<<<                    >>>

บทที่ ๑๕

กิตก์

 

กิตก์ คือชื่อของศัพท์ที่ประกอบด้วยธาตุและปัจจัย วิเคราะห์ว่า "สิสฺสานํ กงฺขํ กิรติ อปเนตีติ กิตํ, กิตํเยว กิตโก บทที่นำเอาความสงสัยของศิษย์ออกไป ชื่อว่ากิตะ, กิตะนั่นแหละ ชื่อว่ากิตกะ" มี ๒ อย่าง คือ นามกิตก์ และกิริยากิตก์

นามกิตก์

 

นามกิตก์ คือ ธาตุ ปัจจัย และวิภัตติ ประกอบกันเข้าแล้วสำเร็จรูปเป็นสุทธนามก็มี เป็นคุณนามก็มี นามกิตก์นี้ท่านทำให้สำเร็จด้วยสาธณะ ๗ อย่าง คือ กัตตุสาธนะ กัมมสาธนะ ภาวสาธนะ กรณสาธนะ สัมปทานสาธนะ อปาทานสาธนะ และอธิกรณสาธนะ

 

     สาธนะ ๗

 

๑. กัตตุสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นผู้กระทำกิริยา แปลว่า "ผู้, อัน, ที่"

    เช่น พุชฺฌตีติ พุทฺโธ  ผู้ตรัสรู้ ชื่อว่า พุทฺธ (ผู้ตรัสรู้)

           ททตีติ ทายโก  ผู้ให้ ชื่อว่า ทายก (ผู้ให้)

 

๒. กัมมสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นผู้ถูกกิริยากระทำ แปลว่า "ผู้ถูก, ผู้เป็นที่, ผู้อันเขา, ผู้ที่เขา, อันเขา"

    เช่น มาตาปิตูหิ ธรียตีติ ธีตา

           ธิดาที่มารดาบิดาคุ้มครอง ชื่อว่า ธีตุ (ผู้ถูกคุ้มครอง)

           ปิยายติ ตนฺติ ปิโย

           ผู้เป็นที่รัก ชื่อว่า ปิย (ผู้เป็นที่รัก)

 

๓. ภาวสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นภาวะ แปลว่า "การ, ความ"

    เช่น  กรณํ กรณํ   การกระทำ ชื่อว่า กรณ

            คมนํ คมนํ    การไป ชื่อว่า คมน

            จินฺตนํ จินฺตนํ   ความคิด ชื่อว่า จินฺตน

 

๔. กรณสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นเครื่องช่วยในการทำกิริยา แปลว่า "เป็นเครื่อง, เป็นเหตุ"

    เช่น วิเนติ เอเตนาติ วินโย

           ธรรมเป็นเครื่องแนะนำ ชื่อว่า วินย

           ปชฺชเต อเนนาติ ปาโท

           เท้าเป็นเครื่องช่วยไป ชื่อว่า ปาท 

 

๕. สัมปทานสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นผู้รับ แปลว่า "ผู้ที่เขามอบให้, ผู้รับ"

    เช่น  สมฺปเทติ อสฺสาติ สมฺปทานํ

            ผู้รับสิ่งที่เขามอบให้ ชื่อว่า สมฺปทาน (ผู้รับ)

            ทาตพฺโพ อสฺสาติ ทานีโย

            ผู้รับของที่เขาถวาย ชื่อว่า ทานีย (ผู้ควรรับ)

 

๖. อปาทานสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นเขตแดนที่ออกไป แปลว่า "เป็นที่, เป็นเขต"

    เช่น ปภวติ เอตสฺมาติ ปภโว

           สถานที่เริ่มต้น ชื่อว่า ปภว (เป็นที่เริ่มต้น)

 

๗. อธิกรณสาธนะ รูปสำเร็จโดยเป็นสถานที่หรือเวลากระทำกิริยา แปลว่า "เป็นที่, เป็นที่อันเขา, เป็นเวลาที่เขา"

    เช่น สยติ เอตฺถาติ สยนํ

           นอนบนที่นั้น ฉะนั้น ที่นั้นชื่อว่า สยน (เป็นที่นอน)

           สงฺคมฺม ภาสนฺติ เอตฺถาติ สภา

           บัณฑิตไปพร้อมกันแล้วประชุมในที่นั้น ฉะนั้น ที่นั้นชื่อว่า สภา (เป็นที่อันเขาพร้อมกันประชุม)

 

 

        ธาตุ

 

ธาตุในนามกิตก์นี้ คือธาตุทั้ง ๘ หมวด เหมือนธาตุในอาขยาต (กรุณาย้อมกลับไปดูในบทที่ ๑๔ หน้า ๑๒๙-๑๓๒)

 

         ปัจจัย

 

