<<<                  >>>

บทที่ ๑๐

สังขยา

สังขยา คือ คำสำหรับใช้นับจำนวนสุทธนาม วิเคราะห์ว่า "สงฺขยายเต ปริมาณียเตติ สงฺขฺยา จำนวนที่ถูกนับ ชื่อว่าสังขยา"  มี ๒ อย่าง คือ ปกติสังขยา และ ปูรณสังขยา

 

 

          ปกติสังขยา

 

ปกติสังขยา คือ คำที่ใช้นับจำนวนตามธรรมดา ดังนี้

 

 เอก                         จตุทฺทส จุทฺทส โจทฺทส          ๑๔
ทฺวิ ปญฺจทส ปณฺณรส ๑๕
ติ
โสฬส ๑๖
จตุ   สตฺตรส ๑๗
ปญฺจ   อฏฺฐารส ๑๘
  เอกูนวีสติ อูนวีสติ ๑๙
สตฺต   วีส วีสติ ๒๐
อฏฺฐ   เอกวีสติ ๒๑
นว   ทฺวาวีสติ พาวีสติ ๒๒
ทส ๑๐   เตวีสติ ๒๓
เอกาทส ๑๑   จตุวีสติ ๒๔
ทฺวาทส พารส  ๑๒   ปญฺจวีสติ ๒๕
เตรส ๑๓   ฉพฺพีสติ ๒๖
 สตฺตวีสติ       ๒๗            เตจตฺตาฬีส                        ๔๓
อฏฺฐวีสติ ๒๘ ปญฺญาส ปณฺณาส                       ๕๐
เอกูนตึสติ ๒๙
สฏฺฐี                     ๖๐
ตึส ตึสติ ๓๐   สตฺตติ                     ๗๐
เอกตฺตึส ๓๑   อสีติ                     ๘๐
ทฺวตฺตึส พตฺตึส ๓๒   นวุติ                     ๙๐
เตตฺตึส ๓๓   สต                   ๑๐๐
เอกูนจตฺตาฬีส ๓๙   สหสฺส                ๑,๐๐๐
จตฺตาฬีส ตาฬีส ๔๐   ทสสหสฺส นหุต              ๑๐,๐๐๐
เอกจตฺตาฬีส ๔๑   สตสหสฺส ลกฺข            ๑๐๐,๐๐๐
เทฺวจตฺตาฬีส ๔๒   ทสสตสหสฺส         ๑,๐๐๐,๐๐๐

 

    คุณิตปกติสังขยา

 

คุณิตปกติสังขยา คือ คำใช้นับจำนวนตามปกติที่มีการคูณ ดังนี้

 

ปกติสังขยาคูณด้วย     ชื่อสังขยา   เลข  จำนวนศูนย์ 
หนึ่ง            (ไม่มีคูณ)    เอก       -
สอง ถึง เก้า (ไม่มีคูณ) ทฺวิ ถึง นว ๒-๙
      -
หนึ่ง               คูณ สิบ ทส      ๑
สิบ                      " สต      ๒
ร้อย                     " สหสฺส      ๓
พัน                      " ทสสหสฺส, นหุต       ๔
หมื่น                    " สตสหสฺส, ลกฺข      ๕
แสน                    " ทสสตสหสฺส      ๖
แสน               คูณ ร้อย    โกฏิ      ๗
แสน โกฏิ             " ปโกฏิ     ๑๔
แสน ปโกฏิ           " โกฏิปฺปโกฎิ     ๒๑
แสน โกฎิปฺปโกฎิ   " นหุต     ๒๘
แสน นหุต             " นินฺนหุต     ๓๕
แสน นินฺนหุต        " อกฺโขภิ     ๔๒
แสน อกฺโขภิณี      " พินฺทุ     ๔๙
แสน พินฺทุ            " อพฺพุท     ๕๖
แสน อพฺพุท          " นิรพฺพุท     ๖๓
แสน นิรพฺพุท        " อหห     ๗๐
แสน อหห             " อพพ     ๗๗
แสน อพพ            " อฏฏ     ๘๔
แสน อฏฏ             " โสคนฺธิก     ๙๑
แสน โสคนฺธิก       " อุปฺปลฺล     ๙๘
แสน อุปฺปลฺล        " กุมุท    ๑๐๕
แสน กุมุท             " ปุณฺฑริก    ๑๑๒
แสน ปุณฺฑริก        " ปทุม    ๑๑๙
แสน ปทุม             " กถาน    ๑๒๖
แสน กถาน            " มหากถาน    ๑๓๓
แสน มหากถาน      " อสงฺเขฺยยฺย    ๑๔๐

 

อพฺพุทาทิปทุมาวสานํ  สีตนรกนามเธยฺยฏฺฐานํ.

 

อพฺพุท ถึง ปทุม   เป็นชื่อของสีตนรกที่หนาวจัด

 

จตฺตาลีสสตํ สุญฺญํ  อสงฺเขฺยยฺยนฺติ วุจฺจติ.

 

เลขศูนย์ ๑๔๐ ตัว เรียกว่า อสงฺเขฺยยฺย (อสงไขย)

 

 

 

             คาถาจำแนกสังขยาโดยลิงค์ ๓ วจนะ ๒

 

         ทฺวาทโย อฏฺฐารสนฺตา         ติลิงฺเค พหุวาจกา

         วีสตฺยาที นวุตฺยนฺตา             อิตฺถิลิงฺเคกวาจกา

         สตาที อสงฺเขฺยยฺยนฺตา         นปุํสกา ทฺวิวาจกา

         โกฏิตฺตยมกฺโขภิณี              อิตฺถิลิงฺคา ทฺวิวาจกา.

 

ทฺวิ (๒) ถึง อฏฺฐารส (๑๘)                   เป็น ๓ ลิงค์ พหุวจนะ

เอกูนวีสติ (๑๙) ถึง อฏฺฐนวุติ (๙๘)     เป็น อิตถีลิงค์ เอกวจนะ

เอกูนสต (๙๙) ถึง อสงฺเขฺยยฺย            เป็นนปุงสกลิงค์ ๒ วจนะ

โกฏิ ปโกฏิ โกฏิปฺปโกฎิ อกฺโขภิณี     เป็นอิตถีลิงค์ ๒ วจนะ

 

 

                จำแนกสังขยาโดยนาม ๓

 

         เอก   ถึง   จตุ               เป็นสัพพนาม

         ปญฺจ ถึง   อฏฺฐนวุติ      เป็นคุณนาม

         เอกูนสต  ขึ้นไป            เป็นสุทธนาม

วิธีจำแนกสังขยาสัพพนาม

 

      เอกสัททปทมาลา


ปุงลิงค์        อิตถีลิงค์                      นปุงสกลิงค์                   
วิ  เอกวจนะ              เอกวจนะ เอกวจนะ
ป. เอโก เอกา เอกํ
ทุ.   เอกํ เอกํ เอกํ
ต. เอเกน เอกาย เอเกน
จตุ. เอกสฺส เอกสฺสา เอกิสฺสา เอกาย   เอกสฺส
ปัญ. เอกมฺหา เอกสฺมา   เอกาย เอกมฺหา เอกสฺมา
ฉ. เอกสฺส เอกสฺสา เอกิสฺสา เอกาย เอกสฺส
ส. เอกมฺหิ เอกสฺมึ เอกสฺสํ เอกิสฺสํ เอกายํ เอกมฺหิ เอกสฺมึ
ทฺวิสัททปทมาลา ทั้ง ๓ ลิงค์    อุภสัททปทมาลา ทั้ง ๓ ลิงค์
วิภัตติ พหุวจนะ      พหุวจนะ
ปฐมา เทฺว ทุเว อุโภ อุเภ
ทุติยา เทฺว ทุเว อุโภ อุเภ
ตติยา ทฺวีหิ ทฺวีภิ อุโภหิ อุโภภิ อุเภหิ อุเภภิ   
จตุตถี ทฺวินฺนํ ทุวินฺนํ อุภินฺนํ
ปัญจมี ทฺวีหิ ทฺวีภิ อุโภหิ อุโภภิ อุเภหิ อุเภภิ
ฉัฏฐี ทฺวินฺนํ ทุวินฺนํ อุภินฺนํ
สัตตมี ทฺวีสุ อุโภสุ อุเภสุ

