<<<               >>>

๓๓

๑.๒  สคฺคาทิวณฺณนา
ว่าด้วยพระอรหันต์และสวรรค์เป็นต้น


    [๑๐]    ขีณาสโว  ตฺวเสกฺโข  จ      วีตราโค  ตถารหา
            เทวโลโก  ทิโว  สคฺโค           ติทิโว  ติทสาลโย.


พระอรหันต์  ๔  ศัพท์


ขีณาสว  (ขีณ+อาสว)  พระอรหันต์, พระขีณาสพ, ผู้สิ้นอาสวะแล้ว.  

ขยึสูติ   ขีณา,  อา ภวคฺคํ  สวนฺติ  ปวตฺตนฺตีติ  อาสวา  สภาพที่สิ้นไปชื่อว่าขีณะ, กิเลสที่ไหลขึ้นไปถึงชั้นภวัคคภูมิ ชื่อว่าอาสวะ.  ขีณา  อาสวา  ยสฺส  โส  ขีณาสโว  พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะ ชื่อว่าขีณาสวะ (ลบสระหน้า).   จตฺตาโร  อาสวา  กามาสโว  ภวาสโว  ทิฏฺฐาสโว  อวิชฺชาสโว,  อิเม  จตฺตาโร  อาสวา  อรหโต  ขีณา  ปหีนา  สมุจฺฉินฺนา  ปฏิปฺปสฺสทฺธา,  อภพฺพุปฺปตฺติกา  ญาณคฺคินา  ทฑฺฒา,  เตน  วุจฺจติ  ขีณาสโวติ   อาสวะมี ๔ อย่าง คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และ อวิชชาสวะ  อาสวะทั้ง ๔ เหล่านี้ พระอรหันต์ทำให้เสื่อมสิ้น ละ ตัดขาด ระงับได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นอีก ถูกไฟคือปัญญาญาณเผาให้มอดไหม้ไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกพระอรหันต์ว่า ขีณาสวะ.   ภิกฺขุ  จ  ขีณาสโว  หตฺถาชานิโย  จ   ภิกษุขีณาสพและช้างอาชาไนย


อเสกฺข  (น+สิกฺขา+ณ)  พระอรหันต์, อเสกขบุคคล, ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก. 

ตโต  อุตฺตริกรณียา ภาวโต  นตฺถิ  สิกฺขา  เอตสฺสาติ  อเสกฺโข  ผู้ไม่มีข้อปฏิบัติที่พึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้ ชื่อว่า อเสกขะ (อาเทศ น เป็น อ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า).  น  สิกฺขตีติ  อเสกฺโข,  เสกฺขธมฺเม  อติกฺกมฺม  อคฺคผเล  ฐิโต  ตโต  อุตฺตรึ  สิกฺขิตพฺพาภาวโต  ขีณาสโว  อเสกฺโขติ  วุจฺจติ   ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก เรียกว่าอเสกขะ  หมายถึงพระขีณาสพผู้ก้าวล่วงเสกขธรรม ดำรงอยู่ในอรหัตตผลอันเลิศ  เรียกว่า "อเสกขะ" เพราะไม่มีข้อที่ควรศึกษาให้ยิ่งกว่านั้นอีก

 

วีตราค  (วีต+ราค)  พระอรหันต์, ผู้ปราศจากราคะ, ผู้ไม่มีความใคร่. 

วิคโต  ราโค  ยสฺมาติ  วีตราโค  พระอรหันต์ผู้ปราศจากราคะ ชื่อว่าวีตราคะ.  อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  กาเม  วีตราโค  โหติ   ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้ปราศจากความใคร่ในกาม


อรหนฺต (อรห โยคฺยปูชาสุ+อนฺต) พระอรหันต์, ผู้ทำลายซี่ล้อแห่งสงสาร. 

ปูชาวิเสสํ  อรหตีติ  อรหา  อรหํ  ผู้ควรรับการบูชาอย่างยิ่ง ชื่อว่าอรหันตะ.  อรหิตพฺโพ  ปูเชตพฺโพติ  อรหา  อรหํ  ผู้ที่บุคคลควรบูชา ชื่อว่าอรหันตะ (อาเทศ นฺต กับ สิ เป็น อา และ อํ, ลบสระหน้า)

 

๑  มชฺ.อฏฺ. ๗/๘/๔๖    ๒  องฺ.ทุก. ๒๐/๓๐๒/๙๗    ๓  วิ.อฏฺ. ๑/๒๘๗
๔  มชฺ.มูล. ๑๒/๒๓๒/๒๐๙

๓๔

สํสารจกฺกสฺส  อเร หนตีติ  อรหา  อรหํ  ผู้ทำลายซี่ล้อแห่งสงสาร ชื่อว่าอรหันตะ (อร-
สทฺทูปปท +หน หึสายํ+ กฺวิ, ลบ นฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ)
    ศัพท์อื่นที่แปลว่าพระอรหันต์มีอีก เช่น วีตโทส วีตโมห พฺราหฺมณ.  พฺราหฺมณาติ ขีณาสวภาวํ  สนฺธายาห  คำว่า "พฺราหฺมณ" ท่านกล่าวหมายถึงความเป็นพระขีณาสพ

 

 

สวรรค์ ๕ ศัพท์


เทวโลก  (เทว+โลก) สวรรค์, เมืองฟ้า, เทวโลก. 

เทวานํ  โลโก  ภวนํ  เทวโลโก  ที่อยู่ของเทวดา ชื่อว่าเทวโลกะ.  เทวโลกํ  อิโต  จุตา  ยนฺติ   มนุษย์ทั้งหลายจุติจากมนุษยโลกนี้แล้ว ไปสู่เทวโลก


ทิว  (ทิวุ กีฬายํ+อ)  สวรรค์, เมืองฟ้า, เมืองทิพย์, เทวโลก. 

ทิพฺพนฺติ  เอตฺถาติ  ทิโว   เมืองทิพย์ที่หมู่เทวดาเพลิดเพลินอยู่ ชื่อว่าทิวะ.  อินฺทา  เทวา  สพฺรหฺมกา  สุจิณฺเณน  ทิวํ  ปตฺตา  ทั้งพระอินทร์  เทวดา และพรหม เข้าถึงสวรรค์เพราะธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว


สคฺค  (สุ+อช คติยํ+ณ) สวรรค์, เมืองฟ้า, เทวโลก. 

จิรํ  ฐิยเต  อสฺมินฺติ  อคฺโค  ฐานํ,  โสภโน  อคฺโค  สคฺโค,  ปุญฺเญน  วา  สุฏฺฐุ  อชียเตติ  สคฺโค  สถานที่ซึ่งเทวดาสถิตอยู่ยั่งยืน สถานที่อันงดงาม หรือสถานที่ซึ่งผู้มีบุญไปถึงด้วยดี ชื่อว่าสัคคะ (ลบ ณฺ, อาเทศ ชฺ เป็น คฺ, ซ้อน คฺ, ลบสระหน้า).  รูปาทีหิ  ปญฺจหิ  กามคุเณหิ  สุฏฺฐุ  อคฺโคติ  สคฺโค  สถานที่อันเลิศด้วยกามคุณ ๕ มีรูปเป็นต้น ชื่อว่าสัคคะ (สุ+อคฺค, ลบสระหน้า).  รูปาทีหิ  วิสเยหิ  สุฏฺฐุ อคฺโคติ  สคฺโค  ภูมิที่งดงามด้วยรูปารมณ์เป็นต้น ชื่อว่าสัคคะ.  สคฺเค  เวทยติ  เสวยสุขอยู่บนสวรรค์  


ติทิว  (ติ+ทิว)  สวรรค์, เมืองฟ้า, สวรรค์ชั้นตรีทิพย์, เมืองทิพย์ของเทวดาผู้เป็นใหญ่ ๓ องค์.  

ตโย  เทวา  ทิพฺพนฺติ  เอตฺถาติ  ติทิโว  สวรรค์อันเป็นสถานที่เล่นเพลิดเพลินของเทวดา ๓ องค์ คือ หริเทพบุตร หรเทพบุตร และพรหมเทพบุตร ชื่อว่าติทิวะ.  เต  ทีฆรตฺตํ  ติทิเว  ปติฏฺฐา  บัณฑิตเหล่านั้นดำรงอยู่บนสวรรค์ตลอดราตรียาวนาน


ติทสาลย  (ติทส+อาลย) สวรรค์, เมืองฟ้า, สวรรค์ตรีทศเทพ, ที่อยู่ของเทวดา ๓๐ องค์, สวรรค์ชั้นตรีทศ. 

ติทสานํ  เทวานํ  อาลโย  ฐานนฺติ  ติทสาลโย  สถานที่อยู่ของเทวดา ๓๐ องค์ ชื่อว่าติทสาลยะ (ลบสระหน้า).  บางอาจารย์กล่าวว่า ศัพท์ว่า "เทวโลก, ทิว, สคฺค" ทั้ง ๓ เป็นชื่อสวรรค์ทั่วไป  ส่วนบทว่า "ติทิว, ติทสาลย" เป็นชื่อสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.  คัมภีร์
อมรโกสะเป็นต้นแสดงไว้ว่า ทั้ง ๕ ศัพท์ดังกล่าว ไม่แตกต่างกัน.  ติทิวปุรศัพท์ เทวนครศัพท

 

 ๑  มชฺ.อฏฺ. ๓/๒๓๔    ๒  ขุ.อฏฺ. ๑๗/๕๖/๒๐๔      ๓  ขุ.ชา. ๒๘/๕๑/๒๒
๔  วิ.อฏฺ. ๑/๑๘๘      ๕  ที.ปาฏิก. ๑๑/๑๗๐/๑๙๒    ๖  องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๓๔/๔๓
๗  อภิ.อฏฺ. ๓/๒๕

๓๕

และ สุราลยศัพท์เป็นต้น เป็นชื่อสวรรค์ชั้นพิเศษ   
    ศัพท์ที่แปลว่าสวรรค์มีอีกมาก  เช่น  นาก, สุรโลก, ติปิฏฺฐป, อวโรห, ผโลทนย, มนฺทร, เสริก, สกฺก, ภวน, ข, นภา

 


    [๑๑]    ติทสา  ตฺวมรา  เทวา      วิพุธา  จ  สุธาสิโน
               สุรา  มรู  ทิโวกา  จา-      มตปา  สคฺควาสิโน.
    [๑๒]    นิชฺชรานิมิสา  ทิพฺพา     อปุเม  เทวตานิ  จ.


เทวดา  ๑๔  ศัพท์


ติทส  (ติทส+อ)  เทวดา, ตรีทศเทพ, หมู่เทวดา ๓๐ องค์, เทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ชาติสตฺตาวินาสสงฺขาตา  ติสฺโส   ทสา  ปริมาณา  เอเตสนฺติ  ติทสา,  เอเต  หิ  มนุสฺสาทโย  วิย  พุทฺธิวิปริณามขเยหิ  น  ยุชฺชนฺติ,  ปญฺจวีสติวสฺสุทฺเทสิยา  เอว  อุปฺปชฺชนฺติ  สนฺติ  วินสฺสนฺติ  จ  เทวดาผู้มีสภาพ ๓ อย่าง คือ เกิดขึ้น สถิตอยู่ และสิ้นอายุขัย ตามกฎเกณฑ์ ชื่อว่า ติทสะ, หมายถึงเทวดาเหล่านี้ไม่ปรากฏว่าเสื่อมวัยเหมือนพวกมนุษย์เป็นต้น เพราะตั้งแต่เกิด จนถึงสิ้นอายุ เป็นเหมือนมีวัย ๒๕ ปี.  นอกจากนี้ ติทสศัพท์ มีความหมายว่าเทวดา ๓๐ องค์ก็มี  เช่น  ติทสานนฺติ  ติกฺขตฺตุํ  ทสนฺนํ   ของเทวดา ๓๐ องค์.  จตฺตาโร  จ  มหาราชา  ติทสา  จ  ยสสฺสิโน  ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพชั้นตรีทศผู้มียศ.  ติทสาติ  ตาวตึสภวนา  คำว่า "ติทสา"  หมายถึงเทวดาผู้สถิตอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.  ติทสา  โส  จวิตฺวา  มนุสฺสตฺตํ    คมิสฺสติ   เทวดานั้นเมื่อเคลื่อนจากสวรรค์แล้วจะไปเกิดเป็นมนุษย์


อมร  (น+มร ปาณจาเค+อ)  เทวดา, ผู้ไม่ตาย, อมรเทพ. 

มรณํ  มโร, โส  เยสํ  นตฺถิ,  เต  อมรา  ความตาย ชื่อว่ามระ  เทวดาที่ไม่มีความตายเหล่านั้น ชื่อว่าอมระ (อาเทศ น เป็น อ).  ตํ  วิมานํ  อภิชฺฌาย  อมรานํ  สุเขสินํ   เราปรารถนาวิมานของพวกเทวดาผู้เสวยสุข


เทว  (ทิวุ กีฬายํ+อ)  เทวดา, เทพ, เทวะ. 

ทิพฺพนฺติ  ปญฺจหิ  กามคุเณหิ  อตฺตโน วา  อิทฺธิยาติ  เทวา,  กีฬนฺติ  โชตนฺติ  จาติ  อตฺโถ.  เต  ติวิธา  สมฺมติเทวา  อุปฺปตฺติเทวา  วิสุทฺธิเทวาติ  เทวดาผู้เพลิดเพลินด้วยกามคุณ ๕ หรือด้วยอิทธิฤทธิ์ของตน ชื่อว่าเทวะ (วุทธิ อิ เป็น เอ) คือผู้รุ่งเรืองสว่างไสว. 

 

๑  สํ.อฏฺ. ๑๑/๑๑/๓๐    ๒  สํ.สคาถ. ๑๕/๙๒๙/๓๔๔    ๓  ขุ.อฏฺ. ๔๙/๖๐๗/๓๖๑
๔  ขุ.อฏฺ. ๓๒/๔๑/๑๖๙    ๕  ขุ.ชา. ๒๘/๗๐๒/๒๔๘    ๖  มชฺ.อฏฺ. ๗/๓/๓๖

๓๖

ภุมฺมา  เทวา  สทฺทมนุสฺสาเวสุํ   เหล่าภุมเทวดาช่วยกันกระจายเสียงออกไป.  เทวดามี ๓ จำพวก คือ (๑) สมมุติเทวดา ได้แก่ พระราชา พระราชินี พระโอรส พระธิดา และพระประยูรญาติ  (๒) อุปปัตติเทวดา ได้แก่ เทวดาตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกาขึ้นไป  (๓) วิสุทธิเทวดา ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ


วิพุธ  (วิ+พุธ อวโพธเน+อ) เทวดา, ผู้ไม่หลับ. 

วิพุชฺฌนฺติ  น  สุปนฺตีติ  วิพุธา.  อตีตานาคตชาตึ  วิพุชฺฌนฺตีติ  วิพุธา  ผู้ตื่นอยู่ไม่รู้จักหลับ ชื่อว่าวิพุธะ หมายถึงเทวดาผู้รู้แจ้งชาติในอดีตและอนาคต


สุธาสี  (สุธาสทฺทูปปท+อส ภกฺขเน+อี)  เทวดา, ผู้กินของทิพย์, ผู้บริโภคสุธาโภชน์. 

สุธาโภชนภุญฺชนสีลตาย  สุธาสิโน  เทวดา ชื่อว่าสุธาสี เพราะปรกติบริโภคสุธาโภชน์คืออาหารทิพย์ (ลบสระหลัง)


สุร  (สุรา+ณ)  เทวดา, ผู้มีความกล้าหาญ. 

สมุทฺทุฏฺฐสุรา  อตฺถิ  เยสํ,  เต สุรา  ผู้มีเครื่องดื่มมากมายดุจน้ำในมหาสมุทร ชื่อว่าสุระ (ลบ ณฺ และสระหน้า).  สุรนฺติ  วา  กีฬนฺตีติ  สุรา  หรือผู้สนุกสนานร่าเริง ชื่อว่าสุระ (สุร กีฬายํ+อ).   สุเขน  รมนฺตีติ  วา  สุรา  หรือผู้ยินดีอยู่ด้วยความสุข ชื่อว่าสุระ (สุขสทฺทูปปท+รมุ กีฬายํ+กฺวิ, ลบ ข, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ, ลบ กฺวิ ปัจจัย).  สุรานํ  อสุรา  ปราชิตา  พวกอสูรพ่ายแพ้แก่เทวดา.   สุรา  นาม  เทวา  เทวดา ชื่อว่าสุระ


มรุ  (มร ปาณจาเค+อุ)  เทวดา,  ผู้ตายตามอายุขัย. 