นามกิตก์มีปัจจัย ๒๖ ตัว เป็นกิจจปัจจัย ๒ ตัว คือ ณฺย ริจฺจ, กิตกปัจจัย ๒๔ ตัว คือ ณ อ ณฺวุ ตุ อาวี รตฺถุ ริตุ ราตุ กฺวิ รมฺม ณี ยุ รู ณุก ร อิ ติ ริริย ต อิน ข ตุก อิก การ

 

    เช่น 

 

สิสฺโส                  (สาส+ณฺย+สิ)            ศิษย์   
กิจฺจํ (กร+ริจฺจ+สิ) กิจ
มาลากาโร    (มาลา+กร+ณ+สิ)    นายมาลาการ  
ธมฺมธโร (ธมฺม+ธร+อ+สิ) ผู้ทรงธรรม
การโก (กร+ณฺวุ+สิ) ผู้กระทำ, นายช่าง 
กตฺตา (กร+ตุ+สิ) ผู้กระทำ
ภยทสฺสาวี (ภย+ทิส+อาวี+สิ) ผู้เห็นภัย
สตฺถา (สาส+รตฺถุ+สิ) พระศาสดา
ปิตา (ปา+ริตุ+สิ) บิดา
มาตา (มาน+ราตุ+สิ) มารดา
สยมฺภู (สยํ+ภู+กฺวิ+สิ)
พระสยัมภู 
ธมฺโม (ธร+รมฺม+สิ)
ธรรมะ
พฺรหฺมจารี (พฺรหฺม+จร+ณี+สิ) ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
โฆสนา (ฆุส+ยุ+อา+สิ) การประกาศ
ภวปารคู (ภวปาร+คมุ+รู+สิ) ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ภีรุโก (ภี+รฺอาคม+ณุก+สิ) ผู้ขลาดกลัว
สํโฆ (สํ+หน+ร+สิ) พระสงฆ์, ผู้พร้อมเพรียงกัน 
อุทธิ (อุ+ธา+อิ+สิ) มหาสมุทร
สุติ (สุ+ติ+สิ) การฟัง, เสียง
กิริยา (กร+ริริย+อา+สิ) กิริยา, อาการที่ควรทำ
ชิโน (ชิ+อิน+สิ) ผู้ชนะ
ทุกฺกรํ (ทุ+กร+ข+สิ) ที่ทำได้ยาก
พุทฺโธ (พุธ+ต+สิ) ผู้ตรัสรู้
อาคนฺตุโก (อา+คมุ+ตุก+สิ) อาคันตุกะ, ผู้มาเยือน
คมิโก (คมุ+อิก+สิ) ผู้ควรไป, คนเดินทาง
อกาโร (อ+การ+สิ) ออักษร

 

       วิภัตติ

 

วิภัตติในนามกิตก์ คือวิภัตติ ๑๔ ตัว เหมือนกับวิภัตติในนาม

 

 

กิริยากิตก์

 

กิริยากิตก์ คือกิตก์ที่ใช้เป็นกิริยา ประกอบด้วยธาตุ ปัจจัย กาล วิภัตติ วจนะ และวาจก

 

    ธาตุ

 

ธาตุในกิริยากิตก์นี้ คือธาตุทั้ง ๘ หมวด เหมือนธาตุในอาขยาตและนามกิตก์

 

    ปัจจัย

 

ปัจจัยในกิริยากิตก์มี ๑๒ ตัว เป็นกิจจปัจจัย ๓ ตัว คือ ตพฺพ อนีย เตยฺย, เป็นกิตกปัจจัย ๙ คือ ต ตวนฺตุ ตาวี ตเว ตุน ตฺวาน ตฺวา มาน อนฺต


    เช่น 


ทาตพฺพํ     (ทา+ตพฺพ+สิ)    พึงให้, ควรให้
ทานียํ (ทา+อนีย+สิ) พึงให้, ควรให้
ญาเตยฺยํ (ญา+เตยฺย+สิ) พึงรู้, ควรรู้
คโต (คมุ+ต+สิ) ไปแล้ว
หุตวา (หุ+ตวนฺตุ+สิ) บูชาแล้ว
หุตาวี (หุ+ตาวี+สิ) บูชาแล้ว
กาตเว (กร+ตเว+สิ) เพื่อทำ
กาตุน (กร+ตุน+สิ) เพื่อทำ
กตฺวาน (กร+ตฺวาน+สิ) ทำแล้ว
กตฺวา (กร+ตฺวา+สิ) ทำแล้ว
คจฺฉมาโน (คมุ+มาน+สิ) ไปอยู่
คจฺฉนฺโต (คมุ+อนฺต+สิ) ไปอยู่

 

กาล วจนะ และ วาจก เหมือนในอาขยาต

(กรุณาย้อนกลับไปดูในบทที่ ๑๔ หน้า ๑๓๖-๑๓๙)

