<<<                 >>>

๑. สคฺคกณฺฑ


๑.๑  พุทฺธาทิวณฺณนา
ว่าด้วยพระนามของพระพุทธเจ้าเป็นต้น


    [๑]    พุทฺโธ  ทสพโล  สตฺถา    สพฺพญฺญู  ทฺวิปทุตฺตโม
            มุนินฺโท  ภควา  นาโถ      จกฺขุมงฺคีรโส  มุนิ.


    [๒]    โลกนาโถนธิวโร        มเหสิ  จ  วินายโก
             สมนฺตจกฺขุ  สุคโต     ภูริปญฺโญจ  มารชิ.


    [๓]    นรสีโห  นรวโร        ธมฺมราชา  มหามุนิ
             เทวเทโว  โลกครุ    ธมฺมสฺสามี  ตถาคโต.


    [๔]    สยมฺภู  สมฺมาสมฺพุทฺโธ    วรปญฺโญฺจ  นายโก
             ชิโน สกฺโก ตุ สิทฺธตฺโถ    สุทฺโธทนิ  จ  โคตโม.


    [๕]    สกฺยสีโห  ตถา  สกฺย-    มุนิ  จาทิจฺจพนฺธุ  จ.

 


พระพุทธเจ้าทุกพระองค์  ๓๒  ศัพท์


พุทฺธ  (พุธ อวคมเน+ต)  พระพุทธเจ้า, ผู้ตรัสรู้.   

พุทฺโธติ เกนตฺเถน พุทฺโธ   ถามว่า คำว่า พุทฺโธ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพุทธะ เพราะอรรถว่าอย่างไร,  ตอบว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพุทธะ เพราะประกอบอรรถวิเคราะห์ว่า 

(๑)    พุชฺฌิตา  สจฺจานีติ  พุทฺโธ   
พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงตรัสรู้สัจธรรม
(๒)    โพเธตา  ปชายาติ  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงยังหมู่สัตว์ให้รู้ตาม
(๓)    สพฺพญฺญุตาย  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงรู้ธรรมทุกอย่าง
(๔)    สพฺพทสฺสาวิตาย  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงเห็นแจ้งธรรมทุกอย่าง
(๕)    อภิญฺเยฺยตาย  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงรู้ยิ่ง
(๖)    วิสวิตาย  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงทำนิพพานให้แจ้ง
(๗)    ขีณาสวสงฺขาเตน  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงสิ้นอาสวะกิเลส
(๘)    นิรุปกฺกิเลสสงฺขาเตน  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงปราศจากอุปกิเลส

๑  ขุ.มหานิ. ๒๙/๘๙๓/๕๖๐;   ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๕๔๖/๒๗๑;   ขุ.ปฏิสํ. ๓๑/๓๘๖/๒๖๑

๑๐

(๙)    เอกนฺตวีตราโคติ  พุทฺโธ
พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงปราศจากราคะแน่นอน
(๑๐)    เอกนฺตวีตโทโสติ  พุทฺโธ   

พระนามว่าพุทธะเพราะทรงปราศจากโทสะแน่นอน

(๑๑)    เอกนฺตวีตโมโหติ  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงปราศจากโมหะแน่นอน
(๑๒)    เอกนฺตนิกฺกิเลโสติ  พุทฺโธ พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงสิ้นกิเลสแน่นอน
(๑๓)    เอกายนมคฺคํ  คโตติ  พุทฺโธ  พระนามว่าพุทธะ เพราะเสด็จไปสู่หนทางอันเป็นเอก

(๑๔)    เอโก  อนุตฺตรํ   สมฺมาสมฺโพธึ



อภิสมฺพุทฺโธติ  พุทฺโธ    พระนามว่าพุทธะ เพราะ ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้เพียงพระองค์เดียว

(๑๕)    อพุทฺธิวิหตตฺตา  พุทฺธิปฏิลาภตฺตา  พุทฺโธ

พระนามว่าพุทธะ เพราะทรงกำจัดอวิชชาแล้วตรัสรู้วิชชา 

(๑๖)    พุชฺฌตีติ  พุทฺโธ


ผู้ตรัสรู้ พระนามว่าพุทธะ (อาเทศ ต เป็น ธ, ธฺ ที่สุด ธาตุเป็น ทฺ)

 

แม้พระพุทธเจ้าเองก็เคยตรัสแก่เสลพราหมณ์ว่า


อภิญฺเญยฺยํ  อภิญฺญาตํ    ภาเวตพฺพญฺจ  ภาวิตํ
ปหาตพฺพํ  ปหีนํ  เม          ตสฺมา  พุทฺโธสฺมิ  พฺราหฺมณ.

 

พราหมณ์ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งเรารู้ยิ่งแล้ว ธรรมที่ควรเจริญเราเจริญแล้ว ธรรมที่ควรละเราละได้แล้ว  เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า

 

 

ทสพล   (ทส+พล) พระพุทธเจ้า, พระทศพล.   

ทส  พลานิ  อสฺสตฺถีติ  ทสพโล  พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทสพละ เพราะทรงมีกำลังกายเท่ากำลังของพญาช้างฉัททันต์ ๑๐ เชือก และทรงมีกำลังญาณ ๑๐ ประการ คือ  (๑) ฐานาฐานญาณ  พระปรีชาญาณหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ ทรงรู้ว่าอะไรเป็นไปได้ และอะไรเป็นไปไม่ได้ รู้เหตุและรู้ผล   (๒) กัมมวิปากญาณ  พระปรีชาญาณหยั่งรู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว  (๓) สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ พระปรีชาญาณหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ รู้ประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในอนาคต และประโยชน์อันสูงสุด   (๔) นานาธาตุญาณ  พระปรีชาญาณหยั่งรู้สภาวะของธรรมชาติทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมยึดครอง) และฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง)   (๕) นานาธิมุตติกญาณ  พระปรีชาญาณหยั่งรู้อัธยาศัย ความเชื่อถือ ความสนใจของสัตว์ทั้งหลาย   (๖) อินทริยปโรปริยัตตญาณ  พระปรีชาญาณหยั่งรู้ความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายว่า มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หย่อนหรือแก่กล้าเพียงไร (๗) ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ  พระปรีชาญาณ

 

๑  มชฺ.มชฺ. ๑๓/๕๙๕/๕๔๓

๑๑

หยั่งรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วของการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย   (๘) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  พระปรีชาญาณหยั่งรู้ถึงภพอันเคยเป็นอยู่ในอดีต   (๙) จุตูปปาตญาณ  พระปรีชาญาณหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายผู้เป็นไปตามกรรมของตน   (๑๐) อาสวักขยญาณ  พระปรีชาญาณหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.  ในบางที่ท่านเรียกว่า ทศพลญาณ ๑๐ ประการบ้าง ตถาคตญาณ ๑๐ ประการบ้าง


สตฺถุ  (สาส อนุสิฏฺฐิมฺหิ+รตฺถุ)  พระพุทธเจ้า,  พระศาสดา. 

ทิฏฺฐธมฺมิกสมฺปรายิกปรมตฺเถหิ  ยถารหํ  อนุสาสตีติ  สตฺถา  พระนามว่าสัตถุ เพราะทรงแนะนำสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในอนาคต และประโยชน์อันสูงสุด (อาเทศ สาสฺ เป็น ส, ลบ รฺ อนุพันธ์).  สตฺถาติ  ภควา  สตฺถวาโห  พระศาสดา คือพระพุทธเจ้าผู้ทรงนำมาซึ่งคำสั่งสอน


สพฺพญฺญู  (สพฺพสทฺทูปปท+ญา อวโพธเน+รู) พระพุทธเจ้า, พระสัพพัญญู, ผู้รู้ธรรมทั้งปวง.  

สพฺพํ  ชานาติ  สีเลนาติ  สพฺพญฺญู  พระนามว่าสัพพัญญู เพราะทรงรู้ธรรมทั้งปวงโดยปรกติ.  ในอรรถกถา๓ ท่านแสดงสัพพัญญูไว้ ๕ ประการ  คือ   (๑) กมสัพพัญญู  ทรงรู้จุติและอุบัติทุกอย่างของสัตว์ผู้เป็นไปตามลำดับกรรม   (๒) สกิงสัพพัญญู  ทรงรู้สภาวะธรรมชาติทุกอย่างได้ในขณะญาณเดียว   (๓) สตตสัพพัญญู  ทรงรู้สภาวะธรรมทุกอย่างตามความเป็นจริง  (๔) สัตติสัพพัญญู ทรงรู้สภาวะธรรมทุกอย่างด้วยพระปรีชาสามารถ   (๕) ญาตสัพพัญญู  ทรงรู้สภาวะธรรมทุกอย่างด้วยพระปัญญาที่ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔.  ในสัพพัญญู ๕ อย่างนี้ หมายถึงญาตสัพพัญญู คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔


ทฺวิปทุตฺตม  (ทฺวิ+ปท+อุตฺตม)  พระพุทธเจ้า, ผู้ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้า.  

ทฺวิปทานํ  อุตฺตโม   ทฺวิปทุตฺตโม  ผู้ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทุกชนิด พระนามว่าทวิปทุตตมะ (ลบสระหน้า).  ทฺวิปทานํ  ทฺวิปเทสุ วา  อุตฺตโม  ทฺวิปทุตฺตโม   บรรดาสัตว์สองเท้า ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด จึงทรงพระนามว่าทวิปทุตตมะ (ลบสระหน้า).  ทฺวิปทุตฺตโม   ทฺวิปทานํ  เทวพฺรหฺมมนุสฺสานํ  อุตฺตโม  เสฏฺโฐ  บรรดาเทวดา พรหม และมนุษย์ผู้มีสองเท้า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด


มุนินฺท  (มุนิ+อินฺท) พระพุทธเจ้า, พระมุนินทร์. 

