ตอนที่ ๕ (ชุดที่ ๑)
รูปปรมัตถ์
ในปรมัตถธรรม ๔ คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ และนิพพานปรมัตถ์ เราได้ศึกษาผ่านมา ๒ ปรมัตถธรรม คือ จิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ ส่วนรูปปรมัตถ์และนิพพานปรมัตถ์ เรากำลังจะศึกษากันต่อไปนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำว่า รูป มีความหมาย ๒ นัย นัยที่ ๑ กล่าวไว้ว่า รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกดับหรือเสื่อมสลายไป นัยที่ ๒ รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกสลายไป ด้วยอำนาจของความร้อนและความเย็น ซึ่งทั้งสองนัยนี้สรุปได้ว่า รูปก็คือธรรมชาติที่แตกดับ นั่นเอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในส่วนที่เป็นรูป (รูปขันธ์) คือ ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อนับโดยความเป็นรูปธรรมแล้ว มี ๒๘ รูปด้วยกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม ุซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มหาภูตรูป ๔ ได้ชื่อว่าเป็นแม่ธาตุ หรือ ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง ๔ นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้ จะอยู่รวมกันเสมอไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้เลย แม้ในธาตุทั้ง ๔ ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ธาตุดิน จะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อุปาทายรูป ๒๔ หมายถึง รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด ถ้าไม่มีมหาภูตรูป รูปอื่น ๆ ก็จะเกิดขึ้นเองไม่ได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นิปผันนรูป ๑๘ หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเองโดยเฉพาะ เช่น ปฐวีธาตุ มีลักษณะแข็ง เตโชธาตุ มีลักษณะร้อน เป็นต้น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อนิปผันนรูป ๑๐ หมายถึง รูปที่ไม่มีสภาวะของตน ต้องอาศัยนิปผันนรูปเกิด จึงมีขึ้นได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือช่องว่าง ระหว่างรูปต่อรูป หรือกลาปต่อกลาป ซึ่งจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป |
ประเภทที่ ๑ มหาภูตรูป ๔
มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ประเภทที่ ๒ ปสาทรูป
ปสาทรูป คือ รูปที่มีความใส สามารถรับอารมณ์ได้ คล้ายกระจกเงาที่รับภาพต่าง ๆ ภายนอกได้ คำว่า ปสาท แปลว่า ความใส |
รูปที่มีความใสนี้มี ๕ รูป คือ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประเภทที่ ๓ - วิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗
วิสยรูป หรือ โคจรรูป หมายถึง รูปต่าง ๆ ที่มากระทบทางตา คือ ภาพ (สี) ที่มากระทบทางหู คือ เสียง ที่มากระทบทางจมูก คือ กลิ่น ที่มากระทบทางลิ้น คือ รส ที่มากระทบทางกาย คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึง รูปเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ให้แก่จิตและเจตสิก ได้เกิดขึ้นมารับรูปนั้น ๆ ทำให้เกิดความพอ ใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ดี น่ารื่นรมณ์ และทำให้เกิดความไม่พอใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ไม่ดี ไม่น่ารื่นรมณ์ รวม ๔ รูป หรือ ๗ รูป ดังต่อไปนี้
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||
|
ประเภทที่ ๔ - ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่าง ๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา เพราะตาเห็นได้เฉพาะสีเท่านั้น เห็นรูปที่ละเอียดไม่ได้เลย | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
ทำกรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็น หญิง หรือชาย | ||||||||||||||||||
ก็เพราะกำลังของการทำบุญทำกุศล นั่นเอง เกิดมาเป็นชาย การทำบุญกุศลในชาติก่อนจะมีกำลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจ เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว ตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง เหมือนชาย ดังนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของบุญกุศล ที่เราได้กระทำมาแล้วนั่นเอง |