ทีฆายุกาปิ  สมานา  ยถาปริจฺเฉทํ  สมฺปตฺตกาเล  มรนฺติ  สีเลนาติ  มรู  เทวดาพวกที่มีอายุยืนยาว แต่เมื่อถึงกำหนดอายุก็ตายไปโดยปรกติ จึงมีชื่อว่ามรุ.  ฉตฺตํ  มรู  ธาเรยฺยุมนฺตลิกฺเข  เหล่าเทวดาพากันกั้นฉัตรบนท้องฟ้า.  มรูติ  อมรา  คำว่า "มรู" ได้แก่เทวดา


ทิโวก  (ทิว+โอก) เทวดา, ผู้อาศัยอยู่ในเทวโลก. 

ทิโว  เทวโลโก  โอโก  อาสโย  เยสํ  เต  ทิโวกา  เทวดาที่มีเทวโลกเป็นที่อยู่อาศัย ชื่อว่าทิโวกะ (ลบสระหน้า)


อมตป  (อมตสทฺทูปปท+ปา ปาเน+อ) เทวดา, ผู้ดื่มอมตรส. 

สุธาหารสฺส  ปาตพฺพสฺสปิ  สมฺภวโต  อมตํ  ปิวนฺตีติ  อมตปา,  อมโตสธํ  วา  ปิวนฺตีติ  อมตปา  ผู้ดื่มน้ำอมฤตหรือดื่มอมตโอสถจากอาหารทิพย์ ชื่อว่าอมตปะ (ลบสระหน้า)


สคฺควาสี  (สคฺค+วาสี) เทวดา, ผู้อยู่บนสวรรค์. 

สคฺเค  วสนสีลตฺตา  สคฺควาสิโน  เทวดาชื่อว่าสัคควาสี เพราะปรกติอยู่บนสวรรค์

 

๑  วิ.มหาวิ. ๑/๑๘/๓๒    ๒  ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๒๑๔/๑๑๒    ๓  ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๘๘/๔๖๖
๔  ขุ.อฏฺ. ๒๖/๔๕/๓๒๐    ๕  ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๘๘/๔๖๘    ๖  ขุ.อฏฺ. ๕๑/๑๓๔/๑๓๗

๓๗

นิชฺชร  (นิ+ชรา+ณ)  เทวดา, ผู้ไม่แก่. 

สทา  ปญฺจวีสติวสฺสุทฺเทสิยตฺตา  นิรากตา  ชรา  เอเตสนฺติ  นิชฺชรา  เทวดาผู้ไม่ปรากฏความแก่ เพราะดูเหมือนกับว่ามีวัยเบญจเพสตลอดไป จึงชื่อว่านิชชระ (ซ้อน ชฺ, ลบ ณฺ และสระหน้า)

 

อนิมิส  (น+นิ+มิส นิมีลเน+อ) เทวดา, ผู้ไม่หลับตา. 

น  นิมิสนฺตีติ  อนิมิสา,  ภมุกา  นิจฺจลํ  กโรนฺตีตฺยตฺโถ  ผู้ไม่กระพริบตา คือไม่ทำให้ขนตาไหว ชื่อว่าอนิมิสะ (อาเทศ น เป็น อ)


ทิพฺพ  (ทิว+วส นิวาเส+กฺวิ) เทวดา, ผู้อยู่บนสวรรค์. 

ทิเว  วสนฺตีติ  ทิพฺพา  เทวดาผู้อยู่ บนสวรรค์ ชื่อว่าทิพพะ (ลบ อ ที่ ว ตัวหน้า, อาเทศ วฺว เป็น พฺพ, ลบ สฺ และ กฺวิ).  มานุสฺสกา  อมานุสฺสกา  จ  ทิพฺพา  หมู่มนุษย์ อมนุษย์และเทวดา.  ทิพฺพา  เทวโลเก  ชาตา  เทวดาเกิดแล้วในเทวโลก


เทวตา, เทวตานิ  (เทว+ตา, เทวตา+นิ)  เทวดา. 

เทวา  เอว  เทวตา,  สกตฺเถ  เทวสทฺทโต  ตาปจฺจโย  เทวตา  เอว  เทวตานิ,  สกตฺเถ  นิปจฺจโย  "อปุเม" ติ  เอตฺถ  ปฐมสกตฺถิกวเสน  อิตฺถิลิงฺคตฺตํ,  ทุติยสกตฺถิกวเสน  นปุํสกลิงฺคตฺตํ  เวทิตพฺพํ,  ทุติยสกตฺถิกวเสเนว  วา  ทฺวิลิงฺคตฺตํ,  ตตฺถ  อิตฺถิลิงฺคปกฺเข  ยทาทินา  นิการาเทโส  รูปว่า "เทวตา" ลง ตาปัจจัยหลังจากเทวศัพท์ในอรรถสกัตถะ(ไม่มีอรรถพิเศษ),   รูปว่า "เทวตานิ" ลงนิปัจจัยหลังจาก เทวตาศัพท์ในอรรถสกัตถะเหมือนกัน,  คำว่า "อปุเม" นี้เป็นอิตถีลิงค์ด้วย ตาสกัตถปัจจัยครั้งแรก,  เป็นนปุงสกลิงค์ด้วย นิสกัตถปัจจัยครั้งที่สอง,  อีกนัยหนึ่ง เทวตาศัพท์ เป็นทั้งอิตถีลิงค์และนปุงสกลิงค์ โดยการอาเทศ เทวตา ในอิตถีลิงค์เป็น เทวตานิ ด้วยกัจจายนสูตรว่า "ยทนุปปนฺนา  นิปาตนา  สิชฺฌนฺติ".   ในคัมภีร์อมรโกสะกล่าวว่า "เทวตานิ  ปุเม  วา,  วิกปฺเปน  ปุลฺลิงฺเค,  นิจฺจํ นปุํสเก     เทวตานิศัพท์เป็นปุงลิงค์ได้แต่มีใช้ไม่มาก ในนปุงสกลิงค์มีใช้แน่นอน".   คัมภีร์อมรโกสะฎีกาว่า  "สกตฺถิกา  ปกติโต  ลิงฺควจนานิ  อติวตฺตนฺตีติ  ปุนฺนปุํสกตฺตํ,   ตตฺถ  สกตฺถิกาติ  ทุติยสกตฺถิกํ  วุตฺตํ,   ปกติโตติ  ปฐมสกตฺถิกํ.  เตน  วุตฺตํ  "ปุนฺนปุํสกตฺต"นฺติ,  อิตรถา  ตาปจฺจยนฺตสฺส  นิจฺจํ  อิตฺถิลิงฺคตาย  อิตฺถิลิงฺคตฺตเมว วเทยฺย.  ศัพท์ที่มีสกัตถปัจจัยประกอบอยู่ จะมีความพิเศษกว่าบทที่มีลิงค์ตามปรกติ จึงเป็นได้ทั้งปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์, ในคำนี้หมายถึงรูป เทวตานิ, คำว่าตามปรกติ คือรูปว่า เทวตา จึงกล่าวว่าเป็นได้ทั้งปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์, นอกจากนี้ ศัพท์ที่มี ตาปัจจัยอยู่ท้าย ท่านกล่าวว่าเป็นอิตถีลิงค์แน่นอน.  เทวตา ภควโต เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ   เทวดาทั้งหลายกราบทูลความนี้แด่พระผู้มีพระภาค.  อถ โข  อญฺญตรา  เทวตา  ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง.  เทวตานิ  อาคนฺตฺวา  อาโรจิตํ  สุตฺวา  เทวดาทั้งหลายมาฟังเรื่องที่เขาบอก.  ในอุทาหรณ์ที่ยกมานี้ เทวตาศัพท์เป็นอิตถีลิงค์, เทวตานิศัพท์เป็นนปุงสกลิงค์

 

๑  ขุ.วิมาน. ๒๖/๓๕/๖๓    ๒  ขุ.อฏฺ. ๔๙/๒๖/๑๒๗    ๓  กจฺจายนสุตฺต ๓๙๑
๔  ที.ปาฏิก. ๑๑/๖/๑๕    ๕  มชฺ.มูล. ๑๒/๒๘๙/๒๘๒    ๖  ขุ.อฏฺ. ๒๙/๗๐๔/๓๒๒

๓๘

ศัพท์ที่แปลว่าเทวดามีอีกมาก  เช่น  สุปพฺพา, สุมนา, ติทิเวสา, อาทิเตยฺยา, ทิวิสทา, เลขา, อทิตินนฺทนา, อาทิจฺจา, ริภโว, อโสปฺปา, อมจฺจา, อมตาสนา, อคฺคิมุขา, หวิโภชนา, คิรพฺพาณา, ทานวารโย, พินฺทารกา, ปูชิยา, จิรายุกา, สคฺคิโน, นโภสทา.  ทุกบทที่แปลว่าเทวดา ทั้ง ๓ ลิงค์ นิยมประกอบวิภัตติฝ่ายพหูพจน์


    [๑๓]    สิทฺโธ ภูโต จ  คนฺธพฺโพ    คุยฺหโก  ยกฺขรกฺขสา
               กุมฺภณฺโฑ  จ  ปิสาจาที       นิทฺทิฏฺฐา  เทวโยนิโย.

 


ต้นตระกูลหรือกำเนิดเทวดา  ๘  จำพวก


สิทฺธ (สิทฺธ สํสิทฺธิมฺหิ+อ) ตระกูลสิทธเทวดา. 

อณิมาทิคุโณเปตตฺตา  สิชฺฌนฺติ  เอตสฺส  ยถิจฺฉิตา  อตฺถาติ  สิทฺโธ  ผู้ปรารถนาอะไรก็สำเร็จได้ทุกอย่าง  แม้จะไม่มีเวทมนต์เหมือนพวกปิศาจ ชื่อว่าสิทธะ


ภูต  (ภู สตฺตายํ+ต) ภูต, ตระกูลภูตเทวดา, เทวดาพวกร่ายเวทมนต์, ปิศาจจำพวกหนึ่ง, มิจฉาทิฏฐิเทวดา. 

ภวนฺติ  พฺรูหนฺติ  กถา  เอตสฺมาติ  ภูโต,  โส  ภูโต  ปิสาจปฺปเภโท  อโธมุขาทิ  เทวดาผู้เป็นเหตุให้กล่าวคำพูด ชื่อว่าภูตะ,  อโธมุขเทวดาเป็นต้นนั้น ท่านจัดไว้ในจำพวกปิศาจ


คนฺธพฺพ  (คนฺธสทฺทูปปท+อพฺพ ปริภุญฺชเน+อ) คนธรรพ์, ตระกูลเทวดาคนธรรพ์, เทวดาผู้บริโภคกลิ่น, เทวดานักร้อง. 

คนฺธํ  อพฺพติ  ปริภุญฺชตีติ  คนฺธพฺโพ.  เทวคายนา  "หาหา หูหู" ปภุตโย  เทวดาผู้บริโภคกลิ่น ชื่อว่าคันธัพพะ หมายถึงเทวดาที่ขับเพลงว่า "หาหา หูหู" เป็นต้น (ลบสระหน้า).  คนฺธพฺโพ  วา  คนฺธพฺพี  วา  คนฺธพฺพโปตโก  วา  เทพบุตรคนธรรพ์ เทพธิดาคนธรรพ์ หรือลูกน้อยของคนธรรพ์


คุยฺหก  (คุห สํวรเณ+ย+ก)  ตระกูลคุยหกเทวดา, เทวดาเฝ้าขุมทรัพย์. 

นิธโย  คุยฺหตีติ  คุยฺหโก,  มณิภทฺราทิโก  กุเวรานุจโร  เทวดาผู้ดูแลขุมทรัพย์ ชื่อว่าคุยหกะ (ก ปัจจัยใช้ในชื่อ) ได้แก่ มณิภัทรเทวดา(พญาครุฑ)เป็นต้น ที่ติดตามท้าวกุเวร (กลับ หฺย เป็น ยฺห).  ครุฬา  คุยฺหกา  นาม  ชาตา,  เต  กุมฺภณฺฑา  คุยฺหกาปิ  ถูปํ  อกํสุ  ครุฑมีชื่อว่าคุยหกะ, กุมภัณฑ์และครุฑเหล่านั้น ได้ทำสถูปแล้ว

 

 

๑  ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๑๓/๒๑๕    ๒  ขุ.อฏฺ. ๕๐/๑๔๗/๓๖๘

๓๙

ยกฺข (ยกฺข ปูชายํ+อ) ตระกูลยักขเทวดา, เทวดายักษ์.   

ยกฺขียเต  ปูชียเตติ  ยกฺโข, กุเวราทิโก  เทวดาที่ชาวโลกเซ่นสรวงมีท้าวกุเวรเป็นต้น ชื่อว่ายักขะ.   ยกฺโข  วา  ยกฺขินี  วา  ยกฺขโปตโก  วา  ยักษ์ ยักษินี หรือลูกน้อยของยักษ์

 

รกฺขส  (รกฺข ปาลเน+ส) ตระกูลรักขสเทวดา, เทวดารากษส, ผีเสีื้อน้ำ. 

รกฺขนฺติ  อตฺตานํ  เอตสฺมาติ  รกฺขโส,  วิภีสณาทิ  สัตว์ทั้งหลายรักษาตนให้พ้นจากเทวดานี้ ฉะนั้น เทวดานี้จึงชื่อว่ารักขสะ มีรากษสชื่อว่าวิภีสณะเป็นต้น.  นาวํ  คณฺเหยฺย  รกฺขโส  เทวดารากษสยึดเรือไว้


กุมฺภณฺฑ  (กุมฺภ+อณฺฑ)  ตระกูลกุมภัณฑเทวดา, กุมภัณฑ์, ยักษ์. 

กุมฺภณฺฑานนฺติ  เต  กิร  เทวา  มโหทรา  โหนฺติ  สหสฺสงฺคมฺปิ  จ  เนสํ  กุมฺโภ  วิย  มหนฺตํ  โหติ.  ตสฺมา  กุมฺภณฺโฑติ  วุจฺจนฺติ  ศัพท์ว่า "กุมฺภณฺฑานํ"  อธิบายว่า  ทราบว่าเทวดานั้นมีท้องใหญ่มาก แม้อวัยวะทั้งพันส่วนก็ใหญ่โตมากเหมือนหม้อ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า "กุมภัณฑะ".  กุมฺภปฺปมาณณฺฑตาย  กุมฺภณฺโฑ  ชื่อว่ากุมภัณฑะ เพราะมีลูกอัณฑะโตเท่าหม้อ.  กุมฺภณฺโฑ  วา  กุมฺภณฺฑี  วา  กุมฺภณฺฑโปตโก  วา  กุมภัณฑ์ นางกุมภัณฑ์ หรือลูกน้อยของกุมภัณฑ์


ปิสาจ (ปิสิตสทฺทูปปท+อส ภกฺขเน+อ) ตระกูลปิศาจเทวดา. 

ปิสิตํ  มํสํ  อสติ  ภกฺขตีติ  ปิสาโจ,  สกุนิ  สกุนฺติอาทิโก  กุเวรานุจโร  เทวดากินเศษเนื้อ ชื่อว่าปิสาจะ,  สกุนิ และสกุนฺติ เป็นต้น เป็นเทวดาผู้ติดตามท้าวกุเวร (อาเทศ ปิสิต เป็น ปิ, อส เป็น สาจ).  อาทิสทฺเทน  วิชฺชาธรอปสรกินฺนเร  จ  สงฺคณฺหาติ  อาทิศัพท์รวมเอา วิชฺชาธร ผู้มีมนต์ดำหรือวิชาธร,  อปสรา ผู้หยาบคายหรือนางอัปสร,  กินฺนร กินนรผู้เหมือนคน เพราะมีหัวเป็นม้าตัวเป็นคน.  มโหทรา  ปิสาจา  วิย  เหมือนปิศาจท้องโต.  มา มํ  ปิสาจา  ขาทนฺตุ  ขอปิศาจอย่าเคี้ยวกินเรา


อาทิจฺจา  วิสุ  วสโว      ตุสิตาûภสฺสราûนิลา?,
มหาราชิกา  สาธฺยา จ    รุทฺทา จ  คณเทวตา.


