บทที่ ๑
อักขรวิธี วิธีการเรียกชื่ออักษร
อักขระ คืออักษรภาษาบาลี ๔๑ ตัว ท่านเรียกว่า "อักขระ" เพราะไม่หมดสิ้นไป ดังมีวิเคราะห์ศัพท์ว่า
น ขรนฺตีติ อกฺขรา.
วัณณะที่ไม่หมดสิ้นไป ชื่อว่า อักขระ
ขรนฺติ วินสฺสนฺตีติ ขรา, น ขรา อกฺขรา.
วัณณะที่หมดสิ้นไป ชื่อว่า ขระ วัณณะที่ไม่หมดสิ้นไป ชื่อว่าอักขระ
น ขรนฺตีติ อกฺขรา.
วัณณะที่ไม่หมดสิ้นไป ชื่อว่า อักขระ
ขรนฺติ วินสฺสนฺตีติ ขรา, น ขรา อกฺขรา.
วัณณะที่หมดสิ้นไป ชื่อว่า ขระ วัณณะที่ไม่หมดสิ้นไป ชื่อว่าอักขระ
อักษรภาษาบาลี แบ่งเป็น
สระ คืออักษรที่ออกเสียงเองได้และช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ มี ๘ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู
เอ โอ
พยัญชนะ คืออักษรที่ทำให้เนื้อความปรากฏ มี ๓๓ ตัว คือ
ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
พยัญชนะ คืออักษรที่ทำให้เนื้อความปรากฏ มี ๓๓ ตัว คือ
ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
สระ ๘ ตัว แบ่งเป็น
รัสสระ ออกเสียงสั้น ๓ ตัว คือ อ อิ อุ
ทีฆสระ ออกเสียงยาว ๕ ตัว คือ อา อี อู เอ โอ
ทีฆสระ ออกเสียงยาว ๕ ตัว คือ อา อี อู เอ โอ
พยัญชนะ ๓๓ ตัว แบ่งเป็น
พยัญชนะวรรค จัดเข้าไว้ในพวกเดียวกันได้ มี ๒๕ ตัว แบ่งเป็น ๕ วรรค วรรคละ ๕ ตัว ดังนี้
ก ข ค ฆ ง เรียกว่า กวรรค เพราะมี ก อักษรเป็นตัวแรก
จ ฉ ช ฌ ญ เรียกว่า จวรรค เพราะมี จ อักษรเป็นตัวแรก
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า ฏวรรค เพราะมี ฏ อักษรเป็นตัวแรก
ต ถ ท ธ น เรียกว่า ตวรรค เพราะมี ต อักษรเป็นตัวแรก
ป ผ พ ภ ม เรียกว่า ปวรรค เพราะมี ป อักษรเป็นตัวแรก
การจัดพยัญชนะไว้เป็นวรรคละ ๕ ตัวเช่นนี้ เพราะอักษรทุกตัวในวรรคนั้น ๆ มีการออกเสียงโดยอาศัยฐาน กรณ์ ปยตนะ อย่างเดียวกัน ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทที่ ๒
พยัญชนะอวรรค มี ๘ ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อํ (นิคหิต) จัดเข้าไว้ในพวกเดียวกันไม่ได้ เพราะมีการออกเสียงโดยอาศัยฐานและกรณ์ต่างกัน
ก ข ค ฆ ง เรียกว่า กวรรค เพราะมี ก อักษรเป็นตัวแรก
จ ฉ ช ฌ ญ เรียกว่า จวรรค เพราะมี จ อักษรเป็นตัวแรก
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า ฏวรรค เพราะมี ฏ อักษรเป็นตัวแรก
ต ถ ท ธ น เรียกว่า ตวรรค เพราะมี ต อักษรเป็นตัวแรก
ป ผ พ ภ ม เรียกว่า ปวรรค เพราะมี ป อักษรเป็นตัวแรก
การจัดพยัญชนะไว้เป็นวรรคละ ๕ ตัวเช่นนี้ เพราะอักษรทุกตัวในวรรคนั้น ๆ มีการออกเสียงโดยอาศัยฐาน กรณ์ ปยตนะ อย่างเดียวกัน ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทที่ ๒
พยัญชนะอวรรค มี ๘ ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ อํ (นิคหิต) จัดเข้าไว้ในพวกเดียวกันไม่ได้ เพราะมีการออกเสียงโดยอาศัยฐานและกรณ์ต่างกัน
บทที่ ๒
ฐาน กรณ์ ปยตนะ