มุนีนํ อินฺโท ราชา มุนินฺโท ผู้ยิ่งใหญ่กว่าพระมุนีทั้งหลาย พระนามว่ามุนินทะ (ลบสระหน้า).  จิรํ  ฐาตุ  ธมฺโม  มุนินฺทสฺส  โลเก  ขอให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน.  ในขุททกนิกายอรรถกถากล่าวไว้ว่า  มุนีติ   หิ   อคาริยมุนิ  อนคาริยมุนิ  เสกฺขมุนิ  อเสกฺขมุนิ  ปจฺเจกมุนิ มุนิมุนีติ 

 

๑  มชฺ.มูล. ๑๒/๑๖๖,๑๔๐;  องฺ.ทสก. ๒๔/๒๑/๓๕    ๒  วิ.อฏฺ. ๑/๙๓; วิสุทฺธิ. ๑/๒๐๒
๓  ขุ.อฏฺ. ๔๕/๑๕๖/๓๙๐    ๔  ขุ.อฏฺ. ๕๑/๓๗/๗๑    ๕  ขุ.อฏฺ. ๔๙/๒๑๙/๒๗๐
๖  ขุ.อฏฺ. ๕๑/๑-๑๘/๔๓๕

๑๒

อเนกวิธา  มุนโย  คำว่า มุนิ ได้แก่ พระมุนีทั้งหลาย คือ  (๑) อคาริยมุนิ คฤหัสถ์ผู้
รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นกัลยาณปุถุชน  (๒) อนคาริยมุนิ บรรพชิตผู้มีจาตุปาริสุทธิศีลสมบูรณ์  (๓) เสกขมุนิ เสกขบุคคล ๗ จำพวก คือ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้บรรลุธรรมขั้นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล และอรหัตตมรรค  (๔) อเสกขมุนิ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตผู้บรรลุธรรมขั้นอรหัตตผล  
(๕) ปัจเจกมุนิ พระปัจเจกพุทธเจ้า  (๖) มุนิมุนิ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.  พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเป็นใหญ่กว่ามุนิทั้ง ๕ ข้างต้น จึงทรงพระนามว่า มุนิมุนิ หรือ มุนินทะ


ภควนฺตุ  (ภค+วนฺตุ)  พระพุทธเจ้า, พระผู้มีพระภาค. 

ภควาติ  คารวาธิวจนํ,  อปิจ  ภคฺคราโคติ  ภควา,  ภคฺคโทโสติ  ภควา,  ภคฺคโมโหติ  ภควา,  ภคฺคมาโนติ  ภควา  คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นพระนามที่พุทธบริษัทเรียกโดยเคารพ อนึ่ง พระนามพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้ ทำลายโทสะได้ ทำลายโมหะได้ ทำลายมานะได้ (สำเร็จเป็น ภควา เพราะอาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา และลบสระหน้า)


นาถ  (นาถ อาสีสเน+อ) พระพุทธเจ้า, ผู้ทรงเป็นที่พึ่ง. 

นาโถติ  โลกปฏิสรโณ  โลกสามิ  โลกนายโกติ  วุตฺตํ  โหติ.  เวเนยฺยานํ  หิตสุขํ  นาถติ  อาสีสตีติ  นาโถ,  ตํตํ  หิตปฏิปตฺตึ  นาถติ  ยาจตีติ  นาโถ,   สพฺพสตฺเต  นาถติ  อภิภวตีติ  นาโถ,  สตฺตานํ  หิตสุขํ  นาถติ  นิโยเชตีติ  นาโถ,  กิเลเส  นาถติ  อุปตาเปตีติ  นาโถ  คำว่า นาโถ หมายถึง ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก เป็นเจ้าแห่งชาวโลก เป็นผู้นำของชาวโลก  พระพุทธเจ้าผู้ทรงหวังประโยชน์สุขแก่เวไนยสัตว์ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์นั้นๆ จึงทรงพระนามว่านาถะ (นาถ ยาจเน+อ), หรือทรงปกครองสรรพสัตว์ จึงทรงพระนามว่านาถะ (นาถ อิสฺสริเย+อ),  หรือทรงบำเพ็ญประโยชน์สุขแก่สัตว์โลกทั้งมวล จึงทรงพระนามว่านาถะ (นาถ นิโยชเน+อ), หรือทรงคุกคามกิเลสให้เร่าร้อน จึงทรงพระนามว่านาถะ (นาถ อุปตาเป+อ)


จกฺขุมนฺตุ  (จกฺขุ+มนฺตุ)  พระพุทธเจ้า, ผู้มีจักษุคือพระสัพพัญญุตญาณ. 

จกฺขุ  ญาณจกฺขุ  อสฺสตฺถีติ  จกฺขุมา  ผู้มีปัญญาจักษุ พระนามว่าจักขุมันตุ (สำเร็จรูปเป็น จกฺขุมา เพราะอาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า).   เทฺว  จกฺขูนิ  ญาณจกฺขุ  เจว  มํสจกฺขุ  จ,   ตตฺถ  ญาณจกฺขุ  ปญฺจวิธํ  พุทฺธจกฺขุ  ธมฺมจกฺขุ  สมนฺตจกฺขุ  ทิพฺพจกฺขุ  ปญฺญาจกฺขูติ  จักษุ ๒ คือ ญาณจักษุ  (หรือปัญญาจักษุ) และมังสจักษุ  ในจักษุ ๒ อย่างนั้น ญาณจักษุมี ๕ คือ พุทธจักษุ ธัมมจักษุ สมันตจักษุ ทิพพจักษุ และปัญญาจักษุ.  จกฺขุมา  ปรินิพฺพุโต พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว.   จกฺขุมา  ปญฺจหิ  จกฺขูหิ  จกฺขุมา  ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕ ประการ ชื่อว่าจักขุมา

 

๑  ขุ.อฏฺ. ๒๗/๓๘/๑๗๒    ๒  ขุ.มหานิ. ๒๙/๒๓๑/๑๗๓    ๓  วิ.ฏี. ๑/๙/๑๑
๔  สํ.อฏฺ. ๑๓/๑/๑    ๕  สํ.สคาถ. ๑๕/๖๒๕/๒๓๓    ๖  สํ.สคาถ. ๑๕/๖๒๕/๒๓๓

๑๓

องฺคีรส  (องฺค+อีอาคม+รส+ณ)  พระพุทธเจ้า, พระอังคีรส, ผู้มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกาย. 

องฺคโต  สรีรโต  นิคฺคตา  รสฺมิ  ยสฺส  โส  องฺคีรโส  พระพุทธเจ้าผู้มีพระรัศมีซ่านออกจากพระวรกาย จึงทรงพระนามว่าอังคีรสะ (ลบสระหน้า).   สพฺพทา   พยามปฺปภาย   กายโต    นิจฺฉรณวเสน  องฺคีรโส,   องฺคีรสสฺส  อิสิโน  อปจฺจํ  องฺคีรโส   ทรงพระนามว่าอังคีรสะ เพราะทรงมีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายตลอดเวลา, หรือทรงเป็นทายาทของพระอังคีรส จึงทรงพระนามอังคีรสะ.  องฺคีรสสฺส  นมตฺถุ  ขอนอบน้อมแด่พระสัมมา-สัมพุทธเจ้า.   องฺคีรสํ  ปสฺส  วิโรจมานํ   ท่านจงดู พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรุ่งเรืองอยู่


มุนิ  (มุนญาเณ+อิ) พระพุทธเจ้า, พระมุนี. 

อตฺตหิตญฺจ  ปรหิตญฺจ  มุนาติ  ชานาตีติ มุนิ ผู้ทรงรู้ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น พระนามว่ามุนิ.  โพธิมชฺฌคา มุนิ  พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้โพธิญาณ.  โมเนยฺยธมฺมสมนฺนาคเมน  มุนิ  พระนามว่ามุนิ เพราะทรงประกอบ ด้วยโมเนยยธรรม (คือพระปัญญาญาณ)


โลกนาถ  (โลก+นาถ) พระพุทธเจ้า, พระโลกนาถ, ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก. 

โลกานํ  นาโถ  โลกนาโถ   ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก พระนามว่าโลกนาถะ.  โลกนาถสฺส  สาสนํ   พระศาสนาของพระพุทธเจ้า.   มหาภินีหารโต  ปฏฺฐาย  หิ  ยาว  มหาปรินิพฺพานา  โลกหิตตฺถเมว โลกนาถา ติฏฺฐนฺติ  ตั้งแต่เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์(ผนวช) จนถึงมหาปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงดำรงอยู่เพื่อเกื้อกูลชาวโลกเหมือนกัน


อนธิวร  (น+อธิวร) พระพุทธเจ้า, ผู้ประเสริฐสุด. 

อจฺจนฺตวโร  อธิวโร  นาสฺส  อตฺถีติ  อนธิวโร,  น  ตโต  อธิโก  วโร  อตฺถีติ วา  อนธิวโร,  อนุตฺตโรติ  อตฺโถ พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า พระนามว่าอนธิวระ ได้แก่ ผู้ประเสริฐที่สุด.  อตฺตโน อธิกสฺส กสฺสจิ อภาวโต อนธิวโร พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่าอนธิวระ เพราะไม่มีผู้ใดประเสริฐยิ่งกว่าพระองค์ (อาเทศ น เป็น อน, ลบสระหน้า)


    คาถาที่ชาวพุทธนิยมสวดอาราธนาธรรมว่า
พฺรหฺมา  จ  โลกาธิปตี  สหมฺปติ
กตญฺชลี  อนธิวรํ  อยาจถ
สนฺตีธ  สตฺตา  อปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสหิ  ธมฺมํ  อนุกมฺปิมํ  ปชํ. ๑๐

 

๑  ขุ.อฏฺ. ๕๐/๔๒๘/๘๑    ๒  ที.ปาฏิก. ๑๑/๒๐๙/๒๑๐    ๓  สํ.สคาถ. ๑๕/๓๖๑/๑๑๘
๔  ขุ.อฏฺ. ๓๑/๓๗๐/๑๗๓    ๕  สํ.สคาถ. ๑๕/๗๖๐/๒๘๘    ๖  ขุ.อฏฺ. ๒๘/๒๑๕/๒๙๕
๗  ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๘๒/๔๓๕    ๘  วิ.ฎี. ๑/๑๐/๑๓    ๙  ขุ.อฏฺ. ๕๑/๑/๑๗
๑๐  ขุ.อปทาน. ๓๓/๑/๔๐๔

๑๔

ท้าวสหัมบดีพรหมเป็นประธานในโลกทั้ง ๓ ประนมอัญชลีกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าว่า ในโลกนี้ เหล่าสัตว์ผู้เกิดมามีนัยน์ตาเปื้อนธุลีเพียงน้อยนิด มีอยู่ ขอพระองค์ทรงอาศัยความเอ็นดูหมู่สัตว์นี้แล้ว โปรดทรงแสดงธรรมด้วยเถิด


มเหสิ  (มหนฺตสทฺทูปปท+เอส คเวสเน+อิ)  พระพุทธเจ้า, ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.

