[๓]
คันถมุข
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงหน้าที่ของพุทธบริษัทไว้ ทรงเน้นให้พระภิกษุสามเณรเป็นผู้นำในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและประพฤติปฏิบัติธรรม
เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงแห่งพระสัทธรรม ว่า
ปญฺจิเม ภิกฺขเว ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติ. กตเม ปญฺจ. อิธ
ภิกฺขเว ภิกฺขู ธมฺมํ ปริยาปุณนฺติ สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ คาถํ อุทานํ อิติวุตฺตกํ ชาตกํ อพฺภูตธมฺมํ เวทลฺลํ.
ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน ปเรสํ เทเสนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน ปรํ
วาเจนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน สชฺฌายํ กโรนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ
ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ เจตสา อนุวิตกฺเกนฺติ อนุวิจาเรนฺติ มนสานุเปกฺขนฺติ. ๑
ภิกษุทั้งหลาย หน้าที่ ๕ ประการเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งพระสัทธรรม หน้าที่ ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ศึกษาเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานะ อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ และเวทัลละ ๒
๒. แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๓. แนะนำสั่งสอนธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๔. ท่องบ่นสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร
๕. ตั้งใจใคร่ครวญเพ่งพินิจพิจารณาธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมา
๑ อํ.ปญฺจก. ๒๒/๑๕๕/๑๖๘
๒ นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการ คือ
(๑) สุตตะ ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อหนึ่งๆ
(๒) เคยยะ ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อที่มีทั้งคาถา (ร้อยกรอง) และจุณณียะ (ร้อยแก้ว)
(๓) เวยยากรณะ ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อที่มีแต่จุณณียะ
(๔) คาถา ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อที่มีแต่คาถา
(๕) อุทานะ ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อที่เป็นพระดำรัสที่ทรงเปล่งด้วยโสมนัสจิต
(๖) อิติวุตตกะ ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อที่แสดงซ้ำสุตตะเดิม
(๗) ชาตกะ ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อที่แสดงอดีตชาติของพระองค์เอง
(๘) อัพภูตธัมมะ ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อที่ทรงแสดงพร้อมกับปาฏิหาริย์
(๙) เวทัลละ ได้แก่ พระพุทธพจน์ข้อที่ทรงแสดงปัญญาญาณเครื่องตรัสรู้ธรรม
[๔]
หน้าที่ ๕ ประการนี้ พระภิกษุสามเณรควรตระหนักแก่ใจ ควรกระทำให้ยิ่ง
จึงจะสามารถคุ้มครองตน คุ้มครองพุทธบริษัทและพระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นได้
มิฉะนั้น จักชื่อว่าทำหน้าที่บกพร่องไม่บริบูรณ์
พุทธบริษัทผู้มีศรัทธา มีความอุตสาหะ ปรารถนาจะศึกษาค้นคว้าพระพุทธพจน์ อย่างละเอียด ก็สามารถทำได้โดยเริ่มต้นศึกษาคัมภีร์นิรุตติศาสตร์ทั้ง ๔ ตามลำดับดังนี้ คือ คัมภีร์ไวยากรณ์ คัมภีร์อภิธาน
คัมภีร์ฉันท์ และคัมภีร์อลังการ
คัมภีร์นิรุตติศาสตร์ ๔ คัมภีร์
๑. คัมภีร์ไวยากรณ์
คัมภีร์ไวยากรณ์ เป็นคัมภีร์ว่าด้วยระเบียบกฎเกณฑ์ของภาษาบาลี มีอยู่หลายคัมภีร์ ทั้งคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีใหญ่ที่แสดงเนื้อความโดยละเอียด และคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีน้อยที่แสดงเนื้อความโดยย่อ
รจนาด้วยภาษาบาลีก็มี รจนาและแปลด้วยภาษาอื่นก็มี เช่น ภาษาไทย สีหฬ เทวนาครี พม่า ลาว เขมร และอังกฤษ เป็นต้น
คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีใหญ่ ประกอบด้วยเนื้อความ ๓ ส่วน คือ
สูตร คือ กฏเกณฑ์แม่บท
วุตติ คือ คำแปลและอธิบายสูตร
อุทาหรณ์ คือ ตัวอย่างที่ยกมาอ้างอิง
คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีใหญ่ มี ๓ กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ ๑ คัมภีร์ที่แสดงเนื้อความโดยย่อ ได้แก่ คัมภีร์กัจจายนะ และคัมภีร์บริวาร เช่น คัมภีร์นยาสะ คัมภีร์นยาสฎีกา คัมภีร์กัจจายนสุตตัตถะ คัมภีร์กัจจายนสุตตนิทเทสะ
คัมภีร์กัจจายนวัณณนา คัมภีร์พาลาวตาระ คัมภีร์พาลาวตารฎีกา คัมภีร์ปทรูปสิทธิ และคัมภีร์ปทรูปสิทธิฎีกา เป็นต้น
กลุ่มที่ ๒ คัมภีร์ที่แสดงเนื้อความปานกลาง ไม่ย่อเกินไปไม่พิสดารเกินไป ได้แก่ คัมภีร์โมคคัลลานะ และคัมภีร์บริวาร เช่น คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกา คัมภีร์โมคคัลลานปัญจิกาฎีกา
คัมภีร์ปทสาธนะ คัมภีร์ปทสาธนฎีกา คัมภีร์นิรุตติทีปนี และคัมภีร์ปโยคสิทธิ เป็นต้น
[๕]
กลุ่มที่ ๓ คัมภีร์แสดงเนื้อความโดยละเอียดพิสดาร ได้แก่ คัมภีร์สัททนีติ
มีทั้งหมด ๓ เล่ม คือ สัททนีติปทมาลา สัททนีติธาตุมาลา และสัททนีติสุตตมาลา รจนาขึ้นหลังคัมภีร์อื่นและเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์ที่กว้างขวางละเอียดพิสดารที่สุด จึงไม่มีคัมภีร์บริวารเหมือน ๒ กลุ่มข้างต้น
คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีใหญ่ ที่นิยมใช้เรียนใช้สอนกันมากที่สุด มี ๔ คัมภีร์ คือ
คัมภีร์กัจจายนะ รจนาโดยพระกัจจายนเถระ
คัมภีร์ปทรูปสิทธิ รจนาโดยพระพุทธัปปิยเถระ เป็นคัมภีร์ขยายความคัมภีร์กัจจายนะที่ละเอียดมากในกลุ่มคัมภีร์บริวารของคัมภีร์กัจจายนะทั้งหมด
คัมภีร์โมคคัลลานะ รจนาโดยพระโมคคัลลานเถระ
คัมภีร์สัททนีติ รจนาโดยพระอัคควังสเถระ
คัมภีร์ไวยากรณ์บาลีน้อยที่ท่านเรียบเรียงขึ้นด้วยภาษาบาลีมีหลายฉบับ เช่น คัมภีร์เอกักขรโกสะ กัจจายนสาระ กัจจายนเภทะ การิกา คันถาภรณะ ปทจินตา วิภัตยัตถะ นิรุตติเภทปกาสินี วิภัตติมาลา สังขยาปกาสกะ