อักษรภาษาบาลีทั้ง ๔๑ ตัวเหล่านั้น จะเปล่งออกเสียงได้ ต้องอาศัย ฐาน กรณ์ และปยตนะ ดุจเสียงระฆัง จะดังขึ้นได้ต้องอาศัยฐานคือตัวระฆัง กรณ์คือลูกตุ้มสำหรับตี
และปยตนะคือความพยายามของผู้ตี
ฐาน
ฐาน คือที่ตั้งของเสียงอักษร วิเคราะห์ว่า "ติฏฺฐนฺติ เอตฺถาติ ฐานํ กณฺฐาทิ ที่ตั้งของเสียงอักษร ชื่อว่าฐาน ได้แก่ กัณฐะ
เป็นต้น" มี ๖ อย่าง คือ
๑. กัณฐฐาน หลอดลำคอ เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๒. ตาลุฐาน เพดานปาก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๓. มุทธฐาน ปุ่มเหงือกบน เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๔. ทันตฐาน ฟัน เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๕. โอฏฐฐาน ริมฝีปาก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๖. นาสิกาฐาน โพรงจมูก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๑. กัณฐฐาน หลอดลำคอ เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๒. ตาลุฐาน เพดานปาก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๓. มุทธฐาน ปุ่มเหงือกบน เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๔. ทันตฐาน ฟัน เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๕. โอฏฐฐาน ริมฝีปาก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
๖. นาสิกาฐาน โพรงจมูก เป็นที่ตั้งที่เกิดของเสียง
จำแนกอักษร ๔๑ ตัว โดยฐาน ๖
อ อา ก ข ค ฆ ง ห เกิดที่กัณฐฐาน (หลอดลำคอ)
อิ อี จ ฉ ช ฌ ญ ย เกิดที่ตาลุฐาน (เพดานปาก)
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ฬ เกิดที่มุทธฐาน (ปุ่มเหงือกบน)
อิ อี จ ฉ ช ฌ ญ ย เกิดที่ตาลุฐาน (เพดานปาก)
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ร ฬ เกิดที่มุทธฐาน (ปุ่มเหงือกบน)
อุ อู ป ผ พ ภ ม เกิดที่โอฏฐฐาน (ริมฝีปาก)
เอ เกิดที่กัณฐ+ตาลุฐาน (คอและเพดานปาก)
โอ เกิดที่กัณฐ+โอฏฐฐาน (คอและริมฝีปาก)
ว เกิดที่ทันต+โอฏฐฐาน (ฟันและริมฝีปาก)
อํ เกิดที่นาสิกาฐาน (โพรงจมูก)
ง ญ ณ น ม เกิดที่สก+นาสิกาฐาน (ฐานเดิมและโพรงจมูก)
อักษรบางตัวเกิดจากฐานเดียว เรียกว่า เอกชะ, บางตัวเกิดจาก ๒ ฐาน เรียกว่า ทวิชะ
เอ เกิดที่กัณฐ+ตาลุฐาน (คอและเพดานปาก)
โอ เกิดที่กัณฐ+โอฏฐฐาน (คอและริมฝีปาก)
ว เกิดที่ทันต+โอฏฐฐาน (ฟันและริมฝีปาก)
อํ เกิดที่นาสิกาฐาน (โพรงจมูก)
ง ญ ณ น ม เกิดที่สก+นาสิกาฐาน (ฐานเดิมและโพรงจมูก)
อักษรบางตัวเกิดจากฐานเดียว เรียกว่า เอกชะ, บางตัวเกิดจาก ๒ ฐาน เรียกว่า ทวิชะ
กรณ์ ๔
กรณ์ คืออวัยวะที่ไปกระทบกับฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น วิเคราะห์ว่า "กรียนฺเต อุจฺจารียนฺเต เอเตนาติ
กรณํ อวัยวะที่ทำให้สวดออกเสียงอักษรได้ ชื่อว่ากรณ์" มี ๔ อย่าง คือ
