กามาวจรกุศลกรรม ได้แก่เจตนาที่อยู่ในมหากุศลจิต
๘ หมายถึงการทำกรรมดี ๓ ทาง คือทางกาย (กายกรรม ๓) ทางวาจา (วจีกรรม ๔) และทางใจ (มโนกรรม ๓) เรียกว่า กุศลกรรมบท ๑๐
หรือ ความดีที่ควรทำอีก ๑๐ อย่าง จะให้ผลเป็นบุญกุศล เป็นความสุขความเจริญ เช่นเดียวกัน เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
|
|
|
|
กุศลกรรมบถ ๑๐
ประกอบด้วย
|
๑. การทำความดีทางกาย (กายกรรม ๓)
|
๒. การทำความดีทางวาจา (วจีกรรม ๔)
|
๓. การทำความดีทางใจ (มโนกรรม ๓)
|
|
|
|
|
๑. การทำความดีทางกาย (กายกรรม ๓) มี ๓ อย่าง คือ
|
|
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์
|
|
|
มีความตั้งใจว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ จะไม่ทำลาย สิ่งมีชีวิตทั้งปวง
จะให้ความรักความเมตตาสงสาร ความโอบอ้อมอารี ถือว่าสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เป็นเพื่อน เกิดแก่เจ็บตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรา ผลของบุญที่จะได้รับ
เมื่อสิ้นชีวิตลงจะได้ไปสู่สุคติภพ ได้เกิด เป็นมนุษย์ หรือเทวดา เสวยทิพยสมบัติ มีรูปงาม อายุยืนนาน ผิวพรรณผ่องใสปราศ จากโรคภัยมีข้าทาสบริวาร
มีกำลังวังชาแข็งแรง
|
|
|
มีความตั้งใจว่าจะไม่ขโมยทรัพย์สินใดๆ ของผู้อื่น ที่เขามิได้ให้
ผลของบุญที่จะได้รับ เมื่อตายลง จะได้ไปสู่สุคติภพ ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา ทำให้ทรัพย์มั่นคง ไม่ถูกทำลาย จากภัยดังกล่าวข้างต้น
|
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
|
|
|
มีความตั้งใจว่าจะไม่ประพฤติล่วงเกิน บุตรภรรยาสามีของผู้อื่น ผลของบุญที่จะได้รับ
เมื่อสิ้นชีวิตลงจะได้ไปสู่สุคติภพ ได้เกิด เป็นมนุษย์ หรือเทวดาทำให้มีครอบครัวที่อบอุ่น บุตรธิดา สามี ภรรยา รักใคร่ปรองดอง กันดี ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ซื่อตรงต่อกัน
ไม่คิดนอกใจกัน
|
|
|
๒. การทำความดีทางวาจา (วจีกรรม ๔) มี ๔ อย่าง คือ
|
|
๑. การไม่พูดเท็จ
|
๒. การไม่พูดส่อเสียด
|
๓. การไม่พูดคำหยาบ
|
๔. การไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ
|
|
|
|
ผู้ที่ปกติชอบพูดเท็จพูดไม่จริงอยู่เสมอ
หรือชอบพูดส่อเสียด
|
ยุยงด่าว่าผู้อื่นด้วยคำหยาบคายต่าง ๆ พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ
ครั้นเมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้ว มีสติรู้จักผิดชอบชั่วดี มีหิริโอตตัปปะ การกล่าวเท็จ การกล่าวยุยงส่อเสียด กล่าวคำหยาบคาย หรือพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล
ที่เคยกล่าวหรือพูดมาแต่ก่อน ๆ หากหยุดเสียได้ บุญกุศลย่อมจะเกิดขึ้น
|
|
|
องค์ธรรมของวจีกรรม หรือ วจีวิญญัติทั้ง ๔
คือ
|
|
๑. สัมมาวาจาเจตสิก
|
|
๒. สัมมาอาชีวเจตสิก
|
หรือเจตนาที่เกิดในมหากุศลจิต ๘ นั่นเอง
|
|
|
|
ผลของบุญที่จะได้รับ จากการงดเว้นวจีทุจริตกรรมทั้ง
๔
|
เมื่อตายลงจะได้ไปสู่สุคติภพ ได้เกิดเป็นมนุษย์ หรือ เทวดา
ได้ยินได้ฟังสิ่งที่ดีงาม ไม่ถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อ ไม่ถูกติเตียน ได้รับการยกย่องนับถือจากบุคคลทั่วไป ทรัพย์สินมั่นคง ไม่พินาศจากภัยต่าง ๆ
|
|
|
๓. การทำความดีทางใจ (มโนกรรม ๓) มี ๓ อย่าง คือ
|
|
๑. การไม่คิดเพ่งเล็ง อยากได้ ในทรัพย์ของคนอื่น มาเป็นของตนเอง
(อนภิชฌา)
|
๒. การไม่อาฆาตพยาบาท จองเวรกับใคร (อพยาปาท)
|
๓. มีความเห็นถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง (สัมมาทิฏฐิ)
|
|
|
|
การทำความดีทางใจ
|
คือ การสำรวมจิตใจ มิให้ใจของเรา ได้ตกไปในฝ่ายที่ไม่ดี เป็นอกุศล
ตั้งใจว่าจะคิดแต่สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นกุศล ไม่เป็นโทษ เป็นพิษภัยแก่ตนเองหรือผู้อื่น
|
|
|
ผลของบุญที่จะได้รับ
|
เมื่อสิ้นชีวิตลงจะได้ไปเกิดในสุคติภพ ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือ เทวดา
