<<<<< >>>>>
๒๖๓
๒.๒ ปุรวคฺควณฺณนา
ว่าด้วยเมืองเป็นต้น
[๑๙๘] ปุรํ นครมิตฺถี วา ฐานียํ ปุฏเภทนํ
ถิยํ ตุ ราชธานี จ ขนฺธาวาโร ภเวถ จ.
เมือง ๔ ศัพท์
ปุร (ปุ รกฺขเณ+ร) เมือง, บุรี.
ปรจกฺกา ปุนาติ รกฺขตีติ ปุรํ เมืองที่รักษาประชาชน จากการเป็นเมืองขึ้น ชื่อว่าปุระ. ปุเรตีติ ปุรํ เมืองที่รักษาประชาชน ชื่อว่าปุระ (ปุร ปาลเน+อ). คจฺฉามิ กาสินํ ปุรํ ๑ เราจะไปเมืองแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี
นคร (นค+ร) เมือง, นคร.
นคา ปาสาทาทโย อสฺส สนฺตีติ นครํ เมืองที่มีปราสาทเป็นต้น ชื่อว่านคระ. พนฺธุมสฺส รญฺโญ พนฺธุมตี นาม นครํ ราชธานี อโหสิ๒ พันธุมตีนครของพระเจ้าพันธุมะเป็นราชธานี. อิตฺถี วา ปุรศัพท์และนครศัพท์ถ้าเป็นอิตถีลิงค์จะมีรูปเป็น ปุรี, นครี
ฐานีย (ฐาน+อีย) เมือง.
อกุโตภยตฺตา ฐานาย หิตํ ฐานียํ เมืองที่เกื้อกูลต่อการอยู่ เพราะไม่มีภัยจากที่ไหนๆ (เช่น โจรภัย) ชื่อว่าฐานียะ
ปุฏเภทน (ปุฏสทฺทูปปท+ภิท เภทเน+ยุ) เมือง.
ปณิกานํ ปุฏา ภิชฺชนฺเต อตฺราติ ปุฏเภทนํ เมืองที่ตะกร้าของพวกพ่อค้าขาดทะลุ (เพราะซื้อข้าวของมาก) ชื่อว่าปุฏเภทนะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ ยุ เป็น อน). อิทํ อคฺคนครํ ภวิสฺสติ ปาฏลิปุตฺตํ ปุฏเภทนํ ๓ เมืองนี้จักเป็นเมืองชั้นเอก มีชื่อว่าปาฏลีบุตร
อาจารย์อื่นแสดงชื่อเมืองไว้ ๑๐ ศัพท์
ปฏฺฏนญฺจ อธิฏฺฐานํ นครํ ปุฏเภทนํ,
ถิโย ปูนคริปูริโย ฐานียํ กพฺพฏํ ปฏํ
ปัฏฏนะ อธิฏฐานะ นคระ ปุฏเภทนะ ปุระ นครี ปุรี ฐานียะ กัพพฏะ ปฏะ. นครี และ ปุรี เป็นอิตถีลิงค์
หัวเมืองใหญ่, เมืองหลวง, ราชธานี
ราชธานี (ราชสทฺทูปปท+ฐา คตินิวตฺติมฺหิ+ยุ+อี) หัวเมืองใหญ่, เมืองหลวง, ราชธานี.
ราชา ติฏฺฐติ เอตฺถาติ ราชธานี เมืองที่พระราชาประทับอยู่ ชื่อว่าราชธานี (อาเทศ ฐฺ เป็น ธฺ, ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). ถิยํ ราชธานีศัพท์ใช้ในอิตถีลิงค์.
๑ วิ.มหา. ๔/๑๐/๑๔ ๒ ที.มหา. ๑๐/๙/๗ ๓ วิ.มหา. ๕/๗๑/๙๑
๒๖๔
ภควโต มาริส สุทฺโธทโน นาม ราชา ปิตา มายา นาม เทวี มาตา ชเนตฺตี กปิลวตฺถุนครํ ราชธานี อโหสิ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้สิ้นทุกข์ พระผู้มีพระภาคมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระชนก พระมายาเทวีเป็นพระชนนีผู้ให้ประสูติ พระนครกบิลพัสดุ์เป็นราชธานี
ค่ายพัก, ที่พักแรม, ที่ตั้งกองทัพชั่วคราว
ขนฺธาวาร (ขนฺธสทฺทูปปท+อา+วร อาวรเณ+ณ) ค่ายพัก, ที่พักแรม, ที่ตั้งกองทัพชั่วคราว.
ทารุกฺขนฺธาทีหิ อา สมนฺตโต วรนฺติ ปริกฺขิปิยนฺติ เอตฺถาติ ขนฺธาวาโร ค่ายพักที่บุคคลพากันล้อมรั้วด้วยท่อนไม้เป็นต้นไว้โดยรอบ ชื่อว่าขันธาวาระ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). สีหลทีเป กิร อภโย นาม โจโร ปญฺจสตปริวาโร เอกสฺมึ ฐาเน ขนฺธาวารํ พนฺธิตฺวา สมนฺตา ติโยชนํ อุพฺพาเสตฺวา วสติ๒ ทราบว่า ที่เกาะสีหลมีโจรชื่อว่าอภยะ มีบริวาร ๕๐๐ คน สั่งให้บริวารตั้งค่ายพักในที่แห่งหนึ่ง ให้เฝ้าอารักขา ๓ โยชน์โดยรอบ แล้วจึงพำนักอยู่
[๑๙๙] สาขานครมญฺญตฺร ยํ ตํ มูลปุรา ปุรํ
พาราณสี จ สาวตฺถี เวสาลี มิถิลาฬวี.
[๒๐๐] โกสมฺพุชฺเชนิโย ตกฺก- สิลา จมฺปา จ สาคลํ
สุสุมารคิรํ ราช- คหํ กปิลวตฺถุ จ.
[๒๐๑] สาเกตมินฺทปตฺถญฺโจ- กฺกฏฺฐา ปาฏลิปุตฺตกํ
เชตุตฺตรํ จ สงฺกสฺสํ กุสินาราทโย ปุรี.
เมืองสาขา, หัวเมือง, เมืองขึ้น, ประเทศราช
สาขานคร (สาขา+นคร) เมืองสาขา, หัวเมือง, เมืองขึ้น, ประเทศราช.
มูลปุรา อญฺญตฺร มูลปุรํ วชฺเชตฺวา ยํ ปุรมตฺถิ โยชนวิตฺถิณฺณปาการาทิปริกฺขิตฺตํ, ตํ มูลปุรสฺส ตรุฏฺฐานิยสฺส สาขาสทิสตฺตา สาขานครํ นาม เมืองอื่นนอกจากเมืองใหญ่และเมืองหลวงที่มีกำแพงและป้อมล้อมรอบด้านละ ๑ โยชน์ ชื่อว่าสาขานคระ เพราะว่าเหมือนกับสาขาของต้นไม้คือเมืองหลวงอันร่มรื่น. มา เหวํ อานนฺท อวจ ขุทฺทนครกํ อุชฺชงฺคลนครกํ สาขานครกํ ๓ อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ว่า เป็นเมืองเล็ก เป็นเมืองแห้งแล้ง เป็นเมืองสาขา
๑ ที.มหา. ๑๐/๕๕/๖๐ ๒ วิ.อฏฺ. ๑/๕๘๐ ๓ ที.มหา. ๑๐/๑๖๓/๑๙๖
๒๖๕
เมืองใหญ่, เมืองหลวง, เมืองสำคัญ ๒๐ เมือง
พาราณสี (วานรสีส+อี) กรุงพาราณสี, เมืองหลวงแห่งแคว้นกาสี.
วานรสีสํ ตํสณฺฐาโน วา ปาสาโณ เอตฺถ อตฺถีติ พาราณสี เมืองที่มีกระโหลกหัวลิง หรือมีก้อนหินสัณฐานเหมือน หัวลิง ชื่อว่าพาราณสี (อาเทศ ว เป็น พ, กลับ นร เป็น รน, ทีฆะ อ เป็น อา, อาเทศ น เป็น ณ, ลบ ส, ลบสระหน้า). อถ โข ภควา ราชคเห ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา เยน พาราณสี เตน จาริกํ ปกฺกามิ๑ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ตามพุทธาภิรมย์แล้ว จึงเสด็จพุทธดำเนินไปทางกรุงพาราณสี
สาวตฺถี (สวตฺถ+ณ+อี) กรุงสาวัตถี, เมืองหลวงแห่งแคว้นโกศล.
สวตฺถสฺส อิสิโน นิวาสนฏฺฐานตฺตา สาวตฺถี เมืองชื่อว่าสาวัตถี เพราะเป็นสถานที่อยู่ของสวัตถฤาษี (ทีฆะ อ เป็น อา). สพฺพํ ธนเมตฺถ อตฺถีติ วา สาวตฺถี หรือเมืองที่มีทรัพย์ทุกอย่าง ชื่อว่าสาวัตถี (สพฺพ+ อตฺถ+อี, อาเทศ สพฺพ เป็น สาว, ลบสระหน้า). เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม๒ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระอารามเชตวัน ของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีเขตกรุงสาวัตถี
เวสาลี (วิสาลี+ณ+อี) กรุงเวสาลี, เมืองหลวงแห่งแคว้นวัชชี.
ติกฺขตฺตุํ วิสาลีภูตตฺตา เวสาลี เมืองชื่อว่าเวสาลี เพราะเคยเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ไพศาลถึง ๓ ครั้ง (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลบสระหน้า). อถ โข ภควา พาราณสิยํ ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา เยน เวสาลี เตน จาริกํ ปกฺกามิ๓ ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระนครพาราณสีตามพุทธาภิรมย์แล้ว จึงเสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี
มิถิลา (มถิ หึสายํ+อิล+อา) กรุงมิถิลา, เมืองหลวงแห่งแคว้นวิเทหะ.
มถิยตีติ มิถิลา เมืองที่ถูกคุกคาม ชื่อว่ามิถิลา (อาเทศ อ ที่ ม เป็น อิ, ลบสระหน้า). เอกํ สมยํ ภควา มิถิลายํ วิหรติ มฆเทวมฺพวเน๔ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของพระเจ้ามฆเทวะ ใกล้เมืองมิถิลา
อาฬวี (อล วิภูสเน+อว+อี) กรุงอาฬวี, เมืองหลวงแห่งแคว้นอาฬวีสมัยก่อนพุทธกาล.
อลํ ภูสนเมตฺถาติ อาฬวี เมืองที่มีการประดับประดา ชื่อว่าอาฬวี (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ล เป็น ฬ, ลบสระหน้า). อายสฺมา มหากสฺสโป ราชคเห วสฺสํ วุตฺโถ เยน อาฬวี เตน ปกฺกามิ๕ ท่านพระมหากัสสปะจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์แล้วเดินทางต่อไปสู่กรุงอาฬวี
โกสมฺพี (กุส อวฺหาเน+พ+อี) กรุงโกสัมพี, เมืองหลวงแห่งแคว้นวังสะ.
"ขาทถ ปิวถา"ตฺยาทีหิ ทสหิ สทฺเทหิ โกสนฺติ เอตฺถาติ โกสมฺพี เมืองที่ชาวเมืองร้องเรียกด้วยเสียง ๑๐ อย่างว่า "เชิญรับประทานอาหาร เชิญดื่มน้ำ" เป็นต้น ชื่อว่าโกสัมพี (วุทธิ อุ เป็น โอ, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น มฺ)
๑ วิ.มหา. ๕/๑๑/๑๙ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๓๐๑/๒๒๑ ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๙/๑๘
๔ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๔๕๒/๔๑๕ ๕ วิ.มหาวิ. ๑/๔๙๗/๓๒๙
๒๖๖
กุสมฺพรุกฺขวนฺตตาย วา โกสมฺพี หรือเมืองชื่อว่าโกสัมพี เพราะเป็นเมืองที่มีต้นโกสุมมาก. กุสมฺพสฺส อิสิโน อสฺสมโต อวิทูเร มาปิตตฺตาติ วา โกสมฺพี หรือเพราะเป็นเมืองที่สร้างขึ้นไม่ไกลจากอาศรมของกุสัมพฤาษี จึงชื่อว่าโกสัมพี (กุสุมฺพ+อี, วุทธิ อุ เป็น โอ). พุทฺโธ ภควา โกสมฺพิยํ วิหรติ โฆสิตาราเม๑ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่โฆสิตารามเขตกรุงโกสัมพี
อุชฺเชนี (อุ+ชิ ชเย+ยุ+อี) เมืองอุชเชนี, หัวเมืองใหญ่แห่งแคว้นอวันตี.
อุคฺคํ ริปํุ ชยติ เอตฺถาติ อุชฺเชนี เมืองที่พระราชาทรงชนะศัตรู ชื่อว่าอุชเชนี (ซ้อน ชฺ, อาเทศ อิ เป็น เอ, ยุ เป็น อน). คจฺฉ ภเณ ชีวก อุชฺเชนึ คนฺตฺวา ราชานํ ปชฺโชตํ ติกจฺฉาหิ๒ นี่ชีวก เธอจงไปเมืองอุชเชนีแล้วถวายการรักษาแก่พระเจ้าปัชโชต
ตกฺกสิลา (ตกฺก+สีล+อา) เมืองตักสิลา, เมืองสำคัญแห่งแคว้นคันธาระ มีผู้ทรงความรู้ แขนงต่างๆ อาศัยอยู่มาก.