๑. ชิวหามัชฌกรณ์ กลางลิ้น ไปกระทบกับตาลุฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๒. ชิวโหปัคคกรณ์ ใกล้ปลายลิ้น ไปกระทบกับมุทธฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๓. ชิวหัคคกรณ์ ปลายลิ้น ไปกระทบกับทันตฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๔. สกฐานกรณ์ ฐานของตน ไปกระทบกับฐานของตนทำให้เสียงเกิดขึ้น
๑. ชิวหามัชฌกรณ์ กลางลิ้น ไปกระทบกับตาลุฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๒. ชิวโหปัคคกรณ์ ใกล้ปลายลิ้น ไปกระทบกับมุทธฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๓. ชิวหัคคกรณ์ ปลายลิ้น ไปกระทบกับทันตฐานทำให้เสียงเกิดขึ้น
๔. สกฐานกรณ์ ฐานของตน ไปกระทบกับฐานของตนทำให้เสียงเกิดขึ้น
จำแนกอักษร ๔๑ ตัว โดยกรณ์ ๔
๑. กลางลิ้น ทำให้เกิดเสียง อิ อี เอ จ ฉ ช ฌ ญ ย
๒. ใกล้ปลายลิ้น ทำให้เกิดเสียง ฏ ฐ ฏ ฑ ฒ ณ ร ฬ
๓. ปลายลิ้น ทำให้เกิดเสียง ต ถ ท ธ น ล ว ส
๔. ฐานของตน ทำให้เกิดเสียง อ อา อุ อู เอ โอ ก ข ค ฆ
ง ป ผ พ ภ ม ว ห อํ
๒. ใกล้ปลายลิ้น ทำให้เกิดเสียง ฏ ฐ ฏ ฑ ฒ ณ ร ฬ
๓. ปลายลิ้น ทำให้เกิดเสียง ต ถ ท ธ น ล ว ส
๔. ฐานของตน ทำให้เกิดเสียง อ อา อุ อู เอ โอ ก ข ค ฆ
ง ป ผ พ ภ ม ว ห อํ
นักศึกษาควรฝึกออกเสียงอักษรทุกตัว โดยพยายามให้กรณ์ไปกระทบกับฐานของอักษรตัวนั้น ๆ ตามที่จำแนกไว้นี้ให้ถูกต้องหรือใกล้เคียงมากที่สุด
ปยตนะ ๔
ปยตนะ คือความพยายามในการเปล่งออกเสียง วิเคราะห์ว่า "อุจฺจารณตฺถํ ปยตียเต ปยตนํ ความพยายามเพื่อการออกเสียงชื่อว่า ปยตนะ" มี
๔ อย่าง คือ
๑. สังวุตปยตนะ ความพยายามปิดฐานเปล่งเสียง
๒. วิวฏปยตนะ ความพยายามเปิดฐานเปล่งเสียง
๓. ผุฏฐปยตนะ ความพยายามกระทบฐานหนักเปล่งเสียง
๔. อีสังผุฏฐปยตนะ ความพยายามกระทบฐานเบาเปล่งเสียง
๑. สังวุตปยตนะ ความพยายามปิดฐานเปล่งเสียง
๒. วิวฏปยตนะ ความพยายามเปิดฐานเปล่งเสียง
๓. ผุฏฐปยตนะ ความพยายามกระทบฐานหนักเปล่งเสียง
๔. อีสังผุฏฐปยตนะ ความพยายามกระทบฐานเบาเปล่งเสียง
จำแนกอักษร ๔๑ ตัว โดยปยตนะ ๔
๑. ความพยายามปิดฐานเปล่งเสียง อ ํ (อํ)
๒. ความพยายามเปิดฐานเปล่งเสียง อา อิ อี อุ อู เอ โอ ส ห ํ (อึ อุํ)
๓. ความพยายามกระทบฐานหนักเปล่งเสียงพยัญชนะวรรคทั้ง ๒๕ ตัว คือ ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม
๔. ความพยายามกระทบฐานเบาเปล่งเสียง ย ร ล ว ฬ
๒. ความพยายามเปิดฐานเปล่งเสียง อา อิ อี อุ อู เอ โอ ส ห ํ (อึ อุํ)
๓. ความพยายามกระทบฐานหนักเปล่งเสียงพยัญชนะวรรคทั้ง ๒๕ ตัว คือ ก ข ค ฆ ง, จ ฉ ช ฌ ญ, ฏ ฐ ฑ ฒ ณ, ต ถ ท ธ น, ป ผ พ ภ ม
๔. ความพยายามกระทบฐานเบาเปล่งเสียง ย ร ล ว ฬ
บทที่ ๓
สิถิละ ธนิตะ โฆสะ อโฆสะ วิมุตตะ
อักษรบาลี ๔๑ ตัวนั้น เฉพาะพยัญชนะ ๓๓ ตัว มีการออกเสียงที่แตกต่างกัน บางตัวออกเสียงอ่อน บางตัวออกเสียงแข็ง บางตัวออกเสียงก้องกังวาล บางตัวออกเสียงไม่ก้องกังวาล
บางตัวออกเสียงทั้งอ่อนทั้งกังวาล เป็นต้น จำแนกได้ดังนี้
จำแนกพยัญชนะ ๓๓ ตัว โดยสิถิละ ธนิตะ วิมุตตะ