และสัททัตถเภทจินตา เป็นต้น แต่เนื่องจากคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีน้อยมีเนื้อหาย่อเกินไป โบราณาจารย์จึงไม่นิยมใช้เรียนและสอนกัน เพียงใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียนการสอนเท่านั้น
ส่วนคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีน้อยที่เรียบเรียงขึ้นด้วยภาษาอื่น จะมีเฉพาะในประเทศที่มีการศึกษาภาษาบาลี เช่น ไทย พม่า ลังกา อินเดีย ลาว เขมร เป็นต้น
๒. คัมภีร์อภิธาน
คัมภีร์อภิธานหรือคัมภีร์พจนานุกรม เป็นคัมภีร์ว่าด้วยศัพท์ที่เป็นนามบัญญัติของเนื้อความที่มีปรากฏอยู่ในโลก มนุษย์ บนสวรรค์ ใต้บาดาล และอบายภูมิ ได้แก่ คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เป็นต้น
[๖]
๓. คัมภีร์ฉันท์
คัมภีร์ฉันท์ เป็นคัมภีร์ว่าด้วยระเบียบกฎเกณฑ์การประพันธ์ที่เป็นร้อยกรองหรือ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคัมภีร์ฉันทลักษณ์ ได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัย และคัมภีร์ที่เป็นบริวาร เช่น คัมภีร์ฉันโทมัญชรี และคัมภีร์ฉันโทมัญชรีฎีกา เป็นต้น
๔. คัมภีร์อลังการะ
คัมภีร์อลังการะ หรือคัมภีร์เกฏุภะ เป็นคัมภีร์ว่าด้วยระเบียบการใช้คำ เนื้อความ และสำนวนไม่มีโทษในการรจนาคัมภีร์ด้วยภาษาบาลี ได้แก่ คัมภีร์สุโพธาลังการะ เป็นต้น
คัมภีร์นิรุตติศาสตร์ทั้ง ๔ เหล่านี้ นิยมใช้เรียนและสอนกันมาแต่โบราณกาล ส่วนในประเทศไทยเคยมีการเรียนการสอนทั้ง ๔ คัมภีร์ แต่ขาดช่วงไป ไม่มีการเรียนการสอนเป็นเวลาเกือบร้อยปี
เนื่องจากเนื้อหาสาระมีความละเอียดพิสดาร และต้องใช้เวลาในการศึกษาเรียนรู้ยาวนาน ทั้งยังขาดเอกสารตำราอธิบายขยายความ ทำให้ศึกษาเข้าใจได้ยากและเนิ่นช้า ต่อมา
มีนักปราชญ์ผู้ประสงค์จะรื้อฟื้นการเรียนการสอนบาลีใหญ่แบบดั้งเดิมขึ้น อันจะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับไขปัญหาข้อสงสัยในภาษาบาลีที่เป็นพระพุทธพจน์ ให้มีความเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
จึงได้เริ่มทำการเรียนการสอนคัมภีร์บาลีใหญ่เหล่านี้มาจนถึงปัจจุบัน
สำนักเรียนบาลีใหญ่ในปัจจุบัน
สำนักเรียนบาลีใหญ่วัดท่ามะโอ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นสำนักแม่ที่ได้รื้อฟื้นการเรียนการสอนคัมภีร์บาลีใหญ่ พระธัมมานันทมหาเถระ ธัมมาจริยะ
อัครมหาบัณฑิต เป็นผู้บริหารการศึกษา
สำนักเรียนบาลีใหญ่วัดหาดใหญ่สิตาราม ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา พระมหาสมโภชน์ กิจฺจสาโร เป็นผู้บริหารการศึกษา
ชมรมนิรุตติศึกษา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ คณะ ๒๕ แขวงพระบรม
มหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระครูวรปัญญาคุณ เป็นผู้บริหารการศึกษา
สำนักเรียนบาลีวัดม่อนเจริญธรรม ตำบลปงดอน อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง พระมหาเขมานันท์ เขมาจาโร เป็นผู้บริหารการศึกษา
[๗]
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พระธรรมโมลี เป็นผู้บริหารการศึกษา
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
นอกจากสำนักการศึกษาบาลีใหญ่ทั้ง ๕ แห่งนี้แล้ว ยังมีสำนักการศึกษาอื่นๆ
ที่กำลังเริ่มเปิดทำการเรียนการสอนไวยากรณ์บาลีใหญ่เพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง ซึ่งจะเป็น กำลังสำคัญในการรื้อฟื้นรูปแบบการเรียนการสอนวิชาบาลีใหญ่ให้แพร่หลายออกไป
ประวัติคัมภีร์อภิธาน
ในยุคก่อนปฐมโพธิกาล มีภาษาที่เก่าแก่และคล้ายคลึงกันที่สุด ๖ ภาษา คือ
สันสกฤต ปรากิต อปัพภังสะ ปิสาจิกี มาคธี และโสรเสนี แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีเพียง ๓ ภาษา คือ สันสกฤต ปรากิต และมาคธีหรือบาลี
ภาษาสันสกฤตมีใช้แพร่หลายมากที่สุด เป็นภาษาที่มากไปด้วยสำนวน โวหาร และปริยาย นักปราชญ์จึงเลือกใช้จารึกศาสตร์ ๑๘ ศาสตร์ (อฏฺฐารส วิชฺชา) และศาสตร์ย่อยอีก ๖๔ แขนง (จตุสฏฺฐิ กลา)
นอกจากนั้นยังเป็นภาษาที่ใช้จารึกหลักคำสอนในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธฝ่ายเหนือคือมหาสังฆิกนิกายที่แยกตัวออกจากเถรวาทเมื่อครั้งการ ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒
[๘]
ในอดีต มีคัมภีร์อภิธานที่รวบรวมคำศัพท์ที่จารึกอยู่ในคัมภีร์ไตรเวทและคัมภีร์ เวทางค์ เป็นภาษาสันสกฤต เช่น คัมภีร์นิฆัณฏุ คัมภีร์อมรโกสะ ต่อมา มีการรจนาคัมภีร์อภิธานเป็นภาษาบาลีขึ้น คือ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา รวบรวมคำศัพท์ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ไว้อย่างสมบูรณ์ และมีคัมภีร์อธิบายอีกหลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา คัมภีร์อภิธานสูจิ คัมภีร์อภิธานนิสสยะ เป็นต้น
คัมภีร์นิฆัณฏุ
คัมภีร์นิฆัณฏุ เป็นคัมภีร์อภิธานภาษาสันสกฤตฉบับย่อที่มีใช้อยู่ในสมัยแรก ได้รวบรวมคำศัพท์ต่างๆที่มีอยู่ในคัมภีร์ไตรเพท อันได้แก่ คัมภีร์อิรุเวทหรือฤคเวท คัมภีร์ยชุเวทหรือยชุรเวท
และคัมภีร์สามเวท คัมภีร์นิฆัณฏุนี้มีเนื้อหาน้อย รวมได้ประมาณ ๑๘ หน้ากระดาษพิมพ์เท่านั้น แบ่งเป็น ๕ อัธยายะ (๕ ปริจเฉท)
อัธยายะแรก ว่าด้วยศัพท์ที่เป็นไวพจน์ของแผ่นดิน ๑๒ ศัพท์ ศัพท์ที่เป็นไวพจน์ของทองคำ ๑๕ ศัพท์ ศัพท์ที่มีความหมายว่าท้องฟ้า ๑๖ ศัพท์ เป็นต้น
อัธยายะที่เหลือก็แสดงไวพจน์ของศัพท์คล้ายกันนี้ และยังได้รวบรวมกิริยาอาขยาตที่มีความหมายเหมือนกันมาไว้ด้วยกัน เช่น กิริยาอาขยาตที่มีความหมายว่า “สว่างไสว” (ชลติ) คือ
ภฺราชเต ภฺราศเต ภฺราศฺยติ ทีทยติ โศจติ มนฺทเต ภนฺทเต โรจเต โชฺยตเต โทฺยตเต ทฺยุมตฺ อิติ เอกาทศ ชวฺรติ
กรมาณะ ๑
