น หรือพระพุทธรูป จะมีอริยาบถท่าทางต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่ที่ว่าตอนตาย จะอยู่ในลักษณะท่าทางอย่างไร ถ้าตายในลักษณะนั่งหรือยืน เมื่อไปเกิดในพรหมชั้นนี้ จะต้องนั่งหรือยืนอยู่อย่างนั้น ๕๐๐ มหากัป เท่าอายุ แล้วนามขันธ์ก็จะเกิดขึ้น เพื่อนำไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป |
ที่ตั้งของเวหัปผลาภูมิ และอสัญญสัตตาภูมิ
|
เวหัปผลาภูมิ และอสัญญสัตตาภูมิ ทั้ง ๒ นี้ ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ ในระดับเดียวกัน ห่างจากตติยฌานภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีสวนดอกไม้ สระโบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์ |
|
สุทธาวาสภูมิ เป็นภูมิของพระอริยบุคคล คือ พระอนาคามี และ พระอรหันต์ ที่บริสุทธิ์จากกามราคะ นอกจากนั้น ยังจะต้องเป็นผู้ที่ได้ปัญจมฌานด้วย มี ๕ ภูมิ คือ อวิหาภูมิ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ และอกนิฏฐาภูมิ ผู้ที่เกิดในสุทธาวาสภูมิแล้ว จะไม่เกิดซ้ำภูมิอีก จะเกิดสูงขึ้นไปตามลำดับ แต่ละภูมิตั้งอยู่ในอากาศ แต่ละชั้นไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันเหมือนอย่างปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ หรือ ตติยฌานภูมิ ซึ่งแต่ละภูมิในสุทธาวาสนี้ มีระดับสูงห่างจากกันระหว่างภูมิ ชั้นละ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ |
๑. อวิหาภูมิ |
พรหมที่เกิดในภูมินี้ จะต้องเป็นผู้มีสัทธินทรีย์แก่กล้า กว่าอินทรีย์อย่างอื่น ในอินทรีย์ ๕ (สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์) จะยึดมั่นในสถานที่ และทรัพย์สมบัติของตน อย่างไม่เสื่อมคลาย คือ เป็นภูมิที่ไม่ละทิ้งสถานที่ของตนแม้เวลาเพียงเล็กน้อย จนกว่าจะหมดอายุขัย คือ ๑,๐๐๐ มหากัป ผู้ที่เกิดในอวิหาภูมินี้ จะต้องเกิดด้วยกำลังของศรัทธาเป็นตัวนำ นับว่าเป็นผู้มีคุณวิเศษ ในบวรพุทธศาสนา เมื่อดับขันธ์สิ้นแล้ว จะอุบัติเกิดขึ้นในสุทธาวาสชั้นที่สูงขึ้น หรือถ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จ เป็นพระอรหันต์ก็จะดับขันธ์ เข้าสู่พระปรินิพพานในภูมินี้ |
๒. อตัปปาภูมิ |
เป็นที่สถิตย์ของพระอนาคามีบุคคล ผู้ไม่มีความเดือดร้อน เป็น ภูมิ ที่สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ ย่อมจะเข้าฌาน สมาบัติหรือผลสมาบัติอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้จิตเร่าร้อนจากนิวรณธรรม เพราะเป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร เป็นผู้ที่มีวิริยะ (วิริยินทรีย์) หรือความเพียรแก่กล้า กว่าอินทรีย์อื่น ๆ ในอินทรีย์ ๕ เมื่อสิ้นอายุขัย ๒,๐๐๐ มหากัป แล้วจะอุบัติเกิดขึ้นในสุทธาวาสชั้นที่สูงขึ้น หรือถ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็จะดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานในภูมินี้ |
๓. สุทัสสาภูมิ |
เป็นที่สถิตย์ของพระอนาคามีบุคคล ผู้ที่มีการเห็นชัดเจนแจ่มใส บริบูรณ์ด้วยประสาทจักขุ ทิพพจักขุ ธัมมจักขุ และปัญญาจักขุ เป็นผู้ที่เห็น ภัยในวัฏฏสงสาร อุตสาหะในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีสติ (สตินทรีย์) แก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น เมื่อสิ้นอายุขัย ๔,๐๐๐ มหากัปแล้ว ก็จะอุบัติเกิดขึ้นในสุทธาวาสชั้นที่สูงขึ้น หรือถ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็จะดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานในภูมินี้ |