 

 

          ตัวอย่างกิตก์ที่มีใช้มาก

 

     เตกาลิกะ กิจจคณะ


ภวิตพฺพํ               พึงมี-เป็น             ภวนียํ               พึงมี-เป็น      
อภิภวิตพฺโพ พึงครอบงำ อภิภวนีโย   พึงครอบงำ
อาสิตพฺพํ พึงเข้าไป อาสนียํ
พึงเข้าไป
สยิตพฺพํ พึงนอน สยนียํ พึงนอน
อติสยิตพฺโพ ควรนอนให้มาก  อติสยนีโย พึงนอนให้มาก 
ปฏิปชฺชิตพฺโพ พึงปฏิบัติ ปฏิปชฺชนีโย  พึงปฏิบัติ
พุชฺฌิตพฺโพ พึงตรัสรู้ พุชฺฌนีโย พึงตรัสรู้
โสตพฺโพ สุณิตพฺโพ   พึงฟัง สวณีโย พึงฟัง
กตฺตพฺพํ กาตพฺพํ พึงทำ กรณีโย กรณียํ   พึงทำ
ภริตพฺโพ พึงเลี้ยง ภรณีโย พึงเลี้ยง
คเหตพฺโพ พึงถือเอา คหณีโย พึงถือเอา
รมิตพฺโพ น่ารื่นรมย์ รมณีโย น่ารื่นรมย์
ปตฺตพฺโพ พึงบรรลุ ปาปณีโย พึงบรรลุ
คนฺตพฺโพ พึงไป คมนียํ ควรไป
หนฺตพฺพํ พึงเบียดเบียน หนนียํ พึงเบียดเบียน
มนฺตพฺโพ พึงรู้ มญฺญนียํ พึงรู้
ปูชยิตพฺโพ พึงบูชา ปูชนีโย พึงบูชา
หริตพฺพํ พึงนำไป หาริยํ พึงนำไป
ลภิตพฺพํ ลพฺภํ พึงได้ สาสิตพฺโพ พึงพร่ำสอน
วจนียํ วากฺยํ พึงกล่าว ภชนียํ ภาคฺยํ พึงคบหา
เนตพฺพํ เนยฺโย พึงนำไป ภวิตพฺโพ ภพฺโพ  พึงมี-เป็น
วชฺชํ วทนียํ พึงกล่าว มชฺชํ มทนียํ พึงมัวเมา
คนฺตพฺพํ คมฺมํ พึงไป โยคฺคํ พึงประกอบ
คารยฺโห ครหณียํ พึงตำหนิ คชฺชํ คทนียํ พึงกล่าว
ปชฺชํ ปชฺชนียํ พึงถึง ขชฺชํ ขาทนียํ ควรขบเคี้ยว
ทมฺโม ทมนีโย ควรฝึก โภคฺคํ โภชฺชํ ควรบริโภค
คยฺหํ คเหตพฺพํ ควรถือเอา เทยฺยํ ทาตพฺพํ ควรให้
เปยฺยํ ปานียํ ควรดื่ม เหยฺยํ หานียํ ควรสละ
เญยฺยํ ญาตพฺพํ ควรรู้ ชานิตพฺพํ วิชานนียํ  ควรทราบ
สงฺเขฺยยฺยํ ควรนับ กตฺตพฺพํ กรณียํ ควรทำ
ภจฺโจ ควรเลี้ยงดู ทฏฺฐพฺพํ ควรทราบ
โภชฺชํ โภชนียํ ควรกิน ภุญฺชิตพฺพํ ควรกิน
อชฺเฌยฺยํ ควรบรรลุ ภาเวตพฺโพ ควรให้เจริญ

 

