เปรตภูมิ เป็นที่อยู่ของพวกที่ทำบาปเบากว่า พวกที่ไปเกิดในนรกภูมิ เพราะนรกเป็นเรื่องการถูกทรมาน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามกรรมที่ได้ทำไว้
ส่วนเปรตเป็นเรื่องของการถูกทรมาน ด้วยการอดอยากหิวโหย เช่น การอดข้าวอดน้ำ เปรตบางชนิด ต้องกินหนองเลือด เสมหะ อุจจาระ เป็นอาหาร
|
|
ที่อยู่ของเปรต
|
เปรตไม่มีที่อยู่โดยเฉพาะ จะอยู่ทั่ว ๆ
ไปตามป่า ภูเขา เหว เกาะ แก่ง ทะเล มหาสมุทร ป่าช้า เป็นต้น เปรต เป็นประเภทโอปปาติกกำเนิด ประเภทกายละเอียดที่ผลุดขึ้นโตทันที เราจึง มองไม่เห็น นอกจากเขาจะใช้พลังจิต
กำหนดกายให้หยาบจึงจะมองเห็นได้
|
|
ชนิดของเปรต
|
เปรตมีหลายจำพวก มีทั้งพวกที่ตัวเล็ก
ตัวใหญ่ บางพวกแปลงกายได้ เป็นเทวดา มนุษย์ผู้ชาย มนุษย์ผู้หญิง ดาบส พระ เณร หรือชี ทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจว่า เป็นเทวดา เป็นชายหญิง หรือพระ เณร จริง ๆ เจตนาของการแปลงกาย
ก็เพื่อจะช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้พบเห็นนั้น ส่วนการแปลงกายที่มุ่งจะทำร้าย ให้เกิดความเกรงกลัวเสียขวัญตกใจ ก็จะแปลงกายเป็น วัว ควาย ช้าง สุนัข มีทั้งสีดำ แดง เทา
รูปร่างใหญ่โตน่าเกลียดน่ากลัว พระธุดงค์หรือผู้ปฏิบัติธรรมในป่า มักจะพบเห็นกันเสมอ ๆ
|
|
อาหารของเปรต
|
เปรตทั้งหลายต้องเสวยทุกขเวทนา
คือการอดข้าวอดน้ำ เปรตบางพวกจึง เข้าไปกินเศษอาหารที่ชาวบ้านเขาทิ้งไว้ บางพวกกินเสมหะ น้ำลาย ของโสโครกต่าง ๆ ท่านได้กล่าวไว้ว่า เปรตที่อาศัยอยู่ตามภูเขา เช่น ที่ภูเขาคิชฌกูฎ
นอกจากจะอดอาหารแล้ว ยังต้องถูกทรมานเหมือนสัตว์นรกด้วย
|
|
เปรตประเภทต่าง ๆ ตามที่พระอรรถกถา และพระคัมภีร์ แสดงไว้
|
|
|
แสดงเรื่องเปรตไว้ ๔ จำพวก คือ
|
|
๑.
|
ปรทัตตุปชีวิกเปรต
|
เป็นเปรตที่มีชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยส่วนบุญที่ญาติมิตร เขาอุทิศให้ ถ้าไม่มีผู้อุทิศให้
ก็ต้องอดอยากหิวโหย ได้รับทุกขเวทนาอยู่เช่นนั้น
|
๒.
|
ขุปปีปาสิกเปรต
|
เป็นเปรตที่อดอยาก หิวข้าวหิวน้ำอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีเรี่ยวแรงแม้จะลุกขึ้น
ต้องนอนแซ่วอยู่เหมือนคนป่วยที่ใกล้จะตาย
|
๓.
|
นิชฌามตัณหิกเปรต
|
เป็นเปรตที่มีไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ
|
๔.