    เทวดา ๙ หมู่  คือ  อาทิจจะ วิสุ วสวะ ตุสิตะ อาภัสสระ อนิละ มหาราชิกะ  สาธยะ และ รุททะ

 

ตตฺราทิจฺจา  ทฺวาทสกา     วิสุเทวา  ทส  ฐิตา,

วสโว  อฏฺฐสงฺขฺยาตา      ฉตฺตึส  ตุสิตา  มตา.

อาภสฺสรา  จตุสฏฺฐิ        วาตา  ปณฺณาเสกูนกา,

มหาราชิกนามาโย        ทฺวิสตํ  วีสตาธิกา.

 

๑  ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๑๓/๒๑๕    ๒  ขุ.ชา. ๒๗/๒๓๗๒/๕๐๘    ๓  ที.อฏฺ. ๓/๑๔๖
๔  ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๑๓/๒๑๕    ๕  มชฺ.อฏฺ. ๙/๑๕๒/๑๒๔      ๖  ชา.อฏฺ. ๓๗/๒๑
๗ อมรโกสะ

๔๐

สาธฺยา  ทฺวาทส  วิขฺยาตา      รุทฺทา  เจกาทส  ฐิตา
สมยนฺตรโต  เอตา                วิญฺเยฺยา  คณเทวตา.


นักศึกษาควรรู้จักจำนวนเทวดาผู้ประจำอยู่บนสวรรค์แต่ละหมู่ดังนี้ คือ อาทิจจะ มีเทวดา ๑๒ องค์,  วิสุ มีเทวดา ๑๐ องค์,  วสวะ มีเทวดา ๘ องค์,  ตุสิตะ มีเทวดา ๓๖ องค์,  อาภัสสระ มีเทวดา ๖๔ องค์,  อนิละ (หรือวาตะ) มีเทวดา ๔๙ องค์,  มหาราชิกะ มีเทวดา ๒๒๐ องค์,  สาธยะ มีเทวดา ๑๒ องค์,  รุททะ มีเทวดา ๑๑ องค์

 

 

    [๑๔]    ปุพฺพเทวา   สุรริปู         อสุรา  ทานวา  ปุเม
              ตพฺพิเสสา  ปหาราโท     สมฺพโร  พลิอาทโย.

 

อสูร ๔ ศัพท์


ปุพฺพเทว  (ปุพฺพ+เทว)  อสูร, อสูรผู้เคยเป็นเทวดา. 

ปุพพํ  เทวา  ปุพฺพเทวา,  ปุพฺเพ  วา  เทวา  ปุพฺพเทวา,  ปุพฺเพ  เหฺยเต  เทวปุเร  ฐิตา  อนนฺตรํ  สกฺกาทีหิ  ตโต  จาลิตา  ผู้เป็นเทวดาในกาลก่อน หรือเคยเป็นเทวดามาก่อน จึงชื่อว่าปุพพเทวะ, เมื่อก่อนอสูรเหล่านี้ดำรงอยู่บนเทวโลก ไม่นานถูกท้าวสักกะเป็นต้น ขับไล่ให้พ้นจากเทวโลกนั้น.  นนุ  เวปจิตฺติปริสา  ปุพฺพเทวา  อสูรบริษัทของท้าวเวปจิตติเคยเป็นเทวดามิใช่หรือ.  ปุพฺพเทวาติ  อสุรา  คำว่า "ปุพฺพเทวา" คือพวกอสูร


สุรริปุ  (สุร+ริปุ)  อสูร, คู่อริของเทวดา. 

สุรานํ  ริปู  สตฺตโว  สุรริปู  ศัตรูของเทวดา ชื่อว่า สุรริปุ.  สุรริปุทุรภิภวเน  ตาวตึสภวเน  สุธมฺมา  นาม  เทวสภา  อตฺถิ   เทวสภาชื่อว่า สุธัมมา มีอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่ยึดมาจากอสูร


อสุร  (น+สุร อิสฺสริยทิตฺตีสุ+อ) อสูร, ศัตรูของเทวดา. 

ปกติเทวา  วิย  น  สุรนฺติ  น  อิสนฺติ  น  วิโรจนฺตีติ  อสุรา,  เตสํ  ปฏิปกฺขาติ  วา  อสุรา,  เวปจิตฺติปหาราทาทโย ผู้ไม่กล้าหาญ ไม่เป็นใหญ่ ไม่รุ่งโรจน์เหมือนปรกติเทวดา หรือผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อเทวดา ชื่อว่าอสุระ ได้แก่ ท้าวเวปจิตติและท้าวปหาราทะเป็นต้น.  อสุรา  มหาสมุทฺเท  อภิรมนฺติ  พวกอสูรพากันยินดีในมหาสมุทร.  อสุรา  ทิพฺพปานํ  ปิวิตฺวา  ปมชฺชึสุ  พวกอสูรพากันดื่มเหล้าทิพย์จนมึนเมา.   น  สุรํ   ปิวิมฺหาติ  อาหํสุ,  ตโต  ปฏฺฐาย  อสุรา  นาม  ชาตา  พวกอสูรพากันกล่าวว่า "พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว" ตั้งแต่นั้น จึงเกิดชื่อว่าอสุระ(ผู้ไม่ดื่มสุรา เพราะถูกท้าวสักกะ

 

๑  อมรโกสอภิธานฎีกา    ๒  อภิ.กถา. ๓๗/๑๑๙๖/๓๘๙    ๓  ชา.อฏฺ. ๔๑/๒๐๔
๔  ขุ.อฏฺ. ๕๑/๙๓๙/๓๘๐    ๕  ขุ.อฏฺ. ๒๖/๔๕/๓๒๐    ๖  วิ.จุลฺล. ๗/๔๔๙/๒๘๕
๗  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๑๐๓    ๘  สํ.อฏฺ. ๑๑/๒๔๗/๓๒๑

๔๑

เทวราชใช้แผนมอมสุราจนเมาแล้วจับโยนลงจากเทพวิมานจึงเข็ดหลาบ ไม่ยอมดื่มสุราอีก)


ทานว  (ทนุ+ณว)  อสูร, ลูกของนางทนุรากษส. 

ทนุนามาย  มาตุยา  อปจฺจํ  ทานวา.  ทนุ  นาม  เตรสสุ  รกฺขสทุหิตูสุ  เอกิสฺสา  ทุหิตุ  นามํ  ลูกของนางทนุ ชื่อว่าทานวะ,  ทนุ  เป็นชื่อลูกสาวนางหนึ่งในจำนวนลูกสาวรากษส ๑๓ นาง.  กุมฺภณฺฑา  ทานวา  ครุฬา  อุปชีวนฺติ  ตํ  สรํ   ทั้งกุมภัณฑ์ อสูรและครุฑเข้าไปอาศัยอยู่ใกล้สระน้ำนั้น   

ปุพฺพเทวาทโย  สทา  ปุเม  ปุลฺลิงฺเค  วตฺตนฺติ   ตั้งแต่ ปุพฺพเทว ถึง ทานว ศัพท์
ใช้ในรูปปุงลิงค์พหูพจน์ทุกแห่ง
    ศัพท์ที่แปลว่าอสูรมีอีกมาก  เช่น  เทจฺจ, เทเตยฺย, ทนุช, อินฺทารี, สุรทิส, สุกฺกสิสฺส,  ทิติสุต, ปุพฺพช


อสูรพิเศษ  ๓  ศัพท์


    บทว่า "ตพฺพิเสสา" ในคาถานี้ หมายถึงอสูรผู้มีความพิเศษ ได้แก่ ปหาราทอสูร สัมพรอสูร และพลิอสูร


ปหาราท  (ปหารสทฺทูปปท+ทา ทาเน+อ)  ปหาราทอสูร,  อสูรประจำคลังสรรพาวุธ. 

สุเรหิ  สทฺธึ  สงฺคามตฺถํ  อตฺตโน  พลกายานํ  ปหารํ  อายุธํ  ททาตีติ  ปหารโท,  โส  เอว ปหาราโท   ผู้จ่ายอาวุธเครื่องประหารให้แก่พลนิกายของตนเพื่อทำสงครามกับพวกเทวดา ชื่อว่าปหารทะ (ลบสระหน้า),  ปหารทะนั่นแหละ เป็นปหาราทะ (ทีฆะ อ เป็น อา).  อถ โข ปหาราโท  อสุรินฺโท  เยน  ภควา  เตนุปสงฺกมิ  ครั้งนั้น ปหาราทะจอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ.  อยํ  ปหาราโท  มยิ  อกเถนฺเต  ปฐมตรํ  กเถตุํ  น  สกฺขิสฺสติ  ปหาราท อสูรนี้ เมื่อเรายังไม่พูด จะไม่สามารถพูดก่อนได้เลย


สมฺพร  (สํ+วร)  สัมพรอสูร. 

สํ  ปสตฺโถ  วโร  ชามาตา  ยสฺส  โส  สมฺพโร,  ตสฺส  หิ  สกฺโก  ชามาตา  ผู้มีลูกเขยประเสริฐ คือ มีท้าวสักกะเป็นลูกเขย ชื่อว่าสัมพระ (สํ+วุ อาวรเณ +อร, อาเทศ ว เป็น พ, นิคหิตเป็น มฺ, ลบสระหน้า).  อถ  โข  ภิกฺขเว  สมฺพโร  อสุรินฺโท ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัมพระจอมอสูร


พลิ  (พล+อี)  อสูร, ผู้ทรงพลัง. 

พลเมตสฺสตฺถีติ  พลี,  อติสยพลกายตฺตา  วา  พลี,  โส  เอว  พลิ,  "พลิอาทโย" ติ  อิมินา  สมาเสปิ  สนฺธิ  นตฺถีติ  ทีเปติ.  อาทินา  มจฺฉสกุณาทิเกปิ  กุญฺจาทิเกปิ  อสุรเภเท  สงฺคณฺหาติ  ผู้มีกำลัง หรือมีร่างกายกำยำ ชื่อว่าพลี, พลีนั่นแหละ คือ พลิ, ท่านแสดงว่า ด้วยบทว่า "พลิอาทโย" ท่านไม่ได้ทำสนธิวิธีในบทสมาส (เพื่อรักษาฉันท์),  อาทิ

 

๑  ขุ.อปทาน. ๓๒/๓/๒๗    ๒  องฺ.อฏฺ€ก. ๒๓/๑๐๘/๒๐๐    ๓  องฺ.อฏฺ. ๑๖/๕๓๖/๒๔๐
๔  สํ.สคาถ. ๑๕/๙๐๔/๓๓๔

๔๒

ศัพท์รวมบทที่เป็นพวกอสูร เช่น ปลายักษ์ นกยักษ์และสัตว์ที่มีเสียงน่าหวาดกลัว


    [๑๕]    ปิตามโห  ปิตา  พฺรหฺมา     โลเกโส  กมลาสโน
               ตถา  หิรญฺคพฺโภ  จ           สุรเชฏฺโฐ  ปชาปติ.


พรหม  ๘  ศัพท์


ปิตามห  (ปิตุ+อามห)  พรหม. 

ปิตูนํ  ปชาปตีนํ  โลกปิตูนมฺปิ  ปิตา  ปิตามโห  ผู้เป็นปู่ เป็นตา เป็นทวดของชาวโลก ชื่อว่าปิตามหะ (ลบสระหน้า).  พนฺธูติ  พฺรหฺมา  อธิปฺเปโต,  ตํ  หิ  พฺราหฺมณา  ปิตามโหติ  โวหรนฺติ  คำว่า "พนฺธุ" หมายถึงพรหม พวกพราหมณ์เรียกพรหมนั้นว่า ปิตามหะ


ปิตุ  (ปา ปาลเน+ริตุ)  พรหม. 

สพฺพโลกานํ  ปิตุฏฺฐานิยตฺตา  ปิตา,  สพฺพโลกํ  วา  ปาติ  รกฺขตีติ  ปิตา  ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นพ่อของชาวโลกทั้งปวง หรือผู้คุ้มครองรักษาโลกทั้งปวง ชื่อว่าปิตุ (ลบ รฺ อนุพันธ์ และสระหน้า)


พฺรหฺม  (พฺรห วุฑฺฒิยํ+ม)  พรหม. 

มหนฺตสรีรตาย  พฺรหฺมา  ชื่อว่าพรหมะ (อ่านว่า พฺระ-หฺมะ) เพราะมีร่างกายเจริญ.  พฺรหฺมา  จ  โลกาธิปตี  สหมฺปติ  ท้าวสหัมบดีพรหม ผู้เป็นใหญ่ในโลก


โลเกส  (โลก+อีส)  พรหม. 

โลกานํ  อีโส  อินฺโท  โลเกโส  จอมเทพแห่งโลกทั้ง ๓ คือ มนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก ชื่อว่าโลเกสะ (ลบสระหน้า, อาเทศ อี เป็น เอ)


กมลาสน  (กมล+อาสน)  พรหม. 

กมลสมฺภวตฺตา  กมลํ.  ตํ  อาสนํ  อุปฺปตฺติฏฺฐานํ  อสฺสาติ  กมลาสโน  ผู้มีปทุมชาติปูลาดเป็นที่ประทับ ชื่อว่ากมลาสนะ (ลบสระหน้า)


หิรญฺญคพฺภ  (หิรญฺญ+คพฺภ)  พรหม. 

หิรญฺญสุวณฺณมยํ  อณฺฑํ  หิรญฺญํ,  ตมสฺส  คพฺโภ  ภูโต  หิรญฺญคพฺโภ  ไข่เงินไข่ทอง ชื่อว่าหิรัญญะ,  ผู้เกิดจากไข่เงินไข่ทองนั้น ชื่อว่าหิรัญญคัพภะ.  หิรญฺญคพฺภาทโย  เทวตา  เทวดามีพรหมเป็นต้น


สุรเชฏฺฐ  (สุร+เชฏฺฐ)  พรหม. 

ฌานาทิคุเณหิ  สุรานํ  เชฏฺฐตฺตา  สุรเชฏฺโฐ  พรหมผู้ประเสริฐกว่าเทวดาทั้งหลายด้วยคุณมีฌานเป็นต้น ชื่อว่าสุรเชฏฐะ

 

๑  ที.อฏฺ. ๔/๒๖๓/๒๒๙    ๒  ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๘๑/๔๐๓    ๓  ขุ.อฏฺ. ๓๔/๙๑/๑๑๒

๔๓

ปชาปติ  (ปชาสทฺทูปปท+ปา ปาลเน+ติ)  พรหม. 

ปชานํ  สตฺตานํ  ปติ  สามิภูโต  ปชาปติ,  ปชํ  ปาเลตีติ  วา  ปชาปติ  พรหมผู้เป็นเจ้าแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือผู้คุ้มครองหมู่สัตว์ ชื่อว่าปชาปติ (รัสสะ อา เป็น อ).  มหาพฺรหฺมุโน  ปชาปตีติ  ทิฏฺฐฏฺฐาเน  ฐเปตฺวา  แต่งตั้งท้าวมหาพรหมไว้ในตำแหน่งประชาบดี
    ศัพท์ที่แปลว่าพรหมมีอีกมาก เช่น อตฺตภู, ปรเมฏฺฐิ, สยมฺภู, จตุรานน, ธาตุ, กมลโยนิ, ทุหิณ, วิริญฺจิ, สชิตุ, เวธ, วิธาตุ, วิธิ, หํสรถ, วิริญฺจ, ปปิตมห

 


    [๑๖]    วาสุเทโว  หริ  กณฺโห      เกสโว  จกฺกปาณฺยถ
               มหิสฺสโร  สิโว  สูลี          อิสฺสโร  ปสุปตฺยปิ.    
    [๑๗]    หโร  วุตฺโต  กุมาโร  ตุ     ขนฺโท  สตฺติธโร  ภเว.


พระนารายณ์, พระวิษณุ  ๕  ศัพท์


วาสุเทว  (วสุเทว+ณ)  วาสุเทพ, พระนารายณ์, พระวิษณุ. 

