ตอนที่ ๗ (ชุดที่ ๒) เรื่องกฏแห่งกรรม
ตอน เสวยผลกรรม
ในชุดที่แล้วได้ศึกษาในเรื่องกรรม คือ อกุศลกรรม ซึ่งเป็นกรรมฝ่ายบาป และกุศลกรรมซึ่งเป็นกรรมฝ่ายบุญ ได้แก่ กามาวจรกุศลกรรม รูปาวจรกุศลกรรม และอรูปาวจรกุศลกรรม ในชุดนี้จะได้ศึกษาต่อในเรื่องผลของกรรม |
พระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า “กมฺมุนา วตฺตตีโลโก” แปลความได้ว่า “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” |
เรื่องของกรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมากยากที่จะเข้าใจ เรียกว่า อจินไตย คือสิ่งที่ไม่ควรคิด มีอยู่ ๔ อย่างคือ พุทธวิสัย ฌานวิสัย วิบากของกรรม และเรื่องของโลก เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถที่จะนำมาคิด มาตรึกให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองได้ นอกจากอาศัยหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงจะเข้าใจได้ตามสมควรแก่ภูมิปัญญาของตน ๆ |
เมื่อสัตว์ทั้งหลายได้กระทำกรรมลงไปแล้วทั้งดีและชั่ว คือ บุญและบาป ผลของกรรมก็จะนำเกิดในภพภูมิต่าง ๆ ๓๑ ภพภูมิ ทั้งส่วนที่เป็นทุคติภูมิและสุคติภูมิ ทำให้ได้รับความทุกข์ความสุขแตกต่างกันไป |
เรื่องของกรรมท่านจำแนกไว้มี ๑๖ อย่าง เรียกว่า กรรม ๑๖ ดูตามแผนผังข้างล่างนี้ |
|
|
หมวดที่ ๑ คือ กรรม ๔ ได้ศึกษามาในชุดที่แล้ว ชุดนี้จะได้ศึกษาผลของกรรม ๑๒ ต่อไป |
หมวดที่ ๒ หน้าที่ของกรรม (กิจจตุกกะ)
กรรม คือ เจตนาที่กระทำบุญและบาป ได้แก่ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม ผลของบุญและบาปจะให้ผลในลักษณะ ๔ ประการ เรียกว่า หน้าที่ของกรรม คือ | ||||||||||||
|
||||||||||||
|
||||||||||||
เมื่อคนเราได้กระทำบุญหรือบาปลงไปแล้ว ผลของบุญหรือบาป คือ วิบากจิต จะเป็นตัวนำเกิดในภพภูมิต่าง ๆ โดยมี กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้น ก่อนที่สัตว์นั้นจะตายไป ลักษณะของอารมณ์ทั้ง ๓ มีดังนี้ | ||||||||||||
ก่อนตายจะระลึกถึงบุญหรือบาปที่ทำไว้ ถ้าทำบาปไว้มากเมื่อสิ้นลมก็ไปสู่ทุคติคือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน ถ้าทำบุญไว้มากเมื่อสิ้นลมก็จะไปสู่สุคติ ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ถ้าได้ฌาน ก็จะไปเกิดเป็นพรหม ตามฐานะของฌานที่ตนได้ เรียกว่า กรรมอารมณ์ มาปรากฏ | ||||||||||||
ก่อนตายจะปรากฏให้เห็นภาพเครื่องไม้เครื่องมือในการทำบุญทำบาป เช่น เห็นแห เห็นอวน เห็นปืน ซึ่งเป็นเครื่องมือในการทำบาป เมื่อสิ้นลมก็ไป สู่ทุคติ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน ถ้าทำบุญไว้มาก เช่น ทำบุญตักบาตร ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา จะเห็นภาพอุปกรณ์ในการทำบุญ เช่น เห็นขันข้าว หม้อข้าว ทัพพี เห็นวัดวาอารามโบสถ์วิหาร เมื่อสิ้นลมก็จะไปสู่สุคติ ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ถ้าได้ฌาน ก็จะไปเกิดเป็นพรหม ตามฐานะของฌานที่ตนได้ เรียกว่า กรรมนิมิตอารมณ์ มาปรากฏ | ||||||||||||
ก่อนตายเห็นภาพสถานที่ใหม่ที่จะไปเกิด ถ้าเห็นถ้ำ ป่าเขาลำเนาไพร น้ำตก เหว ทะเล มหาสมุทร เมื่อตายลงก็จะไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย ถ้าเห็นไฟนรก เห็นเครื่องจองจำ เห็นสัตว์นรกกำลังถูกทรมาน เมื่อตายลงจะไปเกิดเป็นสัตว์นรก หรือถ้าเห็นหมู่เดรัจฉานนานาชนิด จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เรียกว่า คตินิมิตอารมณ์ | ||||||||||||
กรรมที่จะทำหน้าที่ชนกกรรมได้ ต้องเป็นบุญหรือบาปที่มีกำลังแรง (ครบองค์แห่งกรรมบถ) ถึงจะสามารถส่งผลเป็นชนกกรรมนำเกิดให้กับสัตว์ทั้งหลาย | ||||||||||||
|
||||||||||||
ชนกกรรม คือ กรรมที่สัตว์ทั้งหลายได้กระทำไว้แล้ว ทั้งฝ่ายบุญและฝ่ายบาป ทำหน้าที่ เป็นชนก-กรรม ทำให้วิบากและกัมมชรูป (รูปที่เกิดจากกรรม) และกัมมปัจจยอุตุชรูป (รูปที่เกิดจากกรรมมีอุตุเป็นปัจจัย) เกิดขึ้นได้ทั้ง ๒ กาล คือ ปฏิสนธิกาล และ ปวัตติกาล | ||||||||||||
๑. ทำหน้าที่ในปฏิสนธิกาล คือ เมื่อสัตว์ทั้งหลายตายลงแล้วก็ไปเกิดในภพภูมิต่างๆ มี อบายภูมิ กามสุคติภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ด้วยอำนาจของชนกกรรมที่ทำให้วิบากและกัมมชรูป(นาม-รูป)ไปเกิดเป็นสัตว์ในภูมินั้นๆ ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ การเกิดขึ้นครั้งแรกจะมีอวัยวะหรือรูปเกิดขึ้นยังไม่ครบ ต่อมาภายหลังรูปจึงจะเกิดขึ้นอีก | ||||||||||||
๒. ทำหน้าที่ในปวัตติกาล คือกรรมที่ทำหน้าที่ให้รูปนามเกิดขึ้นสืบต่อจากปฏิสนธิกาล จนกระทั่งสิ้นชีวิต เมื่อมนุษย์เกิดขึ้นมาครั้งแรกมีรูปที่เกิดจากกรรม ต่อมาภายหลังอวัยวะอื่น ๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น รวมทั้งอวัยวะน้อยใหญ่ก็เกิดขึ้นตัวชนกกรรม ก็ทำหน้าที่สืบต่อให้รูปหรืออวัยวะเกิดขึ้นตามมาจนครบ แม้วิมานอันเป็นที่อยู่ของ เทวดา พรหม ไฟ หรือเครื่องทรมานสัตว์นรกก็เกิดด้วยอำนาจของชนกกรรมเช่นเดียวกัน | ||||||||||||
ชนกกรรม ที่ทำให้วิบากจิต กัมมชรูป และกัมมปจยอุตุชรูป ที่เกิดในปวัตติกาลนี้ เป็นกรรมที่ครบองค์แห่งกรรมบถหรือไม่ครบก็ตาม ย่อมสามารถนำให้เกิดได้ทั้งสิ้น | ||||||||||||
|
||||||||||||
|
||||||||||||
คนทั้งหลายโง่เขลา แล้วร่วมกันเสพสุรายาเมา ประพฤติผิดกาเมสุมิจฉาจาร เมื่อลูกชายเศรษฐีทั้ง ๔ สิ้นชีวิตลงแล้ว ชนกกรรม นำเกิดในอเวจีมหานรกแดนนิรยภูมิ ชื่อว่า โลหกุมภีนรก เป็นนรกหม้อน้ำร้อน กว้าง ๖๐ โยชน์ (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร) ได้รับความทุกข์ทรมาน ดำผุดดำว่ายจากปากหม้อน้ำร้อนจมลงสู่ก้นหม้อน้ำร้อน และจากก้นหม้อน้ำร้อนก็ลอยขึ้นสู่ปากหม้อน้ำร้อน เหมือนเมล็ดข้าวที่อยู่ในหม้อเวลาเดือด จะผุดขึ้น ผุดลงตลอดเวลา เป็นเช่นนี้ตลอดกาลนาน สัตว์นรกตนหนึ่ง เมื่อลอยขึ้นสู่ปากหม้อน้ำร้อนพบหน้าเพื่อน ก็อยากจะระบายความทรมานที่ได้รับอยู่ โดยจะพูดว่า “ ทุชฺชีวิตมชีวิมฺหา…” แปลความว่า เพราะพวกเราไม่ได้ทำบุญกุศล เหมือนกับคนอื่นเขา หลงมัวทำแต่บาปกรรม จึงต้องมาได้รับความทุกข์ทรมานถึงปานนี้ แต่เขาพูดได้เพียงคำว่า ทุ… คำเดียว แล้วก็จมหายไปสู่ก้นหม้อน้ำร้อนตามเดิม |
||||||||||||
สัตว์นรกอีกตนหนึ่ง เมื่อลอยขึ้นมาปากหม้อน้ำร้อนพบหน้าเพื่อน ก็อยากจะระบายความทุกข์ทรมานเหมือนเพื่อนคนแรก โดยจะพูดว่า “ สฏฺฐีวสฺสสหสฺสานิ…” แปลความว่า ตั้งแต่เราดำผุดดำว่ายอยู่ในหม้อนรกอันร้อนแรงนี้เป็นเวลานานถึง ๖๐,๐๐๐ ปี แล้ว เมื่อไรเราจะพ้นนรกขุมนี้เสียที แต่เขาก็พูดได้เพียงคำว่า สะ… คำเดียว แล้วก็ต้องจมหายลงไปสู่ก้นหม้อน้ำร้อนตามเดิม | ||||||||||||
สัตว์นรกอีกตนหนึ่ง เมื่อลอยขึ้นมาถึงปากหม้อน้ำร้อน พบหน้าเพื่อนอยากจะพูดว่า “ นตฺถิ อนฺโต กุโต อนฺโต…” แปลความว่า เมื่อไรหนอจะพ้นโทษที่ทรมานนี้เสียที ไม่มีวี่แววว่าจะพ้นไปได้เลย บาปกรรมที่ตัวเราทำไว้ ให้ผลแก่เราสาสมเหลือเกิน แต่เขาก็เอ่ยได้เพียงคำว่า นะ... คำเดียว แล้วก็จมลงในหม้อน้ำร้อนตามเดิม | ||||||||||||
สัตว์นรกอีกตนหนึ่ง เมื่อพบหน้าเพื่อนอยากระบายว่า " โสหํ นูน อิโต คนฺตฺวา..." แปลความว่า หากเราได้พ้นทุกขเวทนาในแดนนรกนี้ไปแล้ว เมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีก เราจะตั้งหน้าตั้งตาบริจาคทานและรักษาศีลเป็นการใหญ่ทีเดียว แต่เขาก็พูดได้เพียงคำว่า โส… คำเดียว แล้วก็จมลงหายไปสู่หม้อน้ำที่เดือดพล่าน คำโอดครวญของสัตว์นรก ๔ ตนที่กล่าวว่า ทุ สะ นะ โส ๔ คำนี้ เรียกกันว่า หัวใจเปรต | ||||||||||||
|
||||||||||||
ในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่ ณ พระเวฬุวนารามป่าไผ่ใหญ่ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร มีอุบาสกชาวเมืองราชคฤห์ผู้หนึ่ง เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยเป็นอย่างมาก ได้บำเพ็ญกุศลเป็นประจำ ทำทาน ตักบาตร รักษาศีล ๕ ในวันพระก็จะไปรักษาอุโบสถศีล และฟังธรรม อุบาสกนี้เป็นผู้มีศีลธรรมอันดีเยี่ยม เมื่อเขาสิ้นชีวิต ชนกกรรมชักนำให้เขาไปเกิดเป็นเทพบุตร ณ ดาวดึงส์แดนสุขาวดี | ||||||||||||
|
๒. อุปถัมภกกรรม (กรรมอุดหนุน)
อุปถัมภกกรรม คือ กรรมที่มีหน้าที่อุดหนุนการให้ผลของกรรมอื่นๆ และการสืบต่อของขันธ์ที่เกิดจากกรรมอื่น ๆ เหมือนบิดามารดาที่คอยอุปถัมภ์เลี้ยงดูบุตร | ||
อุปถัมภกกรรม มี ๓ ประการ คือ | ||
๑. ช่วยอุดหนุนชนกกรรม ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ได้มีโอกาสส่งผล | ||
๒. ช่วยอุดหนุนชนกกรรม ที่กำลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกำลังในการส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | ||
๓. ช่วยอุดหนุนแก่รูปนาม ที่เป็นวิบากของชนกกรรมให้เจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้นาน | ||
|
||
บุญและบาปที่เกิดขึ้นหรือกระทำตอนใกล้จะตายนั้น จะมีบทบาทสำคัญที่จะเป็นพลังสนับสนุนให้บุญและบาปในอดีต บุญและบาปในปัจจุบันที่ยังไม่มีโอกาสให้ผลได้มีโอกาสส่งผล | ||
การช่วยอุดหนุนชนกกรรม ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสส่งผลนั้น มี ๘ ประการ คือ | ||
|
||
นาย ก. เป็นพุทธศาสนิกชน แต่ นาย ก. เกิดมาทำแต่บาป เมื่อเขาล้มป่วยลงใกล้จะตาย นิมิตไม่ดีก็ปรากฏ ทำให้เขาหวาดกลัวกระวนกระวายใจเห็นสิ่งที่น่ากลัวต่าง ๆ คนใกล้ชิดจึงนิมนต์พระภิกษุมาสวดพุทธมนต์และแสดงธรรมให้ฟัง เอาพระพุทธรูปมาตั้งไว้ใกล้ ๆ เพื่อให้เขาน้อมจิตใจไปนมัสการต่อพระพุทธรูป นำเอาเทปธรรมะมาเปิดให้ฟัง ทั้งนี้เพื่อแก้ไขอารมณ์ให้แก่ นาย ก. อาการของเขาเริ่มสงบลงมีจิตใจผ่องใสขึ้นนิมิตที่ไม่ดีหายไป นิมิตดีก็ปรากฏขึ้นแทน แล้วก็ได้จบชีวิตลงด้วยอาการสงบ เมื่อใจไม่เศร้าหมองสุคติเป็นที่หวังได้ ดังนั้น นาย ก. คงจะต้องไปเกิดในสุคติภูมิเป็นมนุษย์หรือเทวดา แน่นอน เพราะ กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยอุดหนุนแก่ กุศลชนกกรรม ในอดีต ให้ส่งผล นั่นเอง | ||
|
||
นาย ข. เป็นพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาดี ทำบุญทำทานรักษาศีลอยู่เสมอ แต่ไม่เคยอบรมจิตใจในการปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา และไม่เคยศึกษาพระอภิธรรม เมื่อเขาล้มป่วยลงใกล้จะตาย มีความกลัวและวิตกกังวลห่วงใยในทรัพย์สมบัติลูกหลาน จิตใจของเขาจึงเศร้าหมอง นิมิตไม่ดีก็มาปรากฏ เกิดความหวาดกลัว ญาติผู้ใกล้ชิดได้ช่วยแก้ไขอารมณ์โดยการนิมนต์พระภิกษุมาสวดพระพุทธมนต์ทำอย่างที่ได้ทำแก่นาย ก. นิมิตไม่ดีก็หายไป นิมิตดีมาปรากฏแทน เขาก็สิ้นชีวิตลง นาย ข. ย่อมไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาแน่นอน ทั้งนี้ เพราะ กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล (ใกล้จะตาย) ที่ช่วยอุดหนุนแก่ กุศลชนกกรรมในปัจจุบัน ส่งผล | ||
|
||
นาย ค. เป็นพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาดี ทำบุญทำทานรักษาศีลอยู่เสมอ แต่ไม่เคยอบรมจิตใจในการปฏิบัติสมถะหรือวิปัสสนา และไม่เคยศึกษาพระอภิธรรม เมื่อเขาล้มป่วยลงใกล้จะตาย มีความกลัวและวิตกกังวลห่วงใยในทรัพย์สมบัติลูกหลาน จิตใจของเขาจึงเศร้าหมอง นิมิตไม่ดีก็มาปรากฏ เกิดความหวาดกลัว ญาติผู้ใกล้ชิดนั้นไม่มีใครรู้เรื่องธรรมะ จึงไม่มีการแก้ไขอารมณ์แต่อย่างใด เขาสิ้นชีวิตลง ต้องไปเกิดในทุคติภูมิ กุศลที่เขาทำไว้ในชาตินี้ไม่สามารถช่วยส่งผลให้ไปสุคติได้เลย ทั้งนี้ เพราะ อกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยอุดหนุนแก่ อกุศล ที่นาย ค.เคยได้ทำไว้ในชาติก่อน ๆ ได้มีโอกาสส่งผล | ||
|
||
นาย ง. เมื่อยังอยู่ในเยาว์วัย ทำ อกุศลอยู่เสมอ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เสพสุรายาเมา เป็นต้น ครั้นเมื่อมีอายุมากเข้าแลเห็นโทษในการทำชั่วเหล่านั้น มีความสังเวชสลดใจเกิดขึ้น เลยสละจากเพศฆราวาส เข้าบวชในพระพุทธศาสนา ต่อมาพระภิกษุ ง. ป่วยหนัก และหวนคิดไปถึงเมื่อครั้งที่ตนยังหนุ่ม ๆ อยู่ ได้เคยทำอกุศลไว้มาก ทำให้เกิดความไม่สบายใจ กลัวจะไปตกอบายภูมิ ทำให้เกิดความเศร้าหมองร้อนใจ จนกระทั่งมรณภาพ พระภิกษุ ง. ไปเกิดในนิรยภูมิทันที เพราะ อกุศลที่เกิดในเวลาใกล้จะตาย ช่วยอุดหนุนแก่ อกุศลที่ตนเคยทำไว้ในชาตินี้ ได้มีโอกาสส่งผล | ||