    เตกาลิกะ กิตกคณะ

กุมฺภกาโร       ช่างหม้อ         มาลากาโร         ช่างดอกไม้
รถกาโร ช่างรถ สุวณฺณกาโร    ช่างทอง
สุตฺตกาโร ช่างทอหูก ปตฺตคฺคาโห ผู้ถือบาตร
รสฺมิคฺคาโห ผู้ถือเอาเชือก รชฺชุคฺคาโห ผู้ถือเอาเชือก
ตุนฺนวาโย ผู้ทอผ้า ธญฺญมาโย ผู้ตวงข้าว
ทานทาโย ผู้ให้ทาน ธมฺมกาโม ผู้ใคร่ธรรม
อตฺถกาโม ผู้ใคร่ประโยชน์ ธมฺมปาโล ผู้รักษาธรรม
สุขกาโม ผู้ใคร่ความสุข อรินฺทโม ผู้ข่มศัตรู
เวสฺสนฺตโร ผู้ข้ามทางค้าขาย ตณฺหงฺกโร ผู้สร้างตัณหา
เมธงฺกโร ผู้สร้างปัญญา สรณงฺกโร ผู้สร้างที่พึ่ง
ทีปงฺกโร ผู้สร้างที่พึ่ง ปุรินฺทโท ผู้เคยให้ทาน
ธมฺมธโร ผู้ทรงธรรม วินยธโร ผู้ทรงวินัย
ทินกโร ทิวากโร  ผู้ทำกลางวัน (ดวงอาทิตย์)
สพฺพทโท ผู้ให้ทุกสิ่ง อนฺนโท ผู้ให้ข้าว
ธนโท ผู้ให้ทรัพย์ สจฺจสนฺโธ ผู้ยึดมั่นคำสัจ
โคตฺตํ ผู้รักษาชื่อเสียง นยนํ เครื่องนำทาง
วินโย เครื่องแนะนำ นิสฺสโย ผู้อาศัย
อนุสโย ธรรมที่นอนเนื่อง วินิจฺฉโย การวินิจฉัย
ปจฺจโย      ธรรมที่ให้ผลอาศัยเป็นไป (เหตุ, ปัจจัย)
อุจฺจโย สญฺจโย การสะสม ธมฺมวิจโย ผู้วิจัยธรรม
ขโย ความสิ้นไป วิชโย ชโย การชนะ
กโย วิกฺกโย การซื้อ-ขาย อาลโย ลโย ที่อาศัย อาลัย
อาสโว อาสวะ รโว เสียงร้อง
ปภโว ที่เกิด นิคฺคโห การข่ม
ปคฺคโห การยกย่อง สงฺคโห การรวบรวม
สํวโร การสำรวม อาทโร ความเอื้อเฟื้อ
อาคโม การมา อาคม สปฺโป งู
เทโว เทวดา, ฝน วนจโร นักท่องไพร, พราน
กามาวจโร กามาวจร โคจโร โคจร
ปาทโป ต้นไม้ กจฺฉโป เต่า
สิโรรุโห เส้นผม คุหาสยํ จิต
โอสธํ ยาสมุนไพร เคหํ คหํ เรือน
โลกนายโก ผู้แนะนำชาวโลก วินายโก ผู้แนะนำสัตว์
การโก ผู้ทำ ช่าง ทายโก ผู้ให้ ทายก
สาวโก ผู้เชื่อฟัง สาวก อุปาสโก ผู้นั่งใกล้
ปาจโก ผู้หุง พ่อครัว ชนโก ชนิกา ผู้ให้กำเนิด
สมโก ผู้สงบ วธโก นักฆ่า
ฆาตโก นักฆ่า กายโก นักขาย
ชานนโก ผู้รู้ การาปโก ผู้ใช้ให้ทำ
ภตฺตา ผู้เลี้ยงดู สามี ทาตา ผู้ให้
วตฺตา ผู้กล่าว พุชฺฌิตา ผู้ตรัสรู้
ญาตา ผู้รู้ โสตา ผู้ฟัง
สริตา ผู้ระลึกถึง มนฺตา ผู้รู้
ภยทสฺสาวี ผู้เห็นภัย สตฺถา พระศาสดา
ปิตา ผู้รักษาบุตร ธีตา ผู้มารดาบิดาดูแล
มาตา ผู้ยกย่องเทิดทูนบุตรโดยธรรม
ราโค เครื่องกำหนัด ปาโท เครื่องช่วยไป เท้า
โภโค โภคทรัพย์ ลาโภ สิ่งที่ควรได้
โวหาโร โวหาร วิหาโร ที่อยู่สงบ
อาราโม ที่น่ารื่นรมย์ โสโก ความเศร้าโศก
จาโค การสละ ปริฬาโห ความร้อนรุ่ม
สงฺขาโร สังขาร ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง
ปริกฺขาโร บริขาร โลโภ ความโลภ
โทโส ธรรมประทุษร้ายจิต โมโห ธรรมที่จิตหลง
สมฺภู สยมฺภู ผู้เป็นเอง วิภู อภิภู ผู้เป็นใหญ่
วิภา ปภา แสงสว่าง สภา ที่ประชุม
กุญฺชโร ช้าง ผู้ชอบหุบเขา กมฺมโช เกิดจากกรรม
จิตฺตชํ เกิดจากจิต อุตุชํ เกิดจากอุตุ
อาหารชํ เกิดจากอาหาร อตฺตโช เกิดจากตน
ทฺวิโช เกิดสองครั้ง อนุโช เกิดภายหลัง

 