ตกฺกนํ ตกฺโก การคิดค้น ชื่อว่าตักกะ (ตกฺก วิตกฺเก+อ). โส สีลํ สภาโว เอตฺถาติ ตกฺกสิลา เมืองที่มีการคิดค้นเป็นสภาพปรกติ ชื่อว่าตักกสิลา (รัสสะ อี เป็น อิ). โย หิ ปุริสกาเรน อูโน, โส ตตฺถ คนฺตฺวา ตมูนํ ปูเรตีติ ตกฺกสิลา เมืองที่บุคคลผู้มีคุณสมบัติของบุรุษบกพร่อง ไปเมืองนั้นแล้วสามารถทำให้ความบกพร่องนั้นเต็มได้ ชื่อว่าตักกสิลา (ตกฺก อูนปูรเณ+สิล+อา, ลบสระหน้า). ปุริสการศัพท์ในที่นี้หมายถึง ศิลปะวิชาความรู้แขนงต่างๆ ที่บุรุษต้องมีติดตัว. ตกฺกสิลายํ ทิสาปาโมกฺโข เวชฺโช ปฏิวสติ๓ หมอทิสาปาโมกข์ประจำอยู่ที่เมืองตักกสิลา
จมฺปา (จม อทเน+ป+อา) เมืองจัมปา, เมืองหลวงแห่งแคว้นอังคะ.
จมนฺติ อทนฺติ เอตฺถาติ จมฺปา เมืองที่ชาวเมืองอาศัยอยู่กิน ชื่อว่าจัมปา (ลบสระหน้า). จมฺปายํ โสโณ นาม โกฬิวิโส เสฏฺฐิปุตฺโต สุขุมาโล โหติ๔ ที่เมืองจัมปามีบุตรเศรษฐีชื่อว่าโสณะโกฬิวิสะ เป็นสุขุมาลชาติ
สาคลา (ส+อากร+อา) เมืองสาคละ, เมืองหลวงแห่งแคว้นมัททะ.
สานํ ธนานํ อากรํ อุปฺปตฺติฏฺฐานํ เอตฺถาติ สากโร, โส เอว สาคลา เมืองที่เป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์ ชื่อว่า สากระ, สากระนั่นแหละ ชื่อว่าสาคลา (อาเทศ กร เป็น คล, ลบสระหน้า). สาคลายํ อายสฺมโต ทฬฺหิกสฺส สทฺธิวิหาริโก ภิกฺขุ อนภิรติยา ปีฬิโต๕ ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะในเมืองสาคละ ถูกความกระสันรุมเร้า
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๕๒๓/๓๕๗ ๒ วิ.มหา. ๕/๑๓๔/๑๘๔ ๓ วิ.มหา. ๕/๑๒๙/๑๗๑
๔ วิ.มหา. ๕/๑/๑ ๕ วิ.มหาวิ. ๑/๑๗๕/๑๒๖
๒๖๗
สุสุมารคิร, สุํสุมาคิริ (สุสมาร+คิริ+ณ) เมืองสุสุมารคิระ, เมืองหลวงแห่งแคว้นภัคคะ.
สุสุมาร-สณฺฐาโน คิริ เอตฺถาติ สุสุมารคิรํ เมืองที่มีภูเขาสัณฐานเหมือนจระเข้ ชื่อว่าสุสุมารคิระ (ลบ ณฺ และ อิ). สุสุมาโร คายติ เอตสฺส มาปิตกาเลติ วา สุสุมารคิรํ หรือจระเข้ร้องในเวลาสร้างเมืองนั้น จึงชื่อว่าสุสุมารคิระ (สุสุมารสทฺทูปปท+เค สทฺเท+อิร, ลบสระหน้า). พุทฺโธ ภควา ภคฺเคสุ วิหรติ สุสุมารคิเร เภสกลาวเน มิคทาเย๑ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สวนเภสกลามิคทายวันเขตเมืองสุสุมารคิระแคว้นภัคคะ
ราชคห (ราชสทฺทูปปท+คห อุปาทาเน+อ) กรุงราชคฤห์, เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ.
ราชูนเมว อาธิปจฺจวเสน ปริคฺคหิตพฺพตฺตา ราชคหํ เมืองชื่อว่าราชคหะ เพราะเป็นเมืองที่พระราชาทั้งหลายควรยึดมาครอบครอง. เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา ราชคเห วิหรติ คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต๒ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏเขตกรุงราชคฤห์
กปิลวตฺถุ (กปิลสทฺทูปปท+วส นิวาเส+รตฺถุ) กรุงกบิลพัสดุ์, เมืองหลวงแห่งแคว้นสักกะ.
อาทิกาเล กปิลนามสฺส อิสิโน นิวาสนฏฺฐานตฺตา กปิลวตฺถุ เมืองชื่อว่ากปิลวัตถุ เพราะเป็นสถานที่อยู่ของกปิลฤาษีมาตั้งแต่แรก (ลบ สฺ ที่สุดธาตุและ รฺ อนุพันธ์). ปุมนปํุสเก กปิลวตฺถุศัพท์ใช้ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. เกนจิเทว กรณีเยน กปิลวตฺถุํ อคมาสึ ๓ เราไปกรุงกบิลพัสดุ์ด้วยกรณียกิจอย่างหนึ่งเท่านั้น
สาเกต (สาก+อิ+ต) เมืองสาเกต, มหานครแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล.
สาโก ราชูนํ ยุทฺธาทีสุ สตฺติ สญฺชาตา เอตฺถาติ สาเกตํ เมืองที่ทำให้พระราชาทั้งหลายมีความสามารถ ในการรบเป็นต้น ชื่อว่าสาเกตะ (ลบสระหน้า, วิการ อิ เป็น เอ). คัมภีร์นานัตถสังคหะกล่าวว่า "สาโก สตฺติมฺหิ ภูปาเล ทุมทีปนฺตเรสุ จ สากศัพท์ใช้ในอรรถความสามารถ พระราชา ต้นสากะ และกลางเกาะ". สญฺชาตตฺเถ อิโต สาโก นาม ราชา, ทุโม วา เอตฺถ อาทิกาเล สญฺชาโตติ วา สาเกตํ เมืองที่พระราชาพระนามว่าสากะประสูติ หรือเมืองที่มีต้นสากะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มแรก จึงชื่อว่าสาเกตะ. ชีวโก โกมารภจฺโจ สาเกตํ ปวิสิตฺวา มนุสฺเส ปุจฺฉิ โก ภเณ คิลาโน กํ ติกิจฺฉามีติ๔ หมอชีวกโกมารภัจเข้าไปเมืองสาเกต ถามพวกมนุษย์ว่า นี่คุณ ใครป่วยหรือ เราจะรักษาใคร
อินฺทปตฺต, อินฺทปตฺถ (อินฺท+ปา ปาปุเณ+ต) เมืองอินทปัตต์, เมืองหลวงแห่งแคว้นกุรุ.
อินฺทํ ปรมิสฺสริยภาวํ ปาปุณนฺติ เอตฺถาติ อินฺทปตฺตํ เมืองที่ชาวเมืองสถาปนาบุรุษชื่ออินท์ให้เป็นผู้ปกครอง จึงชื่อว่าอินทปัตตะ (ซ้อน ตฺ, รัสสะ อา เป็น อ).
๑ วิ.มหาวิ. ๒/๖๐๔/๓๙๕ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๗๙/๗๖ ๓ ที.สีล. ๙/๑๔๖/๑๑๙
๔ วิ.มหา. ๕/๑๓๐/๑๗๓
๒๖๘
อินฺโท วา สกฺโก เทวราชา, โส ปตฺโต เอตฺถาติ อินฺทปตฺตํ หรืออินทะหมายถึงท้าวสักกเทวราช, เมืองที่ท้าวสักกเทวราชไปถึง จึงชื่อว่าอินทปัตตะ (อินฺท+ปตฺต). ตตฺถ อินฺทปตฺตํ นาม นครํ ๑ ในที่นั้นมีเมืองชื่อว่าอินทปัตตะ. ตกฺกสิลายํ สพฺพสิปฺปานิ อุคฺคณฺหิตฺวา อินฺทปตฺถํ อาคนฺตฺวา๒ เรียนเอาศิลปะทุกแขนงที่เมืองตักสิลาแล้วมายังเมืองอินทปัตถ์
อุกฺกฏฺฐา (อุกฺกสทฺทูปปท+ธา ธารเณ+อ) เมืองอุกกัฏฐา, หัวเมืองใหญ่แห่งแคว้นโกศล.
อุกฺกํ ธารยติ เอติสฺส มาปิตกาเลติ อุกฺกฏฺฐา เมืองที่ยกคบไฟขึ้นตั้งไว้ในเวลาสร้างเมือง จึงชื่อว่าอุกกัฏฐา (อาเทศ ธ เป็น ฐ, ซ้อน ฏฺ). อุกฺกฏฺฐายํ วิหรามิ สุภวเน สาลราชมูเล๓ เราอยู่ที่โคนต้นสาลราชในป่าสุภวันใกล้เมืองอุกกัฏฐา
ปาฏลิปุตฺต, ปาฏลิปุตฺตก (ปฏลิ+ปุตฺต+ณ,ก) เมืองปาฏลีบุตร, หัวเมืองใหญ่แห่งแคว้นวังคะ.
ยสฺส มาปิตฏฺฐาเน ปาฏลีนามโก เอโก ตรุณรุกฺโข อตฺถีติ ปาฏลิปุตฺตํ เมืองที่มีต้นแคฝอยหนุ่มชื่อปาฏลีขึ้นอยู่ตั้งแต่เริ่มสร้างเมือง ชื่อว่าปาฏลิปุตตะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อถวา ปฏลิ นาม เอโก คามณี, ตสฺส ปุตฺโต เอตฺถ วสติ อาทิกาเลติ ปาฏลิปุตฺตกํ อีกนัยหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งชื่อว่าปฏลิ, เมืองที่มีบุตรของผู้ใหญ่ปฏลิอยู่ตั้งแต่เริ่มแรก ชื่อว่าปาฏลิปุตตกะ. สุนีธวสฺสาการา มคธมหามตฺตา ปาฏลิคาเม นครํ มาเปนฺติ๔ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อสุนีธะและวัสสการะ ให้สร้างเมืองขึ้นที่หมู่บ้านปาฏลิ. อิทํ อคฺคนครํ ภวิสฺสติ ปาฏลิปุตฺตํ ปุฏเภทนํ ปาฏลิปุตฺตสฺส โข อานนฺท ตโย อนฺตรายา ภวิสฺสนฺติ อคฺคิโต วา อุทกโต วา อพฺภนฺตรโต วา มิถุเภทา๕ เมืองปาฏลีบุตรนี้จักเป็นเมืองดีที่สุด เป็นทำเลค้าขาย อานนท์ เมืองปาฏลีบุตรจักมีอันตราย ๓ อย่าง คือ จากไฟไหม้ จากน้ำท่วม หรือแตกแยกเป็น ๒ ฝ่ายเพราะความขัดแย้งภายใน
เชตุตฺตร, เจตุตฺตร (เจติย+อุตฺตร) เมืองเชตุตตระ, เมืองหลวงแห่งแคว้นสิวีในสมัยพระ
เวสสันดร.
เจติยรฏฺเฐ อุตฺตมตฺตา เชตุตฺตรํ เมืองชื่อว่าเชตุตตระ เพราะเป็นสถานที่ดีที่สุดในแคว้นเจติยะ (ลบ อิย, อาเทศ จ เป็น ช). เวริชยฏฺฐานตฺตา เชตญฺจ ตํ อุตฺตมตฺตา อุตฺตรญฺเจติ วา เชตุตฺตรํ หรือเมืองชื่อว่าเชตะ เพราะเป็นที่ชนะศัตรู และชื่อว่าอุตตระ เพราะเป็นสถานที่ดีที่สุด จึงรวมกันชื่อว่าเชตุตตระ (เชต+อุตฺตร, ลบสระหน้า). ปวิสามิ ปุรํ รมฺมํ เชตุตฺตรปุรุตฺตมํ ๖ เราเข้าไปเมืองเชตุตตระที่ร่มรื่นดีที่สุด
๑ ชา.อฏฺ. ๓๗/๒๘๕ ๒ ชา.อฏฺ. ๓๙/๒๒๙-๓๐ ๓ ที.มหา. ๑๐/๕๕/๕๗
๔ วิ.มหา. ๕/๗๑/๙๐ ๕ วิ.มหา. ๕/๗๑/๙๑ ๖ ขุ.อปทาน. ๓๓/๙/๕๖๕
๒๖๙
สงฺกสฺส (สํ+กาส ทิตฺติยํ+อ) เมืองสังกัสสะ, หัวเมืองใหญ่แห่งแคว้นเจตี.
ยสฺส มาปิตกาเล ทีโป ทิปฺปติ, ตํ สงฺกสฺสํ เมืองที่จุดประทีปสว่างไสวในเวลาสร้างเมือง จึงชื่อว่าสังกัสสะ (อาเทศ นิคหิตเป็น งฺ, ซ้อน สฺ, รัสสะ อา เป็น อ). สมฺมา กสนฺติ เอตฺถาติ วา สงฺกสฺสํ หรือเมืองที่ชาวเมืองเจริญรุ่งเรืองดี ชื่อว่าสังกัสสะ. อายสฺมา เรวโต โสเรยฺยา สงฺกสฺสํ อคมาสิ๑ ท่านเรวตะออกจากเมืองโสเรยยะไปสู่เมืองสังกัสสะ
กุสินาร (กุส+นร) เมืองกุสินารา, เมืองหลวงแห่งแคว้นมัลละ.