วสุเทวสฺส  อปจฺจํ  วาสุเทโว  เทวดาผู้เป็นลูกหลานของวสุเทวะ ชื่อว่าวาสุเทวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา).  เทวคพฺภาย   เชฏฺฐปุตฺโต  วาสุเทโว  พระนารายณ์เป็นบุตรองค์ใหญ่ของนางเทวคัพภา


หริ  (หร หรเณ+อิ) หริเทพ, พระนารายณ์, พระวิษณุ. 

มจฺจานํ  ชีวิตํ  หรติ  สีเลนาติ  หริ  เทวดาผู้มักนำชีวิตสัตว์ไป ชื่อว่าหริ.  มนํ  หรตีติ  หริ  เทพผู้นำพาจิตใจไป ชื่อว่าหริ


กณฺห  (กุ นินฺทายํ+ณ)  กัณหมาร, ผู้มีคุณทราม, ผู้เสื่อมเสีย, พระนารายณ์. 

กุจฺฉิตพฺโพ  นินฺทิตพฺโพติ  กณฺโห  เทพผู้ถูกตำหนิติเตียน ชื่อว่ากัณหะ (ลง ห อาคมหลังธาตุ, อาเทศ อุ เป็น อ, กลับ หฺณ เป็น ณฺห).  กณฺหคุณโยคโต  กณฺโห  เพราะมีความเสื่อมเสีย จึงชื่อว่ากัณหะ.  กํ  สุขํ  หนตีติ  กณฺโห  เทพผู้เบียดเบียนความสุข ชื่อว่า กัณหะ (กํสทฺทูปปท+ หน หึสายํ+กฺวิ, อาเทศนิคหิตเป็น ณฺ, ลบ นฺ ที่สุดธาตุ และ กฺวิ).  กณฺหคุณํ  อสฺส  อตฺถีติ  กณฺโห  เทพผู้มีความเสื่อมเสีย ชื่อว่ากัณหะ (กณฺห+ณ, ลบ ณฺ และสระหน้า).  กณฺโหติ  โย  โส  มาโร  กณฺโห  อธิปติ  บทว่า "กณฺโห" คือ กัณหมารผู้เป็นใหญ่ตนหนึ่ง


เกสว  (เกสีสทฺทูปปท+หน หึสายํ+อ)  เกสวเทพ, พระนารายณ์, พระวิษณุ. 

เกสึ  นาม  อสุรํ  หตวาติ  เกสโว  เทพผู้ฆ่าเกสีอสูร ชื่อว่าเกสวะ (อาเทศ อี เป็น อ, หน ธาตุเป็น ว)


    คัมภีร์จินตามณิฎีกากล่าวว่า

 

๑  ขุ.อฏฺ. ๒๘/๑๓๗/๑๙๖    ๒  ชา.อฏฺ. ๓๙/๕๓๐    ๓  ขุ.มหานิ. ๒๙/๙๔๖/๖๐๒

๔๔

ยสฺมา  ตยา  หโต  เกสี     ตสฺมา  เม  สาสนํ  สุณ
เกสโว  นาม  นาเมน         เสยฺโย  โลเก  ภวิสฺสสิ.


    ท่านจงฟังคำสอนของเรา เพราะท่านฆ่าเกสีอสูรได้จักเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก โดยนามว่าเกสวะ


จกฺกปาณิ  (จกฺก+ปาณิ)  จักกปาณิเทพ,  พระนารายณ์,  พระวิษณุ, เทพผู้ถือกงจักร. 

จกฺกํ  ปาณิมฺหิ  อสฺสาติ  จกฺกปาณิ  เทพผู้มีกงจักรในมือ ชื่อว่าจักกปาณิ


    ศัพท์ที่แปลว่าพระนารายณ์มีอีกมาก  เช่น   วิสณุ,  นารายน,  เวกุณฺฐ,  ทาโมทร,
มาธว, สมฺภู, เทจฺจาริ, ปุณฺฑรีกกฺข, โควินฺท, ครุฬทฺธช, ปิตมฺพร, อจฺจุต, มงฺคล, สิงฺคี, ชนาทฺทน,  อุเปนฺท, อินฺทาวรช, จตุภุช, ปทฺมนาภ, มธุริปุ, ติวิกฺกม, เทวกีนนฺทน, โสรี, สิรีปติ, ปุริโสตฺตม,   วนมาลี, พลิธํสี, กํสาราติ, อโธกฺขช, สพฺพมฺภร, เกฏภาชิ, วิธุ, สสพินฺทุ,  สิรีกร, สิรีวราห, อชิต, ปรปุริส, สิรีคพฺภ, ฉพินฺทุ, อนนฺต, นรกชิ, เกสร, ชาติกีล,  นรสีห, ปุราณปุริส, นลิเนสย, วาสุ, นรายน, ปุนพฺพสุ, สพฺพรูป, ธรณีธร, วามน, เอกสิงฺค, โสมคพฺภ, อาทิเทว, อาทิวราห, สุวณฺณพินฺทุ, สทาโยคี, สนาตน, ราหุมุทฺธภิท, กาฬเนมิ, ปณฺฑว, วฑฺฒมาน, สตานนฺท,  ปชานาถ, สุยามุน.   ส่วนบิดาของพระนารายณ์ มีชื่อว่า วสุเทวะ อานกะ และ ทุนทุภิ เป็นต้น,  ยานพาหนะของพระนารายณ์ ชื่อว่าทารุกะ,  เทพที่ปรึกษาของพระนารายณ์ ชื่อว่าปวนพยาธิ

 


พระอิศวร  ๖  ศัพท์


มหิสฺสร  (มหนฺต+อิสฺสร)  พระอิศวร, เทพผู้ยิ่งใหญ่, ท้าวมหิสสราธิบดี. 

มหนฺโต  อิสฺสโร  วิภูติ  เอตสฺสาติ  มหิสฺสโร  เทพผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่ามหิสสระ (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา, ลบสระหน้า).  เทวา  วสวตฺตี  มหิสฺสรา  วสวัตตีเทพผู้เป็นใหญ่


สิว (สิ เสวายํ+ว) พระศิวะ, ศิวเทพบุตร, เทพผู้มีรูปร่างงดงาม. 

หิตสุขํ  ปตฺเถนฺเตหิ  เสวียเตติ  สิโว  ผู้ที่บุคคลปรารถนาประโยชน์สุข พากันทำความรู้จัก ชื่อว่าสิวะ.  อถ โข  สิโว  เทวปุตฺโต  ครั้งนั้น ศิวเทพบุตร


สูลี  (สูล+อี)  พระอิศวร, ผู้มีหอกในมือ, ผู้มีหลาวในมือ. 

สูลปาณิตฺตา  สูลี   เพราะเป็นเทพผู้มีหอกในมือ จึงชื่อว่าสูลี


อิสฺสร  (อิสฺส อิสฺสริเย+อร)  พระอิศวร, เทพผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง. 

อิฏฺเฐ  ปภวตีติ  อิสฺสโร,  อิสฺสติ  อภิภวตีติ  วา  อิสฺสโร  เทพผู้เกิดในภูมิอันน่ายินดี หรือผู้ปกครอง ชื่อว่าอิสสระ

 

๑  จินฺตามณิฏีกา    ๒  ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๗๒/๓๗๘    ๓  สํ.สคาถ. ๑๕/๒๗๗/๘๐

๔๕

ปสุปติ (ปสุ+ปติ) พระอิศวร, เทพผู้ดูแลสัตว์เลี้ยง. 

ปสูนํ  ปมถานํ  ปติ  ปสุปติ,  ปสุ  มิคาโท  ฉคเล  ปมเถปิ,  ปสุ  ปุเม  เทพผู้เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง ชื่อว่าปสุปติ,  ปสุศัพท์ใช้ในรูปปุงลิงค์ แปลว่า สัตว์เลี้ยง แพะ และภูตบริวารของพระอิศวร เป็นต้น


หร  (หร หรเณ+อ)  พระอิศวร, หรเทพ. 

วิสิฏฺฐตโมคุณตฺตา  สพฺพํ  หรตีติ  หโร  เทพผู้นำทุกสิ่งไปได้ เพราะมีอำนาจมืด ชื่อว่าหระ.  บทว่า "วุตฺโต" ในคาถานี้ เป็นกิริยาบท


    ศัพท์ที่แปลว่าพระอิศวรมีอีกมาก  เช่น  สมฺภู, อีส, สพฺพ, อีสาน, สงฺกร, จนฺทเสขร,
ภูเตส, ขณฺฑปรสุ, วิรีส, มจฺจุญฺชย, ปินากี, ปมถาธิป, อุคฺค, กปทฺทิ, สิรีกณฺฐ, กาฬกณฺฐ, กปาลภร, วามเทว, มหาเทว, วิรูปกฺข, ติโลจน, สพฺพญฺญู, นีลโลหิต, มารหร, ภคฺค, ตฺยมฺพก, ติปุรนฺตก, คงฺคาธร, อนฺธกริปุ, โพฺยมเกส, ภว, ภีม, รุทฺท, อุมาปติ, ภคาลี, กปิสญฺชน, หีร, ปญฺจานน, ขกุนฺตล, โคปาลก, ปิงฺคกฺข (มิคูห), กูฏกร, จนฺทาปีฬ, มหานฏ, สมีร, ห, นนฺทิวฑฺฒน,   คุฬาเกส (สปฺปสาท), มิหิราณ, เมฆวาหน, สุปฺปตาป (อุปาณฺฑ), อุ, ถาณุ, สิปิวิฏฺฐ, กีล, ธมฺมวาหน


ขันทกุมาร, ลูกพระอิศวร  ๓  ศัพท์


กุมาร  (กุมาร กีฬายํ+อ)  ขันทกุมาร, ลูกพระอิศวร. 

กุมาเรติ  กีฬตีติ  กุมาโร,  โสฬสวสฺสิโก,  อยญฺจ  โสฬสวสฺสิโก  ผู้ร่าเริงสนุกสนาน ชื่อว่ากุมาระ หมายถึงเทพผู้มีอายุ ๑๖ ปี และขันทกุมาร นี้ก็มีอายุ ๑๖ ปี


ขนฺท  (ขฑิ เฉทเน+นิคฺคหีตาคม+อ) ขันทกุมาร, ลูกพระอิศวร. 

ขณฺฑติ  ทานวพลนฺติ  ขนฺโท  ผู้ทำลายกำลังพลของอสูร ชื่อว่าขันทะ (อาเทศนิคหิตเป็น ณฺ, ณฺฑ เป็น นฺท)


สตฺติธร  (สตฺติสทฺทูปปท+ธร ธารเณ+อ)  ขันทกุมาร, ลูกพระอิศวร, ผู้มีหอกเป็นอาวุธ. 

สตฺตึ  ปหรณวิเสสํ   ธรตีติ  สตฺติธโร,  ปภาวุสฺสาหมนฺตสงฺขาตํ  วา  สตฺติตฺตยํ  ธรตีติ  สตฺติธโร   เทพผู้ถือหอกเป็นอาวุธพิเศษ หรือเทพผู้มีความสามารถ ๓ อย่าง คือ ปภาวะ (อำนาจ)  อุสสาหะ (ความอดทน)  และ มันตะ (ปัญญา) ชื่อว่าสัตติธระ
    คัมภีร์อมรโกสะแสดงชื่อขันทกุมารไว้เป็นคาถา ๑๗ ศัพท์ ว่า
กตฺติเกยฺโย  มหาเสโน    สรชาโต  ฉเมนโน
ปพฺพตีนนฺทโน  ขนฺโท     เสนานี  อคฺคิภู  คุโห
พาหเลยฺโย  ตารกชิ        วิสาโข  สิขิวาหโน
ฉมาตุโร  สตฺติธโร           กุมาโร  โกญฺจทารโณ.
    (ศัพท์ที่แปลว่าขันธกุมารมี ๑๗ ศัพท์ คือ) กตฺติเกยฺย มหาเสน สรชาต ฉเมนน ปพฺพตีนนฺทน ขนฺท เสนานี อคฺคิภู คุห พาหเลยฺย ตารกชิ วิสาข สิขิวาหน ฉมาตุร สตฺติธร กุมาร โกญฺจทารณ

๔๖

    [๑๘]    สกฺโก  ปุรินฺทโท  เทว-      ราชา  วชิรปาณิ  จ
               สุชมฺปติ  สหสฺสกฺโข         มหินฺโท  วชิราวุโธ.
    [๑๙]    วาสโว  จ  ทสสต-             นยโน  ติทิวาธิภู
               สุรนาโถ  จ  วชิร-            หตฺโถ  จ  ภูตปตฺยปิ.
    [๒๐]    มฆวา  โกสิโย  อินฺโท       วตฺรภู  ปากสาสโน
               วิโฑโชถ  สุชาตสฺส          ภริยาถ  ปุรํ  ภเว.


พระอินทร์  ๒๐  ศัพท์


สกฺก  (สก สามตฺถิเย+อ)  ท้าวสักกะ, พระอินทร์. 

อสุเร  เชตุํ  สกฺกุุุณาตีติ  สกฺโก  ผู้สามารถชนะอสูรได้ ชื่อว่าสักกะ (ซ้อน กฺ).  อถ โข  สกฺโก  เทวานมินฺโท  ครั้งนั้น ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพ.   ทิฏฺโฐ  โข  เม  มหาลิ  สกฺโก  เทวานมินฺโท  มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ เราเห็นแล้วแล.  ปุพฺเพ  มนุสฺสภูโต  สมาโน  สกฺกจฺจํ  ทานํ  อทาสิ,  ตสฺมา  สกฺโกติ  วุจฺจติ  พระอินทร์เคยเกิดเป็นมนุษย์ ได้ถวายทานโดยเคารพ ฉะนั้น จึงถูกเรียกว่า สักกะ


ปุรินฺทท  (ปุรสทฺทูปปท+ทา ทาเน+อ)  ท้าวปุรินททะ, พระอินทร์. 

ปุเร ปุรํ วา ททาตีติ  ปุรินฺทโท  ผู้ให้ทานในกาลก่อน ชื่อว่าปุรินททะ (ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, อ เป็น อิ, ซ้อน ทา, รัสสะ อา เป็น อ, ลบสระหน้า).  ปุพฺเพ  มนุสฺสภูโต  สมาโน  ปุเร  ทานํ  อทาสิ,  ตสฺมา  ปุรินฺทโทติ  วุจฺจติ  ท้าวสักกะเคยเป็นมนุษย์ได้ให้ทานในกาลก่อน เพราะฉะนั้น จึงถูกเรียกว่า ปุรินททะ


เทวราช   (เทว+ราช)  ท้าวเทวราช, พระอินทร์. 

เทวานํ  ราชา  เทวราชา พระราชาของ เทวดา ชื่อว่าเทวราชะ.   อิทํ  วตฺวาน  มฆวา  เทวราชา  สุชมฺปติ  ท้าวมฆวเทวราชสามีของนางสุชา กล่าวคำนี้แล้ว.  สกฺโก  เทวราชา  สามเณรํ  ทิสฺวา  ท้าวสักกเทวราชเห็นสามเณรแล้ว


วชิรปาณิ  (วชิร+ปาณิ) ท้าววชิรปาณิ, พระอินทร์. 

เตน โข ปน สมเยน  วชิรปาณิ  ยกฺโข  สมัยนั้นแล ท้าวสักกะผู้มีอาวุธในมือ.  วชิรํ  ปาณิมฺหิ  อสฺสาติ  วชิรปาณิ.  ยกฺโขติ  น  โย  วา  โส  วา  ยกฺโข,  สกฺโก  เทวราชาติ  เวทิตพฺโพ  ผู้มีอาวุธในมือ ชื่อว่าวชิรปาณิ.  คำว่า "ยกฺโข" พึงทราบว่าไม่ใช่ยักษ์ตนใดตนหนึ่ง แต่เป็นท้าวสักกเทวราช

 

๑  วิ.มหาวิ. ๔/๔๑/๔๙    ๒  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖    ๓  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖
๔  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖    ๕  สํ.สคาถ. ๑๕/๙๓๐/๓๔๔    ๖  วิ.อฏฺ. ๑/๘๕
๗  ที.สีล. ๙/๑๕๑/๑๒๔    ๘  ที.อฏฺ. ๔/๒๗๑/๒๓๘   

๔๗

สุชมฺปติ  (สุชา+ปติ) ท้าวสุชัมบดี, พระอินทร์, สามีของนางสุชา. 