๔. สุทัสสีภูมิ |
เป็นที่สถิตย์ของพระอนาคามีบุคคล ผู้ที่มีการเห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง กว่าสุทัสสาภูมิ ในประสาทจักขุ ทิพพจักขุ และปัญญาจักขุ ส่วนธัมมจักขุ นั้น มีกำลังเสมอกันกับสุทัสสาภูมิ เมื่อเห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็จะมีวิริยะในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่มีสมาธิ (สมาธินทรีย์) แก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น เมื่อดับขันธ์สิ้นอายุขัย ๘,๐๐๐ มหากัป แล้วจะอุบัติเกิดขึ้นในสุทธาวาสชั้นที่สูงขึ้น หรือถ้าบำเพ็ญเพียรสำเร็จ เป็นพระอรหันต์จะดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานในภูมินี้ |
5. อกนิฏฐาภูมิ |
เป็นสุทธาวาสชั้นสูงสุดเป็นยอดภูมิของพระอริยบุคคล ซึ่งพระอริยบุคคลทั้งหลาย ที่อยู่ในพรหมโลกจะต้องสำเร็จ เป็นพระอรหันต์แน่นอนในภูมิ นี้ พระอนาคามีที่จะต้องใช้ความเพียร เพื่อให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จะเป็นผู้ที่มีปัญญา (ปัญญินทรีย์) แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่น ทุกพระองค์จะเสวยอริยผล จนกว่าจะสิ้นอายุขัย ๑๖,๐๐๐ มหากัป เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วจะเข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นี้ |
ทุสสะเจดีย์
|
ในอกนิฏฐาภูมินี้ มีพระเจดีย์องค์หนึ่ง ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นพรหมโลก แสดงให้เห็นถึงการเคารพนับถือ ในบวรพระพุทธศาสนา เจดีย์ที่ประดิษฐานอยู่นี้มีชื่อว่า ทุสสะเจดีย์ หรือพระเจดีย์ผ้าขาว เป็นที่บรรจุเครื่องแต่งกาย ของพระโพธิสัตว์เจ้า สมัยที่ทรงออกผนวชแสวงหาวิโมกขธรรม โดยอกนิฏฐพรหม ได้นำเครื่องไตรจีวรมาถวายแทน แล้วเอาผ้าขาวที่พระองค์ทรงครองอยู่นั้น ออกจากพระวรกายแล้วมอบให้แก่พรหม พรหมก็ได้รับผ้าขาวนั้น ค่อยประคองพามา จนถึงอกนิฏฐสุทธาวาสพรหม เป็นเจดีย์ที่อกนิฏฐพรหมได้เนรมิตขึ้น เป็นพระเจดีย์แก้วที่มีรัศมีงามสุกใสยิ่งนัก สูง ๙๖,๐๐๐ วา ซึ่งเป็นที่บรรจุผ้าขาวทรงแห่งองค์พระโพธิสัตว์เจ้า เป็นที่สักการะบูชาของพรหมในภูมินี้ วันหนึ่ง ๆ จะมีพรหมมาบูชาสักการะไม่ขาดสาย นับเป็นเทวสถานที่สำคัญ ทางพระพุทธศาสนา ของพรหมโลกในการที่จะน้อมระลึกถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า |
พรหมโลกตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ถึงชั้นที่ ๑๖ ดังกล่าวมาแล้วเป็นรูปพรหม หรือพรหมที่มีรูปเป็นทิพย์ มนุษย์ธรรมดาสามัญไม่สามารถจะมองเห็นได้ จะเห็นได้ก็โดยทิพย์วิสัยเท่านั้น |
อรูปภูมิ ๔
อรูปภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูปร่าง เพราะเห็นโทษของการมีรูปร่าง อัตภาพร่างกายว่า เป็นไปด้วยทุกข์โทษนานาประการ จากการถูกทำร้าย ถูกประหาร มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เป็นต้น จึงขวนขวายในการเจริญสมถภาวนา เพื่อปรารถนาที่จะไม่มีรูปร่างกาย เมื่อบรรลุถึงอรูปฌานสิ้นชีพแล้ว จึงได้มาบังเกิดในอรูปภูมิ เป็นภูมิที่สูงสุด มีแต่นามคือจิตวิญญาณอย่างเดียว ไม่มีรูปร่างกาย ผู้ที่จะมาเกิดในภูมินี้ เป็นผู้ที่ได้เจริญในรูปฌานมาก่อน ในอรูปภูมิซึ่งเป็นแดนจิตวิญญาณนี้ มี ๔ ภูมิ คือ | ||||||
๑. อากาสานัญจายตนภูมิ | ||||||