มีรูปกายที่สวยงาม มีวรรณะผ่องใส อยู่ในตระกูลในฐานะที่สูง เป็นผู้มีปัญญา เป็นไปเพื่อมรรคผลในที่สุด
|
|
|
การทำความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ
|
นอกจาก จะให้ความสุขกาย สบายใจในภพนี้แล้ว ยังจะให้ผลในภพหน้า ชาติหน้า
และภพชาติต่อไป และจะเป็นปัจจัย ให้เข้าถึง ซึ่งความหมดทุกข์ต่อไปอีกด้วย
|
|
|
เรามาศึกษา ทำความเข้าใจรายละเอียด
ของการทำคุณงามความดี ที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งบุญกุศล
กันต่อไป
|
|
|
|
บุญกิริยาวัตถุ คือ ความดีที่ควรทำ เพราะเป็นเหตุ เป็นที่ตั้ง แห่งผลของความดี
|
|
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แบ่งเป็น ๒ นัย คือ
|
|
เป็นการแสดงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง ๓ คือ
กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร รวมได้เป็น ๓๐
|
|
เป็นการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เข้าใน กุศลกรรมบถ
๑๐
|
|
|
|
ตารางแสดงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่เกิดทางทวารทั้ง ๓
โดยสุตตันตนัย
|
|
|
ดังนั้น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐
คือ
|
๑. การให้ทาน
|
๖. การอุทิศส่วนกุศล
|
๒. การรักษาศีล
|
๗. การอนุโมทนากุศล
|
๓. การเจริญภาวนา
|
๘. การฟังธรรม
|
๔. การอ่อนน้อมถ่อมตน
|
๙. การแสดงธรรม
|
๕. การช่วยงานกุศล
|
๑๐. ความเห็นตรงกับความจริง
|
|
|
|
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ สามารถทำได้ทั้ง ๓ ทวาร คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร
|
|
ตารางแสดงการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ลงในกุศลกรรมบถ
๑๐
ตามอภิธรรมนัย
|
|
บุญกิริยาวัตถุ
๑๐
|
สงเคราะห์ลงในกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้เป็น
|
๑. การให้ทาน (ทาน)
|
มโนกรรม ๑ คือ อนภิชฌา การไม่เพ่งเล็งอยากได้
|
๒. การรักษาศีล (ศีล)
|
กายกรรมศีล ๓ และวจีกรรมศีล ๔
|
๓. การเจริญภาวนา (ภาวนา)
|
มโนกรรม ๒ คือ อพยาบาท และ สัมมาทิฏฐิ
|
๔. การอ่อนน้อมถ่อมตน (อปจายนะ)
|
๕. การช่วยงานกุศล (เวยยาวัจจะ)
|
๖. การอุทิศส่วนกุศล (ปัตติทานะ)
|
มโนกรรม ๒ คือ อนภิชฌา และ สัมมาทิฏฐิ
|
๗. การอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนา)
|
๘. การฟังธรรม (ธัมมัสสวนะ)
|
มโนกรรม ๑ คือ สัมมาทิฏฐิ
|
๙. การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา)
|
มโนกรรม ๓ คือ อนภิชฌา อพยาบาท และ สัมมาทิฏฐิ
|
๑๐. การมีความเห็นตรงความจริง
(ทิฏฐุชุกรรม)
|
มโนกรรม ๑ คือ สัมมาทิฏฐิ
|
|
|
|
|
|
๑. ทาน (การให้)
|
ทาน คือ การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับ ลักษณะของทาน นั้นมี ๔ ประการ คือ
|
๑. เป็นการให้แก่ผู้อื่น
|
๒. เป็นการทำลายความโลภออกจากตัว
|
๓. จะให้ความสมบูรณ์พูนสุข ในการเวียนเกิด เวียนตาย เกิดจนถึงนิพพาน
|
๔. เกิดขึ้นจากศรัทธา เห็นประโยชน์ของทานก่อน การทำทานจึงเกิดขึ้น
|
|
|
|
ทาน มี ๔
อย่าง คือ
|
๑. เจตนาทาน
|
๒. วัตถุทาน
|
๓. อโลภทาน
|
๔. วิรตีทาน
|
|
|
|
|
เจตนาทาน เมื่อกล่าวโดยองค์ของทานแล้ว
ได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ประกอบในมหากุศลจิต ๘ อันเป็นเหตุให้เกิดการทำทาน
|
|
เมื่อจะกล่าวถึงเจตนาของการให้ทานแล้ว มี ๓ ประการ
คือ
|
๑. เจตนาก่อนให้ทาน
|
เรียกว่า
|
ปุพพเจตนาทาน
|
๒. เจตนาขณะให้ทาน
|
เรียกว่า
|
มุญจเจตนาทาน
|
๓. เจตนาหลังจากให้ทาน
|
เรียกว่า
|
อปรเจตนาทาน
|
|
|
|
หลักของการทำทาน
|
คือ ก่อนทำ ทาน ขณะทำ ทาน และ หลังทำ ทานแล้ว ถ้าไม่เป็นไปด้วยความโลภ
ไม่เป็นไปด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปด้วยความไม่เข้าใจ ย่อมจะได้อานิสงส์มาก
|
|
|
ถ้าไม่เข้าใจในการทำบุญและผลของบุญ
