<<<                 >>>

หลักสูตร เรียนพระอภิธรรมทางอินเตอร์เนต

 

ตอนที่ ๓ (ชุดที่ ๑) ประเภทของจิต

ประเภทของจิต

 

         จากบทเรียนชุดก่อน ได้ทราบแล้วว่า จิตเป็นธรรมชาติ อย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ เมื่อประสาทตากระทบ กับรูปารมณ์ (สิ่งที่เห็นด้วยตา) ก็เกิดการเห็นโดยจักขุวิญญาณ (จิตที่เกิดทางตา) โดยธรรมชาติแล้ว จิตจะเกิดขึ้น และดับไปอย่างรวดเร็ว ตามทวารทั้ง ๖ คือ ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง เพื่อไปรับอารมณ์ ทางแต่ละทวาร                

 

 

         

 
จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นจะมีอายุที่สั้นมาก แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้น จะตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วก็ดับไปอีก จะมีจิตมากกว่า ๑ ดวงเกิดขึ้นซ้อนกัน ในขณะเดียวกันไม่ได้เด็ดขาด เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากจิตดวงก่อนยังไม่ดับลงไป ดังแสดงในภาพ

          
ตลอดชีวิตในชาติหนึ่งๆ จะมีจิตที่เกิดขึ้น และดับไปจำนวนมากมายสุดที่จะนับได้ ซึ่งก็หมายความว่า ในชาติหนึ่งๆ นั้นเรามีการเกิด และตาย นับครั้งไม่ถ้วนเช่นกัน เพราะจิตเกิดขึ้น ๑ ครั้ง ก็เท่ากับเราเกิด ๑ ครั้ง จิตดับลง ๑ ครั้ง ก็เท่ากับเราตายลง ๑ ครั้ง ความตายชั่วขณะนี้ ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แต่เพราะจิตเกิดดับ สืบต่อกันรวดเร็วมาก จึงปิดบังความจริงในเรื่องนี้ ไว้ทำให้หลงผิดคิดว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา อยู่ตลอดเวลา ปัญญาที่เห็นประจักษ์แจ้ง สภาพธรรมตามความเป็นจริง ดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะได้ศึกษาโดยละเอียด ต่อไปในบทเรียนชุดที่ ๑๐

           จิตมีสภาพรู้อารมณ์เป็นลักษณะ หรือเป็นธาตุรู้เท่านั้น ตามสภาวะแล้วจิตจะเกิดโดยลำพังไม่ได้ จะต้องมีเจตสิก (ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต) เกิดร่วมอยู่ด้วยเสมอ กล่าวคือเมื่อจิตเกิดเจตสิกก็เกิดร่วมด้วย เมื่อจิตดับ เจตสิกก็ดับพร้อมกับจิตด้วย ประดุจความร้อนและแสงสว่างของไฟ ที่แยกออกจากกันไม่ได้ฉันนั้น
       เจตสิกธรรม หรือธรรมชาติที่ประกอบกับจิตนี้ แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย
มี
โลภ โกรธ หลง
ซึ่งเป็น
อกุศลฝ่ายหนึ่ง
มี
ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
ซึ่งเป็น
กุศลฝ่ายหนึ่ง
มี
ลักษณะกลางๆ
ซึ่งเป็น
ทั้งกุศลและอกุศลอีกฝ่ายหนึ่ง
 
            อาศัยความแตกต่างแห่งลักษณะของจิต ที่เกิดขึ้นโดยเจตสิกที่แตกต่างกันดังกล่าว ท่านจึงได้จำแนกลักษณะของจิตออกเป็น ๘๙ ดวง (โดยย่อ) หรือ ๑๒๑ ดวง (โดยพิสดาร) ดังแสดงในหน้าที่ ๓ เหตุที่จำแนกจำนวนไว้ไม่เท่ากัน ก็เนื่องมาจากมรรคจิตและผลจิต ซึ่งโดยย่อจะนับแค่มรรคจิต ๔ ดวง และผลจิต ๔ ดวง ส่วนโดยพิสดารนั้น จะนำระดับของฌานคือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ที่เกิดกับมรรคจิตทั้ง ๔ มาพิจารณาด้วย ทำให้มรรคจิตเพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ส่วนผลจิตก็จะเพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ในทำนองเดียวกัน
 
          โดยเหตุที่เจตสิกธรรมเข้าประกอบปรุงแต่งจิต แล้วทำให้จิต มีลักษณะแตกต่างกันไป ท่านจึงได้จำแนก ลักษณะของจิต ออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ คือ กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และ โลกุตตรจิต
          
 
          คำว่า “กามาวจรจิต” มาจาก กาม + อวจร + จิต
กาม หมายถึง อารมณ์อันเป็นที่ต้องการ หรือ เป็นที่ปรารถนาของกิเลส ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ และธัมมารมณ์ อันเป็นที่น่ายินดี น่าพอใจ มีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า กามคุณอารมณ หรือ กามารมณ์
อวจร หมายถึง อาศัยอยู่ หรือท่องเที่ยวไป
จิต หมายถึง ธรรมชาติที่รู้อารมณ
          
          กามาวจรจิต จึงมีความหมาย ๒ ประการ คือ
๑. เป็นจิตที่รับ หรือเกี่ยวข้องกับ กามคุณอารมณ์
๒. เป็นจิตที่เกิดอยู่เป็นประจำในกามภูมิ ๑๑ (เป็นส่วนมาก) ได้แก่
- มนุษยภูมิ
- เทวภูมิ ๖ ชั้น
- อบายภูมิ ๔
คือสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
 
           กามาวจรจิตนี้ เป็นจิตที่เป็นกุศล (เป็นบุญ) ก็มี เป็นจิตที่เป็นอกุศล (เป็นบาป) ก็มี และเป็นจิตที่เป็นผลของบุญก็มี ผลของบาปก็มี การแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทั้งที่เป็นบุญ และบาป สำเร็จได้ก็เพราะกามาวจรจิต เป็นผู้สั่งการทั้งสิ้น
 
           กามาวจรจิต นี้มีทั้งหมด ๕๔ ดวง แบ่งออกเป็น
อกุศลจิต ๑๒ ดวง
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง และ
กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวง (ดูรูปประกอบ)
 

อกุศลจิต

อกุศลจิต คือ จิตฝ่ายบาปที่เกิดด้วยอำนาจของความโลภ (โลภเหตุ) บ้าง ความโกรธ (โทสเหตุ) บ้าง โดยมีความหลง (โมหเหตุ) เป็นผู้สนับสนุน จิตประเภทนี้ จะให้ผลเป็นความทุกข์ เพราะเป็นตัวการ ให้กระทำบาปทางกาย ทางวาจา และทางใจ ดังต่อไปนี้
๑. การฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน
๒. ลักทรัพย์ ขโมย ปล้น จี้ ชิงทรัพย์
๓. ประพฤติผิดในกาม
๔. พูดโกหก หลอกลวงผู้อื่น
๕. พูดยุยง ส่อเสียด ให้ผู้อื่นผิดใจกัน
๖. กล่าวคำหยาบคาย ด่าทอผู้อื่น
๗. พูดเพ้อเจ้อ ไร้สาระปราศจากประโยชน์
๘. มีความต้องการอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น
๙. มีความโกรธ อาฆาต พยาบาท คิดประทุษร้าย หรือ อิจฉาริษยาผู้อื่น
๑๐. มีความเห็นผิด เช่น ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อเรื่องผลของบุญ ผลของบาป ไม่เชื่อว่า ชาติหน้ามีจริง ไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง
 