ยสฺส มาปิตกาเล นิมิตฺตโมโลเกนฺตา พฺราหฺมณา กุสหตฺถํ นรํ ปสฺสิตฺวา มาเปนฺติ, ตํ กุสินารํ ในเวลาสร้างเมือง พวกพราหมณ์พากันตรวจดูนิมิต เห็นคนถือสลากแล้วให้สร้างเมือง จึงชื่อว่ากุสินาระ (อาเทศ อ เป็น อิ, ทีฆะ อ เป็น อา). ภควา กิร กุสินารํ อาคจฺฉติ มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ อฑฺฒเตรเสหิ ภิกฺขุสเตหิ๒ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาเมืองกุสินาราพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป
อาทิศัพท์รวมเอาเมืองมถุระ เมืองปาสาณปุระ และเมืองโสณิกะ
[๒๐๒] รจฺฉา จ วิสิขา วุตฺตา รถิกา วีถิ จาปฺยถ
พฺยูโห รจฺฉา อนิพฺพิทฺธา นิพฺพิทฺธา ตุ ปถทฺธิ จ.
ถนน, ทางในหมู่บ้าน, ตรอก, ซอย ๔ ศัพท์
รจฺฉา (รถ+ณฺย+อา) ถนน, ทางในหมู่บ้าน, ตรอก, ซอย.
รถสฺส หิตา รจฺฉา ถนนที่มีประโยชน์ต่อรถ ชื่อว่ารัจฉา (ลบ ณฺ, อาเทศ ถฺย เป็น ฉ, ซ้อน จฺ, ลบสระหน้า). ปถิเกหิ รทียติ วิเลขิยตีติ รจฺฉา ถนนที่คนเดินทางช่วยกันปรับปรุง จึงชื่อว่ารัจฉา (รท วิเลขเน+ฉ+อา, อาเทศ ทฺ เป็น จฺ, ลบสระหน้า). สมโณ โคตโม อิมํ รจฺฉํ ปฏิปนฺโน โหติ๓ พระสมณโคดมเสด็จสู่ถนนสายนี้
วิสิขา (วิ+สิ เสวายํ+ข+อา) ถนน, ทางในหมู่บ้าน, ตรอก, ซอย.
วิสยนฺเต ปกาสยนฺเต วิกฺกเยน ทพฺพานิ ยสฺสํ, สา วิสิขา ถนนที่พ่อค้าเที่ยวขายสินค้า ชื่อว่าวิสิขา (ลบสระหน้า). วิสนฺติ เอตฺถาติ วา วิสิขา หรือถนนที่ผู้คนเข้าไป ชื่อว่าวิสิขา (วิส ปเวสเน+ข+อา, ลง อิ อาคม, ลบสระหน้า). สกญฺจ พทฺโธ วิสิขํ จราตุ๔ ขอให้ลิงตัวนั้นถูกมัดแล้วตระเวนไปทั่วตรอกเถิด
รถิกา (รถ+อิก) ถนน, ทางในหมู่บ้าน, ตรอก, ซอย.
รถสฺส หิตา รถิกา ถนนที่มีประโยชน์ต่อรถ ชื่อว่ารถิกา (ลบสระหน้า). รถิกาย รถิกํ สิงฺฆาฏเกน สิงฺฆาฏกํ อุปสงฺกมิตฺวา๕ จากถนนสายนี้ไปยังถนนสายโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น
๑ วิ.จุลฺล. ๗/๖๔๑/๔๐๖ ๒ วิ.มหา. ๕/๘๘/๑๒๔ ๓ วิ.จุลฺล. ๗/๓๗๗/๑๘๗
๔ ขุ.ชา. ๒๗/๑๙๓๓/๓๗๙ ๕ สำ.สคาถ. ๑๕/๘๓๓/๓๑๓
๒๗๐
วีถิ (วี คมเน+ถิ) ถนน, ทางในหมู่บ้าน, ตรอก, ซอย.
วีติ คจฺฉติ เอตฺถาติ วีถิ ถนนเป็นสถานที่ที่ผู้คนเดินไป ชื่อว่าวีถิ. วีถิศัพท์เป็นอิตถีลิงค์. น วีถึ ชานาติ น โคจรกุสโล โหติ๑ เขาไม่รู้จักทาง ไม่ฉลาดในเส้นทาง
ทางตัน, สุดทาง ๒ ศัพท์
พฺยูห (วิ+อูห สมฺปิณฺฑเน+อ) ทางตัน, สุดทาง.
รจฺฉนฺตเรน มชฺเฌ อนิพฺพิทฺธา รจฺฉา พฺยูโห นาม ถนนที่ไม่เชื่อมกับถนนสายอื่นระหว่างกลาง(คือไม่มีแยก) ชื่อว่าพยูหะ. หฺยูเหติ สมฺปิณฺเฑติ ชเน อฺญฺญตฺร คนฺตุมปฺปทานวเสนาติ พฺยูโห ทางที่รวมคนไว้ไม่ให้ไปต่อที่อื่น ชื่อว่าพยูหะ (อาเทศ อิ เป็น ย, วฺ เป็น พฺ). พฺยูหํ นาม เยเนว ปวิสนฺติ เตเนว นิกฺขมนฺติ๒ เข้าไปทางไหนก็ออกไปทางนั้น ชื่อว่าพยูหะ
อนิพฺพิทฺธ (น+นิ+วิธ สมฺปหาเร+ต) ทางตัน, สุดทาง.
น นิพฺพิชฺฌเต รจฺฉนฺตเรนาติ อนิพฺพิทฺโธ ทางที่ไม่ทะลุถึงทางสายอื่น ชื่อว่าอนิพพิทธะ (อาเทศ น เป็น อ, ว เป็น พ, ซ้อน พฺ, อาเทศ ต เป็น ธ, ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ)
ทางยาวตลอด, ทางผ่านตลอด ๒ ศัพท์
ปถทฺธิ (ปถ+อทฺธิ) ทางยาวตลอด, ทางผ่านตลอด.
นิพฺพิทฺธา รจฺฉนฺตเรน รจฺฉา ปโถ อทฺธีติ จ วุจฺจติ ทางที่ทะลุไปได้ตลอด ชื่อว่าปถะและอัทธิ. ปถติ คจฺฉติ เอตฺถาติ ปโถ ทางเป็นที่ไป ชื่อว่าปถะ (ปถ คมเน+อ). อทติ คจฺฉติ เอตฺถาติ อทฺธิ ทางเป็นที่ไป ชื่อว่าอัทธิ (อท คมเน+ติ, อาเทศ ต เป็น ธ). ปโถ จ อทฺธิ จ ปถทฺธิ ปถะและอัทธิ ชื่อว่าปถัทธิ (ลบสระหน้า)
นิพฺพิทฺธ (นิ+วิธ สมฺปหาเร+ต) ทางยาวตลอด, ทางผ่านตลอด.
นิพฺพิชฺฌเต รจฺฉนฺตเรนาติ นิพฺพิทฺโธ ทางที่ทะลุไปถึงทางสายอื่น ชื่อว่านิพพิทธะ (อาเทศ ว เป็น พ, ซ้อน พฺ, อาเทศ ต เป็น ธ, ธฺ เป็น ทฺ)
[๒๐๓] จตุกฺกํ จจฺจเร มคฺค- สนฺธิ สิงฺฆาฏกํ ภเว
ปากาโร วรโณ จาถ อุทาโป อุปการิกา.
ทางแยก, ทางแพร่ง, ทางต่อ ๔ ศัพท์
จตุกฺก (จตุ+ก) ทางแยก, ทางแพร่ง, ทางสี่แพร่ง, ทางต่อ.
จตุนฺนํ ปถานํ สมาหาโร จตุกฺกํ การรวมกันของทางสี่สาย ชื่อว่าจตุกกะ (ซ้อน กฺ)
๑ มชฺ.มูล. ๑๒/๓๘๓/๔๑๐ ๒ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๙๕/๑๑๗
๒๗๑
มคฺคสนฺธิ (มคฺค+สนฺธิ) ทางแยก, ทางแพร่ง, ทางต่อ.
ทฺวินฺนํ จตุนฺนํ วา มคฺคานํ สนฺธิ มคฺคสนฺธิ การต่อกันของทางสองสายบ้าง สี่สายบ้าง ชื่อว่ามัคคสันธิ
สิงฺฆาฏก (สิงฺฆ ฆฏเน+อาฏก) ทางแยก, ทางแพร่ง, ทางต่อ.
เอกีภาวํ สิงฺฆติ ยาตีติ สิงฺฆาฏกํ ทางที่ต่อเป็นสายเดียวกัน ชื่อว่าสิงฆาฏกะ. สิงฺฆาฏกนฺติ จตุกฺโกณํ วา ติโกณํ วา มคฺคสโมธาณฏฺฐานํ ๑ ทางสี่แพร่ง ทางสามแพร่ง หรือทางที่มาบรรจบกัน ชื่อว่าสิงฆาฏกะ. อนฺตรฆรํ นาม รถิยา พฺยูหํ สิงฺฆาฏกํ ฆรํ ๒ ชื่อว่าละแวกบ้าน ได้แก่ ถนน ทางตัน ทางแพร่ง บ้านเรือน
จจฺจร (จร คติภกฺขเนสุ+จร) ทางแยก, ทางแพร่ง, ทางต่อ.
จรนฺติ เอตฺถาติ จจฺจรํ ทางสำหรับแยกไป ชื่อว่าจัจจระ (อาเทศ รฺ เป็น จฺ). สิงฺฆาฏโก นาม จจฺจรํ วุจฺจติ๓ ทางแพร่ง เรียกว่าจัจจระ
ป้อม, กำแพง, ปราการ ๒ ศัพท์
ปาการ (ป+กร กรเณ+ณ) ป้อม, กำแพง, ปราการ.
ปริสมนฺตโต กรียเตติ ปากาโร กำแพงที่บุคคลทำล้อมรอบ ชื่อว่าปาการะ (ทีฆะ อ ที่ ป เป็น อา, ลบ ณฺ, วุทธิ อ ที่ ก เป็น อา). ปากาโร นาม ตโย ปาการา อิฏฺฐกาปากาโร สิลาปากาโร ทารุปากาโร๔ ชื่อว่ากำแพงมี ๓ ชนิด คือ กำแพงอิฐ กำแพงหิน และกำแพงไม้
วรณ (วร สํวรเณ+ยุ) ป้อม, กำแพง.
วุโณตีติ วรโณ กำแพงป้องกัน ชื่อว่าวรณะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). สาลศัพท์ก็แปลว่ากำแพง
เชิงเทิน, เนิน ๒ ศัพท์
อุทฺทาป (อุ+ทีป ปกาสเน+อ) เชิงเทิน, เนิน.
สพฺพเคหานํ วิเสเสน ปกาสนโต อุทฺทาโป เชิงเทินชื่อว่าอุททาปะ เพราะบอกให้รู้ความพิเศษของเรือนทั้งปวง (ซ้อน ทฺ, อาเทศ อี เป็น อา)
อุปการิกา (อุป+กร กรเณ+ณฺวุ+อา) เชิงเทิน, เนิน.
สงฺคมฺม กโรนฺติ ตนฺติ อุปการิกา เชิงเทินที่เขาทำรวมกัน (กับกำแพงเป็นต้น) ชื่อว่าอุปการิกา (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, อ เป็น อิ, ลบสระหน้า)
๑ วิ.อฏฺ. ๒/๔๘๘ ๒ วิ.มหาวิ. ๒/๗๘๒/๕๑๖ ๓ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๙๕/๑๑๗
๔ วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๑๗๖/๑๐
๒๗๒
[๒๐๔] กุฏฺฏํ ตุ ภิตฺติ นารีถ โคปุรํ ทฺวารโกฏฺฐโก
เอสิกา อินฺทขีโล จ อฏฺโฏ ตฺวฏฺฏาลโก ภเว.
ฝาเรือน, ผนัง ๒ ศัพท์
กุฏฺฏ (กุฏ เฉทเน+อ) ฝาเรือน, ผนัง.
มคฺคํ กุฏติ ฉินฺทตีติ กุฏฺฏํ ผนังที่ตัดทางเดิน ชื่อว่ากุฏฏะ (ซ้อน ฏฺ)
ภิตฺติ (ภิทิ ทฺวิธากรเณ+ติ) ฝาเรือน, ผนัง.
ทฺวิธา ภิทียติ กโรตีติ ภิตฺติ ฝาเรือนที่กั้นห้องให้เป็นสองส่วน ชื่อว่าภิตติ (อาเทศ ทฺ เป็น ตฺ). นารี ภิตฺติศัพท์เป็นอิตถีลิงค์. ปจฺฉิมาย เจ ภิกฺขเว ภิตฺติ นาสฺส กฺวาสฺส ปติฏฺฐิตา๑ ภิกษุทั้งหลาย ฝาเรือนในทิศตะวันตกไม่มี แสงสว่างนั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ไหน
ซุ้มประตู, ประตูเมือง ๒ ศัพท์
โคปุร (โค+ปุร) ซุ้มประตู, ประตูเมือง.
คุณฺณํ วาจานํ ปุรํ โคปุรํ ประตูเมืองที่ผู้คนออกปาก(ติชมเป็นต้น) ชื่อว่าโคปุระ. เต คนฺตฺวา โคปุรํ ขณิตฺวา รญฺโญ สยนฆเร อุฏฺฐหึสุ๒ โจรเหล่านั้น พากันขุดลงบริเวณซุ้มประตูแล้วไปโผล่ขึ้นที่ตำหนักบรรทมของพระราชา
ทฺวารโกฏฺฐก (ทฺวาร+โกฏฺ€ก) ซุ้มประตู.