    อตีตคณะ

ภูโต              เป็นแล้ว ภูต      หุโต หุตวา     บูชาแล้ว
วุตฺโถ จำพรรษาแล้ว อุสิโต วุสิโต อยู่แล้ว
ภุตฺโต กินแล้ว ยุตฺโต
ประกอบแล้ว
วิวิตฺโต สงัดแล้ว มุตฺโต พ้นแล้ว
วิมุตฺติ ความหลุดพ้น กุทฺโธ โกรธแล้ว
อารทฺโธ เริ่มขึ้นแล้ว สิทฺโธ สำเร็จแล้ว
วุฑฺโฒ เจริญแล้ว พุทฺธิ การตรัสรู้
สํปุณฺโณ สมบูรณ์แล้ว สนฺโต สงบแล้ว
คีติ คำที่สวด นจฺจํ นฏฺฏํ การฟ้อนรำ
หสิตํ การยิ้มแย้ม ภาสิโต ภาสิตแล้ว
เทสิโต แสดงแล้ว วุตฺตํ กล่าวแล้ว
ปูชิโต บูชาแล้ว มานิโต นับถือแล้ว
วนฺทิโต ไหว้แล้ว สกฺการิโต สักการะแล้ว

 

    ตเวตุนาทิคณะ

กาตเว กาตุํ     เพื่อทำ    กาตุน กตฺวา กตฺวาน กริตฺวา ทำแล้ว
โสตเว โสตุํ เพื่อฟัง สุณิตฺวา สุตฺวา สุตฺวาน ฟังแล้ว
คนฺตุํ เพื่อไป คนฺตฺวา
ไปแล้ว
ปสฺสิตุํ เพื่อดู ปสฺสิย ปสฺสิตฺวา ทิสฺวา เห็นแล้ว
สยิตุํ เพื่อนอน สยิตฺวา สยิตฺวาน นอนแล้ว
ภุญฺชิตุ เพื่อกิน ภุญฺชิตฺวา ภุญฺชิตฺวาน กินแล้ว
ทาตุํ เพื่อให้ ทตฺวา ทตฺวาน ให้แล้ว
อภิวนฺทิย ไหว้แล้ว อภิวนฺทิตฺวา ไหว้แล้ว
นิสฺสาย อาศัยแล้ว  วิภชฺช วิภชิย จำแนกแล้ว

 

    วัตตมานกาลิกคณะ

คจฺฉํ คจฺฉนฺโต คจฺฉมาโน             ไปอยู่
มหํ มหนฺโต มหมาโน บูชาอยู่
จรํ จรมาโน เที่ยวไปอยู่
ภวํ ภวนฺโต อภิภวมาโน เจริญอยู่
ลภํ ลภมาโน ลพฺภมาโน ได้อยู่
อิจฺฉํ อิจฺฉมาโน ปรารถนาอยู่
ปสฺสํ ปสฺสมาโน เห็นอยู่ ดูอยู่
ททํ ททมาโน ให้อยู่
ภุญฺชํ ภุญฺชมาโน บริโภคอยู่
กุพฺพํ กุพฺพนฺโต กโรนฺโต กุรุมาโน    กระทำอยู่

 

    อุณาทิกคณะ

การุ       นายช่าง         วายุ       ลม
สาทุ ของหวาน สาธุ ยินดี ขอบคุณ
พนฺธุ เผ่าพันธุ์ อายุ
อายุ
ทารุ ฟืน ท่อนไม้ ราหุ อสุรินทราหู
กรุณา ความสงสาร วาโต ลม
ภูมิ ภาคพื้น เขโม ความสิ้น-เสื่อม 
อตฺตา ตัวตน ตน สมโถ ธรรมสงบกิเลส
สปโถ สบถ สาปแช่ง    อาวสโถ    ที่อยู่

 

ศัทพ์กิตก์นี้ สามารถนำไปจำแนกเนื้อความด้วยนามวิภัตติได้ เพราะจัดเป็นนามศัพท์ ยกเว้นตเวตุนาทิคณะที่จำแนกวิภัตติไม่ได้

 

นักศึกษาควรหาศัพท์อื่น ๆ ได้จากพจนานุกรมบาลีไทยทั่วไป

 

บทที่ ๑๖

หลักการแปลบาลีเป็นไทย

 

การแปลบาลีเป็นไทยนั้น ให้ถือหลักการแปลตามคำศัพท์ต่อไปนี้

 