    อกุศลจิต มีทั้งหมด ๑๒ ดวง แบ่งออกเป็น
โลภมูลจิต ดวง
โทสมูลจิต ดวง
โมหมูลจิต ดวง

 

 

 

โลภมูลจิต

 

 

โลภมูลจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยมี โลภะเป็นมูลเหตุ โลภะเป็นเจตสิก ที่ปรุงแต่งจิต ให้เกิดความยินดี พอใจ และยึดติดในรูปที่สวย เสียงที่ไพเราะ กลิ่นที่หอม รสที่อร่อย การสัมผัสถูกต้อง ทางกายที่น่าอภิรมย์ ตลอดจน ความยินดีพอใจ และยึดติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
 
          โลภมูลจิตนี้ เกิดขึ้นพร้อมด้วยโสมนัสคือความดีใจก็ได้ เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาคือรู้สึกเฉยๆ ก็ได้ ประกอบด้วยความเห็นผิดก็ได้ ปราศจากความเห็นผิดก็ได้ เกิดขึ้นเองก็ได้ หรือเกิดจากการชักชวนก็ได้
 
          จำแนกโลภมูลจิต ๘ ดวง ตามลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่ละดวงมีลักษณะเฉพาะดังนี้
โลภมูลจิต
เกิดพร้อมด้วย
ความดีใจ
(โสมนัสเวทนา)
เกิดพร้อมด้วย
ความเฉยๆ
(อุเบกขาเวทนา)
ประกอบด้วย
ความเห็นผิด
(ทิฏฐิคตสัมปยุตต์)
ไม่ประกอบด้วย
ความเห็นผิด
(ทิฏฐิคตวิปปยุตต์)
เกิดขึ้นเอง
(อสังขาริก)
เกิดจาก
การชักชวน
(สสังขาริก)
ดวงที่ ๑      
ดวงที่ ๒      
ดวงที่ ๓      
ดวงที่ ๔      
ดวงที่ ๕      
ดวงที่ ๖      
ดวงที่ ๗      
ดวงที่ ๘      
 
          ที่ว่า ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด คือ เชื่อเรื่องกรรม เชื่อเรื่องผลของกรรม เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง เชื่อว่าโลกนี้มีโลกหน้าก็มี เชื่อว่าเมื่อตายแล้ว ต้องเกิดใหม่ในภพใดภพหนึ่งแล้วแต่กรรมจะจัดสรร สัตว์อายุสั้น ก็เพราะกรรม อายุยืนก็เพราะกรรม เกิดมาในตระกูลที่ร่ำรวย ก็เพราะกรรม มีปัญญาดีหรือโง่เขลาก็เพราะกรรม เป็นต้น แต่ที่ทำบาปลงไป ก็เพราะกำลังของโลภมูลจิต มีมากกว่า จึงทำให้ขาดสติสัมปชัญญะไปบ้าง ในบางครั้ง ซึ่งต่างจาก ผู้ที่มีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ที่คิดว่าชาติหน้าไม่มี บุญบาปไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี กรรมและผลของกรรม ก็ไม่มี ดังนั้น จึงกระทำแต่บาปอกุศล ด้วยความประมาท อยู่เป็นประจำ
 
ตัวอย่าง
          นายดำเป็นผู้ที่มีความเห็นผิดว่า กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องไร้สาระ วันหนึ่ง มีเพื่อนมาชวนไปขโมยเงิน ในตู้รับบริจาคที่วัดแห่งหนึ่ง นายดำเห็นดีด้วย จึงไปงัดตู้รับบริจาคกับเพื่อน ด้วยความดีใจ เพราะมีเงินอยู่ในตู้ เป็นจำนวนมาก ขณะนั้น โลภมูลจิตดวงที่ ๒ ย่อมเกิดขึ้น เพื่อกระทำกรรมดังกล่าว เพราะโลภมูลจิตดวงที่ ๒ เป็นจิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดยมีการชักชวน
 
          โลภมูลจิตนี้ เป็นต้นเหตุสำคัญ ในการสร้างภพ สร้างชาติ ให้แก่บรรดาสัตว์ทั้งหลาย เพราะบาปอกุศลทั้งหลาย มีโลภะอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น แม้กระทั่ง โทสมูลจิตที่จะกล่าวถึงต่อไป จะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะความไม่สมหวังของโลภะ เมื่อใดที่หมดความทะยานอยาก หมดความใคร่ หมดความปรารถนา ในอารมณ์ที่น่ายินดีพอใจแล้ว ความโกรธ ความเสียใจ ซึ่งเป็นอาการของความไม่สมหวัง หรือความผิดหวัง ก็จะไม่มีอีกต่อไป
          
          โลภมูลจิตนี้ สามารถเกิดกับปุถุชนได้ทั้ง ๘ ดวง แต่เกิดกับพระเสกขบุคคล (พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี) ได้เฉพาะโลภมูลจิต ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ดวงเท่านั้น และจะไม่เกิดขึ้นแก่พระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวกิเลส
 
          อาการปรากฏของโลภมูลจิต ที่เกิดแก่บุคคลในภูมิต่างๆ มีดังนี้
๑. โลภมูลจิตของสัตว์เดรัจฉาน
  ย่อมอยากกิน อยากนอน และอยากสืบพันธุ์ เป็นต้น
๒. โลภมูลจิตของมนุษย์
  ย่อมอยากเห็นสิ่งที่สวยๆ งามๆ อยากได้ฟังเสียงที่ไพเราะ อยากได้กลิ่นหอมๆ อยากได้ลิ้มรสที่อร่อยๆ อยากได้สัมผัสอันประณีต อยากได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขต่าง ๆ ตลอดจนความเป็นผู้มีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีอายุยืนยาว
๓. โลภมูลจิตของเทวดา
  ย่อมอยากได้ทิพยสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไป และยินดีพอใจอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสอันประณีต
๔. โลภมูลจิตของพรหม
  ย่อมยินดีพอใจ อยู่ในรูปกรรมฐาน เสวยรสของปีติและสุข เป็นอาหาร หรือยินดีพอใจ อยู่ในอรูปกรรมฐาน ดำรงมั่นอยู่ใน อุเบกขา และเอกัคคตา
๕. โลภมูลจิตของพระโสดาบัน และพระสกทาคามี
  ยังมีความยินดีพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าใคร่น่าปรารถนา แต่น้อยกว่าปุถุชนทั่วไป เพราะมีโลภะ โทสะ โมหะ ที่เบาบางแล้ว และไม่เป็นไปด้วยความเห็นผิด อีกด้วย
๖. โลภมูลจิตของพระอนาคามี
  ยังมีความยินดีพอใจในสุข อันเกิดจากการทำฌาน แต่ไม่มีความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอีกต่อไป

โทสมูลจิต

 

โทสมูลจิต คือจิตที่เกิดขึ้น โดยมีโทสะเป็นมูลเหตุ โทสะเป็นเจตสิกธรรม ที่เป็นประธานในการปรุงแต่งจิต ให้เกิดความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความกลุ้มใจ ความเสียใจ ความอิจฉาริษยา ความตระหนี่หวงแหน (มัจฉริยะ) ความรำคาญใจ (กุกกุจจะ) ความอาฆาต พยาบาท จองเวร จนถึงขั้น ประทุษร้าย ฯลฯ
 