ทฺวารสมีเป กโต โกฏฺฐโก ทฺวารโกฏฺฐโก ซุ้มที่บุคคลสร้างไว้ใกล้ประตู ชื่อว่าทวารโกฏฐกะ. ทฺวารโกฏฺฐกญฺจ นิฏฺฐเปตฺวา ปิตุ สนฺติกํ เปเสสิ๓ สร้างซุ้มประตูเสร็จแล้วจึงส่งข่าวไปยังสำนักบิดา
เสาเขื่อน, เสา, หลักเมือง ๒ ศัพท์
เอสิกา (เอส คเวสเน+อิก+อา) เสาเขื่อน, เสา, หลักเมือง.
เอสติ คเวสติ เอตฺถาติ เอสิกา เสาที่บุคคลแสวงหา ชื่อว่าเอสิกา. เอกเมกสฺมึ ทฺวาเร สตฺต สตฺต เอสิกา นิขาตา อเหสุํ ๔ ที่ประตูหนึ่งๆ ฝังเสาไว้ประตูละ ๗ ต้น
อินฺทขีล (อินฺท+ขีล) เสาเขื่อน เสา, หลักเมือง, เสาอินทขิล.
อินฺทสฺส สกฺกสฺส ขีโล กณฺฏโก อินฺทขีโล เสาที่เป็นขวากหนามของพระอินทร์ ชื่อว่าอินทขีละ. คามสฺส อินฺทขีเล ฐิตสฺส มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส๕ ของบุรุษปานกลางซึ่งยืนอยู่ที่เสาเขื่อนของหมู่บ้าน
ป้อม, หอคอย ๒ ศัพท์
อฏฺฏ (อฏฺฏ อติกฺกมหึสาสุ+อ) ป้อม, หอคอย.
อฏฺฏติ หึสตีติ อฏฺโฏ ป้อมที่เบียดเบียน(ความอิสระ) ชื่อว่าอัฏฏะ. กูฏาคารโต กูฏาคารํ คจฺฉติ อฏฺฏโต อฏฺฏํ คจฺฉติ๖ ออกจากเรือนหลังหนึ่งไปสู่เรือนอีกหลังหนึ่ง ออกจากป้อมหนึ่งไปสู่อีกป้อมหนึ่ง
๑ สำ.นิทาน. ๑๖/๒๔๙/๑๒๕ ๒ ขุ.อฏฺ. ๒๘/๓๕/๕๗ ๓ ที.อฏฺ. ๕/๙๕/๘๘
๔ ที.มหา. ๑๐/๑๖๓/๑๙๗ ๕ วิ.มหาวิ. ๑/๘๕/๘๕ ๖ ขุ.มหานิ. ๒๙/๗๔๖/๔๕๓
๒๗๓
อฏฺฏาลก (อฏฺฏ อติกฺกมหึสาสุ+อาลก) ป้อม, หอคอย. อฏฺฏติ หึสตีติ อฏฺฏาลโก ป้อมที่เบียดเบียน(ความอิสระ) ชื่อว่าอัฏฏาลกะ. อฏฺฏาลเก จ ทฺวาเร จ มณิมฺหิ ปสฺส
นิมฺมิตํ ๑ จงดูสิ่งที่เนรมิตขึ้นในแก้วมณีที่หอคอยและประตู
[๒๐๕] โตรณํ ตุ พหิทฺวารํ ปริขา ตุ จ ทีฆิกา
มนฺทิรํ สทนาคารํ นิกาโย นิลยาลโย.
[๒๐๖] อาวาโส ภวนํ เวสฺมํ นิเกตนํ นิเวสนํ
ฆรํ คหํ จาวสโถ สรณํ จ ปติสฺสโย.
[๒๐๗] โอกํ สาลา ขโย วาโส ถิยํ กุฏิ วสตฺยปิ
เคหํ จานิตฺถิ สทุมํ เจติยายตนานิ ตุ.
หน้ามุขประตู ๒ ศัพท์
โตรณ (ตุร วารเณ+ยุ) หน้ามุขประตู.
อุปริ มาลาทิยุตฺตํ โสภนถมฺภทฺวยมุภยโต นิขนิตฺวา ยํ พหิทฺวารํ กปฺปียเต, ตํ โตรณํ หน้ามุขที่เขาแกะลวดลายดอกไม้เป็นต้นในช่วงบนของเสา แล้วฝังตั้งไว้ให้สวยงามภายนอกประตู ชื่อว่าโตรณะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). ถวนฺตา วา รณนฺตฺยตฺราติ โตรณํ หรือหน้ามุขประตูที่นักวิจารณ์พากันชมว่าดี ชื่อว่าโตรณะ (ตุ อภิตฺถเว+รณ, วุทธิ อุ เป็น โอ). จตฺตาโร ธนุคฺคหา ชนา โตรณํ นิสฺสาย จาตุทฺทิสาภิมุขา เอเกกํ กณฺฑํ ขิปนฺตุ๒ ให้คนถือธนู ๔ คนยืนอยู่หน้ามุขประตู หันหน้าไปทางทิศทั้ง ๔ แล้วยิงลูกศรไปคนละ ๑ ลูก
พหิทฺวาร (พหิ+ทฺวาร) หน้ามุขประตู.
ทฺวารสฺส พหิ พฺหิทฺวารํ หน้ามุขที่อยู่ภายนอกประตู ชื่อว่าพหิทวาระ
คูรอบเมือง, คลอง ๒ ศัพท์
ปริขา (ปริ+ขณุ อวธารเณ+อ+อา) คูรอบเมือง, คลอง.
ปริ สมนฺตโต ขญฺญเตติ ปริขา คูที่เขาขุดไว้รอบด้าน ชื่อว่าปริขา (ลบ ณฺ). ติสฺโส ปริขาโย กาเรสิ๓ ให้ขุดคูรอบเมือง ๓ ด้าน
ทีฆิกา (ทีฆ+อิก+อา) คูรอบเมือง, คลอง.
ทีฆภาเวน ยุตฺตา ทีฆิกา คูที่มีความยาว ชื่อว่าทีฆิกา. ทีฆิกาวาเฏ ทีฆิกา ทีฆิกาศัพท์ใช้ในบ่อที่มีความยาว
๑ ขุ.ชา. ๒๘/๙๒๓/๓๒๕ ๒ สำ.อฏฺ. ๒/๒๒๘/๒๕๐ ๓ ชา.อฏฺ. ๔๓/๓๒๓
๒๗๔
บ้าน, เรือน, ที่พัก ๒๔ ศัพท์
มนฺทิร (มนฺท โมทนถุติชฬตฺเตสุ+อิร) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
มนฺทนฺเต เอตฺถาติ มนฺทิรํ บ้านเป็นสถานที่ที่คนยินดี ชื่อว่ามันทิระ. มนฺทิรํ การาเปตฺวา๑ ให้สร้างเรือน
สทน (สท วิสรณคตฺยาวสาเนสุ+ยุ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
สทนฺติ เอตฺถาติ สทนํ บ้านเป็นสถานที่พักอาศัย ชื่อว่าสทนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน)
อคาร, อาคาร (น+คมุ คติมฺหิ+อร) อาคาร, บ้าน, เรือน, ที่พัก.
น คจฺฉนฺตีติ อคา, ถมฺภาทโย วัตถุที่ไม่เคลื่อนย้ายไป ชื่อว่าอคา มีเสาเรือนเป็นต้น. อเค ราติ คณฺหาตีติ อคารํ, อาคารํ บ้านที่ตรึงไว้กับเสาเป็นต้น ชื่อว่าอคาระ และ อาคาระ (อาเทศ น เป็น อ, คมุ เป็น ค, ทีฆะ อ เป็น อา บ้าง)
ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ วุฏฺฐี น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ ราโค น สมติวิชฺฌติ.๒
ฝนย่อมตกรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด ราคะย่อมรั่วรดจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น
นิกาย (นิ+จิ จเย+ย) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
นิจียเต ฉาทียเตติ นิกาโย บ้านที่บุคคลมุงบังไว้ ชื่อว่านิกายะ (อาเทศ จิ เป็น กา)
นิลย (นิ+ลี สิเลสเน+ณ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
นิลียตีติ นิลโย บ้านที่บุคคลอิงอาศัยอยู่ ชื่อว่านิลยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย)
อาลย (อา+ลี สิเลสเน+ณ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
อาลียตีติ อาลโย บ้านที่บุคคลอิงอาศัยอยู่ ชื่อว่าอาลยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย). อาลโย อาราโม เอติสฺสา๓ บ้านอันร่มรื่นของหญิงนั้น
อาวาส (อา+วส นิวาเส+ณ) บ้าน, เรือน, ที่พัก, อาวาส, วัด.
อาวสนฺติ อตฺราติ อาวาโส สถานที่สำหรับอยู่อาศัย ชื่อว่าอาวาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ทุฏฺโฐ ภนฺเต กิฏาคิริสฺมึ อาวาโส๔ วัดบนภูเขากิฏาคิรีทรุดโทรมมาก พระพุทธเจ้าข้า
ภวน (ภู สตฺตายํ+ยุ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
ภวนฺติ อตฺราติ ภวนํ เรือนเป็นที่ที่มีคนอยู่อาศัย ชื่อว่าภวนะ (วุทธิ อู เป็น โอ, อาเทศ โอ เป็น อว, ยุ เป็น อน). ตญฺจ ภวนํ นครสฺส อวิทูเร คาวุตมตฺเต ฐิตํ ๕ บ้านนั้นตั้งอยู่ห่างประมาณหนึ่งคาวุต ไม่ไกลจากเมือง
๑ วิ.อฏฺ. ๑/๒๐๐ ๒ ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๑๑/๑๖ ๓ องฺ.อฏฺ. ๑๕๑๒๘/๓๗๗
๔ วิ.มหาวิ. ๑/๖๑๗/๔๑๗ ๕ สำ.อฏฺ. ๑๑/๒๔๖/๓๐๐
๒๗๕
เวสฺม (วิส ปเวสเน+ม) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
วิสนฺติ ตนฺติ เวสฺมํ บ้านที่คนเข้าอยู่ ชื่อว่าเวสมะ (วุทธิ อิ เป็น เอ)
นิเกตน (นิ+กิต นิวาเส+ยุ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
นิเกเตติ เอตฺถาติ นิเกตนํ บ้านเป็นที่อยู่ ชื่อว่านิเกตนะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ ยุ เป็น อน)
นิเวสน (นิ+วิส นิวาเส+ยุ) บ้าน, เรือน, ที่พัก, นิเวศน์.
นิวิสนฺติ เอตฺถาติ นิเวสนํ บ้านเป็นที่อยู่ ชื่อว่านิเวสนะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ ยุ เป็น อน). ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย อายสฺมตา อานนฺเทน ปจฺฉาสมเณน เยน เวรญฺชสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเวสนํ เตนุปสงฺกมิ๑ พระผู้มีพระภาคทรงสบงแล้วถือบาตรและจีวร มีพระอานนท์เป็นผู้ติดตามเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์
ฆร (ฆร เสจเน+อ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
ฆรติ กิเลสเมตฺถาติ ฆรํ บ้านเป็นสถานที่ที่คนหลั่งกิเลส ชื่อว่าฆระ. คยฺหติ เอตฺถาติ วา ฆรํ หรือบ้านที่คนครอบครอง ชื่อว่าฆระ (คห อุปาทาเน+อ, อาเทศ คห เป็น ฆร). เอหิ ภนฺเต ฆรํ คมิสฺสาม๒ มาเถิดท่าน พวกเราจักไปสู่เรือน
คห (คห อุปาทาเน+อ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
คณฺหาติ ปุริเสน อานีตํ ธนนฺติ คหํ บ้านที่เก็บทรัพย์ที่บุรุษหามาได้ ชื่อว่าคหะ. เตสํ คหํ คหภูตํ ๓ เป็นบ้านของคนเหล่านั้น
อาวสถ (อา+วส นิวาเส+ถ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
อาวสนฺติ เอตฺถาติ อาวสโถ บ้านเป็นที่อยู่อาศัย ชื่อว่าอาวสถะ. นาสกฺขิ ตมฺหา อาวสถา ปกฺกมิตุํ ๔ ไม่สามารถออกมาจากบ้านหลังนั้นได้
สรณ (สร คติจินฺตาหึสาสุ+ยุ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
สุภาสุภกมฺมานิ สรนฺติ จินฺเตนฺติ เอตฺถาติ, สรติ วา สูริยสนฺตาปาทิกนฺติ สรณํ บ้านเป็นสถานที่ที่ผู้อาศัยคิดถึงการงานที่ดีและไม่ดี หรือบ้านที่กำบังแสงแดดเป็นต้น ชื่อว่าสรณะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ)
ปติสฺสย (ปติ+สิ เสวายํ+ณ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
ปติสฺสยตีติ ปติสฺสโย บ้านที่คนอาศัยอยู่ ชื่อว่าปติสสยะ (ซ้อน สฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย)
โอก (อุจ สมวาเย+ณ) บ้าน, เรือน.
อุจติ เอตฺถาติ โอกํ บ้านเป็นที่ชุมนุมคน ชื่อว่าโอกะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ จ เป็น ก)
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๙/๑๗ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๖๑๗/๔๑๗ ๓ วิ.ฏี. ๒/๖๔/๑๗๔
๔ วิ.มหาวิ. ๒/๔๗๑/๓๐๖
๒๗๖
สาลา (สล คมเน+ณ+อา) บ้าน, เรือน, ที่พัก, ศาลา.