 

 

            ติสัททปทมาลา

     ปุงลิงค์      อิตถีลิงค์     นปุงสกลิงค์
วิภัตติ พหุวจนะ      พหุวจนะ พหุวจนะ
ปฐมา ตโย ติสฺโส ตีณิ
ทุติยา ตโย ติสฺโส ตีณิ
ตติยา ตีหิ ตีภิ ตีหิ ตีภิ ตีหิ ตีภิ
จตุตถี ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ  ติสฺสนฺนํ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ  
ปัญจมี  ตีหิ ตีภิ ตีหิ ตีภิ ตีหิ ตีภิ
ฉัฏฐี ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ ติสฺสนฺนํ ติณฺณํ ติณฺณนฺนํ
สัตตมี ตีสุ ตีสุ ตีสุ

 

 

         จตุสัททปทมาลา

          ปุงลิงค์   อิตถีลิงค์    นปุงสกลิงค์    
วิภัตติ   พหุวจนะ     พหุวจนะ พหุวจนะ
ปฐมา จตฺตาโร จตุโร   จตสฺโส
จตฺตาริ
ทุติยา จตฺตาโร จตุโร จตสฺโส จตฺตาริ
ตติยา จตูหิ จตูภิ จตุพฺภิ    จตูหิ จตูภิ   จตูหิ จตูภิ จตุพฺภิ 
จตุตถี จตุนฺนํ จตสฺสนฺนํ จตุนฺนํ
ปัญจมี จตูหิ จตูภิ จตุพฺภิ จตูหิ จตูภิ จตูหิ จตูภิ จตุพฺภิ   
ฉัฏฐี จตุนฺนํ จตสฺสนฺนํ จตุนฺนํ
สัตตมี จตูสุ จตูสุ จตูสุ

 

 

 

      สังขยาที่ไม่เป็นสัพพนามมีวิธีจำแนกดังนี้

 

        ปญฺจสัททปทมาลา ทั้ง ๓ ลิงค์

 วิภัตติ
พหุวจนะ
ปฐมา
ปญฺจ
ทุติยา
ปญฺจ
ตติยา ปญฺจหิ
จตุตถี ปญฺจนฺนํ
ปัญจมี ปญฺจหิ
ฉัฏฐี ปญฺจนฺนํ
สัตตมี ปญฺจสุ

 

ตั้งแต่ ถึง อฏฺฐารส จำแนกตาม ปญฺจ

 

     เอกูนวีสสัททปทมาลา อิตถีลิงค์

 วิภัตติ    เอกวจนะ    
ปฐมา เอกูนวีสํ
ทุติยา เอกูนวีสํ
ตติยา เอกูนวีสาย
จตุตถี เอกูนวีสาย
ปัญจมี     เอกูนวีสาย
ฉัฏฐี เอกูนวีสาย
สัตตมี เอกูนวีสาย  

 

วีส ถึง อฏฺญปญฺญาส จำแนกตาม เอกูนวีส

 

เอกูนวีสติ ถึง อฏฺฐนวุติ ถ้ามี ติ ลงท้ายให้จำแนกตาม รตฺติ ฝ่ายเอกวจนะ, ถ้ามี ส ลงท้ายให้จำแนกตาม เอกูนวีส, ถ้ามี อี ลงท้ายให้จำแนกตาม อิตฺถี ฝ่ายเอกวจนะ

 

เอกูนสต ถึง อสงฺเขฺยยฺย ให้จำแนกตาม จิตฺต ศัพท์ทั้ง ๒ วจนะ

โกฏิ ปโกฏิ โกฏิปฺปโกฎิ ให้จำแนกตาม รตฺติ ศัพท์ทั้ง ๒ วจนะ

อกฺโขภิณี ให้จำแนกตาม อิตฺถี ศัพท์ทั้ง ๒ วจนะ

ปูรณสังขยา

 

ปูรณสังขยา คือ คำที่ใช้นับให้เต็มหรือนับตามลำดับ ดังนี้

ปุงลิงค์     อิตถีลิงค์     นปุงสกลิงค์      คำแปล     
ปฐโม ปฐมา ปฐมํ  ที่ ๑
ทุติโย ทุติยา ทุติยํ  ที่ ๒
ตติโย ตติยา ตติยํ  ที่ ๓
จตุตฺโถ จตุตฺถา จตุตฺถี   จตุตฺถํ  ที่ ๔
ปญฺจโม ปญฺจมา ปญฺจมี  ปญฺจมํ  ที่ ๕
ฉฏฺโฐ ฉฏฺฐา ฉฏฺฐี ฉฏฺฐํ  ที่ ๖
สตฺตโม สตฺตมา สตฺตมี สตฺตมํ  ที่ ๗
อฏฺฐโม อฏฺฐมา อฏฺฐมี อฏฺฐมํ  ที่ ๘
นวโม นวมา นวมี นวมํ  ที่ ๙
ทสโม ทสมา ทสมี ทสมํ  ที่ ๑๐
เอกาทสโม  เอกาทสี เอกาทสึ   เอกาทสมํ  ที่ ๑๑
ทฺวาทสโม พารสโม  ทฺวาทสี พารสี ทฺวาทสมํ พารสมํ   ที่ ๑๒
เตรสโม เตรสี เตรสมํ  ที่ ๑๓
จตุทฺทสโม จุทฺทสโม  จตุทฺทสี จาตุทฺทสี จตุทฺทสมํ  ที่ ๑๔
ปณฺณรสโม ปญฺจทสโม  ปณฺณรสี ปญฺจทสี  ปณฺณรสมํ  ที่ ๑๕
โสฬสโม โสฬสี โสฬสมํ  ที่ ๑๖
สตฺตรสโม สตฺตทสโม สตฺตรสี สตฺตรสมํ  ที่ ๑๗
อฏฺฐารสโม อฏฺฐาทสโม อฏฺฐารสี อฏฺฐารสมํ  ที่ ๑๘
เอกูนวีสติโม เอกูนวีสติมา เอกูนวีสติมํ  ที่ ๑๙
วีสติโม วีสติมา วีสติมํ  ที่ ๒๐

 

   ปูรณสังขยาเป็นคุณนาม มีใช้ทั้ง ๓ ลิงค์ เอกวจนะอย่างเดียว ให้จำแนกตามสุทธนามในลิงค์และการันต์นั้น ๆ

บทที่ ๑๑

อัพยยศัพท์

 

อัพยยศัพท์ คือศัพท์ที่คงรูปเดิมไว้ จำแนกโดยลิงค์ การันต์ วิภัตติและวจนะไม่ได้ วิเคราะห์ว่า "น พฺยยํ อพฺยยํ ศัพท์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปชื่อว่าอัพยยะ" มี ๓ อย่าง คือ ปัจจยันตะ อุปสัค และนิบาต

 

๑. ปัจจยันตะ

 