|
||
นาย จ. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อบุญ ไม่เชื่อบาป มีความเห็นว่าการฆ่าสัตว์ไม่บาป ฆ่าคนจึงจะบาป การทำบุญตักบาตร ไหว้พระ สวดมนต์ เหล่านี้ก็ไม่เป็นบุญ ความเป็นอยู่ของสัตว์โลกนี้ล้วนแต่พระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้นทั้งสิ้น ต่อมานาย จ. มาเป็นคนรับใช้อยู่ในบ้านของผู้มีใจบุญ ซึ่งทำบุญให้ทานอยู่เสมอ เช่นมีการตักบาตรเป็นประจำทุกวันพระ เป็นต้น และนาย จ. มีหน้าที่หุงข้าว จัดสิ่งของใส่บาตรให้แก่เจ้านายทุกวัน วันอุโบสถ ก็ต้องติดตามนายของตนไปวัดด้วยเสมอ การกระทำเช่นนี้ ทำให้จิตใจของเขา ละวางความเห็นผิดไปได้ และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ครั้นเมื่อเขาเจ็บป่วยใกล้จะตาย จิตใจของเขาไม่มีความเศร้าหมองแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เพราะนาย จ. ตัวคนเดียว ทรัพย์สมบัติก็ไม่มี ฉะนั้นจึงไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นห่วงกังวล เมื่อเขาตายลงได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาชั้นสูง เพราะกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนแก่ กุศลชนกกรรมในอดีตภพ | ||
|
||
นาย ฉ. เคยอุปสมบท เคยศึกษาเรื่องธรรมะ และเคยปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา เมื่อเขาลาสิกขาบทแล้ว มาประกอบอาชีพทำการประมง แต่เขาก็ยังมีการทำบุญตักบาตรทุกวันพระและตั้งใจทำอยู่เสมอมิให้ขาด ส่วนกุศลอื่น ๆ ไม่มีโอกาสทำได้ เมื่อเขาได้พิจารณาความเป็นไปของตัวเองแล้ว ก็รู้สึกว่าอาชีพที่ทำนี้เป็นอกุศล จะเปลี่ยนอาชีพใหม่ก็ไม่ได้ เพราะตนไม่มีความรู้อย่างอื่น จึงจำเป็นต้องหาทำกุศลที่พอจะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้บ้าง เมื่อเขาคิดเช่นนี้จึงตั้งใจว่าจะตักบาตรทุกวันพระมิได้ขาด พร้อมทั้งมีความปีติยินดีในการกระทำของตนด้วย เมื่อใกล้ตาย จิตใจของเขามิได้เกิดความเศร้าหมองอย่างใด เมื่อตายลงจึงได้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาขั้นสูง ด้วยอำนาจแห่งศีลกุศลหรือภาวนากุศล ที่ได้ทำไว้ในปัจจุบัน ให้มีโอกาสส่งผล | ||
|
||
นาย ช. ตั้งแต่เล็กจนกระทั่งเติบโตเป็นหนุ่ม เป็นผู้ที่มีใจเป็นกุศลช่วยบิดามารดาตักบาตรทุกวัน ไปฟังธรรมกับบิดามารดาทุกวันพระ และมีการบริจาคทานอยู่เสมอ เป็นที่หวังว่า ถ้าตายลงจะไม่ต้องไปลงนรกแน่นอน ครั้นต่อมาเมื่อเขามีครอบครัวจึงห่างจากการทำกุศล ไม่มีโอกาสได้ทำเหมือนแต่ก่อน เพราะต้องประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว จิตใจหมกมุ่นอยู่แต่ในการหาเงินหาทอง และหลงเพลิดเพลินอยู่ในความสนุกสนานต่าง ๆ แต่อกุศลที่เกี่ยวกับทุจริตนั้นเขาก็มิได้กระทำ จนกระทั่งเขาสิ้นชีวิตจึงได้ไปเกิดใน นรก เพราะอาศัยอกุศลจิตที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในตอนหลังนี้ ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลที่เขาได้เคยกระทำมาในภพก่อน ๆ ได้มีโอกาสส่งผล | ||
|
||
นาย ซ. ตั้งแต่เล็กจนกระทั่งเติบโตเป็นหนุ่มไม่เคยทำกุศลเลย มีแต่ชวนเพื่อนพากันเที่ยวเตร่ บางครั้งก็เสพสุราบ้าง ลักขโมยบ้าง ประพฤติเช่นนี้เรื่อย ๆ จนกระทั่งมีอายุครบบวช ผู้ปกครองจึงบังคับให้นาย ซ. บวช เพื่อจะได้ละนิสัยเก่าที่ไม่ดีนั้นเสีย นาย ซ.ก็ยอมบวช และในระหว่างที่บวชนั้นภิกษุ ซ. ได้ปฏิบัติกิจของสมณะเป็นอย่างดี และตั้งใจเล่าเรียนศึกษาปริยัติธรรมมิได้ขาด เมื่อบวชได้ ๓ พรรษา ศรัทธาก็ถอยลง การปฏิบัติกิจของสมณะก็หย่อนลง ไม่ตั้งใจเล่าเรียนเหมือนแต่ก่อน พูดแต่เรื่องไร้สาระ ฟังวิทยุบ้าง อ่านหนังสือพิมพ์ หาเวลาไปเรียนทางโลก หมกมุ่นอยู่กับทางโลก ๒ - ๓ ปี เพื่อเตรียมตัวสึก จิตใจก็ฟุ้งซ่านไม่สงบเหมือนแต่ก่อน จนถึงแก่มรณภาพ และไปบังเกิดเป็นเดรัจฉาน ด้วยอำนาจของอกุศลที่เกิดในตอนหลัง ๆ ช่วยอุดหนุนแก่อกุศล ที่เคยทำไว้ก่อนบวชนั่นเอง | ||
|
||
ถ้าเป็นบุญอุดหนุนบุญ ที่เป็นตัวนำเกิด เช่น ผู้มีใจบุญทั้งหลายทำแต่กุศลอยู่เสมอไม่เคยทำบาปเลย เวลาใกล้จะตายจิตผ่องใส เมื่อตายก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาที่มีฐานะมียศฐาบรรดาศักดิ์ การทำความดีระหว่างที่มีชีวิตอยู่นั้น ย่อมมีโอกาสที่จะส่งผลให้มีกำลังสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าเป็นผู้มีใจมืดมัวไม่กลัวบาปบุญคุณโทษ ไม่เชื่อในนรกสวรรค์ ไม่เชื่อว่าตายแล้วเกิดอีก จะทำแต่บาปอยู่เสมอ เมื่อใกล้จะตายจิตย่อมเศร้าหมอง เมื่อตายลงก็จะไปเกิดในนรก เสวยทุกข์สิ้นกาลนาน ทั้งนี้ เพราะอกุศลกรรมที่เกิดเมื่อใกล้จะตายนั้น ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลกรรมที่เป็นตัวนำเกิด ให้มีกำลังแรงส่งผลได้เต็มที่ | ||
อุปถัมภกกรรมที่ช่วยอุดหนุนชนกกรรม ที่กำลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกำลังในการส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มี ๑๐ ประการ คือ | ||
|
||
นาย ก. เป็นคนมีนิสัยเฉย ๆ จิตใจเยือกเย็น กลัวต่อบาป ไม่ทำทุจริต การทำกุศลนั้นทำเพียงเล็กน้อย เพราะมีฐานะไม่ค่อยดี การอบรมจิตใจในเรื่องธรรมะก็ไม่ใคร่มีโอกาส เพราะมัวแต่ประกอบอาชีพ แต่เมื่อเวลาที่นาย ก. ใกล้จะตายนั้น เขามีจิตใจผ่องใสเป็นกุศล เกิดขึ้น เมื่อตายก็ได้เกิดเป็น มนุษย์ หรือ เทวดาที่มีฐานะดี เพราะ กุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยอุดหนุนแก่ กุศลชนกกรรมที่เคยทำไว้ในอดีตภพ ที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกำลังในการส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | ||
|
||
นาย ข. เป็นผู้มีใจบุญ ทำกุศลอยู่เสมอ ไม่ได้ทำทุจริตอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะกลัวต่อบาป เมื่อเวลาเขาใกล้จะตาย เขามีใจผ่องใสเป็นกุศลเกิดขึ้น เมื่อเขาตายลงได้ไปเกิดเป็น มนุษย์ หรือเทวดา ที่มีฐานะสูง ทั้งนี้เพราะกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยอุดหนุนแก่กุศลชนกกรรมที่เขาได้ทำไว้ก่อนจะตาย ที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกำลังในการส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | ||
|
||
นาย ค. มีนิสัยตระหนี่ ไม่สนใจเรื่องการกุศล พยายามหาเงินอย่างเดียว แต่ก็ไม่ได้ทำทุจริตอย่างใด เมื่อเวลาใกล้จะตายนั้นจิตใจไม่ผ่องใสเป็นอกุศลเกิดขึ้น เมื่อเขาตายลงจึงไปเกิดใน อบายภูมิ ได้รับความลำบากมาก เพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลชนกกรรมที่เขาเคยทำไว้ในอดีตภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกำลังในการส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | ||
|
||
นาย ง. มีใจเป็นอกุศลมาก ไม่เชื่อในบาปบุญคุณโทษ ไม่เชื่อว่าตายแล้วจะต้องเกิดอีก ไม่เชื่อนรกสวรรค์ ด้วยเหตุนี้นาย ง. จึงทำอะไรตามความพอใจของตน ไม่เชื่อใคร เมื่อเวลาใกล้จะตายจึงมีจิตเศร้าหมอง เขาตายลงจึงไปเกิดใน นรก ทั้งนี้ เพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลชนกกรรมที่ นาย ง. กระทำอยู่ในปัจจุบันภพที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกำลังในการส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | ||
|
||
เด็กชาย จ. เป็นลูกของผู้ใจบุญ บิดามารดาสอนให้รู้จักใส่บาตร สวดมนต์ไหว้พระอยู่เสมอ เมื่อเด็กชาย จ. มีอายุอยู่ได้เพียง ๕ ขวบเท่านั้นก็ตายลง แล้วไปเกิดใน เทวโลก นี้เป็นเพราะกุศลที่ทำในปวัตติกาล ช่วยอุดหนุนแก่กุศลชนกกรรม ที่เด็กชาย จ. เคยทำไว้ในอดีตภพได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกำลังในการส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | ||
|
||
นาย ฉ. เป็นลูกของผู้มีใจบุญ บิดามารดามีความรู้ในธรรมะ จึงได้อบรมให้เขารู้จักในเรื่องพระพุทธศาสนา รู้จักบาปและบุญ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบิดามารดาเป็นอย่างดี ได้พยายามบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนาอยู่เสมอ จึงมีอกุศลเกิดได้น้อย ด้วยเหตุนี้เมื่อเขาตายลงไปเกิดใน เทวโลก เป็นเทวดาชั้นสูง ทั้งนี้ เพราะกุศลความดีที่เขาทำอยู่เสมอนั้น ช่วยอุดหนุนแก่กุศลชนกกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้มีกำลังส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับชนกกรรมที่มีโอกาสส่งผลนั้นเป็นกุศลที่เกิดก่อนก็ได้ กุศลที่เกิดหลังก็ได้ ถ้ากุศลที่เกิดก่อนมีโอกาสส่งผลแล้ว กุศลที่เกิดหลังก็ช่วยอุดหนุนให้มีกำลังขึ้น และถ้ากุศลที่เกิดหลังมีโอกาสส่งผลแล้วกุศลที่เกิดก่อนก็จะช่วยอุดหนุนให้มีกำลังขึ้น | ||
|
||
นาย ช. เป็นลูกของคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นหนุ่มก็ไม่เคยได้รับการอบรมเรื่องบาปและบุญ ไม่มีการเคารพต่อผู้ใหญ่ ชอบสนุกสนาน ความประพฤติของเขาไม่ถึงทุจริต เมื่อ นาย ช. ตายลงไปเกิดใน นรก นี้เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลชนกกรรมที่เคยทำไว้ในอดีตภพ ที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้น ให้มีกำลังในการส่งผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น | ||
|
||
นาย ซ. เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เชื่อบาป ไม่เชื่อบุญ เห็นว่าการทำบุญไม่มีประโยชน์อะไร ทำแล้วเสียเปล่า ไหว้เจ้าดีกว่า กลับมาได้กิน ถือศีล ๘ ก็ไม่มีประโยชน์ อดข้าวหิวข้าวเปล่า ๆ การปฏิบัติอบรมจิตใจก็ไม่มีประโยชน์ เสียเวลาและลำบากเปล่า ๆ ไม่ต้องทำอะไรก็ได้ คนตายแล้วก็ต้องเกิดเป็นคนอีก สุนัขตายแล้วก็เกิดเป็นสุนัขอีก ดังนี้เป็นต้น ดังนั้นนาย ซ. จึงทำแต่อกุศลเป็นส่วนมาก เมื่อเวลาตาย เขาไปเกิดใน นรก เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัส นี้ก็เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลชนกกรรมที่เขาทำในภพนี้ที่ได้โอกาสให้ผลอยู่แล้ว ให้มีกำลังในการส่งผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น | ||
|
||
นาย ฌ. มีศรัทธาแก่กล้า มีความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส เพราะเพศฆราวาสมีโอกาสสร้างกุศลได้น้อย เป็นไปในทางอกุศลมาก ไม่มีเงินก็ลำบากเพราะไม่มีจะกินมีก็ลำบากเพราะต้องเป็นห่วง เขามองเห็นโทษจึงบวชในพระพุทธศาสนา ตั้งใจปฏิบัติคันถธุระและรักษาวินัยเคร่งครัด จบการศึกษาแล้วก็สอนพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั่งมรณภาพไปเกิดใน เทวโลก เป็นเทวดาชั้นสูง กุศลที่นาย ฌ. เคยสร้างไว้ในอดีตภพที่เป็นอปราปริยเวทนียกุศลก็มีอยู่ แต่กุศลที่สร้างใหม่ในภพนี้มีกำลังแรงยิ่งกว่า กุศลเก่าจึงไม่มีกำลังพอที่จะให้ผลปฏิสนธิได้ จึงทำหน้าที่อุดหนุนแก่กุศลชนกกรรมในปัจุบันภพที่ได้โอกาสให้ผล ให้มีกำลังในการส่งผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น สำหรับพระโพธิสัตว์นั้น เมื่อตายจากภพเก่าไปเกิดในภพใหม่ บารมีต่างๆ ที่สร้างไว้ในภพเก่า ๆ นั้น ย่อมช่วยอุดหนุนแก่กุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ที่มีโอกาสให้ผลอยู่แล้วนั้นให้มีกำลังยิ่งขึ้น คือให้ได้ไปเกิดในสกุลสูง มีฐานะสูงเช่นเดียวกัน | ||
|
||
นาย ญ. เป็นคนมีใจบาป ไม่เคยได้ทำกุศลอย่างใด มีแต่ทำอกุศลคือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ โกงเขาบ้าง เป็นต้น เมื่อ นาย ญ. ตาย อกุศลที่ตนกระทำไว้ในภพนี้ได้โอกาสส่งผลให้เขาไปเกิดใน นรก อกุศลเก่าที่เคยทำไว้ในอดีตภพ ก็ช่วยอุดหนุนอกุศลที่กำลังส่งผลอยู่นั้นให้มีกำลังบริบูรณ์ยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนคนที่เคยกระทำผิดกฎหมายหลายครั้งแล้วมาถูกจับได้ เมื่อศาลพิจารณาโทษ ศาลก็รวบเอาคดีเก่า ๆ พิจารณาด้วย แล้วตัดสินลงโทษอย่างหนัก ความผิดครั้งแรกนั้น ย่อมช่วยอุดหนุนให้ความผิดครั้งหลังส่งผลให้ได้รับโทษหนักยิ่งขึ้น | ||
|
||
บุคคลที่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนประสพแต่ความสุข ยิ่งเป็นบุคคลที่เกิดมา เป็นคนมีใจบุญใจกุศลช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก ทำบุญให้ทานบำรุงพระพุทธศาสนาเหล่านี้ ย่อมทำให้มีความสุขกาย สุขใจ ผิวพรรณผ่องใส มีอายุยืน เมื่อถึงคราวเจ็บไข้ก็จะพบหมอดี พยาบาลดีรักษาหายเร็ว มีคนคอยปรนนิบัติให้ได้รับความสะดวกทุกอย่าง ทั้งนี้ก็เพราะบุญอุปถัมภ์รูป-นามให้คนสัตว์ทั้งหลาย มีอายุยืนนาน | ||