          โทสมูลจิตนี้เกิดขึ้น พร้อมด้วยความไม่พอใจเสมอ เพราะเกิดจากการรับอารมณ์ ที่ไม่น่ายินดีและไม่น่าพอใจ เกิดขึ้นเองบ้าง ถูกผู้อื่น หรือสิ่งอื่นชักชวนให้เกิดบ้าง
 
          โทสมูลจิต มี ๒ ดวง คือ
๑. โทสมูลจิต ดวงที่ ๑
  โทสมูลจิตดวงนี้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการชักชวน พร้อมด้วยความไม่พอใจ เช่น ในขณะที่คิดพยาบาท ปองร้ายผู้อื่น จิตดวงนี้ย่อมเกิดขึ้น
๒. โทสมูลจิต ดวงที่ ๒
  โทสมูลจิตดวงนี้ เกิดขึ้นโดยมีการชักชวน พร้อมด้วยความไม่พอใจ เช่น เมื่อรู้ข่าว การจากไปของคนใกล้ชิด ก็จะร้องไห้เสียใจ ด้วยจิตดวงนี้ หรือเมื่อได้ยินเสียงรถจักรยานยนต์ ดังหนวกหู ก็เกิดความรำคาญใจ และด่าออกไปด้วยจิตดวงนี้
 

           โทสะนี้เป็นอนุสัยกิเลส คือเป็นกิเลสที่นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน มาตั้งแต่อดีตชาติแล้ว สัตว์ในอบายภูมิ มีเดรัจฉาน เป็นต้นก็มีโทสะ มาเป็นมนุษย์ก็ยังมีโทสะ แม้ไปเป็นเทวดาก็ยังมีโทสะ ถึงแม้เป็น พระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบัน และพระสกทาคา มีก็ยังมีโทสะ เพียงแต่เบาบางลงเท่านั้น สำหรับผู้ที่ไปเกิดเป็นพรหม โทสะจะถูกข่มเอาไว้ด้วยอำนาจของฌาน ส่วนพระอนาคามีและพระอรหันต์ จะไม่มีโทสะหลงเหลืออยู่เลย เพราะโทสะได้ถูกทำลาย เป็นการถาวรแล้ว (สมุจเฉทปหาน)

 

โมหมูลจิต

          โมหมูลจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยมีโมหะเป็นมูลเหตุ โมหะเป็นเจตสิกธรรม ที่ปรุงแต่งให้เกิดความหลงผิด ในวิสุทธิมรรคกล่าวว่า โมหะนี้เป็นรากเหง้าแห่งบาปอกุศลทั้งปวง
 
           โมหมูลจิต มี ๒ ดวง คือ
๑. โมหมูลจิต ดวงที่ ๑
  โมหมูลจิตดวงนี้เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉย ๆ ประกอบด้วยความสงสัย (วิจิกิจฉา)
  คำว่า “สงสัย” ในที่นี้หมายถึง ความสงสัยในเรื่อง กรรมและผลของกรรม สงสัยว่า บุญบาปมีจริงหรือไม่ นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ตายแล้วไปไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงสัย ในวิชาการหรือเรื่องราวต่างๆ ทางโลกทั้งสิ้น
๒. โมหมูลจิต ดวงที่ ๒
  โมหมูลจิตดวงนี้ เกิดขึ้นพร้อมด้วย ความเฉยๆ ประกอบด้วย ความฟุ้งซ่าน (อุทธัจจะ)
  คำว่า “ฟุ้งซ่าน” ในที่นี้หมายถึง คิดเลื่อนลอย ไปในอารมณ์ต่างๆ ไม่มีความสงบ ไม่มีความตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียว และที่คิดมากมายหลายอย่างนั้น ก็คิดไปเฉยๆ คิดไปเรื่อยๆ ไม่ได้มุ่งมั่นจริงจังในสิ่ง ที่คิดนั้น
 
          อกุศลจิต ๑๒ ซึ่งประกอบด้วย โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ และโมหมูลจิต ๒ นี้ เป็นจิตฝ่ายบาป ให้ผลเป็นความทุกข์ เกิดได้ง่ายในบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย
 
          อกุศลจิต ๑๒ โดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ
๑. ไม่ได้สร้างสมบุญไว้แต่ปางก่อน เป็นอดีตกรรม
๒. อยู่ในประเทศที่ไม่มีสัปปุรุษ เป็นปัจจุบันกรรม
๓. ไม่คบหาสมาคมกับสัปปุรุษ
๔. ไม่ได้ฟังธรรมของสัปปุรุษ
๕. ตั้งตนไว้ผิด

อเหตุกจิต

 

          อเหตุกจิต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ
          คำว่า “เหตุ” ในที่นี้หมายถึง ธรรมชาติที่ทำให้ผลเกิดขึ้น
 
       อเหตุกจิต แบ่งเป็น ๒ พวก คือ
๑. อกุศลเหตุ คือเหตุที่ทำให้เกิดอกุศลกรรม มี ๓ เหตุคือ
    โลภะ โทสะ โมหะ
๒. กุศลเหตุ คือเหตุที่ทำให้เกิดกุศลกรรม มี ๓ เหตุคือ
    อโลภะ อโทสะ อโมหะ
 
          ในอกุศลจิตที่ได้กล่าวมาแล้ว ทั้ง ๑๒ ดวง ก็มีอกุศลเหตุเข้าประกอบ มากบ้างน้อยบ้างตามสมควร สำหรับกุศลจิต ที่จะกล่าวถึงต่อไป ก็มีกุศลเหตุเข้าประกอบ ๒ เหตุบ้าง ๓ เหตุบ้าง ตามสมควรเช่นกัน จิตที่เกิดขึ้น โดยมีเหตุประกอบนั้น ในทางธรรมเรียกว่า สเหตุกจิต ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด ๗๑ ดวง
          
          แต่ยังมีจิตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุหนึ่ง เหตุใด ใน ๖ เหตุ เข้าประกอบด้วยเลย จิตประเภทนี้ เรียกว่า อเหตุกจิต ซึ่งมีจำนวน ๑๘ ดวง
 
       อเหตุกจิต ๑๘ ดวงนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
๑. อกุศลวิบากจิต มี ดวง  
๒. อเหตุกกุศลวิบากจิต มี ดวง ดูรูปประกอบ
๓. อเหตุกกิริยาจิต มี ดวง  

อกุศลวิบากจิต (จิตที่เป็นผลของบาป)

 

           อกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วในอดีต ตั้งแต่ชาติไหนภพไหนก็ตาม มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม และการพูดโกหกหลอกลวง เป็นต้น ย่อมไม่สูญหายไปไหน แต่จะคอยส่งผลให้ได้รับความทุกข์เมื่อมีโอกาส จิตที่ส่งผลให้เกิดความทุกข์นี้ มีชื่อเรียกว่า อกุศลวิบากจิต
 