สลติ คจฺฉติ เอตฺถาติ สาลา ศาลาเป็นที่สำหรับไปอยู่ ชื่อว่าสาลา (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). สเจ อนฺตรามคฺเค สาลา อตฺถิ ตตฺถ ฐเปตพฺพา๑ ถ้าระหว่างทางมีศาลาก็ควรหยุดพักที่นั่น
ขย (ขี ขเย+ณ) บ้าน, เรือน.
ขยตีติ ขโย บ้านที่เสื่อมโทรม ชื่อว่าขยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย)
วาส (วส นิวาเส+ณ) บ้าน, เรือน, ที่พัก, ที่อยู่.
วสนฺติ เอตฺถาติ วาโส บ้านเป็นที่อยู่ ชื่อว่าวาสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). กุหึ คมิสฺสติ ภิกฺขุ กตฺถ วาโส ภวิสฺสติ๒ ภิกษุจักไปที่ไหน ที่อยู่จักมีที่ไหนหรือ
กุฏิ (กุฏ เฉทเน+อิ) บ้าน, เรือน, ที่พัก, กุฏิ.
กุฏนฺติ นิวสนฺติ เอตฺถาติ กุฏิ เรือนเป็นที่อยู่อาศัย ชื่อว่ากุฏิ. สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส กุฏิ โอวสฺสติ๓ กุฏิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพังลงแล้ว
วสติ (วส นิวาเส+ติ) บ้าน, เรือน, ที่พัก.
วสนฺติ เอตฺถาติ วสติ ที่อยู่อาศัย ชื่อว่าวสติ. ถิยํ กุฏิศัพท์ และ วสติศัพท์ ใช้ในอิตถีลิงค์
เคห (คห อุปาทาเน+อ) บ้าน, เรือน, ที่พัก, เคหะ.
ปุริเสน อานีตํ ธนํ คณฺหาตีติ เคหํ เรือนที่เก็บรักษาทรัพย์ที่บุรุษหามา ชื่อว่าเคหะ (อาเทศ อ เป็น เอ). อนิตฺถี เคหศัพท์เป็นปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์. มนุสฺสา เคหํ ปวิสนฺติ๔ พวกมนุษย์พากันเข้าไปยังเรือน
สทุม (สท นิวาเส+อุม) บ้าน, เรือน.
สทนฺติ เอตฺถาติ สทุมํ บ้านเป็นสถานที่อยู่ ชื่อว่าสทุมะ
พุทธสถาน, ศาลเจ้า, เจดีย์ ๒ ศัพท์
เจติย (จิต ปูชายํ+ณฺย) พุทธสถาน, ศาลเจ้า, เจดีย์.
เจติตพฺพํ ปูเชตพฺพนฺติ เจติยํ สถานที่ที่คนบูชา ชื่อว่าเจติยะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, ลง อิ อาคม). อิฏฺฐกาทีหิ จยิตพฺพนฺติ เจติยํ สถานที่ที่บุคคลควรก่อด้วยอิฐเป็นต้น ชื่อว่าเจติยะ (จิ จเย+ย, อาเทศ จิ เป็น เจต, ลง อิ อาคม). ภควา เยน ปาวาลํ เจติยํ เตนุปสงฺกมิ๕ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้ายังปาวาลเจดีย์
อายตน (อา+ยต ยตเน+ยุ) พุทธสถาน, ศาลเจ้า.
อายตนฺติ วายมนฺติ เอตฺถ ผลกามาติ อายตนํ สถานที่ที่มนุษย์ผู้หวังผลพากันพยายาม ชื่อว่าอายตนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน). อายานิ ตโนตีติ อายตนํ สถานที่ที่กระจายผลกำไร ชื่อว่าอายตนะ (อาย+ตนุ วิตฺถาเร+อ)
๑ วิ.อฏฺ. ๒/๓๓๓ ๒ ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๓๓/๔๐๖ ๓ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๔๒๐/๓๘๖
๔ ที.สีล. ๙/๑๓๗/๑๐๙ ๕ ที.มหา. ๑๐/๙๔/๑๒๐
๒๗๗
[๒๐๘] ปาสาโท เจว ยูโปถ มณฺฑจฺฉโท จ หมฺมิยํ
ยูโป ตุ คชกุมฺภมฺหิ หตฺถินโข ปติฏฺฐิโต.
ปราสาท, ตึก ๒ ศัพท์
ปาสาท (ป+สท วิสรณคตฺยาวสาเนสุ+ณ) ปราสาท, ตึก.
ปสีทนฺติ นยนมนานฺยตฺราติ ปาสาโท ตึกเป็นที่ยินดีแห่งตาและใจ ชื่อว่าปาสาทะ (ทีฆะ อ ที่ ป เป็น อา, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ปสาทํ โสมนสฺสํ ชเนติ อุปฺปาเทตีติ ปาสาโท๑ ปราสาทที่ยังความโสมนัสให้เกิดขึ้น ชื่อว่าปาสาทะ (ปสาท+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). อายามานนฺท เยน ปุพฺพาราโม มิคารมาตุ ปาสาโท เตนุปสงฺกมิสฺสาม ทิวาวิหาราย๒ มาเถิดอานนท์ พวกเราจักเข้าไปยังปราสาทบุพพารามของนางวิสาขาเพื่อพักกลางวัน
ยูป (ยุ มิสฺสเน+ป) ปราสาท, ตึก.
ยวตีติ ยูโป ปราสาทที่รวมเป็นอาคารเดียวกัน ชื่อว่ายูปะ (ทีฆะ). ยวนฺติ สห วตฺตนฺติ เอตฺถาติ ยูโป ปราสาทที่มีอาคารหลายหลังรวมกัน ชื่อว่ายูปะ. ยูโป รญฺญา มหาปนาเทน การาปิโต๓ ปราสาทที่พระเจ้ามหาปนาทะให้สร้างไว้
ปราสาทโล้น, กระโจม, โดม ๒ ศัพท์
มุณฺฑจฺฉท (มุณฺฑ+ฉท) ปราสาทโล้น, กระโจม, โดม, เรือนทรงกลาคว่ำ.
มุณฺโฑ ฉทนเมตสฺส น ปาสาทสฺส วิยาติ มุณฺฑจฺฉโท โดมที่มีหลังคาโล้นทรงมน ดูไม่เหมือนปราสาท ชื่อว่ามุณฑัจฉทะ (ซ้อน จฺ). โดมมุณฑัจฉทะ คือบ้านของคนยากจน รูปทรงเหมือนเตาเผาถ่าน หรือเหมือนกะลาคว่ำ อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นหอดูดวงจันทร์และดาว. มุณฺฑจฺฉทนปาสาโทติ จนฺทิกงฺคณยุตฺโต ปาสาโท๔ ปราสาทที่มีระเบียงสำหรับนั่งชมแสงจันทร์ ชื่อว่ามุณฑัจฉทนปราสาท
หมฺมิย (หร หรเณ+อิ+ย) ปราสาทโล้น, กระโจม, โดม.
สุขํ หรตีติ หมฺมิยํ ปราสาทที่นำมาซึ่งความสุข ชื่อว่าหัมมิยะ (ลง มฺ อาคม, อาเทศ รฺ เป็น มฺ). อติเรกลาโภ วิหาโร อฑฺฒโยโค ปาสาโท หมฺมิยํ คุหา๕ อดิเรกลาภคือวิหาร เรือนปีกครุฑ ปราสาท ปราสาทโล้น ถ้ำ
ป้อมปราสาท
หตฺถินข (หตฺถิ+นข) ป้อมปราสาท.
ทุคฺคทฺวารปุรทฺวาเร วา ยตฺถ กตฺถจิ วา มตฺติกาทิมเย คชกุมฺภมฺหิ โย ยูโป ปาสาโท ปติฏฺฐิโต, โส หตฺถินโข นาม ปราสาทที่ก่อด้วยดินเหนียวเป็นต้น ตั้งอยู่บนเนินหัวช้าง เป็นปราสาทติดประตูเมืองหรือที่ใดที่หนึ่ง ชื่อว่าหัตถินขะ. หตฺถิสฺเสว นโข ยสฺสาติ หตฺถินโข ปราสาทที่รูปทรงเหมือนเล็บเท้าช้าง ชื่อว่าหัตถินขะ. วิสาขา มิคารมาตา สงฺฆสฺส อตฺถาย สาลินฺทํ ปาสาทํ การาเปตุกามา โหติ หตฺถินขกํ ๖ นางวิสาขามิคารมารดา ประสงค์จะให้สร้างปราสาทมีระเบียง รูปทรงเหมือนเท้าช้าง เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์
๑ ขุ.อฏฺ. ๕๐/๓๕/๑๖๘ ๒ ม.มูล. ๑๒/๓๑๒/๓๑๒ ๓ ที.ปาฏิก. ๑๑/๔๘/๘๔
๔ วิ.ฏี. ๓/๙๒/๑๕๑ ๕ วิ.มหา. ๔/๑๔๓/๑๙๓ ๖ วิ.จุลฺล. ๗/๒๙๐/๑๓๑
๒๗๘
[๒๐๙] สุปณฺณวงฺกจฺฉทน- มฑฺฒโยโค สิยาถ จ
เอกกูฏยุโต มาโฬ ปาสาโท จตุรสฺสโก.
เรือนปีกครุฑ, เรือนที่มุงหลังคาลาดลงด้านเดียว ๒ ศัพท์
สุปณฺณวงฺกจฺฉทน (สุปณฺณ+วงฺก+ฉทน) เรือนปีกครุฑ, เรือนที่มุงหลังคาลาดลงด้านเดียว, เรือนที่มีหลังคาเพิงแหงน.
สุปณฺณสฺส ครุฬสฺส วงฺเกน ปกฺเขน สทิสฉทนํ เคหํ สุปณฺณวงฺกจฺฉทนํ เรือนที่มุงหลังคาเหมือนปีกข้างเดียวของครุฑ ชื่อว่าสุปัณณวังกัจฉทนะ (ซ้อน จฺ)
อฑฺฒโยค (อฑฺฒ+โยค) เรือนปีกครุฑ, เรือนมุงแถบเดียว, เรือนที่มีหลังคาเพิงแหงน.
เอกปสฺเสเยว ฉทนโต อฑฺเฒน โยโค อฑฺฒโยโค เพราะเป็นเรือนที่หลังคามุงข้างเดียว จึงชื่อว่าอัฑฒโยคะ. อุปาสเกน สงฺฆํ อุทฺทิสฺส อฑฺฒโยโค การาปิโต โหติ๑ อุบาสกให้สร้างเรือนปีกครุฑอุทิศถวายสงฆ์
เรือนยอดเดียว
มาฬ (มา มาเน+ฬ) เรือนยอดเดียว, ปรางค์.
มียติ ปริมียตีติ มาโฬ เรือนที่คนชอบนับ ชื่อว่ามาฬะ. เอเกเนว กูเฏน ยุตฺโต อเนกโกโณ ปติสฺสยวิเสโส มาโฬ นาม เรือนพิเศษมีหลายมุมแต่มียอดเดียวเท่านั้น ชื่อว่ามาฬะ. วฏฺฏากาเรน กตเสนาสนนฺติ เกจิ บางอาจารย์กล่าวว่า เป็นเรือนที่ทำเป็นทรงกลม. มาโฬ การาปิโต โหติ๒ ให้สร้างเรือนยอดเดียว
เรือนจตุรมุข, ปราสาท
ปาสาท (ปสาท+ณ) เรือนจตุรมุข, ปราสาท.
ปสาทํ โสมนสฺสํ ชเนติ อุปฺปาเทตีติ ปาสาโท๓ เรือนที่ให้ความโสมนัสเกิดขึ้น ชื่อว่าปาสาทะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). จตุรสฺโส ปติสฺสยวิเสโส ปาสาโท นาม เรือนพิเศษที่มีสี่มุข ชื่อว่าปาสาทะ. อายตจตุรสฺสปาสาโทติ เกจิ บางอาจารย์กล่าวว่า เป็นปราสาทที่มีมุขทั้งสี่ด้านยื่นยาวออกไป. ปาสาโท จตุรสฺสปาสาโท๔ ปราสาทจตุรมุข ชื่อว่าปาสาทะ
๑ วิ.มหา. ๔/๒๑๐/๒๗๕ ๒ วิ.มหา. ๔/๒๑๐/๒๗๗ ๓ ขุ.อฏฺ. ๕๐/๓๕/๑๖๘
๔ วิสุทฺธิ.ฏี. ๑/๓๐/๗๙
๒๗๙
[๒๑๐] สภายํ จ สภา จาถ มณฺฑปํ วา ชนาลโย
อโถ อาสนสาลายํ ปฏิกฺกมนมีริตํ.
สภา, ที่ประชุม, ห้องโถง, โรง ๒ ศัพท์
สภาย (สนฺตสทฺทูปปท+ภา ทิตฺติยํ+ย) สภา, ที่ประชุม, ห้องโถง, โรง.
สนฺเตหิ ภาติ ทิพฺพตีติ สภายํ สถานที่อันรุ่งเรืองด้วยสัตบุรุษ ชื่อว่าสภายะ (อาเทศ สนฺต เป็น ส). สภาเย วา ทฺวารมูเล วา หตฺถปาสา วา น วิชหิตพฺพํ ๑ ภิกษุไม่พึงละหัตถบาสไม่ว่าในห้องโถงหรือริมประตู
สภา (สนฺตสทฺทูปปท+ภา ทิตฺติยํ+กฺวิ) สภา, ที่ประชุม, ห้องโถง, โรง.