    ปัจจยันตะ คือศัพท์สุทธนามและสัพพนามที่มีปัจจัยอยู่สุดท้าย ใช้ปัจจัยประกอบข้างหลังแทนวิภัตติ และมีอรรถเหมือนวิภัตติก็มี ใช้ปัจจัยประกอบข้างหลังจากธาตุก็มี แบ่งออกเป็น ๔ อย่าง คือ

 

    ๑. โตปัจจัย ประกอบหลังสุทธนามและสัพพนาม มีอรรถตติยาวิภัตติ แปลว่า "ข้าง, โดย" เช่น ปุรโต ข้างหน้า, มีอรรถปัญจมีวิภัตติ แปลว่า "แต่, จาก" เช่น ตโต ฐานโต แต่ที่นั้น, จากที่นั้น

 

    ๒. ปัจจัย ๙ ตัว คือ ตฺร ตฺถ ห ธ ธิ หึ หํ หิญฺจนํ ว ประกอบหลังสัพพนาม มีอรรถสัตตมีวิภัตติ แปลว่า "ใน..." เช่น ตตฺร ตตฺถ ใน...นั้น, อิห อิธ ใน...นี้, สพฺพธิ ใน...ทั้งปวง, กุหึ กุหํ กุหิญฺจนํ กว ใน...ไหน

 

    ๓. ปัจจัย ๗ ตัว คือ ทา ทานิ รหิ ธุนา ทาจนํ ชฺช ชฺชุ ประกอบหลังสัพพนาม มีอรรถกาลสัตตมี แปลว่า "ในกาล, ในเวลา" เช่น สทา ในกาลทุกเมื่อ, อิทานิ เอตรหิ ในเวลานี้, อธุนา ในกาลนี้, กุทาจนํ ในกาลไหน, อชฺช ในวันนี้, ปรชฺชุ ในวันอื่น

 

    ๔. ปัจจัยกิตก์ ๕ ตัว คือ ตเว ตุํ ตุน ตฺวา ตฺวาน, ปัจจัย ๒ ตัวแรกลงหลังธาตุ มีอรรถจตุตถีวิภัตติ แปลว่า "เพื่อ" เช่น กาตเว กาตุํ เพื่อกระทำ, ปัจจัย ๓ ตัวหลังลงหลังธาตุในอดีตกาล แปลว่า "แล้ว" เช่น กาตุน กตฺวา กตฺวาน กระทำแล้ว

 

    ส่วนปัจจัยอื่นนอกนี้ เช่น ปัจจัยในนาม ตัทธิต อาขยาต กิตก์ ไม่จัดเป็นอัพยยศัพท์

๒. อุปสัค

 

    อุปสัค คือศัพท์ที่ใช้ประกอบหน้านามเหมือนเป็นคุณนามและประกอบหน้ากิริยาเหมือนเป็นกิริยาวิเสสนะ ทำให้มีอรรถพิเศษขึ้น วิเคราะห์ว่า "อุเปจฺจ นามกฺริยานํ อตฺถํ สชฺชนฺตีติ อุปสคฺคา บทที่เข้าไปปรุงแต่งเนื้อความของนามและกริยา ชื่อว่าอุปสัค" มี ๒๐ ตัว คือ

 

    ป ปรา นิ นี อุ ทุ สํ วิ อว (โอ) อนุ ปริ อธิ อภิ ปติ (ปฏิ) สุ อา อติ อปิ อป อุป

 

    ต่อไปจะแสดงอรรถของอุปสัคทั้ง ๒๐ ตัว

 

 

 

    ป อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

ปการ             อุ. ปญฺญา      รู้ทั่ว     
อาทิกมฺม   อุ. วิปฺปกตํ ทำค้างไว้   
ปธาน อุ. ปณีตํ สูงสุด, ประณีต   
อิสฺสริย อุ. ปภู อยํ เทสสฺส   ผู้นี้เป็นใหญ่ในประเทศ  
อนฺโตภาว อุ. ปกฺขิตฺตํ ใส่เข้าไว้
วิโยเค อุ. ปวาสี แยกกันอยู่
ตปฺปร อุ. ปาจริโย บูรพาจารย์
ภุสตฺถ อุ. ปวุทฺธกาโย ผู้มีร่างกายใหญ่โต
สมฺภว อุ. ปภวติ เริ่มต้น, เกิดขึ้น
ติตฺติ อุ. ปหูตมนฺนํ ข้าวมากเพียงพอ
อนาวิล อุ. ปสนฺนมุทกํ น้ำใสสะอาด
ปตฺถน อุ. ปณิหิตํ ตั้งความปรารถนา เป็นต้น

 

 

    ปรา อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

ปริหานิ           อุ. ปราภโว           ความเสื่อม
ปราชย อุ. ปราชิโต ปราชัย, แพ้
คติ อุ. ปรายนํ การไปสู่ภพหน้า
วิกฺกม อุ. ปรกฺกมติ ก้าวไปข้างหน้า, ก้าวหน้า
อามสน อุ. องฺคสฺส ปรามสนํ   การลูบคลำอวัยวะ เป็นต้น

 

 

    นิ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

นิสฺเสส             อุ. นิรุตฺติ        คำกล่าวที่กล่าวโดยไม่เหลือ
นิคฺคต อุ. นิกฺกิเลโส     ปราศจากกิเลส
     นิยฺยาติ ออกไป
นิหรณ อุ. นิทฺธารณํ การถอดถอน
อนฺโตปเวสน อุ. นิขาโต ฝังไว้
อภาว อุ. นิมฺมกฺขิกํ (รังผึ้ง) ไม่มีตัวอ่อน
นิเสธ อุ. นิวาเรติ ห้ามไว้
นิกฺขนฺต อุ. นิพฺพานํ นิพพานอันออกจากตัณหา
ปาตุภาว อุ. นิมฺมิตํ เนรมิต
อวธารณ อุ. นิจฺฉโย การตัดสิน
วิภชน อุ. นิทฺเทโส การชี้แจง, การแสดงโดยพิสดาร 
อุปมา อุ. นิทสฺสนํ อุทาหรณ์, การแสดงเปรียบเทียบ  
อุปธารณ อุ. นิสามนํ การพิจารณา
อวสาน อุ. นิฏฺฐิตํ จบ, อวสาน
เฉก อุ. นิปุโณ ฉลาด เป็นต้น

 

 

    นี อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

นีหรณ              อุ. นีหรติ      นำออก
อาวรณ อุ. นีวรณํ กีดขวาง, กั้นไม่ให้บรรลุความดี เป็นต้น

 

 

    อุ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อุคฺคต             อุ. อุคฺคจฺฉติ      ขึ้นไป     
อุทฺธกมฺม   อุ. อาสนา อุฏฺฐิโต    ลุกขึ้นจากที่นั่ง  
    อุกฺเขโป ยกขึ้น
ปธาน อุ. อุตฺตโม ประเสริฐ, สูงสุด
      โลกุตฺตโร ธรรมอันเหนือโลก  
วิโยค อุ. อุพฺพาสิโต ถูกแยกจากกัน
สมฺภว อุ. อุพฺภูโต เกิดขึ้นแล้ว
อตฺถลาภ อุ. อุปฺปนฺนํ ญาณํ ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว
สตฺติ อุ. อุสฺสหติ คนฺตุํ อาจ (สามารถ) เพื่อจะไป  
สรูปกถน อุ. อุทฺทิสติ สุตฺตํ สวดพระสูตร เป็นต้น

 

 