|
กาลกัญจิกเปรต
|
เป็นเปรตจำพวกอสุรกาย หรือ อสุรา
|
|
|
ปรทัตตุปชีวิกเปรต
|
ประเภทเดียวเท่านั้นที่สามารถจะรับส่วนกุศลที่มนุษย์แผ่ไปให้ได้
เพราะอยู่ใกล้ๆ กับมนุษย์ และสามารถที่จะรู้ว่าเขาแผ่ส่วนกุศลให้ และอนุโมทนาส่วนบุญนั้น ถ้าไม่รู้หรือไม่ได้อนุโมทนา ก็ไม่ได้รับส่วนบุญที่ญาติมิตรแผ่ไปให้
|
|
พระโพธิสัตว์เมื่อได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว
ถ้าจะเกิดเป็นเปรต ก็จะเกิดเป็นเปรตได้ประเภทเดียวเท่านั้นคือ ปรทัตตุปชีวิกเปรต เปรตอีก ๓ ชนิดที่เหลือ จะไม่ไปเกิด
|
เปรตปรทัตตุปชีวิกเปรตนี้ นับว่าเป็นเปรตที่โชคดีจำพวกเดียวเท่านั้น ที่จะสามารถรับส่วนบุญกุศล ที่พวกญาติมิตรของตนอุทิศให้
เพราะมีอกุศลบางเบา จึงมีจิตยินดีที่จะอนุโมทนาส่วนกุศล โดยที่ตนมีความอยากข้าว และน้ำเป็นกำลัง จึงท่องเที่ยวซัดเซไปมา นึกถึงหมู่ญาติของตนว่า ใครอยู่ที่ไหนบ้าง
เมื่อนึกได้ก็จะคอยอยู่ใกล้ ๆ คอยท่าอยู่ว่า
|
|
|
“เมื่อใดญาติของเรา
จะทำบุญทำกุศลแล้วอุทิศมาให้เราบ้าง”
|
ครั้นญาติทำบุญทำกุศลแล้ว ลืมอุทิศให้
หรืออุทิศให้แต่คนอื่น ไม่ได้อุทิศให้ตน เขาก็จะเดินวนเวียนไปมา ด้วยใบหน้าหม่นหมอง เศร้าสร้อยด้วยความผิดหวัง บางทีก็มีความน้อยใจ ถึงกับเป็นลมฟุบสลบลงไป ด้วยความหิวโหย ด้วยความทรมาน
และก็ได้แต่หวังอยู่อีกว่า “ครั้งต่อไป เขาคงไม่ลืมเรา เขาคงอุทิศให้แก่เราบ้าง ในครั้งต่อไป เขาคงไม่ลืมเรา เขาคงมีแก่ใจอุทิศให้แก่เราบ้าง” เปรตพวกนี้ได้แต่หวังอย่างนี้มาแสนนาน
บางทีก็ได้สมประสงค์ บางทีก็ไม่ได้ตามประสงค์ เพราะพวกญาติมิตรที่ตนฝากความหวังไว้นั้น ไม่ประกอบการกุศล เพราะเป็นคนมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อบุญเชื่อบาป หรือว่าญาติมิตรเป็นคนมีศรัทธาทำบุญ
แต่หลงลืมไม่อุทิศให้ เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็ย่อมไม่ได้รับผลบุญ ต้องทนทุกข์อดอยากหิวโหย อยู่นานแสนนาน
|
|
|
|
บรรดาเปรตทั้งหลาย ที่ได้กล่าวมาแล้ว
เปรตที่มีโอกาสได้รับส่วนบุญจากผู้อื่นก็คือ ปรทัตตุปชีวิกเปรต เพราะอยู่ใกล้กับมนุษย์ ซึ่งเกิดอยู่ในบริเวณบ้านเรือนของญาติมิตรนั้น
เนื่องจากเวลาใกล้จะตาย มีความห่วงใยอาลัยอาวรณ์ในทรัพย์สินเงินทอง ห่วงใยในสามีภรรยา ลูกหลานหรือมิตรสหาย เมื่อตายก็จะอยู่ในบริเวณบ้านเรือนนั้นเอง ที่เราเรียกว่า ผีหรือเปรต แม้ว่าจะอยู่ในบริเวณนั้นก็ดี ถ้าไม่รู้ว่าเขาอุทิศส่วนกุศลให้ และไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาทาน
ก็จะรับส่วนบุญที่เขาอุทิศมาให้ไม่ได้
|
|
ส่วนผู้ที่เกิดในนรก เปรตประเภทอื่น เช่น
อสุรกาย เดรัจฉาน ซึ่งเกิดด้วยอำนาจของอกุศลกรรม ซึ่งอยู่ห่างไกลจากหมู่มนุษย์ ก็ไม่มีโอกาสที่จะรู้และอนุโมทนาในส่วนบุญที่เขาอุทิศมาเลย เช่น ญาติของตนตายแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์
หรือสุนัขในบ้านของเรา แม้จะอุทิศส่วนกุศลให้ ก็ไม่สามารถจะรับส่วนกุศลนั้น ๆ ได้ แม้แต่ผู้ที่ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็เช่นเดียวกัน
|
|
บุญที่อุทิศให้แก่ญาติผู้ตายแล้วนั้น
หากไม่ถึงหรือไม่สำเร็จ ก็ไม่สูญหายไปไหน คงเป็นบุญที่ติดตัวแก่ผู้อุทิศให้นั้น ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความสุขความเจริญ ในชาติต่อ ๆ ไป
|
|
|
ในคัมภีร์ทั้งสองนี้ ได้แสดงเรื่อง
เปรตที่อาศัยอยู่ ที่เชิงภูเขาหิมาลัยในป่าแห่งหนึ่ง ชื่อว่า วิชฌาฏวี มี ๑๒ จำพวก คือ
|
๑. วันตาสเปรต
|
เปรตที่กินน้ำลาย เสมหะ และอาเจียน เป็นอาหาร
|
|
๒. กุณปาสเปรต
|
เปรตที่กินซากศพคน หรือสัตว์ เป็นอาหาร
|
|
๓. คูถขาทกเปรต
|
เปรตที่กินอุจจาระต่าง ๆ เป็นอาหาร
|
|
๔. อัคคิชาลมุขเปรต
|
เปรตที่มีเปลวไฟลุกอยู่ในปากเสมอ
|
|
๕. สูจิมุขเปรต
|
เปรตที่มีปากเท่ารูเข็ม
|
|
๖. ตัณหัฏฏิตเปรต
|
เปรตที่ถูกตัณหาเบียดเบียน ให้หิวข้าวหิวน้ำอยู่เสมอ
|
|
๗. สุนิชฌามกเปรต
|
เปรตที่มีตัวดำเหมือนตอไม้ที่เผา
|
|
๘. สัตถังคเปรต
|
เปรตที่มีเล็บมือเล็บเท้ายาวและคมเหมือนมีด
|
|
๙. ปัพพตังคเปรต
|
เปรตที่มีร่างกายสูงใหญ่เท่าภูเขา
|
|
๑๐. อชครังคเปรต
|
เปรตที่มีร่างกายเหมือนงูเหลือม
|
|
๑๑. เวมานิกเปรต
|
เปรตที่ต้องเสวยทุกข์ในเวลากลางวัน
แต่กลางคืนได้ไปเสวยสุขในวิมาน
|
|
๑๒. มหิทธิกเปรต
|
เปรตที่มีฤทธิ์มาก
|
|
|
|
|
แสดงเรื่องเปรตไว้ ๒๑ จำพวก คือ
|
|
|
๑. อัฏฐิสังขสิก
|
เปรตที่มีกระดูกติดกันเป็นท่อน ๆ แต่ไม่มีเนื้อ
|
|
๒. มังสเปสิก
|
เปรตที่มีเนื้อเป็นชิ้น ๆ แต่ไม่มีกระดูก
|
|
๓. มังสปิณฑ
|
เปรตที่มีเนื้อเป็นก้อน
|
|
๔. นิจฉวิริส
|
เปรตที่ไม่มีหนัง
|
|
๕. อสิโลม
|
เปรตที่มีขนเป็นพระขรรค์
|
|
๖. สัตติโลม
|
เปรตที่มีขนเป็นหอก
|
|
๗. อุสุโลม
|
เปรตที่มีขนเป็นลูกธนู
|
|
๘. สูจิโลม
|
เปรตที่มีขนเป็นเข็ม
|
|
๙. ทุติยสูจิโลม
|
เปรตที่มีขนเป็นเข็มชนิดที่ ๒
|
|
๑๐. กุมภัณฑ
|
เปรตที่มีลูกอัณฑะใหญ่โตมาก
|
|
๑๑. คูถกูปนิมุคค
|
เปรตที่จมอยู่ในอุจจาระ