ส่วนพวกสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย มีจิ้งจก ตุ๊กแก แมว เสือ ซึ่งเกิดมาจากอกุศลกรรมทั้งสิ้น แล้วยังต้องกินสัตว์อื่นเป็นอาหารจึงจะมีชีวิตอยู่ได้ การดำรงชีวิตเป็นไปด้วยความทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ ก็เพราะอกุศลกรรมที่กระทำอยู่นี้ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามของสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดจากอกุศลกรรม ที่เป็นตัวนำเกิดให้มีชีวิตอยู่ได้ยืนนาน | ||
อุปถัมภกกรรม ที่ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามที่เป็นวิบากของชนกกรรม ให้เจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้นานนั้น มี ๗ ประการ คือ | ||
|
||
พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีพระสรีระร่างกาย พระฉวีวรรณ พระสุรเสียง เป็นต้น ทั้งภายนอกภายใน และการเห็นการได้ยิน เป็นต้น ย่อมมีความประณีตสวยงาม เป็นพิเศษกว่ามนุษย์ทั้งหลาย และอารมณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับนั้นก็เป็นอารมณ์ที่ดีเป็นส่วนมาก นี้เป็นเพราะบารมีต่าง ๆ ที่พระองค์เคยทรงสร้างมาในภพก่อน ๆ นั้นเอง ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้ | ||
|
||
ผู้ใจบุญ ใจกุศลชอบช่วยเหลือผู้ได้รับความลำบาก ช่วยบำรุงกิจการงานในพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองถาวร เป็นผู้รักษาตนให้อยู่ในศีลธรรมเสมอ ด้วยอำนาจแห่งการทำกุศลกรรมเหล่านี้ ย่อมทำให้ผู้นั้นมีความสุขกายสุขใจผิวพรรณผ่องใส มีเกียรติ ได้รับแต่อารมณ์ที่ดี คือ เห็นดี ได้ยินดี เป็นต้น ทั้งปราศจากโรคภัยมีกำลังวังชาแข็งแรง อายุยืน เพราะกุศลกรรมที่ทำในภพนี้ ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้ | ||
|
||
ความเป็นอยู่ของสัตว์นรกและเปรตทั้งหลายนั้น เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส แต่สัตว์เหล่านั้นก็คงดำรงชีวิตอยู่ได้ยืนนานกว่าปกติ เช่น สุนัขบางตัวอด ๆ อยาก ๆ ตามตัวเต็มไปด้วยโรคเรื้อน เข้าไปใกล้ใครเขาก็รังเกียจ ถูกทุบตีให้ได้รับทุกขเวทนาต่างๆ นาๆ แต่มันก็มีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือนหลายปี หรือคนบางพวกก็เช่นเดียวกัน มีร่างกายเป็นโรคเรื้อรัง เจ็บปวดทรมานมาก แต่ก็ไม่ตายง่าย ๆ ทนทุกข์ทรมานอยู่ได้นาน เหล่านี้ เป็นด้วยอำนาจแห่งอกุศลอุปถัมภกกรรมในภพก่อน ๆ ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามที่เกิดจากอกุศลชนก-กรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้ | ||
|
||
ผู้ที่มีโรคประจำตัว คือ โรคผิวหนัง โรคเส้นประสาท เป็นต้น มีอาการเจ็บปวดอยู่เสมอ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากอำนาจแห่งอกุศลชนกกรรม แต่ผู้นี้ไม่มีการระวังในเรื่องรักษาตัว เสพสุรายาเมาเสมอ โรคที่เป็นอยู่จึงกำเริบมากขึ้นทำให้เกิดความทุกข์กายหนักยิ่งขึ้น หรือ สัตว์เดรัจฉาน เช่น เสือ แมว จิ้งจก เหล่านี้ ย่อมเกิดมาจากอกุศลชนกกรรม และสัตว์เหล่านี้มีการเบียดเบียนฆ่าสัตว์อื่น ๆ กินเป็นอาหารทำให้ร่างกายสัตว์เหล่านี้เจริญเติบโตและตั้งอยู่ได้ตลอดชีวิต เป็นเพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในภพนี้ ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้ | ||
|
||
สุนัขบางตัว มีเจ้าของเลี้ยงดูรักใคร่ให้ได้รับความสบายอยู่ดีกินดี การที่สุนัขได้รับความสุขสบาย เป็นเพราะอำนาจแห่งกุศลกรรมที่สุนัขนั้นได้เคยกระทำไว้ในภพก่อน ๆ นั่นเอง ช่วยอุดหนุนแก่รูป คือ ชีวิต ของสุนัข และนาม คือภวังคจิต ที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้ | ||
|
||
สัตว์บางตัวมีความฉลาดสอนง่าย แสดงการคารวะต่อเจ้าของและผู้อื่น มีการนั่งได้ ยกมือไหว้ได้ เป็นต้น ทำให้เจ้าของและผู้อื่นที่แลเห็นเกิดความเอ็นดูสงสาร และเลี้ยงให้ได้รับความสุขสบาย ได้กินอาหารที่ดี ๆ ได้รับความทะนุถนอมเป็นพิเศษ หรือสัตว์ประเภท นกแก้ว นกขุนทอง เจ้าของสอนให้พูดได้ กล่าวปฏิสันถารได้ ทำให้ผู้ที่ได้ยินเกิดรักใคร่เอ็นดู และนำอาหารมาให้ได้กินอิ่ม ได้รับความสุขสบายเหล่านี้ เป็นเพราะอำนาจแห่งกุศลกรรมที่สัตว์เหล่านั้นได้ทำในภพนี้ มีการแสดงการคารวะเป็นต้น ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามที่เกิดจากอกุศลชนกกรรมของสุนัขและนกแก้วนี้ให้เจริญและตั้งอยู่ได้ | ||
พวกเปรตทั้งหลายที่ได้รับส่วนบุญจากญาติมิตร และตนเองก็ได้อนุโมทนาในส่วนกุศลอันนั้นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งปัตตานุโมทนากุศลที่พวกเปรตทั้งหลาย ได้กระทำย่อมทำให้ได้รับความสบายขึ้น พ้นจากความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ได้ เป็นเพราะอำนาจของกุศลกรรมที่ตนกระทำขึ้นนั้นเอง ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามที่เกิดจากอกุศล ชนกกรรมของพวกเปรตเหล่านั้นให้เจริญและตั้งอยู่ได้ | ||
|
||
ผู้มีอาชีพชาวประมง ขายอาวุธ ขายสุรา แล้วเกิดความร่ำรวย มีความสุขสบายในการกินการใช้ การบำรุงความเพลิดเพลินต่าง ๆ ด้วยการประกอบอาชีพเหล่านี้ หรือประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองมีอำนาจด้วยอาศัยการสร้างอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งการเป็นชาวประมง การขายอาวุธ ขายสุรา การทำอาวุธเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลทั้งสิ้น แต่อกุศลเหล่านี้ เป็นเครื่องช่วยอุดหนุนแก่รูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและตั้งอยู่ได้ | ||
นี้คือหน้าที่ของอุปถัมภกกรรมที่ช่วยอุดหนุนแก่รูปนามของสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นผลกรรมนำเกิดให้เจริญและตั้งมั่นอยู่ได้นาน | ||
องค์ธรรมของอุปถัมภกกรรม นี้ ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ และ มหากุศลกรรม ๘ | ||
ส่วนมหัคคตกุศลกรรม ๙ มีหน้าที่เป็นชนกกรรมนำปฏิสนธิ (เกิด) ภวังค์ (รักษาภพชาติ) และจุติ (ตาย) เป็นพรหมอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีฐานะที่จะเป็นอุปถัมภกกรรม | ||
|
||
สมัยพุทธกาล อานนทเศรษฐี มีจิตใจตระหนี่ ทานก็ไม่ให้ ศีลก็ไม่รักษา เมื่อเขาตายลงจิตใจก็ห่วงแต่สมบัติ ชนกกรรมฝ่ายอกุศลนำไปเกิดในครรภ์ของหญิงผู้ยากจน แล้วอุปถัมภกกรรมฝ่ายอกุศลก็เริ่มแสดงให้เห็น ซึ่งปกติคนในหมู่บ้านที่มีอาชีพขอทานอยู่แล้ว พอหญิงผู้ยากจนมีครรภ์ขึ้นมาก็ยิ่งทำให้คนในหมู่บ้านนั้นเริ่มขาดแคลนอาหารยิ่งขึ้นเนื่องจากขอทานไม่ได้ คนในหมู่บ้านจึงเพ่งเล็งมายังตน จึงได้มีการจับฉลากดูว่าใครจะเป็นคนกาลกิณีในหมู่บ้านกันแน่ | ||
ปรากฏว่าหญิงยากจนผู้ตั้งครรภ์นั้นจับได้ไม้สั้นถึง ๓ ครั้ง ทำให้รู้แน่ชัดว่าผู้ที่อยู่ในครรภ์นั้นต้องเป็นเด็กกาลกิณี ชาวหมู่บ้านจึงขับไล่หญิงยากจนที่ตั้งครรภ์นั้นให้พ้นไปจากหมู่บ้าน เมื่อนางคลอดบุตรออกมาเป็นชายซึ่งมีหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวไม่เหมือนคนทั่วไป มารดาก็เห็นเป็นที่แน่ชัดดังที่คนในหมู่บ้านได้ตั้งข้อสังเกตไว้ เมื่อโตขึ้นมาพอที่จะออกขอทานได้แล้ว แม่ก็ไล่ให้แยกออกไปขอทานตามลำพัง คนทั่วไปเห็นเข้าก็ไม่ให้ข้าวและน้ำเพราะรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว จึงเดินโซซัดโซเซไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ จนไปถึงบ้านใหญ่โตดุจปราสาทหลังหนึ่งซึ่งก็เป็นบ้านของตนในชาติก่อนนั่นเอง จำได้คลับคล้ายคลับคลาจึงเดินเข้าไป เมื่อคนในบ้านเห็นก็ถูกตีขับไล่ให้ออกไปให้พ้น | ||
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าออกบิณฑบาต พบเข้า พระองค์จึงทรงอธิบายให้ทราบว่า เด็กที่ถูกตีขับไล่ออกมานั้นก็คือท่านเศรษฐีใหญ่ที่กลับชาติมาเกิด ลูกชายผู้ซึ่งเป็นเศรษฐีสืบทอดมาก็ยังไม่เชื่อ พระพุทธเจ้าจึงให้คนขอทานนั้นไปชี้ที่ฝังทรัพย์ ๕ แห่งซึ่งฝังไว้ก่อนตาย คนขอทานก็นำไปขุดได้ทรัพย์ครบถ้วนตามจำนวนเป็นอันมาก เศรษฐีลูกชายจึงเชื่อ การที่เศรษฐีใหญ่ซึ่งเคยเป็นบิดา เป็นคนตระหนี่ไม่ทำบุญทำทาน รักษาศีล จึงนำเกิดในครรภ์ของคนขอทานยากจน แถมยังน่าเกลียดน่ากลัวเพราะอำนาจแห่งอกุศลกรรมนั้นติดตามอุปภัมภ์ ให้ต้องได้รับวิบากกรรมดังเช่นที่ได้กล่าวมาข้างต้น | ||
|
||
|
||
มีบุรุษผู้หนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยการตักน้ำขาย พอได้ทรัพย์มาก็นำไปฝังไว้ที่เชิงกำแพงเมือง ต่อมาได้ย้ายบ้านไปทำงานรับจ้างที่อื่นและได้หญิงคนหนึ่งมาเป็นภรรยา เมื่อถึงวันนักขัตฤกษ์ มีการเล่นมหรสพ ภรรยาจึงให้สามีไปเอาเงินที่ฝังไว้มาเที่ยวงาน ถึงคราวที่อุปถัมภกกรรมฝ่ายกุศลส่งผล บุรุษผู้มีฐานะต่ำต้อยจะได้รับความเจริญ ด้วยอำนาจแห่งกุศลกรรมที่เขาได้สร้างแต่ชาติก่อน เขาเดินทางไปพลางร้องเพลงไปพลาง โดยไม่ใส่ใจกับแสงแดดที่ร้อนจ้าในเวลาเที่ยงวัน ขณะที่เดินผ่านหน้าพระลานหลวง | ||
สมเด็จพระเจ้าอุทยราชาธิบดี ได้ทอดพระเนตรเห็นจึงเกิดความเอ็นดู ได้สั่งให้ราชบุรุษไปเรียกบุรุษผู้นั้นมาเพื่อสอบถามความเป็นไป จึงได้ทราบว่าบุรุษผู้นี้จะนำเงินที่ฝังไว้ใกล้กำแพงเมืองมาให้ภรรยาเพื่อไปเที่ยวงานวันนักขัตฤกษ์ พระองค์จึงตรัสว่า ท่านจงกลับไปเถิดเราจะพระราชทานเงินตามจำนวนที่ฝังไว้นั้น เพราะจะได้ไม่ต้องเดินฝ่าเปลวแดดอันร้อนจ้า เขาปฏิเสธไม่รับเงินตามที่พระราชาทรงประทานให้ ยังคงยืนยันที่จะเดินไปเอาทรัพย์ที่ฝังไว้ต่อไป พระราชาได้ทรงเพิ่มจำนวนทรัพย์ที่จะพระราชทานให้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่เขาก็ยังยืนยันคำเดิม พระองค์ทรงเห็นว่าเขาเป็นบุรุษที่มีความตั้งใจจริง มีความพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ไม่ละโมบโลภมาก จึงทรงพอพระทัย ให้ราชบุรุษนำตัวเขาไปชำระร่างกายให้สะอาดแล้วแต่งเครื่องประดับสำหรับพระราชา | ||
จากนั้นพระราชาตรัสว่า บุรุษผู้นี้เป็นคนมีปัญญาและมีวาจาสัตย์ มีใจมั่นคงไม่กลับกลอกหวั่นไหว เราจะแต่งตั้งเขาเป็นพระราชาปกครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี ทรงพระราชทานนามว่า สมเด็จพระเจ้าอัฒมาสกราช แล้วทรงแบ่งเขตให้ปกครอง ต่อมาไม่นานประชาชนต่างถวายความจงรักภักดีโดยทั่วกัน | ||
อุปถัมภกกรรมฝ่ายกุศลได้ชักนำให้บุรุษผู้นี้ได้รับความสุขสบายในชาตินี้ แล้วยังทำหน้าที่อุปถัมภ์ให้ได้รับความสุขในชาติหน้ายิ่งขึ้นไปอีก | ||
วันหนึ่งสมเด็จพระเจ้าอุทยราชาทรงว่างจากราชกิจ ทรงไปพักผ่อนพระราชหฤทัยกับพระสหาย และทรงเอนองค์เอาพระเศียรหนุนตักของอดีตบุรุษเข็ญใจ ในขณะนั้นอกุศลจิตก็เกิดขึ้นในใจของอดีตบุรุษผู้ยากจน คิดอยากจะครองราชสมบัติแต่เพียงผู้เดียว จึงเอาพระขรรค์จะแทงที่พระอุระพระราชา แต่ได้สติคิดขึ้นมาได้จึงรีบปลุกพระเจ้าอุทยราชาธิบดีให้ตื่นจากบรรทม แล้วทรงเล่าเรื่องที่ตนหมายจะปองชีวิตให้ฟังทั้งหมด พระเจ้าอุทย-ราชาเมื่อได้ฟังแล้วก็เมตตาจะยกราชสมบัติให้ แต่พระอัฒมาสกราช เกิดความละอายจึงไม่ขอรับทรัพย์สมบัติที่จะทรงพระราชทานให้ ได้ขอทูลลาเข้าป่าบวชเป็นฤาษี บำเพ็ญพรหมจรรย์จนสำเร็จอภิญญา เมื่อดับขันธ์ก็ทรงอุบัติไปเกิดในพรหมโลก | ||
|
๓. อุปปีฬกกรรม (กรรมเบียดเบียน)
อุปปีฬกกรรม เป็นกรรมที่มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นที่มีสภาพตรงข้ามกับตน คือ บุญเบียดเบียนบาป , บาปเบียดเบียนบุญ ทุกข์เบียดเบียนสุข , สุขเบียดเบียนทุกข์ เช่น ขณะที่มีสุขอยู่ มีสุขภาพแข็งแรงดี ต่อมาเกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ทำให้เกิดความทุกข์กายทุกข์ใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะบาปเบียดเบียนบุญ หรือคนบางคนต้องทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบาก ต่อมาถูกล็อตเตอรี่ ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นไม่ต้องตรากตรำทำงานหนักเหมือนแต่ก่อน เพราะผลบุญเบียดเบียนความทุกข์ยากที่เคยได้รับให้ลดน้อยลง |