สุชาย  อสุรกญฺญาย  ปติ  สุชมฺปติ  ท้าวสักกะผู้เป็นสามีของนางสุชาลูกสาวอสูร ชื่อว่าสุชัมปติ.  สกฺกสฺส  มหาลิ  เทวานมินฺทสฺส  สุชาตา  นาม  อสุรกญฺญา  ปชาปติ,  ตสฺมา  สุชมฺปตีติ  วุจฺจติ  ท้าวสักกะจอมเทพมีนางอสุรกัญญาชื่อสุชาดาเป็นพระชายา ฉะนั้น จึงถูกเรียกว่า สุชัมบดี (รัสสะ อา เป็น อ, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ)


สหสฺสกฺข  (สหสฺสสทฺทูปปท+อกฺข ทสฺสเน+อ)  ท้าวสหัสสักขะ, ผู้คิดได้ขณะละพันอย่าง, พระอินทร์. 

พหูนํ  เทวมนุสฺสานํ  จินฺติตตฺถสญฺส  ทสฺสนสมตฺถตาย  สหสฺสกฺโข  เพราะพระอินทร์ เป็นผู้สามารถเห็นความต้องการที่เทวดาและมนุษย์จำนวนมากพากันคิดแล้ว จึงชื่อว่าสหัสสักขะ.  สหสฺสํ  อตฺถํ  มุหุตฺเตน  จินฺเตสิ,  ตสฺมา  สหสฺสกฺโขติ  วุจฺจติ  ท้าวสักกะคิดเนื้อความได้หลายพันนัยโดยครู่เดียว ฉะนั้น จึงถูกเรียกว่า สหัสสักขะ (ลบสระหน้า)


มหินฺท  (มหนฺต+อินฺท) ท้าวมหินทะ, ผู้เป็นจอมเทพ, จอมเทพผู้ประเสริฐ, ผู้ที่เหล่าเทวดาบูชา,  พระอินทร์. 

มหตํ  เทวานํ  อินฺโท  ราชา  มหินฺโท.  เทเวหิ  มหิตพฺโพ  วา  อินฺโท  ราชา  มหินฺโท,  มหนฺโต  จ  โส  อินฺโท  จาติ  วา  มหินฺโท  ผู้เป็นราชาของเทวดาจำนวนมาก หรือผู้ที่เทวดาพากันบูชา หรือพระอินทร์ผู้ประเสริฐ ชื่อว่ามหินทะ (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา, ลบสระหน้า).  กึ วา  ปฏิจฺจ  มฆวา  มหินฺท ท่านท้าวมฆวานจอมเทพ พระองค์อาศัยอะไรหรือ


วชิราวุธ, วชิรายุธ  (วชิร+อาวุธ) ท้าววชิราวุธ, พระอินทร์. 

วชิรํ  อาวุธํ  ยสฺสาติ  วชิราวุโธ, วชิรายุโธ  พระอินทร์ผู้มีวิเชียรเป็นอาวุธ ชื่อว่าวชิราวุธะและวชิรายุธะ.   มหียมาโน   วชิราวุโธริว  ทวยเทพบูชาอยู่ ดุจเป็นท้าววชิราวุธ.  วชิราวุโธริวาติ  อินฺโท  วิย  บทว่า "วชิราวุโธริว" แปลว่า เหมือนพระอินทร์


วาสว  (วสุ+ณ) ท้าววาสวะ, พระอินทร์. 

วสูนิ  รตนานิ  อสฺสาติ  วาสโว  ผู้มีรัตนะมาก ชื่อว่าวาสวะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ อุ เป็น อว).  ปุพฺเพ  มนุสฺสภูโต  สมาโน  อาวสถํ  อทาสิ,  ตสฺมา  วาสโวติ  วุจฺจติ  ท้าวสักกะเคยเป็นมนุษย์ในกาลก่อน ได้ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ฉะนั้น จึงถูกเรียกว่า วาสวะ


ทสสตนยน  (ทสสต+นยน) ท้าวทสสตนัยน์, พระอินทร์. 

ทสสตานิ  นยนานิ  ยสฺส  โส  ทสสตนยโน  ผู้มีตาหนึ่งพัน ชื่อว่าทสสตนยนะ.  ทสสตนยโน  เทวราชา  ท้าวสักกเทวราชผู้มีนัยน์ตาหนึ่งพัน.  ศัพท์ว่า "สหสฺสนยน" ก็มีความหมายเดียวกัน

 

๑  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖    ๒  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖    ๓  ขุ.ชา. ๒๗/๕๐๔/๑๒๘
๔  ขุ.วิมาน. ๒๖/๖๔/๑๑๔    ๕  ขุ.อฏฺ. ๓๐/๑๐๓๖/๓๒๗    ๖  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖
๗  ขุ.อฏฺ. ๕๑/๒/๓๐

๔๘

ติทิวาธิภู  (ติทิว+อธิภู)  ท้าวติทิวาธิภู, พระอินทร์. 

ทฺวินฺนํ  เทวโลกานํ  อธิปติภูตตฺตา  ติทิวาธิภู  ผู้ครอบครองโลกสวรรค์ ๒ (คือ เทวโลกและวิมานอสูร)  ชื่อว่าติทิวาธิภู (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง)


สุรนาถ  (สุร+นาถ)  ท้าวสุรนาถ, พระอินทร์. 

สุรานํ  นาโถ  สุรนาโถ  ผู้เป็นที่พึ่งของเทวดา ชื่อว่าสุรนาถะ


วชิรหตฺถ  (วชิร+หตฺถ)  ท้าววชิรหัตถ์, พระอินทร์. 

วชิรํ  หตฺเถ  ยสฺส  โส  วชิรหตฺโถ  ผู้มีวิเชียรในมือ ชื่อว่าวชิรหัตถะ.  ชิตา วชิรหตฺเถน  สมุทฺทํ  อสุรา  สิตา  พวกอสูรพ่ายแพ้พระอินทร์แล้ว หนีไปอาศัยสมุทรอยู่.  วชิรหตฺถา  อินฺทปฏิมาโย  ฐเปสิ  ตั้งรูปเหมือนพระอินทร์ถือวิเชียรเอาไว้


ภูตปติ  (ภูต+ปติ)  ท้าวภูตบดี, พระอินทร์. 

ภูตานํ  สตฺตานํ  ปติ  ภูตปติ  ผู้ปกครองสัตว์โลก ชื่อว่าภูตปติ.  ภูตปตีติ  ลทฺธนาโม  สกฺโก  เทวราชา  ท้าวสักกเทวราชได้ชื่อว่าภูตปติ


มฆว  (มห ปูชายํ+อ) ท้าวมัฆวาน, พระอินทร์. 

มหิตพฺพตฺตา มฆวา ผู้ที่เทวดาควรบูชา ชื่อว่ามฆวะ (อาเทศ ห เป็น ฆว).  ปุพฺเพ  มนุสฺสภูโต  สมาโน  มโฆ  นาม  มาณโว  อโหสิ,  ตสฺมา  มฆโวติ  วุจฺจติ  เมื่อก่อนท้าวสักกะเคยเป็นมนุษย์ชื่อมฆะ ฉะนั้น จึงถูกเรียกชื่อว่า มฆวะ


โกสิย  (โกส+อิย) ท้าวโกสีย์, พระอินทร์. 

โกสสงฺขาตานิ  ธนานิ  สนฺติ  ยสฺส  โส  โกสิโย   ผู้มีคลังสมบัติ ชื่อว่าโกสิยะ (ลบสระหน้า).  โกสิยโคตฺตตาย  โกสิโย  เพราะพระอินทร์เป็นโกสิยโคตร จึงชื่อว่าโกสิยะ.  โกสิโย  อิทานิ  เม  ตึส  วสฺสานิ  ปาทานํ  อโธตานํ   ท่านโกสิยะ ท่านล้างเท้าของเรามาตลอดจนถึงบัดนี้ ๓๐ ปีแล้ว.  ยถากถํ  ปน  เต  โกสิย  ภควา  สงฺขิตฺเตน  ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตึ  อภาสิ๖  ท่านท้าวโกสิย์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาแก่ท่านโดยสังเขปอย่างไร


อินฺท, เทวานมินฺท  (อินฺท โยเค+อ, เทว+อินฺท)  พระอินทร์, ท้าวเทวานมินทะ, ผู้เป็นจอมเทพ. 

อินฺทติ  ปรมิสฺสริเยน  ยุชฺชเตติ  อินฺโท  ผู้ปกครองผู้อื่น ชื่อว่าอินทะ.  เทวานํ  ตาวตึสานํ  อิสฺสริยาธิปจฺจํ  รชฺชํ  กาเรสิ,  ตสฺมา  เทวานมินฺโทติ  วุจฺจติ  ท้าวสักกะเป็น พระราชาปกครองเทวดาชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกท้าวสักกะว่า เทวานมินทะ (ไม่ลบฉัฏฐีวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ)

 

๑  ที.มหา. ๑๐/๒๔๔/๒๙๓    ๒  มชฺ.อฏฺ. ๘/๓๙๒/๒๑๐    ๓  ขุ.เถรี. ๒๖/๔๗๑/๔๘๙
๔  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖    ๕  ที.อฏฺ. ๕/๓๖๑/๓๔๕    ๖  มชฺ.มูล. ๑๒/๔๓๖/๔๖๖
๗  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖

๔๙

วตฺรภู  (วตฺรสทฺทูปปท+ภู สตฺตายํ+อ)  ท้าววัตรภู, พระอินทร์, ผู้ปกครองวัตรอสูร. 

วตฺรํ  นาม  อสุรํ  อภิภวตีติ  วตฺรภู  ผู้ปกครองวัตรอสูร ชื่อว่าวัตรภู.  วตฺรภูติ  วตฺรสฺส  นาม  อสุรสฺส  อภิภวิตฺวา  บทว่า "วตฺรภู" คือ ผู้ปกครองวัตรอสูร


ปากสาสน  (ปาก+สาสน)  ท้าวปากสาสน์, พระอินทร์. 

ปาโก  นาม  วตฺราสุรสฺส  ภาตา  พี่ชายของวัตรอสูร ชื่อว่าปากะ.  วตฺรสฺส  สาสนโต  นิคฺคหโต  ปากสาสโน  ผู้สั่งสอนและฝึกปากะอสูรพี่ชายของวัตรอสูร ชื่อว่าปากสาสนะ


วิโฑช  (วิฑ+โอช)  ท้าววิโฑชะ, พระอินทร์.   

วิฑํ  พฺยาปกํ  โอโช  เอตสฺสาติ  วิโฑโช  ผู้แผ่อำนาจ ชื่อว่าวิโฑชะ (ลบสระหน้า)

 

    ศัพท์ที่แปลว่าพระอินทร์มีอีกมาก เช่น  สุนาสีว, ปุรนฺทร, เลขาสก, ทิวปติ, สุรปติ,
พลาราติ, สจีปติ, ชมฺภเภที, หริหย, นมุจิสูทน, สํกนฺทน, เมฆวาหน, อาขณฺฑล, โกสิก, สุรคามณี, นากนาถ, หรี.  พระอินทร์เป็นเทวราชบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนเทวราชบนสวรรค์ชั้นอื่นๆ มีชื่อตามชื่อสวรรค์ชั้นนั้นๆ ให้ดูเพิ่มเติมในอังคุตตรนิกายอรรถกถา

 


ชายาของพระอินทร์
สุชา, สุชาตา  (สุ+ชน ชนเน+ต+อา)  นางสุชาดา, ชายาของพระอินทร์. 

อสฺส  สกฺกสฺส  ภริยา  สุชาตา นาม.  สุเขน  ชาตา  สุนฺทรา วา  ชาติ  ยสฺสา  สา  สุชาตา.  ปุโลมชา  สจี  อินฺทานี  อิจฺจาทีนิปิ  สกฺกภริยาย  นามานิ  ชายาของพระอินทร์ ชื่อว่าสุชาดา, ผู้มีกำเนิดดี หรือมีชาติดี ชื่อว่าสุชาตา,  คำว่า "ปุโลมชา, สจี, อินฺทนี" เป็นต้น ก็เป็นชื่อของชายาพระอินทร์.  สกฺกสฺส  มหาลิ   เทวานมินฺทสฺส  สุชาตา  นาม  อสุรกญฺญา  ปชาปติ  ดูก่อนมหาลิ อสุรกัญญาชื่อสุชาดา เป็นชายาของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ


    [๒๑]    มสกฺกสารา  วสฺโสก-           สารา  เจวามราวตี
               เวชยนฺโต  ตุ  ปาสาโท        สุธมฺมา  ตุ  สภา  มตา.


วิมานของพระอินทร์, วิมานบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ๓  ศัพท์
มสกฺกสารา, วสฺโสกสารา  (ม+สกฺก+สารา, วสฺโสก+สารา)  วิมานของพระอินทร์, วิมานบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, มสักกสาราวิมาน, วัสโสกสาราวิมาน. 

โม  จ  สกฺโก  จ  มสกฺกา,  เต  สรนฺติ  คจฺฉนฺติ  เอตฺถ  กีฬาวเสนาติ  มสกฺกสารา,  มหิสฺสราทีนํ  ปริสานํ  สกฺกสฺส  จ  กีฬานุภวนฏฺฐานนฺตฺยตฺโถ  เทพบริวารและท้าวสักกะ ท่านเรียกว่ามสักกะ, ท่านเหล่านั้นพากันไปที่วิมานนั้นเพื่อเล่น หมายถึงวิมานสถานที่เป็นที่เล่นสนุกสนานของท้าวสักกะ

 

๑  ชา.อฏฺ. ๔๑/๓๙๗    ๒  องฺ.อฏฺ. ๑๕/๓๗/๓๘    ๓  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๙๖
๔  จินฺตามณิถุติฏีกา

๕๐

และบริวารชั้นผู้ใหญ่เป็นต้น ชื่อว่ามสักกสารา (มสกฺกสทฺทูปปท+สร คติยํ+ณ+อา, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า).  มสกฺกนฺติ  วา  วสฺโสกนฺติ  วา   อสุรปุรสฺส  นามํ,  อิทํ  ปน เตสํ  อุตฺตมตฺตา  มสกฺกสารา  วสฺโสกสารา   คำว่า "มสกฺก" หรือ "วสฺโสก" เป็นวิมานของอสูร เพราะวิมานนี้ดีกว่าวิมานของอสูร จึงเรียกว่า "มสกฺกสารา, วสฺโสกสารา".  วิมานํ  มสกฺกสารํ  วิย  เหมือนมสักกสาราวิมาน


อมราวตี (อมร+วนฺตุ+อี) อมราวดีวิมาน. 

อมรา  เอติสฺสํ  สนฺติ  อมรวตี,  สา เอว  อมราวตี  วิมานที่มีเทวดาอยู่ ชื่อว่าอมรวตี,  อมรวตีนั่นแหละ ชื่อว่าอมราวตี (ทีฆะ อ ที่ ร เป็น อา, อาเทศ นฺตุ เป็น ต)

 

 

ปราสาทของพระอินทร์, ปราสาทเวชยันต์
เวชยนฺต  (เวชย+อนฺต)  ปราสาทของพระอินทร์, ปราสาทเวชยันต์. 

อสฺส  สกฺกสฺส  ปาสาโท  เวชยนฺโต  นาม,  เวชยนฺติ  ปฏากา  ปสตฺถา,  ภูตา  วา  อสฺส  อตฺถีติ  เวชยนฺโต  ปราสาทของพระอินทร์นั้นชื่อว่าเวชยันตะ (ลบสระหน้า), ปราสาทมียอดประดับด้วยธงเวชยะ หรือ ปราสาทที่เป็นที่อยู่ของพระอินทร์ ชื่อว่าเวชยันตะ.  เยน  เวชยนฺโต  ปาสาโท  เตนุปสงฺกมึสุ  เข้าไปถึงเวชยันตปราสาท.  เวชยนฺเตน  นิพฺพตฺตตฺตา  เวชยนฺโตติ  ลทฺธนาโม  ปาสาโท  ปราสาทได้ชื่อว่าเวชยันตะ เพราะเกิดขึ้นตามชื่อธง


หอประชุมของพระอินทร์, สภาสุธรรมา
สุธมฺมา  (สุ+ธมฺม+อา)  หอประชุมของพระอินทร์, สภาสุธัมมา. 