         อกุศลวิบากจิต ซึ่งมีอยู่ ๗ ดวงด้วยกัน คือ
๑. จิตที่เกิดขึ้น ทางตาเพื่อเห็นรูปที่ไม่ด และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า จักขุวิญญาณฝ่ายอกุศลวิบาก  
๒. จิตที่เกิดขึ้น ทางหูเพื่อได้ยินเสียงที่ไม่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า โสตวิญญาณฝ่ายอกุศลวิบาก  
๓. จิตที่เกิดขึ้น ทางจมูกเพื่อรู้กลิ่นที่ไม่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า ฆานวิญญาณฝ่ายอกุศลวิบาก  
๔. จิตที่เกิดขึ้น ทางลิ้นเพื่อรู้รสที่ไม่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า ชิวหาวิญญาณฝ่ายอกุศลวิบาก  
๕. จิตที่เกิดขึ้น ทางกายเพื่อรู้สัมผัสทางกายที่ไม่ดี และรู้สึกเป็นทุกข์
มีชื่อเรียกว่า กายวิญญาณฝ่ายอกุศลวิบาก  
๖. จิตที่เกิดขึ้น โดยรับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า สัมปฏิจฉนจิตฝ่ายอกุศลวิบาก  
๗. จิตที่เกิดขึ้น พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า สันตีรณจิตฝ่ายอกุศลวิบาก  
          
การส่งผลของอกุศลกรรม มี ๒ ตอน คือ
    ๑. ตอนนำเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ (ปฏิสนธิกาล)  

          อกุศลกรรมทั้งหลาย ที่ได้กระทำไว้แล้ว หากเป็นกรรมหนัก ก็จะนำไปเกิดในอบายภูมิ ๔ เป็นสัตว์นรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง โดยมีสันตีรณจิตฝ่ายอกุศลวิบาก ซึ่งมีชื่อเฉพาะเรียกว่า อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก (อกุศลวิบากจิตดวงที่ ๗) เป็นผู้ทำหน้าที่นำไปปฏิสนธิ (นำเกิด) ในอบายภูมิทั้ง ๔

 

    ๒. ตอนหลังจากเกิดแล้ว (ปวัตติกาล)  
          ไม่ว่าจะเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือมนุษย์ อกุศลกรรมทั้งหลาย ที่ได้กระทำไว้ ก็จะตามส่งผลให้เห็นรูปที่ไม่ดี ได้ยินเสียงที่ไม่ดี ได้กลิ่นที่ไม่ดี ได้รับรสที่ไม่ดี ตลอดจน ได้รับการสัมผัสทางกายที่ไม่ดี เมื่อโอกาสมาถึง

อเหตุกกุศลวิบากจิต (จิตที่เป็นผลของกุศล)

 

          กุศลต่างๆ ที่ได้กระทำไว้แล้วอันได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล ย่อมไม่สูญหาย ไปไหนเช่นกัน แต่จะส่งผลให้ได้รับความสุขเมื่อโอกาสมาถึง จิตที่ส่งผลให้เกิดความสุข มีชื่อเรียกว่า อเหตุกกุศลวิบากจิต
 
         อเหตุกกุศลวิบากจิต ซึ่งมีอยู่ ๘ ดวงด้วยกัน คือ
๑. จิตที่เกิดขึ้น ทางตาเพื่อเห็นรูปที่ดี  และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า จักขุวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก  
๒. จิตที่เกิดขึ้น ทางหูเพื่อได้ยินเสียงที่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า โสตวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก  
๓. จิตที่เกิดขึ้น ทางจมูกเพื่อรู้กลิ่นที่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า ฆานวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก  
๔. จิตที่เกิดขึ้น ทางลิ้นเพื่อรู้รสที่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า ชิวหาวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก  
๕. จิตที่เกิดขึ้น ทางกายเพื่อรู้สัมผัสทางกายที่ดี และรู้สึกเป็นทุกข์
มีชื่อเรียกว่า กายวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก  
๖. จิตที่เกิดขึ้น โดยรับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า สัมปฏิจฉนจิตฝ่ายกุศลวิบาก  
๗. จิตที่เกิดขึ้น พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี และรู้สึกเฉยๆ
มีชื่อเรียกว่า อุเบกขาสันตีรณฝ่ายกุศลวิบาก  
๘. จิตที่เกิดขึ้น พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดียิ่ง พร้อมด้วยความดีใจ
มีชื่อเรียกว่า โสมนัสสันตีรณฝ่ายกุศลวิบาก  
          
การส่งผลของอเหตุกกุศลวิบากจิต มี ๒ ตอน คือ
     ๑. ตอนนำเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ (ปฏิสนธิกาล)  
          อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต (กุศลวิบากจิตดวงที่ ๗) จะนำเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาชั้นต่ำ ที่มีร่างกายไม่สมประกอบ เป็นใบ้ เป็นบ้า ตาบอด หูหนวก หรือปัญญาอ่อนตั้งแต่เกิด เพราะจิตดวงนี้ เป็นผลของกุศลขั้นต่ำ ประเภท ทวิเหตุกโอมกกุศล ส่วนมหาวิบากจิต (ที่จะกล่าวถึงต่อไป ในหัวข้อกามาวจรโสภณจิต) อันเป็นผลของกุศลขั้นกลาง และกุศลขั้นสูงนั้น จะนำเกิดเป็นมนุษย์และเทวดาชั้นกลาง หรือมนุษย์และเทวดาชั้นสูง (จะอธิบายโดยละเอียดในหัวข้อ ๑.๓.๑)
     ๒. ตอนหลังจากเกิดแล้ว (ปวัตติกาล)  
          ไม่ว่าจะเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาก็จะประสบกับอารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางกายที่ดีๆ ด้วยอำนาจของกุศลกรรมที่ได้ทำไว้
 
          อาจมีผู้สงสัยว่า อกุศลวิบากจิตมีเพียง ๗ ดวง แต่ทำไม อเหตุกกุศลวิบากจิต จึงมีถึง ๘ ดวง ขอตอบให้ทราบว่า ในอเหตุกกุศลวิบากจิตนั้น มีสันตีรณจิต ๒ ดวง
ดวงหนึ่งรับอารมณ์ที่ดี ธรรมดามีเวทนาเป็นอุเบกขา (อุเบกขาสันตีรณจิต)
อีกดวงหนึ่งรับอารมณ์ที่ดียิ่ง มีเวทนาเป็นโสมนัส (โสมนัสสันตีรณจิต)
ส่วนอกุศลวิบากจิต เป็นจิตที่รับอารมณ์ที่ไม่ดี ดังนั้น สันตีรณจิตที่เกิดขึ้น จึงมีเวทนาเป็นอุเบกขา แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
 
          ในการเรียกชื่อ อเหตุกจิต นี้ ก็อาจจะมีผู้สงสัยอีกว่า เพราะเหตุไร อกุศลวิบากจิต จึงไม่มีคำว่า อเหตุก นำหน้าเหมือนอเหตุกกุศลวิบากจิต ทั้งๆ ที่เป็นอเหตุกจิตเหมือนกัน ข้อนี้ขอตอบว่า
          กุศลวิบากจิต (จิตที่เป็นผลของกุศล) มีอยู่ถึง ๒ ประเภท คือ สเหตุกวิบาก เป็นวิบากจิตที่มีเหตุ ซึ่งได้แก่ มหากุศลวิบากจิต และ
          อเหตุกวิบาก
เป็นวิบากจิตที่ไม่มีเหตุ ซึ่งได้แก่ อเหตุกกุศลวิบากจิต
          ฉะนั้น จึงต้องใส่คำว่า อเหตุก ไว้ข้างหน้า เพื่อแสดงให้ทราบว่า วิบากเหล่านี้ เป็นผลของมหากุศล ที่เป็นอเหตุก คือไม่มีเหตุประกอบ
          ส่วนผลของอกุศลนั้นเป็น อเหตุก อย่างเดียว เป็นสเหตุกวิบากไม่มี ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่คำว่า อเหตุก ไว้ข้างหน้า เพราะเป็นอเหตุก โดยแน่นอนอยู่แล้ว