มหนฺเต  สีลสมาธิปญฺญาวิมุตฺติวิมุตฺติญาณทสฺสนกฺขนฺเธ  เอสิ  คเวสีติ  มเหสิ  พระพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงหาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันยิ่งใหญ่ พระนามว่ามเหสิ.  มหนฺตานํ  สีลกฺขนฺธาทีนํ  เอสนโต   คเวสนโต   มเหสิ,  มหนฺโต วา  อีโส  วิภูติ  เอตสฺสาติ  มเหสิ  ทรงพระนามว่ามเหสิ เพราะทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่มีศีลขันธ์เป็นต้น หรือทรงมีความเป็นใหญ่ยิ่ง จึงพระนามว่ามเหสิ (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา, ลบสระหน้า).  อุปาคมิ อมฺพวนํ  มเหสิ  พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปถึงสวนมะม่วงแล้ว


วินายก  (วิ+นี ปาปุณเน+ณฺวุ)  พระพุทธเจ้า, ผู้แนะนำ, ผู้นำสัตว์ไปสู่นิพพาน. 

พหูหิ  วินยนูปาเยหิ  สตฺเต  วิเนติ  ทเมตีติ  วินายโก  พระพุทธเจ้าผู้ทรงฝึกสัตว์ทั้งหลายด้วยอุบาย เครื่องฝึกเป็นอันมาก จึงทรงพระนามว่าวินายกะ.  หิตํ   วินยติ   อนุสาสตีติ  วินายโก  ผู้ทรงแนะนำประโยชน์เกื้อกูล พระนามว่าวินายกะ (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อาย, ลบสระหน้า).  ปิยทสฺสี วินายโก  พระพุทธเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี


ปพฺพชฺชํ  โคตมี  ยาจิ    นานุญฺญาสิ  ตถาคโต
กปิลวตฺถุ  เวสาลึ           อคมาสิ  วินายโก.


เรื่องพระนางโคตมีทูลขอบรรพชาพระตถาคตไม่ทรงอนุญาต และเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยังกรุงเวสาลี


สมนฺตจกฺขุ  (สมนฺต+จกฺขุ)  พระพุทธเจ้า, ผู้ทรงมีพุทธญาณรอบทิศ. 

สมนฺตจกฺขุ  จุทฺทส  พุทฺธญาณานิ,  ทุกฺเข ญาณํ   พุทธญาณ ๑๔ ชื่อว่าสมันตจักขุ ได้แก่ ปัญญาเห็นทุกขสัจ.  สมนฺตจกฺขุ  วุจฺจติ  สพฺพญฺญุตญาณํ พระสัพพัญญุตญาณท่านเรียกว่า สมันตจักขุ    สพฺพธมฺมทสฺสนสีลตาย  สมนฺตจกฺขูติ  ลทฺธนาเมน  สพฺพญฺญุตญาเณน  สมนฺนาคตตฺตา  สมนฺตจกฺขุ  พระนามว่าสมันตจักขุ เพราะทรงมีปรกติเห็นธรรมทั้งปวง และเพราะทรงประกอบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ

 

๑  ขุ.อฏฺ. ๕๐/๒๗/๗    ๒  ที.มหา. ๑๐/๑๒๕/๑๕๗    ๓  ขุ.อฏฺ. ๕๑/๙/๖๐
๔  ขุ.อปทาน. ๓๒/๓๙๗/๕๑๕    ๕  วิ.จุลฺล. ๗/๖๑๓/๓๗๔    ๖  ขุ.ปฏิสํ. ๓๑/๒๙๒/๑๙๓
๗  ขุ.มหานิ. ๒๙/๗๒๗/๔๓๕

๑๕

 

สุคต  (สุ+คมุ คติมฺหิ+ต) พระพุทธเจ้า, พระสุคต, ผู้มีญาณอันงดงาม, ผู้เสด็จไปดีแล้ว.   

สุคโตติ  โสภณคมนตฺตา,  สุนฺทรํ  ฐานํ  คตตฺตา,  สมฺมา  คตตฺตา  สุคโต  คำว่า สุคโต  พระนามว่าพระสุคต เพราะเสด็จไปดี เสด็จไปสู่ที่ดี เสด็จไปโดยชอบ.   อรหตฺตมคฺเคน  เย   กิเลสา   ปหีนา  เต  กิเลเส  น  ปุเนติ  น  ปจฺเจติ  น  ปจฺจาคจฺฉตีติ  สุคโต พระพุทธเจ้าผู้ทรงละกิเลสด้วยอรหัตตมัคคญาณแล้วไม่ทรงกลับมาสู่กิเลสนั้นอีก จึงทรงพระนามว่าสุคตะ.  โสภนํ  คตํ  ญาณมสฺส  สํสารา วา  สุฏฺฐุ  อปุนราวตฺติยา คตวาติ สุคโต,   สปรสุขสิทฺธตฺถํ  วา  สมฺมา  คตวาติ  สุคโต  ผู้ทรงมีญาณอันงดงาม เสด็จไปจากสงสารแล้วไม่กลับมาอีก หรือผู้เสด็จไปเพื่อยังประโยชน์ตนและผู้อื่นให้สำเร็จด้วยดี  จึงทรงพระนามว่าสุคตะ (ลบ มฺ ที่สุดธาตุ).  เทเสตุ  สุคโต  ธมฺมํ  ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมเถิด


ภูริปญฺญ  (ภูริ+ปญฺญา+ณ)  พระพุทธเจ้า, ผู้มีปัญญามาก, ผู้มีปัญญาไม่สิ้นสุด, ผู้มีปัญญากว้างดุจแผ่นดิน. 

ภูริปญฺโญติ  ภูริปญฺโญ  มหาปญฺโญ  ติกฺขปญฺโญ  ปุถุปญฺโญ  หาสปญฺโญ  ชวนปญฺโญ  นิพฺเพธกปญฺโญ๔  คำว่า ภูริปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญากว้างขวาง ดุจแผ่นดิน มีปัญญามาก มีปัญญาแก่กล้า มีปัญญาสูง มีปัญญาดี มีปัญญาเร็ว มีปัญญากำจัดกิเลส.  
ภูริ  พหุกา  ปญฺญา ยสฺส อนนฺตตฺตา วา ภูริสมา ปญฺญา เอตสฺสาติ ภูริปญฺโญ  ผู้ทรงมีปัญญามาก หรือผู้ทรงมีปัญญากว้างใหญ่ดุจแผ่นดิน จึงทรงพระนามว่าภูริปัญญะ (ลบ ณฺ และสระหน้า).   เทวมนุสฺสปูชิโต  ทิสฺวา  ปน  พฺยากริ  ภูริปญฺโญ  พระพุทธเจ้าผู้เทวดาและมนุษย์พากันบูชา ทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงทรงพยากรณ์

 

มารชิ  (มาร+ชิ ชเย+กฺวิ)  พระพุทธเจ้า, ผู้ชนะมารทั้ง ๕ มีกิเลสมารเป็นต้น. 

กิเลสาทิปญฺจมารํ  ชิตวาติ  มารชิ  ผู้ทรงชนะมารทั้ง ๕ มีกิเลสมารเป็นต้น พระนามว่ามารชิ
เทวปุตฺโต  กิเลโส  จ    อภิสงฺขารมารโก
ขนฺธมาโร  มจฺจุมาโร    มาโร  ปญฺจวิโธ  มโต.
    บัณฑิตรู้ว่ามารมี ๕ ประการ คือ เทวปุตตมาร (วสวัตตีมาร)  กิเลสมาร (มารคือกิเลส)  อภิสังขารมาร (มารคือการปรุงแต่ง)  ขันธมาร (มารคือขันธ์ ๕)  และมัจจุมาร (มารคือความตาย)


นรสีห  (นรสทฺทูปปท+สห ขนฺตฺยภิภเวสุ+อ) พระพุทธเจ้า, พระนรสีห์, ผู้ปกครองมนุษย์และเทวดา. 

นรานํ   สีโห  เสฏฺโฐ  นรสีโห,  ปรปฺปวาทสหณโต  มทฺทนโต  นรสีโห,  สีโห  
วิยาติ  สีโห,  สหตีติ  วา  สีโห,  นโร  จ  โส  สีโห  จาติ  นรสีโห  ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้หักล้างวาทะของเจ้าลัทธิอื่นได้ ผู้เป็นดุจสีหะหรือทรงเป็นผู้ปกครอง จึงทรง

 

๑  ขุ.อฏฺ. ๒๖/๑๐/๙๒    ๒  วิ.อฏฺ. ๑/๑๒๒    ๓  วิ.มหา. ๔/๘/๑๐
๔  ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๖๓๒-๓/๓๐๔    ๕  ขุ.วิมาน. ๒๖/๑๑๕/๒๑๔    ๖  กจฺจายนสุตฺตนิทฺเทส ๒๑

๑๖

พระนามว่า นรสีหะ.   นรานํ  สีโห  นรสีโห  ผู้ประเสริฐกว่าคนทั้งหลาย พระนามว่านรสีหะ.   เอส   หิ   ตุยฺหํ   ปิตา  นรสีโห  เพราะว่าพระพุทธเจ้าพระองค์นี้เป็นพระชนกของพระองค์.  ยถา  หิ  สีโห  มิคราชา  จตูหิ  ทาฐาหิ  สพฺพสตฺเต  หึสติ  อภิภวติ,  ตถา  ภควาปิ  สีลปญฺญาปุญฺญิทฺธิ-สงฺขาเตหิ  จตูหิ  ธมฺเมหิ  สพฺพํ  โลกํ  หึสติ   อภิภวติ  ราชสีห์ชนะหมู่สัตว์ ด้วยเขี้ยวทั้ง ๔ ของตนได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคก็ทรงชนะชาวโลกด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ศีล ปัญญา บุญ อิทธิปาฏิหาริย์ ได้ฉันนั้น


นรวร  (นร+วร) พระพุทธเจ้า, ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์. 

นรานํ  สพฺพปุริสานํ  เสฏฺฐตฺตา  นรวโร,  นรานํ วา  เทวมนุสฺสานํ  เสฏฺฐตฺตา     นรวโร   ผู้ทรงประเสริฐกว่านรชน  หรือผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ พระนามว่านรวระ.  นรศัพท์ หมายถึงเทวดาและมนุษย์   เช่นเดียวกับ นรศัพท์ในสังยุตตนกายสคาถวรรคว่า  สีเล  ปติฏฺฐาย  นโร  สปญฺโญ  ผู้มีปัญญา ตั้งมั่นอยู่ในศีล.  วิปสฺสี  นรวโร  พระพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี


ธมฺมราช  (ธมฺม+ราช)  พระพุทธเจ้า, พระธรรมราชา. 