ในพระไตรปิฎกแสดงว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสคุณสมบัติของพราหมณ์ ผู้เป็นนักปราชญ์ มีความรู้ถึงฝั่งไตรเพท ว่า
นิรุตฺติยา จ กุสโล นิฆณฺฏุมฺหิ วิสารโท
ปทโก เกฏุภวิทู ฉนฺโทวิจิตฺตโกวิโท. ๒
เชี่ยวชาญในคัมภีร์ไวยากรณ์ รอบรู้ในคัมภีร์อภิธาน ชำนาญในการจำแนกบท ช่ำชองในคัมภีร์อลังการะ และเก่งกาจในคัมภีร์ฉันท์กาพย์กลอน
๑ นิฆัณฏุ ๑/๑๖ ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๒๐๑/๒๔๖
[๙]
คำว่า “นิฆัณฏุ” ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสนั้น หมายถึงคัมภีร์อภิธานภาษาสันสกฤตของคัมภีร์ไตรเพทนั่นเอง ไม่ได้หมายถึงคัมภีร์ราชนิฆัณฏุเป็นต้นที่เป็นคัมภีร์สาขาของคัมภีร์ อายุรเวท แสดงให้เห็นว่าพระไตรปิฎกแสดงคัมภีร์นิฆัณฏุไว้ในฐานะคัมภีร์บริวารของ คัมภีร์ไตรเพท แม้จะมีเนื้อความเกื้อกูลต่อผู้ศึกษาไตรเพทเป็นอย่างมากก็ตาม แต่เมื่อภาษาสันสกฤตแพร่หลายออกไป และเป็นภาษาที่ยอมรับให้ใช้จารึก
วรรณคดีต่างๆ เช่น อิติหาสะ (ประวัติศาสตร์) กาวฺยะ (กาพย์) นาฏกะ (นาฏศิลป์) เป็นต้น คำศัพท์ที่มีอยู่ในคัมภีร์นิฆัณฏุไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ นักปราชญ์ทั้งหลายจึงได้รจนาคัมภีร์อภิธานสันสกฤตขึ้นใหม่อีกหลายคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อมรโกสะ เป็นต้น ซึ่งมีคำศัพท์มากครอบคลุมวรรณคดีต่างๆอย่างทั่วถึง ในการรจนาคัมภีร์อภิธานต่างๆเหล่านั้น โบราณาจารย์ได้ใช้คัมภีร์นิฆัณฏุนี้เองเป็นต้นแบบ
คัมภีร์อมรโกสะ
คัมภีร์อมรโกสะ เป็นคัมภีร์อภิธานภาษาสันสกฤตที่มีชื่อเสียงในยุคต่อมา เป็นที่ยอมรับในหมู่นักปราชญ์มากที่สุด รวบรวมคำศัพท์ที่ปรากฏในคัมภีร์ไวยากรณ์
สันสกฤตมีคัมภีร์ปาณินิเป็นต้นไว้อย่างครบถ้วน รจนาโดยพระอมรสีหเถระ ในการรจนานั้นท่านใช้คำศัพท์ที่รัดกุมครอบคลุมเนื้อความได้มาก แสดงนามและลิงค์ไว้อย่างเป็นระเบียบ จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ศัพท์สำนวนโวหารที่มีอยู่ในคัมภีร์นิฆัณฏุและอมรโกสะนั้น เนื้อความบางส่วนมีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎก แต่บางส่วนไม่สอดคล้อง โบราณาจารย์ฝ่ายภาษาบาลีสมัยนั้น จึงอาศัยคัมภีร์อภิธานภาษาสันสกฤต
ช่วยในการค้นคว้าพระไตรปิฎก
[๑๐]
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา
ต่อมา ราว พ.ศ. ๑๗๐๐ ในรัชสมัยของพระเจ้ามหาปรักกมพาหุที่ ๑ ผู้ทรงกอปรด้วยทานคุณและศีลคุณเป็นต้น ทรงประสานพระสงฆ์ ๓ วัดใหญ่ที่แตกแยกกัน คือ พระสงฆ์ในวัดมหาวิหาร วัดอภยคิริ และวัดมหาเชตวัน
ให้สมัครสมานสามัคคีกันดีแล้ว พระองค์ใส่พระทัยทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง ทรงรับศาสนากิจในวัดทั้ง ๓ แห่งไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นกรณีพิเศษ ตลอดพระชนมายุของพระองค์
พระโมคคัลลานเถระ ราชบัณฑิต ผู้มีข้อวัตรปฏิบัติดีงาม มีสติปัญญาเฉียบแหลม เป็นพระคันถรจนาจารย์ผู้ทรงความรู้ความสามารถ จำพรรษาอยู่ที่วัดมหาเชตวัน เขตเมืองปุลัตถิ ปัจจุบันเรียกว่าเมืองโปโลนนรุวะ
อยู่ทางภาคเหนือของประเทศศรีลังกา เมื่อได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระเจ้ามหาปรักกมพาหุที่ ๑ เป็นอย่างดี จึงได้รจนา คัมภีร์ขึ้นหลายคัมภีร์ ในบรรดาคัมภีร์ที่ท่านรจนาขึ้นนั้น
คัมภีร์ที่ได้รับความนิยมที่สุดคือคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา
ในการรจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานั้น พระโมคคัลลานเถระได้อาศัยคัมภีร์อภิธานอมรโกสะภาษาสันสกฤตเป็นแบบอย่าง แต่ได้อาศัยนัยต่างๆที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก อรรถกถา และฏีกาเป็นหลักสำคัญ
ดังจะเห็นวิธีการรจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาที่ถือนัยคล้อยตามพระไตรปิฎก เช่น
ในพระอภิธรรม ธัมมสังคณีได้ขยายอรรถของบทว่า “ผสฺโส” ไว้อย่างครบถ้วนว่า “ผสฺโส ผุสนา สํผุสนา สํผุสิตตฺตํ” อธิบายอรรถของบทว่า
“จิตฺตํ” ไว้ว่า “จิตฺตํ มโน มานสํ หทยํ ปณฺฑรํ มโน มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ
ตชฺชามโนวิญฺญาณธาตุ”๑ อธิบายอรรถของบทว่า “วิตกฺโก” ไว้ว่า “ตกฺโก วิตกฺโก สงฺกปฺโป อปฺปนา
พฺยปฺปนา เจตโส อภินิโรปนา สมฺมาสงฺกปฺโป”๒ และอธิบายอรรถของบทว่า “ปญฺญา” ไว้ว่า “ปญฺญา
ปชานนา วิจโย ปวิจโย ธมฺมวิจโย สลฺลกฺขณา อุปลกฺขณา ปจฺจุปลกฺขณา ปณฺฑิจฺจํ โกสลฺลํ เนปุญฺญํ เวภพฺยา จินฺตา อุปปริกฺขา
ภูรี เมธา ปรินายิกา วิปสฺสนา สมฺปชญฺญํ ปโตโท ปญฺญา ปญฺญินฺทฺริยํ ปญฺญาพลํ ปญฺญาสตฺถํ ปญฺญาปาสาโท ปญฺญาอาโลโก ปญฺญาโอภาโส
ปญฺญาปชฺโชโต ปญฺญารตนํ อโมโห ธมฺมวิจโย สมฺมาทิฏฺฐิ”๓
๑ อภิ.สงฺ. ๑/๑๘ ๒ อภิ.สงฺ. ๑/๑๘ ๓ อภิ.สงฺ. ๑/๑๙
[๑๑]
จึงเห็นได้ว่า แม้ในพระบาลีก็มีการแสดงบทไวพจน์ไว้ตามสมควร ในบาลีเนตติก็ได้แสดงบทเกี่ยวกับไวพจน์ไว้ในมหาวิภังค์ มหานิทเทส และจูฬนิทเทส โดยเฉพาะบทที่ลงกิตปัจจัยและบทกิริยาอาขยาตเป็นต้น เช่น
กามยมานสฺสาติ กามยมานสฺส อิจฺฉมานสฺส สาทิยมานสฺส ปตฺถยมานสฺส ปิหยมานสฺส อภิชปฺปมานสฺส.๔
สมิชฺฌตีติ อิจฺฉติ สมิชฺฌติ ลภติ ปฏิลภติ อธิคจฺฉติ วินฺทติ.๕
แม้ในอรรถกถาและฎีกาก็มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ทำให้ทราบได้ว่า อาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานี้ได้อาศัยถ้อยคำจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกาอย่างแน่นอน
เพราะคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาท่านรจนาโดยอาศัยคัมภีร์อมรโกสะ จึงมีเนื้อความ
บางส่วนใกล้เคียงกัน เช่น
คัมภีร์อมรโกสะกล่าวปริภาสาว่า
ปฺรายโศ รูปเภเทน สาหจรฺยาจฺจ กุตฺรจิตฺ
สฺตฺรีปุํนปุํสกํ เชฺญยฺยํ ตทฺวิเศษวิเธะ กฺวจิตฺ. ๖
ปริวรรตเป็นบาลีว่า
ปายโส รูปเภเทน สาหจริยา จ กุตฺรจิ
ถีปุํนปุํสกํ เญยฺยํ ตพฺพิเสสวิธิ กฺวจิ.