อเหตุกกิริยาจิต

 

           อเหตุกกิริยาจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นสักแต่ว่ากระทำหน้าที่ของตนเท่านั้น ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป และไม่ใช่จิตที่เป็นผลของบุญหรือผลของบาป คือ เป็นจิตที่ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล
 
        อเหตุกกิริยาจิต มี ๓ ดวง คือ
๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต
  เป็นจิตที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบทางทวารทั้ง ๕ ว่าเป็นอารมณ์ทางทวารไหน และเป็นปัจจัยให้จิตดวงต่อไป รับอารมณ์ทางทวารนั้นๆ เปรียบเหมือนนายทวาร ที่รักษาประตูพระราชวัง ที่คอยเปิดประตู ให้แขกผ่านตามฐานะของบุคคล ไม่ได้ติดตามไปทำหน้าที่อย่างอื่น
๒. มโนทวาราวัชชนจิต
  หมายถึงจิตที่พิจารณาอารมณ์ทางมโนทวาร และทำหน้าที่ตัดสิน ปัญจารมณ์คืออารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางทวารทั้งห้า (โวฏฐัพพนจิต)
๓. หสิตุปปาทจิต
  คือจิตที่ทำให้เกิดการยิ้มของพระอรหันต์ เกิดขึ้นพร้อมด้วยความดีใจ จิตดวงนี้เกิดขึ้น เมื่อเวลาที่พระอรหันต์ พิจารณาเห็นกรรมของบุคคล ที่กำลังได้รับความทุกข์ แล้วย้อนกลับมาพิจารณา ตัวท่านเองว่า ท่านได้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงแล้ว จึงทำให้เกิดโสมนัส และเกิดการยิ้มขึ้น การยิ้มด้วยอาการเช่นนี้ เกิดได้ด้วย หสิตุปปาทจิต
 
          การหัวเราะและการยิ้มโดยทั่วไป เกิดจากจิตหลายประเภท บุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ย่อมหัวเราะหรือยิ้ม ด้วยโลภมูลจิตที่เป็นโสมนัส หรือมหากุศลจิตที่เป็นโสมนัส พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้ท่านหัวเราะ อย่างมากก็เพียงแค่ยิ้มเท่านั้น ขณะที่พระอรหันต์ยิ้มนั้น ท่านอาจยิ้มด้วย มหากิริยาจิตที่เป็นโสมนัส หรือหสิตุปปาทจิต ซึ่งเป็นอเหตุกกิริยาจิตก็ได้
 
การยิ้มและการหัวเราะ
          การยิ้มและการหัวเราะ ย่อมเกิดแก่บุคคลทั้งหลาย ในลักษณะที่แตกต่างกัน ในคัมภีร์อลังการ ท่านจำแนกไว้เป็น ๖ อย่าง คือ
๑. สิตะ ยิ้มอยู่บนใบหน้า ไม่เห็นไรฟัน เป็นพระอาการยิ้มแย้มของพระพุทธเจ้า
๒. หสิตะ การยิ้มพอเห็นไรฟัน เป็นการยิ้มของพระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน และปุถุชน แต่การยิ้มชนิดนี้ นอกจากพระอรหันต์แล้ว ก็เป็นการยิ้ม ที่ประกอบด้วยเหตุบุญ หรือเหตุบาปเสมอ
๓. วิหสิตะ หัวเราะมีเสียงเบาๆ เกิดจากจิตของปุถุชนและพระอริยบุคคล ๓ พวก คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี
๔. อติหสิตะ การหัวเราะมีเสียงดังมาก ซึ่งมีในปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี
๕. อปหสิตะ การหัวเราะจนไหวโยกทั้งกาย เป็นการหัวเราะเฉพาะปุถุชน เท่านั้น
๖. อุปหสิตะ การหัวเราะจนน้ำตาไหล เป็นการหัวเราะของปุถุชน เท่านั้น
 
          หสิตุปปาทจิตนี้ เป็นจิตที่ทำให้เกิดการยิ้มโดยไม่ยึดมั่นในอารมณ์ ซึ่งต่างจากจิตที่ทำให้เกิดการหัวเราะทั่วๆ ไป
 
          เพื่อให้เข้าใจการทำงานของอเหตุกจิต จึงขอยกวิถีจิต ที่เกิดขึ้นทางตา เพื่อรับรูปารมณ์ (จักขุทวารวิถี) มาอธิบายพอเป็นสังเขปดังนี้ :-
= ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาขันธ์ ๕ ในชาติปัจจุบันไว้ ไม่ให้แตกทำลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุ จากชาตินี้
ตี = อตีตภวังค์ คือ ภวังคจิตที่ผ่านไปในระหว่างที่รูปารมณ์เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏทางตา
= ภวังคจลนะ คือ ภวังค์ที่หวั่นไหวด้วยอำนาจของรูปารมณ์ที่มาปรากฏทางตา
= ภวังคุปัจเฉทะ คือ ตัดกระแสภวังค์ เช่น บุคคลที่ตื่นจากหลับ หรือเปลี่ยนอารมณ์ใหม่
= ปัญจทวาราวัชชนจิต ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ใหม่ที่กำลังปรากฏทางตา
จัก = จักขุวิญญาณจิต คือ จิตที่เห็นรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏอยู่ทางตา (ได้แก่จักขุวิญญาณจิต ที่เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง และเป็นอกุศลวิบากอีก ๑ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง)
สํ = สัมปฏิจฉนจิต ทำหน้าที่รับรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏ (ได้แก่สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง)
= สันตีรณจิต ทำหน้าที่ไต่สวนรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏ (ได้แก่สันตีรณจิต ๓ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง)
= โวฏฐัพพนะ ทำหน้าที่ตัดสินรูปารมณ์ที่กำลังปรากฏว่าดีหรือไม่ดี ซึ่งจะมีผลต่อจิต
ที่จะเกิดมารับอารมณ์ดวงถัดไป จิตที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ มโนทวาราวัชชนจิต
= ชวนะ ทำหน้าที่เสพอารมณ์ คือ สำเร็จกิจเป็นอกุศล กุศล หรือกิริยา (สำหรับพระอรหันต์) ในที่นี้ก็คือ หสิตุปปาทจิต
= ตทารัมมณะ คือรับรูปารมณ์ต่อจากชวนะ ๒ ขณะ เป็นช่วงสุดท้ายของวิถีจิตนี้ จิตที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ สันตีรณจิต ๓ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง
    (จะอธิบายโดยละเอียดอีกครั้งในเรื่องของวิถีจิต)
          