อสฺส  สกฺกสฺส  สภา  สุธมฺมา  มตา,  โสภโน  ธมฺโม  อสฺสาติ  สุธมฺมา,  เทวมณฺฑโป  หอประชุมของพระอินทร์นั้นชื่อว่าสุธัมมา (ลบสระหน้า), สภาที่มีธรรมอันงามชื่อว่าสุธัมมา ได้แก่เทวมณฑป.  เทวราชสฺส  สภา  สุธมฺมา  สภาสุธัมมาของพระอินทร์


    [๒๒]    เวชยนฺโต  รโถ  ตสฺส       วุตฺโต  มาตลิ  สารถิ
               เอราวโณ  คโช  ปณฺฑุ-    กมฺพโล  ตุ  สิลาสนํ.


ราชรถของพระอินทร์, เวชยันตราชรถ
เวชยนฺต  (เวชย+อนฺต) ราชรถของพระอินทร์, เวชยันตราชรถ. 

ตสฺส  สกฺกสฺส  รโถ  เวชยนฺโต  นาม,  เวชยนฺติ  นามาย  ปฏากาย  โยคโต  เวชยนฺโต  รถของพระอินทร์นั้นชื่อว่า เวชยันตะ, เพราะเป็นรถประดับด้วยธงเวชยะ จึงชื่อว่าเวชยันตะ (ลบสระหน้า).  เวชยนฺโต


๑  สงฺคหฏีกา    ๒  ขุ.วิมาน. ๒๖/๘๔/๑๕๓    ๓  มชฺ.มูล. ๑๒/๔๓๗/๔๖๗
๔  ขุ.อฏฺ. ๓๓/๑๒๑๗/๕๔๙    ๕  ขุ.วิมาน. ๒๖/๗๔/๑๒๕

๕๑

รโถ  ราชรถเวชยันต์


นายสารถีของพระอินทร์
มาตลิ  (มตล+ณิ)  มาตลิสารถี, เทพขับรถที่ประทับ. 

ตสฺส  สกฺกสฺส  สารถิ  สูโต  มาตลิ  นาม,  มตลสฺส  อปจฺจํ  มาตลิ  เทพสารถีของพระอินทร์นั้น ชื่อว่ามาตลิ, ลูกชายของมตละเทพบุตร ชื่อว่ามาตลิ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า).  สกฺโก  เทวานมินฺโท  มาตลึ  สงฺคาหกํ  อามนฺเตสิ  ท้าวสักกะจอมเทวดาเรียกมาตลิเทพบุตรผู้รับใช้มา


ช้างเอราวัณ, ช้างที่ประทับของพระอินทร์
เอราวณ  (อิราวณ+ณ)  ช้างเอราวัณ, ช้างที่ประทับของพระอินทร์. 

ตสฺส  สกฺกสฺส  คโช  อราวโณ  นาม,  อิราวโณ  สมุทฺโท,  ตตฺร  ชาโต  เอราวโณ   ช้างที่ประทับของพระอินทร์นั้น ชื่อว่าเอราวณะ, อิราวณะ แปลว่า สมุทร, ช้างที่เกิดในอิราวณสมุทรนั้น ชื่อว่าเอราวณะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า).  เอราวโณ  นาม  หตฺถินาโค  ช้างตัวประเสริฐ ชื่อว่าเอราวัณ.  ทิยฑฺฒโยชนสติโก  เอราวโณ  นาม  หตฺถี  อโหสิ  มีช้างชื่อว่าเอราวัณ ลำตัวสูงใหญ่ ๑๕๐ โยชน์ (๒,๔๐๐ กิโลเมตร)


บัลลังก์ที่ประทับของพระอินทร์, พระที่นั่ง  ๒  ศัพท์
ปณฺฑุกมฺพล  (ปณฺฑุ+กมฺพล)  ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์, ที่ประทับนั่ง, พระที่นั่ง. 

ตสฺส  สกฺกสฺส   สิลาสนํ  ปณฺฑุกมฺพโล  นาม.  ปณฺฑุวณฺณกมฺพลสทิสตฺตา  ปณฺฑุกมฺพโล  สถานที่ประทับนั่งของพระอินทร์นั้น ชื่อว่าปัณฑุกัมพละ, เพราะมีสีเหมือนผ้ากัมพลเหลืองอ่อน จึงชื่อว่าปัณฑุกัมพละ.  ภควา  เทเวสุ  ตาวตึเสสุ  วิหรติ  ปาริจฺฉตฺตกมูเล  ปณฺฑุกมฺพลสิลายํ   พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่โคนต้นปาริฉัตรบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ปณฺฑุกมฺพลสิลายนฺติ  รตนกมฺพลสิลายํ   บทว่า "ปณฺฑุกมฺพลสิลายํ" แปลว่า บนรัตนกัมพลศิลาอาสน์


สิลาสน  (สิลา+อาสน)  บัลลังก์, แท่นศิลาอาสน์. 

สิลา  ปาสาโณ  เอว  อาสนํ  สิลาสนํ  แท่นศิลาอันเป็นที่ประทับนั่นแหละ ชื่อว่าสิลาสนะ (ลบสระหน้า).  สิลายํ  ปณฺฑุกมฺพเลติ  ปณฺฑุกมฺพลนามเก  สิลาสเน  คำว่า "สิลายํ ปณฺฑุกมฺพเล" แปลว่า บนศิลาอาสน์ที่มีชื่อว่าปัณฑุกัมพล

 

๑  สํ.ขนฺธ. ๑๗/๒๕๑/๑๗๘    ๒  มชฺ.มชฺ. ๑๓/๔๕๙/๔๒๒    ๓  อภิ.กถา. ๓๗/๑๘๒๔/๖๓๑
๔  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๑๐๔    ๕  มชฺ.อุปริ. ๑๔/๕๖๖/๓๖๙    ๖  มชฺ.อฏฺ. ๑๐/๒๘๖/๑๗๘
๗  ขุ.อฏฺ. ๓๑/๓๒๘/๑๔๙

๕๒

[๒๓]    สุวีโรจฺจาทโย  ปุตฺตา      นนฺทา  โปกฺขรณี  ภเว
            นนฺทนํ  มิสฺสกํ  จิตฺต-      ลตา  ผารุสกํ  วนา.


โอรสของพระอินทร์  ๒  องค์
สุวีร  (สุ+วีร)  สุวีรเทพบุตร, โอรสสุวีระ. 

ตสฺส  สกฺกสฺส  ปุตฺตา  สุวีรชยนฺตอิจฺจาทโย,  อติสเยน  สูรตฺตา  สุวีโร  พระโอรสของพระอินทร์นั้น ชื่อว่าสุวีระและชยันตะเป็นต้น สุวีรเทพบุตรกล้าหาญกว่า.  สุวีโร  เทวปุตฺโต  สุวีรเทพบุตร


ชยนฺต  (ชิ ชเย+อนฺต)  ชยันตเทพบุตร. 

อสุเร  ชยตีติ  ชยนฺโต  ผู้รบชนะอสูร ชื่อว่าชยันตะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย)

 

 

สระบัวในอุทยานของพระอินทร์  ๒  ศัพท์
นนฺทา  (นนฺท นนฺทเน+อา)  สระนันทา. 

ตสฺส  สกฺกสฺส  โปกฺขรณี  นนฺทา  นาม  ภเว, นนฺทียตีติ  นนฺทา  สระน้ำของพระอินทร์นั้นมีชื่อว่านันทา,  สระน้ำที่พระอินทร์พอพระทัย ชื่อว่านันทา.  อิมานิ  สุวณฺณรชตวิมานานิ  วา  นนฺทาโปกฺขรณี  วา  วิมานทอง วิมานเงิน หรือสระนันทาเหล่านี้


โปกฺขรณี  (โปกฺขร+อินี) สระโบกขรณี, สระบัว. 

โปกฺขรํ  วุจฺจติ  ปทุมํ สลิลญฺจ,  เตหิ  สตฺตานํ  มนํ  อตฺตานํ  นยตีติ  โปกฺขรณี,  โปกฺขเรน  วา  สุนฺทเรน   อณฺเณน  ชเลน  สหิตตฺตา  โปกฺขรณฺณี,  สา  เอว  โปกฺขรณี  ดอกบัวและน้ำเรียกว่า โปกขระ,  สระน้ำที่ดึงดูดใจสัตว์ทั้งหลาย ให้มาสู่ตนด้วยดอกบัวสวยและน้ำใส หรือเพราะเป็นสระที่มีดอกบัวสวยและน้ำใสสะอาด  จึงชื่อว่าโปกขรัณณี,  โปกขรัณณีนั่นแหละ ชื่อว่าโปกขรณี.  โปกฺขรณี  นาม  ยตฺถ  กตฺถจิ  มนุสฺสานํ  กีฬิตุํ  รมิตุํ  กตา  โหติ  สระโบกขรณีทำให้มนุษย์ในที่ต่างๆ ร่าเริงเบิกบาน.  โปกฺขรณีติ  ลทฺธนามํ  ทิพฺพสรํ   สระทิพย์ได้ชื่อว่าโบกขรณี

 

อุทยานของพระอินทร์  ๔  ศัพท์
นนฺทน  (นนฺท นนฺทเน+ยุ)  อุทยานนันทนะ, สวนนันทนะ, อุทยานของพระอินทร์. 

ตสฺส  สกฺกสฺส  วนานิ  อุยฺยานานิ  นนฺทนาทีนิ  จตฺตาริ  อุทยานของพระอินทร์นั้นมี ๔ แห่ง มีอุทยานนันทนะเป็นต้น.  นนฺทยตีติ  นนฺทนํ   อุทยานอันน่ายินดี ชื่อว่านันทนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน).  เทวานํ  นนฺทนํ  วนํ   สวนนันทนะของเหล่าเทวดา


มิสฺสก  (มิสฺส+ก)  อุทยานมิสสกะ. 

นานาทิพฺพรุกฺเขหิ  มิสฺสกตฺตา  มิสฺสกํ  เพราะเป็นอุทยานที่

 

๑  สํ.สคาถ. ๑๕/๘๔๘/๓๑๗    ๒  ที.อฏฺ. ๕/๓๕๕/๓๑๑-๒    ๓  สํ.อฏฺ. ๑๒/๗๕/๑๔๖
๔  ขุ.อฏฺ. ๓๐/๕๒/๔๓    ๕  ขุ.ชา. ๒๗/๑๒๓๕/๒๕๗

  ๕๓

มีต้นไม้ทิพย์นานาพันธุ์ปะปนกัน จึงชื่อว่ามิสสกะ

 

จิตฺตลตา  (จิตฺต+ลตา)  อุทยานจิตรลดา, สวนจิตรลดา. 

นานาลตาหิ  วลฺลีหิ  จิตฺตตฺตา  จิตฺตลตา  เพราะเป็นอุทยานที่มีเถาไม้เลื้อยขึ้นอยู่หลายพันธุ์ จึงชื่อว่าจิตตลตา.  นานาวิราควณฺณวิจิตฺตาย  วา  ลตาย  สมนฺนาคตตฺตา  จิตฺตลตา  หรือเพราะเป็นอุทยานที่มีเถาวัลย์อันวิจิตรด้วยสีต่างๆ มากมาย จึงชื่อว่าจิตตลตา.  เทวตานํ  วา  จิตฺตาสา  เอตฺถ  อตฺถีติ  จิตฺตา  หรืออุทยานที่เทวดามีจิตปรารถนา จึงชื่อว่าจิตตา.  อาสาวตี  นาม  ลตา,  สา  ยสฺส  อตฺถิ,  ตํ  จิตฺตลตา  เถาวัลย์ ชื่อว่าอาสาวตี,  อุทยานที่มีเถาวัลย์อาสาวตีนั้น ชื่อว่าจิตตลตา.  เทวตานํ  วา  จิตฺตํ  ลนฺติ  คณฺหนฺตีติ  จิตฺตลา,  ทิพฺพรุกฺขา,  เตสํ  สมูโห  จิตฺตลตา  หรือต้นไม้ที่สามารถผูกจิตของพวกเทวดาไว้ ชื่อว่าจิตตลา ได้แก่ ต้นไม้ทิพย์, ป่าไม้ทิพย์นั้น ชื่อว่าจิตตลตา.  รมฺเม  จิตฺตลตาวเน  ในอุทยานจิตรลดาอันร่มรื่น.  อิตฺถิลิงฺเคน  ตสฺส  วนสฺส  นามํ  ชื่อของป่านั้น มักสำเร็จด้วยอิตถีลิงค์


ปารุสก, ผารุสก  (ผรุสก+ณ)  อุทยานผารุสกะ. 

ผรุสกานิ  ยตฺถ  สนฺติ,  ตํ  ผารุสกํ  อุทยานที่มีต้นหม่อนเทศ ชื่อว่าผารุสกะ (อาเทศ ผ เป็น ป บ้าง).  ปารุสกํ  จิตฺตลตํ  มิสฺสกํ  นนฺทนํ  วนํ   อุทยานปารุสกะ จิตรลดา มิสสกะ และนันทนะ


    [๒๔]    อสนิ  ทฺวีสุ  กุลิสํ            วชิรํ  ปุนฺนปุํสเก
               อจฺฉราโยตฺถิยํ  วุตฺตา      รมฺภาอลมฺพุสาทโย
               เทวิตฺถิโยถ  คนฺธพฺพา     ปญฺจสิโขติ  อาทโย.

 

 

อาวุธของพระอินทร์  ๓  ศัพท์
อสนิ  (อส โภชเน+อนิ)  อาวุธสายฟ้า, ฟ้าผ่า, อสนีบาต. 

อสฺสเต  ภุชฺชเต  โลกธาตุกํ  อเนน  อายุเธนาติ  อสนิ  อาวุธที่ใช้ปกครองโลกธาตุ ชื่อว่าอสนิ.  ภณฺฑนตฺถาย  อสฺสเต  ขิปียเต  เทเวหีติ  อสนิ  อาวุธที่เทวดาซัดไปเพื่อทำลาย ชื่อว่าอสนิ  (อสุ เขปเน+อนิ).  อยํ  อสนิสทฺโท  ทฺวีสุ  ปุมิตฺถิลิงฺเคสุ  วตฺตติ   อสนิศัพท์นี้มีใช้ในปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ทั้ง ตโต  เม  อสนิปาโต  มตฺถเก  นิปติ  เพราะเหตุนั้น อสนีบาตจึงผ่าลงบนกระหม่อมของเรา.  สมนฺตโต  อสนิโย  ปตึสุ  สายฟ้าผ่าลงโดยรอบ


กุลิส  (กุลิสทฺทูปปท+สิ สเย+อ)  อาวุธกุลิสะ. 

กุลิมฺหิ  สกฺกสฺส  หตฺเถ  เสติ  ติฏฺฐตีติ  กุุลิสํ  อาวุธที่วางอยู่ในมือของพระอินทร์ ชื่อว่ากุลิสะ.  กุลิ  หตฺโถ  ภุชา  ทโลติ  หิ  ติกณฺฑ

 

๑  ขุ.อฏฺ. ๓๐/๑๕๗/๑๐๐    ๒  ขุ.ชา. ๒๘/๙๓๒/๓๒๗    ๓  ขุ.อปทาน. ๓๓/๗๓/๑๐๓
๔  ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๒๔/๑๙๒

๕๔

เสโส  คัมภีร์ติกัณฑเสสว่าศัพท์เหล่านี้ คือ กุลิ หตฺถ ภุชา ทล มีอรรถเหมือนกัน.  กุยํ  วา ปถวิยํ  ลิสติ  ตนุ  ภวตีติ  กุลิสํ  อาวุธที่มีอยู่น้อยในแผ่นดิน ชื่อว่ากุลิสะ (กุสทฺทูปปท+ ลิส ตนุภวเน+อ)


วชิร  (วช คติยํ+อิร)  วชิราวุธ, เพชราวุธ, อาวุธสายฟ้า. 