|
โดยสักแต่ว่าทำตาม ๆ กันไป ย่อมจะได้รับอานิสงส์น้อย
|
|
|
ถ้าในกาลทั้ง ๓ มีความโลภ ความโกรธ และความไม่เข้าใจ เจือปนอยู่ด้วย
|
ก็ย่อมจะได้ รับอานิสงส์น้อยลงตามลำดับ
|
|
|
ผลของเจตนาทาน
|
บุคคลใดทำทานครบเจตนาทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ถ้าบุญนั้น
ได้โอกาสส่งผล ก็จะนำเกิดเป็นมนุษย์ และเทวดาได้ ทำให้ได้สกุล ฐานะ ทรัพย์สมบัติและบริวาร ต่างกันไป ตามกำลังของบุญที่ทำไว้ ในอปทานพระบาลี ท่านแสดงไว้ว่า การถวายดอกไม้เพียงดอกเดียว ไม่ต้องตกนรกถึง ๘๐ โกฏิชาติ เวียนเกิดเวียนตายในมนุษยโลก และเทวโลก ไม่ขาดสายตลอดเวลา ๘๐
โกฏิชาติ
|
|
|
พระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าวสรรเสริญการให้ทานว่า
|
“การทำบุญกับพระสงฆ์ที่ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
จะได้บุญมหาศาล เหมือนกับการหว่านพืชไว้เพียงเล็กน้อยเท่าเมล็ดโพธิ์ แต่ได้รับผลเหมือนกับต้นโพธิ์ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขา”
|
|
|
ต่อไปจะศึกษาเรื่องทาน ที่จัดไว้เป็นหมวด
ๆ เพื่อจะได้มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องของทานยิ่งขึ้น
|
|
การแบ่งหมวดทานตามนัยต่าง
ๆ
|
ทานหมวด ๒
|
ทานหมวด ๓
|
๑. อามิสทาน
คือ การให้วัตถุปัจจัยต่างๆ
|
๒. ธรรมทาน
คือ การให้ธรรมเป็นทาน
|
|
๑. หีนทาน
คือ ทำบุญปรารถนา ลาภ ยศ สรรเสริญ
|
๒. มัชฌิมทาน
คือทำบุญปรารถนา
มนุษย์และสวรรค์สมบัติ
|
๓. ปณีตทาน
คือ ทำบุญปรารถนา มรรคผลนิพพาน
|
|
๑. สาหัตถิกทาน
คือ การทำทานด้วยตนเอง
|
๒. อาณัตติกทาน
คือ ใช้ให้ผู้อื่นทำแทน
|
|
๑. หีนทาน
คือ ทำบุญปรารถนา
มนุษย์และสวรรค์สมบัติ
|
๒. มัชฌิมทาน
คือทำบุญปรารถนาเป็น
สาวกปัจเจกพุทธเจ้า
|
๓. ปณีตทาน
คือ ทำบุญปรารถนา พระสัมมาสัมโพธิญาณ
|
|
๑. สัมปชานทาน
|
|
คือ การทำบุญที่เข้าใจในผลของบุญ
|
๒. อสัมปชานทาน
|
|
คือ ไม่เข้าใจในบุญและผลของบุญ
|
|
๑. หีนทาน
คือ การทำบุญชั้นต่ำ ตั้งใจ เล็กน้อย
|
๒. มัชฌิมทาน
คือ การทำบุญชั้นกลาง ตั้งใจ พอประมาณ
|
๓. ปณีตทาน
คือ การทำบุญชั้นสูง ตั้งใจ อย่างยิ่ง
|
|
๑.วัฏฏนิสสิตทาน
|
|
คือ ทำบุญต้องการรูปสวยรวยทรัพย์
|
๒. วิวัฏฏนิสสิตทาน
|
|
คือ ทำบุญต้องการมรรคผลนิพพาน
|
|
๑. ทาสทาน
คือ ทำบุญด้วยของที่ ต่ำกว่า
ที่ตนบริโภค
|
๒. สหายทาน
คือ ทำบุญด้วยของที่ เสมอกับ
ที่ตนบริโภค
|
๓. สามีทาน
คือ ทำบุญด้วยของที่ ดีกว่า
ที่ตนบริโภค
|
|
|
๑. โลกาธิปไตยทาน
คือ ทำบุญโดยปรารภ หมู่ชนเป็นใหญ่
|
๒. อัตตาธิปไตยทาน
คือ ทำบุญโดยปรารภตนเองเป็นใหญ่
|
๓. ธัมมาธิปไตยทาน
คือ ทำบุญโดยปรารภ ธรรมเป็นใหญ่
|
|
|
|
|
|
|
สัปปุริสทาน คือ ทานของสัปปุรุษ ผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในธรรม ตั้งอยู่ในทาน ศีล ภาวนา มี ๕ ประการ
คือ
|
|
สัปปุริสทาน ๕
|
ผลของสัปปุริสทาน
|
๑.
สัทธาทาน
|
คือ
|
บริจาคทานโดย
|
|
ความเลื่อมใส
|
|
เชื่อในการกระทำ
|
|
เชื่อในผลของการกระทำนั้น
|
|
** เกิดในภพต่อ ๆ ไป
|
|
- จะเกิดความมั่งคั่งมีทรัพย์มาก
|
|
- พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์
|
|
- มีรูปร่างสัณฐานงดงามน่าดูน่าชม
|
|
- มีผิวพรรณวรรณะเปล่งปลั่ง
|
|
๒.
สักกัจจทาน
|
คือ
|
บริจาคทานโดยความเคารพ
|
|
กระทำด้วยตนเอง
|
|
ไทยธรรม นั้นสะอาดหมดจด
|
|
** เกิดในภพต่อ ๆ ไป
|
|
- จะเกิดความมั่งคั่งมีทรัพย์มาก
|
|
- พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์
|
|
- บุตร ภรรยา สามี บริวาร เชื่อฟัง
เอาอกเอาใจ
|
|
๓.
กาลทาน
|
คือ
|
บริจาคทานเหมาะสมแก่กาล นั้นๆ
|
|
|
|
|
|
** เกิดในภพต่อ ๆ ไป
|
|
- จะเกิดความมั่งคั่งมีทรัพย์มาก
|
|
- พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์
|
|
- ลาภสักการะเจริญรุ่งเรือง
ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
|
|
๔.