          อเหตุกจิต จะเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ผลของกรรมนั้นมีจริง นอกจากเป็นผลให้สัตว์ ต้องไปเกิดในทุคติภูมิ (อบายภูมิ ๔) หรือสุคติภูมิ (มนุษยภูมิ และ เทวภูมิ) ในปฏิสนธิกาลแล้ว ในปวัตติกาล คือภายหลังการเกิดแล้ว ยังทำให้ประสบกับอารมณ์ ทั้งที่ดีและไม่ดี สลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ตามแต่โอกาส ในการส่งผลของอดีตกรรม และปัจจุบันกรรมจะมาถึง บางครั้งก็เห็นไม่ดี ได้ยินไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี รู้รสไม่ดี สัมผัสถูกต้องไม่ดี ถูกนินทาว่าร้าย ถูกใส่ความ ฯลฯ เมื่อประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้ อย่าเพิ่งไปหลงโกรธผู้อื่นเป็นอันขาด เพราะการประสบกับอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่ดี) เหล่านี้ ล้วนเป็น ผลของอกุศลกรรม ที่เราเป็นผู้สร้างไว้เอง ในอดีตและปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม) ทั้งสิ้น หาใช่เป็นการกระทำของใครอื่นไม่ และเมื่อใด ที่เราได้เห็นสิ่งที่สวยงาม ได้ยินเสียงที่ไพเราะ หรือเรื่องราวที่ดีๆ ได้กลิ่นหอมๆ ได้ลิ้มรสที่อร่อย และได้รับความสุขกายสบายใจ เหล่านี้ ล้วนเป็นผลของกุศลกรรม ที่เราได้กระทำไว้แล้วในอดีต และปัจจุบัน ทั้งสิ้นเช่นกัน

กามาวจรโสภณจิต

 

           กามาวจรโสภณจิต เป็นจิตที่แม้ว่ายังต้องท่องเที่ยว วนเวียนอยู่ในกามภูมิ แต่ก็เป็นไปในฝ่ายที่ดีงาม คือเป็นจิตฝ่ายบุญ ฝ่ายกุศล ให้ผลเป็นความสุข
 
         กามาวจรโสภณจิต แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ
มหากุศลจิต ดวง  
มหาวิบากจิต ดวง ดูรูปข้างล่างประกอบ
มหากิริยาจิต ดวง  
 

มหากุศลจิต ๘

 

           มหากุศลจิตเป็นจิตที่ประกอบด้วยกุศลเหตุ คือความไม่โลภ (อโลภเหตุ) ความไม่โกรธ (อโทสเหตุ) และความมีปัญญา (อโมหเหตุ) เป็นจิตอันเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ ๑๐ ประการ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
 
       บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่
๑. ทาน คือ การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ
๒. ศีล คือ การรักษากาย วาจา ให้ตั้งอยู่ในศีล มีศีล ๕ เป็นต้น
๓. ภาวนา คือ การเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา
๔. อปจายนะ คือ การคารวะอ่อนน้อมต่อผู้ที่เจริญด้วยชาติวุฒิ วัยวุฒิ และ คุณวุฒิ
๕. เวยยาวัจจะ คือ การช่วยเหลือการงานแก่ผู้ที่ควรช่วยเหลือ
๖. ปัตติทาน คือ การอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่น
๗. ปัตตานุโมทนา คือ การอนุโมทนายินดีในการทำบุญทำกุศลของผู้อื่น
๘. ธรรมสวนะ คือ การสดับรับฟังธรรม
๙. ธรรมเทศนา คือ การแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟัง
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม คือ การทำความเห็นให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ปัญญาที่รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรม
 
       เหตุให้เกิดมหากุศลจิต
๑. เคยได้สร้างบุญไว้แต่ชาติปางก่อน
๒. อยู่ในประเทศที่สมควร
๓. ได้คบหาสมาคมกับสัปปุรุษ
๔. ได้ฟังธรรมของสัปปุรุษ
๕. ตั้งตนไว้ชอบ
 
          มหากุศลจิต เป็นจิตที่ไม่มีโทษและให้ผลเป็นความสุข จะส่งผลในปฏิสนธิกาล ให้เกิดเป็นมนุษย์และเทวดา หลังจากเกิดแล้ว (ในปวัตติกาล) ก็จะตามส่งผล ให้ได้รับแต่อารมณ์ที่ดีๆ กล่าวคือ ให้เห็นแต่สิ่งที่สวยงาม ได้ฟังเสียงที่ไพเราะ ได้กลิ่นที่หอมถูกใจ ได้ลิ้มรสที่อร่อย ได้รับสัมผัสที่สบายกาย ด้วยอเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ดวง ดังกล่าวมาแล้ว
 
มหากุศลจิตมีอยู่ ๘ ดวง แต่ละดวงมีลักษณะเฉพาะดังนี้คือ
มหากุศลจิต
เกิดพร้อมด้วย
ความดีใจ
(โสมนัสเวทนา)
เกิดพร้อมด้วย
ความเฉยๆ
(อุเบกขาเวทนา)
ประกอบด้วย
ปัญญา*
(ญาณสัมปยุตต์)
ไม่ประกอบด้วย
ปัญญา
(ญาณวิปปยุตต์)
เกิดขึ้นเอง
(อสังขาริก)
เกิดจาก
การชักชวน
(สสังขาริก)
ดวงที่ ๑      
ดวงที่ ๒      
ดวงที่ ๓      
ดวงที่ ๔      
ดวงที่ ๕      
ดวงที่ ๖      
ดวงที่ ๗      
ดวงที่ ๘      
          
          ปัญญา ที่ประกอบในมหากุศลจิตนี้ คือปัญญาที่มีความเห็นถูกต้อง ตามความเป็นจริง ได้แก่ กัมมัสสกตาปัญญา และวิปัสสนาปัญญา อันเป็นเหตุให้มุ่งตรงสู่พระนิพพานเพียงอย่างเดียว
          
          กัมมัสสกตาปัญญา คือปัญญาที่รู้ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรม เป็นของตนเอง รู้ว่าชาติหน้ามีจริง นรกสวรรค์มีจริง ชาตินี้ได้เกิดเป็นมนุษย์ แต่ชาติหน้า อาจเกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิ อันได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉานก็ได้ การรู้เรื่องเหล่านี้จะเป็นเหตุ ให้เห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัย ของการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่าจะไปเกิดเป็นอะไร ก็มีแต่ทุกข์ทั้งสิ้น ดังนั้น ในขณะที่ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา ก็จะตั้งเจตนามุ่งหวัง เพื่อลดกิเลส ละกิเลส ทำลายกิเลส อันเป็นเหตุให้พ้น ไปจากการเวียนเกิดเวียนตาย ทุกครั้ง
          
          วิปัสสนาปัญญา คือปัญญาที่รู้แจ้งความจริงของธรรมชาติ (ปรมัตถธรรม) ว่าแท้จริงแล้วหาได้มีสัตว์ มีบุคคล มีตัวเรา มีของเรา แต่ประการใดไม่ สัตว์ทั้งหลายเกิดจากขันธ์ ๕ มาประชุมกัน ตามเหตุตามปัจจัย ขันธ์ ๕ เมื่อย่อให้สั้น ก็เหลือเพียงกายกับใจ หรือรูปกับนาม ที่เกิดดับสืบต่อกันไป อย่างรวดเร็ว หาสาระตัวตนไม่ได้ เห็นว่ารูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นว่านาม ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชีวิตทุกๆ ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงผันแปร อยู่ตลอดเวลา ร่างกายนี้ก็มีแต่จะแก่ จะตายลงไป เมื่อตายแล้วก็ต้องเกิดอีก เพราะยังมีกรรม และกิเลสคอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ตราบใดที่ยังต้องเกิด ตราบนั้นก็ยังต้องทุกข์อยู่ร่ำไป เมื่อใดที่พิจารณาอย่างนี้แล้ว ชื่อว่ามีวิปัสสนาปัญญา เพราะมองเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัยของการมีชีวิต เกิดปัญญาไม่หลงใหลติดอยู่ในโลก มีความปรารถนา ที่จะพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย ไปให้เร็วที่สุด แม้ขณะทำบุญ ทำกุศล ก็จงตั้งความปรารถนา ให้พ้นจากสังสารวัฏ คือการเวียนเกิดเวียนตาย ทุกครั้งไป
          