ธมฺมสฺส  ราชปวตฺตกตฺตา  ธมฺมราชา,  ธมฺมโต  วา  สเทวกสฺส  โลกสฺส  ราชา  ชาโตติ  ธมฺมราชา,  ธมฺเมน  ราชตีติ  ธมฺมราชา,  ธมฺมปาลโก วา ธมฺมราชา  ผู้ทรงเป็นพระธรรมราชา เพราะทรงยินดีซึ่งธรรม ทรงเป็นพระราชาของโลกพร้อมทั้งเทวโลกโดยธรรม ทรงยังปวงชนให้ยินดีด้วยธรรม ทรงเป็นพระราชาผู้รักษาความเป็นธรรม ผู้เที่ยงธรรม จึงทรงพระนามว่าธัมมราชะ (อาเทศ สิ เป็น อา, ลบสระหน้า).  ราชาหมสฺมิ  เสลาติ  ธมฺมราชา  อนุตฺตโร  พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดตรัสว่า เสละ เราเป็นธรรมราชา


มหามุนิ  (มหนฺต+มุนิ)  พระพุทธเจ้า, พระมหามุนี. 

มุนีนํ  เสฏฺฐตฺตา  มหามุนิ  ทรงพระนามว่ามหามุนิ เพราะทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่ามุนีทั้ง ๕ (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา).   สตฺถา  หิ  จิรํ   ชีว  มหาวีร  กปฺปํ  ติฏฺฐ  มหามุนีติ  เอวํ  โคตมิยา  วนฺทิโต  พระนางโคตมี กราบบังคมทูลพระศาสดาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอพระองค์จงมีพระชนมายุยั่งยืนนาน  ข้าแต่มหามุนี ขอพระองค์โปรดประทับอยู่ตลอดกัปเถิด


เทวเทว  (เทว+เทว)  พระพุทธเจ้า, เทวดาของเทวดา. 

เทวานํ  อติเทโวติ  เทวเทโว,  เทวานํ อธิโก วา เทวเทโว  ทรงเป็นเทวดาผู้ยิ่งใหญ่ของเทวดาทั้งหลาย เป็นเทวดาผู้เลิศของเทวดาทั้งหลาย  จึงทรงพระนามว่าเทวเทวะ.   กหํ  พุทฺโธ   กหํ  ภควา   กหํ  เทวเทโว   กหํ  นราสโภ  พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นเทวดา เป็นผู้ยิ่งใหญ่ของเทวดาทั้งหลาย ผู้ประเสริฐกว่าชนทั้งหลาย ประทับอยู่ ณ ที่ไหน

 

๑  วิ.ฏี. ๔/๑๐๘/๑๗๑    ๒  สํ.สคาถ. ๑๕/๖๑/๒๐    ๓  ขุ.อปทาน. ๓๓/๒๐๐/๕๑๙
๔  มชฺ.มชฺ. ๑๓/๖๐๙/๕๕๔    ๕  สํ.อฏฺ. ๑๒/๒๒/๕๘    ๖  ขุ.มหานิ. ๒๙/๗๐๑/๔๑๕

๑๗

โลกครุ  (โลก+ครุ) พระพุทธเจ้า, ผู้เป็นครูของชาวโลก. 

โลกานํ  ครุ  อาจริโย  โลกครุ, โลกานํ  ครุภาชนตฺตา  วา  โลกครุ   ผู้ทรงเป็นครูสอนชาวโลก หรือเพราะทรงเป็นที่เคารพนับถือของชาวโลก จึงทรงพระนามว่าโลกครุ.  ปาโป  อนฺโตปูตีติ  จ  ยํ นินฺทนฺโต  อาห  โลกครุ พระพุทธเจ้าตรัสตำหนิบุคคลใดว่า เป็นคนบาป เน่าภายในแล้ว


ธมฺมสฺสามี  (ธมฺม+สามี)  พระพุทธเจ้า, เจ้าของธรรม.  

ธมฺมสฺส   สามี   ยถาวุตฺตนเยน  ธมฺมสฺสามี ทรงเป็นเจ้าของแห่งธรรมตามที่กล่าวมาแล้ว จึงทรงพระนามว่าธัมมัสสามี (ซ้อน สฺ).   อมตสฺส  ทาตา  ธมฺมสฺสามี  ตถาคโต พระพุทธเจ้าผู้ทรงประทานอมตธรรม ผู้เป็นเจ้าของธรรม


ตถาคต  (ตถา+อาคต,คต)  พระพุทธเจ้า, พระตถาคต. 

ตถา  อาคโตติ  ตถาคโต,  ตถา  คโตติ  ตถาคโต,  ตถลกฺขณํ  อาคโตติ  ตถาคโต,   ตถธมฺเม  ยถาวโต  อภิสมฺพุทฺโธติ  ตถาคโต,   ตถทสฺสิตาย  ตถาคโต,  ตถาวาทิตาย  ตถาคโต,  ตถาการิตาย  ตถาคโต,  อภิภวนฏฺเฐน  ตถาคโต  พระพุทธเจ้าผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น เสด็จไปแล้วอย่างนั้น ตรัสรู้ความจริง ตรัสรู้สัจธรรมตามความเป็นจริง เพราะทรงเห็นสัจจะ ทรงตรัสอย่างนั้น ทรงกระทำอย่างนั้น ทรงดำรงอยู่ในฐานะผู้ปกครอง จึงทรงพระนามว่าตถาคตะ.  ยถา  ปุริมกา  สมฺมาสมฺพุทฺธา  สพฺพญฺญุภาวํ  คตา,   ตถา อยมฺปิ   คโตติ   ตถาคโต,  ตถา วา   สมฺมา   คตํ   ญาณมสฺสาติ   ตถาคโต   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ถึงความเป็นพระสัพพัญญูโดยประการใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ ทรงถึงความเป็นพระสัพพัญญูโดยประการนั้น มีพระปัญญาญาณงดงาม จึงทรงพระนามว่าตถาคตะ.  ทิฏฺฐปุพฺโพ  ตยา  ตถาคโต  ท่านเคยพบเห็นพระตถาคตแล้ว


สยมฺภู  (สยํสทฺทูปปท+ภู สตฺตายํ+กฺวิ) พระพุทธเจ้า, พระสยัมภู, ผู้ตรัสรู้เอง. 

สยเมว  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  ภวติ  อนญฺญโพธิโตติ  สยมฺภู  ผู้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง  คือไม่มีผู้อื่นสอนให้ตรัสรู้ จึงทรงพระนามว่าสยัมภู (อาเทศนิคหิตเป็นวัคคันตะ มฺ, ลบ กฺวิ ปัจจัย).  สทฺธมฺมฏฺฐิติโก  พุทฺโธ  สยมฺภู  อคฺคปุคฺคโล  พระสยัมภูพุทธเจ้าเป็นอัครบุคคลผู้ทรงดำรงไว้ซึ่งพระสัทธรรม


สมฺมาสมฺพุทฺธ  (สมฺมาสทฺทูปปท+สํปุพฺพ+พุธ อวโพธเน+ต)  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้า. 

สมฺมา  สามญฺจ  สพฺพธมฺมานํ  พุทฺธตฺตา  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  เพราะทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองโดยชอบ จึงทรงพระนามว่าสัมมาสัมพุทธะ (อาเทศนิคหิตเป็น มฺ, ต เป็น ธ, ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ).  สมฺมา  อวิปรีเตน  สมตฺตนาเยว  สพฺพธมฺเม  พุชฺฌติ  อพุชฺฌิ


๑  วิสุทฺธิ. ๑/๗๑    ๒  มชฺ.อุปริ. ๑๔/๖๔๒/๔๑๔    ๓  ที.อฏฺ. ๔/๗/๕๙
๔  วิ.อฏฺ. ๓/๕๑๔    ๕  วิ.จุลฺล. ๖/๓๑๙/๑๒๓    ๖  วิ.อฏฺ. ๑/๑๒๑

๑๘

พุชฺฌิสฺสตีติ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  ผู้กำลังตรัสรู้ ตรัสรู้แล้ว จักตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองโดยชอบ คือโดยสมควร ไม่ผิดแผก(ไปจากสัจจะ) จึงทรงพระนามว่าสัมมาสัมพุทธะ.  อิติปิ  โส   ภควา  อรหํ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ  แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ


วรปญฺญ  (วร+ปญฺญา+ณ)   พระพุทธเจ้า, ผู้มีปัญญาประเสริฐที่สุด.  

เสฏฺฐปญฺญาย   สมนฺนาคตตฺตา  วรปญฺโญ  ทรงพระนามว่าวรปัญญะ  เพราะทรงเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐที่สุด (ลบ ณฺ และสระหน้า).  สงฺขาย  เสเว วรปญฺญสาวโก  สาวกของพระพุทธเจ้าพึงใช้สอยโดยการพิจารณา


นายก  (นี นเย+ณฺวุ)  พระพุทธเจ้า, ผู้นำ. 

สตฺเต  สํสารณฺณวโต  นิพฺพานปารํ  เนตีติ  นายโก  ผู้นำสัตว์ออกจากห้วงสมุทรคือสงสาร ไปสู่ฝั่งแห่งนิพพาน จึงทรงพระนามว่านายกะ (อาเทศ ณฺวุ เป็น อก, วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อาย, ลบสระหน้า).   วิปสฺสี   นาม   นายโก  พระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี


ชิน  (ชิ ชเย+ยุ) พระพุทธเจ้า, พระชินเจ้า. 