อนุคคหิตทาน
|
คือ
|
บริจาคทานโดย
|
|
การสละอย่างแท้จริง
|
|
ไม่มีความเสียดายในวัตถุทาน นั้นๆ
|
|
** เกิดในภพต่อ ๆ ไป
|
|
- จะเกิดความมั่งคั่งมีทรัพย์มาก
|
|
- พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์
|
|
- จิตใจอิ่มเอิบอยู่กับการเสวยความสุข
|
|
๕.
อนุปหัจจทาน
|
คือ
|
บริจาคทานโดย
|
|
ไม่กระทบกระเทือนตนเอง และผู้อื่น
|
|
** เกิดในภพต่อ ๆ ไป
|
|
- จะเกิดความมั่งคั่งมีทรัพย์มาก
|
|
- พรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณอารมณ์
|
|
- ทรัพย์สินพ้นจากภัย ๕ จากลูกหลานและญาติ
พี่น้อง
|
|
|
|
|
ต่อไปเราจะมาศึกษา และทำความเข้าใจ ในเรื่องของศีล เพื่อให้เกิดความงดงามยิ่งขึ้น
|
|
๒. ศีล (การงดเว้นทำบาป)
|
ศีล คือ ธรรมชาติที่ทำให้กายกรรม วจีกรรม ตั้งไว้ด้วยดี ก็คือศีลนั้นมีหน้าที่ รักษากาย วาจา
ไม่ให้เป็นไปในทางทุจริตนั่นเอง หรือ ศีล คือ ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งกุศลธรรม
ได้แก่ สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ เรื่องของศีลเน้นอยู่ที่ กาย วาจา มิให้กาย วาจา ไปกระทำบาปทุจริตกรรม คือ การงดเว้นจากการทำบาปทั้งปวง
|
|
ประเภทของศีล
|
ศีล มี ๔ ประเภท คือ
|
|
๑. ภิกขุศีล
|
คือ
|
ศีลของพระภิกษุ มี ๒๒๗ ข้อ ที่ได้แสดงไว้ในปาติโมกข์
|
|
๒. ภิกขุณีศีล
|
คือ
|
ศีลของภิกษุณี มี ๓๑๑ ข้อ ที่ได้แสดงไว้ในปาติโมกข์
เช่นเดียวกัน
|
|
๓. สามเณรศีล
|
คือ
|
ศีลของสามเณร มี ๑๐ ข้อ
|
|
๔. คฤหัสถศีล
|
คือ
|
ศีลของผู้ครองเรือน มี ๕ ข้อ ได้แก่ ศีล ๕
|
ภิกขุศีล ภิกขุณีศีล และ สามเณรศีล ไม่ต้องมีการสมาทาน
ส่วนคฤหัสถศีล ต้องมีการสมาทาน
|
|
|
|
|
|
นิจศีล
|
หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วาริตตศีล คือ ศีลที่สมาทานครั้งเดียวแล้ว รักษาตลอดไปเป็นนิตย์
ไม่ต้องสมาทานอีก เมื่อสมาทานแล้วไม่รักษาย่อมจะมีโทษ (มีบทลงโทษ) ได้แก่ ศีลของพระภิกษุ ๒๒๗ ศีลของภิกษุณี ๓๑๑ ศีลของสามเณร ๑๐ ศีลของอุบาสก อุบาสิกา
ผู้นุ่งขาวห่มขาว (แม่ชี) อุโบสถศีล หรือ ศีล ๘
|
|
สำหรับศีล ๕ ถือว่าเป็นศีลของคฤหัสถ์ทั้งหลายด้วย
|
อนิจศีล
|
หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จาริตตศีล คือ ศีลที่ต้องสมาทาน ถ้าไม่รักษาก็ไม่มีโทษ เช่น
การประพฤติธุดงค์ ๑๓ ข้อ ของพระภิกษุ สามเณร
|
|
สำหรับ อุโบสถศีล หรือ ศีล ๑๐ ที่สามเณรรักษาอยู่ ถือว่าเป็น อนิจศีล ด้วย
|
|
|
อนึ่ง ศีลอีกประเภทหนึ่ง
ที่เราไม่ค่อยจะคุ้นเคยกัน คือ อาชีวัฏฐมกศีล เป็นศีล ๘ อีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ต้องอดอาหารมื้อเย็น เหมาะสำหรับผู้ที่ยังห่วงใย
เกี่ยวกับสุขภาพของตน ซึ่งมีความแตกต่างกับศีล ๘ หรือ อุโบสถศีล เล็กน้อย คือ
|
ความแตกต่างระหว่างอุโบสถศีล และ อาชีวัฏฐมกศีล
|
อุโบสถศีล
|
อาชีวัฏฐมกศีล
|
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
|
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
|
๓. เว้นจากการก้าวล่วงในพรหมจรรย์
|
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
|
๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัย
|
๖. เว้นจากการรับประทานอาหาร
ในยามวิกาล
|
๗. เว้นจากการตบแต่งเครื่องหอม เครื่องย้อม
เครื่องทา
|
๘.