๔ ขุ.มหานิ. ๒๙/๒/๒ ๕ ขุ.มหานิ. ๒๙/๓/๒
๖ อมรโกส คาถา ๓
[๑๒]
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกากล่าวปริภาสามีเนื้อความเหมือนกันว่า
ภิยฺโย รูปนฺตราสาห- จริเยน จ กตฺถจิ
กฺวจาหจฺจวิธาเนน เญยฺยํ ถีปุนฺนปุํสกํ. ๑
นักศึกษาพึงทราบความเป็นไปของอิตถีลิงค์ ปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์
ของแต่ละนามศัพท์ โดยนัย ๓ อย่าง คือ รูปันตรนัย ซึ่งมีใช้มากที่สุด
สาหจริยนัย และ อาหัจจวิธานนัย ซึ่งมีใช้บ้างไม่มากนัก
คัมภีร์อมรโกสะ กล่าวว่า
สรีรสาธนาเปกฺขํ นิจฺจํ ยํ กมฺม ตํ ยโม
นิยโม ตุ สยํ กมฺมา- นิจฺจมาคนฺตุสาธนํ. ๒
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา กล่าวว่า
ยํ เทหสาธนาเปกฺขํ นิจฺจํ กมฺมมยํ ยโม
อาคนฺตุสาธนํ กมฺมํ อนิจฺจํ นิยโม ภเว. ๓
กรรมคือการเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นอันมองหาซึ่งการสำเร็จด้วยกายเป็นนิตย์มีอยู่ กรรมนี้ ชื่อว่ายมศีล (ศีล ๕) กรรมมีการรับอุโบสถศีลเป็นต้นอันท่านให้สำเร็จโดยชั่วขณะ บางครั้งบางคราว
ชื่อว่าเป็นนิยมศีล(อุโบสถศีล)
๑ อภิธาน. คาถา (จ) ๒ อมรโกส. ๒/๗/๔๙ ๓ อภิธาน. ๒/๔/๔๔๔
[๑๓]
จะเห็นได้ว่าพระโมคคัลลานเถระรจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาขึ้น ได้รวบรวมศัพท์ที่มีเนื้อความคล้อยตามพระพุทธพจน์ จากคัมภีร์อมรโกสะมาเพิ่มเติมไว้ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานี้ด้วย ท่านจึงกล่าวไว้ในปริภาสาว่า
ภิยฺโย ปโยคมาคมฺม โสคเต อาคเม กฺวจิ
นิฆณฺฑุยุตฺติญฺจานีย นามลิงฺคํ กถียติ. ๑
นามและลิงค์ที่ข้าพเจ้านำอุทาหรณ์ในพระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระดำรัส ของพระสุคตมาไว้โดยมาก ในบางที่นำอุทาหรณ์อันสมควรจากคัมภีร์นิฆัณฑุมากล่าวไว้ด้วย
คัมภีร์อมรโกสะแบ่งออกเป็น ๓ กัณฑ์ คือ ปฐมกัณฑ์ ทุติยกัณฑ์ และตติยกัณฑ์
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ก็แบ่งออกเป็น ๓ กัณฑ์ คือ
สัคคกัณฑ์ที่ ๑ แสดงคำศัพท์ที่มีความหมายว่า พระพุทธเจ้า นิพพาน พระอรหันต์ สวรรค์ เทวดา และอสูร เป็นต้น โดยจัดคำศัพท์ที่มีเนื้อความเหมือนกัน ไว้ด้วยกัน
และได้รวบรวมคำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะในพระพุทธศาสนาไว้ด้วย คือคำศัพท์ที่มีเนื้อความว่า กุศล อกุศล ผัสสะ ปัญญา วิตก วีริยะ เป็นต้น
ภูกัณฑ์ที่ ๒ แบ่งออกเป็น ๗ วรรคย่อย คือ ภูมิวรรค แสดงศัพท์โวหารเกี่ยวกับแผ่นดิน ปุรวรรค แสดงศัพท์โวหารเกี่ยวกับเมืองและประเทศ นรวรรค
แสดงศัพท์โวหารเกี่ยวกับมนุษย์ จตุพพรรณวรรค แสดงศัพท์โวหารเกี่ยวกับวรรณะ ๔ อรัญญวรรค แสดงศัพท์โวหารเกี่ยวกับป่าไม้ เสลวรรค
แสดงศัพท์โวหารเกี่ยวกับภูเขา ปาตาลวรรค แสดงศัพท์โวหารเกี่ยวกับโลกบาดาล
สามัญญกัณฑ์ที่ ๓ แบ่งออกเป็น ๔ วรรคย่อย คือ วิเสสยาธีนวรรค แสดงศัพท์โวหารที่เป็นบทวิเสสนะอันเกี่ยวข้องกับลิงค์ทั้ง ๓ สังกิณณวรรค แสดงศัพท์โวหารเบ็ดเตล็ดทั่วไป
อเนกัตถวรรค แสดงบทที่มีเนื้อความหลายอย่าง
๑ อภิธาน. คาถา (ฌ)
[๑๔]
อัพยยวรรค แสดงอรรถของบทอุปสัคและบทนิบาต
การจัดแบ่งเป็นกัณฑ์ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิการนี้ หากจะสงเคราะห์ศัพท์ที่มีลักษณะเหมือนกันเข้าด้วยกัน จะแบ่งได้เพียง ๒ กัณฑ์ คือ กัณฑ์ที่ ๑
สงเคราะห์กลุ่มศัพท์ที่แสดงโวหารเหมือนกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยสัคคกัณฑ์ ภูกัณฑ์ และสามัญญกัณฑ์บางส่วน กัณฑ์ที่ ๒ สงเคราะห์กลุ่มศัพท์ที่มีความหมายหลายอย่าง เข้าไว้ด้วยกัน
ซึ่งประกอบด้วยอเนกัตถวรรคและอัพยยวรรคในสามัญญกัณฑ์ที่เหลือ
พระคันถรจนาจารย์ผู้มีชื่อว่า “โมคคัลลานะ” มีด้วยกันหลายรูป จึงทำให้นักปราชญ์สายบาลีมีความสงสัยว่า พระโมคคัลลานเถระผู้รจนาคัมภีร์ต่างๆนั้นเป็นรูปเดียวกันหรือคนละรูป
เพราะว่าพระเถระผู้รจนาคัมภีร์ไวยากรณ์โมคคัลลานะ ก็มีชื่อว่าโมคคัลลานะเช่นกัน นักปราชญ์บางท่านจึงสำคัญผิดว่า พระโมคคัลลานะผู้รจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา
กับพระโมคคัลลานะคัมภีร์ไวยากรณ์โมคคัลลานะเป็นพระเถระรูปเดียวกัน แต่ก็เห็นตรงกันว่าเป็นคนละรูปกับพระโมคคัลลานมหาสามิผู้รจนาคัมภีร์สัททลักขณะอันเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์บาลีน้อย
แต่โบราณาจารย์ส่วนมากลงความเห็นว่าเป็นคนละรูปกัน เพราะสถานที่อยู่ และมติในการรจนาคัมภีร์ของพระเถระทั้ง ๒ รูปนั้นแตกต่างกัน ดังนี้
[๑๕]
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แสดงอุปสัคไว้ ๒๐ บท คือมี นิ นี อว ไม่มี โอ ตามนัยของคัมภีร์กัจจายนะ
ส่วนคัมภีร์โมคคัลลานะ แสดงอุปสัคไว้ ๒๐ บทเหมือนกัน มี นิ อว โอ แต่ไม่มี นี
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงสามารถวินิจฉัยได้ว่า พระโมคคัลลานเถระผู้รจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา กับพระโมคคัลลานเถระผู้รจนาคัมภีร์ไวยากรณ์โมคคัลลานะ เป็นคนละรูปกันอย่างแน่นอน
พระโมคคัลลานเถระผู้รจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา พำนักอยู่วัดมหาเชตวัน เมืองปุลัตถิ สังกัดสโรคามนิกาย ส่วนพระโมคคัลลานเถระผู้รจนาคัมภีร์ไวยากรณ์ โมคคัลลานะ พำนักอยู่วัดถูปาราม เมืองอนุราธปุระ สังกัดอุตตรมูลนิกาย ซึ่งทั้ง ๒ วัดก็ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศศรีลังกาเหมือนกัน
มติในการรจนาคัมภีร์ของพระเถระทั้ง ๒ ท่าน ก็มีความแตกต่างกัน คือ พระเถระผู้รจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา จะถือนัยคล้อยตามพระกัจจายนเถระผู้รจนาคัมภีร์ไวยากรณ์กัจจายนะ
ส่วนพระเถระผู้รจนาคัมภีร์ไวยากรณ์โมคคัลลานะ จะถือนัยต่างออกไป ซึ่งมีข้อวินิจฉัยให้เห็นดังนี้
คัมภีร์กัจจายนะ แสดงอุปสัคไว้ ๒๐ บท โดยมี นิ นี อว แต่ไม่มี โอ
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา
ในรัชสมัยของพระเจ้าสีหตู (พระยาสี่ช้างเผือก) มีเมืองปินยะ (วิชยปุระ) เป็นราชธานีแห่งประเทศพม่า ราว พ.ศ. ๑๘๕๙ มหาอำมาตย์คนหนึ่งชื่อว่าสิรีมหาจตุรังคพละ