๑. อาลปนะ เช่น ภิกฺขเว, ปุริส, ภนฺเต, อาวุโส, โภ, ภทฺเท, เช

๒. นิบาตต้นข้อความ เช่น จ, ปน, หิ ตุ, อถวา

๓. นิบาตบอกข่าวลือ เช่น กิร, ขลุ, สุทํ

๔. กาลสัตตมี เช่น อตีเต, อถ, เอกํ สมยํ, ปาโต, สายํ

๕. ประธานในประโยค (วิเสสยะ) เช่น พุทฺโธ, ปุริโส, อิตฺถี, จิตฺตํ

๖. บทขยายประธาน (วิเสสนะ) เช่น มหาการุณิโก, โส, สา, ตํ

๗. กิริยาในระหว่าง หรือประโยคแทรก เช่น กตฺวา, ตสฺมึ คจฺฉนฺเต

๘. บทขยายกิริยาในระหว่าง เช่น อตฺตโน กมฺมนฺตํ กตฺวา

๙. กิริยาคุมพากย์หรือกิริยาอาขยาต เช่น คจฺฉติ, ปจติ, ปสฺสติ

๑๐. บทขยายกิริยาคุมพากย์ เช่น ทุกฺกรํ, ทุกฺกฏํ, สุขํ, น, โน, มา

๑๑. นิบาตคำถาม เช่น กึ, นุ, กินฺนุ, วา

 

หลักการแปลทั้ง ๑๑ ข้อนี้ หากข้อใดไม่มีอยู่ในประโยคบาลีให้เว้นไป แล้วดูข้อต่อ ๆ ไป 

 

 

    ตัวอย่างประโยคบาลี

 

ให้นักศึกษาอ่านประโยคบาลีต่อไปนี้แล้ว ดูว่าศัพท์ไหนเป็นอาลปนะ นิบาต ประธาน หรือกิริยาเป็นต้นแล้ว ทดลองแปลโดยถือตามหลักการแปล ๑๑ ข้อข้างต้นนั้น (ดูคำแปลหน้าถัดไป)

 

๑. พุทฺโธ ธมฺมํ เทเสติ.

๒. ภิกฺขู ธมฺมํ สุณนฺติ.

๓. ตฺวํ ปาเทหิ สิปฺปาคารํ อาคจฺฉสิ.

๔. ตุมฺเห รเถน คามํ คจฺฉถ.

๕. อหํ ยาจกสฺส เอกกหาปณํ ททามิ.

๖. มยํ ภิกฺขุสํฆสฺส ทานํ เทม.

๗. มนุสฺสา ปาณาติปาตา วิรมนฺตุ.

๘. อุปาสกา คามา นิคฺคตา.

๙. มยํ อตฺตโน สนฺตกํ ปริจฺจชาม.

๑๐. อิโต อมฺหากํ คาโม อวิทูเร โหติ.

๑๑. โลเก มหาการุณิโก พุทฺโธ เทวมนุสฺสานํ หิตาย สุขาย อุปฺปชฺชติ.

๑๒. อตีเต กิร พหู มนุสฺสา ธมฺมสฺสวนาย วิหารํ อคจฺฉึสุ.

๑๓. เอกโกว ภนฺเต ตฺวํ ปิณฺฑาย อปฺปสทฺธิกานํ อมฺหากํ เคหํ ปวิสาหิ.

๑๔. เสฺว ภนฺเต นวหิ ภิกฺขูหิ สทฺธึ ภุญฺชนตฺถาย อมฺหากํ ฆรํ อาคเมถ.

๑๕. อเถกทิวสํ สตฺถา ปจฺจูสกาเล โลกํ โวโลเกนฺโต ตํ พฺราหฺมณํ ทิสฺวา "กินฺนุ โข"ติ อุปธาเรนฺโต "อรหา ภวิสฺสตี"ติ ญตฺวา สายญฺหสมเย วิหารจาริกํ จรนฺโต วิย พฺราหฺมณสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา "พฺราหฺมณ กึ กโรนฺโต วิจรสี"ติ อาห.

๑๖. โส พฺราหฺมโณ "ภิกฺขูนํ วตฺตปฺปฏิวตฺตํ กโรมิ ภนฺเต"ติ อาห. "ลภสิ เตสํ สนฺติกา สงฺคห"นฺติ. "อาม ภนฺเต, อาหารมตฺตํ ลภามิ, น ปน มํ ปพฺพาเชนฺตี"ติ.

๑๗. สตฺถา เอตสฺมึ นิทาเน ภิกฺขุสํฆํ สนฺนิปาตาเปตฺวา ตมตฺถํ ปุจฺฉิตฺวา "ภิกฺขเว อตฺถิ โกจิ อิมสฺส พฺราหฺมณสฺส อธิการํ สรนฺโต"ติ ปุจฺฉิ. สาริปุตฺตตฺเถโร "อหํ ภนฺเต สรามิ, อยํ เม ราชคเห ปิณฺฑาย จรนฺตสฺส อตฺตโน อภิหฏํ กฏจฺฉุภิกฺขํ ทาเปสิ, อิมสฺสาหํ อธิการํ สรามิ, สาธุ ภนเต, ปพฺพาเชสฺสามี"ติ อาห.

๑๘. นิธีนํว ปวตฺตารํ          ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ

        นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ    ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช

        ตาทิสํ ภชมานสฺส      เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.