วชเตว  น  ปฏิหญฺญเต  ยสฺส  คมนํ  เกนจีติ  วชิรํ  อาวุธที่ซัดไปแล้ว ไม่มีใครสามารถขัดขวางได้ จึงชื่อว่าวชิระ.  วชิรํ  อาทาย  ถือเอาวชิราวุธแล้ว
    วชิราวุธมีอีกหลายศัพท์ เช่น ภิทุร, ปวิ, สตโกฏิ, สุร, สมฺพ, ทมฺโภล.  เฉพาะ ภิทุรศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ ที่เหลือเป็นปุงลิงค์อย่างเดียว

 

 

เทพธิดา  ๓  นาง
อจฺฉรา  (อจฺฉ+ร+อา) อัจฉราเทพธิดา, นางอัปสร. 

รมฺภา  จ  อลมฺพุสา  จ  อิจฺจาทิกา  เทวิตฺถิโย อจฺฉราโย  นามา  เทพธิดาชื่อรัมภาและอลัมพุสาเป็นต้น ชื่อว่าอัจฉรา.  อจฺฉราวิเสสา  หิ  เอตา  เทพธิดาเหล่านี้ อัจฉราเทพธิดาพิเศษที่สุด.  อจฺโฉ  นิมฺมลวณฺโณ  เอตาสมตฺถีติ  อจฺฉราโย  เทพธิดาผู้มีผิวพรรณสะอาดบริสุทธิ์ ชื่อว่าอัจฉรา.  อีกอย่างหนึ่ง ร อักษรในคำว่า "อจฺฉรา" แปลว่า "หน้า" มีวิเคราะห์ว่า  อจฺฉํ  ปสนฺนตรํ  รํ  มุขํ  ยาย  สา  อจฺฉรา  เทพธิดาผู้มีหน้าผ่องใสยิ่ง ชื่อว่าอัจฉรา.  อปสราติปิ เอตาสเมว สามญฺญสญฺญา  แม้คำว่า "อปสรา" ก็จัดเป็นชื่อสามัญของเทพธิดาเหล่านั้น.  อจฺฉรา  ตตฺถ  นจฺจนฺติ  เทพธิดาพากันฟ้อนรำอยู่บนวิมานนั้น


รมฺภา  (รสทฺทูปปท+นิคฺคหีตาคม+ภา ทิตฺติยํ+กฺวิ) รัมภาเทพธิดา. 

เทวปุตฺตานํ  รตึ  ภาเวนฺติ  วฑฺเฒนฺตีติ  รมฺภา,  รํ  กามคฺคี  ภนฺติ  ทีปยนฺติ  ชาเลนฺตีติ  วา  รมฺภา  เทพธิดาผู้ยังเทพบุตรให้กำหนัดยินดียิ่งขึ้น หรือเทพธิดาผู้ทำให้ไฟราคะของเทพบุตรโหมขึ้น ชื่อว่ารัมภา (อาเทศนิคหิต เป็น มฺ, ลบ กฺวิ)


อลมฺพุสา  (อลํ+วส นิวาสเน+อ+อา)  อลัมพุสาเทพธิดา. 

กามรติวเสน  เทวปุตฺเต  อตฺตนิ  วสาเปตุํ  อลํ  สมตฺถาติ  อลมฺพุสา  เทพธิดาผู้สามารถให้เทพบุตรอยู่ในอำนาจของตนด้วยความยินดีในกาม ชื่อว่าอลัมพุสา (อาเทศ ว เป็น พ, อ ที่ พ เป็น อุ, นิคหิตเป็น มฺ, ลบสระหน้า).  อลมฺพุสา  มิสฺสเกสี  จ  นางอลัมพุสาเทพธิดาและมิสสเกสีเทพธิดา

 

เทพดนตรี, เทพนักร้อง  ๔  ศัพท์
คนฺธพฺพ (คนฺธสทฺทูปปท+อพฺพ ภกฺขเน+อ) คนธรรพ์, เทพดนตรี, เทพนักร้อง.

คนฺธํ อพฺพนฺต

 

๑  ชา.อฏฺ. ๔๑/๓๐๗    ๒  มชฺ.มูล. ๑๒/๕๖๖/๖๐๙    ๓  ขุ.วิมาน. ๒๖/๕๐/๘๘

๕๕

คนฺธํ อพฺพนฺติ  ภุญฺชนฺตีติ  คนฺธพฺพา  เทพบุตรผู้บริโภคกลิ่น ชื่อว่าคันธัพพะ (ลบสระหน้า).  คายนํ  วา  ธมฺโม  เอเตสํ  คนฺธพฺพา  หรือเทพบุตรผู้ขับร้องเป็นปรกติ ชื่อว่าคันธัพพะ (คา สทฺเท+ธมฺม, ลงนิคหิต อาคมหลังจากคาธาตุ, นิคหิตเป็น นฺ, รัสสะ อา ที่ คา เป็น อ, อาเทศ มฺม เป็น พฺพ).  อสุรา  นาคา  คนฺธพฺพา  สนฺติ   อสูร นาค และคนธรรพ์มีอยู่.  คนฺธพฺโพ  วา  คนฺธพฺพี  วา  เทพบุตรคนธรรพ์ หรือเทพธิดาคนธรรพ์


ปญฺจสิข  (ปญฺจ+สิขา+ณ)  ปัญจสิขเทพบุตร, เทพนักร้อง. 

"ปญฺจสิโข  หาหา  หูหู" อิจฺจาทโย  คนฺธพฺพา  นาม  ปัญจสิขเทพบุตร หาหาเทพบุตร และหูหูเทพบุตรเป็นต้น ชื่อว่าคันธัพพะ.  ปญฺจ  สิขา  จูฬา  ยสฺส  โส  ปญฺจสิโข  เทพบุตรผู้มีมวยผม ๕ มวย ชื่อว่าปัญจสิขะ.  อถ  โข  ปญฺจสิโข  คนฺธพฺพปุตฺโต  ครั้งนั้นปัญจสิขเทพบุตร,  อาทิศัพท์ในคาถารวม หาหา หูหู ศัพท์เข้าไว้ด้วย


หาหา  (หาสทฺทูปปท+หา จาเค+กฺวิ)  หาหาเทพบุตร, เทพนักร้อง. 

"หา"ติ  อนนฺทิตํ  ธนึ  ชหตีติ  หาหา  เทพบุตรผู้เลิกกล่าวคำว่า "หา" ที่ไม่ไพเราะนัก ชื่อว่าหาหา (ลบ กฺวิ)


หูหู  (หูสทฺทูปปท+หู สทฺเท+กฺวิ)  หูหูเทพบุตร, เทพนักร้อง. 

"หู"ติ  คีตวิเสสสทฺทํ  หูยเตติ  หูหู  เทพบุตรผู้ขับร้องด้วยเสียงพิเศษว่า "หู" ชื่อว่าหูหู (ลบ กฺวิ)

 


    [๒๕]    วิมาโนนิตฺถิยํ  พฺยมฺหํ       ปียูสํ  ตฺวมตํ  สุธา
               สิเนรุ  เมรุ  ติทิวา-           ธาโร  เนรุ  สุเมรุ จ.


เทพวิมาน, ยานทิพย์  ๒  ศัพท์
วิมาน  (วิ+มาน)  เทพวิมาน, ยานทิพย์. 

เทวานมากาเส  คมนํ  เยน  ตํ  วิมานํ  วิมานที่ใช้ท่องเที่ยวไปในอากาศของเทวดา ชื่อว่าวิมานะ.  วิคตํ  มานํ  อุปมานมสฺส  วิมานํ  วิมานที่ไม่มีที่ใดเปรียบเทียบได้ ชื่อว่าวิมานะ.  อุปฺปชฺชติ  โชติรสํ  วิมานํ   วิมานโชติรสอุบัติขึ้น


พฺยมฺห  (วิห+อม)  เทพวิมาน, ยานทิพย์. 

วิเห  อากาเส  คจฺฉตีติ  พฺยมฺหํ  วิมานที่ล่องลอยไปในอากาศ  ชื่อว่าพยัมหะ  (อม ปัจจัยลงหน้า ห อักษร, ลบ อ ที่ ม, อาเทศ อิ เป็น ย, วฺ เป็น พฺ).  อิทํ  พฺยมฺหํ  ทิพฺพํ  เทวปุรมฺหิ  จ  อติโรจติ  วิมานทิพย์นี้รุ่งเรืองอยู่บนสวรรค์.   วิมานพฺยมฺหสทฺทา  เทฺวปิ  อนิตฺถิยํ  ปุนฺนปุํสเก  วตฺตนฺติ   ศัพท์ทั้ง ๒ คือ วิมาน และ พฺยมฺห มีใช้ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์

 

๑  วิ.จุลฺล. ๗/๔๕๖/๒๘๗    ๒  ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๑๔/๒๑๕    ๓  ที.มหา. ๑๐/๒๐๙/๒๕๒
๔  ขุ.วิมาน. ๒๖/๙/๑๔    ๕  ขุ.วิมาน. ๒๖/๘๑/๑๓๔

๕๖

สุธาโภชน์, อาหารทิพย์, น้ำอมฤต, น้ำดื่มของเทวดา  ๓  ศัพท์
ปียูส, เปยูส  (ปา ปาเน+อูส) สุธาโภชน์, อาหารทิพย์, น้ำอมฤต, น้ำดื่มของเทวดา. 

ปียเตติ  ปียูสํ  น้ำที่เทวดาดื่ม ชื่อว่าปียูสะ (อาเทศ อา เป็น อี, ลง ยฺ อาคม).  "อมตปา"ติ  หิ  วุตฺตํ  ท่านจึงกล่าวว่า "เทวดาผู้ดื่มน้ำอมฤต"


อมต  (น+มร มรเณ+ต)  สุธาโภชน์, อาหารทิพย์, น้ำอมฤต, น้ำดื่มของเทวดา. 

น  มตํ  มรณมเนนาติ  อมตํ  อาหารที่ช่วยให้ไม่ตาย ชื่อว่าอมตะ (อาเทศ น เป็น อ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ).  อมตปานํ  ปิวึสุ  พากันดื่มน้ำอมฤต


สุธา   (สุ+ธา ปาเน+กฺวิ)  สุธาโภชน์, อาหารทิพย์, น้ำอมฤต, น้ำดื่มของเทวดา. 

สุเขน  ธยนฺติ  ปิวนฺติ  ตํ  อิติ  สุธา  น้ำที่เทวดาดื่มอย่างมีความสุข  ชื่อว่าสุธา (ลบ กฺวิ).  อยํ  หิ  สุธา  ภุตฺตา  สุธาโภชน์นี้เทวดากินแล้ว
เอตฺถ จ  อมตสทฺโท  ยญฺญเสสปียูสสลิลฆตาทีสุ นปุํสเก, ธนฺวนฺตริเทวาทีสุ ปุลฺลิงฺเค,  คโฬจฺยาภยามลกฺยาทีสุ  อิตฺถิลิงฺเคติ  ตีสุ  วตฺตติ.  ตํสหจรณโต  ปียูสสทฺโทปิ  ตีสุ  ลิงฺเคสุ,  สุธาสทฺโท  ปน  อมตนุหีเลปาทีสุปิ  นิจฺจมิตฺถิลิงฺโคว.  ในที่นี้ อมตศัพท์มีใช้ในลิงค์ทั้ง ๓ คือ ถ้าแปลว่า อาหาร น้ำ และน้ำมันเปรียงที่ใช้บูชายัญ เป็นต้น จัดเป็นนปุงสกลิงค์, ถ้าแปลว่า ธนวันตริเทพเป็นต้น จัดเป็นปุงลิงค์, ถ้าแปลว่า เถาบอระเพ็ด สมอ และมะขามป้อม เป็นต้น จัดเป็นอิตถีลิงค์.  แม้ ปียูสศัพท์ที่ประกอบด้วย อมตศัพท์นั้น ก็เป็น ๓ ลิงค์เหมือนกัน,  ส่วน สุธาศัพท์ที่แปลว่า อาหารทิพย์ (สุธาโภชน์) และปูนขาว (หรือดินสอพอง) เป็นต้น เป็นอิตถีลิงค์อย่างเดียว


ภูเขาพระสุเมรุ, ภูเขาหลวง  ๕  ศัพท์
สิเนรุ  (สินา โสเจยฺเย+เอรุ) ภูเขาสิเนรุ, ภูเขาพระสุเมรุ. 

สินาติ  โสเจติ  เทเวติ  สิเนรุ   ภูเขาที่เป็นเหตุให้เทวดาสะอาดหมดจด ชื่อว่าสิเนรุ.  สิเนรุ  ปพฺพตราชา  ภูเขาหลวงสิเนรุ


เมรุ  (มี หึสายํ+รุ)  ภูเขาเมรุ, ภูเขาพระสุเมรุ. 

มินาติ  หึสติ  สพฺเพ  ปพฺพเต  อตฺตโน  อุจฺจตรฏฺเฐนาติ  เมรุ  ภูเขาที่เบียดบังภูเขาทั้งหมดด้วยความสูงของตน ชื่อว่าเมรุ (วุทธิ อี เป็น เอ).  เมรุ  สมุฏฺฐเหยฺย  ปพฺพโต  ภูเขาพระสุเมรุพึงตั้งตระหง่านขึ้น


ติทิวาธาร  (ติทิว+อาธาร)  ภูเขาติทิวาธาร, ภูเขาพระสุเมรุ. 

ติทิวานํ  ทฺวินฺนํ  เทวโลกานํ  อาธาโร  ปติฏฺฐาติ  ติทิวาธาโร  ภูเขาอันเป็นที่ตั้งแห่งเทวโลก ๒ (คือ เทพวิมานและอสูรวิมาน) ชื่อว่าติทิวาธาระ

 

๑  ที.อฏฺ. ๖/๑๑๐/๔๓    ๒  ชา.อฏฺ. ๔๒/๓๐๕    ๓  สํ.นิทาน. ๑๖/๓๓๑/๑๖๘
๔  ชา.อฏฺ. ๔๒/๔๓๙

๕๗

เนรุ  (นี หรเณ+รุ)  ภูเขาเนรุ, ภูเขาพระสุเมรุ. 

เทเว  นยตีติ  เนรุ  ภูเขาที่นำเทวดาไปสู่สวรรค์ ชื่อว่าเนรุ (วุทธิ อี เป็น เอ).  อจฺจุคฺคโต  เนรุ  ภูเขาพระสุเมรุผุดขึ้นแล้ว


สุเมรุ  (สุ+มี หึสายํ+รุ)  ภูเขาสุเมรุ, ภูเขาพระสุเมรุ. 

สุเมรูติ  อุปสคฺเคน  นามํ  วฑฺฒิตํ  ภูเขาที่ชื่อว่า "สุเมรุ" ก็คือ เมรุ ที่ท่านเพิ่ม สุ อุปสัคเข้าไปข้างหน้า.  สุเมรุํ  ปทกฺขิณํ  กตฺวา  ทำประทักษิณรอบภูเขาพระสุเมรุแล้ว


    ศัพท์ที่แปลว่าภูเขาพระสุเมรุมีอีกมาก  เช่น  เหมทฺทิ, รตนสานุ, สุราลย

 


    [๒๖]    ยุคนฺธโร  อีสธโร       กรวีโก  สุทสฺสโน
               เนมินฺธโร  วินตโก     อสฺสกณฺโณ  กุลาจลา.


เทือกเขาบริวารของเขาพระสุเมรุ ๗ เทือก (เทือกสัตตบริภัณฑ์)
ยุคนฺธร  (ยุคสทฺทูปปท+ธร ธารเณ+อ)  ภูเขายุคันธร, เทือกเขาบริวารของเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๔. 

จนฺทสูริยสงฺขาตํ  ยุคํ  ธาเรติ  ตทุพฺเพธมคฺคจาริตฺตาติ  ยุคนฺธโร  เพราะมีความสูงเท่าทางโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ภูเขาที่ทรงไว้ซึ่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้ง ๒ นั้น จึงชื่อว่ายุคันธระ (ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ)


อีสธร  (อีสสทฺทูปปท+ธร ธารเณ+อ)  ภูเขาอีสธร, เทือกเขาบริวารของเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๓.