ชิตปญฺจมารตฺตา ชิโน  ทรงพระนามว่าชินะ เพราะทรงเป็นผู้ชนะมารทั้ง ๕ คือ เทวปุตตมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร ขันธมาร และมัจจุมาร (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบ อ).   น   จาปิ  ญตฺติ  น  จ  ปน  กมฺมวาจา  น  เจหิ  ภิกฺขูติ  ชิโน  อโวจ  ญัตติก็ไม่ใช่ กรรมวาจาก็ไม่เชิง และพระพุทธเจ้าก็มิได้ตรัสว่า เอหิภิกขุ


    คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา แสดงบทที่เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าไว้เพียง ๓๒ บท  ส่วนใน  คัมภีร์อื่นแสดงบทที่ต่างจากนี้ไว้อีกมาก เช่น  สมนฺตภทฺร, โลกชิ, ฉฬภิญฺญ, อทฺวยวาที, สิรีฆน,  อกนิฏฺฐค,  ธมฺมกฺก,  ราคาสนิ,  ติสรณ,  ขสม,  คุณากร,  มหาสุข,  วชิร,  เมตฺตาพล,  อสม,  ชิตาริ,   มหาโพธิ, ธมฺมธาตุ, เสตเกตุ, ขชิ, ติมุตฺติ, ทสภูมิสฺสร, ปญฺจญาณ, พหุกฺขม, สมฺพุทฺธ, สพฺพทสฺสี, มหาพล, สพฺพโพธ, ธมฺมกาย, สํคุตฺต, อรห, ทฺวาทสกฺข, วีตราค  


    ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า


อสงฺเขฺยยฺยานิ  นามานิ    สคุเณน  มเหสิโน
คุเณน  นามมุทฺเธยฺยํ    อปิ  นามสหสฺสโต.


พระนามของพระพุทธเจ้า หากจะนับโดยคุณแล้วนับไม่ถ้วน มีหลายพันบท


    คำนามที่นำมาแสดงในคัมภีร์อภิธานวรรณนานี้มี ๔ ประเภท คือ   (๑) สามญฺญนาม 

 

๑  วิ.มหา. ๑/๑/๑    ๒  ขุ.สุตฺตนิ. ๒๕/๓๓๓/๔๐๒    ๓  ขุ.อปทาน. ๓๒/๒๗๑/๓๕๔
๔  วิ.ปริ. ๘/๑๓๑๖/๕๓๒    ๕  ขุ.อฏฺ. ๒๖/๕๓/๓๖๐    ๖  ขุ.อฏฺ. ๔๗/๑๔๘/๓๒๒

๑๙

นามที่ใช้เรียกทั่วไปไม่หมายถึงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น พุทฺโธ พระพุทธเจ้า  หรือนามที่ตั้งเอาตามใจชอบ เช่น  อายุวฑฺฒโน ผู้มีอายุยืน   (๒) คุณนาม  นามที่ตั้งขึ้นตามคุณสมบัติที่มีอยู่ เช่น  สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, อรหํ พระอรหันต์, ธมฺมกถิโก ผู้กล่าวธรรม,  วินยธโร ผู้ทรงวินัย, ปิฏกธโร ผู้ทรงพระไตรปิฎก   (๓) กิตฺติมนาม  นามที่ตั้งขึ้นตามชื่อเสียง  เช่น  ธมฺมวาที ผู้แสดงธรรมเก่ง, โภวาที ผู้กล่าวว่าเจริญ   (๔) โอปปาติกนาม  นามที่ใช้เรียกขานสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมีอยู่  ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต เช่น ปพฺพโต ภูเขา, คงฺคา แม่น้ำ, ปถวี แผ่นดิน

 

พระนามของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  ๗  ศัพท์


สกฺก  (สกฺก สตฺติยํ+อ) พระพุทธเจ้า, ผู้ทรงสามารถ. 

ปญฺจมาเร  เชตุํ  สกฺโกตีติ  สกฺโก,  ภคินีหิ  สทฺธึ  สํวาสกรณโต วา  โลกมริยาทํ  ฉินฺทิตุํ  สกฺกุณนฺตีติ  สกฺกา,  สากิยานํ ปุพฺพราชาโน  ผู้สามารถชนะมาร ๕ พระนามว่าสักกะ (พระพุทธเจ้า)  หรือผู้สามารถตัดธรรมเนียมของชาวโลก เพราะแต่งงานกับพี่สาวน้องสาวของตนได้ จึงชื่อว่าสักกะ หมายถึงบุรพกษัตริย์ของศากยวงศ์.  ปมุญฺจ  มํ  สกฺก  กถงฺกถาหีติ  สกฺกาติ  ภควา  สกฺยกุลา  ปพฺพชิโตติปิ  สกฺโก,   อถวา  อทฺโธ  มหทฺโธ  ธนวาติปิ  สกฺโก,  ตสฺสิมานิ  ธนานิ  เสยฺยถีทํ  สทฺธาธนํ  สีลธนํ  หิริธนํ  โอตฺตปฺปธนํ  สุตธนํ  จาคธนํ  ปญฺญาธนํ  สติปฏฺฐานธนํ  สมฺมปฺปธานธนํ  อิทฺธิปาทธนํ  อินฺทฺริยธนํ  พลธนํ  โพชฺฌงฺคธนํ มคฺคธนํ ผลธนํ นิพฺพานธนํ   ข้อว่า ขอพระองค์ผู้สามารถ ได้โปรดปลดเปลื้องข้าพระองค์จากความสงสัยทั้งหลายเถิด, คำว่า ผู้สามารถ หมายถึงพระผู้มีพระภาคผู้เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล จึงชื่อว่าผู้สามารถ, อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก พระองค์ทรงมีทรัพย์เหล่านี้ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล ทรัพย์คือนิพพาน


สิทฺธตฺถ  (สิทฺธ+อตฺถ)  พระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ. 

สพฺพโลกสฺส   อตฺถสิทฺธิกรตฺตา  สิทฺธตฺโถ เพราะทรงทำประโยชน์ให้สำเร็จแก่ชาวโลก จึงทรงพระนามว่า สิทธัตถะ.  สพฺเพสํ โลกานํ สิทฺธา อตฺถา เอเตน เหตุภูเตนาติ สิทฺธตฺโถ  ผู้ยังประโยชน์ของชาวโลกทั้งมวลให้สำเร็จ เพราะความเป็นพระพุทธเจ้านั้นเป็นเหตุ จึงทรงพระนามว่าสิทธัตถะ (ลบสระหน้า).  อสฺส  จ  ชาติสมนนฺตรํ  นิธโย  รตนานิ  จ  อุปฺปนฺนานีติ  สิทฺธตฺโถ  ผู้ประสูติพร้อมกับขุมทรัพย์และรัตนะมากมาย พระนามว่าสิทธัตถะ.  มหามายาย  ปุตฺตสฺส 

 

๑  ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๒๑๗/๑๑๔    ๒  ขุ.อฏฺ. ๔๙/๗๓   

๒๐

สิทฺธตฺถสฺส   สมณรญฺโญ  เอตํ  คชฺชิตํ   เสียงบันลือสีหนาทนั่น เป็นของพระสมณราชา พระนามว่าสิทธัตถะพระโอรสของพระนางมหามายา.  บทว่า สิทฺธตฺถ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าในอดีตก็มี เช่น  สิทฺธตฺโถ  นาม  ภควา  อาคจฺฉิ  มม  สนฺติกํ   พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จมาสู่สำนักของเรา


สุทฺโธทนิ  (สุทฺธ+โอทน+ณิ)  พระพุทธเจ้า, พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ. 

สุทฺธํ  โอทนํ  อสฺสาติ  สุทฺโธทโน,  ตสฺส  อปจฺจํ  สุทฺโธทนิ  พระราชาผู้ทรงมีข้าวขาวบริสุทธิ์ พระนามว่าสุทโธทนะ, พระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะผู้มีข้าวขาวบริสุทธิ์นั้น พระนามว่าสุทโธทนิ (ลบ ณฺ และสระหน้า)


โคตม  (โคตม+ณ)  พระพุทธเจ้า, พระสมณโคดม. 

โคตมสฺส  มุนิโน  อปจฺจํ โคตโม   พระโอรสของตระกูลที่เป็นศิษย์ของกปิลดาบสโคตมโคตร พระนามว่าโคตมะ (ลบ ณฺ และสระหน้า),  สมโณ ขลุ โภ โคตโม สกฺยปุตฺโต สกฺยกุลา ปพฺพชิโต เวรญฺชายํ วิหรติ ทราบว่า พระสมณโคดมศากยบุตรผู้เจริญ เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่เขตเมืองเวรัญชา


สกฺยสีห  (สกฺย+สีห) พระพุทธเจ้า, พระศากยสีหะ, ผู้ประเสริฐกว่าเจ้าศากยะทุกพระองค์.

สกฺยานํ  เสฏฺฐตฺตา  สกฺยสีโห  พระนามว่าศากยสีหะ เพราะทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าศากยะทุกพระองค์.  สกฺยานํ สีโห เสฏฺโฐติ วา สกฺยสีโห  หรือเป็นผู้ประเสริฐกว่าเจ้าศากยะทั้งหลาย จึงพระนามว่าศากยสีหะ.  ปจฺเจกพุทฺเธหิ  ชิเนหิ  ภาสิตา  กถา  อุฬารา  อภินิกฺขมิตฺวา  ตา   สกฺยสีเหน  นรุตฺตเมน  ปกาสิตา  ธมฺมวิชานนตฺถํ   พระดำรัสที่พระชินปัจเจกพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างโอฬาร พระพุทธเจ้าผู้เสด็จออกผนวช (ตรัสรู้แล้ว) สูงส่งกว่านรชน ทรงประกาศพระดำรัสเหล่านั้นไว้แล้ว เพื่อให้เวไนยสัตว์ได้รู้แจ้งธรรม

 

สกฺยมุนิ  (สกฺย+มุนิ)  พระพุทธเจ้า, พระศากยมุนี, ผู้เสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล. 

สกฺยกุลโต  ชาโต  มุนิ  สกฺยมุนิ   พระพุทธเจ้าผู้ประสูติจากศากยตระกูล พระนามว่าศากยมุนิ.   สกฺยมุนิ  อนุญฺญาสิ  ติจีวรํ   พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไตรจีวร


องฺคีรโส  สกฺยมุนิ         สพฺพภูตานุกมฺปโก
สพฺพสตฺตุตฺตโม  สีโห    ปิฏเก  ตีณิ  เทสยิ
สุตฺตนฺตํ  อภิธมฺมญฺจ      วินยญฺจ  มหาคุณํ.


    พระอังคีรสศากยมุนีทรงเป็นผู้อนุเคราะห์แก่ชาวประชาทุกถ้วนหน้า ทรงอุดมกว่าสรรพสัตว์ดุจพญาสีหราช พระองค์ทรงแสดงพระไตรปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมอันมีคุณค่ามาก

 

๑  มชฺ.อฏฺ. ๙/๓๔๙/๒๔๒    ๒  ขุ.อปทาน. ๓๒/๒๑/๙๑    ๒  วิ.มหาวิ. ๑/๑/๑
๔  ขุ.อปทาน. ๓๒/๒/๒๑    ๕  วิ.มหา. ๕/๑๗๓/๒๔๒    ๖  วิ.ปริ. ๘/๘๒๖/๒๒๔

๒๑

อาทิจฺจพนฺธุ  (อาทิจฺจ+พนฺธุ) พระพุทธเจ้า, ผู้ทรงแผ่พระรัศมีไปถึงวิมานของสุริยเทพ

บุตร. 