|
|
๑๒. คูถขาทกเปรตสเปรต
|
เปรตที่กินอุจจาระ
|
|
๑๓. นิจฉวิตก
|
เปรตหญิงที่ไม่มีหนัง
|
|
๑๔. ทุคคุนธ
|
เปรตที่มีกลิ่นเหม็น
|
|
๑๕. โอคิลินี
|
เปรตที่มีร่างกายเป็นถ่านไฟ
|
|
๑๖. อสีส
|
เปรตที่ไม่มีศีรษะ
|
|
๑๗. ภิกขุ
|
เปรตที่มีรูปร่างเหมือนพระ
|
|
๑๘. ภิกขุณี
|
เปรตที่มีรูปร่างเหมือนภิกษุณี
|
|
๑๙. สิกขมาน
|
เปรตที่มีรูปร่างเหมือนสิกขมานา
|
|
๒๐.สามเณร
|
เปรตที่มีรูปร่างเหมือนสามเณร
|
|
๒๑.สามเณรี
|
เปรตที่มีรูปร่างเหมือนสามเณรี
|
|
|
|
|
การที่มนุษย์ทั้งหลาย
จะได้มีโอกาสไปอุบัติเป็นเปรต ต้องเสวยความทุกข์ทรมาน เพราะความอดอยาก ได้รับความหิวกระหายอย่างแสนสาหัสนั้น เนื่องจากบาปที่ตนได้กระทำไว้ ได้แก่ บาป ๑๐ ประการ เรียกว่า
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่
การทำบาปทางกาย ๓ อย่าง คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกาม
การทำบาปทางวาจา ๔ อย่าง คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้สาระ
การทำบาปทางใจ ๓ อย่าง คือ โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา และมิจฉาทิฏฐิ คือ
เห็นผิดจากทำนองคลองธรรมซึ่งบาปอกุศล ๑๐ ประการนี้ เมื่อตายไปแล้ว ก็ต้องไปเสวยทุกขเวทนาเป็นเปรต และยังสามารถที่จะนำไปสู่นรกภูมิได้ด้วย ซึ่งจะต้องได้รับความทุกข์ทรมาน
จากนรกก่อน เมื่อสิ้นกรรมจากนรกแล้ว เศษบาปยังมี จึงจะต้องไปเกิดเป็นเปรตอีกในภายหลัง
|
|
|
|
สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ เทวดา หรือพรหม ที่ได้กระทำกรรมในส่วนที่เป็นบาป
หรือในส่วนที่เป็นบุญก็ดี ผลของกรรมก็จะนำเกิดอีก ในภพใหม่ชาติใหม่ โดยจะเกิดนิมิต หรืออารมณ์ก่อนตาย ๓ ประการด้วยกัน คือ
|
๑.
กรรมอารมณ์
|
ก่อนตายจะทำให้เราระลึกถึงบุญหรือบาป
ที่ได้กระทำไว้ ให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ตนเคยฆ่าเขาไว้ก็จะนึกถึงภาพ ที่ตนได้ฆ่าเขาไว้อย่างชัดเจน
ใจก็จะเศร้าหมองหวาดกลัว เมื่อตายไปก็จะเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ในทำนองเดียวกันถ้าทำบุญไว้มาก ๆ เมื่อใกล้จะตาย ก็จะนึกถึงบุญที่ตนได้กระทำไว้ เช่น ทำบุญใส่บาตร ทอดกฐิน
ทอดผ้าป่า สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร รักษาศีล เจริญภาวนา เมื่อตายลงก็ย่อมไปสู่สุคติ คือ
ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา กรรมอารมณ์นี้ เป็นนิมิตให้เกิดได้ เฉพาะในกามภูมิเท่านั้น
|
|
๒.