อีสํ  มหิสฺสรํ  ธาเรติ  ตสฺส  นิวาสฏฺฐานตฺตาติ  อีสธโร  เพราะเป็นภูเขาที่ตั้งอยู่บนบริเวณอันกว้างใหญ่ จึงชื่อว่าอีสธระ


กรวีร, กรวีก  (กสทฺทูปปท+รุ สทฺเท+อีร,อีก)  ภูเขากรวีระ, ภูเขากรวีกะ, เทือกเขาบริวารของเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๒. 

กรวีรา  อสฺสมารกา  พหโว  เอตฺถ  สนฺตีติ  กรวีโร  ภูเขาที่มีต้นยี่โถมาก ชื่อว่ากรวีระ.  เก  วา  มยูรา  รวนฺติ  เอตฺถาติ  กรวีโร, กรวีโก  หรือภูเขาที่มีนกยูงร้องชื่อว่ากรวีระและกรวีกะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว, ลบสระหน้า).  กรวีกสกุณา  วา  พหโว  เอตฺถ  สนฺตีติ  กรวีโก  หรือภูเขาที่มีนกการเวกอาศัยอยู่มาก ชื่อว่ากรวีกะ


สุทสฺสน  (สุ+ทิส เปกฺขเน+ยุ)  ภูเขาสุทัศน์, เทือกเขาบริวารของเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๑. 

สุทสฺสนา  โอสธิวิเสสา  พหุกา  เอตฺถ  สนฺตีติ  สุทสฺสโน,  สุเขน  ปสฺสิตพฺพตฺตา  วา  สุทสฺสโน,  สุนฺทรํ  วา  ทสฺสนํ  เอตฺถาติ  สุทสฺสโน   ภูเขาที่มีต้นยาดีหลายชนิดที่หาได้ง่าย หรือเพราะเป็นภูเขาที่มองเห็นได้ง่าย หรือภูเขาที่มองดูสวยงามมาก จึงชื่อว่าสุทัสสนะ (อาเทศ ทิส เป็น ทสฺส, ยุ เป็น อน)

 

๑  ขุ.อปทาน. ๓๒/๓/๓๐    ๒  ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๕๗/๒๘๖

๕๘

เนมินฺธร  (เนมิสทฺทูปปท+ธร ธารเณ+อ)  ภูเขาเนมินธร, เทือกเขาบริวารของเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๕. 

ปญฺจนฺนํ  ปพฺพตจกฺกานํ  เนมิสทิสํ  กตฺวา  อตฺตานํ  ธาเรตีติ  เนมินฺธโร,  เนมิภาเวน  วา  ธาเรตพฺโพ  อุปลกฺเขตพฺโพติ  เนมินฺธโร,  เนมึ  วา  รถทฺทุมํ  ธาเรติ  เยภุยฺเยนาติ  เนมินฺธโร  ภูเขาที่ทอดเทือกของตนทำให้เป็นเหมือนกงล้อชั้นที่ ๕ (ล้อมภูเขาพระสุเมรุไว้) หรือภูเขาที่เทือกมีสัณฐานเหมือนกงล้อ หรือภูเขาที่มีต้นไม้สำหรับทำกงล้อรถขึ้นอยู่มาก จึงชื่อว่าเนมินธระ (ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ)


วินตก  (วิ+นตา+ก)  ภูเขาวินตกะ, เทือกเขาบริวารของเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๖. 

วิตฺถิณฺณา  นตา  นทิโย  เอตฺถาติ  วินตโก  ภูเขาที่มีแม่น้ำกว้างใหญ่อยู่หลายสาย ชื่อว่าวินตกะ (รัสสะ อา เป็น อ).  วินตา  นาม  สุปณฺณมาตา,  ตสฺสา  นิวาสฏฺฐานตฺตา  วินตโก  แม่ของครุฑ ชื่อว่าวินตา, เพราะเป็นภูเขาที่อยู่ของแม่ครุฑนั้น จึงชื่อว่าวินตกะ (วินตา+ก, รัสสะ อา เป็น อ)


อสฺสกณฺณ  (อสฺส+กณฺณ)  ภูเขาอัสสกัณณะ, เทือกเขาบริวารของเขาพระสุเมรุชั้นที่ ๗.

   อสฺสกณฺณา  สชฺชทุมา  พหโว  เอตฺถ  สนฺตีติ  อสฺสกณฺโณ,  อสฺสกณฺณสทิสกูฏตฺตา  วา  อสฺสกณฺโณ  ภูเขาที่มีต้นสาละใบเหมือนหูม้าอยู่จำนวนมาก หรือเพราะเป็นภูเขาที่มียอดเหมือนหูม้า จึงชื่อว่าอัสสกัณณะ
    กุลาจลาติ  เอเต  สิเนรุอาทโย  อฏฺฐ  ปพฺพตา  อจลสงฺขาตานํ  ปพฺพตานํ  กุลานิ  โยนิโย  ปภวา,  เอเต  จ  สิเนรุุอาทโย  อนุปุพฺพสมุคฺคตา.  คำว่า "กุลาจลา" หมายถึง ภูเขาทั้ง ๘ เทือก มีสิเนรุเป็นต้นเหล่านั้น จัดเป็นเทือกเขาที่เก่าแก่ที่สุด, และภูเขาสิเนรุเป็นต้นนี้มีความสูงลดหลั่นลงตามลำดับ

สุทสฺสโน   กรวีโร      อีสธโร   ยุคนฺธโร,
เนมินฺธโร   วินตโก     อสฺสกณฺโณ   คิริพฺรหา.

    สุทัสสนะ กรวีระ อีสธระ ยุคันธระ เนมินธระ วินตกะ และอัสสกัณณะ
เป็นชื่อของเทือกเขาสัตตบรรพต

    สิเนรุํ  ปริกฺขิปิตฺวา  อสฺสกณฺโณ  นาม  ปพฺพโต  ปติฏฺฐิโต,  ตํ  ปริกฺขิปิตฺวา  วินตโก นาม ปพฺพโตติ เอวมญฺโญเยวานุกฺกโม กถิโต.  พึงทราบว่า เทือกเขาอัสสกัณณะตั้งล้อมรอบภูเขาพระสุเมรุ, ภูเขาวินตกะตั้งล้อมรอบภูเขาอัสสกัณณะ, ภูเขาเนมินธระ..., ภูเขายุคันธระ..., ภูเขาอีสธระ..., ภูเขากรวีระ..., ภูเขาสุทัสสนะตั้งล้อมรอบภูเขากรวีระ เป็นวงรอบออกไปตามลำดับเหมือนกงจักร

 

๑  จินฺตามณิฏีกา    ๒  ขุ.ชา. ๒๘/๕๙๑/๒๒๐

๕๙

[๒๗]    มนฺทากินี  ตถากาส-    คงฺคา  สุรนทีปฺยถ.


สายนํ้าในอากาศ  ๓  ศัพท์
มนฺทากินี  (มนฺทสทฺทูปปท+อก คมเน+อ+อินี)  สายน้ำมันทากินี. 

มนฺทํ  อกิตุํ  สีลํ  อสฺสาติ  มนฺทากินี  แม่น้ำที่มีปรกติไหลไปช้าๆ ชื่อว่ามันทากินี (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง)


อากาสคงฺคา  (อากาส+คงฺคา)  สายน้ำในอากาศ. 

อากาเส  สนฺทมานา  คงฺคา  อากาสคงฺคา  แม่น้ำที่ไหลไปบนอากาศ ชื่อว่าอากาสคังคา.  อากาสคงฺคํ  โอตาเรนฺโต  วิย  เหมือนให้ข้ามแม่น้ำในอากาศลงไป


สุรนที  (สุร+นที) สายนํ้าสุรนที. 

สุรานํ  เทวานํ  นที  สุรนที,  สุรทีฆิกาติปิ  เอติสฺสา นามํ  แม่น้ำของเทวดา ชื่อว่าสุรนที,  แม้คำว่า "สุรทีฆิกา" ก็เป็นชื่อของแม่น้ำสุรนที

 


    [๒๘]    โกวิฬาโร  ตถา  ปาริ-       จฺฉตฺตโก  ปริชาตโก
              กปฺปรุกฺโข  ตุ  สนฺตานา-     ทโย  เทวทฺทุมา  สิยุํ.


ต้นไม้บนสวรรค์  ๕  ชนิด
โกวิฬาร  (กุสทฺทูปปท+วิ+ทร วิทารเณ+ณ)  ต้นโกวิฬาร, ต้นปาริชาต. 

กุํ  ปถวึ  วิทารยติ  มูเลนาติ  โกวิฬาโร  ต้นไม้ที่หยั่งรากลงสู่แผ่นดิน ชื่อว่าโกวิฬาระ (อาเทศ อุ เป็น โอ, ทฺ เป็น ฬฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา).  โส  จ  มนุสฺสโลเกปิ  เทวโลเกปิ  โกวิฬาโร  ต้นปาริชาตนั้น มีอยู่ทั้งในมนุษยโลกและเทวโลก


ปาริจฺฉตฺตก  (ปริ+ฉตฺต+ก)  ต้นปาริฉัตร. 

ปริ  สมนฺตโต  ฉตฺตํ  วิย  ติฏฺฐตีติ  ปาริจฺฉตฺตโก   ไม้ที่แผ่กิ่งก้านไปรอบเหมือนฉัตร ชื่อว่าปาริจฉัตตกะ (ทีฆะ อ เป็น อา, ซ้อน จฺ).  ยํ  หิ  โลกิยา  ปาริชาตนฺติ  วทนฺติ  ตํ  มาคธภาสาย  ปาริจฺฉตฺตกนฺติ  วุจฺจติ  ชาวโลกเรียก ต้นไม้ใดตามภาษาสันสกฤตว่า "ปาริชาตะ" ก็เรียกต้นไม้นั้นตามภาษามคธว่า "ปาริจฉัตตกะ".  ศัพท์ที่แปลว่าต้นปาริฉัตรมีอีกมาก  เช่น  ปาริภทฺท,  นิมฺพตรุ,  มนฺทาร


ปาริชาตก (ปาริ+ชาต+ก) ต้นปาริชาต. ปาริโน สมุทฺทสฺส ชาโต อปจฺจํ ปาริชาตโก  

ต้นไม้ที่เป็นเหล่ากอของสมุทร (ต้นไม้ประจำสมุทร) ชื่อว่าปาริชาตกะ


กปฺปรุกฺข (กปฺป+รุกฺข) ต้นกัลปพฤกษ์, ต้นไม้ที่คนตั้งอธิษฐาน, ต้นไม้ที่ตั้งอยู่ตลอดกัป.

กปฺโป  สงฺกปฺปิโต  อตฺโถ     กปฺปศัพท์แปลว่าปรารถนา ดำริ ตั้งใจ และประสงค์.  ตสฺส  รุกฺโข


๑  วิ.ฏี. ๖๔/๑๙๙/๓๙๔    ๒  ขุ.อฏฺ. ๓๐/๖๘๖/๑๙๖    ๓  ขุ.อฏฺ. ๓๐/๖๘๐/๑๙๖

๖๐

ชญฺชนกภาเวน  สมฺพนฺโธ,  กปฺปํ  วา  ฐิโต  รุกฺโข  กปฺปรุกฺโข   ต้นกัปปะนั้นสัมพันธ์กันโดยเป็นเหตุและเป็นผล (ปรารถนาอย่างไร ได้อย่างนั้น),  ต้นไม้ที่ผู้คนตั้งความปรารถนาไว้ หรือยืนต้นอยู่ตลอดกัป ชื่อว่ากัปปรุกขะ.  มม  ทฺวาเร  กปฺปรุกฺโข  ปติฏฺฐติ  ต้นกัลปพฤกษ์ตั้งอยู่ใกล้ประตูบ้านเรา


สนฺตาน  (สํ+ตนุ วิตฺถาเร+ณ)  ต้นซึก, ต้นจามจุรี. 

ตนนํ  ตาโน  การแผ่กระจายไป ชื่อว่าตานะ.  คนฺธสฺส  สมฺมา  ตาโน  อสฺสาติ  สนฺตาโน,  สิรีสรุกฺโข  ต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมแผ่กระจายไปไกล ชื่อว่าสันตานะ (อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา) ได้แก่ ต้นซึกหรือต้นจามจุรี
    อาทิศัพท์ในคาถานี้รวมเอาต้นไม้อีก ๒ ชนิด คือ  มนฺทาร ต้นมณฑารพ  และ หริจนฺทน ต้นจันทน์เหลือง


มนฺทาร  (มนฺท โมทเน+อาร)  ต้นมณฑารพ. 

มนฺทนฺเต  โมทนฺเต  เทวา  อเนนาติ  มนฺทาโร  ต้นไม้ที่ทำให้พวกเทวดาพากันเพลิดเพลิน ชื่อว่ามันทาระ


หริจนฺทน  (หริสทฺทูปปท+จทิ หิลาทเน+ยุ)  ต้นจันทน์เหลือง. 

หริมินฺทํ  จทยติ  สุขยตีติ หริจนฺทนํ  ต้นไม้ที่ท้าววิษณุชอบใจ ชื่อว่าหริจันทนะ (ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, ยุ เป็น อน).  อุตฺตมํ  หริจนฺทนํ   ต้นจันทน์เหลืองที่ประเสริฐ
    กปฺปรุกฺโข  จ  สนฺตาโน  จ  อาทินา  มนฺทาโร  ปาริชาตโก  จ  หริจนฺทนญฺจ  เอเต  ปญฺจ  เทวทฺทุมา  เทวตรโว  เทวภูมีเสฺวว  สมฺภวโต  ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นจามจุรี  อาทิศัพท์รวมเอาต้นมณฑารพ ต้นปาริชาต และต้นจันทน์เหลือง ต้นไม้ทั้ง ๕ นี้ เป็นต้นไม้ที่มีอยู่บนสวรรค์เท่านั้น
    พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า

ปาฏลี  สิมฺพลี  ชมฺพู    เทวานํ  ปาริจฺฉตฺตโก
กทมฺโพ  กปฺปรุกฺโข  จ    สิรีเสน  ภวติ  สตฺตมํ.

    ต้นไม้บนสวรรค์มี ๗ ชนิด คือ  ปาฏลี ต้นแคฝอย,  สิมฺพลี ต้นงิ้ว,  ชมฺพู ต้นหว้า,  ปาริฉตฺตก ต้นปาริฉัตร,  กทมฺพ ต้นกระทุ่ม,  กปฺปรุกฺข ต้นกัลปพฤกษ์,  สิรีส ต้นซึกหรือจามจุรี

    ตตฺถ  ปาฏลีติ  จิตฺรปาฏลี,  สา  อสุรโลเก  ติฏฺฐติ.  ตถา  สิมฺพลี  ครุเฬสุ,  ชมฺพู
ชมฺพุทีเป,  ปาริจฺฉตฺตโก  ตาวตึเส,  กทมฺโพ  อปรโคยาเน,  กปฺปรุกฺโข อุตฺตรกุรูสุ,  สิรีโส ปุพฺพวิเทเหติ.  เอเต  สตฺต  เทวานเมว  ปติฏฺฐานภูมีสุ  สมฺภวโต  เทวตรโวเตฺวว  วุตฺตนฺติ.  ในจำนวนนั้น ต้นแคฝอยอยู่ที่วิมานอสูร ต้นงิ้วอยู่ที่วิมานครุฑ ต้นหว้าอยู่ที่ชมพูทวีป

 

๑  ขุ.อปทาน. ๓๒/๔๒/๑๓๐    ๒  วิ.อฏฺ. ๑/๗๖    ๓  อมรโกสอภิธาน ๑/๕๓
๔  อภิ.อฏฺ. ๕๓/๗๖๑/๓๕๗

๖๑

ต้นปาริฉัตรอยู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ต้นกระทุ่มอยู่ที่อปรโคยานทวีป  ต้นกัลปพฤกษ์อยู่ที่อุตตรกุรุทวีป ต้นซึกอยู่ที่ปุพพวิเทหทวีป ท่านกล่าวว่าต้นไม้ทั้ง ๗ นี้ เป็นต้นไม้ที่เกิดอยู่บนสวรรค์อันเป็นที่สถิตอยู่ของพวกเทวดาเท่านั้น

 

สคฺคาทิวณฺณนา  สมตฺตา.
ว่าด้วยพระอรหันต์และสวรรค์เป็นต้น จบ

 

<<<                >>>