อุปปีฬกกรรมนั้นทำหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมให้มีสภาพตรงข้ามกับตนนั้น เบียดเบียนได้ ๒ ลักษณะ คือ ๑. เบียดเบียน เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล ๒. เบียดเบียน เพื่อลดกำลัง ไม่ให้ส่งผลได้เต็มที่ ซึ่งอุปปีฬกกรรมจะทำหน้าที่ ๓ ประการคือ |
การเบียดเบียนของอุปปีฬกกรรม มีหน้าที่ ๓ ประการ คือ |
๑. เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผล |
๒. เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกำลังลดลง |
๓. เบียดเบียนรูปนาม ที่เกิดจากชนกกรรมอื่นนั้น |
๑. อุปปีฬกกรรมที่มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผล |
อุปปีฬกกรรม มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นที่มีสภาพตรงข้ามกับตน และมีโอกาสส่งผลได้ แต่ถูกอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนไว้ไม่ให้ส่งผล มีลักษณะการเบียดเบียน ๒ อย่าง คือ |
๑.๑ กุศลกรรมที่ทำในปัจจุบันภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรม เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล คือ บุญ ที่ทำในชาตินี้ เบียดเบียนบาป ไม่ให้บาปมีโอกาสนำเกิดในอบายภูมิ (นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) |
๑.๒ อกุศลกรรมที่ทำในปัจจุบันภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรม เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล คือ บาป ที่ทำในชาตินี้ เบียดเบียนบุญ ไม่ให้มีโอกาสนำเกิดในสุคติภูมิ (มนุษย์ เทวดา) |
อุปปีฬกกรรมนี้ ได้แก่ อุปถัมภกกรรม นั่นเอง คือ ในขณะที่กุศลอุปถัมภกกรรม กำลังทำหน้าที่ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมอยู่นั้น ในขณะเดียวกันกุศลอุปถัมภกกรรมนั้น ได้ชื่อว่า กำลังทำหน้าที่เบียดเบียนอกุศลชนกกรรม ที่จะได้โอกาสในการส่งผล ไม่ให้มีโอกาสในการส่งผลได้ด้วย |
๒. อุปปีฬกกรรม มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นที่กำลังส่งผลอยู่ ให้มีกำลังลดน้อยลง |
อุปปีฬกกรรมนี้ มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ที่มีสภาพตรงข้ามกับตนและกำลังได้โอกาสให้ผลอยู่ แต่ถูกอุปปีฬกกรรมนี้ เบียดเบียนให้มีกำลังลดน้อยลง ลักษณะการเบียดเบียนมี ๒ อย่าง คือ |
๒.๑ กุศลกรรมที่ทำในปัจจุบันภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรม ที่กำลังมีโอกาสส่งผลอยู่ให้มีกำลังลดน้อยลง คือ บุญ ที่ทำในชาตินี้ เบียดเบียนบาป ที่จะนำเกิดในอบายภูมิ (นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) ให้มีกำลังลดน้อยถอยลง เช่น |
พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำอนันตริยกรรม คือ ปิตุฆาตกรรม ซึ่งเป็นกรรมหนักจะต้องตกอเวจีมหานรก แต่ด้วยพระเจ้าอชาตศัตรู ได้สร้างกุศลไว้อย่างมากมาย คือ เป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาในการทำปฐมสังคายนา ซึ่งในบรรดาปุถุชนทั้งหลายนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูนับว่า เป็นผู้เลื่อมใสนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด ด้วยอำนาจของกุศลเหล่านี้ จึงช่วยให้พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ไปตกในอเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ แต่ไปตกในโลหกุมภีอุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกขุมเล็กที่เป็นบริวารของอเวจีมหานรก |
๒.๒ อกุศลกรรมที่ทำในปัจจุบันภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรม ที่กำลังมีโอกาสส่งผลอยู่ ให้มีกำลังลดน้อยลง คือ บาป ที่ทำในชาตินี้ เบียดเบียนบุญ ที่จะนำเกิดในสุคติภูมิ (มนุษย์ เทวดา) ให้มีกำลังลดน้อยถอยลง เช่น การกุศลที่เจือด้วยอกุศล ได้แก่ การสร้างโบสถ์สร้างวิหารเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งด้วยความปีติยินดี แต่เมื่อไม่ได้รับการเลือกตั้งก็รู้สึกเสียใจ เสียดายเงินทองที่ทำไป ทำให้ผลของกุศลที่ได้มีกำลังลดน้อยลง เมื่อผู้นั้นตาย แทนที่จะไปเกิดเป็นติเหตุกบุคคล กลับกลายเป็นทวิเหตุกบุคคลไป เพราะอำนาจของอกุศลที่เกิดขึ้นเข้าเบียดเบียนกุศลให้มีกำลังลดน้อยลง |
อุปปีฬกกรรมนี้ ก็ได้แก่ อุปถัมภกกรรม นั่นเอง คือ ในขณะที่กุศลอุปถัมภกกรรม กำลังทำหน้าที่ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมอยู่นั้น ในขณะเดียวกันกุศลอุปถัมภกกรรมนั้น ก็ได้ชื่อว่า กำลังทำหน้าที่เบียดเบียนอกุศลชนกกรรม ที่จะได้โอกาสในการส่งผลอยู่ ให้มีกำลังในการส่งผลลดน้อยลงดังกล่าว |
๓. อุปปีฬกกรรม มีหน้าที่เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมอื่นๆ |
อุปปีฬกกรรมนี้ มีหน้าที่เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมที่มีสภาพตรงข้ามกับตน ลักษณะการเบียดเบียนมี ๒ อย่าง คือ |
๓.๑ กุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม คือ บุญเบียดเบียนรูปนามของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดจากบาป และบาปเบียดเบียนรูปนามของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดจากบุญ เช่น สัตว์เดรัจฉาน ที่เกิดมาร่างกายไม่สมบูรณ์ มีโรคภัยเบียดเบียนได้รับความทุกข์ แต่ได้เคยทำบุญรักษาศีลมาในอดีต และในปัจจุบันก็ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์ ต่อมามีผู้เลี้ยงดูทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีความสุขสบายโรคภัยไข้เจ็บก็หาย ทั้งนี้ เพราะอำนาจแห่งกุศลอุปปีฬกกรรมที่ตนทำไว้เสมอ ๆ เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากผลของบาปทำให้ความทุกข์ยากนั้นหายไป |
๓.๒ อกุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรมคือ บาปที่เบียดเบียนรูปนามของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดจากบุญ เช่น มนุษย์ เกิดมามีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ต่อมาทำบาปทุจริต มีการเสพสุรา ทำการฉ้อโกงอยู่เสมอ ภายหลังเกิดโรคภัยเบียดเบียน สติฟั่นเฟือน เกิดความวิบัติต่าง ๆ อาชีพการงานฝืดเคือง ทำให้เกิดความร้อนใจ ทั้งนี้เพราะอำนาจของอุปปีฬกกรรมที่ทำนั้น เบียดเบียนให้รูปนามของสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดมามีร่างกายแข็งแรงให้มีสภาพตรงกันข้ามไป |
|
ในสมัยพุทธกาล มีบุรุษผู้หนึ่งชื่อว่า โจรเคราแดง เป็นผู้มีจิตใจเหี้ยมโหดผิดมนุษย์ธรรมดา ก่อนที่จะสมัครเข้าเป็นสมุนของโจร หัวหน้าโจรมาเห็นลักษณะแล้วยังไม่ยอมรับ แต่ด้วยทนคำอ้อนวอนของสมุนโจรด้วยกันที่รับสินบนจากโจรเคราแดงไม่ได้ จึงรับไว้เป็นสมุนโจรด้วยความไม่ค่อยเต็มใจ วันหนึ่งพระราชาจับโจรกลุ่มนี้ได้แต่ก็ไม่อยากที่จะฆ่าด้วยตนเอง ต้องการให้โจรฆ่ากันเองมากกว่าจึงประกาศไปว่าถ้าใครคนหนึ่งในกลุ่มนี้รับอาสาที่จะฆ่าโจรทั้งหมดนี้ ก็จะได้รับการปลดปล่อยให้รอดชีวิตไม่ต้องถูกประหาร ไม่มีใครรับอาสานอกจากโจรเคราแดงผู้เดียวเท่านั้น เมื่อโจรเคราแดงฆ่าโจรด้วยกันหมดแล้ว ก็ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระและให้เข้ารับราชการเป็น เพชฌฆาต โจรเคราแดง รับราชการทำหน้าที่ฆ่าคนมาเป็นเวลา ๕๕ ปี ก็ปลดเกษียณอายุ วันแรกที่พ้นจากราชการ เขาก็เตรียมตัวที่จะออกไปซื้อเสื้อผ้าสวย ๆ พร้อมอาหารดี ๆ มารับประทานกับครอบครัว พระสารีบุตร ออกจากนิโรธสมาบัติ พิจารณาดูแล้วเห็นโจรเคราแดงมีอัธยาศัยที่ควรแก่การโปรด จึงอุ้มบาตรไปยืนอยู่หน้าบ้านโจรเคราแดง เมื่อโจรเคราแดงเห็นก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใส ได้น้อมถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระสารีบุตร และได้ฟังพระธรรมเทศนา แต่จิตใจของโจรเคราแดงนั้นไม่ได้ตั้งมั่นอยู่กับพระธรรม ด้วยอำนาจของอกุศลกรรมที่ทำไว้ จึงได้แต่ปฏิญาณตนขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตเท่านั้น พระเถระได้กล่าวอนุโมทนาแล้วลากลับไปยังวิหาร พอพระเถระคล้อยหลังไป ยักขิณีผู้ซึ่งผูกเวรกันไว้แต่ชาติปางก่อน แปลงกายเป็นแม่โคบ้าวิ่งแล่นไล่ชนโจรเคราแดงล้มลงตายในทันที ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต |
|
|
ในอดีตกาล มีชายผู้หนึ่งมีบ้านที่อยู่อาศัยใกล้กับพระวิหารอันเป็นที่อยู่ของสามเณร ขณะที่เขากำลังอาบน้ำอยู่ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน สามเณรน้อยรูปหนึ่งได้พายเรือผ่านมา เขาจึงวักน้ำสาดไปที่เรือด้วยความคึกคะนอง สามเณรตกใจเอี้ยวหลบทำให้เรือล่มลงจึงรีบว่ายน้ำเข้าฝั่ง แล้วด่าว่าบุรุษผู้นั้น ทำให้บุรุษผู้นั้นโกรธจึงเข้ามาตบที่กกหูแล้วช่วยส่งขึ้นฝั่งไป เมื่อบุรุษนั้นตายลงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่า สุนักขัตตลิจฉวี เมื่อเจริญวัยก็ได้บวชในสำนักของพระบรมศาสดา บำเพ็ญกรรมฐานจนได้ทิพพจักขุโดยรวดเร็ว แต่ไม่สามารถที่จะสำเร็จทิพพโสตอภิญญาได้ แม้จะใช้เวลาพยายามอย่างมากก็ตาม ทั้งนี้เพราะเหตุที่ว่าในชาติก่อนนั้นได้ตบกกหูของสามเณรด้วยโทสะ จึงเป็นอุปปีฬกกรรมเบียดเบียนมิให้โสตอภิญญาเกิดขึ้น แม้จะใช้เวลาถึง ๓ ปี ก็ไม่สามารถจะบรรลุได้ จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงนิ่งเฉย มิได้แนะถึงกลอุบายที่ทำให้เกิดโสตอภิญญาแต่อย่างใด จึงเกิดความเบื่อหน่ายทำให้อุปปีฬกกรรมซ้ำเติมขึ้นไปอีก คิดว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้แต่จักขุอภิญญาเท่านั้น จะล่วงรู้ถึงโลกุตตรธรรม คือมรรค ผล นิพพานที่ได้ทรงเทศนาไว้คงจะไม่จริงทั้งสิ้น จึงลาสิกขาไปเป็นเดียรถีย์นอกพระพุทธศาสนาในสำนักของนิครนถนาฏบุตร เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อสิ้นชีวิตลงไปบังเกิดในนรก ด้วยอำนาจของอุปปีฬกกรรมฝ่ายอกุศลเข้าเบียดเบียน จึงกลายเป็นคนอับโชคไป |
ดูแผนผังประกอบเพื่อความเข้าใจ
|
|
๔. อุปฆาตกกรรม (กรรมตัดรอน)
อุปฆาตกกรรม เป็นกรรมที่มีหน้าที่ ตัดกรรม อื่น ๆ และวิบากของกรรมอื่น ๆ ให้สิ้นลงซึ่งต่างกับอุปปีฬกกรรม ซึ่งมีหน้าที่เบียดเบียนกรรมอื่น ๆ และวิบากมิให้เจริญ คือให้มีกำลังลดน้อยถอยลงเท่านั้น | ||||||||||||
อุปฆาตกกรรม เป็นกรรมชนิดที่ตัดกรรมอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด เมื่อตัดกรรมใดแล้ว กรรมนั้นไม่สามารถส่งผลให้เกิดขึ้นได้เลยตลอดไป และถ้าตัดวิบากของกรรมนั้นแล้ว ย่อมหมายถึงร่างกาย หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้นั้น ย่อมเสียไปตลอดชีวิต หรือไม่ก็ตัดชีวิตของผู้นั้นให้สิ้นไปเลย | ||||||||||||
อุปฆาตกกรรม มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ | ||||||||||||
๑. ตัดชนกกรรมที่เป็นตัวนำเกิด ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป | ||||||||||||
๒. ตัดชีวิต (รูปนาม) ที่เกิดจากชนกกรรมนั้น ให้สิ้นไป | ||||||||||||
|
||||||||||||
อุปฆาตกกรรม มีหน้าที่ตัดชนกกรรมอื่น ๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลนี้ มี ๓ ประเภท คือ | ||||||||||||
๑.๑ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัด อกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บุญตัดบาป) มิให้นำเกิดในอบายภูมิ เช่น | ||||||||||||
องคุลิมาล ก่อนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้เคยฆ่าคนเป็นจำนวนมาก เมื่อตายแล้วจะต้องตกนรกแน่นอน แต่เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องตกนรก เพราะไม่ต้องเกิดอีก ด้วยอำนาจของ อรหัตตมรรคกุศลกรรม (บุญ) ที่เกิดขึ้นตัด อกุศลชนกกรรม (บาป) ที่ได้ทำในภพนี้และภพก่อนให้หมดไป ไม่ต้องรับผลกรรมที่ทำไว้ | ||||||||||||
๑.๒ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัด กุศลชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บุญตัดบุญ) | ||||||||||||
ผู้ที่ทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาจนได้ฌาน ต่อมาได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทาน ศีล ที่เป็นกุศลชนกกรรม (บุญ) ก็ไม่สามารถส่งผลให้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้ และฌานกุศลชนกกรรม (บุญ) ก็ไม่สามารถส่งผลให้เกิดเป็นพรหมได้ ด้วยอำนาจของอรหัตตมรรคกุศล (บุญ) ซึ่งเป็นกุศลอุปฆาตกกรรมตัดกุศลที่จะนำเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหมให้หมดไป ผู้ที่ทำฌานจนถึงปัญจมฌาน เมื่อตายแล้วก็ต้องไปเกิดเป็นจตุตถฌานพรหม ด้วยอำนาจแห่งปัญจมฌานกุศล เป็นอุปฆาตกกรรมตัดมหัคคตกุศลที่ต่ำกว่าไม่ให้มีโอกาสส่งผล ตัดการที่จะไปเกิดเป็น ปฐมฌานพรหม ทุติยฌานพรหม และตติยฌานพรหม ลงไป ในอรูปฌานก็ทำนองเดียวกัน | ||||||||||||