เป็นผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์ไวยากรณ์ฝ่ายภาษาบาลีและสันสกฤต ได้อาศัยคัมภีร์ต่างๆทั้งฝ่ายภาษาบาลีและสันสกฤต รจนาคัมภีร์ฎีกาขึ้นเพื่ออธิบายศัพท์ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา โดยแสดงการวิเคราะห์อรรถของศัพท์
แยกธาตุปัจจัย และแสดงวิธีสำเร็จรูปของบทตามนิรุตตินัย ใช้ชื่อคัมภีร์ว่า “อภิธานัปปทีปิกาฎีกา” ซึ่งได้รับความนิยมใช้เป็นคู่มือในการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางมาจนถึงปัจจุบัน
[๑๖]
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาสูจิ
เนื่องจากคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกาได้อธิบายขยายความ แสดงรูปวิเคราะห์ และแยกธาตุปัจจัยไปตามลำดับบทที่มีอยู่ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ยากต่อการค้นหาบทต่างๆ ครั้นในราว พ.ศ. ๒๔๓๖
พระสุภูติเถระชาวสีหฬได้เรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นใหม่ชื่อว่า “อภิธานัปปทีปิกาสูจิ” โดยเรียงบทไปตามลำดับอักษรเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาศัพท์ ใช้วิธีการแสดงรูปวิเคราะห์ การแยกธาตุ
แยกปัจจัยตามคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา และได้เพิ่มเติมข้อความที่นำมาจากคัมภีร์สัททนีติและคัมภีร์สันสกฤตที่ควร รู้ควรเข้าใจมารวมไว้ด้วย
จึงถือว่าเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมศัพท์อภิธานไว้อย่างสมบูรณ์ควรค่าแก่การมีไว้ เพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้นอีกคัมภีร์หนึ่ง
คัมภีร์อภิธานนิสสยะ
มีการค้นพบศิลาจารึกที่แสดงหลักฐานการจารึกเมื่อ จ.ศ. ๘๐๔ ตรงกับ พ.ศ. ๑๙๘๖ ที่วัดแต๊กหน่วย แว๊กจีเอง เมืองพุกาม ประเทศสหภาพพม่า กล่าวถึงคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานิสสยะ
รวมไว้ในบัญชีรายชื่อพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆที่สร้างถวายไว้พร้อมกับวัด จึงทราบได้ว่ามีคัมภีร์นิสสยะของคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาเกิดขึ้นก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถระบุได้ชัดว่าเกิดขึ้นในสมัยใด
แต่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นในสมัยเมืองปินยะเป็นราชธานีนั่นเอง
ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ พระอัคคธัมมาภิวังสเถระ วัดอภยาราม เมืองมัณฑเล ประเทศสหภาพพม่า ได้รจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานิสสยะขึ้นใหม่ ใช้ชื่อคัมภีร์ว่า “อภิธานนิสสยะ” และใน พ.ศ. ๒๕๒๓ พระเกลาสเถระ
วัดมหาวิสุตาราม เมืองปขุกกู ประเทศสหภาพพม่าเช่นกัน ได้รจนาคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานิสสยะขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง ใช้ชื่อคัมภีร์ว่า “ปขุกกูอภิธานนิสสยะ”
[๑๗]
เนื่องจากคัมภีร์อภิธานนิสสยะทั้ง ๒ ฉบับนั้น เป็นคัมภีร์อภิธานที่ท่านแปลสู่ภาษาพม่า จึงเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้รู้ภาษาพม่าเท่านั้น
คัมภีร์อภิธานในประเทศไทย
ประเทศไทยได้นำคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกามาศึกษาและพิมพ์เผยแพร่ ดังมีข้อความปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฉบับฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัยว่า
“พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา หรือพจนานุกรมภาษาบาลีแปลเป็นไทย ฉบับของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธ ทรงเรียบเรียงถวายเพื่อเป็นราชพลีธรรมบรรณาการ
แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร-มหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าสยาม พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖” ๑
ก่อนพระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เคยมีคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาแปลเป็นภาษาไทยฉบับใบลาน แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้แปลและเรียบเรียงในสมัยใด
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาแปล ฉบับนักศึกษา พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นฉบับพิมพ์ดีดใช้ถ่ายเอกสาร ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๙ ในนามชมรมนิรุตติศึกษา เพื่อใช้เป็นหลักสูตรที่ ๒
ในชั้นเรียนคัมภีร์บาลีใหญ่
๑ คัดจากสำเนาหนังสือที่มหามกุฏราชวิทยาลัย ส่งถึงเจ้าอาวาสวัดราชบพิธ เรื่อง ลิขสิทธิ์แห่งพระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา
เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๐๗, พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา พิมพ์ครั้งที่ ๒ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
เมื่อนักศึกษาและนักค้นคว้า ได้เรียนคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาแล้ว ทรงจำไว้ได้ จนขึ้นใจแล้ว ย่อมสามารถเข้าใจเนื้อความที่สุขุมลุ่มลึกได้โดยง่าย และเข้าใจพระบาลีที่เป็นพระพุทธพจน์ทั้ง ๓ ปิฎก คือ
พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ได้โดยไม่ยากลำบาก เพราะฉะนั้น ท่านพระโมคคัลลานเถระ จึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานี้ก่อนจบสัคคกัณฑ์ที่ ๑ ว่า
ธาเรนฺโต ชนฺตุ สเสฺนห- มภิธานปฺปทีปิกํ
ขุทฺทกานฺยตฺถชาตานิ สมฺปสฺสติ ยถาสุขํ.๑
ผู้ศึกษาได้ ทรงจำคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ซึ่งมีศัพท์และไวพจน์ต่างๆ ที่น่าสนใจไว้ได้แล้ว ย่อมเข้าใจอรรถาธิบายน้อยบ้าง มากบ้าง ย่อบ้าง พิสดารบ้าง เป็นต้น ได้โดยง่าย
ดังนั้นการเรียนการสอนแบบพิสดาร นับว่ามีความจำเป็นมาก ต้องใช้ตำราช่วยอีกจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่น้อยยังไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้เป็นที่ลำบากแก่ผู้เรียนผู้สอนอย่างมาก ดังนั้น