เว้นจากการนอนเหนือที่นอนอันสูงใหญ่
|
|
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
|
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
|
๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
|
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
|
๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด
|
๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ
|
๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
|
๘. เว้นจากการประกอบอาชีพ ที่พระพุทธองค์
ทรงห้าม
|
คือ
ค้าสัตว์เพื่อเอาไปฆ่า ค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ ค้ายาพิษ ค้าสุราและเมรัย
|
|
|
|
|
|
การงดเว้นจากการทำบาป ๓ (วิรัติ
๓)
|
|
การงดเว้นทำบาป (วิรัติ) ในอกุศลกรรมบถ
๑๐ มี ๓ ประการ คือ
|
|
๑. งดเว้นด้วยการสมาทาน หรือ สัมปัตตวิรัติ
|
เป็นการงดเว้นเฉพาะหน้าเมื่อมีอารมณ์สิ่งยั่วยุให้ กระทำบาป
|
วิธีทำใจ
ให้นึกถึงชาติกำเนิดของเรา ไม่เคยมีประวัติ ในการทำความชั่ว ความเสียหายมาก่อน อายุก็ปานนี้แล้ว ใกล้ตายเข้าไปทุกวัน ๆ ถ้าไปทำชั่ว
ก็ไม่มีเวลาที่จะแก้ตัวทำความดีอีกแล้ว ทั้งก็เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษามามาก น่าละอายแก่ใจที่จะทำความชั่วลงไป การงดเว้นไม่ทำชั่ว โดยคิดได้อย่างนี้ชื่อว่า สัมปัตตวิรัติ ได้แก่ วิรตีเจตสิกที่ประกอบในมหากุศลจิต ๘
|
|
|
๒. งดเว้นด้วยการสมาทาน หรือ สมาทานวิรัติ
|
ได้แก่ การกล่าวงดเว้นในขณะที่สมาทานศีลของ อุบาสกอุบาสิกา ได้แก่
เจตนาเจตสิกในมหากุศลจิต ๘ เช่นเดียวกัน
|
|
|
๓. การงดเว้นจากการทำบาปโดยเด็ดขาด หรือ สมุจเฉทวิรัติ
|
คือ การงดเว้นของพระอริยบุคคล มี พระโสดาบัน เป็นต้น อันได้แก่
เจตนาเจตสิกในมรรคจิต ๔
|
|
|
คุณลักษณะและประโยชน์
ของศีล
|
|
|
๑. เป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งปวง
|
|
อุปมาเสมือนแผ่นดิน ย่อมเป็นที่ตั้ง ของสรรพสิ่งทั้งหลาย
ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
|
|
๒. มีการไม่กระทำในสิ่งที่ผิดศีล
|
|
เหมือนกับคนไข้ ย่อมไม่รับประทานของ ที่แสลงกับโรค
|
|
๓. มีกาย วาจา ที่บริสุทธิ์
|
|
คือ ไม่ทำบาป (สิ่งไม่บริสุทธิ์) ด้วยกาย วาจา
|
|
๔. มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป
(หิริโอตตัปปะ)
|
|
เป็นต้นเหตุทำให้เกิดศีล
|
|
๕. ความไม่โกรธ (อโทสะ)
|
|
ความไม่ประทุษร้าย จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการรักษาศีล
|
|
๖. ย่อมเป็นอุปนิสัยให้ได้มรรคเบื้องต่ำ
๓
|
|
คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค เมื่อเป็นมหากุศลที่มีทาน ศีล
รองรับแล้ว จะเป็นอุปนิสัยต่ออรหัตตมรรค อรหัตตผล เมื่อมีมหากุศลภาวนา รองรับ
|
|
|
๓. ภาวนา
|
ภาวนา คือ การทำกุศลอันประเสริฐให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ชื่อว่า ภาวนา หรือ ธรรมชาติใดที่ทำให้กุศลที่ประเสริฐ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
แล้วทำให้เจริญขึ้น ชื่อว่า ภาวนาในปริจเฉทที่ ๙ แบ่งคำว่า ภาวนา ออกเป็น ๒ คือ สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา อันได้แก่ โลกียกุศลและโลกุตตรกุศล
|
สำหรับคำว่า ภาวนา ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ หมายถึงมหากุศลจิตอย่างเดียว อันได้แก่
การที่ทำให้ปัญญาเกิดขึ้น เช่น การเรียนการสอนธรรมะ ตลอดจนการพิจารณาใคร่ครวญธรรมะต่าง ๆ จัดเข้าเป็นภาวนา ในบุญกิริยาวัตถุทั้งสิ้น
|
|
|
คุณลักษณะและประโยชน์ของภาวนา
|
|
๑. ทำให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น
|
|
จนถึงอรหัตตมรรคและอรหัตตผล เหมือนน้ำย่อมทำให้พืชพันธุ์ ธัญญาหาร
เจริญงอกงามจนกระทั่งผลิดอกออกผล
|
|
๒. มีการประหาณทำลายบาปอกุศลที่เกิดขึ้น
|
|
เหมือนเครื่องตัดหรือเครื่องประหาร
|
|
๓.
เป็นสื่อนำเข้าสู่การเจริญสติปัฏฐานรูปนาม
|
|
ให้ถึงซึ่งโลกุตตรธรรม
|
|
๔.