๑.๓ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัด กุศลชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บาปตัดบุญ) | ||||||||||||
ผู้ใดผู้หนึ่งได้บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนกระทั่งได้ฌาน ต่อมาผู้นั้นได้กระทำอกุศลกรรมที่เป็นปัญจานันตริยกรรม อกุศลปัญจานันตริยกรรมนี้ย่อมเป็น อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดมหัคคตกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในพรหมโลก เช่น พระเทวทัต ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานและอภิญญา ทำให้เหาะเหิรเดินอากาศได้ แต่เมื่อได้กระทำโลหิตตุปบาทและสังฆเภทอันเป็นกรรมหนัก คือ อนันตริยกรรม เมื่อพระเทวทัตตายลงจึงต้องไปเกิดในอเวจีมหานรก ทั้งนี้ เพราะอนันตริยกรรมนั้นเป็นฝ่ายอกุศลอุปฆาตกกรรม (บาป) ตัดมหัคคตกุศลชนกกรรม คือ ฌาน อภิญญา (บุญ) ทำให้ไม่สามารถจะไปเกิดในพรหมโลกได้ | ||||||||||||
ดูแผนผังสรุป
|
||||||||||||
|
||||||||||||
|
||||||||||||
อุปฆาตกกรรมที่มีหน้าที่ตัดรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมอื่นให้สิ้นไป มี ๔ ประการ คือ | ||||||||||||
|
||||||||||||
๒.๑ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม | ||||||||||||
ผู้ที่ตายไปแล้ว ไปบังเกิดเป็นสัตว์นรกในนิรยภูมิ ร่างกายและความเป็นไป มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ของสัตว์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น ในระยะต่อมาสัตว์นรกนั้นได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนได้เคยกระทำไว้ได้ โดยอาศัยการเห็นเปลวไฟแล้วระลึกได้ว่า เราเคยได้บวชพระ เคยถวายจีวรแก่พระสงฆ์ เคยปิดทองพระพุทธรูปเป็นต้น หรือโดยอาศัยพระยายมราชเตือนสติให้ก็ระลึกถึงกุศลต่าง ๆ ที่ตนได้เคยกระทำไว้ ในขณะที่ระลึกถึงนั้น มหากุศลจิตย่อมเกิดขึ้น ในขณะนั้นสัตว์นรกก็จุติลง แล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาทันที นี้เป็นเพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ระลึกถึงกุศลเก่านั้นได้เอง เป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เป็นอกุศลวิบาก ทั้งนี้ เพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ระลึกถึงกุศลเก่านั้น จะเป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามของสัตว์นรกอันเกิดจากอกุศลชนกกรรมให้สิ้นไป | ||||||||||||
๒.๒ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรม | ||||||||||||
ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ยังเป็นฆราวาส ถ้าไม่บวชภายในวันนั้น จะต้องเสียชีวิตทันที ทั้งนี้ เพราะอำนาจของอรหัตตมรรคอรหัตตผลนั้นมีคุณอันประเสริฐ ไม่เหมาะกับเพศฆราวาส ซึ่งเป็นเพศชั้นต่ำ มีฐานะเพียงแค่รักษาศีล ๕ ความเป็นพระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมคู่ควรกับสมณเพศอันเป็นอุดมเพศ จึงจะรองรับคุณอันประเสริฐนั้นได้ เหมือนกับน้ำมันราชสีห์ ภาชนะทองเท่านั้น ที่สามารถเก็บรักษาน้ำมันนั้นอยู่ได้ ถ้าภาชนะอื่น ๆ ย่อมไม่สามารถรักษาไว้ได้ นี่แสดงให้เห็นว่าอรหัตตมรรคกุศลกรรม เป็นอุปฆาตกกรรมที่ตัดรูปนามของความเป็นมนุษย์ อันเกิดจากอกุศลชนกกรรมมิให้มีโอกาสส่งผล | ||||||||||||
๒.๓ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรม | ||||||||||||
คนที่เกิดมามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอวัยวะของร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ นับว่าเป็นคนที่เกิดจากกุศลวิบาก ต่อมาได้รับอุบัติเหตุ เช่น แขนขาด ขาหัก ตาบอด หรือถึงแก่ความตาย เหล่านี้เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรมมิให้มีโอกาสส่งผลอีกต่อไป | ||||||||||||
๒.๔ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม | ||||||||||||
สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายนั้นเกิดมาจากอกุศลชนกกรรม มี ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น ต่อมาถ้าได้รับอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชนตาย ตกน้ำตาย ถูกฆ่าตาย ความตายของสัตว์เหล่านี้ เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรมที่เคยทำไว้แล้ว เป็นผู้ตัดชีวิต คืออกุศลชนกกรรมให้สิ้นไป ไม่มีโอกาสส่งผลอีก | ||||||||||||
ดูแผนผังสรุป
อำนาจพลังแห่งบุญบาปที่ตัดชีวิตให้สิ้นลง
|
||||||||||||
|
||||||||||||
องค์ธรรมของอุปฆาตกกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ และกุศลกรรม ๒๑ | ||||||||||||
|
||||||||||||
พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งกรุงราชคฤห์ พระองค์ทรงมีความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัยเป็นอันมาก ทรงตั้งอยู่ในโสดาบันบุคคล ทรงเป็นพระราชบิดาของอชาตศัตรูกุมาร อชาตศัตรูกุมารนี้ไปคบหากับพระเทวทัตที่คิดจะเป็นใหญ่แทนพระพุทธเจ้า และตนก็ต้องการขึ้นครองราชสมบัติแทนพระเจ้าพิมพิสาร อชาตศัตรูและพระเทวทัตจึงหาวิธีที่จะกำจัดบุคคลทั้งสองด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจับพระเจ้าพิมพิสารไปขังคุก ให้อดอาหาร กรีดฝ่าเท้าเพื่อมิให้เดินจงกรม จนกระทั่งเกิดทุกขเวทนาอย่างหนักและสวรรคตลงไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ | ||||||||||||
ส่วนพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้มีบาปกระทำปิตุฆาตกรรม เสวยราชสมบัติตามประสงค์ก็หาได้มีความสุขสงบพระทัยลงไม่ แม้จะได้ฟังพระธรรมเทศนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยอำนาจของอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรอนให้พระเจ้าอชาตศัตรูสวรรคตลง ไปเกิดเป็นสัตว์นรกใน โลหกุมภี เสวยทุกขเวทนาเป็นเวลาถึง ๖ หมื่นปี เมื่อสิ้นกรรมจากนรกแล้วจักไปบังเกิดเป็นมนุษย์ และตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มีพระนามว่า พระชีวิตวิเสส | ||||||||||||
|
หมวดที่ ๓ ลำดับการให้ผลของกรรม
ในหมวดนี้ แสดงลำดับการให้ผลของกรรมตามลักษณะความหนักเบาไปตามลำดับ มี ๔ คือ | ||||||||||||
|
||||||||||||
|
||||||||||||
ครุกรรม เป็นกรรมหนักที่มีกำลังแรงมาก จะส่งผลก่อนกรรมอื่น ๆ ที่มีกำลังน้อยกว่า และส่งผลแน่นอนในชาติหน้า ครุกรรม แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ | ||||||||||||
|
||||||||||||
๑.๑ ครุกรรมที่เป็นฝ่ายบาป เป็นกรรมหนักฝ่ายบาป เมื่อตายลงจะต้องได้รับผลของบาป นำเกิดในชาติหน้าทันที เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน | ||||||||||||
ครุกรรมฝ่ายบาปนี้ มี ๒ อย่าง คือ | ||||||||||||
๑. นิยตมิจฉาทิฏฐิ | ||||||||||||
๒. ปัญจานันตริยกรรม | ||||||||||||
|
||||||||||||
ได้แก่ ความเห็นผิดจากความเป็นจริง เหมือนการเห็นกงจักร เป็นดอกบัว ไม่เชื่อในเรื่องบุญบาป กรรมเวร นรก สวรรค์ ชาตินี้ชาติหน้า นับเป็นกรรมหนักฝ่ายบาปประเภทที่ ๑ | ||||||||||||
นิยตมิจฉาทิฏฐินี้ แบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ | ||||||||||||
๑. นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่า การทำดี ทำชั่ว อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ต้องรับผลของกรรมนั้น จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ไม่บาป ไม่ต้อง ตกนรก จะทำบุญตักบาตร รักษาศีล เจริญภาวนา ไม่เป็นบุญ ไม่มีผลไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหม (เป็นการปฏิเสธผล) | ||||||||||||
๒. อเหตุกทิฏฐิ เห็นว่า ความทุกข์ความโศก ความผิดหวัง ถูกผู้อื่นเอารัดเอา เปรียบเข่นฆ่า ทรัพย์ที่มีอยู่ก็ถูกลักขโมย ถูกโกง ถูกปล้น | ||||||||||||
น้ำท่วม ไฟไหม้ ครอบครัวแตกแยกไม่ใช่เกิดมาจากกรรมเก่า ไม่ได้มาจากบาปเก่าเหตุเก่าที่ได้ทำไว้เลย (เป็นการปฏิเสธเหตุ) | ||||||||||||
๓. อกิริยทิฏฐิ เห็นว่า การกระทำต่าง ๆ ทั้งบุญและบาป ไม่เชื่อว่าเป็นบุญเป็น บาป (ปฏิเสธทั้งหมด) | ||||||||||||
|
||||||||||||
ได้แก่ การทำอกุศลกรรมอย่างหนัก มี ๕ อย่าง คือ | ||||||||||||
|
||||||||||||
ในบรรดาอนันตริยกรรม ๕ อย่างนี้ ปัญจานันตริยกรรม ข้อที่ ๕ คือการยุแหย่ให้สงฆ์แตกจากกันนั้น เป็นกรรมที่หนักที่สุด บาปมากที่สุด | ||||||||||||
๑.๒ ครุกรรมที่เป็นฝ่ายบุญ หรือ มหัคคตกุศลกรรม ๙ เป็นกรรมหนักฝ่ายดี เมื่อตายจากภพนี้แล้ว ถ้าฌานยังไม่เสื่อม นำเกิดในพรหมโลกทันที ครุกรรมฝ่ายบุญ หรือ มหัคคตกุศลกรรม ๙ ได้แก่ รูปาวจรกุศลกรรม ๕ , อรูปาวจรกุศลกรรม ๔ | ||||||||||||
ข้อแตกต่างในการให้ผลของอกุศลครุกรรม
และกุศลครุกรรม
|
||||||||||||
เมื่อ อกุศลกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งให้ผลนำเกิดในอบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉาน แล้ว อกุศลกรรมอื่นที่เหลือมีฐานะเป็น อุปถัมภกกรรม ช่วยอุดหนุนให้สัตว์เหล่านั้นได้รับความทุกข์ทรมานต่อไปอีกยาวนาน | ||||||||||||
ส่วน กุศลครุกรรม เมื่อให้ผลนำเกิดเป็นพรหมแล้ว กุศลกรรมส่วนที่เหลืออื่น ๆ จะไม่ให้ผล และตกเป็นอโหสิกรรม ไป เช่นถ้านาย ก. เจริญรูปฌานจนถึงขั้นปัญจมฌาน เมื่อปัญจมฌานวิปากส่งผลไปเกิดในรูปภูมิแล้ว รูปฌานขั้นต้นๆ ก็เป็นอโหสิกรรมไป และไม่มีฐานะเป็นอุปถัมภกกรรมอีก | ||||||||||||
สำหรับ โลกียกุศลกรรม คือ มรรคจิต ๔ จัดว่าเป็นครุกรรมเหมือนกัน แต่ไม่เป็นชนกกรรมที่จะนำเกิดได้ มีแต่จะทำลายการเกิด จึงไม่ถือว่าเป็นกรรมที่จะส่งผลให้เกิดในชาติหน้า จึงไม่จัดเข้าเป็นกรรมในหมวดนี้ |
๒. อาสันนกรรม (กรรมที่ทำในเวลาใกล้ตาย)
อาสันนกรรม คือ กรรมที่ได้กระทำในเวลาใกล้จะตาย หรือการระลึกถึงกรรมที่ทำนั้นในเวลาใกล้จะตาย ซึ่งมีทั้งกรรมที่เป็นส่วนดีและกรรมที่เป็นส่วนไม่ดี เช่น บุญหรือบาป ที่เคยกระทำผ่านมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งลืมไปมิได้สนใจที่จะระลึกนึกถึง แต่เมื่อถึงตอนใกล้จะตายแล้วหวนระลึกถึงบุญหรือบาปนั้นขึ้นมาได้ว่าเคยกระทำมาแล้ว ถ้าระลึกถึงบาป เมื่อสิ้นชีวิตลง จะนำเกิดในอบายภูมิ ๔ ถ้าระลึกถึงบุญ เช่น เคยทอดกฐิน สร้างศาลา ศึกษาพระอภิธรรม เมื่อสิ้นชีวิตลง จะนำเกิดในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์ หรือเทวดา และถ้าไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะทำให้ไปเกิดเป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ถ้าเคยทำทานไว้มาก จะทำให้ไปเกิดเป็นคนมีฐานะร่ำรวย ถ้าได้เคยศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม จะทำให้ไปเกิดเป็นคนมีปัญญา มีความสงบสุข
๓. อาจิณณกรรม (กรรมที่ทำไว้เสมอ ๆ)
อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำบ่อย ๆ ทำเป็นประจำ ทำเป็นนิตย์ อาจิณณกรรมมี ๒ อย่าง คือ |
๓.๑ กุศลอาจิณณกรรม เป็นอาจิณณกรรมฝ่ายบุญ เช่น ผู้ที่ทำบุญกุศลอยู่เป็นเนืองนิตย์ มีการตักบาตรทุกเช้า สวดมนต์ไหว้พระทุกวัน รักษาศีล ๕ ศีล ๘ เป็นประจำ ศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม จัดเป็นกุศลอาจิณณกรรมทั้งสิ้น |
๓.๒ อกุศลอาจิณณกรรม เป็นอาจิณณกรรมฝ่ายบาป ได้แก่ การทำทุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เสมอ มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พูดปด พูดคำหยาบ อาฆาต พยาบาท อยู่เป็นนิตย์ ทำโดยเป็นอาชีพหรือไม่ก็ตาม จัดเป็นอกุศลอาจิณณกรรมทั้งสิ้น |
ผู้ที่ทำทุจริตกรรมแม้เพียงครั้งเดียว แต่ระลึกอยู่เสมอ ๆ เกิดความกลุ้มใจ ฟุ้งซ่านรำคาญใจขึ้นมาโดยอาศัยการระลึกถึงทุจริตกรรมของตนนั้น ได้ชื่อว่าเป็น อกุศลอาจิณณกรรม เหมือนกัน ในทำนองเดียวกัน ผู้ที่ทำบุญมาครั้งเดียวแต่ได้ระลึกถึงบุญบ่อย ๆ ได้ชื่อว่าเป็น กุศลอาจิณณกรรม เช่นเดียวกัน |