    ทุ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อโสภณ         อุ. ทุคฺคนฺโธ        มีกลิ่นเหม็น
อภาว อุ. ทุพฺภิกฺขํ ข้าวปลาขาดแคลน, ทุพภิกขภัย
กุจฺฉิต อุ. ทุกฺกฏํ ทำความเสียหาย, ทำไม่สมควร
อสมิทฺธิ อุ. ทุสฺสสฺสํ ข้าวกล้าไม่สมบูรณ์
กิจฺฉ อ. ทุกฺกรํ ทำยาก, ลำบาก
วิรูปตา อ. ทุพฺพณฺโณ ผิวพรรณไม่งาม
      ทุมฺมุโข หน้าไม่สวย เป็นต้น

 

 

    สํ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

สโมธาน         อุ. สนฺธิ         การต่อ, เชื่อมโยง
สมฺมา อุ. สมาธิ สมาธิ, จิตตั้งมั่น, ตั้งไว้ดี 
สม อุ. สมฺปยุตฺโต  

ประกอบอยู่เสมอ

สมนฺตภาว อุ. สํกิณฺณา

เกลื่อน, กระจัดกระจาย

    สมุลฺลปนา

พูดเลียบเคียง

สงฺคต อุ. สงฺคโม

สังคม, พบปะ, ไปมาหาสู่  

สงฺเขป อุ. สมาโส

การย่อศัพท์

ภุสตฺถ อุ. สารตฺโต กำหนัดจัด
สหตฺถ อุ. สํวาโส การอยู่ร่วมกัน
อปฺปตฺถ อุ. สมคฺโฆ ราคาถูก
ปภว อุ. สมฺภโว เกิดขึ้น
อภิมุขภาว อุ. สมฺมุขํ ต่อหน้า, เฉพาะหน้า
สงฺคห อุ. สงฺคณฺหาติ สงเคราะห์, รวบรวม
ปิธาน อุ. สํวุตํ ปิด,ครอบ
ปุนปฺปุนกรณ อุ. สนฺธาวติ วิ่งไปเรื่อย ๆ, ท่องเที่ยว
สมิทฺธิ อุ. สมฺปนฺโน สมบูรณ์, เพียบพร้อม เป็นต้น

 

 

    วิ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

วิเสส            อุ. วิมุตฺติ           ความหลุดพ้น
    วิสิฏฺโฐ พิเศษ, ประเสริฐ
วิวิธ อุ. วิมติ ความสงสัย
    วิจิตฺรํ วิจิตร, ลาย, ด่าง
วิรุทฺธ อุ. วิวาโท การทะเลาะ, ความขัดแย้ง   
วิคต อุ. วิมลํ ปราศจากมลทิน
วิโยค อุ. วิปฺปยุตฺโต แยกจากกัน, ไม่ประกอบ
วิรูปตา อุ. วิรูโป รูปไม่งาม, รูปแปลก เป็นต้น

 

 

    อว (โอ) อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อโธภาค        อุ. อวกฺขิตฺตจกฺขุ          

ทอดสายตาลงต่ำ, มองต่ำ

วิโยค อุ. โอมุกฺกอุปาหโน ผู้ถอดรองเท้าแล้ว
    อวโกกิลํ วนํ ป่าที่นกดุเหว่าจากไป
ปริภว อุ. อวชานนํ การดูหมิ่น
      อวมญฺญติ ดูหมิ่น
ชานน อุ. อวคจฺฉติ ย่อมรู้
สุทฺธิ อุ. โวทานํ ขาวสะอาด, หมดจด
นิจฺฉย อุ. อวธารณํ การตัดสิน
เทส อุ. อวกาโส สถานที่โล่งแจ้ง
เถยฺย อุ. อวหาโร การขโมย เป็นต้น

 

 

    อนุ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อนุคต       
 อุ. อเนฺวติ             
ติดตามไป  
อนุปจฺฉินฺน  
อุ. อนุสโย
อนุสัย
ปจฺฉาสทฺทตฺถ   
อุ. อนุรถํ
ฝุ่นที่ปลิวตามหลังรถ  
ภุสตฺถ อุ. อนุรตฺโต กำหนัดจัด
สาทิสฺส อุ. อนุรูปํ สมควร, มีสภาพเหมือนกัน
หีน อุ. อนุสาริปุตฺตํ ปญฺญวนฺโต
    ผู้มีปัญญาด้อยกว่าพระสารีบุตร
ตติยตฺถ อุ.นทิมนฺววสิตา เสนา   กองทัพตั้งอยู่ตามแม่น้ำ
ลกฺขณ อุ. รุกฺขํ อนุ วิชฺโชตเต วิชฺชุ  ฟ้าแลบสว่างที่ต้นไม้
อิตฺถมฺภูตกฺขาน อุ. สาธุ เทวทตฺโต มาตรํ อนุ
    นายเทวทัตดีเฉพาะกับมารดา
ภาค อุ. ยเทตฺถ มํ อนุ สิยา ตํ ทียตุ
ในทรัพย์ทั้งหมดนั้น ทรัพย์ใดเป็นส่วนของเรา จงให้ทรัพย์นั้น
วิจฺฉา อุ. รุกฺขํ รุกฺขํ อนุ วิชฺโชตเต จนฺโท
      ดวงจันทร์ส่องสว่างที่ต้นไม้ทุกต้น เป็นต้น

 

 

     ปริ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

สมนฺตโตภาว          อุ. ปริวุโต         แวดล้อม   
ปริจฺเฉท อุ. ปริญฺเญยฺยํ ควรกำหนดรู้
วชฺชน อุ. ปริหรติ หลีก, เว้น
อาลิงฺคน อุ. ปริสฺสชติ กอด
นิวาสน อุ. วตฺถํ ปริธสฺสติ   นุ่งห่มผ้า
ปูชา อุ. ปาริจริยา การรับใช้
โภชน อุ. ภิกฺขุํ ปริวิสติ อังคาสภิกษุ
อวชานน อุ. ปริภวติ ดูหมิ่น
โทสกฺขาน อุ. ปริภาสติ บริภาษ, ตัดพ้อ, ต่อว่า, ด่า
ลกฺขณ อุ. รุกฺขํ ปริ วิชฺโชตเต วิชฺชุ
    ฟ้าแลบสว่างที่ต้นไม้ เป็นต้น

 

 

    อธิ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อธิก            
 อุ. อธิสีลํ     
อธิศีล, ศีลที่ยิ่งหรือเคร่งครัด  
อิสฺสร
อุ. อธิปติ
อธิบดี, ผู้เป็นใหญ่
อุปริภาว
อุ. อธิโรหติ
งอกขึ้น
    ปถวึ อธิเสสฺสติ   จักนอนทับแผ่นดิน
อธิภวน อุ. อธิภวติ ครอบครอง, ครอบงำ
อชฺฌายน อุ. พยากรณมธีเต สวดคัมภีร์ไวยากรณ์
อธิฏฺฐาน อุ. ภูมิกมฺปาทึ อธิฏฺฐาติ
      อธิษฐานให้แผ่นดินไหวเป็นต้น
นิจฺฉย อุ. อธิโมกฺโข การตัดสิน
ปาปุณน อุ. โภคกฺขนฺธํ อธิคจฺฉติ   ได้กองโภคทรัพย์ เป็นต้น

 

 

    อภิ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อภิมุขภาว    

อุ. อภิมุโข                  

 ต่อหน้า, เฉพาะข้างหน้า   
    อภิกฺกมติ ก้าวไปข้างหน้า
วิสิฏฺฐ อุ. อภิธมฺโม ธรรมอันประเสริฐสุด
อธิก อุ. อภิวสฺสติ ฝนตกหนัก
อุทฺธกมฺม อุ. อภิรุหติ ขึ้นไป
กุล อุ. อภิชาโต

เกิดในตระกูลดี

สารุปฺป อุ. อภิรูโป

รูปงาม

วนฺทน อุ. อภิวาเทติ

กราบ, ไหว้ เป็นต้น

 