กรรมนิมิตอารมณ์
|
คือการเห็นภาพเครื่องมือในการทำบาป
หรือทำบุญ เช่น เคยฆ่าสัตว์ ก็จะเห็นเครื่องมือของการทำบาป เช่น ดาบ มีด ปืน แห อวน อาวุธต่าง ๆ
ที่เป็นเครื่องมือในการฆ่า อุปกรณ์เหล่านี้ จะเป็นภาพปรากฏให้เห็น เมื่อตายลงก็ย่อมไปสู่ทุคติ
ในทำนองเดียวกัน เมื่อทำบุญ ก็จะเห็นเครื่องใช้ในการทำบุญ เช่นเห็นขันข้าว หรือทัพพี เห็นศาลาการเปรียญ
เป็นต้น เมื่อตายลง ก็ย่อมไปสู่สุคติด้วยอำนาจของบุญนั้น หรือผู้เจริญภาวนา ถ้าได้ฌานก็จะไปเกิดเป็น
พรหม
|
|
๓.
คตินิมิตอารมณ์
|
ได้แก่ภาพซึ่งเป็นสถานที่
ที่ผู้ทำบุญหรือทำบาปไว้ จะต้องไปเกิดนั้นมานิมิตให้เห็นก่อนตาย เช่น เห็นหมู่สัตว์นรกกำลัง ถูกทรมาน
เห็นไฟนรก เห็นหมู่เปรตที่หิวโหย เห็นหมู่สัตว์เดรัจฉาน เมื่อตายลง ก็ย่อมไปเกิดในสถานที่
ที่เห็นนั้นด้วยอำนาจของบาปที่ทำไว้ ถ้าเห็นเป็นวิมานเทวดา เห็นหมู่เทวดา หรือเห็นครรภ์ของมารดา
เห็นมวลหมู่มนุษย์ที่กำลังทำบุญ ทำกุศลกัน เมื่อผู้นั้นตาย ก็จะไปเกิดเป็นเทวดา
หรือมนุษย์ตามภูมิที่ได้เห็นนั้น
|
|
|
|
อารมณ์หรือนิมิตทั้ง ๓
เหล่านี้ย่อมปรากฏอย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนที่บุคคลหรือสัตว์เหล่านั้นใกล้จะตาย นอกจากพระอรหันต์เท่านั้น ซึ่งไม่ต้องเกิดอีก ก็จะไม่มีนิมิตทั้ง ๓ ปรากฏให้เห็น
|
|
|
|
บุคคลที่เกิดมาในโลกนี้
เมื่อเกิดมาแล้วได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่จะต้องชดใช้กรรม พร้อมกันนั้นก็จะต้องกระทำกรรมใหม่ขึ้นอีก ทั้งในส่วนที่เป็นบุญและเป็นบาป จึงได้จำแนกการดำเนินชีวิตของคนไว้ ๓
ประเภทด้วยกัน คือ
|
๑. ทำบาปมากกว่าทำบุญ
|
๒. ทำบุญมากกว่าทำบาป
|
๓. ทำบุญกับทำบาปเสมอกัน
|
|
|
สำหรับบุคคลที่ทำบุญและทำบาปใกล้เคียงกัน
เสมอกันนั้น เมื่อตายลง จะยังไม่ตรงไปเกิดในนรกภูมิ ด้วยอำนาจของอกุศลกรรม หรือตรงไปบังเกิดเป็นเทวดา ด้วยอำนาจของกุศลกรรมทันที ด้วยอำนาจแห่งความประมาท
ที่ไม่ค่อยจะเชื่อบุญหรือเชื่อบาป เมื่อเขาตายลง ก็ย่อมจะได้ไปเกิดในแดนยมโลกนรก พบกับ ยมฑูต ย่อมจะถูกยมฑูตนำไปสู่สำนักของพญายมราช เพื่อให้พญายมราช
ซึ่งเป็นใหญ่ในยมโลกนรก สอบถามถึงเทวทูต ๕ ประการเสียก่อน แล้วจึงจะเสวยผลกรรมดีหรือชั่ว ที่ตนได้กระทำไว้
|
|
|
เทวฑูตที่
๑
|
พญายมราชผู้มีจิตกรุณาก็จะไต่ถามว่า
“ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นเด็กแดงๆ ยังอ่อนนอนแบเบาะ
นอนเปื้อนมูตรคูถของตนบ้างไหม เห็นแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ?”