สูริยเทวปุตฺตสฺส  โสตาปนฺนตฺตา  ภควา  อาทิจฺจพนฺธูติ  วุจฺจติ,  อาทิจฺจสฺส  พนฺธุ  ญาตีติ  อาทิจฺจพนฺธุ  บัณฑิตเรียกพระผู้มีพระภาคว่า อาทิจจพันธุ เพราะทรงมีกระแสพระรัศมีส่องไปถึงวิมานของสุริยเทพบุตร หรือผู้ทรงเป็นญาติของพระอาทิตย์ จึงทรงพระนามว่าอาทิจจพันธุ.  โคตโม   โคตฺเตน  ภควา  สุริยสฺส  โคตฺตญาตโก  โคตฺตพนฺธุ,   ตสฺมา  พุทฺโธ  อาทิจฺจพนฺธุ๑  พระผู้มีพระภาคผู้มีพระนามว่าโคตมะโดยพระโคตร ทรงเป็นญาติโดยโคตรกับสุริยเทพบุตร เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงพระนามว่าอาทิจจพันธุ
    นอกจาก ๗ พระนามนี้ ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น  มายาเทวีสุต, มหาสมณ, กลิสาสน
    [๖]    โมกฺโข  นิโรโธ  นิพฺพานํ    ทีโป  ตณฺหกฺขโย  ปรํ
             ตาณํ  เลณมรูปํ  จ    สนฺตํ  สจฺจมนาลยํ.
    [๗]    อสงฺขตํ สิวมมตํ สุทุทฺทสํ
        ปรายณํ  สรณมนีติกํ  ตถา
        อนาสวํ ธุวมนิทสฺสนากตา-
        ปโลกิตํ  นิปุณมนนฺตมกฺขรํ.
    [๘]    ทุกฺขกฺขโย  พฺยาพชฺฌํ  จ    วิวฏฺฏํ  เขม  เกวลํ
        อปวคฺโค  วิราโค  จ    ปณีตมจฺจุตํ  ปทํ.
    [๙]    โยคกฺเขโม  ปารมปิ    มุตฺติ  สนฺติ  วิสุทฺธิโย
        วิมุตฺยสงฺขตธาตุ-    สุทฺธินิพฺพุติโย  สิยุํ.

 

 


นิพพาน  ๔๖  ศัพท์


โมกฺข  (มุจ โมจเน+อ)  นิพพาน, โมกขธรรม, สถานที่อาศัยหลุดพ้น, ธรรมเครื่องหลุดพ้น.

มุจฺจนฺติ  เอตฺถาติ  โมกฺโข  สถานที่อาศัยหลุดพ้น ชื่อว่าโมกขะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ จฺ เป็น ขฺ, ซ้อน กฺ).  มุจฺจนฺติ  เอเตน  ราคาทีหีติ  โมกฺโข  ธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากราคะเป็นต้น ชื่อว่าโมกขะ (ธรรมเครื่องหลุดพ้น).  หีนมชฺฌิมภาเวหิ  มุจฺจตีติ  โมกฺโข  ธรรมที่หลุดพ้นจากสภาพที่ต่ำและปานกลาง ชื่อว่าโมกขะ (มุจ โมจเน+ต, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ต เป็น ข, จฺ เป็น กฺ).  ปพฺพชิตฺวา  เอกํ  โมกฺขธมฺมํ  คเวสิตุํ วฏฺฏติ   ภิกษุครั้นบวชแล้ว

 

๑  ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๕๕๗/๒๗๕    ๒  องฺ.อฏฺ. ๑๔/๑๘๘/๑๑๖

 ๒๒

ควรแสวงหาโมกขธรรมอันสูงสุด.  สตฺตา โมกฺขํ คเวสิโน  เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาโมกขธรรมมีอยู่


ยทิ  สนฺติคโม  มคฺโค    โมกฺโข  จจฺจนฺติกํ  สุขํ

เอเตน  สจฺจวชฺเชน      คมนํ  เม  สมิชฺฌตุ.
    ทางไปสู่ความสงบ นิพพาน และทางอันประกอบด้วยสุขอย่างยิ่ง มีอยู่  ด้วยการกล่าวคำสัจนี้ ขอทางดำเนินไปสู่นิพพาน จงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า


นิโรธ  (นิ+รุธ โรธนาวรเณสุ+ณ) นิพพาน, นิโรธ, นิโรธธรรม, ความดับ. 

นิรุชฺฌนฺติ  เอตฺถ  ราคาทโยติ  นิโรโธ  สภาวธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ชื่อว่านิโรธะ (ที่ดับราคะเป็นต้น).  นตฺถิ  โรโธ  (กิเลโส)  เอตฺถาติ  นิโรโธ  (นิกฺกิเลโส)   ธรรมที่ไม่มีกิเลส ชื่อว่า นิโรธะ (ธรรมที่ปราศจากกิเลส) (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ).  รูปํ  โข  อานนฺท  อนิจฺจํ  สงฺขตํ  ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนํ  ขยธมฺมํ  วยธมฺมํ  วิราคธมฺมํ  นิโรธธมฺมํ  ตสฺส  นิโรโธ  นิโรโธติ  วุจฺจติ  อานนท์ รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย มีความเสื่อมไป สิ้นไป ผุพังไป ดับไป เป็นธรรมดา จึงถูกเรียกว่านิโรธะ


นิพฺพาน  (นิ+วาน)  นิพพาน, สภาวธรรมที่พ้นจากตัณหา, ความดับตัณหา. 

วานสงฺขาตาย  ตณฺหาย  นิกฺขนฺตตฺตา  นิพฺพาติ  วา  เอเตน  ราคคฺคิอาทิโกติ  นิพฺพานํ  สภาพที่ดับสนิทเพราะหลุดพ้น จากตัณหาที่เรียกว่าวานะ หรือธรรมเครื่องดับไฟคือราคะเป็นต้น ชื่อว่านิพพานะ (ซ้อน วฺ, อาเทศ วฺว เป็น พฺพ).  สพฺพกิเลสานํ  ขยเหตุภูเต  วิราคธมฺเม  นิพฺพานํ    นิพฺพานศัพท์ใช้ในอรรถว่าวิราคธรรมเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งปวง.  สพฺพสงฺขารสมโถ  สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค  ตณฺหกฺขโย  วิราโค  นิโรโธ  นิพฺพานํ   นิพพานเป็นสภาพที่สงบสังขารธรรมทั้งปวง สลัดอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะ ดับราคะ.  วานาภาเวน  นิพฺพานํ   ชื่อว่านิพพาน เพราะไม่มีตัณหา


ทีป  (ทีป ทิตฺติยํ+ณ)  นิพพาน, ทีปธรรม, ธรรมเป็นที่พึ่งพิง.  

ยถา   ปกติทีโป   นทีโสเตน  วุยฺหมานานํ   ปติฏฺฐา  โหติ,   เอวมิทมฺปิ   นิพฺพานํ   สํสารมโหเฆน   วุยฺหมานานํ   ปติฏฺฐาติ  ทีโป  วิยาติ   ทีโป,  นิกฺกิเลสานํ  วา  ปทีปสทิสภาวกรณโต  ทีโป  วิยาติ  ทีโป,  นิพฺพนฺติ  ธีรา  ยถายํ  ปทีโปติ  วุตฺตํ,  ทิปฺปติ  วา  อริยานํ  ญาณจกฺขุสฺเสว  ปกาสตีติ  ทีโป  นิพพานเป็นที่พึ่ง ของสัตว์ผู้ถูกห้วงน้ำในสงสารพัดพาไป ดุจเกาะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ผู้ถูกกระแสคลื่นพัดพาไป จึงชื่อว่าทีปะ, หรือนิพพานชื่อว่าทีปะ เพราะทำบุคคลผู้หมดกิเลสให้เป็นเหมือนประทีปดับ ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า ผู้มีปัญญาย่อมดับกิเลส ดุจ

 

๑  องฺ.อฏฺ. ๑๔/๑๘๘/๑๑๖    ๒  ขุ.อฏฺ. ๓๓/๕๔๖/๒๐๓    ๓  สํ.ขนฺธ. ๑๗/๔๘/๓๐
๔  วิ.มหา. ๔/๗/๘    ๕  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔   

๒๓

ประทีปนี้ดับไป หรือนิพพานที่สว่างในญาณจักษุของพระอริยบุคคลเท่านั้น  ชื่อว่าทีปะ(ลบ ณฺ).  ทีปศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์.  ปติฏฺฐฏฺเฐน  ทีปํ   นิพพานชื่อว่าทีปะ เพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่ง


ตณฺหกฺขย  (ตณฺหาสทฺทูปปท+ขี ขเย+อ)  นิพพาน, ธรรมที่สิ้นตัณหา. 

ตณฺหานํ  ขยเหตุตฺตา  ตณฺหกฺขโย  ชื่อว่าตัณหักขยะ เพราะเป็นเหตุสิ้นไปแห่งตัณหา (วุทธิ อี เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย, ซ้อน กฺ, รัสสะ อา เป็น อ).  ตณฺหานํ  ขโย  ตณฺหกฺขโย  ความสิ้นไปแห่งตัณหา  ชื่อว่าตัณหักขยะ.   ตณฺหา  ขียติ  เอตฺถาติ  ตณฺหกฺขโย  นิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา จึงชื่อว่าตัณหักขยะ.  ตณฺหกฺขยสฺส  ปจฺจยตา  ตณฺหกฺขยํ   นิพพานชื่อว่าตัณหักขยะ เพราะมีความสิ้นตัณหาเป็นเหตุ.  ตณฺหกฺขโย  หิ  ราธ  นิพฺพานํ จริงอยู่ราธะ ความสิ้นไปแห่งตัณหา คือนิพพาน


ปร  (ปร) นิพพาน, ปรธรรม, ธรรมอันประเสริฐสุด. 

ราคาทีนํ  ปฏิปกฺขตฺตา  อุตฺตมฏฺเฐน  วา  ปรํ  นิพพานชื่อว่าประ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อราคะเป็นต้น หรือเพราะมีอรรถประเสริฐสุด


ตาณ  (ตา รกฺขเณ+ยุ) นิพพาน, ธรรมเครื่องรักษา, ตาณธรรม, ธรรมเครื่องต้านทาน. 