๔. กตัฏตากรรม (กรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ)
กฏัตตากรรม คือ กรรมที่กระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่ได้ถึงขั้นเป็นครุกรรม อสันนกรรม หรืออาจิณณกรรม โดยที่ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจจะทำอย่างเต็มที่ กฏัตตากรรม มี ๒ อย่าง คือ | ||
๔.๑ กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ทำไว้ในภพก่อน ๆ อันได้แก่ อปราปริยเวทนียกรรม ที่มีกำลังเล็กน้อยแต่ก็ติดตามมาที่จะส่งผล | ||
๔.๒ กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่กระทำในชาตินี้ แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็น ครุกรรม อสันนกรรม หรืออาจิณกรรม โดยที่ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจจะกระทำอย่างเต็มที่ คือ บกพร่องด้วยเจตนาในกาลทั้ง ๓ | ||
สำหรับ การนำเกิดในภพใหม่ชาติใหม่นั้น จะนำเกิดตามลำดับขั้น คือ ครุกรรม อาสันนกรรม อาจิณณกรรม ถ้ากรรมทั้ง ๓ นี้ ไม่มีกำลังพอ กฏัตตากรรม จะนำเกิด อุปมา เหมือนโคแก่ที่อยู่ปากคอก สามารถออกจากคอกได้ก่อนโคหนุ่มที่มีกำลังวังชา | ||
|
||
ในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุหมู่หนึ่งประสงค์จะเดินทางไปนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์ อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระองค์ หลงทางเดินวนเวียนอยู่ในป่าเป็นเวลา ๗ วัน พลันเห็นร่างใหญ่โตคล้ายมนุษย์ ซึ่งมีรูปร่างแปลกพิกลไม่เหมือนคนในบ้านในเมืองธรรมดา กำลังเทียมโคใหญ่ ๔ ตัวเข้าที่ไถเหล็ก แล้วไถนาอยู่คนเดียวในทุ่งกลางป่า พระภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปถามทางออกจากป่า ได้รับคำตอบว่า “ท่านหลงทางเพียง ๗ วัน มิสู้เท่าไร ส่วนข้าพเจ้าสิหลงทางอยู่ ณ ที่นี้ ไถอยู่อย่างนี้ทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลานานนับได้ ๑ พุทธันดรแล้ว ได้รับความลำบากมากกว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นไหน ๆ” | ||
ข้าพเจ้าทำบาปทำกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นชาวนา ได้กระทำบาปทางวาจาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่ประชาชนทั้งหลายพากันไปทำบุญและสักการะบูชาองค์สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้า เขามาชักชวนข้าพเจ้าให้ไปร่วมทำบุญด้วย แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า การไปทำบุญแก่สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้านั้น เป็นการเสียประโยชน์ เสียเวลาทำมาหากิน สู้ไปไถนาไม่ได้ จึงได้ตอบคนเหล่านี้ไปว่า ไม่ไปเพราะเสียเวลาไถนา พากเขาก็บอกว่า การไปทำบุญแก่สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้า ดีกว่าการไถนาเป็นไหน ๆ ข้าพเจ้าจึงได้ตอบไปว่า :- | ||
“ท่านทั้งหลายอย่ามาสาธยายให้หนวกหูเราเลย เอาละ เป็นอันว่าพระกัสสปวิเศษจริง แต่เราก็ได้ตั้งใจไว้แล้วว่า ถ้าพระกัสสปไม่สามารถไถนาให้เราได้ เราก็จะไม่ไปทำบุญ ไม่ทำสักการะบูชา หากว่าพระกัสสปพุทธเจ้า สามารถมาจับคันไถ แล้วไถนาได้อย่างเราเมื่อไรนั่นแหละ เราจึงจะไปทำบุญ และทำสักการะบูชา” | ||
|
||
|
||
สมัยหนึ่ง ขณะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัททั้งหลายนั้น ได้มีนายโคบาลผู้หนึ่งเกิดความศรัทธาอย่างยิ่งที่จะฟังธรรม จึงค่อย ๆ ขึ้นไปยืนอยู่บนแผ่นไม้ โดยที่มิทันเห็นกบเพราะมัวแต่จ้องมองแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเขาขึ้นไปเหยียบบนแผ่นไม้ มิรู้ว่าใต้แผ่นไม้นั้นมีกบตัวน้อย ๆ หลับตาฟังพระสัทธรรมเทศนาอยู่ แผ่นไม้จึงได้ทับลงบนร่างกบตัวน้อยที่น่าสงสารนั้นถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง แล้วกบก็ได้เกิดเป็นเทวบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วลงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าในทันที มาฟังคำให้การของกบน้อยดูว่าเป็นอย่างไร ? | ||
เทพบุตรอดีตกบตัวน้อย ได้กราบทูลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ข้าพเจ้านี้มีนามว่ามัณฑุกเทพบุตร ชาติก่อนอาภัพกำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นกบอาศัยอยู่ในห้วงน้ำนทีที่สระโบกขรณีใกล้กับวิหารแห่งนี้ ได้สดับพระสุรเสียงของพระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาแล้วมีจิตผ่องแผ้วยินดี ถือเอานิมิตในพระสุรเสียงนั้น มีนายโคบาลมาแต่ไหนไม่ทราบได้ขึ้นไปยืนบนแผ่นไม้ และแผ่นไม้นี้ทับร่างกายของข้าพเจ้าบี้แบนไม่มีชิ้นดี ข้าพเจ้าทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วรีบมา ณ ที่นี้ ด้วยความปรารถนาจักมาถวายนมัสการแทบเบื้องยุคลบาทแห่งพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ และปรารถนาจักกราบทูลให้ทราบว่า | ||
“อานุภาพแห่งรัศมีอันซ่านออกจากกายทิพย์ของข้าพระบาทก็ดี อิทธิฤทธิ์อันเป็นทิพย์ก็ดี บริวารยศอันเป็นทิพย์ก็ดี ซึ่งบังเกิดมีแต่ข้าพระบาททั้งหมดนี้ เนื่องมาแต่ว่าได้สดับตรับฟัง พระธรรมเทศนาของพระองค์ชั่วเวลาเพียงครู่เดียวเท่านั้น หากว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ได้มีโอกาสสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนา แห่งพระองค์สิ้นกาลนานแล้ว สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น คงจักได้อานิสงส์พิเศษ ได้ทิพยสมบัติอันมากมาย ตลอดจนถึงได้บรรลุโลกุตตรสมบัติ คือ มรรคผลนิพพานอันประเสริฐ อย่างเที่ยงแท้โดยไม่ต้องสงสัย คงจะเป็นอย่างนั้นแน่นอน พระเจ้าข้า” | ||
จากคำสารภาพของกบ จะเห็นว่าเขาเพียงสร้างกุศลกรรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เป็นการสร้างกุศลกรรมกับผู้ทรงคุณอันประเสริฐจึงได้รับอนิสงส์เพียงนี้ ขอท่านทั้งหลายจงอย่าประมาท รีบสร้างกุศลกันต่อไปเถิด แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม | ||
|
หมวดที่ ๔ เวลาแห่งการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ)
การปลูกต้นไม้ก็ต้องอาศัยกาลเวลา จึงจะผลิดอกออกผล กรรมที่ทุกคนได้กระทำไปแล้วทั้งส่วนที่เป็นบุญก็ดี หรือเป็นบาปก็ดี ย่อมมีเวลาของการให้ผลแตกต่างกันไป ในหมวดนี้จึงพูดถึงการให้ผลของกรรม โดยอาศัยเวลาเป็นเครื่องกำหนด มี ๔ อย่าง คือ | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
ตามธรรมดาการกระทำต่าง ๆ ของคนเรา จะเป็นทางกาย วาจา หรือทางใจ ในขณะที่กระทำนั้นย่อมมี เจตนา ประกอบในชวนจิตอยู่เสมอ เพื่อทำกิจทำหน้าที่ในการเสพอารมณ์เป็นชวนะ ๗ ดวง กรรมที่จัดว่าเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้น ต้องเป็นเจตนาที่ประกอบใน ชวนจิตดวงที่ ๑ | ||||||||||||||||||
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนี้ มีลักษณะการให้ผล ๒ อย่าง คือ | ||||||||||||||||||
๑.๑ ให้ผลในชาตินี้ ภายใน ๗ วัน เรียกว่า ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม | ||||||||||||||||||
๑.๒ ให้ผลในชาตินี้แต่ หลัง ๗ วัน เรียกว่า อปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ได้นั้นต้องเป็นกรรมที่มีกำลังแรง เข้าถึงความแก่กล้า เช่น นายมหาทุคตะ ได้ถวายอาหารบิณฑบาต แก่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้มั่งคั่งร่ำรวยเป็นเศรษฐี หรือเช่น นายปุณณะกับ ภรรยา ซึ่งเป็นคนยากจน ถวายภัตตาหารแก่พระสารีบุตร ร่ำรวยเป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน เช่นเดียวกัน ด้วยอำนาจของ ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล | ||||||||||||||||||
กรรมที่เป็นปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล ได้แก่ พระเทวทัตที่กระทำโลหิตตุปบาท และทำสังฆเภท และนายนันทมานพ ที่ทำลายพระอุบลวรรณาเถรี ผู้เป็นพระอรหันต์ ต่างก็ถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก เช่นเดียวกัน | ||||||||||||||||||
หลักเกณฑ์ของการให้ผลของกุศลปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ต้องถึงพร้อมด้วยสัมปทา ๔ ประการ คือ | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ แต่ให้ผลหลังจาก ๗ วัน แบ่งออกเป็น ๓ ประการ คือ | ||||||||||||||||||
๑. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในปฐมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน ปฐมวัย มัชฌิมวัย หรือ ปัจฉิมวัย | ||||||||||||||||||
๒. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในมัชฌิมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน มัชฌิมวัย หรือ ปัจฉิมวัย | ||||||||||||||||||
๓. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในปัจฉิมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน ปัจฉิมวัย | ||||||||||||||||||
ทั้ง ๓ ประการนี้ล้วนเป็นอปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมทั้งสิ้น | ||||||||||||||||||
หลักเกณฑ์การให้ผลของทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ให้ผลในชาตินี้
|
||||||||||||||||||
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนี้ เป็นกรรมที่ มีกำลังอ่อน เนื่องจากไม่ได้รับอุปการะจาก อเสวนปัจจัย จึงให้ผลแต่เพียงชาตินี้เท่านั้น ถ้าไม่ให้ผลจะกลายเป็นอโหสิกรรมไป | ||||||||||||||||||
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมจะส่งผลในชาตินี้ได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ | ||||||||||||||||||
๑. ต้องไม่มีอุปสรรคเบียดเบียน | ||||||||||||||||||
๒. ต้องได้รับการเกื้อหนุนเป็นพิเศษ | ||||||||||||||||||
๓. ต้องมีเจตนาตั้งใจอย่างแรงกล้า | ||||||||||||||||||
๔. ผู้ได้รับหรือผู้ถูกกระทำต้องเป็นผู้มีคุณวิเศษ | ||||||||||||||||||
๑. ต้องไม่มีอุปสรรคเบียดเบียน | ||||||||||||||||||
ถ้าเป็น กุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมดีจะให้ผล) จะต้องไม่ถูกเบียดเบียนจากอกุศลกรรม (กรรมชั่ว) และ ต้องมีปัจจัยพิเศษสนับสนุน (สิ่งสนับสนุน) คือ กรรมฝ่ายดี และ กรรมฝ่ายชั่ว | ||||||||||||||||||
๒. ต้องได้รับการเกื้อหนุนเป็นพิเศษ | ||||||||||||||||||
ฝ่ายดี ถ้าเปรียบเทียบกุศลกับการปลูกพืช พืชจะเจริญงอกงามได้ดี ก็ต้องอาศัยดินดี ปุ๋ยดี น้ำ แสงแดด เช่นเดียวกันกับผลบุญจะสำเร็จเป็นกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม จะต้องประกอบด้วย สัมปัตติ ๔ ได้แก่ | ||||||||||||||||||
๑. คติสัมปัตติ คือ ต้องเกิดในสุคติภูมิ เป็น มนุษย์ หรือ เทวดา | ||||||||||||||||||
๒. กาลสัมปัตติ คือ ต้องเกิดในสมัยที่มีพระศาสนา พระราชาเป็นสัมมาทิฏฐิ | ||||||||||||||||||
๓. อุปธิสัมปัตติ คือ ต้องเกิดมามีอาการครบ ๓๒ ประการ มีความพร้อมทางร่างกาย | ||||||||||||||||||
๔. ปโยคสัมปัตติ คือ ต้องเพียรประกอบแต่สุจริตกรรม | ||||||||||||||||||
ฝ่ายไม่ดี ถ้าจะสำเร็จเป็น อกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม จะต้องประกอบด้วย วิปัตติ ๔ ได้แก่ | ||||||||||||||||||
๑. คติวิปัตติ คือ ต้องเกิดในทุคติภูมิ เป็นภูมิที่เหมาะที่จะรอรับผลทุกข์ | ||||||||||||||||||
๒. กาลวิปัตติ คือ ต้องเกิดในสมัยที่ไม่มีพระศาสนา และพระราชาเป็นมิจฉาทิฏฐิ | ||||||||||||||||||
๓. อุปธิวิปัตติ คือ เกิดมามีอวัยวะไม่ครบ ๓๒ ประการ | ||||||||||||||||||
๔. ปโยควิปัตติ คือ เพียรประกอบในทางทุจริตกรรมเนือง ๆ ทำบาปอยู่เสมอ | ||||||||||||||||||
๓. ต้องมีเจตนาตั้งใจอย่างแรงกล้า | ||||||||||||||||||
การกระทำความดีหรือความชั่วนั้น ก่อนที่จะกระทำสำเร็จล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา ต้องมีการพิจารณาไตร่ตรองก่อน ถ้ามีเจตนาที่มีกำลังแรงกล้าอย่างมาก บุญหรือบาปที่กระทำสำเร็จด้วยเจตนาที่แรงกล้านี้ก็จะส่งผลเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ ให้ผลในปัจจุบันได้ เจตนาอย่างแรงกล้านี้อยู่ในชวนะดวงที่ ๑ | ||||||||||||||||||
๔. ผู้ได้รับหรือผู้ถูกกระทำ ต้องเป็นผู้มีคุณวิเศษ | ||||||||||||||||||