สนฺเตหิ ภาติ ทิพฺพตีติ สภา สถานที่อันรุ่งเรืองด้วยสัตบุรุษ ชื่อว่าสภา (อาเทศ สนฺต เป็น ส, ลบ กฺวิ ปัจจัย). เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต๒ ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา
มณฑป, ปะรำ ๒ ศัพท์
มณฺฑป (มนฺฑาสทฺทูปปท+ปี นาสเน+อ) มณฑป, ปะรำ.
มณฺฑา รวิรํสโย, เต ปิวติ นาสยตีติ มณฺฑโป มณฺฑา มัณฑาหมายถึงแสงแดด, ปะรำที่บังแสงแดดให้เย็นลง ชื่อว่า มัณฑปะ. วา มณฺฑปศัพท์นี้เป็นได้ทั้งปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. โกนาคมนพุทฺธสฺส มณฺฑโป การิโต มยา๓ เราให้สร้างมณฑปเพื่อพระพุทธเจ้านามว่าโกนาคมนะ
ชนาลย (ชน+อาลย) มณฑป, ปะรำ, ที่พักของชน.
ชนานํ อาลโย สนฺนิปาตฏฺฐานํ ชนาลโย สถานที่ชุมนุมกันของผู้คน ชื่อว่าชนาลยะ (ลบสระหน้า)
หอฉัน, โรงอาหาร ๒ ศัพท์
อาสนสาลา (อาสน+สาลา) หอฉัน, โรงอาหาร.
อาสนตฺถาย กตา สาลา อาสนสาลา ศาลาที่สร้างไว้เพื่อเป็นโรงอาหาร ชื่อว่าอาสนสาลา. อาสนสาลายํ อุทกภาชนํ ริตฺตํ โหติ๔ ภาชนะใส่น้ำในหอฉันว่างเปล่า
ปฏิกฺกมน (ปติ+กมุ ปทวิกฺเขเป+ยุ) หอฉัน, โรงอาหาร.
ปฏิกฺกมนฺติ เอตฺถาติ ปฏิกฺกมนํ สถานที่ที่ภิกษุพากันเดินมุ่งหน้าไป ชื่อว่าปฏิกกมนะ (อาเทศ ต เป็น ฏ, ยุ เป็น อน, ซ้อน กฺ). อญฺญตโร ปิณฺฑจาริโก ภิกฺขุ วิสคตํ ปิณฺฑปาตํ ลภิตฺวา ปฏิกฺกมนํ หริตฺวา ภิกฺขูนํ อคฺคการิกํ อทาสิ๕ ภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ได้อาหารบิณฑบาตเจือยาพิษมาแล้ว นำไปสู่หอฉัน ถวายให้แก่ภิกษุทั้งหลายฉันก่อน
๑ วิ.มหาวิ. ๒/๑๔/๑๑ ๒ สำ.สคาถ. ๑๕/๗๒๕/๒๗๐ ๓ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๔๓/๒๕๗
๔ วิ.อฏฺ. ๒/๖๒ ๕ วิ.มหาวิ. ๑/๒๑๐/๑๕๐
๒๘๐
[๒๑๑] ชินสฺส วาสภวน- มิตฺถี คนฺธกุฏิ ปฺยถ
ถิยํ รสวตี ปาก- ฏฺฐานํ เจว มหานสํ.
พระคันธกุฎี, ที่ประทับของพระพุทธเจ้า
คนฺธกุฏิ (คนฺธ+กุฏิ) พระคันธกุฎี.
ทิพฺพคนฺเธหิ ปริภาวิตา กุฏิ คนฺธกุฏิ กุฏิที่อบด้วยกลิ่นทิพย์ ชื่อว่าคันธกุฏิ. ชินสฺส วาสภวนมิตฺถี คนฺธกุฏิ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า คันธกุฏิ. อิตฺถี คนฺธกุฏิศัพท์เป็นอิตถีลิงค์. กูฏาคารสาลา ปน มหาวนํ นิสฺสาย กเต อาราเม กูฏาคารํ อนฺโตกตฺวา หํสวฏฺฏกจฺฉนฺเนน กตา สพฺพาการสมฺปนฺนา พุทฺธสฺส ภควโต คนฺธกุฏิ เวทิตพฺพา๑ ส่วนศาลาเรือนยอด พึงทราบว่าเป็นพระคันธกุฎีที่สร้างไว้สำหรับเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ในอารามที่อยู่กลางป่าใหญ่ซึ่งมีทุกอย่างครบถ้วน มียอดตรงกลาง มีหลังคาเป็นรูปหงส์ล้อมเป็นวงกลม
โรงครัว ๓ ศัพท์
รสวตี (รสวนฺตุ+อี) โรงครัว.
รสานิ สนฺติ อสฺสนฺติ รสวตี โรงครัวเป็นที่ที่มีรสต่างๆ ชื่อว่ารสวตี (อาเทศ นฺตุ เป็น ต). ถิยํ รสวตีศัพท์ใช้ในอิตถีลิงค์. รสวตี การาปิตา โหติ๒ ให้สร้างโรงครัว
ปากฏฺฐาน (ปาจก+ฐาน) โรงครัว.
ปจนํ ปาโก การหุงต้ม ชื่อว่าปากะ (ปจ ปาเก+อ, วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ จ เป็น ก). ตสฺส ฐานํ ปากฏฺฐานํ ที่สำหรับหุงต้มนั้น ชื่อว่าปากัฏฐานะ (ซ้อน ฏฺ). อิเมสุ ปากฏฺฐานวเสน จตุพฺพิเธสุ กมฺเมสุ๓ ในกรรม ๔ อย่าง อันกระทำในโรงครัว
มหานส (มหนฺต+อส ภกฺขเน+ยุ) โรงครัว.
มหนฺตานิ พหูนิ อสิตพฺพานิ สนฺเตตฺถาติ มหานสํ โรงครัวเป็นสถานที่ที่มีของควรกินอยู่เป็นอันมาก จึงชื่อว่ามหานสะ (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา, ยุ เป็น อน, กลับ สน เป็น นส). ปาสาทา โอรุยฺห มหานสํ ปวิสิตฺวา๔ ลงจากปราสาทแล้วเข้าไปสู่โรงครัว
๑ มชฺ.อฏฺ. ๘/๓๕๓/๑๗๕ ๒ วิ.มหา. ๔/๒๑๐/๒๗๗ ๓ อภิ.ฏี. ๑๗๔
๔ ธมฺม.อฏฺ. ๒๓/๑๗๒
๒๘๑
[๒๑๒] อาเวสนํ สิปฺปสาลา โสณฺฑา ตุ ปานมนฺทิรํ
วจฺจฏฺฐานํ วจฺจกุฏิ มุนีนํ ฐานมสฺสโม.
โรงเรียน, โรงงาน, โรงฝึกงาน ๒ ศัพท์
อาเวสน (อา+วิส อาเวสเน+ยุ) โรงเรียน, โรงงาน, โรงฝึกงาน.
อาวิสนฺติ อสฺมินฺติ อาเวสนํ โรงเรียนที่มีนักเรียนเข้าไปเรียนอยู่ ชื่อว่าอาเวสนะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ ยุ เป็น อน). สุวณฺณการาทิสิปฺปีนํ กมฺมสาลา อาเวสนํ สถานที่ที่ทำงานของคนมีความรู้ มีช่างทองเป็นต้น ชื่อว่าอาเวสนะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ ยุ เป็น อน). คจฺฉถ ภิกฺขเว ฆฏิการสฺส กุมฺภการสฺส อาเวสนํ อุตฺติณํ กโรถ๑ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปรื้อหญ้าที่มุงโรงงานของฆฏิการะช่างหม้อ
สิปฺปสาลา (สิปฺป+สาลา) โรงเรียน, โรงงาน, โรงฝึกงาน.
สิปฺปานํ สาลา สิปฺปสาลา โรงเรียนเป็นแหล่งความรู้ ชื่อว่าสิปปสาลา. ปาโตว อุฏฺฐาย สิปฺปสาลํ คจฺฉนฺติ๒ พากันตื่นขึ้นไปโรงเรียนแต่เช้าตรู่
ร้านสุรา, ร้านเหล้า ๒ ศัพท์
โสณฺฑา (สน ทาเน+ฑ+อา) ร้านสุรา, ร้านเหล้า.
กตฺตพฺพากตฺตพฺพํ อวิจาเรตฺวา อตฺตนา อิจฺฉิตวตฺถุการณา สพฺพํ เทยฺยธมฺมํ สโนนฺตีติ โสณฺฑา นักดื่มผู้ไม่พิจารณาสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ให้ทรัพย์สินทุกอย่าง เพราะน้ำเมาอันตนปรารถนาเป็นเหตุ ชื่อว่าโสณฑะ (อาเทศ อ เป็น โอ, นฺ เป็น ณฺ). เตสํ เอสา วสตีติ โสณฺฑา ร้านอันเป็นที่อยู่ของนักดื่มนั้น ชื่อว่าโสณฑา. ปานสทฺทสนฺนิธานา สุราโสณฺฑาเยวิธ คหิตา ในที่นี้ท่านหมายถึงการรวมเอา ปานศัพท์เข้าไปด้วยเป็น สุราโสณฺฑา ร้านของนักดื่มสุรา
ปานมนฺทิร (ปาน+มนฺทิร) ร้านสุรา, ร้านเหล้า.
สุราปานตฺถํ กตมนฺทิรํ ปานมนฺทิรํ นาม ร้านที่เขาสร้างไว้เพื่อการดื่มสุรา ชื่อว่าปานมันทิระ
เวจกุฎี, วัจกุฎี, ที่ถ่ายอุจจาระ, ห้องส้วม ๒ ศัพท์
วจฺจฏฺฐาน (วจฺจ+ฐาน) เวจกุฎี, ที่ถ่ายอุจจาระ, ห้องส้วม.
วจฺจสฺส คูถสฺส วิสชฺชนฏฺฐานํ วจฺจฏฺฐานํ สถานที่สำหรับถ่ายอุจจาระ ชื่อว่าวัจจัฏฐาน (ซ้อน ฏฺ). อิทํ วจฺจฏฺฐานํ อิทํ ปสฺสาวฏฺฐานํ อิทํ ปานียํ อิทํ ปริโภชนียํ ๓ นี่ที่ถ่ายอุจจาระ นี่ที่ถ่ายปัสสาวะ นี่น้ำฉัน นี่น้ำใช้
วจฺจกุฏิ (วจฺจ+กุฏิ) เวจกุฎี, ที่ถ่ายอุจจาระ, ห้องส้วม.
วจฺจสฺส วิสชฺชนฏฺฐานา กุฏิ วจฺจกุฏิ กุฎีเป็นที่สำหรับถ่ายอุจจาระ ชื่อว่าวัจจกุฏิ. เตนหิ ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ วจฺจกุฏิวตฺตํ ปญฺญาเปสฺสามิ๔ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเราจักบัญญัติเวจจกุฎีวัตรสำหรับภิกษุ
๑ มชฺ.มชฺ. ๑๓/๔๒๐/๓๘๖ ๒ สำ.อฏฺ. ๑๒/๒๓๐/๒๕๓ ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๕๔๓/๓๗๐
๔ วิ.จุลฺล. ๗/๔๓๖/๒๔
๒๘๒
อาศรม, ที่อยู่ของฤาษี
อสฺสม (อา+สมุ อุปสเม+อ) อาศรม, ที่อยู่ของฤาษี.
มุนีนํ อิสีนํ วสนฏฺฐานํ อสฺสโม นาม สถานที่ที่พวกฤาษีอยู่ ชื่อว่าอัสสมะ. อา โกธํ สเมนฺติ เอตฺถาติ อสฺสโม อาศรมเป็นสถานที่ที่ข่มความโกรธ ชื่อว่าอัสสมะ. อา ภุโส สเมนฺติ เอตฺถ ราคาทโยติ วา อสฺสโม หรืออาศรมเป็นสถานที่ที่ระงับราคะกิเลสเป็นต้นได้แน่นอน ชื่อว่าอัสสมะ (ซ้อน สฺ, รัสสะ อา เป็น อ). อา สมนฺตโต กายจิตฺตปีฬาสงฺขาตา ปริสฺสยา สมนฺติ เอตฺถาติ อสฺสโม อาศรม เป็นสถานที่ซึ่งอันตรายอันบีบคั้นกายและจิตรอบด้านสงบลง ชื่อว่าอัสสมะ. ภควา เยน อุรุเวลกสฺสปสฺส ชฏิลสฺส อสฺสโม เตนุปสงฺกมิ๑ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอาศรมของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ
[๒๑๓] ปณฺยวิกฺกยสาลา ตุ อาปโณ ปณฺยวีถิกา
อุทฺโทสิโต ภณฺฑสาลา จงฺกมนํ ตุ จงฺกโม.
ร้านค้า, ตลาด, ห้างสรรพสินค้า ๓ ศัพท์
ปณฺยวิกฺกยสาลา (ปณฺย+วิกฺกย+สาลา) ร้านค้า, ตลาด, ห้างสรรพสินค้า.