มีการใส่ใจในอารมณ์ที่ถูกที่ควรไว้ก่อน
|
|
ภาวนากุศลจึงจะเกิดขึ้นได้
|
|
|
๔. อปจายนะ (การเคารพนอบน้อม)
|
อปจายนะ คือ การเคารพนอบน้อม ต่อบุคคลที่ควรเคารพนอบน้อม โดยมิได้หวัง ลาภ ยศ สักการะแต่อย่างใด ถ้าการเคารพนอบน้อม โดยหวังสิ่งตอบแทนดังกล่าว
ไม่ชื่อว่าเป็นอปจายน แต่เป็นมารยาสาไถยไป
|
|
|
|
|
๑. สามัญอปจายนะ
|
คือ การแสดงความเคารพนอบน้อมต่อ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์
ซึ่งเรามีหน้าที่ ที่จะต้องให้ความเคารพนอบน้อมต่อท่าน เพราะท่านเป็นผู้ใหญ่ เป็นครูอาจารย์ของเรา
|
๒. วิเสสอปจายนะ
|
คือ การแสดงความเคารพนอบน้อมในพระรัตนตรัย ด้วยการระลึกถึงพระคุณต่าง ๆ เช่น
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส เป็นต้น
|
|
|
|
|
๑. คุณวุฒิบุคคล
|
คือ
|
บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้เจริญ ด้วยอำนาจแห่ง ศีลคุณ สมาธิคุณ
และปัญญาคุณ
|
๒. วัยวุฒิบุคคล
|
คือ
|
บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งอายุ ได้แก่
ผู้ที่เกิดมานานมีอายุมาก
|
๓. ชาติวุฒิบุคคล
|
คือ
|
บุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เป็นผู้เจริญ ด้วยอำนาจแห่ง ชาติตระกูล
หรือวงศ์สกุล
|
|
|
วุฒิทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าวนั้น
บางท่านก็เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิครบทั้ง ๓ ประเภท คือ คุณวุฒิ วัยวุฒิ และชาติวุติ เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางท่านก็มี ๒ ประเภท คือ คุณวุฒิ กับ วัยวุฒิ เช่น พระอริยสงฆ์ที่มาจากตระกูลสามัญ
หรือ คุณวุฒิ กับ ชาติวุฒิ เช่น พระราหุล หรือวัยวุฒิ กับ ชาติวุฒิ เช่น พระเจ้าสุปปพุทธ บางท่านก็เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิได้เพียงอย่างเดียว
|
|
ในการแสดงความนอบน้อม
ผู้มีคุณวุฒิไม่ต้องแสดงความเคารพ ด้วยการกราบต่อผู้มีวุฒิบุคคลอื่น ๆ เพราะเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา อยู่แล้ว ถ้าผู้มีคุณวุฒิไปแสดงความเคารพด้วยการกราบแล้ว
ผู้ได้รับการเคารพ จะมีโทษทั้งภพนี้ และภพหน้า กระทำเพียงอัญชลี (ไหว้) เท่านั้น เช่นในเรื่องจันทกุมาร ในขณะที่พระโพธิสัตว์ ทรงพบกับพระราชบิดานอกเมือง ซึ่งถูกประชาชนเนรเทศให้ออกไป
พระโพธิสัตว์ก็มิได้ทรงกราบแต่อย่างใด เพียงแต่ทรงกระทำอัญชลี เท่านั้น
|
|
อานิสงส์ของอปจายนะ
(การเคารพนอบน้อม)
|
๑. ทำให้เป็นผู้มีความรู้ ความฉลาดในธรรม
|
๒. มีอายุยืน และมีผิวพรรณงดงาม
|
๓. มีความสุขกายสุขใจ
|
๔. มีเกียรติยศชื่อเสียง
|
๕. มีกำลังกายและกำลังปัญญา
|
๖. เมื่อจากโลกนี้ย่อมไปสู่สุคติ
|
|
|
|
๕. เวยยาวัจจะ (การช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ)
|
เวยยาวัจจะ ได้แก่ การช่วยเหลือในกิจการงาน ที่เกี่ยวกับกุศลต่าง ๆ หรือ การช่วยเหลือทำการงานต่าง ๆ ที่ไม่มีโทษ งานที่เกี่ยวกับกุศล เช่น
ปริยัติ ปฏิบัติ การบริจาคทาน การปฏิสังขรณ์ การทำความสะอาดวัดวาอาราม ปูชนียสถานงานอื่น ๆ ที่เป็นงานทางโลก ที่ไม่มีโทษ เช่น เป็นงานของ บิดา มารดา ครูอาจารย์
ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง บุตร ธิดา จัดเข้าเป็นเวยยาวัจจะทั้งหมด
|
|
|
๖. ปัตติทาน (การอุทิศส่วนกุศล)
|
ปัตติทาน คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ บิดา มารดา ครูอาจารย์ ญาติ พี่น้อง และ สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว
อันได้แก่เจตนาที่อยู่ในมหากุศลจิต ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศล ที่เราได้กระทำมาแล้ว มีการบริจาคทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา เมื่อได้อุทิศให้แล้ว
มิใช่จะลดน้อยถอยลงหรือหมดไป มีแต่จะเพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับ อุปมาเหมือนการต่อแสงเทียนไปเรื่อย ๆ เป็นร้อยเป็นพันเล่ม แสงเทียนที่เทียนเล่มแรก
ก็ยังไม่ดับหรือหมดไปแต่อย่างใด แต่แสงเทียนที่เกิดจากการต่อเทียนไปเป็นจำนวนมาก กลับจะทำให้เกิดความสว่างไสวยิ่งขึ้น
|
|
|
๗. ปัตตานุโมทนา (การอนุโมทนาบุญ)
|
คือ การน้อมรับส่วนบุญที่อุทิศให้
อันได้แก่ บุญกุศลที่คนทั้งหลายได้ทำแล้ว มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้นแล้วอุทิศให้แก่คนอื่น ๆ จะโดยกล่าวให้ด้วยวาจา หรือเขียนเป็นตัวอักษรก็ตาม
จิตของบุคคลผู้รับเกิดความโสมนัสขึ้น แล้วกล่าวคำว่า สาธุ ย่อมสำเร็จเป็นกุศลปัตตานุโมทนาแล้ว หรือ การยินดีในบุญที่ บุคคลอื่นได้ทำสำเร็จแล้ว เช่น
การเห็นบุคคลอื่นเขากำลังทำบุญกุศลอยู่ หรือเห็นปูชนียสถาน ที่เป็นวัตถุก่อสร้างจารึกชื่อผู้สร้างอุทิศถวายแล้ว เกิดปีติโสมนัส ขึ้นมาได้เปล่งวาจาสาธุ อนุโมทนาบุญกับเขา
ก็ได้ชื่อว่า เป็นปัตตานุโมทนา
|
|
|
ในสมัยพุทธกาล