ตายติ  รกฺขติ  อปายาทิโตติ  ตาณํ   นิพพานปกป้องบุคคลให้พ้นจากอบายเป็นต้น จึงชื่อว่า ตาณะ.  ตายนฏฺเฐน  ตาณํ   นิพพานชื่อว่าตาณะ เพราะอรรถว่าต้านทาน


เลณ  (ลี นิลียเน+ยุ)  นิพพาน, เลณธรรม, ธรรมเป็นที่หลบซ่อนหรือหลีกจากภัยในสงสาร. 

นิลียนฺติ  เอตฺถ  สํสารภยภีรุกาติ  เลณํ  นิพพานเป็นที่หลีกเร้นจากความกลัวคือภัยจากสงสาร จึงชื่อว่าเลณะ.   อลฺลียิตพฺพยุตฺตฏฺเฐน  เลณํ   นิพพานชื่อว่าเลณะ เพราะอรรถว่าเป็นที่หลีกเร้น.  นิพฺพานํ  ตาณํ  เลณํ  สรณํ  ปรายณํ  อจฺจุตํ  อมตํ   ศัพท์ทั้ง ๗ นี้ แปลว่านิพพาน

 

อรูป  (น+รูป)  นิพพาน, ธรรมที่ไม่มีรูปร่างสัณฐาน, อรูปธรรม. 

นตฺถิ  ทีฆรสฺสาทิกํ  รูปํ  สณฺฐานเมตสฺสาติ  อรูปํ  นิพพานไม่มีรูปร่างสัณฐานว่ายาวและสั้นเป็นต้น จึงชื่อว่าอรูปะ (อาเทศ น เป็น อ)


สนฺต  (สมุ อุปสเม+ต) นิพพาน, สันตธรรม, ธรรมเครื่องสงบ. 

สนฺตภาวฏฺเฐน  สนฺตํ   เพราะนิพพานมีอรรถว่าสงบ จึงชื่อว่าสันตะ.  ราคาทีนํ  สนฺตกรณตฺตา  สนฺตํ  นิพพานชื่อว่า สันตะ เพราะกระทำให้ราคะเป็นต้นสงบลงได้ (อาเทศ มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ)

 

สจฺจ  (สต สาตจฺเจ+จ)  นิพพาน, สัจธรรม. 

ปรมตฺถสจฺจตาย  สจฺจํ   เพราะนิพพานเป็นปรมัตถสัจจะ จึงชื่อว่าสัจจะ. 

 

๑  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๘๔    ๒  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๘๔    ๓  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๘๔
๔  สํ.ขนฺธ. ๑๗/๓๖๗/๒๓๓    ๕  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๘๔    ๖  อภิ.กถา. ๓๗/๑๐๗๖/๓๔๕
๗  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๘  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔   

๒๔

ราคกฺขยเหตุภาเวน   อวิปรีตตฺตา  จตุสจฺจปริยาปนฺนตฺตา  วา  สจฺจํ  นิพพานชื่อว่าสัจจะ เพราะเป็นเหตุสิ้นไปแห่งราคะ เพราะเป็นธรรมไม่ผิดจากความเป็นจริง หรือเป็นธรรมที่นับเนื่องในสัจจะ ๔ (อาเทศ ตฺ เป็น จฺ).   สรติ  อายติ  ทุกฺขํ  หึสตีติ  สจฺจํ   นิพพานที่เบียดเบียนทุกข์ ชื่อว่าสัจจะ (สร คติจินฺตาหึสาสุ+จ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน จฺ)


อนาลย  (น+อาลย) นิพพาน, ธรรมที่ปราศจากตัณหา, อนาลยธรรม, ธรรมที่ไม่มีอาลัย.

กามาลยานํ   อภาเวน   อนาลยํ    เพราะนิพพานไม่มีความอาลัยในกาม จึงชื่อว่าอนาลยะ.  นตฺถิ  อาลโย  ตณฺหา  เอตฺถาติ  อนาลยํ   นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีตัณหา จึงชื่อว่าอนาลยะ (อาเทศ น เป็น อน, ลบสระหน้า)


อสงฺขต (น+สํ+กร กรเณ+ต) นิพพาน, อสังขตธรรม, ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง. 

อสงฺขตนฺติ  นิพฺพานํ คำว่า "อสงฺขตํ" ได้แก่นิพพาน.  น  สงฺขตํ  สงฺขตลกฺขณรหิตนฺติ จ  อสงฺขตํ   นิพพานไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง และเว้นจากลักษณะที่ถูกปรุงแต่ง จึงชื่อว่าอสังขตะ.  ปจฺจเยหิ  น  สงฺกรียเตติ  อสงฺขตํ   นิพพานไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าอสังขตะ (อาเทศ น เป็น อ, นิคหิตเป็น งฺ, ก เป็น ข, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ)


สิว  (สิ เสวายํ+ว)  นิพพาน, สิวธรรม, ธรรมอันเกษม, ธรรมอันควรเสพ. 

สสฺสิริกฏฺเฐน  สิวํ   เพราะนิพพานมีอรรถว่าเป็นธรรมอันเกษม จึงชื่อว่าสิวะ.  สิวํ  เขมภาวํ  กโรตีติ  สิวํ,  สํสารภีรุเกหิ  เสวิตพฺพตฺตา  วา  สิวํ  นิพพานกระทำความเกษมให้ ชื่อว่าสิวะ หรือเพราะนิพพานเป็นธรรมที่ผู้กลัวภัยในสงสารพึงเสพ จึงชื่อว่าสิวะ.   สเมติ  อุปสเมตีติ  สิวํ  นิพพานที่ยังบุคคลให้เข้าไปสงบ ชื่อว่าสิวะ (สมุ อุปสเม+ริว, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ และลบ รฺ อนุพันธ์ที่ ริว ปัจจัย).  ภทฺเท  กลฺยาเณ  โมกฺเข  นิพฺพาเน  จ  สิวํ    สิวศัพท์ใช้ในอรรถความเจริญ ความดีงาม ความหลุดพ้น และนิพพาน.  ปตฺโต  สนฺติสุขํ  สิวํ   บรรลุนิพพานอันเป็นสันติสุข


อมต  (น+มร ปาณจาเค+ต)  นิพพาน, แดนอมตะ, อมตธรรม, สภาพที่พ้นจากความตาย.

มรณาภาเวน  อมตํ   เพราะไม่มีความตาย  นิพพานจึงชื่อว่าอมตะ.  นตฺถิ  เอตฺถ  มตํ  มรณํ  เอตสฺมึ วา  อธิคเต  ปุคฺคลสฺส  มตนฺติ  อมตํ  นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีความตาย หรือนิพพานที่บุคคลเข้าถึงแล้วไม่มีความตาย ชื่อว่าอมตะ (อาเทศ น เป็น อ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ).  อปฺปมาโท  อมตํ  ปทํ   ความไม่ประมาทเป็นทางดำเนินไปสู่นิพพาน.  อมตํ  วุจฺจติ  นิพฺพานํ   นิพพาน เรียกว่าอมตะ


พุทฺโธ  โลเก  สมุปฺปนฺโน    อสโม  เอกปุคฺคโล
โส  ปกาเสติ  สทฺธมฺมํ        อมตํ  สุขมุตฺตมํ.


พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเอกบุคคล ไม่มีใครเสมอเหมือน อุบัติแล้วในโลก ทรงประกาศพระสัทธรรมคือนิพพานอันเป็นสุขประเสริฐสุด

 

๑  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๒  ขุ.อฏฺ. ๒๖/๔๓/๓๐๘    ๓  ขุ.อฏฺ. ๒๗/๔๓/๑๘๔
๔  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๕  ขุ.อปทาน. ๓๒/๓๙๓/๔๙๗    ๖  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔
๗  ขุ.ธมฺม. ๒๕/๑๒/๑๘    ๘  ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๖๓    ๙  ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๒๓/๑๘๘

๒๕

ส่วนคัมภีร์นานัตถสังคหะกล่าวไว้ว่า


อมตํ  ยญฺญเสสสฺมึ           ปียูเส  จลิเต  ฆเน
อาสาฏิเต  จ  โมกฺเข  จ    ธนนฺตริสุธาสิสุ
อมโต  อมตา  ปิ  วา          คโฬจฺยามลกีสุ  เจ.


    อมตศัพท์นปุงสกลิงค์ ใช้ในความหมายว่า เครื่องบูชายัญ อาหารทิพย์ ร่างกายที่ยัง เคลื่อนไหว (คือไม่ตาย) ไข่แมลงวัน และนิพพาน,  อมตศัพท์ปุงลิงค์ ใช้ในความหมายว่า ทรัพย์ และเทวดา,  อมตศัพท์อิตถีลิงค์ ใช้ในความหมายว่า เถาบอระเพ็ด และมะขามป้อม


สุทุทฺทส  (สุ+ทุ+ทิส เปกฺขเณ+อ)  นิพพาน, ธรรมที่ปุถุชนมองไม่เห็น, ธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง. 

สุฏฺฐุ  ทุทฺทสตาย  สุทุทฺทสํ   เพราะนิพพานเป็นธรรมที่เห็นได้ยากยิ่ง จึงชื่อว่าสุทุททสะ (ซ้อน ทฺ, อาเทศ อิ เป็น อ).  ปสฺสิตุํ  สุทุกฺกรตาย  สุทุทฺทสํ  นิพพานชื่อว่าสุทุททสะ เพราะเป็นธรรมที่มองเห็นได้ยากยิ่ง.  สุทุทฺทสญฺจ  โว  ภิกฺขเว  เทสิสฺสามิ  สุทุทฺทสคามิญฺจ  มคฺคํ   ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงนิพพานและทางดำเนินถึงนิพพานแก่พวกเธอ

 

ปรายณ  (ปรสทฺทูปปท+อิ คติมฺหิ+ยุ)  นิพพาน, ปรายณธรรม, ธรรมที่พระอริยะรู้. 