 

    ปติ (ปฏิ) อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

ปติคต         
อุ. ปจฺจกฺขํ                
 ประจักษ์, ชัดเจน
ปฏิโลม
อุ. ปติโสตํ
ทวนกระแส
ปตินิธิ
อุ. อาจริยโต ปติ สิสฺโส   
ศิษย์เป็นตัวแทนจากอาจารย์ 
ปติทาน อุ. เตลตฺถิกสฺส ฆตํ ปติ ททาติ
ให้น้ำมันเปรียงแทนแก่ผู้ต้องการน้ำมัน
นิเสธ อุ. ปฏิเสธนํ การปฏิเสธ
นิวตฺตน อุ. ปฏิกฺกมติ กลับ, เดินกลับ
สาทิสฺส อุ. ปฏิรูปกํ รูปเหมือน
ปติกรณ อุ. ปติกาโร ตอบแทน, ทำคืน
อาทาน อุ. ปติคฺคณฺหาติ (ปฏิ-) รับเอา
ปติโพธ อุ. ปฏิเวโธ ปฏิเวธ, การแทงตลอด
ปฏิจฺจ อุ. ปจฺจโย ปัจจัย

 

 

    สุ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

สุฏฐุ, สมฺมา     อุ. สุคโต         ผู้เสด็จไปดี, เสด็จไปโดยชอบ  
สมิทฺธิ อุ. สุภิกฺขํ ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์
สุขตฺถ อุ. สุกโร ทำง่าย, สบาย เป็นต้น

 

 

    อา อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อภิมุขภาว      อุ. อาคจฺฉติ        มา        
อุทฺธกมฺม อุ. อาโรหติ ขึ้น
มริยาทา อุ. อาปพฺพตา เขตฺตํ  นาจรดภูเขา
อภิวิธิ อุ. อากุมารํ ยโส กจฺจายนสฺส
    ชื่อเสียงของพระกัจจายนะแผ่ไปถึงเด็ก  
ปตฺติ อุ. อาปตฺติมาปนฺโน ต้องอาบัติ
อิจฺฉา อุ. อากงฺขา หวัง, ต้องการ
ปริสฺสชน อุ. อาลิงฺคนํ การกอด
อาทิกมฺม อุ. อารมฺโภ การริเริ่ม, การเริ่มต้น
คหณ อุ. อาทียติ ถูกถือเอา
    อาลมฺพติ หิ้วไป, ห้อยไว้, รับเอา
นิวาส อุ. อาวสโถ ที่อยู่, บ้าน
สมีป อุ. อาสนฺนํ ใกล้
อวหาน อุ. อามนฺเตมิ เรียกมา เป็นต้น

 

 

    อติ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อติกฺกมน        อุ. อติโรจติ อมฺเหหิ    รุ่งเรืองกว่าพวกเรา 
    อตีโต ล่วงเลยไปแล้ว
อติกฺกนฺต อุ. อจฺจนฺตํ เกินขอบเขต, เกินประมาณ  
อติสย อุ. อติกุสโล ฉลาดยิ่ง
ภุสตฺถ อุ. อติกฺโกโธ โกรธจัด
อติวุทฺธิ เจริญมาก เป็นต้น

 

 

    อปิ อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

สมฺภาวนา   
  อุ. อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ

    แม้ในกามอันเป็นทิพย์  

    เมรุมฺปิ วินิวิชฺฌิตฺวา คจฺเฉยฺย
      เจาะแม้เขาพระสุเมรุไป
อเปกฺขา อุ. อยมฺปิ ธมฺโม อนิยโต
      แม้อาบัตินี้ก็ไม่แน่นอน
สมุจฺฉย อุ. อิติปิ อรหํ
    เพราะเหตุนี้ด้วย ทรงเป็นพระอรหันต์  
    อนฺตมฺปิ อนฺตคุณมฺปิ อาทาย
      ถือเอาทั้งไส้ใหญ่และไส้น้อย
ครห อุ. อปิ อมฺหากํ ปณฺฑิตก
      นี่บัณฑิตน่าเกลียดของพวกเรา
ปญฺห อุ. อปิ ภนฺเต ภิกฺขํ ลภิตฺถ
    ผู้เจริญ ท่านได้ภิกษาบ้างหรือไม่ เป็นต้น

 

 

    อป อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อปคต        อุ. อปมาโน        ผู้ปราศจากมานะ      
    อเปโต หลีกไปแล้ว
ครห อุ. อปคพฺโภ มีครรภ์เลว
วชฺชน อุ. อปสาลาย อายนฺติ วานิชา
    พวกพ่อค้าเดินอ้อมศาลามา
ปูชา อุ. วุทฺธาปจายี มีปรกตินอบน้อมต่อผู้ใหญ่  
ปทุสฺสน อุ. อปรชฺฌติ ประทุษร้าย, ประพฤติผิด เป็นต้น 

 

 

    อุป อุปสัค มีอรรถดังนี้

 

อุปคมน         อุ. นิสินฺนํ วา อุปนิสีเทยฺย    
    เข้าไปนั่งใกล้ผู้นั่งอยู่แล้วบ้าง  
สมีป อุ. อุปนครํ ใกล้เมือง
อุปปตฺติ อุ. สคฺคํ โลกํ อุปปชฺชติ     เข้าถึงโลกสวรรค์  
    อุปปตฺติโต อิกฺขตีติ อุเปกฺขา
    รอดูตามสมควร ชื่อว่าอุเบกขา
สาทิสฺส อุ. อุปมานํ อุปมา  
    การเปรียบเทียบ ชื่อว่าอุปมา
อธิก อุ. อุปขาริยํ โทโณ  
    (ปริมาณเท่ากัน) นับทะนานมากกว่าขารี
อุปริภาว อุ. อุปสมฺปนฺโน  
    ผู้ถึงความเป็นผู้สูงสุด, ผู้ได้รับอุปสมบท
อนสน อุ. อุปวาโส การอยู่จำ, เข้าอยู่โดยงดอาหาร
โทสกฺขาน อุ. ปรํ อุปวทติ กล่าวหาผู้อื่น
สญฺญา อุ. อุปสคฺโค ชื่ออุปสัค
ปุพฺพกมฺม อุ. อุปกฺกโม ก้าวไปข้างหน้า
    อุปกาโร ทำก่อน, ผู้มีอุปการคุณ
ปูชา อุ. พุทฺธุปฏฺฐาโก อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
  เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
    มาตุปฏฺฐานํ การอุปัฏฐากมารดา
คยฺหการ อุ. โสเจยฺยปจฺจุปฏฺฐานํ ปรากฏโดยความเป็นผู้สะอาด
ภุสตฺถ อุ. อุปาทานํ การยึดถือ
    อุปายาโส ความลำบากอย่างหนัก
      อุปนิสฺสโย ที่อาศัยอยู่, อุปนิสัย เป็นต้น
     
     

๓. นิบาต

 

    นิบาต คือศัพท์ที่ใช้ประกอบระหว่างนามศัพท์บ้าง กิริยาศัพท์บ้าง มีอรรถแตกต่างกัน วิเคราะห์ว่า "ปทานํ อาทิมชฺฌาวสาเนสุ นิปตนตีติ นิปาตา บทที่มีใช้ในข้างหน้า ท่ามกลาง และที่สุดแห่งบททั้งหลาย ชื่อว่านิบาต"

 

     ลักษณะของนิบาต

 

     สทิสา เย ติลิงฺเคสุ    สพฺพาสุ จ วิภตฺตีสุ

     วจเนสุ จ สพฺเพสุ      เต นิปาตาติ กิตฺติตา.