                                     (ขุ.ธ. ๒๕/๗๖/๓๐)

 

 

    คำแปล

 

๑. พระพุทธองค์ ทรงแสดง ซึ่งธรรม

๒. ภิกษุทั้งหลาย กำลังฟัง ซึ่งธรรม

๓. เธอ มา สู่โรงเรียน ด้วยเท้า (เธอเดินมาโรงเรียน)

๔. พวกเธอ ไป สู่บ้าน ด้วยรถ (พวกเธอนั่งรถกลับบ้าน)

๕. ข้าพเจ้า ให้ เงิน ๑ บาท แก่ขอทาน

๖. พวกข้าพเจ้า ถวาย ทาน แก่ภิกษุสงฆ์

๗. มนุษย์ทั้งหลาย จงพากันเว้น จากการเบียดเบียนสัตว์

๘. อุบาสกและอุบาสิกา ออกไปแล้ว จากบ้าน

๙. พวกข้าพเจ้า พากันบริจาค ซึ่งทรัพย์ ของตน

๑๐. หมู่บ้านของพวกข้าพเจ้า มีอยู่ ไม่ไกล จาก(โรงเรียน)นี้

๑๑. พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระมหากรุณา เสด็จอุบัติขึ้น ในโลก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

๑๒. ได้ยินว่า ในอดีตกาล มนุษย์เป็นอันมาก ได้พากันไปแล้ว สู่วิหารเพื่อฟังธรรม

๑๓. ท่านครับ ท่านผู้เดียวเท่านั้น นิมนต์เข้าไป สู่เรือน ของพวกกระผม ผู้มีศรัทธาน้อย เพื่อรับบิณฑบาต

๑๔. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในวันพรุ่งนี้ นิมนต์ท่าน มาสู่บ้าน ของพวกข้าพเจ้า เพื่อฉันภัตตาหาร พร้อมด้วยภิกษุ ๙ รูป

๑๕. ครั้งนั้น วันหนึ่ง พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตว์โลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้นแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า "เหตุไรหนอ" ดังนี้แล้ว ทรงทราบว่า "ราธพราหมณ์จักเป็นพระอรหันต์" ในเวลาเย็น ทรงเป็นเหมือนเสด็จเที่ยวไปในวิหาร เสด็จไปสู่ที่อยู่ของพราหมณ์แล้วตรัสว่า "พราหมณ์ เธอเที่ยวทำอะไรอยู่"

๑๖. พราหมณ์นั้นกราบทูลว่า "ข้าพระพุทธองค์ทำวัตรและปฏิวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ พระพุทธเจ้าข้า" "เธอได้การสงเคราะห์จากสำนักของภิกษุเหล่านั้นหรือ" "ได้พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธองค์ได้แต่เพียงอาหาร แต่ท่านไม่ให้ข้าพระพุทธองค์บวช"

๑๗. พระศาสดารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเรื่องนั้นแล้ว ตรัสถามความนั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้ มีอยู่บ้างหรือ" พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า "พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธองค์ระลึกได้ เมื่อข้าพระพุทธองค์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤหฺ พราหมณ์นี้ให้คน ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งที่เขานำมาเพื่อตน ข้าพระพุทธองค์ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้ ดีแล้วพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธองค์จักให้บวช"

๑๘. บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญา ซึ่งเป็นผู้กล่าวชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ พึงคบผู้มีปัญญาซึ่งเป็นบัณฑิตเช่นนั้น เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มีโทษอันเลวทรามเลย

 

 

 

 

    คำทักทายด้วยภาษาบาลีง่าย ๆ

 

๑. สุปภาตํ ภนฺเต.

     สุปภาตํ อาวุโส.

๒. กจฺจิ ขมนียํ ยาปนียํ ภนฺเต.

     ขมนียํ อาวุโส, ตวํ ปน.

๓. กินฺนาโมสิ ตฺวํ. (กินฺนามาสิ ตฺวํ)

     มุนี นาม ภนฺเต. (สิริมา นาม ภนฺเต)

๔. กุโต อาคจฺฉสิ ภนฺเต.

     คามโต อาคจฺฉามิ, ตวํ ปน.

     ลาดพร้าวนิคมโต อาคจฺฉามิ.

๕. กุหึ คจฺฉถ ตุมฺเห.

     อาปเณ คจฺฉาม, ตุมฺเห ปน.

     เชียงใหม่นครํ คจฺฉาม.

๖. กํ สิปฺปํ สิกฺขถ ตุมฺเห

     ปาลิพฺยากรณํ สิกฺขาม, ตุมฺเห ปน.

      ติปิฏกํ อุคฺคณฺหาม.