ปณิตพฺพาติ ปณฺยา, วตฺถาทโย สินค้าที่ควรขายมีผ้าเป็นต้น ชื่อว่าปัณยะ (ปณ กยวิกฺกเย+ย). เต เอตฺถ วิกฺกิณนฺตีติ ปณฺยวิกฺกโย แหล่งที่มีผ้าเป็นต้นไว้ขาย ชื่อว่าปัณยวิกกยะ (ปณฺยสทฺทูปปท+วิ+กี ทพฺพวินิมเย+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย, ซ้อน กฺ). โส เอว สาลา เคหนฺติ ปณฺยวิกฺกยสาลา แหล่งที่มีสินค้าขายนั่นแหละ ชื่อว่าปัณยวิกกยสาลา
อาปณ (อา+ปณ กยวิกฺกเย+ณ) ร้านค้า, ตลาด.
อาปณยนฺเต พฺยวหรนฺเต อสฺมินฺติ อาปโณ แหล่งที่ขายสินค้า ชื่อว่าอาปณะ (ลบ ณฺ). อาปโณ การาปิโต โหติ๒ ให้สร้างร้านค้า
ปณฺยวีถิกา (ปณฺย+วีถิ+ก+อา) ร้านค้า, ตลาด.
ปณฺยานํ วิกฺกยาย นียมานานํ วีถิ ปนฺโถ ปณฺยวีถิกา ถนนสำหรับผู้นำสินค้ามาขาย ชื่อว่าปัณยวีถิกา
โรงเก็บของ, คลังพัสดุ, โรงเก็บน้ำ ๒ ศัพท์
อุทฺโทสิต (อุทกสทฺทูปปท+วส อจฺฉาทเน+อิ-ต) โรงเก็บของ, คลังพัสดุ, โรงเก็บน้ำ.
อุทกํ วสิตํ อจฺฉาทนํ กตมเนนาติ อุทฺโทสิโต โรงที่สร้างไว้สำหรับเก็บน้ำ ชื่อว่าอุทโทสิตะ (ลบ ก, ซ้อน ทฺ, อาเทศ ว เป็น โอ). เอกกุลสฺส อุทฺโทสิโต โหติ๓ โรงเก็บของของตระกูลหนึ่ง
ภณฺฑสาลา (ภณฺฑ+สาลา) โรงเก็บของ, คลังพัสดุ.
ภณฺฑฏฺฐปนสฺส สาลา ภณฺฑสาลา โรงสำหรับเก็บวัตถุต่างๆ ชื่อว่าภัณฑสาลา. ภณฺฑสาลา อุทฺโทสิตนฺติปิ วุจฺจติ๔ โรงเก็บของ เรียกว่า อุทโทสิตะ บ้าง
๑ วิ.มหา. ๔/๓๗/๔๕ ๒ วิ.มหา. ๔/๒๑๐/๒๗๗ ๓ วิ.มหาวิ. ๒/๑๖/๑๒
๔ วิสุทฺธิ.ฏี. ๑/๓๐/๘๐
๒๘๓
สถานที่เดินจงกรม ๒ ศัพท์
จงฺกมน (กมุ ปทวิกฺเขเป+ยุ) สถานที่เดินจงกรม.
จงฺกมตฺยตฺราติ จงฺกมนํ สถานที่เดินจงกรม ชื่อว่าจังกมนะ (ซ้อน ก หน้าธาตุ, อาเทศ ก เป็น จ, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ, อาเทศ ยุ เป็น อน). จงฺกมนสาลา กาปิตา โหติ๑ ให้สร้างศาลาเพื่อเป็นที่เดินจงกรม
จงฺกม (กมุ ปทวิกฺเขเป+อ) สถานที่เดินจงกรม.
จงฺกมตฺยตฺราติ จงฺกโม สถานที่เดินจงกรม ชื่อว่าจังกมะ (ซ้อน ก หน้าธาตุ, อาเทศ ก เป็น จ, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). น อุจฺเจ จงฺกเม จงฺกมิตพฺพํ ๒ ไม่พึงเดินจงกรมบนที่จงกรมสูง
[๒๑๔] ชนฺตาฆรํ ตฺวคฺคิสาลา ปปา ปานียสาลิกา
คพฺโภ โอวรโก วาสา- คารํ ตุ สยนิคฺคหํ.
เรือนไฟ, โรงบูชาไฟ ๒ ศัพท์
ชนฺตาฆร (ชนฺตา+ฆร) เรือนไฟ, โรงบูชาไฟ.
ชลนฺติ เอตฺถาติ ชนฺตา เรือนเป็นที่ก่อไฟให้ลุกโพลง ชื่อว่าชันตา (ชล ทิตฺติยํ+อนฺต+อา, ลบ ลฺ). ชเนตฺยตฺร อคฺคินฺติ วา ชนฺตา หรือโรงสำหรับก่อไฟ ชื่อว่าชันตา (ชน ชนเน+อนฺต+อา, ลบ นฺ), สา เอว ฆรํ ชนฺตาฆรํ โรงก่อไฟนั่นแหละเป็นเรือน จึงชื่อว่าชันตาฆระ. สเจ อุปชฺฌาโย ชนฺตาฆรํ ปวิสิตุกาโม โหติ๓ หากว่าพระอุปัชฌาย์ประสงค์จะเข้าไปยังเรือนไฟ
อคฺคิสาลา (อคฺคิ+สาลา) เรือนไฟ, โรงบูชาไฟ.
อคฺคิโน สาลา อคฺคิสาลา เรือนแห่งไฟ ชื่อว่าอัคคิสาลา. สเจ อคฺคิสาลา อุกฺลาปา โหติ อคฺคิสาลา สมฺมชฺชิตพฺพา๔ หากว่าเรือนไฟสกปรกก็ควรเก็บกวาด
ศาลาน้ำดื่ม, ประปา ๒ ศัพท์
ปปา (ปสทฺทูปปท+ปา ปิวเน+อ) ศาลาน้ำดื่ม, ประปา.
ปํ ปิวนฺติ อสฺสนฺติ ปปา ศาลาเป็นที่ดื่มน้ำ ชื่อว่าปปา
ยถา นที จ ปนฺโถ จ ปานาคารํ สภา ปปา
เอวํ โลกิตฺถิโย นาม นาสํ กุชฺฌนฺติ ปณฺฑิตา.๕
แม่น้ำ ถนน ร้านสุรา หอประชุม และบ่อน้ำดื่ม เป็นฉันใด ชื่อว่าหญิงชาวโลกก็เป็นฉันนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่โกรธหญิงเหล่านั้น
๑ วิ.มหาวิ. ๒/๒๑๐/๒๗๕ ๒ วิ.จุลฺล. ๖/๓๒๘/๑๓๔ ๓ วิ.มหา. ๔/๘๑/๘๕
๔ วิ.มหา. ๔/๘๑/๘๘ ๕ ขุ.ชา. ๒๗/๖๕/๒๑
๒๘๔
ปานียสาลา, ปานียสาลิกา (ปานีย+สาลา) ศาลาน้ำดื่ม, ประปา.
ปานียฏฺฐา สาลา ปานียสาลา ศาลาเป็นที่ตั้งน้ำดื่มไว้ ชื่อว่าปานียสาลา. สา เอว ปานียสาลิกา ศาลาตั้งน้ำดื่มนั่นแหละ ชื่อว่าปานียสาลิกา (ปนียสาลา+อิ+ก+อา, ลบสระหน้า). อนุชานามิ ภิกฺขเว ปานียสาลํ ปานียมณฺฑปํ ๑ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตศาลาน้ำดื่ม โรงน้ำดื่ม
ห้อง ๒ ศัพท์
คพฺภ (คส คมเน+อภ) ห้อง.
คสตีติ คพฺโภ ห้องที่เป็นไป ชื่อว่าคัพภะ (อาเทศ สฺ เป็น พฺ, ลบ อ). ยสฺมึ คพฺเภ จีวรํ นิกฺขิตฺตํ โหติ๒ ภิกษุเก็บจีวรไว้ในห้องใด
โอวรก (อว รกฺขเณ+อร+ก) ห้อง.
อวติ รกฺขตีติ โอวรโก ห้องที่เก็บรักษาสิ่งของ ชื่อว่าโอวรกะ (อาเทศ อ เป็น โอ). ยสฺมึ โอวรเก จีวรํ นิกฺขิตฺตํ โหติ๓ ภิกษุเก็บจีวรไว้ในห้องใด
ห้องนอน, เรือนพักผ่อน, อาคารที่พัก ๒ ศัพท์
วาสาคาร (วาส+อคาร) ห้องนอน, เรือนพักผ่อน, อาคารที่พัก.
วสนํ วาโส การพักผ่อน ชื่อว่าวาสะ (วส นิวาเส+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ตทตฺถํ อคารํ วาสาคารํ เรือนที่เป็นประโยชน์ต่อการพักผ่อนนั้น ชื่อว่าวาสาคาระ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). วาสาคารํ ฐเปตฺวา๔ เว้นเรือนพักผ่อน
สยนิคฺคห (สยนี+คห) ห้องนอน, เรือนพักผ่อน, อาคารที่พัก.
สยติ เอตฺถาติ สยนี สถานเป็นที่นอน ชื่อว่าสยนี (สิ สเย+ยุ+อี, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย, ยุ เป็น อน). สา เอว คหํ สยนิคฺคหํ สถานที่เป็นที่นอนนั่นแหละเป็นเรือน ชื่อว่าสยนิคคหะ (ซ้อน คฺ, รัสสะ อี เป็น อิ)
[๒๑๕] อิตฺถาคารํ ตุ โอโรโธ สุทฺธนฺโตนฺเตปุรํ ปิ จ
อสพฺพวิสยฏฺฐานํ รญฺญํ กจฺฉนฺตรํ มตํ.
ตำหนักใน, พระราชฐานชั้นใน, เรือนพระสนม, เรือนสาวใช้ ๔ ศัพท์
อิตฺถาคาร (อิตฺถี+อคาร) ตำหนักใน, พระราชฐานชั้นใน, เรือนพระสนม, เรือนสาวใช้.
ราชิตฺถีนมคารํ อิตฺถาคารํ ตำหนักสำหรับหญิงของพระราชา ชื่อว่าอิตถาคาระ (ลบ อี, ทีฆะ อ เป็น อา). ยสสฺส อิตฺถาคาเร สุสานสญฺญา อุปฺปชฺชิ๕ ยสะกุลบุตรเกิดความสำคัญว่า เรือนสาวใช้เป็นเหมือนป่าช้าผีดิบ
๑ วิ.จุลฺล ๗/๒๓๖/๙๙ ๒ วิ.มหาวิ. ๒/๑๕/๑๑ ๓ วิ.มหาวิ. ๒/๒๑/๑๓
๔ วิ.มหาวิ. ๑/๕๒๒/๓๕๖ ๕ ธมฺม.อฏฺ. ๑๘/๙๐
๒๘๕
โอโรธ (อว+รุธ อววรเณ+ณ) ตำหนักใน, พระราชฐานชั้นใน, เรือนพระสนม.
อวรุนฺธียนฺเต ราชิตฺถิโย อเนนาติ โอโรโธ ตำหนักที่กั้นไว้สำหรับพวกนางสนม ชื่อว่าโอโรธะ (อาเทศ อว เป็น โอ, ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). รญฺโญอุเทนสฺส โอโรโธ๑ ตำหนักในของพระเจ้าอุเทน. ปุราเณ คิหิภาเว รญฺโญ โอโรโธ๒ ตำหนักในของพระราชาในครั้งเป็นคฤหัสถ์
สุทฺธนฺต (สุทฺธ+อนฺต) ตำหนักใน, เรือนพระสนม.
สุทฺธา กามาปคมตฺตา ปริสุทฺธา รกฺขกา อนฺเต สมีเป ยสฺสาติ สุทฺธนฺโต ตำหนักที่ใช้คุ้มครองหญิงบริสุทธิ์ไว้ใกล้ชิด เพราะเป็นหญิงที่ไม่เคยเสียความบริสุทธิ์ จึงชื่อว่าสุทธันตะ
อนฺเตปุร (อนฺต+ปุร) ตำหนักใน, พระราชฐานชั้นใน, เรือนพระสนม.
อนฺเต อพฺภนฺตเร ปุรํ เคหํ อนฺเตปุรํ ตำหนักที่อยู่ภายใน ชื่อว่าอันเตปุระ. ปุรสฺส อนฺเตติ วา อนฺเตปุรํ หรือเรือนภายในเมือง ชื่อว่าอันเตปุระ (เป็นอลุตตสมาส). รญฺโญ อนฺเตปุรํ ปวิสิสฺสติ๓ เข้าไปยังพระราชฐานชั้นใน
ที่ส่วนพระองค์
กจฺฉนฺตร (กจฺฉ+อนฺตร) ที่ส่วนพระองค์.
รญฺญํฺํ ราชูนํ อสพฺพวิสยฏฺฐานํ สพฺเพหฺยสาธารณฏฺฐานํ "กจฺฉนฺตร"นฺติ มตํ กถิตํ ที่ส่วนพระองค์ของพระราชา เป็นที่ไม่ทั่วไปสำหรับคนทั้งปวง ท่านเรียกว่ากัจฉันตระ. กจฺฉสฺส ปโกฏฺฐสฺส อนฺตรํ อพฺภนฺตรํ กจฺฉนฺตรํ สถานที่ด้านในประตู ชื่อว่ากัจฉันตระ (ลบสระหน้า). ปโกฏฺฐ นาม อพฺภนฺตรทฺวารํ ภายในประตู ชื่อว่าปโกฏฐะ
[๒๑๖] โสปาโณ วาโรหณํ จ นิสฺเสณี สาธิโรหิณี
วาตปานํ ควกฺโข จ ชาลํ จ สีหปญฺชรํ.