          กุศลกรรมทั้งหลาย มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ที่มีกัมมัสสกตาปัญญา หรือวิปัสสนาปัญญาเข้าประกอบ และ มุ่งตรงต่อการลดกิเลส ละกิเลส ทำลายกิเลส อันเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน คือพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย เรียกว่า ติเหตุกกุศลกรรม ซึ่งเป็นกุศลกรรม ที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ อันได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ (มีปัญญาเข้าประกอบ) การบริจาคทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา ที่มีปัญญา เข้าประกอบด้วยนั้น จะทำให้รู้เหตุ รู้ผล รู้วิธีวางใจ และตั้งความปรารถนาได้ถูกต้อง เป็นเหตุให้กุศลนั้นมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เป็นวิวัฏฏคามินีกุศล คือเป็นกุศลที่นำพา ให้พ้นไปจาก การเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด ผู้ที่มีปัญญาย่อมรู้ว่า กิเลสและกรรม (ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว) เป็นต้นเหต ุให้มีการเวียนเกิดเวียนตาย อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น เมื่อมีเกิดก็ต้องมีทุกข์เป็นธรรมดา การที่จะพ้นทุกข์ได้ ก็คือต้องไม่เกิดอีก ดังนั้นในการทำกุศลทุกครั้ง จะต้องวางใจให้ถูกว่า ทำเพื่อลดกิเลส ละกิเลส ทำลายกิเลส เพื่อให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย ได้ในที่สุด การตั้งความปรารถนาเช่นนี้ จะทำให้กุศลนี้มีผลมาก เพราะปราศจากกิเลสเข้าเจือปน และยังมีอานิสงส์มาก คือนำให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง อันเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา หากเราสามารถทำให้เกิดปัญญาได้อย่างนี้ ทุกครั้งที่ทำบุญ ทำกุศล ปัญญานี้ก็จะสนับสนุน ให้การเวียนเกิดเวียนตายของเรา ลดลงๆ ไปเรื่อยๆ และใกล้พระนิพพานเข้าไปทุกที ๆ (โปรดย้อนไปดูความหมายของ “พระนิพพาน” ในหนังสือ “สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม” หน้าที่ ๑๒)
          ส่วนกุศลกรรมใดๆ ที่ไม่มีกัมมัสสกตาปัญญา หรือวิปัสสนาปัญญา เข้าประกอบ กุศลกรรมนั้นเรียกว่า ทวิเหตุกกุศลกรรม เป็นกุศลกรรม ที่ประกอบด้วย อโลภเหตุ และอโทสเหตุ เพียง ๒ เหตุเท่านั้น ไม่มีอโมหเหตุ คือปัญญาเข้าประกอบ เช่นการทำบุญของเด็ก การทำบุญให้ทาน ตามเทศกาลประเพณี การรักษาศีล หรือการเจริญภาวนา ที่ปฏิบัติตามๆ กันมา โดยไม่เข้าใจเหตุผลอันแท้จริง มีแต่ศรัทธาเป็นตัวนำเท่านั้น การทำกุศลกรรมในลักษณะนี้ ถือว่าไม่ประกอบด้วยปัญญา มีอานิสงส์น้อย ไม่เป็นเหตุ ให้พ้นไปจากการเวียนเกิดเวียนตาย (เป็นวัฏฏคามินีกุศล) เพราะเป็นการทำบุญ ที่สักแต่ว่าทำ ไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น
 
        การทำกุศลใดๆ ไม่ว่าจะเป็นติเหตุกกุศล หรือทวิเหตุกกุศลก็ตาม ความสำเร็จแห่งบุญ จะมีมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเจตนาในกาลทั้ง ๓ ได้แก่
๑. ปุพพเจตนา คือ เจตนาที่เกิดขึ้นก่อนทำกุศล
๒. มุญจเจตนา คือ เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกำลังทำกุศล
๓. อปรเจตนา คือ เจตนาที่เกิดขึ้นภายหลังจากการทำกุศลแล้ว
          
          การสร้างกุศลต่างๆ มี ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ก่อนทำก็ดี ขณะทำก็ดี หรือภายหลังจากที่ทำแล้วก็ดี หากไม่มีอกุศลใดๆ เข้าแทรกแซง คือมีกุศลเจตนาที่บริสุทธิ์ในกาลทั้ง ๓ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ที่กระทำนั้น จัดเป็น กุศลชั้นสูง (อุกกัฏฐกุศล) ถ้ากุศลนั้น เป็นติเหตุกกุศลด้วย ก็จะเรียกว่า ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล แต่ถ้ากุศลนั้นเป็นทวิเหตุกกุศล ก็จะเรียกว่า ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล ซึ่งจะให้ผลต่างกันคือ
ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล จะนำเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูง และ สามารถทำมรรค ผล นิพพาน ฌานสมาบัติ ให้เกิดขึ้นได้
ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล จะนำเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นกลาง และไม่สามารถทำมรรค ผล นิพพาน ฌานสมาบัติ ให้เกิดขึ้นได้
          
          หากมีอกุศลเข้าแทรกแซง ในระหว่างทำกุศล เช่น เกิดความเสียดายในทรัพย์ (เกิดโลภะ) หรือทำบุญ เพื่อหวังถูกล็อตเตอรี่ (เกิดโลภะ) หรือเห็นพระภิกษุที่มารับบิณฑบาต มีท่าทางไม่สำรวม ก็เกิดความไม่พอใจ (เกิดโทสะ) เป็นเหตุให้กุศลเจตนาในกาลทั้ง ๓ ไม่บริสุทธิ์ บุญกุศลที่กระทำนั้น จัดเป็น กุศลชั้นต่ำ (โอมกกุศล) ถ้ากุศลนั้น เป็นติเหตุกกุศลด้วย ก็จะเรียกว่า ติเหตุกโอมกกุศล แต่ถ้ากุศลนั้นเป็น ทวิเหตุกกุศล ก็จะเรียกว่า ทวิเหตุกโอมกกุศล ซึ่งจะให้ผลที่แตกต่างกัน คือ
ติเหตุกโอมกกุศล จะนำเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นกลาง (ทวิเหตุกบุคคล) และไม่สามารถทำ มรรค ผล นิพพาน ฌานสมาบัติ ให้เกิดขึ้นได้
ทวิเหตุกโอมกกุศล นำเกิดเป็นมนุษย์และเทวดาชั้นต่ำ ที่มีร่างกายและจิตใจบกพร่อง เช่น ตาบอด หรือหูหนวกแต่กำเนิด เป็นใบ้ บ้า ปัญญาอ่อน (จิตที่นำเกิดเป็น มนุษย์ และเทวดาชั้นต่ำนี้ ไม่ใช่มหาวิบากจิต แต่เป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต)
          
          การให้ผลของอุกกัฏฐกุศล ย่อมให้ผลที่ดีและประณีตกว่าโอมกกุศล ฉะนั้นเจตนาในการทำกุศล จึงควรเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในกาลทั้ง ๓ ดังที่กล่าวมาแล้ว

มหาวิบากจิต

 

          มหาวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของมหากุศลจิต หากทำบุญทำกุศลด้วยมหากุศลจิตอย่างใด ก็จะได้มหาวิบากจิตอย่างนั้น มหากุศลจิตเป็นเหตุ ย่อมให้ผลเป็นมหาวิบากจิตที่ตรงกันเสมอ
          