๑. สิถิละ พยัญชนะที่ออกเสียงอ่อน ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ก ค, จ ช, ฏ ฑ, ต ท, ป พ
๒. ธนิตะ พยัญชนะที่ออกเสียงแข็ง ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฐ ฒ, ถ ธ, ผ ภ ญ
๓. วิมุตตะ พยัญชนะที่ออกเสียงพ้นจากความเป็นสิถิละและธนิตะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๕ ของวรรคทั้ง ๕ และพยัญชนะอวรรค
ทั้งหมด คือ ง ญ ณ น ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
จำแนกพยัญชนะ ๓๓ ตัว โดยโฆสะ อโฆสะ วิมุตตะ
๑. โฆสะ พยัญชนะที่ออกเสียงกังวาล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔ และ ๕ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ค ฆ ง, ช ฌ ญ , ฑ ฒ ณ, ท ธ น, พ ภ ม และพยัญชนะอวรรค ๖ ตัว คือ ย ร ล ว ห ฬ
๒. อโฆสะ พยัญชนะที่ออกเสียงไม่กังวาล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๒ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ ฐ, ต ถ, ป ผ และ พยัญชนะอวรรค ๑ ตัว คือ ส
๓. วิมุตตะ พยัญชนะที่ออกเสียงพ้นจากความเป็นโฆสะและอโฆสะ ได้แก่ อํ (นิคหิต)
จำแนกพยัญชนะ ๓๓ ตัว โดยสิถิละ ธนิตะ วิมุตตะ
๑. สิถิละ พยัญชนะที่ออกเสียงอ่อน ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ก ค, จ ช, ฏ ฑ, ต ท, ป พ
๒. ธนิตะ พยัญชนะที่ออกเสียงแข็ง ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฐ ฒ, ถ ธ, ผ ภ ญ
๓. วิมุตตะ พยัญชนะที่ออกเสียงพ้นจากความเป็นสิถิละและธนิตะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๕ ของวรรคทั้ง ๕ และพยัญชนะอวรรค
ทั้งหมด คือ ง ญ ณ น ม, ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
จำแนกพยัญชนะ ๓๓ ตัว โดยโฆสะ อโฆสะ วิมุตตะ
๑. โฆสะ พยัญชนะที่ออกเสียงกังวาล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔ และ ๕ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ค ฆ ง, ช ฌ ญ , ฑ ฒ ณ, ท ธ น, พ ภ ม และพยัญชนะอวรรค ๖ ตัว คือ ย ร ล ว ห ฬ
๒. อโฆสะ พยัญชนะที่ออกเสียงไม่กังวาล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๒ ของวรรคทั้ง ๕ คือ ก ข, จ ฉ, ฏ ฐ, ต ถ, ป ผ และ พยัญชนะอวรรค ๑ ตัว คือ ส
๓. วิมุตตะ พยัญชนะที่ออกเสียงพ้นจากความเป็นโฆสะและอโฆสะ ได้แก่ อํ (นิคหิต)
บทที่ ๔
การอ่าน การเขียน
การอ่าน อักษรบาลี ๔๑ ตัวนั้น สระ ๘ ตัว อ่านออกเสียงเองได้เลยว่า อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ, ส่วนพยัญชนะ ๓๓ ตัว
อ่านออกเสียงเองไม่ได้ ต้องอาศัยสระจึงอ่านออกเสียงได้ว่า ก กา กิ กี กุ กู เก โก เป็นต้น, เฉพาะ ํ (นิคหิค) นั้น อาศัยรัสสระ อ อิ อุ ๓
ตัวเท่านั้น จึงอ่านออกเสียงได้ว่า อํ อึ อุํ, ถ้าพยัญชนะไม่มีสระจะมีจุดอยู่ข้างล่าง ให้อ่านเป็นสะกด กล้ำ หรือสะกดควบกล้ำ ตามหลักพยัญชนะสังโยคในบทที่ ๕ เช่น