|
ถ้าตอบว่า เห็น แต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็จะบอกให้ทราบว่าเจ้าเป็นผู้มีความประมาท
ไม่กระทำความดีทาง กาย วาจา ใจ ไม่เคยคิดเลยหรือว่า การเกิดมานั้นเป็นทุกข์ ดังที่เห็นอยู่
เมื่อท่านประมาทเช่นนี้นายนิรยบาลจะทำการลงโทษท่าน พญายมราชก็จะปลอบใจผู้กระทำบาปเหล่านี้ โดยถามเป็นปัญหา
|
|
เทวฑูตที่
๒
|
เมื่อพญายมราชได้ปลอบโยนเอาอกเอาใจแล้วก็ได้ถามปัญหาข้อที่
๒ ว่า “ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่าน เคยเห็นคนแก่ อายุ ๘๐, ๙๐, ๑๐๐ ปี หลังโก่งคดงอ
ถือไม้เท้า เดินงกเงิ่น ผมหงอก หนังเหี่ยว ตกกระ ในหมู่มนุษย์บ้างไหม เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร” ถ้าตอบว่า
เห็น แต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราช
ก็จะกล่าวชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ประมาท ไม่พิจารณาเห็นโทษของความแก่ ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล
ตั้งอยู่ในความประมาท นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชก็จะพูดปลอบใจและถามปัญหาต่อไป
|
|
เทวฑูตที่
๓
|
พญายมราชจะถามว่า “ ท่านเคยเห็นคนป่วยไข้ ที่กำลังได้รับความทุกข์เวทนาบ้างหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร
?” ถ้าตอบว่า เห็นแต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมราชก็จะชี้แจงให้ทราบถึงเหตุผลว่า
การเจ็บป่วยนั้นเป็นทุกข์ที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ จะต้องขวนขวายในการทำความดียิ่ง ๆ ขึ้น
เพื่อให้พ้นจากสิ่งเหล่านี้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน
พญายมราชจะพูดปลอบใจเอาอกเอาใจ และถามปัญหาข้อที่ ๔ ต่อไป
|
|
เทวฑูตที่
๔
|
พญายมราชได้ถามปัญหาด้วยจิตเมตตาต่อไปว่า
“ ท่านเคยเห็นคนที่ถูกจองจำ เช่น โจร ผู้ร้าย ผู้กระทำผิด
ซึ่งถูกทำการลงโทษด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การโบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วย กระบอง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง
ตัดหูตัดจมูกบ้าง ตลอดจนยิงเป้า แขวนคอ นั่งเก้าอี้ไฟฟ้า หรือการฉีดสาร พิษเข้าสู่ร่างกายเพื่อให้เสียชีวิต
บ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร ? ” ถ้าตอบว่า เห็นแต่ไม่รู้สึกอย่างไร
พญายมราช จะชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล
เพื่อให้พ้นจากวัฏฏทุกข์เหล่านี้ นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชก็จะพูดปลอบโยน
เอาอกเอาใจและถามปัญหาในข้อต่อไป
|
|
เทวฑูตที่
๕
|
พญายมราชก็จะถามปัญหาว่า
“ ท่านเคยเห็นคนตายบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร ?”
ถ้ายังตอบเหมือนเดิมอีก คือ เห็นแล้วไม่มีความรู้สึกอย่างไร และไม่ได้ขวนขวาย
ในการที่จะกระทำคุณงามความดียิ่งๆ ขึ้น ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ซึ่งไม่ใช่เป็นความผิดของบิดามารดา
ญาติพี่น้อง มิตรสหาย หรือเทวดาดลใจ แต่เป็นความผิดของท่านเอง นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน
เมื่อพญายมราชได้พูดปลอบใจแล้ว นายนิรยบาล ก็จะจับผู้ประมาทเหล่านั้นทำการจองจำ ๕ ประการด้วยกัน คือ
ตรึงตะปูด้วยเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๑ ตรึงตะปูด้วยเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๒ ตรึงตะปูด้วยเหล็กแดงที่เท้าข้างที่ ๑
ตรึงตะปูด้วยเหล็กแดงที่เท้าข้างที่ ๒ และตรึงตะปูที่ทรวงอกตรงกลาง สัตว์เหล่านั้นย่อมเสวยทุกขเวทนาแรงกล้า
อยู่ในนรกนั้นแต่ก็ยังไม่ตาย ตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่หมดสิ้น
|
|
|
|
|