[๒๑๗] อาโลกสนฺธิ วุตฺโตถ ลงฺคิตฺถี ปลิโฆ ภเว
กปิสีโสคฺคลตฺถมฺโภ นิพฺพํ ตุ ฉทฺทโกฏิยํ.
บันไดอิฐ ๒ ศัพท์
โสปาณ (สห+อุปาน) บันไดอิฐ.
อุปาเณน สห วตฺตเตติ โสปาโณ บันไดที่สร้างพร้อมกับเชิง ชื่อว่าโสปาณะ (อาเทศ สห เป็น ส, อุ เป็น โอ, น เป็น ณ). วา โสปาณศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์. เอกํ โสปาณํ โสวณฺณมยํ เอกํ รูปิยมยํ ๔ บันไดด้านหนึ่งทำด้วยอิฐทองคำ อีกด้านหนึ่งทำด้วยอิฐเงิน
อาโรหณ (อา+รุห ชนเน+ยุ) บันไดอิฐ.
อารุยฺหเต เยน ตํ อาโรหนํ บันไดที่ใช้ขึ้นไป ชื่อว่าอาโรหณะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ)
๑ วิ.จุลฺล. ๗/๖๒๕/๓๙๐ ๒ วิ.อฏฺ. ๒/๕๓๕ ๓ วิ.มหาวิ. ๒/๗๓๒/๔๘๔
๔ ที.มหา. ๑๐/๑๗๕/๒๐๖
๒๘๖
บันไดไม้ ๒ ศัพท์
นิสฺเสณี (นิ+สิ เสวายํ+ยุ+อี) บันไดไม้.
นิจฺฉเยน สยนฺติ ปาการาทิกเมตายาติ นิสฺเสณี บันไดไม้เป็นอุปกรณ์ใช้พาดกำแพงเป็นต้น ชื่อว่านิสเสณี (ซ้อน สฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). นิสฺเสวียตีติ นิสฺเสณี บันไดไม้ที่บุคคลใช้ ชื่อว่านิสเสณี. อาโรหตฺถาย ปาสาทํ นิสฺเสณี การิตา มยา๑ เราทำบันไดไม้เพื่อขึ้นสู่ปราสาท
อธิโรหิณี (อธิ+รุห ชนเน+อ+อินี) บันไดไม้.
อุทฺธมาโรหเต เอตายาติ อธิโรหิณี บันไดไม้ที่ช่วยให้ขึ้นไปได้ ชื่อว่าอธิโรหิณี (วุทธิ อุ เป็น โอ, น เป็น ณ). สาศัพท์ในคาถาแสดงให้รู้ว่า นิสฺเสณีศัพท์ และ อธิโรหิณีศัพท์ เป็นอิตถีลิงค์
หน้าต่าง, ช่องลม ๕ ศัพท์
วาตปาน (วาตสทฺทูปปท+ปา ปาเน+ยุ) หน้าต่าง, ช่องลม.
วาตํ ปิวตีติ วาตปานํ หน้าต่างที่รับลม ชื่อว่าวาตปานะ (อาเทศ ยุ เป็น อน). อายสฺมา อุทายิ เอกจฺเจ วาตปาเน วิวรนฺโต เอกจฺเจ ถเกนฺโต๒ ท่านพระอุทายีเปิดหน้าต่างบางบาน ปิดบางบาน
ควกฺข (โค+อกฺขิ) หน้าต่าง.
ควํ อกฺขิ ควกฺโข ช่องมองของเรือน ชื่อว่าควักขะ (อาเทศ โอ เป็น อว, อิ เป็น อ). คาเว อกฺขติ อเนนาติ ควกฺโข ช่องที่ใช้ดูโค ชื่อว่าควักขะ (โคสทฺทูปปท+ อกฺข ทสฺสเน+อ, อาเทศ โอ เป็น อว)
ชาล (ชล ทิตฺติยํ+ณ) หน้าต่าง, ช่องลม.
ชลติ ทิพฺพตีติ ชาลํ หน้าต่างที่ให้แสงสว่าง ชื่อว่าชาละ (ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา)
สีหปญฺชร (สีห+ปญฺชร) หน้าต่าง, ช่องลม.
สีหรูปยุตฺตํ ปฺญฺชรํ สีหปญฺฺชรํ หน้าต่างที่มีรูปสิงห์ ชื่อว่าสีหปัญชระ. จตุภูมิกาทีสุ ปาสาเทสุ สีหปญฺชรํ วิวริตฺวา มหาชโน๓ มหาชนเปิดหน้าต่างบนปราสาท ๔ ชั้นเป็นต้น
อาโลกสนฺธิ (อาโลก+สนฺธิ) หน้าต่าง, ช่องรับแสง.
อาโลกานํ อาตปานํ ปวิสนฏฺฐานํ สนฺธิ ฉิทฺทนฺติ อาโลกสนฺธิ หน้าต่างที่เป็นช่องให้แสงสว่างเข้าไป ชื่อว่าอาโลกสันธิ. วุตฺโต อาโลกสนฺธิศัพท์ท่านกล่าวว่าเป็นปุงลิงค์. สงฺฆสฺส อาโลกสนฺธึ ... อวหริ๔ ขโมยบานหน้าต่างของสงฆ์ไป
๑ ขุ.อปทาน. ๓๒/๑๗๔/๒๗๕ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๓๗๗/๒๕๑ ๓ วิ.อฏฺ. ๓/๗๕
๔ วิ.มหาวิ. ๑/๑๖๙/๑๒๓
๒๘๗
ดาลเหล็ก, กลอนเหล็ก, ลิ่ม, สายยู, โซ่คล้องประตู ๒ ศัพท์
ลงฺคี (ลคิ คติยํ+อ+อี) ดาลเหล็ก, กลอนเหล็ก, ลิ่ม, สายยู, โซ่คล้องประตู.
ลคิยตีติ ลงฺคี ดาลที่บุคคลใช้เลื่อนปิดเปิด ชื่อว่าลังคี (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). อิตฺถี ลงฺคีศัพท์เป็นอิตถีลิงค์. ลงฺคี นาม รตฺตึ ธูมายติ ทิวา ปชฺชลติ๑ ธรรมดาดาลเหล็ก กลางคืนมืดมองไม่เห็น กลางวันสว่างมองเห็น
ปลิฆ (ปริ+หน หึสายํ+ณ) ดาลเหล็ก, กลอนเหล็ก, ลิ่ม, สายยู, โซ่คล้องประตู.
ปริ ปุนปฺปุนํ คมนาคมนวเสน หนฺตีติ ปลิโฆ ดาลเหล็กที่เสียดสีด้วยการเลื่อนไปเลื่อนมา ชื่อว่าปลิฆะ (อาเทศ หนฺ เป็น ฆ, ร เป็น ล, ลบ ณฺ). อนุชานามิ ภิกฺขเว โกฏฺฐกํ อเปสึ ยมกกวาฏํ โตรณํ ปลิฆํ ๒ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า(วงกบ) รูครกรับดาลประตู เดือยประตู ห่วงคล้องด้านบน สายยู
เสาประตู, วงกบประตู, คันทวย ๒ ศัพท์
กปิสีส (กปิ+สีส) เสาประตู, วงกบประตู, คันทวย.
อคฺคฬตฺถมฺโภ กปิรูปมตฺถกตฺตา กปิสีโส เสาประตู ชื่อว่ากปิสีสะ เพราะหัวเสาเป็นรูปลิง. อายสฺมา อานนฺโท วิหารํ ปวิสิตฺวา กปิสีสํ อาลมฺพิตฺวา โรทมาโน อฏฺฐาสิ๓ ท่านพระอานนท์เข้าไปสู่วิหาร ยืนเหนี่ยวคันทวย ร้องไห้อยู่
อคฺคฬตฺถมฺภ (อคฺคล+ถมฺภ) เสาประตู, วงกบประตู, คันทวย.
อคฺคฬํ นาม กวาฏโก บานประตู ชื่อว่าอัคคฬะ, ตสฺส ถมฺโภ อคฺคฬตฺถมฺโภ เสาของบานประตูนั้น ชื่อว่าอัคคฬัตถัมภะ (ซ้อน ตฺ). อคฺคฬํ ตีสุ กลฺโลเล ทณฺเฑ จานฺตกวาเฏสุ อคฺคฬศัพท์มีอรรถ ๓ อย่าง คือ คลื่น ไม้ และบานประตู. อคฺคฬวฏฺฏิ นาม ทฺวารพาหาย สมปฺปมาโณเยว อคฺคฬตฺถมฺโภ วุจฺจติ๔ เสาประตูที่มีขนาดเสมอกับบานประตู เรียกว่า อัคคฬัตถัมภะ
ชายคา ๒ ศัพท์
นิพฺพ (นิ+อพฺพ คติหึสาสุ+อ) ชายคา.
นิสฺเสสโต อพฺพติ วสฺโสทกมเนนาติ นิพฺพํ ชายคาเป็นทางให้น้ำฝนไหลผ่านไปไม่เหลือ ชื่อว่านิพพะ (ลบ อ ต้นธาตุ)
ฉทฺทโกฏิ (ฉทฺท+โกฏิ) ชายคา.
ฉทฺทสฺส โกฏิ เหฏฺฐิมาวสานํ ฉทฺทโกฏิ ปลายล่างสุดของหลังคา ชื่อว่าฉัททโกฏิ
๑ มชฺ.อฏฺ. ๘/๒๔๙/๓๔ ๒ วิ.จุลฺล. ๗/๒๓๙/๑๐๑ ๓ ที.มหา. ๑๐/๑๓๕/๑๖๖
๔ วิ.อฏฺ. ๓/๓๔๓
๒๘๘
[๒๑๘] ฉทนํ ปฏลํ ฉทฺท- มชิรํ จจฺจโรงฺคณํ
ปฆาโน ปฆนาลินฺโท ปมุขํ ทฺวารพนฺธนํ.
หลังคา ๓ ศัพท์
ฉทน (ฉท สํวรเณ+ยุ) หลังคา.
ฉาเทติ เอเตนาติ ฉทนํ หลังคาเป็นเครื่องมุง ชื่อว่าฉทนะ (อาเทศ ยุ เป็น อน). อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจ ฉทนานิ อิฏฺฐกาฉทนํ สิลาฉทนํ สุธาฉทนํ ติณจฺฉทนํ ปณฺณจฺฉทนํ ๑ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหลังคา ๕ ชนิด คือ กระเบื้อง ศิลา ปูน หญ้า ใบไม้
ปฏล (ปฏ คมเน+อล) หลังคา.
ปฏติ คจฺฉตีติ ปฏลํ หลังคาทั่วๆไป ชื่อว่าปฏละ
ฉทฺท (ฉท สํวรเณ+อ) หลังคา.
ฉาเทติ เอเตนาติ ฉทฺทํ หลังคาเป็นเครื่องมุง ชื่อว่าฉัททะ (ซ้อน ทฺ)
สนาม, ลาน, เนิน ๓ ศัพท์
อชิร (อช คติมฺหิ+อิร) สนาม, ลาน, เนิน.
อชนฺติ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ อชิรํ สนามเป็นสถานที่เดินไปของผู้คน ชื่อว่าอชิระ
จจฺจร (จร คติภกฺขเนสุ+จร) สนาม, ลาน, เนิน.
จรนฺติ เอตฺถาติ จจฺจรํ สนามเป็นสถานที่เที่ยวไปของผู้คน ชื่อว่าจัจจระ (อาเทศ รฺ เป็น จฺ)
องฺคณ (องฺค คมเน+ยุ) สนาม, ลาน, เนิน.
องฺคติ เอตฺถาติ องฺคณํ สนามเป็นที่ไปของผู้คน ชื่อว่าอังคณะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). อิมินา การเณน อิทํ ฐานํ องฺคณํ ชาตํ ๒ ด้วยเหตุนี้ ที่ตรงนี้จึงเกิดเป็นลานขึ้น
มุข, ระเบียง, ซุ้มประตูนอกบ้าน ๕ ศัพท์
ปฆาน (ป+หน คมเน+อ) มุข, ระเบียง, ซุ้มประตูนอกบ้าน.
ปฐมํ หนนฺติ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ ปฆาโน มุขเป็นที่ซึ่งคนเดินไปถึงก่อน จึงชื่อว่าปฆานะ (อาเทศ หนฺ เป็น ฆานฺ)
ปฆน (ป+หน คมเน+อ) มุข, ระเบียง, ซุ้มประตูนอกบ้าน.
ปฐมํ หนนฺติ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ ปฆโณ มุขเป็นที่ซึ่งคนเดินไปถึงก่อน จึงชื่อว่าปฆานะ (อาเทศ หนฺ เป็น ฆานฺ, รัสสะ อา เป็น อ). ปฆนนฺนาม ยํ นิกฺขมนฺตา จ ปาเทหิ หนนฺติ ตสฺส ทฺวารวิหาเร อุภโต กุฑฺฑํ นีหริตฺวา กตปเทสสฺเสตํ อธิวจนํ. ปฆานนฺติปิ วุจฺจติ๓ บุคคลผู้เดินออกย่อมเหยียบย่ำระเบียงใดด้วยเท้า คำว่า "ปฆนะ" นี้ก็เป็นชื่อของส่วนที่บุคคลเปิดผนังออกทั้ง ๒ ข้างแล้วทำเป็นระเบียงนั้น, ท่านเรียกว่า "ปฆานะ" บ้าง
๑ วิ.จุลฺล. ๗/๒๔๐/๑๐๒ ๒ ชา.อฏฺ. ๓๖/๒๓ ๓ วิ.อฏฺ. ๓/๓๕๘