ผู้เคยศึกษาคัมภีร์นิรุตติศาสตร์คือคัมภีร์บาลีใหญ่มาแล้ว จึงพากันพยายามจัดทำตำราฉบับแปลบ้าง อธิบายบ้าง คู่มือการเรียนการสอนบ้าง เพื่อใช้ประกอบในการศึกษา คัมภีร์นิรุตติศาสตร์ให้ง่ายและแพร่หลายต่อไป
คัมภีร์อภิธานวรรณนา
คัมภีร์อภิธานวรรณนา คำว่า “อภิธาน” แปลว่า “ชื่อ” เหมือนนามศัพท์ และคำว่า “วรรณนา” แปลว่า “อธิบายขยายความ”
เป็นคัมภีร์อภิธานที่เรียบเรียงขึ้นโดยประสงค์จะให้มีทั้งภาษาบาลี คำแปล และคำอธิบาย อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อขยายเนื้อความในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาให้แจ่มแจ้ง โดยคล้อยตามนัยของคัมภีร์บริวาร คือ
คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาสูจิ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาแปล คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานิสสยะ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกาแปล คัมภีร์ธาตวัตถสังคหะ
และคัมภีร์ธาตุปปัจจยทีปนี เป็นต้น ทั้งได้ยกหลักฐานจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา เป็นต้น มาแสดงอ้างอิงไว้ด้วย เพื่อให้เห็นวิธีการใช้อภิธานศัพท์ในที่นั้นๆ
และช่วยให้วินิจฉัยเนื้อความของคำบาลีได้อย่างถูกต้อง
[๑๘]
เนื้อความที่มีอยู่ในคัมภีร์อภิธานวรรณนา
คัมภีร์อภิธานวรรณนาฉบับนี้ ประกอบด้วยเนื้อความ ๙ ส่วน คือ
๑. เนื้อความที่เป็นคาถาบาลีในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาทั้งหมด ๑,๒๒๑ คาถา ประกอบด้วย ส่วนต้นคือปณามคาถา ปฏิญญา และปริภาสา ๙ คาถา
ส่วนกลางคืออภิธานศัพท์ ๑,๒๐๓ คาถา และส่วนปลายคือนิคมนคาถา ๙ คาถา
๒. เนื้อความที่เป็นอภิธานศัพท์ ๓ อย่าง คือ นาม อุปสัค และนิบาต มากกว่า ๗,๐๐๐ ศัพท์ ที่ยกมาตั้งเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ หลายศัพท์มีความหมายเดียวกันก็มี
ศัพท์เดียวมีหลายความหมายก็มี แสดงไปตามลำดับ ตั้งแต่คาถาที่ ๑ ถึง ๑,๒๐๓
๓. เนื้อความที่แสดงการแยกอภิธานศัพท์ออกให้เห็นธาตุและปัจจัยตัวเดิม เพื่อเชื่อมโยงเนื้อความกับสภาพของศัพท์นั้นๆ ตามความเป็นจริง
๔. เนื้อความที่เป็นคำแปลภาษาไทย ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะแก่กาลสมัย
๕. เนื้อความที่แสดงรูปวิเคราะห์ให้เห็นความหมายของศัพท์นั้นๆ ทั้งภาษาบาลีและคำแปลภาษาไทย
๖. เนื้อความที่เป็นอุทาหรณ์ของศัพท์พร้อมทั้งคำแปล ได้ยกมาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์นิรุตติอื่นๆ เพื่อให้เห็นวิธีการใช้ศัพท์นั้นๆ
ในคัมภีร์ต่างๆ
๗. เนื้อความที่เป็นคำอธิบายของอภิธานศัพท์ที่ยังไม่ชัดเจน ทำให้ได้เนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้คัมภีร์เล่มนี้เป็นคู่มือในการศึกษาและค้นคว้าพระไตรปิฎก อรรถกถา และฏีกา เป็นต้น
๘. เนื้อความที่เป็นอภิธานานุกรม จัดลำดับศัพท์ทั้งภาษาบาลีและภาษาไทยเรียงไว้ส่วนท้ายของคัมภีร์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาศัพท์
๙. เนื้อความที่เป็นธาตวัตถานุกรม จัดลำดับธาตุพร้อมความหมายไว้ส่วนท้ายคัมภีร์ต่อจากอภิธานานุกรม
เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาธาตุของแต่ละศัพท์ให้ง่ายยิ่งขึ้น
[๑๙]
คำแนะนำการใช้คัมภีร์อภิธานวรรณนา
การใช้หนังสือเล่มนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ต้องเข้าใจวิธีการใช้ให้ถูกต้องก่อน ซึ่งคำแนะนำส่วนมากมีอยู่แล้วในปริภาสาของคัมภีร์นี้ คาถาที่ จ-ฉ ในที่นี้จะขอแนะนำข้อที่ปริภาสายังไม่ได้กล่าวถึง
ดังนี้
บทว่า “ภเว” ในคาถาทั่วไป เป็นกิริยาอาขยาต มีความหมายสามัญว่า “ย่อมมี ย่อมเป็น”
แม้บทว่า “ภเว” จะสำเร็จรูปมาจาก ภูธาตุ + อปัจจัย + ติ มิ วัตตมานาวิภัตติ ตุ มิ ปัญจมีวิภัตติ และ
เอยฺย เอยฺยาสิ เอยฺยามิ เอยฺยํ สัตตมีวิภัตติ โดยการวุทธิ อู ของ ภูธาตุเป็น โอ อาเทศ โอ เป็น
อว และอาเทศ ติ มิ ตุ มิ เอยฺย เอยฺยาสิ เอยฺยามิ เอยฺยํ วิภัตติเป็น เอ เหมือนกันก็ตาม แต่ก็หมายเอาเฉพาะ
ภู+อ+ติ เท่านั้น เพราะว่าอรรถของวิภัตติที่เหลือนั้นไม่เหมาะที่จะนำมาประกอบในที่นี้
บทว่า “สิยา, สิยุํ” ก็มีความหมายสามัญว่า “ย่อมมี, ย่อมเป็น” เช่นเดียวกัน สำเร็จรูปมาจาก อสธาตุ+อปัจจัย+เอยฺย เอยฺยุํ
สัตตมีวิภัตติ มีการลบสระ อ ต้นธาตุ แล้วอาเทศ เอยฺย เป็น อิยา และอาเทศ เอยฺยุํ เป็น อิยุํ
หลักการแปลคัมภีร์อภิธานวรรณนา
การแปลภาษาบาลีสู่ภาษาไทยที่ผู้แปลนำมาใช้ในการแปลคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกานี้ ใช้หลักตามนัยนิยม ๓ นัย คือ
๑. สัททัตถนัย แปลตามศัพท์หรือแปลยกศัพท์ คือ ยกศัพท์บาลีขึ้นมาแล้ว แปลให้ได้เนื้อความถูกต้องตามหลักภาษา เช่น พุทฺโธ ธมฺมํ เทเสติ เป็นต้น
ให้แปลอย่างนี้ พุทฺโธ พระผู้ตรัสรู้ เทเสติ ย่อมทรงแสดง ธมฺมํ ซึ่งพระธรรม
๒. อธิปายัตถนัย แปลอธิบายให้ได้เนื้อความ เช่น พุทฺโธ พระผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นต้น
๓. โวหารัตถนัย แปลตามสำนวนที่ชาวโลกนิยม เช่น พุทฺโธ พระพุทธเจ้า
[๒๐]
นิรุตตินัย
นิรุตตินัย คือวิธีการทำตัวรูป เป็นวิธีประกอบธาตุ ปัจจัย และวิภัตติให้เข้ากันสำเร็จเป็นบทนั้นๆ ขอใช้นัยของคัมภีร์ไวยากรณ์ปทรูปสิทธิ เพราะเป็นคัมภีร์ที่แสดงวิธีการสำเร็จรูปแห่งบทได้ชัดเจนดี
ไม่ยากเกินไป และเป็นคัมภีร์ไวยากรณ์ใหญ่คัมภีร์เดียวที่ยังมีการเรียนการสอนอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งนักศึกษา นักค้นคว้าสามารถเทียบเคียงได้จากต้นฉบับภาษาบาลีและภาษาไทยแปลอธิบาย
ภาษาบาลีแม้จะมีศัพท์ต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมากก็จริง แต่สามารถจำแนกออกเป็นบทได้ ๔ บท คือ
๑. นามบท หรือนามศัพท์
๒. อาขยาตบท หรือกิริยาศัพท์
๓. อุปสัคคบท หรืออัพยยศัพท์
๔. นิบาตบท หรืออัพยยศัพท์
ดังนั้น พระโบราณาจารย์ จึงรจนาไว้ว่า
ปทํ จตุพฺพิธํ วุตฺตํ นามาขฺยาโตปสคฺคญฺจ
นิปาตญฺจาติ วิญฺญูหิ อสฺโส ขลฺวาภิธาวติ.
ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า บทมี ๔ อย่าง คือ นาม อาขยาต อุปสัค และนิบาต ตัวอย่างว่า อสฺโส ขลุ อภิ-ธาวติ
ในคาถานี้ บทว่า “อสฺโส ม้า” เป็นนามบท, “ขลุ ทราบว่า” เป็นนิบาตบท, “อภิ เร็ว” เป็นอุปสัคคบท,
“ธาวติ วิ่ง” เป็นอาขยาตบท
นาม คือนามศัพท์ที่ประกอบด้วยวิภัตตินาม ๑๔ ตัว คือ สิ โย อํ โย นา หิ ส นํ สฺมา หิ ส นํ สฺมึ สุ ได้แก่ สุทธนาม คุณนาม
สัพพนาม สมาสนาม ตัทธิตนาม และกิตกนาม
อาขยาตหรือกิริยา คือบทที่สำเร็จรูปมาจากธาตุ ปัจจัย และวิภัตติอาขยาต
อุปสัค นิบาต และบทที่มีตุนาทิปัจจัยประกอบอยู่ท้าย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอัพยยศัพท์ ก็ประกอบอรรถของ สิ
วิภัตติเป็นส่วนมาก
[๒๑]
วิธีสำเร็จรูปของศัพท์
การเปลี่ยนแปลงอักษรเพื่อให้สละสลวยในการอ่าน สวด สาธยายในจุณณียะ (ร้อยแก้ว) และให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ในคาถา (ร้อยกรอง) วิธีที่นำมาใช้ทำตัวรูปให้สำเร็จเป็นบทในคัมภีร์อภิธานวรรณนานี้
(ได้แสดงวิธีสำเร็จรูปไว้ในวงเล็บต่อจากการวิเคราะห์ศัพท์) ถือนัยตามคัมภีร์ปทรูปสิทธิเป็นหลัก โดยมี ๙ วิธี ดังนี้
๑. โลปวิธิ วิธีลบอักษร โดยการลบสระหน้าบ้าง ลบสระหลังบ้าง
ลบพยัญชนะบ้าง ลบนิคหิตบ้าง
๒. อาเทสวิธิ วิธีอาเทศหรือแปลงอักษร โดยการอาเทศสระเป็นสระบ้าง
อาเทศสระเป็นพยัญชนะบ้าง อาเทศพยัญชนะเป็นพยัญชนะบ้าง
๓. อาคมวิธิ วิธีลงอักษรอาคมมาประกอบเพิ่มเติม
๔. วิการวิธิ วิธีวิการ วิปริต เปลี่ยนแปลง หรือกลับอักษร
๕. ปกติวิธิ วิธีคงรูปไว้ตามปรกติเดิม เพื่อไม่ให้ผิดเพี้ยนไป
๖. ทีฆวิธิ วิธีทีฆะหรือทำสระเสียงสั้นให้มีเสียงยาว
๗. รัสสวิธิ วิธีรัสสะหรือทำสระเสียงยาวให้มีเสียงสั้น
๘. สัญโญควิธิ วิธีซ้อนพยัญชนะตามหลักพยัญชนะสังโยค
๙. วุทธิวิธี วิธีวุทธิหรือพฤฒิสระ อ เป็น อา, อิ อี เป็น เอ, อุ อู เป็น โอ
หลังจากการลบ ณ อนุพันธปัจจัย เป็นต้น
[๒๒]
การศึกษาคัมภีร์นิรุตติศาสตร์มีอานิสงส์ ๙ ประการ
การศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์นิรุตติศาสตร์ทั้ง ๔ สายคัมภีร์ ที่กล่าวมาแล้ว มีประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง มวลมนุษยชาติ และพระพุทธศาสนา ดังนี้
๑. อกฺขรโกสลฺลตา เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในอักขรวิธีของภาษาบาลี
อย่างถูกต้องชัดเจน
๒. ปทโกสลฺลตา เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในบททั้ง ๔ คือ นาม
อาขยาต อุปสัค และนิบาต เป็นอย่างดี
๓. ปทตฺถโกสลฺลตา เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อความของบทเป็นอย่างดี
๔. พหุชนหิตการตา เป็นผู้สร้างประโยชน์เกื้อกูลแก่ประชาชนจำนวนมาก
๕. ธมฺมทายาทตา เป็นผู้สืบทอดและถ่ายทอดพระสัทธรรมได้เป็นอย่างดี
๖. สาสนายุสนฺตติกตา เป็นผู้สามารถสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
๗. ธมฺมานุธมฺมจาริตา เป็นผู้มีปรกติประพฤติธรรมตามสมควรแก่ธรรม
๘. อทุกฺกราธิคมตา เป็นผู้สามารถบรรลุธรรมชั้นสูงได้โดยไม่ยาก
๙. สมฺโมทจิตฺตตา เป็นผู้มีจิตเบิกบานอยู่อย่างสม่ำเสมอ
[๒๓]
อักษรย่อที่ใช้อ้างอิง
อุทาหรณ์ที่ยกมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในคัมภีร์อภิธานวรรณนานี้ นำมาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีคำย่อเรียงตามลำดับอักษร ดังนี้
พระไตรปิฎก
องฺ.เอก. |
องฺคุตฺตรนิกาย เอกนิปาต |
เล่มที่ ๒๐ |
องฺ.ทุก. |
องฺคุตฺตรนิกาย ทุกนิปาต | เล่มที่ ๒๐ |
องฺ.ติก. | องฺคุตฺตรนิกาย ติกนิปาต | เล่มที่ ๒๐ |
องฺ.จตุกฺก. | องฺคุตฺตรนิกาย จตุกฺกนิปาต | เล่มที่ ๒๑ |
องฺ.ปญฺจก. |
องฺคุตฺตรนิกาย ปญฺจกนิปาต | เล่มที่ ๒๒ |
องฺ.ฉกฺก. | องฺคุตฺตรนิกาย ฉกฺกนิปาต | เล่มที่ ๒๒ |
องฺ.สตฺตก. | องฺคุตฺตรนิกาย สตฺตกนิปาต | เล่มที่ ๒๓ |