 

 

คันถนีติ

 

๑. คนกับโค

 

อสนํ เมถุนํ นิทฺทา      โคเณ โปเสปิ วิชฺชติ

วิชฺชา วิเสโส โปสสฺส  หีโน โคณสโม ภเว.

 

อาหารการหลับทั้ง   เสพกาม

มีแก่ชายโคนาม       นับผู้

ชายไววิทยางาม       เห็นแปลก โคแฮ

แม้บ่มีศิลป์รู้             เสื่อมร้าย ราวโค

 

๒. โลภเรียน

 

โย สิสฺโส สิปฺปโลเภน   พหุํ คณฺหาติ ตํ สิปฺปํ

มูโคว สุปินํ ปสฺสํ          กเถตุมฺปิ น อุสฺสเห.


ศิษย์เสพศิลป์มากล้น    เหลือจำ

ครรไลหลงงึมงำ           อัดอั้น

บ่อาจต่อตอบคำ           นานนิ่ง

ดูดุจใบ้ลิ้นสั้น                ไป่แก้สุบิน

 

๓. ช้าเป็นประโยชน์

 

สิเน สิปฺปํ สิเน ธนํ       สิเน ปพฺพตมารุหํ

สิเน กามสฺส โกธสฺส    อิเม ปญฺจ สิเน สิเน.

 

เรียนศิลป์แสวงทรัพย์ด้อม     เดินไศล

สามสิ่งอย่าเร็วไว                  ชอบช้า

เสพกามหนึ่งคือใจ                มักโกรธ

สองประการนี้ถ้า                   ผ่อนน้อยเป็นคุณ

 

๔. เส้นทางบัณฑิต

 

สุจิปุภาวิลิมุตฺโต          น หิ โส ปณฺฑิโต ภเว

สุจิปุภาวิลิคาโห          ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.

 

เว้นวิจารณ์ว่างเว้น         สดับฟัง

เว้นที่ถามอันยัง             ไป่รู้

เว้นเล่าลิขิตสัง               เกตว่าง เว้นนา

เว้นดั่งกล่าวว่าผู้             ปราชญ์ได้ฤามี

 

สุ = สุตนํ  สนใจฟัง     จิ = จินฺตนํ  คิดพิจารณา

ปุ = ปุจฺฉนํ  ถามข้อสงสัย  ภา = ภาสนํ  ท่องบ่นสาธยาย

วิ = วิสชฺชนํ  อธิบายความได้  ลิ = ลิขนํ  บันทึกจดจำ

 

๕. ศิลป์กับทรัพย์

 

โปตฺถเกสุ จ ยํ สิปฺปํ      ปรหตฺเถสุ ยํ ธนํ

ยทา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน    น ตํ สิปฺปํ น ตํ ธนํ.

 

บ่จำความรู้ไว้      ใบลาน

ทรัพย์ฝากท่านสาธารณ์  ป่นปี้

คาบใดกิจบันดาล       ดลเกิด บ้างแฮ

ทรัพย์แลความรู้นี้       ห่อนได้เป็นคุณ

 

๖. เกียจคร้านผลาญบุญ

 

อลสสฺส กุโต สิปฺปํ    อสิปฺปสฺส กุโต ธนํ

อธนสฺส กุโต มิตฺตํ    อมิตฺตสฺส กุโต สุขํ

อสุขสฺส กุโต ปุญฺญํ  อปุญฺญสฺส กุโต วรํ.

 

มักคร้านฤารอบรู้    วิทยา

ศิลปศาสตร์เสื่อมสินหา  ไป่ได้

ไร้ทรัพย์อับผู้มา      เป็นเพื่อน

เว้นมิตรสุขบุญไซร้    เลิศล้ำแรมโรย

 

๗. มนต์กับมลทิน

 

อสชฺฌาย มลา มนฺตา   อนุทฺธาน มลา ฆรา

มลํ วณฺณสฺส โกสชฺช    ปมาโท รกฺขโต มลํ.

 

เจ็ดวันเว้นว่างซ้อม      ดนตรี

ห้าวันอักขระหนี           เนิ่นช้า

สามวันจากนารี            เป็นอื่น

วันเดียวบ่ล้างหน้า        อับเศร้าศรีหมอง

 

๘. ศิลป์จตุรภาค

 

อาจริยา ปาทมาทตฺเต    ปาทํ สิสฺโส สชานนา

ปาทํ สพฺรหฺมจารีหิ          ปาทํ กาลกฺกเมน จ.

 

ส่วนหนึ่งจากครูผู้     สอนสั่ง

ส่วนสองปัญญาหลั่ง   รอบรู้

ส่วนสามจากเพื่อนนั่ง    เคียงคู่ ตนแฮ

ส่วนสี่คืนวันสู้             ศาสตร์ได้สมถวิล

 

<<<                   >>>