ผู้ที่จะกระทำความดีหรือความชั่วนั้น จะต้องกระทำกับผู้ทรงไว้ซึ่งคุณวิเศษ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ หรือพระอนาคามี เป็นต้น | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
โดยเสแสร้งว่าได้ตั้งท้องกับพระพุทธองค์ นางได้ประกาศในที่ประชุม ขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา อยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทำให้ท้าวสักกเทวราชร้อนใจ จึงส่งเทวดาให้แปลงเป็นหนู ไปกัดโครงไม้ที่สานผูกติดไว้ที่ท้องหล่นลงมา ทำให้ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมทราบความจริง จึงได้ทำประชาทัณฑ์แก่สาวิกา นางได้หนีออกจากที่นั้นไป พอพ้นเขตพระเชตวันมหาวิหาร ก็ถูกธรณีสูบทันที นับเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล ซึ่งได้กระทำกับผู้ทรงคุณอันประเสริฐ | ||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||
ในสมัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีบุรุษเข็ญใจชื่อ นายกากวฬิยะ มีชีวิตเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบากตลอดวัน วันหนึ่งภรรยาก็เตรียมต้มข้าวกับใบผักกาดดอง เป็นข้าวยาคูเปรี้ยว ที่จะให้สามีไปกินตามประสาของคนยากจน ขณะนั้น พระกัสสปเถระเจ้า ออกจากนิโรธสมาบัติพอดี มีความปรารถนาที่จะอนุเคราะห์คนเข็ญใจ จึงถือบาตรไปยืนอยู่หน้าประตูเรือนของนายกากวฬิยะนั้น ภรรยาเห็นก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง เกิดปีติซาบซ่านขึ้นมาในใจ ได้ทำข้าวยาคูเปรี้ยวถวายแก่พระเถระนั้นด้วยความเลื่อมใส พระกัสสปเถระได้นำข้าวยาคูเปรี้ยวไปถวายแก่พระพุทธเจ้าอีกต่อหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า “ดูกร กัสสปะ นับแต่วันนี้ได้ ๗ วัน กากวฬิยบุรุษผู้นี้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเศรษฐี จากพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดี” เมื่อครบ ๗ วัน ดังพุทธพยากรณ์ นายกากวฬิยะคนยากไร้กับภรรยาผู้ยากจน ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเศรษฐี ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้ ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจของกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม |
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า)
อุปปัชชเวทนียกรรม เป็นกรรมที่ส่งผลให้ได้รับในชาติหน้า (ชาติที่ ๒) หลังจากที่ได้สิ้นชีวิตลงแล้ว ซึ่งเป็นความตั้งใจ (เจตนา) ที่เกิดขึ้นอย่างแรงกล้าใน ชวนจิตดวงที่ ๗ ส่งผลนำเกิด (ปฏิสนธิกาล) ในภูมิต่าง ๆ และติดตามสนองผลตลอดชีวิต (ปวัตติกาล) | ||||||||||||||||||||||||||||||
นิยตมิจฉาทิฏฐิ และปัญจานันตริยกรรม ดังได้กล่าวมาแล้ว ชื่อว่า เป็นอุปปัชชเวทนียกรรม ถ้าไม่มีโอกาสส่งผลในชาติหน้าก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไป (หมดอำนาจส่งผล) | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
เพื่อให้ได้เข้าใจถึงชวนจิตดวงที่ ๑-๗ จะได้นำเอาวิถีจิตมาอธิบายพอสังเขป การที่กรรมจะสำเร็จเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม หรือ อปราปริยเวทนียกรรม จำเป็นต้องทราบเรื่องถึงวิถีจิตก่อน เพราะการจะเกิดเป็นกรรมคือ เป็นกุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นบุญเป็นบาปขึ้นมาได้นั้น ต้องเป็นไปตามลำดับแห่งวิถีจิต ซึ่งมีหลากหลายและค่อนข้างยากในการจะอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเดียว โดยไม่มีการฟัง ไม่มีภาพประกอบ หรือซักถาม อย่างไรก็ตามก็จะแสดงให้เห็นเพียงวิถีจิตทางปัญจทวารวิถี คือ วิถีจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ตาเห็นรูป เป็นต้นเท่านั้น | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
หมายเหตุ เรื่องวิถีจิต เป็นเรื่องค่อนข้างยาก มีรายละเอียดมาก ถ้าจะให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ควรมาฟังการบรรยายในห้องเรียน ขอเชิญมาฟังในวันเสาร์ที่อาคารสำนักงานมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม เลขที่ 5/108 ซอยอุดมทรัพย์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (ใกล้กับห้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า) | ||||||||||||||||||||||||||||||
อธิบายวิถีจิต ที่สัมพันธ์กับชวนจิตดวงที่ ๑ -
๗
|
||||||||||||||||||||||||||||||
ธรรมชาติของจิตนั้น เป็นสภาพที่รู้อารมณ์อยู่เสมอ ไม่ว่างเว้นแม้ยามหลับ สภาพของจิตนั้นไม่เที่ยงเกิดดับเปลี่ยนไปเป็นนิตย์ ด้วยเหตุที่จิตมีการเกิดดับเป็นนิตย์นี้เอง จึงนับเป็นขณะได้ ๓ ขณะ คือ อุปปาทขณะ (ขณะที่จิตเกิดขึ้น) ฐีติขณะ (ขณะที่จิตตั้งอยู่) และ ภังคขณะ (ขณะที่จิตดับไป) | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
แมงมุม เป็นสัตว์ที่หากินแบบเสือนอนกิน คือ มักเที่ยวขึงใยของมันไว้ตามสถานที่ซึ่งสัตว์ตัวเล็ก ๆ จะบินผ่าน เมื่อแมลงตัวใดบินผ่านมาติดกับใยของมัน มันก็จะคลานไปจับเอามากินเป็นอาหารเสีย | ||||||||||||||||||||||||||||||
จิตของคนเราก็เหมือนกัน คอยจ้องอยู่ตลอดวันตลอดคืนเพื่อเสพอารมณ์ พยายามหาอารมณ์ต่าง ๆ จากทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าหากได้อารมณ์ที่ดีมาก็พอใจ แต่ถ้าหากได้อารมณ์ที่ไม่ดีก็ย่อมไม่พอใจเป็นธรรมดา มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของจิตที่เรียกว่าวิถีจิตดูบ้าง จะได้เข้าใจการเสพอารมณ์ของชวนจิตได้ดีขึ้น | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
อตีตภวังค์แมงมุมเสือนอนกินเกาะอยู่กลางใยนอนนิ่งอยู่ เพื่อจะคอยจ้องจับสัตว์โง่ที่บินมาติดใยกินเป็นอาหาร เมื่อมีสัตว์คือแมลงเล็ก ๆ บินมากระทบกับใยของมัน ทันทีที่แมลงเล็กนั้นบินมากระทบเข้ากับใย แมงมุมมันก็เกิดความรู้สึกว่ามีสัตว์ที่จะเป็นอาหารมากระทบ เหมือนในการรับอารมณ์ของจิต ขณะที่มี อารมณ์ใหม่ มากระทบกับอดีตภวังค์นั้น อตีตภวังค์ยังรับอารมณ์เก่าอยู่ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์ ทั้งสามอย่างใดอย่างหนึ่ง | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภวังคจลนะ เมื่ออารมณ์ใหม่มากระทบภวังคจิตดวงแรก (อตีตภวังค์) ภวังค์ดวงที่ ๒ คือ ภวังคจลนะ เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อ ซึ่งภวังคจลนะนี้จะไหว เปรียบเหมือนกับการไหวของใยแมงมุมเมื่อมีแมลงมากระทบ ทำให้แมงมุมรู้สึกไหวตัวมากขึ้น | ||||||||||||||||||||||||||||||
ภวังคุปัจเฉทะ เป็น ภวังคจิตดวงที่ ๓ ที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจาก ภวังคจลนะ ทำหน้าที่ตัดขาดอารมณ์เก่า เพื่อรับกับอารมณ์ใหม่ เปรียบเหมือนการตื่นจากหลับ (ภวังค์ทั้งสามนี้ปกติจะรับอารมณ์เก่า คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์ จากชาติก่อนอยู่เป็นนิตย์) เปรียบเหมือนแมงมุมที่ตื่นขึ้นจากหลับ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ปัญจทวาราวัชชนะ เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพื่อรับอารมณ์ใหม่ ทำหน้าที่เหมือนนายประตู ที่จะอนุญาตให้เข้าไปพบคนใดคนหนึ่งในจำนวน ๕ คน คือ นายเห็น นายได้ยิน นายได้กลิ่น นายลิ้มรส และนายโผฏฐัพพะ ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย นั่นเอง เปรียบเหมือนกับแมงมุมตกลงใจจะขยับตัวออกเดินไปสู่ที่หมาย ๕ แห่ง แต่มันจะต้องรู้เสียก่อนว่าแมลงที่บินมากระทบกับใยนั้นอยู่แห่งใด | ||||||||||||||||||||||||||||||
ทวิปัญจวิญญาณ คือ วิญญาณจิตทั้ง ๕ คือ จักขุวิญญาณ (การเห็น) โสตวิญญาณ (การได้ยิน) ฆานวิญญาณ (การได้กลิ่น) ชิวหาวิญญาณ (การลิ้มรส) และกายวิญญาณ (การรับรู้สัมผัสทางกาย) ดวงใดดวงหนึ่งที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจาก ปัญจทวาราวัชชนะ เปรียบเหมือนกับแมงมุมมองเห็นแมลงตัวเล็ก ๆ ที่มาติดอยู่กับใยของตน | ||||||||||||||||||||||||||||||
สัมปฏิจฉันนะ คือ จิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ (การเห็น ฯลฯ) เปรียบเหมือนกับแมงมุมเดินทางมาถึงตัวแมลงซึ่งจะกลายเป็นอาหารในไม่ช้านี้ แต่ก็ยังดูไม่ชัดว่าเป็นแมลงชนิดไหน | ||||||||||||||||||||||||||||||
สันตีรณะ คือ จิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์มาจากสัมปฏิจฉันนะ ทำหน้าที่ไต่สวนอารมณ์ทั้ง ๕ อย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงไป ในที่นี้จะหมายถึงการพิจารณาสิ่งที่เห็น เปรียบเหมือนกับแมงมุมกำลังพิจารณาเหยื่อว่าเป็นแมลงชนิดไหน | ||||||||||||||||||||||||||||||
โวฏฐัพพนะ คือ จิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์จากสันตีรณะ ทำหน้าที่ตัดสินใจหรือตัดสินอารมณ์ว่า ดีหรือไม่ดี คือต้องการหรือไม่ต้องการ ตัดสินโดยเด็ดขาดลงไปเลย เหมือนกับผู้พิพากษาตัดสินความ ซึ่งจำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ เปรียบเหมือนกับการตัดสินใจของแมงมุมว่า ต้องกินแมลงตัวนี้เพราะกำลังหิวอยู่ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ชวนะ มี ๗ ขณะ (ขณะที่ ๙ - ๑๕) ถือว่าเป็นตอนสำคัญ การตัดสินใจในอารมณ์นั้นๆ ถ้าตัดสินใจเสพอารมณ์นั้นด้วยกุศล หรือ อกุศล ก็ตามถ้าตัดสินใจพลาดก็ต้องยอมรับในการตัดสินใจนั้น เปรียบเหมือนกับแมงมุงที่ตัดสินใจกินแมลงนั้นถ้ากินแล้วไม่อร่อยก็ถือว่าเป็นกรรมเก่าที่ไม่ดี แต่ถ้าอร่อยก็ถือว่าโชคดีกุศลส่งผลให้รับประทานของที่อร่อย ชวนะ จึงหมายถึงการเสพอารมณ์ หรือ การเสวยอารมณ์นั่นเอง เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว จะเป็นบุญหรือบาป กุศลหรืออกุศล หรือกิริยา ก็อยู่ที่ชวนะนี้เอง | ||||||||||||||||||||||||||||||
ตทาลัมพนะ มี ๒ ขณะ (ขณะที่ ๑๖ - ๑๗) เป็นจิตดวงสุดท้ายใน อติมหันตารมณ์วิถี ซื่งเป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏชัดเจน หรือเป็นอารมณ์ที่มีกำลังแรง ตทาลัมพนะนี้เป็นจิตที่รับอารมณ์ต่อมาจากชวนะ | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||
โดยมีบุรษผู้หนึ่ง เอาผ้าคลุมศีรษะนอนหลับอยู่ใต้ต้นมะม่วงที่มีผลสุก ได้ยินเสียงมะม่วงผลหนึ่งหล่นอยู่ในที่ใกล้ ๆ ที่ตนนอนหลับอยู่นั้นจึงตื่นขึ้นแล้วเลิกผ้าคลุมศีรษะออก ลืมตาแลเห็นผลมะม่วง รู้ซึ่งภาวะแห่งผลมะม่วงนั้นว่าเป็นผลมะม่วงสุกแล้ว จึงหยิบมาลูบคลำดูและผ่าออก บริโภคมะม่วงนั้นด้วยความเอร็ดอร่อย เสร็จแล้วก็หลับต่อไป เปรียบเทียบกับวิถีจิตได้ดังนี้ | ||||||||||||||||||||||||||||||
|
๓. อปราปริยเวทียกรรม (กรรมที่ให้ผลตั้งแต่ชาติที่ ๓ เป็นต้นไป จนถึงพระนิพพาน)
อปราปริยเวทนียกรรม ได้แก่ เจตนาในการทำกุศลกรรม อกุศลกรรม ที่อยู่ในชวนจิต(การเสพอารมณ์) ดวงที่ ๒ - ๖ เป็นชวนะที่อยู่ตรงกลาง รวม ๕ ดวง กรรมที่ให้ผลในช่วงนี้มีกำลังแรง ส่งผลไปเรื่อย ๆ ทุกภพทุกชาติจนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน ถ้ากรรมใดไม่มีโอกาสส่งผลจะเป็นอโหสิกรรมไป เพราะ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมให้ผลในชาตินี้ อุปปัชชเวทนียกรรมให้ผลในชาติหน้า และอปราปริยเวทนียกรรม จึงต้องให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงพระนิพพาน |
|
จะเห็นว่ากรรมนั้นตามให้ผลไปทุกภพทุกชาติไม่ได้สูญหายไปไหนเลย เหมือนกับสุนัขไล่เนื้อ ย่อมจะวิ่งสะกัดหน้าสะกัดหลัง สะกัดซ้ายสะกัดขวา ทำหน้าที่ตามไล่ไป เมื่อได้โอกาสเมื่อใดก็เข้ากัดเมื่อนั้น ถ้ายังไม่มีโอกาสก็จะติดตามไปเรื่อย ๆ การที่จะสละเนื้อเสียกลางคันหาใช่วิสัยของมันไม่ กิริยาที่เจ้าสุนัขไล่เนื้อ มันจะพยายามไล่ตามเนื้อไปทุกสถานที่ไม่หยุดยั้ง แม้เนื้อจะหนีไปสถานที่อันติดตามยาก เช่น ห้วย หุบเขา ลำเนาไพร ฯลฯ มันก็จะติดตามไปทุกหนทุกแห่ง เมื่อตามทันแล้วก็กระโจนเข้ากัดฟัดไปตามสมควรแก่กำลังของมัน ฉันใด อปราปริยเวทนียกรรม ก็ฉันนั้น กรรมที่เป็นอปราปริยเวทนียกรรม ก็จะติดตามไปทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าผู้นั้นจะไปในอากาศ อยู่ในถ้ำ อยู่ในทะเลมหาสมุทร หรือแม้ใต้พื้นพิภพ ก็ไม่สามารถจะหลบหนีจากอปราปริย-เวทนียกรรมไปได้เลย สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสถึงเรื่องกรรมไว้ว่า :- |