ประเภทที่ ๕ - หทยรูป
หทยรูป ก็คือหัวใจของคนเรานั่นเอง ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะเป็นรูปที่เกิดครั้งแรก เป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึก คือจิตและเจตสิกของคนและสัตว์ทั้งหลาย | ||||||||
|
||||||||
หทยรูป นี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ตั้งอยู่ในช่องเนื้อหัวใจ มีลักษณะเป็นบ่อ มีโลหิตเป็นน้ำเลี้ยงหัวใจอยู่ประมาณ ๑ ซองมือ โตเท่าเมล็ดบุนนาค เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ ความดีความชั่วที่ผลักดันให้ต้องทำบุญทำบาปเกิดขึ้นที่หทยรูปนี้เอง |
ประเภทที่ ๖ - ชีวิตรูป
|
|
|
ประเภทที่ ๗ - อาหารรูป
อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทานเข้าไปประจำวันนี้เอง เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุ (ปาจกเตโชธาตุ) ก็จะมาเป็นเลือดเป็นเนื้อ ชื่อว่า โอชา นำไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป อาหารที่รับประทานเป็นคำ ๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา |
|
หมายเหตุ |
รูปที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๗ ประเภท รวมได้ ๑๘ รูปนี้ ชื่อว่า นิปผันนรูป คือ รูปที่มีสภาวะของตนเอง สามารถนำมาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวใช่ตน ได้ |
เมื่อพิจารณาที่ตั้งอยู่ของรูปทั้ง ๑๘ รูป
แล้ว จะเห็นว่ามีที่อยู่ต่างที่กันไป รูปที่อยู่กระจายทั่วร่างกาย นั้นมี ๑๒ รูป คือ มหาภูตรูป ๔ กายปสาทรูป ๑ วัณณรูป ๑ คันธรูป ๑ รสรูป ๑ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑ และอาหารรูป ๑ รูป รูปที่เกิดเฉพาะแห่งมี ๖ รูป คือ จักขุปสาทรูป (ปสาทตา) โสตปสาทรูป (ปสาทหู) ฆานปสาทรูป (ปสาทจมูก) ชิวหาปสาทรูป (ปสาทลิ้น) สัททรูป (เสียง) และหทยรูป (หัวใจ) |
รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ซึ่งใช้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้ เพราะไม่มีไตรลักษณะทั้ง ๓ ให้ปรากฏ คือ ความเป็นอนิจัง ทุกขัง และอนัตตา |
อนิปผันนรูป ๑๐
อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัย นิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว อนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็น รูป ๆ หนึ่ง ทำหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทำให้นับเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง (อนิปผันนรูปทั้งหมด) ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอัน อย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ ดูภาพสมมุติของอนิปผันนรูป ๑๐ |
|
ความหมายของอนิปผันนรูป
|
อนิปผันนรูป เป็นรูปที่ไม่ใช่รูปแท้เพราะว่า เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะประจำตัวโดยเฉพาะ ไม่มีสามัญลักษณะทั้ง ๓ ประจำอยู่ คือ ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีการแตกดับสลายไป ด้วยความเย็นหรือความร้อน เหมือนนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะนำมาใช้พิจารณา ให้เกิดวิปัสสนาปัญญาได้ |
(โปรดติดตามรายละเอียดของรูปปรมัตถ์ในชุดต่อไป) |
หมวดที่ ๗ การจำแนกรูป ๒๘ โดยพิสดาร
รูปวิภาคนัย เป็นการจำแนกรูป ๒๘ ตามที่ศึกษามาแล้ว โดยพิสดารออกไป เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น ในหมวดนี้ได้แบ่งรูป ๒๘ ออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สรุปได้ว่ารูป ๒๘ นี้จะเรียกชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ ชื่อนี้ก็ได้ ซึ่งก็จะมีความหมาย แตกต่างกันไปตามลักษณะของชื่อนั้น ๆ |
๒. ลักษณะคู่ (ทุกมาติกา)
เป็นการแบ่งรูป ๒๘ ออกเป็นคู่ ๆ ซึ่งมีความหมายตรงกันข้าม จำแนกได้ ๑๑ คู่ คือ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|