 

     ศัพท์ที่มีรูปเหมือนเดิมในลิงค์ทั้ง ๓ ในวิภัตติทั้งปวง ในวจนะทั้งหมด เรียกว่านิบาต

 

    นิบาต แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ

          ๑. นิบาตหลายตัวมีอรรถเดียวกัน

          ๒. นิบาตหลายอรรถ

          ๓. นิบาตในอรรถต่าง ๆ

 

 

    นิบาตหลายตัวมีอรรถเดียวกัน

 

    ในกลุ่มนิบาตที่มีอรรถเดียวกันนี้ นิบาตบางตัวมีอรรถของวิภัตตินามประกอบอยู่เรียกว่า "วิภัตยัตถนิบาต" บางตัวไม่มีอรรถของวิภัตตินามประกอบ เรียกว่า "อวิภัตยัตถนิบาต"

 

 

    วิภัตยัตถนิบาต นิบาตมีอรรถวิภัตติ

 

    นิบาตที่มีอรรถของวิภัตตินามประกอบ มี ๘ หมวด คือ

 

    ๑. อรรถอาลปนะ


ยคฺเฆ         ขอเดชะ        เป็นคำที่สามัญชนเรียกเจ้านายชั้นสูง
ภนฺเต ท่านผู้เจริญ เป็นคำที่คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้น้อยเรียก
บรรพชิตผู้ใหญ่
ภทฺทนฺเต ท่านผู้เจริญ เป็นคำที่คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้น้อยเรียก
    บรรพชิตผู้ใหญ่
อาวุโส ผู้มีอายุ เป็นคำที่บรรพชิตผู้ใหญ่เรียกบรรพชิตผู้น้อย
  หรือเรียกคฤหัสถ์
ภเณ พนาย เป็นคำที่ผู้ดีเรียกผู้อยู่ใต้บังคับของตน
อมฺโภ, หมฺโภ  ผู้เจริญ เป็นคำเรียกผู้ชายด้วยวาจาสุภาพ
เร, อเร เว้ย, โว้ย เป็นคำเรียกคนเลว คนชั้นต่ำ
เช แม่, เธอ เป็นคำเรียกสาวใช้
ภทฺเท นางผู้เจริญ, น้องสาว   เป็นคำเรียกผู้หญิงด้วยวาจาสุภาพ

 

 

    ๒. อรรถปฐมา


อตฺถิ     มีอยู่                 สกฺกา     อาจ, สามารถ  
ลพฺภา พึงได้ ทิวา กลางวัน
ภิยฺโย ยิ่ง นโม
ความนอบน้อม

 

 

    ๓. อรรถทุติยา


ทิวา      ทั้งวัน             ภิยฺโย    ให้ยิ่ง
นโม ซึ่งความนอบน้อม   
 

 

 

    ๔. อรรถตติยา


สํ, สยํ, สามํ    ด้วยตนเอง, เอง    สมฺมา   ด้วยดี, โดยชอบ
กินฺติ ด้วยเหตุไร  
  และศัพท์ที่มี โส โต ธา ปัจจัยเป็นที่สุด คือ
สุตฺตโส โดยสูตร ปทโส โดยบท
อนิจฺจโต โดยไม่แน่นอน ทุกฺขโต  โดยเป็นทุกข์
เอกธา โดยส่วนเดียว ทฺวิธา โดยสองส่วน เป็นต้น 

 

 

    ๕. อรรถจตุตถี (มี ตเว ตุํ ปัจจัยเป็นที่สุด)

 

กาตเว, กาตุํ    เพื่อทำ                ทาตเว, ทาตุํ   เพื่อให้         
กาเรตุํ เพื่อให้ทำ ทาเปตุํ เพื่อให้ถวาย  เป็นต้น

 

 

    ๖. อรรถปัญจมี (มี โส โต ปัจจัยเป็นที่สุด)

 

ทีฆโส          จากด้านยาว            โอรโส     จากฝั่งนี้
ราชโต จากพระราชา โจรโต จากโจร เป็นต้น

 

 

    ๗. อรรถสัตตมี


สมนฺตา     
 ในทุกที่, ในที่รอบ ๆ            
สามนฺตา   
ในที่ใกล้, ในที่รอบ ๆ
ปริโต
ในที่รอบ ๆ
สมนฺตโต
ในที่รอบ ๆ
อภิโต
ในข้างหน้า
เอกชฺฌํ
ในสิ่งเดียว
เอกมนฺตํ ในที่หนึ่ง, ณ ที่สมควร เหฏฺฐา ในภายใต้, ภายใต้
อุปริ ในเบื้องบน, เบื้องบน อุทฺธํ ในเบื้องบน, เบื้องบน
อโธ ในภายใต้, เบื้องล่าง ติริยํ ในที่ขวาง
สมฺมุขา ในที่เฉพาะหน้า, ต่อหน้า ปรมฺมุขา ในที่ลับหลัง
อาวิ ในที่แจ้ง รโห ในที่ลับ
ติโร ในข้างหนึ่ง อุจฺจํ ในที่สูง
นีจํ ในที่ต่ำ อนฺโต ในภายใน
อนฺตรา ในระหว่าง อชฺฌตฺตํ ในภายใน
หพิทฺธา, พาหิรา, พาหิรํ, พหิ ในภายนอก, ข้างนอก
โอรํ ในฝั่งนี้ ปารํ ในฝั่งนั้น
อารา, อารกา  ในที่ไกล ปจฺฉา ในภายหลัง
ปุเร ในกาลก่อน หุรํ ในโลกอื่น
เปจฺจ ในโลกหน้า  
      ศัพท์ที่มี โต ตฺร ถ ธิ ว หี หํ หิญฺจนํ ห ธ ปัจจัยเป็นที่สุด
เอกโต ในผู้เดียว ปุรโต ในข้างหน้า
ปสฺสโต ในข้าง ปจฺฉโต ในข้างหลัง
สีสโต บนศีรษะ ปาทโต บนเท้า, ที่เท้า
อคฺคโต บนยอด มูลโต ที่โคน, ที่ราก
ยตฺร, ยตฺถ ในที่ใด ตตฺร, ตตฺถ   ในที่นั้น
สพฺพธิ ในที่ทั้งปวง อิธ, อิห ในที่นี้
กุหึ, กุหํ, กุหิญจนํ, กฺว  ในที่ไหน   เป็นต้น

 

 

    ๘. อรรถกาลสัตตมี


อถ        ครั้งนั้น               หิยฺโย         วันวาน, เมื่อวาน  
ปาโต รุ่งเช้า, ในเวลาเช้า    ทิวา กลางวัน, ในเวลากลางวัน
สมฺปติ
เดี๋ยวนี้, ขณะนี้ ภูตปุพฺพํ, ปุรา  
ในกาลก่อน 
อายติ ต่อไป, ข้างหน้า อชฺช ในวันนี้
อปรชฺชุ, ปรชฺช, สุเว, เสฺว ในวันพรุ่งนี้   ปรสุเว ในวันมะรืนนี้
ปเร ในกาลอื่น สชฺชุ ในขณะนั้น
สายํ ในเวลาเย็น กาลํ ในกาล
ทิวา ในเวลากลางวัน นตฺตํ ในเวลากลางคืน
กลฺลํ ในเวลาสมควร นิจฺจํ, สตตํ เนืองนิตย์
อภิณฺหํ, อภิกฺขณํ เนือง ๆ  มุหุํ พลัน, พล่าม
มุหุตฺตํ   ชั่วครู่ ยทา ในกาลใด
ตทา ในกาลนั้น กทา ในกาลเช่นไร
สทา ในกาลทุกเมื่อ    