ผู้ที่เกิดในภูมินี้จะต้องเจริญสมถกรรมฐานจนได้ปัญจม ฌาน มาก่อนแล้ว มาเจริญอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตน ฌาน กำหนดเอาอากาศที่อยู่ในปฏิภาคนิมิตมาเป็นอารมณ์ โดย ภาวนาว่า “อากาศมีไม่สิ้นสุด” จนสำเร็จอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌาน เมื่อสิ้นชีวิตลงก็จะมาเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ นี้ ซึ่ง มีแต่นาม ไม่มีรูป มีอายุเสวยในพรหมสมบัติ ๒๐,๐๐๐ มหากัป | ||||||
๒. วิญญานัญจายนตนภูมิ | ||||||
เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ วิญญาณัญจายตนพรหมผู้ ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยการพิจารณา จิตวิญญาณที่เข้าไปรู้ อากาศไม่มีที่สิ้นสุดในอากาสานัญจายตนฌาน ภูมินี้อยู่ห่างไกลจากอากาสานัญจายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๔๐,๐๐๐ มหากัป | ||||||
๓. อากิญจัญญายตนภูมิ | ||||||
เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ อากิญจัญญายตนพรหม ผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌาน ด้วยการพิจารณา ความไม่มีอะไร คือ ไม่มีทั้งอากาสและวิญญาณ ซึ่งเป็นอารมณ์ของอรูปฌานที่ ๑ และอรูปฌานที่ ๒ ภูมินี้อยู่ห่างไกลจากวิญญาณัญจายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่า วิญญาณัญจายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๖๐,๐๐๐ มหากัป ผู้ที่ไปเกิดอยู่ในภูมินี้ ได้แก่ อาฬารดาบสกาลามโคตร ผู้ซึ่งเป็นครูที่สอนการทำฌานสมาบัติ ให้แก่พระโพธิสัตว์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ก็คิดที่จะไปโปรดอาจารย์ผู้นี้ แต่เมื่อส่องทิพพจักขุญาณแล้ว ก็ทรงประจักษ์ว่า ท่านอาฬารดาบสผู้นี้ ได้ดับขันธ์ไปแล้วเมื่อ ๗ วัน ก่อนที่พระองค์ จะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ เข้าสู่ความเป็นอรูปพรหม คือ อากิญจัญญายตนภูมิ นี้ | ||||||
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ | ||||||
เป็นภูมิที่อยู่ของพรหม คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๓ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยการพิจารณาสัญญาที่เข้าไปรู้ ในบัญญัติอารมณ์ว่า มีก็ใช่ ไม่มีก็ใช่ อุปมาเสมือนกับ น้ำมันที่ทาบาตร จะว่าบาตรนั้น มีน้ำมันอยู่ก็ไม่ใช่ หรือไม่มีน้ำมันอยู่ก็ไม่ใช่ เพราะเทออกมาไม่ได้ ซึ่งเป็นฌานที่สูงสุด ภูมินี้จะอยู่ห่างไกลจากอากิญจัญญายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่ าอากิญจัญญายตนภูมิ เสวยในพรหมสมบัติ ๘๔,๐๐๐ มหากัป ผู้ที่ไป เกิดอยู่ในภูมินี้ได้แก่ อุทกดาบสรามบุตร ซึ่งเป็นครูสอนฌานสมาบัติ ให้แก่พระพุทธองค์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเดียวกับ อาฬารดาบส เมื่อพระองค์คิดจะไปแสดงธรรม ก็ได้ทราบโดยทิพพจักขุว่า อุทกดาบส ได้สิ้นชีพไปแล้ว เมื่อภพค่ำนี้เอง อุบัติเป็นอรูปพรหม ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ นี้ | ||||||
ทั้งหมดคือเรื่องราวของสังสารวัฏ ที่เราจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไปใน ๓๑ ภูมิ จนกว่าจะ ประหานกิเลสโดยสิ้นเชิง บรรลุพระอรหันต์ จึงจะจบชีวิตปิดสังสารวัฏได้ และ คงจะเป็นคำตอบได้ดี สำหรับคนที่เข้าใจว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ” และคงจะมีคนอีกจำนวนไม่น้อยทีเดียว ที่เข้าใจอย่างนี้ ถ้าจะช่วยกันชี้แจงความจริง ให้ทราบก็จะเป็นบุญกุศลไม่น้อยทีเดียว | ||||||
(ภาพสมมุติ)
|
||||||
|
||||||
จบตอนที่ ๖ ชุดที่ ๒ เรื่อง ภพภูมิต่าง
ๆ
|