จกฺกํ (จักกัง) ภิกฺขุ (ภิกขุ) พฺรหฺมา (พฺระ-หฺมา) ตสฺมา (ตัสฺมา)
การเขียน ภาษา บาลีเป็นภาษาที่เข้าได้กับทุกภาษา ประเทศใดรับเอาภาษาบาลีไปก็จะใช้อักษรของตนเขียนแทน โดยให้ออกเสียงเหมือนหรือใกล้เคียงภาษาบาลีมากที่สุด แม้ประเทศไทยเราก็เช่นกัน เมื่อรับเอาภาษาบาลีมา ก็ใช้อักษรไทยเขียนแทนอักษรบาลี จึงจำแนกการเขียนได้ดังนี้
การเขียน ภาษา บาลีเป็นภาษาที่เข้าได้กับทุกภาษา ประเทศใดรับเอาภาษาบาลีไปก็จะใช้อักษรของตนเขียนแทน โดยให้ออกเสียงเหมือนหรือใกล้เคียงภาษาบาลีมากที่สุด แม้ประเทศไทยเราก็เช่นกัน เมื่อรับเอาภาษาบาลีมา ก็ใช้อักษรไทยเขียนแทนอักษรบาลี จึงจำแนกการเขียนได้ดังนี้
สระเขียนได้ ๒ อย่างคือ
๑. สระลอย สระล้วน ๆ ที่ยังไม่มีพยัญชนะประกอบ คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
๒. สระจม สระที่ใช้ประกอบกับพยัญชนะ คือ - -า ี ุ ู เ- โ-
๒. สระจม สระที่ใช้ประกอบกับพยัญชนะ คือ - -า ี ุ ู เ- โ-
พยัญชนะเขียนได้ ๒ อย่าง คือ
๑. พยัญชนะล้วน ๆ ที่ยังไม่ได้ประกอบดับสระ ให้เติมจุด (ฺ) ข้างล่าง เขียนดังนี้ กฺ ขฺ คฺ ฆฺ งฺ เป็นต้น
๒. พยัญชนะที่ประกอบกับสระ เขียนดังนี้ ก กา กิ กี กุ กู เก โก เป็นต้น
บทที่ ๕
สัญโญคะ พยัญชนะสังโยคหรือซ้อน
พยัญชนะสังโยค เรียกอีกนัยหนึ่งว่า ตัวสะกด กล้ำ และสะกดควบกล้ำ หมายถึง พยัญชนะ ๒ หรือ ๓ ตัว ซ้อนกันโดยไม่มีสระคั่นระหว่างกลาง มีวิเคราะห์ว่า
"สํยุชฺชตีติ สญฺโญโค พยัญชนะที่ถูกประกอบเข้ากัน ชื่อว่าสัญโญคะ" เช่น กฺก กฺข จฺจ จฺฉ งฺขฺย นฺทฺร (จกฺกํ ภิกฺขุ ปจฺจโย มจฺฉา สงฺขฺยา อินฺทฺริยํ)
มีหลักการซ้อนดังนี้
มีหลักการซ้อนดังนี้
พยัญชนะตัวที่ ๑ ในวรรคทั้ง ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ในวรรคของตน (๑ ซ้อน ๑ ซ้อน ๒)
พยัญชนะตัวที่ ๓ ในวรรคทั้ง ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๓, ๔ ในวรรคของตน (๓ ซ้อน ๓ ซ้อน ๔)
พยัญชนะตัวที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ เว้น ง ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ในวรรคของตน (๕ ซ้อน ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เว้น ง)
ส่วนพยัญชนะอวรรคนั้น ซ้อนตัวเองและตัวอื่นได้มี ๔ ตัว คือ ย ล ว ส ที่เหลือซ้อนกับตัวอื่นได้ทั่วไป เช่น อยฺโย มลฺโล นิพฺพานํ (นิวฺวานํ) อสฺส มยฺหํ กลฺยาณํ ชิวฺหา อสฺมิ
พยัญชนะตัวที่ ๓ ในวรรคทั้ง ๕ ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๓, ๔ ในวรรคของตน (๓ ซ้อน ๓ ซ้อน ๔)
พยัญชนะตัวที่ ๕ ในวรรคทั้ง ๕ เว้น ง ซ้อนหน้าพยัญชนะตัวที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ ในวรรคของตน (๕ ซ้อน ๑, ๒, ๓, ๔, ๕ เว้น ง)
ส่วนพยัญชนะอวรรคนั้น ซ้อนตัวเองและตัวอื่นได้มี ๔ ตัว คือ ย ล ว ส ที่เหลือซ้อนกับตัวอื่นได้ทั่วไป เช่น อยฺโย มลฺโล นิพฺพานํ (นิวฺวานํ) อสฺส มยฺหํ กลฺยาณํ ชิวฺหา อสฺมิ