 

 

 

    อวิภัตยัตถนิบาต   (นิบาตไม่มีอรรถวิภัตติ)

    นิบาตที่ไม่มีอรรถของวิภัตตินามประกอบ มี ๑๐ หมวด คือ

 

 

    ๑. อรรถปริจเฉทะ (กำหนด)

 

กีว       เพียงไร          ยาวตา     มีประมาณเพียงใด
ยาว เพียงใด ตาวตา มีประมาณเพียงนั้น
ตาว เพียงนั้น กิตฺตาวตา  
มีประมาณเท่าไร
ยาวเทว  เพียงใดนั่นเทียว   เอตฺตาวตา   มีประมาณเท่านั้น
ตาวเทว เพียงนั้นนั่นเทียว สมนฺตา โดยรอบ

 

 

    ๒. อรรถปฏิภาคะ (อุปมา-อุปไมย)

 

ยถา         ฉันใด       ตถา, เอวํ     ฉันนั้น
ยเถว ฉันใดนั่นเทียว    ตเถว ฉันนั้นนั่นเทียว
เอวเมว, เอวเมวํ   ฉันนั้นนั่นเทียว วิย, อิว
ราวกะ, เพียงดัง
ยถาปิ แม้ฉันใด เสยฺยถาปิ แม้ฉันใด
ยถริว ฉันใดนั่นเทียว ตถริว ฉันนั้นนั่นเทียว
ยถานาม ชื่อฉันใด ตถานาม ชื่อฉันนั้น
ยถาหิ ฉันใดแล ตถาหิ ฉันนั้นแล
ยถาจ ฉันใดแล ตถาจ ฉันนั้นแล
เสยฺยถาปินาม ชื่อแม้ฉันใด  

 

 

    ๓. อรรถปฏิเสธะ (ปฏิเสธ, ห้าม)

 

น      ไม่               เอว       นั่นเทียว, เท่านั้น
โน ไม่ วินา เว้น, ห้าม
มา อย่า อญฺญตร  
เว้น
เท่านั้น อลํ พอ, อย่าเลย
ไม่ หลํ อย่า
อลํ นิบาต มีอรรถอื่นอีก คือ สามารถและประดับ

 

 

    ๔. อรรถอนุสสวนะ (เล่าลือ, ได้ยินมา)

 

กิร, ขลุ, สุทํ  ได้ยินว่า, เขาเล่าว่า, ฟังมาว่า, ทราบว่า

 

 

    ๕. อรรถปริกัปปะ (วิตก, กังวล)

 

เจ          หากว่า              อถ        ถ้าว่า     
สเจ ถ้าว่า ยนฺนูน กระไรหนอ
ยทิ ผิว่า อปฺเปว นาม   
ชื่อแม้ไฉน, อะไรแน่นะ  

 

 

    ๖. อรรถปัญหา (คำถาม)

 

กึ           หรือ, อะไร, อย่างไร      นนุ       มิใช่หรือ, ใช่หรือไม่   
กถํ อย่างไร อุทาหุ หรือว่า
กจฺจิ แลหนอ, แลหรือ อาทู
หรือว่า
นุ หรือ, หรือหนอ เสยฺยถิทํ    อย่างไรนี้
กินฺนุ อะไรหรือ กึสุ อะไร, อย่างไหน

 

 

    ๗. อรรถสัมปฏิจฉนะ (รับคำ)

 

อาม, อามนฺตา    เออ, ครับ, ค่ะ    สาธุ      ดีแล้ว  
เอวํ อย่างนั้น โอปายิกํ   สมควร
ปติรูปํ สมควร, เหมาะสม    ลหุ
ดี, ตามสบาย

 

 

    ๘. อรรถโจทนะ (เตือน)

 

อิงฺฆ    เชิญเถิด               หนฺท, ตคฺฆ     เอาเถิด

 

 

    ๙. อรรถวากยารัมภะ (ต้นข้อความ)

 

จ      อนึ่ง, ก็, จริงอยู่              ปน      ส่วนว่า, ก็

วา    หรือ, หรือว่า, บ้าง           อปิ      แม้, บ้าง

หิ      ก็, จริงอยู่, เพราะว่า        อปิจ    เออก็

ตุ      ส่วน, ส่วนว่า, ก็              อถวา   อีกอย่างหนึ่ง

 

 

    ๑๐. อรรถปทปูรณะ (เติมบทให้เต็ม ไม่มีเนื้อความ)

 

    นิบาตเหล่านี้คือ อถ ขลุ วต วถ อโถ อสฺสุ ยคฺเฆ หิ จรหิ นํ ตํ วา จ ตุ ว โว ปน หเว กีว ห ตโต ยถา นุ สุ สุทํ โข เว หํ เอนํ เสยฺยถิทํ เป็นต้น  ใส่ให้เต็มบทเพื่อความสละสลวยแห่งถ้อยคำสำนวน ไม่มีเนื้อความพิเศษอะไร

 

 

    ๑๑. อรรถสังสยะ (ความสงสัย)

 

อปฺเปว    อย่างไร                 อปฺเปวนาม   ชื่ออย่างไร

นุ            หรือไม่

 

 

    ๑๒. อรรถเอกังสะ (ส่วนเดียว)

 

อทฺธา อญฺญทตฺถุ ตคฺฆ ชาตุ กามํ สสกฺกํ    แน่แท้, จริง ๆ, ส่วนเดียว

 

 

    ๑๓. อรรถสีฆะ (รวดเร็ว)

 

ขิปฺปํ อรํ ลหุ อาสุํ ตุณฺณํ อจิรํ สีฆํ ตุริตํ    เร็ว, ด่วน, พลัน, ไม่นาน

 

 

    ๑๔. บทที่มี ตุน ตฺวา ตฺวาน ปัจจัยเป็นที่สุดก็จัดเป็นนิบาต

 

    ปสฺสิตุน ปสฺสิย ปสฺสิตฺวา ปสฺสิตฺวาน ทิสฺวา ทิสฺวาน (พบแล้ว, เห็นแล้ว), ทสฺเสตฺวา (แสดงแล้ว), ทาตุน ทตฺวา ทตฺวาน (ให้แล้ว), อุปาทาย (ถือเอาแล้ว), ทาเปตฺวา (ให้ถวายแล้ว), วิญฺญาเปตฺวา (ให้รู้แล้ว), วิเจยฺย (พิจารณาแล้ว), วิเนยฺย (แนะนำแล้ว), นิหจฺจ (เบียดเบียนแล้ว), สเมจฺจ (ถึงดีแล้ว), อเปจฺจ (หลีกไปแล้ว), อารพฺภ (เริ่มแล้ว, ปรารภแล้ว), อาคมฺม (มาแล้ว, อาศัยแล้ว) เป็นต้น

 

 

 

 

 

    นิบาตหลายอรรถ

 

    นิบาตเหล่านี้คือ จ วา อถ ขลุ วต หิ ตุ หํ อิติ ยถา เอวํ อโห นาม สาธุ กิร นูน ธุวํ แต่ละตัวมีอรรถหลายอย่าง

 

 

    จ ศัพท์ มีอรรถ ๕ อย่าง คือ

 

๑. สมุจฺจย  รวบรวม  มี ๓ อย่าง

    ก. กฺริยาสมุจฺจย รวบรวมกิริยา

        เช่น ตฺวํ ปจาหิ ภุญฺชาหิ จ.

               ท่านจงหุงและจงกิน

    ข. การกสมุจฺจย รวบรวมนาม

        เช่น สาริปุตฺโต โมคฺคลฺลาโน ธมฺมํ เทเสนฺติ.

               พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะแสดงธรรม

    ค. วากฺยสมุจฺจย รวบรวมประโยค

        เช่น สาริปุตฺโต ธมฺมํ เทเสติ, โมคฺคลฺลาโน ธมฺมํ เทเสติ.

               พระสารีบุตรแสดงธรรม พระโมคคัลลานะก็แสดงธรรม

๒. อนฺวาจย รวบรวมวากยะหลังที่มีกิริยาต่างจากวากยะหน้า

        เช่น ทานํ เทหิ, สีลญฺจ รกฺขาหิ

               ท่านจงให้ทาน และรักษาศีล

๓. อิตรีตรโยค รวบรวมโดยได้เนื้อความแยกกัน (อสมาหารทฺวนฺท)

        เช่น จนฺโท สูริโย จนฺทสูริยา.

               ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์

๔. สมาหาร รวบรวมโดยได้เนื้อความรวมกัน (สมาหารทฺวนฺท)

        เช่น มุขญฺจ นาสิกา มุขนาสิกํ.

               ปากและจมูก

๕. อวธารณ ห้ามเนื้อความที่ไม่ได้กล่าวถึง

        เช่น พฺยญฺชนนฺตสฺส โจ ฉปฺปจฺจเยสุ จ .

               เพราะ ฉ ปัจจัยเท่านั้น จึงมีการอาเทศพยัญชนะที่สุด

               ธาตุเป็น จฺ

 

 

    วา ศัพท์ มีอรรถ ๔ อย่าง คือ

 

๑. วิกปฺปน  ไม่แน่นอน

          เช่น เทโว วา มาโร วา .

                 เป็นเทพหรือเป็นมาร

๒. อุปมาน  เปรียบเทียบ

          เช่น มธุ วา มญฺญตี พาโล.

                 คนพาลย่อมสำคัญผิดว่าเหมือนของหวาน

๓. สมุจฺจย  ราชโต วา โจรโต วา ภยํ.

                  ภัยจากพระราชาและจากโจร

๔. ววตฺถิตวิภาสา  กล่าวกำหนดวิธี ๓ อย่าง คือ แน่ ไม่แน่ และไม่มี

           เช่น วา ปโร อสรูปา.

                  ลบสระหลังจากสระที่มีรูปไม่เหมือนกันบ้าง

 

 

    อถ ศัพท์ มีอรรถ ๓ อย่าง คือ

ปญฺหา      คำถาม                    อนนฺตริย  ไม่มีระหว่าง, ต่อไป

อธิกาล     กำหนดกาล

 

    ขลุ ศัพท์ มีอรรถ ๓ อย่าง คือ

ปฏิเสธ     ปฏิเสธ                     อวธารณ   ห้าม

ปสิทฺธิ      สำเร็จ

 

    วต ศัพท์ มีอรรถ ๔ อย่าง คือ

เอกํส       อย่างเดียว                เขท        ลำบาก, เหน็ดเหนื่อย

อนุกมฺป    อนุเคราะห์               สงฺกปฺป   คิด, ดำริ, รำพึง

 

    หิ ศัพท์ มีอรรถ ๒ อย่าง คือ

เหตุ         เหตุ                         อวธารณ  ห้าม, จำกัด

 

    ตุ ศัพท์ มีอรรถ ๓ อย่าง คือ

วิเสส      แตกต่าง, พิเศษ          เหตุ         เหตุ

นิวตฺตน   ห้าม

 

    หํ ศัพท์ มีอรรถ ๒ อย่าง คือ

วิสาท      เหน็ดเหนื่อย               สมฺภม     ตกใจ

 

    อิติ ศัพท์ มีอรรถ ๓ อย่าง คือ

วากฺยปริสมมตฺติ  มีเท่านี้, ด้วยประการฉะนี้     เหตุ  เพราะเหตุนั้น

นิทสฺสน               แสดง, ว่า

 

    ยถา ศัพท์ มีอรรถ ๔ อย่าง คือ

โยคฺคตา             ความสมควร                  วิจฺฉา      คำซ้ำ

ปทตฺถานติวตฺต   กล่าวเท่าอรรถของบท    นิทสฺสน  แสดง

 

    เอวํ ศัพท์ มีอรรถ ๓ อย่าง คือ

อปเทส      แนะนำ                         ปญฺหา   คำถาม

นิทสฺสน     แสดง

 

    อโห ศัพท์ มีอรรถ ๓ อย่าง คือ

ครห      ตำหนิ, นินทา                    ปสํสน    สรรเสริญ, ชื่นชม

ปตฺถน   ปรารถนา

 

    นาม ศัพท์ มีอรรถ ๔ อย่าง คือ

ครห      ตำหนิ, นินทา                   ปสํสน      สรรเสริญ, ชื่นชม

ปตฺถน   ปรารถนา

 

    สาธุ ศัพท์ มีอรรถ ๒ อย่าง คือ

ปสํสน    สรรเสริญ, อนุโมทนา        ยาจน      ขอ, อ้อนวอน

 

    กิร ศัพท์ มีอรรถ ๒ อย่าง คือ

อนุสฺสวน   ได้ยินมา                      อสฺสทฺเธยฺย    ไม่เชื่อถือ

 

    นูน ศัพท์ มีอรรถ ๓ อย่าง คือ

อนุมาน       คาดคะเน                   อนุสฺสรณ       คล้อยตาม

ปริวิตกฺก     คิด, กังวล

 

     ธุว ศัพท์ มีอรรถ ๒ อย่าง คือ

ถิร      มั่นคง                               อวธารณ     ห้าม, จำกัด 

 

 

 

     นิบาตอรรถต่าง ๆ


อญฺญทตฺถุ      โดยแท้                    อาวี          แจ้ง    
อโถ อนึ่ง อุจฺจํ สูง
อทฺธา แน่แท้, แน่นอน อารา
ไกล
อิติ เพราะเหตุนั้น, อวสฺสํ แน่แท้
ว่า....ดังนี้, ชื่อ, สจฺฉิ แจ้ง
ด้วยประการฉะนี้ ปุน อีก
กิญฺจาปิ แม้น้อย, แม้ก็จริง สามํ, สยํ เอง
อโห โอ, อือ กฺวจิ บ้าง
นีจํ ต่ำ, เตี้ย มิจฺฉา ผิด
นูน แน่, แน่นอน มุธา เปล่า
นานา ต่าง ๆ, นานา มุสา เท็จ
ภิยฺโย, ภิยฺโยโส  โดยยิ่ง สกึ คราวเดียว
สตกฺขตฺตุํ ร้อยครั้ง ปจฺฉา ภายหลัง
ปฏฺฐาย จำเดิม, เริ่มต้น, ตั้งแต่    สห, สทฺธึ    พร้อม, กับ
ปภูติ จำเดิม, เริ่มต้น, เป็นต้น สณิกํ ค่อย ๆ, เบา ๆ  
ปุนปฺปุนํ บ่อย ๆ, หลายครั้ง ปฏิกจฺเจว ก่อนเทียว
เสยฺยถิทํ อะไรบ้าง วินา, ริเต เว้น
วิสุํ ต่างหาก, แผนกหนึ่ง ทุฏฺฐุ, กุ น่าเกลียด
ปุน อีก อีสกํ น้อย
จิรํ, จิรสฺสํ กาลนาน ปุถุ มาก, ต่างหาก
หา หา, โอไม่น่าเลย ตุณฺหี นิ่ง
อลิกํ หลอกลวง สุวตฺถิ สวัสดี
ปเคว ก่อนเทียว, จะป่วยกล่าวไปไย, กล่าวให้ป่วยกาล

<<<               >>>