ดังนั้น มหาวิบากจิต จึงมีจำนวน ๘ ดวง เท่ากับมหากุศลจิต แต่ละดวงมีลักษณะดังนี้ :-
มหาวิบากจิต
เกิดพร้อมด้วย
ความดีใจ
(โสมนัสเวทนา)
เกิดพร้อมด้วย
ความเฉยๆ
(อุเบกขาเวทนา)
ประกอบด้วย
ปัญญา*
(ญาณสัมปยุตต์)
ไม่ประกอบด้วย
ปัญญา
(ญาณวิปปยุตต์)
เกิดขึ้นเอง
(อสังขาริก)
เกิดจาก
การชักชวน
(สสังขาริก)
ดวงที่ ๑      
ดวงที่ ๒      
ดวงที่ ๓      
ดวงที่ ๔      
ดวงที่ ๕      
ดวงที่ ๖      
ดวงที่ ๗      
ดวงที่ ๘      
          
          มหาวิบากจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ จะนำบุคคลให้ไปเกิด (ปฏิสนธิ) เป็นมนุษย์หรือเทวดาภูมิใดภูมิหนึ่ง ส่วนจะเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นสูงหรือ หรือชั้นกลาง ย่อมขึ้นอยู่กับกุศลที่ทำไว้ ว่าเป็นติเหตุกกุศล หรือทวิเหตุกกุศล และขึ้นกับเจตนาทั้ง ๓ กาล อันเป็นเครื่องชี้ว่า กุศลกรรมที่ทำไปนั้น เป็นอุกกัฏฐกุศล หรือ โอมกกุศล ดังกล่าวมาแล้ว
          
          มหาวิบากจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ นอกจากจะทำหน้าที่นำเกิด (ปฏิสนธิ) เป็นมนุษย์หรือเทวดาดังกล่าวแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นภวังคจิต เพื่อรักษาภพชาติที่เป็นมนุษย์หรือเทวดา ให้ดำรงอยู่ต่อไป จนกว่าจะตายอีกด้วย ดังนั้นบุคคลใด ที่ได้กระทำมหากุศลกรรมไว้ ถ้ายังไม่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ได้สิ้นชีวิตไปเสียก่อน ย่อมจะต้องได้รับผลเป็น มหาวิบากจิต ดวงใดดวงหนึ่ง ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเป็นเทวดา ดังที่กล่าวมาแล้ว ตามเหตุที่ได้สร้างมาอย่างแน่นอน

มหากิริยาจิต

 

           มหากิริยาจิต เป็นจิตของพระอรหันต์ผู้หมดจดจากกิเลสแล้ว แต่ก็ยังต้องรับรู้อารมณ์ เพราะยังมีชีวิตอยู่ ความเป็นอยู่ของพระอรหันต์ จึงยังมีจิตที่ยังเกี่ยวข้องกับอารมณ์อยู่เสมอ แต่จิตที่เกี่ยวข้อง กับอารมณ์ของ พระอรหันต์นั้น ไม่มีผลเป็นวิบาก นำเกิดในภพใหม่ ชาติใหม่อีกต่อไป จิตประเภทนี้ชื่อว่า มหากิริยาจิต
 
          โดยปกติจิตที่ทำหน้าที่คิด นึก หรือรู้สึก ของปุถุชนและพระเสกขบุคคล จะมีอยู่ ๒ ประเภทคือ อกุศลจิต และกุศลจิต ทั้งอกุศลจิต และกุศลจิต เมื่อเกิดขึ้นเสพอารมณ์ คือทำหน้าที่ชวนะแล้ว จะเป็นเหตุให้เกิดวิบาก (ผล) ขึ้นในอนาคต หากเป็นวิบากของอกุศล ก็จะนำเกิดใน อบายภูมิ ๔ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน หากเป็นวิบากของกุศล ก็จะนำเกิดในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์ เทวดา รูปพรหม หรืออรูปพรหม ตามประเภทของกุศลกรรม
 
          สำหรับพระอรหันต์ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะการเสพอารมณ์ หรือชวนะ ของพระอรหันต์ ไม่ใช่จิตที่เป็นอกุศลหรือกุศล แต่เป็นจิต ที่ปราศจากผลแล้ว ชื่อว่า มหากิริยาจิต จิตประเภทนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป โดยปราศจากผลใดๆ ความเป็นอยู่ของพระอรหันต์ ไม่มีจิตที่เป็นกุศล หรืออกุศล มีแต่มหากิริยาจิตที่เป็นไป เพื่อการอนุเคราะห์แก่มนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย หรือเพื่อที่จะเทศนาสั่งสอน สืบทอดพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นเนื้อนาบุญ อันประเสริฐ แก่ผู้ทำบุญกับท่านอีกด้วย
 
       มหากิริยาจิตนี้ มีลักษณะคล้ายกับมหากุศลจิตทุกประการ ต่างกันก็ตรงที่ มหากิริยาจิตไม่ส่งผล เป็นมหาวิบากในอนาคตอีกต่อไป เพราะละอวิชชาได้แล้ว มหากิริยาจิตมีทั้งหมด ๘ ดวง แต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
มหากิริยาจิต
เกิดพร้อมด้วย
ความดีใจ
(โสมนัสเวทนา)
เกิดพร้อมด้วย
ความเฉยๆ
(อุเบกขาเวทนา)
ประกอบด้วย
ปัญญา*
(ญาณสัมปยุตต์)
ไม่ประกอบด้วย
ปัญญา
(ญาณวิปปยุตต์)
เกิดขึ้นเอง
(อสังขาริก)
เกิดจาก
การชักชวน
(สสังขาริก)
ดวงที่ ๑      
ดวงที่ ๒      
ดวงที่ ๓      
ดวงที่ ๔      
ดวงที่ ๕      
ดวงที่ ๖      
ดวงที่ ๗      
ดวงที่ ๘      
 
          ภารกิจของพระอรหันต์บางอย่าง ก็ต้องใช้ปัญญา เช่นการแสดงธรรม แต่บางอย่างที่ได้กระทำ จนเกิดความเคยชิน ก็ไม่ต้องใช้ปัญญา เช่น การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีการยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น จิตของพระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่ใช่ว่าจะรับรู้ แต่เฉพาะนิพพานอารมณ์อย่างเดียว ย่อมรับกามอารมณ์ มหัคคตอารมณ์ และบัญญัติอารมณ์ได้ทั้งสิ้น แต่จิตใจของพระอรหันต์ ที่รับอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น หาได้เป็นไปกับอาสวกิเลสทั้งหลาย ไม่เพราะท่านได้ทำลายอาสวกิเลส ด้วยปัญญาในอรหัตตมรรค โดยสิ้นเชิงแล้ว
 
          สรุปแล้ว สภาวจิตของพระอรหันต์ เป็นจิตที่ดีงาม เช่นเดียวกับ มหากุศลจิต จะต่างกันก็ตรงที่ มหากุศลจิต เกิดขึ้นกับปุถุชน และพระเสกขบุคคล เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็มีวิบากทำให้มีภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป
 
          ส่วน มหากิริยาจิต ซึ่งเป็นจิตของพระอรหันต์ เกิดขึ้นกับพระอรหันต์เท่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่มีผล หรือไม่มีวิบาก ที่จะทำให้เกิดภพใหม่ ชาติใหม่ อีกต่อไป

<<<                 >>>