เปรตซึ่งเป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้พากันส่งเสียงร้องโหยหวน เพราะพระเจ้าพิมพิสาร ไม่ได้แผ่ส่วนบุญไปให้ ในสมัยที่ได้สร้างวัดเวฬุวันถวาย แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์จึงบอกให้อุทิศส่วนบุญกุศล ไปยังญาติทั้งหลายเหล่านั้น เปรตซึ่งอดีตเคยเป็นญาติ กับพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อได้รับบุญกุศลแล้ว ก็พ้นจากความเป็นเปรต
|
|
การกล่าวคำแผ่บุญกุศล ชนิดเจาะจงให้ผู้รับ คือ “ อิทํ เม ปุญฺญํ มาตาปิตุอาจริยญาติมิตฺตานํ เทมิ ฯ
” แปลว่า ขออุทิศการกระทำบุญที่เกี่ยวกับ ทาน ศีล ภาวนา ของข้าพเจ้าให้แก่ บิดา มาดา ครู อาจารย์ ญาติ มิตรทั้งหลาย ด้วยเทอญ
|
|
การกล่าวคำแผ่บุญกุศลชนิด ไม่เจาะจงให้ผู้รับ คือ “ อิทํ เม ปุญภาคํ สพฺพสตฺตานํ เทมิ ” แปลว่า
ขออุทิศการกระทำบุญที่เกี่ยวกับ ทาน ศีล ภาวนา ของข้าพเจ้าให้แก่บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยกันทั้งหมดเทอญ
|
|
๘. ธัมมัสสวนะ (การฟังธรรม)
|
ธัมมัสสวนะ คือ การฟังธรรม ได้แก่ การฟังธรรมในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่วัดหรือสถานที่ ที่จัดให้มีการบรรยายธรรม ทางวิทยุ หรือ โทรทัศน์
ก็ได้ชื่อว่า เป็น การฟังธรรมทั้งสิ้น
|
|
|
|
|
๑. การฟังธรรมเพื่อให้คนทั้งหลายชื่นชม
|
ว่าเป็นคนดีมีศรัทธา เป็นคนธัมมะธัมโมเป็นการฟังที่มิได้
เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาที่แท้จริง มีกิเลสซ่อนเร้นอยู่ ย่อมจะมีผลน้อย อานิสงส์น้อย
|
|
|
๒. การฟังธรรมที่ทำให้จิตใจอ่อนโยน
|
มีสติปัญญา รู้จักบุญรู้จักบาป รู้จักคุณหรือโทษ และสิ่งที่เป็น
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ การฟังธรรมชนิดนี้เป็น ธัมมัสสวนกุศลอย่างแท้จริง ซึ่งมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
|
|
|
๙. ธรรมเทศนา (การแสดงธรรม)
|
คือ การแสดงธรรม การบรรยายธรรม การสอนธรรม รวมถึงแนะนำชี้แจง วิชาการต่าง ๆ
ที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เข้าในธรรมเทศนาด้วย
|
|
|
วิชาการที่ไม่มีโทษ
ท่านแสดงไว้ได้แก่วิชา
|
|
การขี่ช้าง ขี่ม้า ขับรถ เป็นต้น ………..พวกหนึ่ง
|
กสิกรรม พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม เป็นต้น……พวกหนึ่ง และ
|
เศรษฐศาสตร์ ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ แพทยศาสตร์ ไสยศาสตร์ ……อีกพวกหนึ่ง
|
|
พระภิกษุ สามเณร
สอนวิชาพวกนี้ไม่ได้มีโทษต้องอาบัติ เป็นวิชาชีพที่ปราศจากโทษ สำหรับคฤหัสถ์เท่านั้น
|
|
การแสดงธรรมที่ได้บุญมากอานิสงส์มาก
|
|
การแสดงธรรมที่ได้บุญมากอานิสงส์มากนั้น
เป็นการแสดงธรรม ที่ใช้ความรู้ความชำนาญของตน โดยไม่ได้มุ่งหวังในลาภยศแต่อย่างใด มุ่งมั่นแต่จะให้สำเร็จประโยชน์ คือมรรคผลนิพพานอย่างเดียว การแสดงธรรมเช่นนี้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็น
บุญกิริยาวัตถุ ที่สำเร็จด้วยธรรมเทศนามัยกุศล ที่แท้จริง
|
|
การแสดงธรรมที่ได้บุญน้อยอานิสงส์น้อย
|
|
การแสดงธรรมที่ได้บุญน้อยอานิสงส์น้อยนั้น คือ
การแสดงธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ใจ มุ่งหวังในเรื่องลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ เพื่อให้คนรู้ว่าเป็นธัมมกถึก ครูอาจารย์ นับว่าไม่ใช่เป็นการแสดงธรรมอย่างแท้จริง มีกิเลสแอบแฝงอยู่
ย่อมจะได้บุญน้อยอานิสงส์น้อย
|
|
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม (ทำความเห็นให้ตรง)
|
ทิฏฐุชุกรรม คือ การกระทำความเห็นให้ตรงกับความเป็นจริง ได้แก่ กัมมัสสกตาญาณ คือ ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตนเอง
จะทำดีหรือทำชั่วก็ตาม ย่อมจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น
|
|
|
ธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ มี ๓
ประการ
|
|
|
๑. สุตมยปัญญา
|
คือ ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนในเรื่องของ ภูมิ ปฏิสนธิ กรรม และ กิเลส
เป็นต้น
|
|
|
๒. จินตามยปัญญา
|
คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา ในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย เกี่ยวกับความ
มีโรค ความไม่มีโรค ความโง่ ความฉลาด ความสุข ความทุกข์ อายุสั้น อายุยืน เหล่านี้เป็นต้น
|
|
|
๓. ภาวนามยปัญญา
|
คือ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา เป็นปัจจัยให้เกิด กัมมัสสกตาญาณ
มีการเห็นนามรูป พร้อมทั้งปัจจัยของนามรูป เป็นต้น
|
|
|
ถ้าจะกล่าวโดยความเป็นเหตุและเป็นผลแล้ว
ปัญญาแบ่งได้เป็น ๒ คือ ปัญญาที่เป็นเหตุ และปัญญาที่เป็นผล คือ
|
|
|
|
แม้ว่าคนเราจะยังไม่สามารถที่จะละความเห็นผิดว่า
เป็นเราเป็นเขา (สักกายทิฏฐิ) เห็นว่าของเรา ของเขา ได้ก็ตาม แต่ถ้ามีความเห็นตรงตาม ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ ดังต่อไปนี้ ก็ชื่อว่ามีกัมมัสสกตาญาณ เป็น ทิฏฐุชุกรรม คือ
เห็นถูกต้องตรงความเป็นจริง
|
|
|
ทสวัตถุกสัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ
|
๑.