องฺ.อฏฺฐก. | องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกนิปาต | เล่มที่ ๒๓ |
องฺ.ทสก. | องฺคุตฺตรนิกาย ทสกนิปาต | เล่มที่ ๒๔ |
องฺ.เอกาทสก. | องฺคุตฺตรนิกาย เอกาทสกนิปาต | เล่มที่ ๒๔ |
อภิ.กถา. | อภิธมฺมปิฏก กถาวตฺถุ | เล่มที่ ๓๗ |
อภิ.ธมฺมสงฺ. | อภิธมฺมปิฏก ธมฺมสงฺคณ | เล่มที่ ๓๔ |
อภิ.ธาตุ. | อภิธมฺมปิฏก ธาตุกถา | เล่มที่ ๓๖ |
อภิ.ปฏฺ. | อภิธมฺมปิฏก ปฏฺฐาน | เล่มที่ ๔๐-๔๕ |
อภิ.ปุคฺคล. |
อภิธมฺมปิฏก ปุคฺคลปญญตฺติ |
เล่มที่ ๓๖ |
อภิ.วิ. |
อภิธมฺมปิฏก วิภงฺค |
เล่มที่ ๓๕ |
ขุ.ขุทฺทก. |
ขุทฺทกนิกาย ขุทฺทกปาฐ |
เล่มที่ ๒๕ |
ขุ.อปทาน. |
ขุทฺทกนิกาย อปทาน |
เล่มที่ ๓๒-๓๓ |
ขุ.อิติ. |
ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก |
เล่มที่ ๒๕ |
ขุ.อุทาน. |
ขุทฺทกนิกาย อุทาน |
เล่มที่ ๒๕ |
ขุ.จูฬนิ. |
ขุทฺทกนิกาย จูฬนิทฺเทส |
เล่มที่ ๓๐ |
ขุ.ชา |
ขุทฺทกนิกาย ชาตก |
เล่มที่ ๒๗-๒๘ |
ขุ.ติก. | ขุทฺทกนิกาย ติกนิปาต | เล่มที่ ๒๗ |
ขุ.เถร. | ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา | เล่มที่ ๒๖ |
ขุ.เถรี. | ขุทฺทกนิกาย เถรีคาถา | เล่มที่ ๒๖ |
ขุ.ธมฺม. | ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปท | เล่มที่ ๒๕ |
ขุ.ปฏิสมฺ. | ขุทฺทกนิกาย ปฏิสมฺภิทามคฺค | เล่มที่ ๓๑ |
ขุ.เปต. | ขุทฺทกนิกาย เปตวตฺถุ | เล่มที่ ๒๖ |
ขุ.อปทาน | ขุทฺทกนิกาย อปทาน | เล่มที่ ๓๒-๓๓ |
ขุ.มหานิ. | ขุทฺทกนิกาย มหานิทฺเทส | เล่มที่ ๒๙ |
ขุ.วิมาน. | ขุทฺทกนิกาย วิมานวตฺถุ | เล่มที่ ๒๖ |
ขุ.สุตฺตนิ. | ขุทฺทกนิกาย สุตฺตนิปาต | เล่มที่ ๒๕ |
ที.ปาฏิก. | ทีฆนิกาย ปาฏิกวคฺค | เล่มที่ ๑๑ |
ที.มหา. | ทีฆนิกาย มหาวคฺค | เล่มที่ ๑๐ |
ที.สีล. | ทีฆนิกาย สีลกฺขนฺธวคฺค | เล่มที่ ๙ |
มชฺ.อุปริ. | มชฺฌิมนิกาย อุปริปณฺณาสก | เล่มที่ ๑๔ |
มชฺ.มชฺ. | มชฺฌิมนิกาย มชฺฌิมปณฺณาสก | เล่มที่ ๑๓ |
มชฺ.มูล. | มชฺฌิมนิกาย มูลปณฺณาสก | เล่มที่ ๑๒ |
วิ.จุลฺล. | วินยปิฏก จุลฺลวคฺค (จูฬวคฺค) | เล่มที่ ๖-๗ |
วิ.ปริ. | วินยปิฏก ปริวารวคฺค | เล่มที่ ๘ |
วิ.ภิกฺขุนี. | วินยปิฏก ภิกฺขุนีวิภงฺค | เล่มที่ ๓ |
วิ.มหา | วินยปิฏก มหาวคฺค | เล่มที่ ๔ |
วิ.มหาวิ. | วินยปิฏก มหาวิภงฺค | เล่มที่ ๑ |
สํ.ขนฺธ. | สํยุตฺตนิกาย ขนฺธวารวคฺค | เล่มที่ ๑๗ |
สํ.นิทาน. | สํยุตฺตนิกาย นิทานวคฺค | เล่มที่ ๑๖ |
สํ.มหา. | สํยุตฺตนิกาย มหาวารวคฺค | เล่มที่ ๑๙ |
สํ.สคาถ. | สํยุตฺตนิกาย สคาถวคฺค | เล่มที่ ๑๕ |
สํ.สฬา. | สํยุตฺตนิกาย สฬายตนวคฺค | เล่มที่ ๑๘ |
คัมภีร์อรรถกถา
องฺ.อฏฺ. |
องฺคุตฺตรนิกาย อฏฺฐกถา |
มี ๓ เล่ม |
อภิ.อฏฺ. | อภิธมฺมฏฺฐกถา | มี ๓ เล่ม |
ขุ.อฏฺ. | ขุทฺทกนิกาย อฏฺฐกถา | มี ๑๕ เล่ม |
(ไม่รวม ชา.อฏฺ., ธมฺม.อฏฺ., ปฏิสํ.อฏฺ. ๒๐ เล่ม) | ||
ชา.อฏฺ. | ชาตก อฏฺฐกา | มี ๑๐ เล่ม |
ที.อฏฺ. | ทีฆนิกาย อฏฺฐกา | มี ๓ เล่ม |
ธมฺม.อฎฺ. | ธมฺมปท อฏฺฐกา | มี ๘ เล่ม |
ปฏิสมฺ.อฏฺ. | ปฏิสมฺภิทามคฺค อฏฺฐกถา | มี ๒ เล่ม |
มชฺ.อฏฺ. | มชฺฌิมนิกาย อฏฺฐกถา | มี ๓ เล่ม |
มิลินฺท. | มิลินฺทปญฺหอฏฺฐกถา | มี ๑ เล่ม |
วิ.อฏฺ. | วินยปิฏก อฏฺฐกถา | มี ๓ เล่ม |
วิสุทฺธิ. | วิสุทฺธิมคฺค อฏฺฐกถา | มี ๓ เล่ม |
สํ.อฏฺ. | สํยุตฺตนิกาย อฏฺฐกถา | มี ๓ เล่ม |
คัมภีร์ฎีกา
องฺ.ฏี. |
องฺคุตฺตรนิกาย องฺคุตฺตรฏีกา |
มี ๓ เล่ม |
อภิ.ฏี. |
อภิธมฺมตฺถวิภาวินีฏีกา |
มี ๑ เล่ม |
ที.ฏี. |
ทีฆนิกาย ฏีกา | มี ๕ เล่ม |
มหาวํส.ฏี. | มหาวํสฏีกา | มี ๑ เล่ม |
วิสุทฺธิ.ฎี. | วิสุทฺธิมคฺคมหาฏีกา | มี ๓ เล่ม |
วิ.ฎี. |
วินยปิฏก สมนฺตปาสาทิกาฏีกา |
มี ๔ เล่ม |
สีล.ฏี. | สีลขนฺธวคฺค อภินวฏีกา | มี ๒ เล่ม |
คัมภีร์ปกรณ์อื่น ๆ
มงฺคลตฺถ. |
มงฺคลตฺถทีปนี |
มี ๒ เล่ม |
โมคฺ. | โมคฺคลฺลาน | มี ๑ เล่ม |
รูปสิทฺธิ. | ปทรูปสิทฺธิ | มี ๑ เล่ม |
สทฺทนีติ.สุตฺต. |
สทฺทนีติ สุตฺตมาลา |
มี ๑ เล่ม |