“กมฺมสฺสกา มาณว สตฺตา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสรณา กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย” แปลว่า :- “ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นมรดก มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ เพื่อให้เลวและประณีต” |
อปราปริยเวทนียกรรม แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ |
๑. อปราปริยเวทนียกรรม ฝ่ายอกุศล |
๒. อปราปริยเวทนียกรรม ฝ่ายกุศล |
กรรมทั้งสองฝ่าย เมื่อได้โอกาสเมื่อใดตามทันบุคคลผู้เป็นเจ้าของกรรมในชาติใดแล้ว ทำหน้าที่ส่งผลไม่ดี คือยังความทุกข์โทษให้บังเกิดขึ้นแก่เขาทันที ไม่ว่าบุคคลนั้น จะตั้งอยู่ในฐานะอย่างไรก็ตาม ตรงกันข้ามกับอปราปริยเวทนียกรรมฝ่ายกุศล เมื่อได้โอกาสเมื่อใด ก็จะติดตามบุคคลนั้น และทำหน้าที่ส่งผลยังความสุขความเจริญ ให้เกิดขึ้นแก่เขาทันทีเช่นเดียวกัน |
|
ในอดีตกาล มีพระภิกษุพวกหนึ่งโดยสารเรือเดินสมุทร เพื่อที่จะไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะที่เรือเดินสมุทรลำใหญ่มาถึงกลางทะเลหลวง ก็เกิดอุบัติเหตุเรือหยุดนิ่งไม่สามารถจะแล่นต่อไปได้ นายเรือจึงสั่งให้ลูกน้องบริวารของตน ช่วยกันแก้ไขตรวจสอบ ปรากฏว่าทุกอย่างก็ปกติดี แต่เครื่องเรือไม่สามารถจะแล่นต่อไปได้ เป็นที่น่าประหลาดใจยิ่งนัก นักเดินเรือคิดว่าฟ้าดินคงจะดลบันดาล หรือมีใครคนใดคนหนึ่งในเรือลำนี้ ชะรอยจะเป็นคนกาลกิณี จึงตกลงใจกันจับสลากเพื่อจะหาว่าใครเป็นคนกาลกิณี เมื่อจับได้จะโยนทิ้งทะเลไป |
ปรากฏว่าการจับสลากทั้งสามครั้ง สลากนั้นตกไปอยู่ในมือของภรรยานายเรือ ด้วยอำนาจของอปราปริยเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล นายเรือจึงออกคำสั่ง ให้ช่วยกันถอดอาภรณ์เครื่องประดับของนางออกทั้งหมด เพราะเครื่องประดับเหล่านั้น หาได้เกิดประโยชน์แก่คนตายอย่างไรไม่ ให้นางนุ่งแต่ผ้าผืนเก่า ๆ เอาหม้อบรรจุทรายผูกคอนาง แล้วโยนนางทิ้งน้ำไป หลังจากนั้นเครื่องเรือก็ติดขึ้นเองโดยอัศจรรย์และออกเดินทางต่อไป |
|
พระภิกษุทั้งหลายเกิดความสังเวช สงสารภรรยานายเรือ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นหญิงกาลกิณี ต่างพากันสงสัยคิดว่าเรือหยุดนิ่งด้วยเหตุประการใด และการที่หญิงสาวซึ่งกำลังอยู่ในวัยรุ่นสวยงาม แต่ต้องมาตายเสีย |
แต่ในวัยอันไม่สมควร เมื่อถึงพระเชตวันมหาวิหาร จึงกราบทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าวที่ประสบมา ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงเล่าอดีตกรรมของหญิงสาวผู้นี้ ให้พระภิกษุทั้งหลายฟังว่า อดีตหญิงสาวผู้นี้ได้เคยฆ่าสุนัขซึ่งอดีตเคยเป็นสามีนาง โดยลวงไปที่สะพานท่าน้ำแล้วผลักตกน้ำพร้อมเชือกผูกคอที่ผูกติดกับหม้อบรรจุทราย เพื่อแก้ความอับอายขายหน้าที่คนทั่วไปหาว่านางเป็นอะไรกับสุนัขตัวนั้น เพราะเหตุนี้ เมื่ออปราปริยเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลตามทัน นางก็ต้องถูกถ่วงน้ำโยนลงกลางมหาสมุทรเช่นเดียวกัน |
|
เรื่องของพระภิกษุ ๗ รูป ที่เดินทางจะไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระหว่างทางได้เข้าไปอาศัยอยู่ในถ้ำ แล้วถูกถ้ำถล่มปิดทางออกต้องอดข้าวอดน้ำถึง ๗ วัน พอวันที่ ๗ ปากถ้ำก็เปิดออกเองโดยอัศจรรย์ ทั้งนี้ก็เพราะอปราปริยเวทนียกรรม ฝ่ายอกุศล ตามมาทัน |
โดยที่ในอดีตชาติพระภิกษุทั้ง ๗ รูป เคยเป็นเด็กเลี้ยงโคแล้วได้อุดรูขังตัวเหี้ยไว้ในจอมปลวก เป็นเวลา ๗ วัน พอถึงวันที่ ๗ นึกได้จึงไปเปิดรูที่อุดไว้ พบตัวเหี้ยซึ่งผอมโซคลานต้วมเตี้ยมออกมาเพราะอดอาหาร ด้วยกรรมนี้จึงส่งผลนำเกิดในอบายภูมิ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์มาบวชเป็นพระภิกษุ เมื่ออปราปริยเวทนียกรรมส่งผล จึงถูกหินถล่มปิดปากถ้ำไว้ |
|
ในอดีตกาล มีชาวทมิฬผู้หนึ่งมีความเลื่อมใสในพระเจดีย์ จึงนำเอาผ้าสีแดงไปผูกห่มที่องค์พระเจดีย์ เมื่อเขาคล้อยหลังก็ยังได้ยินเสียงผ้าผืนนั้น กระทบกับองค์พระเจดีย์เพราะแรงลม จึงหันหลังเหลียวไปดูแล้วยิ้มน้อย ๆ ด้วยความเลื่อมใสปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเขาหารู้ไม่ว่าการกระทำกรรมเช่นนี้ สำเร็จเป็นกุศลอปราปริยเวทนียกรรมแล้ว |
|
ต่อมาเขาได้สิ้นชีวิตลงด้วยอำนาจของอกุศลกรรมที่เขาทำมีอยู่ จึงนำส่งเขาไปเกิดในนรกเสวยทุกข์โทษอยู่รอบๆ บริเวณ อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกบริวารชั้นในของมหานรก วันหนึ่งเขาเห็นนายนิรยบาล ลากตาข่ายไล่ครอบสัตว์นรกผ่านไปข้างหน้า เสียงตาข่ายที่เขาได้ยิน ทำให้เขาได้นึกถึงเสียงของผ้าสีแดง ที่เขาได้เคยห่มบูชาพระเจดีย์ขึ้นมาทันที ทันใดนั้น กุศลอปราปริยเวทนียกรรมที่ได้ห่มผ้าบูชาพระเจดีย์ ทำให้ เขาจุติอันตรธานหายไปจากอุสสทนรก ไปปฏิสนธิในสรวงสวรรค์ทันที |
อกุศลอปราปริยเวทนียกรรมจะตามไม่ทัน เพราะมีข้อควรประพฤติ ๕ ประการ คือ |
๑. ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงาม ตั้งตนอยู่ในศีลธรรม พยายามบำเพ็ญทานรักษาศีลเจริญภาวนาอยู่เสมอ แล้วตั้งความปรารถนา ซึ่งจะให้ได้ผลในภพที่ ๓ เป็นต้นไป โดยจะได้ชื่อว่า ปุพฺเพกตปุญฺญตา |
คำอธิษฐาน “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้ ขอจงเป็นอุปนิสัยเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้า ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลไปทุก ๆ ชาติด้วยเถิด” |
๒. ประพฤติตนให้เป็นผู้มีความยินดีอยู่แต่ในสถานที่ที่เป็นปฏิรูปเทศ คือ ประเทศที่ประกอบด้วยคนดีมีศีลธรรม แล้วตั้งความปรารถนา
|
อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้ ต่อไปในภพหน้า ขอให้ข้าพเจ้าได้เกิดอยู่ในปฏิรูปเทศ คือ ประเทศที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีศีลมีธรรมตลอดไปทุกชาติด้วยเถิด” |
๓. ประพฤติตนให้เป็นผู้มีปัญญา โดยการสมาทานงดเว้นให้ห่างไกลจากคนชั่ว ไม่เกลือกกลั้วสมาคมกับคนพาล พยายามคบหาสมาคมกับบัณฑิต คือท่านที่มีความรู้และมีศีลธรรม แล้วตั้งความปรารถนา |
อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้ ต่อไปในภายหน้า ขอให้ข้าพเจ้าจงอย่าได้พบกับคนพาลมิจฉาทิฏฐิ ขอจงได้พบกับสัตบุรุษทุกชาติด้วยเถิด” |
๔. ประพฤติตนให้เป็นคนใคร่ในการศึกษาธรรม อุตสาหะสดับตรับฟัง หมั่นศึกษาธรรมที่มีประโยชน์ และธรรมที่ถูกต้อง แล้วตั้งความปรารถนา |
อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญนี้ ต่อไปในภายหน้า ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาและเข้าใจในพระสัทธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีประโยชน์และเป็นธรรมที่ถูกต้องตลอดไปทุกชาติด้วยเถิด” |
๕. ประพฤติตนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม พยายามรักษากาย วาจา ใจ ของตน ให้เป็นไปในทางสุจริตอยู่เป็นนิตย์ และตั้งความปรารถนา |
อธิษฐานว่า “ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่ข้าพเจ้าได้ประพฤติด้วยกาย วาจา ใจ ที่สุจริตนี้ ต่อไปในภายหน้า ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม พยายามตั้งตนอยู่แต่ในทางที่ชอบที่ควรตลอดไปทุก ๆ ชาติด้วยเถิด” |
๔. อโหสิกรรม (กรรมที่ไม่มีโอกาสส่งผล)
อโหสิกรรม หมายถึง กรรมที่ได้กระทำไปแล้วทั้งส่วนดีหรือไม่ดีก็ตาม ไม่มีโอกาสที่จะให้ผลแก่ผู้กระทำกรรมนั้นเลย มี ๓ ประการ คือ | |||
|
|||
๔.๑ กรรมที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล ในขณะที่ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายบาป ทำให้ต้องถูกแผ่นดินสูบ หรือทำกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ที่จะทำให้ได้เลื่อนฐานะเป็นเศรษฐีในปัจจุบันชาติ แต่ถ้ากรรมเหล่านั้น ไม่สามารถที่จะส่งผลได้ด้วยประการใดประการหนึ่งก็ตาม กรรมที่กระทำนั้นก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไป เช่น พระเทวทัตทำอกุศลทิฏฐธรรมเวทนียกรรมทั้ง โลหิตตุปบาท และสังฆเภท แต่สังฆเภทเป็นกรรมที่มีกำลังเหนือกว่าจึงส่งผลนำลงอเวจีมหานรก ส่วนโลหิตตุปบาทก็ไม่มีโอกาสส่งผล กลายเป็นอโหสิกรรมไป | |||
ดังนั้น กรรมที่ทำไปหลาย ๆ อย่าง ทั้งทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่จะให้ผลในชาตินี้ อุปปัชชเวทนียกรรมที่จะให้ผลในชาติที่ ๒ หรือ อปราปริยเวทนียกรรม ที่จะให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปถึงนิพพาน ถ้าไม่มีโอกาสส่งผลแล้ว ชื่อว่าเป็น อโหสิกรรม ทั้งนั้น | |||
๔.๒ กรรมที่ทำในปัจจุบันไม่มีผล คือ กรรมที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่มีผล เช่น การกระทำของพระอรหันต์ผู้ซึ่งสิ้นกิเลสแล้ว กรรมที่กระทำอยู่เป็นเพียงกิริยาจิต อันไม่เป็นบุญไม่เป็นบาปแต่อย่างใด สักแต่ว่ากระทำเท่านั้น จึงชื่อว่าเป็น อโหสิกรรม | |||
๔.๓ กรรมที่ถูกตัดหมด ได้แก่ ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ไม่ต้องเกิดอีก กรรม ทั้งหมดที่ได้กระทำไว้แต่ชาติก่อนตั้งแต่ครั้งไหน ๆ จึงถูกยกเลิกหมดเป็น อโหสิกรรม ไป | |||
|
|||
ในสมัยที่พระบรมศาสดาอุบัติขึ้นในโลก มีกาลเทวิลดาบสผู้ได้ฌานสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ซึ่งปกติจะไปพักผ่อนอิริยาบถในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้ข่าวจากเทวดาว่า พระบรมศาสดาอุบัติเกิดขึ้นในมนุษยโลก ทวยเทพทั้งหลายต่างยินดีปรีดากันทั่วไป กาลเทวิลดาบสจึงได้รีบลงมากราบพระบาทของกุมารซึ่งเป็นพระบรมศาสดา | |||
ปรากฏว่า พระยุคลบาทของพระราชกุมาร กลับขึ้นไปประดิษฐานบนชฎาแห่งกาลเทวิลดาบสนั้น ยังความมหัศจรรย์ จึงได้หัวเราะพร้อมกับร้องไห้น้ำตาไหลออกมา เมื่อพระสุทโธทนะพระราชบิดาถามถึงอาการที่ปรากฏ กาลเทวิลดาบสจึงได้กราบทูลให้ทราบว่า ที่ดีใจเพราะว่า กุมารนี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และที่ร้องไห้ก็เนื่องจากว่า อายุของตนนั้นเหลือน้อยพร้อมทั้งเป็นผู้ที่ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ สามารถที่จะระลึกชาติถอยหลังและรู้อนาคตไปได้ ๔๐ มหากัป ซึ่งตัวเองก็จะต้องไปเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ซึ่งมีอายุถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป จึงหมดโอกาสที่จะได้รับฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือกุมารน้อยผู้นี้ | |||
|
|||
|
|||
เรื่องนางกุณฑล ซึ่งในวัยเด็กนั้นเป็นหญิงสาวสวยงาม เป็นลูกเศรษฐีอยู่บนปราสาทชั้นที่ ๗ ด้วยอำนาจของอกุศลกรรมส่งผล ทำให้หลงรักนักโทษที่กำลังจะถูกประหาร จึงให้บิดาไปให้สินบนเพชฌฆาต เพื่อปล่อยตัวนักโทษ และให้มาแต่งงานเป็นสามีนาง โจรไม่มีจิตรักใคร่ในนางแต่อย่างใด เมื่อได้โอกาสก็ลวงนางไปบนยอดเขา เพื่อที่จะปลดทรัพย์ และผลักให้ตกเขาตาย นางผู้มีความฉลาดก็สามารถอาศัยกลอุบาย ทำให้สามีเชื่อและผลักสามีตกเขาตาย | |||
|
|||
ต่อมา นางได้ระเหเร่ร่อนเข้าไปศึกษากับปริพาชกแห่งหนึ่ง ประกอบกับนางเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดมีปัญญาไว สามารถที่จะตอบปัญหาได้คล่องแคล่ว จนไม่มีใครสามารถเทียบได้ นางได้ท้าทายไปยังสำนักต่าง ๆ ให้ออกมาโต้วาทีกัน จนกระทั่งวันหนึ่งได้ไปโต้วาทีกับพระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นางไม่สามารถจะตอบปัญหาของพระสารีบุตรได้ จึงยอมบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ และต่อมาก็ดับขันธปรินิพพาน | |||
การสำเร็จเป็นพระอรหันต์ย่อมตัดอกุศลกรรมทั้งปวงที่กระทำไว้ เช่น การฆ่าโจรผู้เป็นสามีซึ่งกรรมไม่มีโอกาสส่งผล กลายเป็นอโหสิกรรมฝ่ายอกุศล | |||
สรุปกรรมและผลของกรรม
|
|||
กฎแห่งกรรม ก็คือ การทำบาป การทำบุญ การทำฌาน และการทำอรูปฌาน จัดไว้เป็นหมวดที่ ๑ ซึ่งเป็นตัวต้นเหตุให้เกิดผลตามมาอีก ๓ หมวด ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น คือ หมวดธรรมที่ว่าด้วย หน้าที่ของกรรม ๔ ประการ (กิจจตุกะ) หมวดธรรมที่ว่าด้วย ลำดับการให้ผลของกรรม ๔ ประการ (ปากทานปริยายจตุกะ) และหมวดธรรมที่ว่าด้วย เวลาแห่งการให้ผลของกรรม ๔ ประการ (ปากกาลจตุกะ) ดูแผนผังประกอบหน้าแรก | |||
จบเรื่องกฎแห่งกรรม
|
|||
การทำบุญให้ผลเป็นความสุข
|
|||
ผู้มีปัญญานำพาให้พ้นทุกข์
|