|
เห็นว่า
|
การทำบุญ
|
ย่อมได้รับ ผลของบุญ คือ ผลดีมีประโยชน์
|
๒.
|
"
|
การบูชา
|
” ผลของการบูชา คือ ผลดีมีประโยชน์
|
๓.
|
"
|
การเชื้อเชิญต้อนรับ
|
” ผลของการเชื้อเชิญต้อนรับ
|
๔.
|
"
|
การทำดีทำชั่ว
|
” ผลของการทำดีทำชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม
|
๕.
|
"
|
ภพนี้ โลกนี้ (ปัจจุบัน)
|
มีเพราะมีการเกิด
|
๖.
|
"
|
ภพหน้าโลกหน้า
|
มีเพราะคนตายแล้วมีกิเลส ต้องเกิดอีกในโลกหน้า
|
๗.
|
"
|
การทำดีทำชั่วต่อมารดา
|
จะต้องได้รับผลดี หรือผลชั่วในอนาคต
|
๘.
|
"
|
การทำดีทำชั่วต่อบิดา
|
จะต้องได้รับผลด ีหรือผลชั่วในอนาคต
|
๙.
|
"
|
สัตว์ที่เกิดแล้วเติบโตขึ้นทันที
|
คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม มีจริง
|
๑๐.
|
"
|
ผู้รู้แจ้งโลกนี้และโลกหน้า
|
สามารถชี้แจงให้เห็นจริงได้นั้นมี
และผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เพื่อเข้าถึงมรรคผลนิพพานนั้นก็มี
|
|
|
|
เมื่อสำรวจตนเองแล้ว
เห็นว่ามีความเห็นตรงครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีความเห็นตรง ตามความเป็นจริง คือเป็นผู้มี ทิฏฐุชุกรรม ควรจะได้อบรมศึกษา ในด้านปริยัติและปฏิบัติ
เพื่อปรับปรุงแก้ไขความเห็นของตน ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
|
|
ถ้าสำรวจแล้วมีความเห็นตรงไม่ครบทั้ง ๑๐
ประการ ก็แสดงว่า เรายังขาดการศึกษาเล่าเรียน การสดับตรับฟัง ขาดการใคร่ครวญนึกคิดพิจารณา และยังขาดการปฏิบัติที่ถูกต้อง คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
|
|
|
|
สรุป เหตุผลในการสงเคราะห์บุญกิริยาวัตถุ
๑๐ ลงใน ทาน ศีล ภาวนา
|
|
การสงเคราะห์ปัตติทาน และปัตตานุโมทนา ลงในทาน
มีดังนี้
|
ทาน คือ การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ และ
ปัตติทาน คือ การอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลอื่น
ถ้าจิตมีความหวงแหนทรัพย์สมบัติ หรือคุณความดีของตน ก็ไม่สามารถที่จะอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลอื่นได้
ส่วน ปัตตานุโมทนา คือ การน้อมรับส่วนบุญที่เขาอุทิศให้
ถ้าจิตมีความไม่พอใจในทรัพย์ หรือคุณความดีของผู้อื่น ก็ไม่สามารถที่จะน้อมรับส่วนบุญ ที่เขาอุทิศให้ได้ด้วยเหตุนี้ จึงสงเคราะห์ ปัตติทาน
และ ปัตตานุโมทนา เข้าใน ทานกุศล
|
|
การสงเคราะห์ อปจายนะ และ เวยยาวัจจะ ลงในศีล ดังนี้
|
อปจายนะ คือการประพฤติเคารพอ่อนน้อม และ
เวยยาวัจจะ คือ การช่วยเหลือ ในกิจการต่าง ๆ ทั้งสองประเภทนี้ คือ ความประพฤติอันดีงาม
ของคฤหัสถ์และบรรพชิต จัดเป็นจาริตตศีล คือ ศีลที่สำเร็จด้วยการปฏิบัติ จึงสงเคราะห์เข้าใน ศีลกุศล
|
|
การสงเคราะห์ ธัมมัสสวนะ ธรรมเทศนา และ ทิฏฐุชุกรรม ลงในภาวนากุศล
|
เพราะทั้ง
๓ ประการนี้ย่อมเกื้อกูล แก่ความสงบและปัญญา เหมือนกับการ เจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เหตุนี้จึง สงเคราะห์ไว้ใน ภาวนากุศล
|
|