ปเรหิ  อุตฺตเมหิ  อริยปุคฺคเลหิ  อยิตพฺพํ  คนฺตพฺพนฺติ  ปรายณํ,  สํสารสภาวโต  อญฺญสภาววเสน  พุชฺฌิตพฺพนฺตฺยตฺโถ,  ปเรสํ  วา  อริยปุคฺคลานํ  ปติฏฺฐานตฺตา  ปรายณํ   นิพพานอันพระอริยเจ้าผู้ประเสริฐพึงเข้าถึง ชื่อว่าปรายณะ หรือธรรมอื่นจากสงสารธรรมที่พระอริยเจ้าพึงรู้ หรือธรรมเป็นที่ดำรงอยู่แห่งพระอริยบุคคล ชื่อว่าปรายณะ.  สรณํ   ตาณํ   เลณํ   ปรายณํ   คติปฏิสรณํ   ทั้ง ๖ บท แปลว่านิพพานเหมือนกัน.  ปรํ  อยนํ  คติ  ปติฏฺฐาตีติ  ปรายณํ   การไปถึงแล้วดำรงอยู่ ชื่อว่าปรายณะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อาย, ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบสระหน้า)


สรณ  (สร หึสายํ+ยุ) นิพพาน, สรณธรรม. 

เยน  จตฺตาโร  มคฺคา  โอธิโส  กิเลเส  สรนฺติ  หึสนฺติ  ตํ  ธมฺมํ  สรณํ,  อริยานํ  วสิตเคหตฺตา  วา  สรณํ   นิพพานเป็นเครื่องกำจัดกิเลสแต่ละระดับของมรรค ๔  หรือมรรค ๔ เป็นเครื่องกำจัดกิเลสโดยเฉพาะ หรือธรรมอันเป็นที่อาศัยอยู่ของพระอริยะ ชื่อว่าสรณะ.  ภยสรณฏฺเฐน  สรณํ,  ภยนาสนนฺติ  อตฺโถ  นิพพานชื่อว่าสรณะ เพราะมีอรรถว่ากำจัดภัย ทำลายภัยให้พินาศไป (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ)

 

๑  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๒  สํ.สฬา. ๑๘/๗๑๙/๔๕๐    ๓  ขุ.อฏฺ. ๓๐/๘๘๘/๒๖๖
๔  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๕  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔

๒๖

อนีติก  (น+อีติ+ก) นิพพาน, อนีติกธรรม. 

นิทฺทุกฺขตฺตา  อนีติกํ นิพพานชื่อว่าอนีติกะ เพราะปราศจากทุกข์.  อีติ  อุปทฺทโว  ปาโส  จ   เต  ยตฺถ  น  สนฺติ,  ตํ  อนีติกํ  นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีความชั่วร้ายที่เป็นอันตรายและเป็นกับดัก จึงชื่อว่าอนีติกะ (อาเทศ น เป็น อน, ลบสระหน้า).  สตฺเต  สํสารํ  เนตีติ  "นีติ"ติ  ลทฺธนามาย  ตณฺหาย  อภาวโต  วา  อนีติกํ  หรือนิพพานชื่อว่าอนีติกะ เพราะไม่มีตัณหาที่ชื่อนีติ อันนำสัตว์ไปสู่สงสาร (น+นีติ+ก, อาเทศ น เป็น อ).  ปญฺจนฺนํ  ขนฺธานํ  นิโรโธ  อนีติกํ  นิพฺพานํ   ความดับขันธ์ ๕ เป็นนิพพานที่ปราศจากตัณหาอันเป็นธรรมชั่วร้าย


อนาสว  (น+อาสว)  นิพพาน, อนาสวธรรม, ธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ. 

อาสวานํ   อนารมฺมณตาย   อนาสวํ   นิพพานชื่อว่าอนาสวะ เพราะไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ (อาเทศ น เป็น อน, ลบสระหน้า).  จตุนฺนํ  อาสวานํ  อภาเวน  อนาสวํ   เพราะนิพพานไม่มีอาสวะ ๔ อย่าง จึงชื่อว่าอนาสวะ.  อาสวะ ๔ ได้แก่ กามาสวะ อาสวะคือกาม  ภวาสวะ อาสวะคือภพ  ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ  อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา๔


ธุว  (ธุ เถริเย+ว) นิพพาน, ธุวธรรม, ธรรมอันมั่นคง. 

ถิรฏฺเฐน  ธุวํ เพราะมีอรรถว่ามั่นคง นิพพานจึงชื่อว่าธุวะ.  นิจฺจฏฺเฐน  ธุวํ,  ธวติ  วา  มคฺคานมารมฺมณภาวํ  คจฺฉตีติ  ธุวํ  นิพพานชื่อว่าธุวะ เพราะมีความหมายว่ามั่นคง หรือไปสู่ความเป็นมัคคารมณ์ จึงชื่อว่าธุวะ (ธุว คติเถริเยสุ+อ).   ชรามรเณหิ  มุญฺจิตุกาเมหิ  ธวิตพฺพํ  คนฺตพฺพนฺติ  ธุวํ,  นิพฺพานนฺติ   อตฺโถ  ทางที่พวกเธอผู้ต้องการหลุดพ้นจากชราและมรณะพึงดำเนินไป ชื่อว่าธุวะ ได้แก่นิพพาน.  ตตฺถ  หิ  ธวติ  ถิรตีติ  ธุโว,  อุปฺปาทวยาภาเวน  วา  นิจฺจสภาวตฺตา  ธวติ  ถิรํ  สสฺสตํ  ภวตีติ  ธุวํ ในคำนั้น ธรรมที่มั่นคง ชื่อว่าธุวะ, นิพพานเป็นธรรมอันมั่นคง ถาวร เที่ยงแท้ เพราะไม่มีการเกิดขึ้นและเสื่อมไป.  ธุวธาตุในอรรถว่า คติ การบรรลุ  เช่น  ธุวญฺจ  โว  ภิกฺขเว  เทสิสฺสามิ  ธุวคามินิญฺจ  มคฺคํ   ภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดงนิพพานและทางดำเนินถึงนิพพานแก่พวกเธอ.  ธุวธาตุในอรรถว่า เถริยะ ความมั่นคง  เช่น  นิจฺโจ   ธุโว   สสฺสโต๗  นิพพานเป็นธรรมอันเที่ยงแท้มั่นคง.


อนิทสฺสน  (น+นิ+ทิส เปกฺขเณ+ยุ) นิพพาน, อนิทัสสนธรรม, ธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตา.

จกฺขุวิญฺญาเณน อปสฺสิตพฺพตฺตา อนิทสฺสนํ เพราะนิพพานเป็นธรรมที่มองไม่เห็นด้วยจักขุวิญญาณ จึงชื่อว่าอนิทัสสนะ.   


๑  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๒  ขุ.ปฏิสํ. ๓๑/๗๓๕/๖๓๑    ๓  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔
๔  อภิ.วิ. ๓๕/๙๖๑/๕๐๔    ๕  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๖  สํ.สฬา. ๑๘/๗๒๗/๔๕๐
๗  ที.สีล. ๙/๓๑/๒๕    ๘  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔

๒๗


ทฏฺฐพฺพสภาวสฺส  นตฺถิตาย  อนิทสฺสนํ  นิพพานชื่อว่าอนิทัสสนะ เพราะเป็นสภาพที่มองไม่เห็น. นตฺถิ จกฺขุนา ทสฺสนเมตฺถาติ อนิทสฺสน นิพพานเป็นธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา จึงชื่อว่าอนิทัสสนะ (อาเทศ น เป็น อ, ทิสฺ เป็น ทสฺสฺ, ยุ เป็น อน).  อนิทสฺสนญฺจ  โว  ภิกฺขเว  เทสิสฺสามิ  อนิทสฺสนคามิญฺจ  มคฺคํ   ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางดำเนินถึงนิพพานแก่พวกเธอ


อกต (น+กร กรเณ+ต) นิพพาน, อกตธรรม, ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง. 

ปจฺจเยหิ  อกตตฺตา  อกตํ  นิพพานมีชื่อว่าอกตะ เพราะเป็นธรรมที่ไม่ถูกสร้างขึ้นโดยปัจจัย (อาเทศ น เป็น อ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ).  กรียิตฺถาติ  กตํ,  ปจฺจเยหิ  น  กตนฺติ  อกตํ   ถูกปรุงแต่งชื่อว่ากตะ,  นิพพานไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าอกตะ.  อตฺถิ  ภิกฺขเว  อชาตํ  อภูตํ  อกตํ   ภิกษุทั้งหลาย นิพพานเป็นธรรมชาติไม่เกิด ไม่มีไม่เป็น ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอยู่


อปโลกิต  (น+ป+ลุช นสฺสเน+อิ+ต)  นิพพาน, อปโลกิตธรรม. 

สทา  วิชฺชมานตฺตา  อปลุชฺชนสภาวํ  คจฺฉติ  เตน วา  วิญฺญายตีติ  อปโลกิตํ  นิพพานถึงความเป็นธรรมไม่เลือนหายเพราะมีอยู่ตลอดกาล  หรือนิพพานเป็นธรรมที่ปรากฏอยู่โดยสภาพไม่เสื่อมนั้น ชื่อว่าอปโลกิตะ.  โลกสภาเวน  วา  วิญฺญายตีติ  โลกิตํ,  ตพฺพาวาปคมนโต  อปโลกิตํ   ธรรมที่ปรากฏอยู่โดยสภาวะของโลก ชื่อว่าโลกิตะ, นิพพานชื่อว่าอปโลกิตะ เพราะปราศจากธรรมที่ปรากฏอยู่โดยสภาวะของโลก (อาเทศ น เป็น อ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ชฺ เป็น กฺ).  อิตํ  คเต  วิญฺญาเต  อิตศัพท์ใช้ในอรรถว่าไปและปรากฏ.  อปลุชฺชนตาย  อปโลกิตํ   เพราะนิพพานเป็นธรรมไม่เสื่อม จึงชื่อว่าอปโลกิตะ.  อปโลกิตญฺจ  โว  ภิกฺขเว  เทสิสฺสามิ  อปโลกิตคามิญฺจ  มคฺคํ   ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางดำเนินถึงนิพพานแก่พวกเธอ


นิปุณ  (นิ+ปุ โสเธ+ยุ) นิพพาน, นิปุณธรรม, ธรรมที่ละเอียดอ่อน. 

สณฺหฏฺเฐน  นิปุณํ เพราะมีอรรถว่าละเอียดอ่อน นิพพานจึงชื่อว่านิปุณะ (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ, ลบ อ).  เยน  วา  จตฺตาโร  มคฺคา  โอธิโส  กิเลเส  นิสฺเสสโต  ปุนนฺติ  โสเธนฺติ,  ตํ  นิปุณํ นิพพานเป็นเครื่องชำระกิเลสของมรรค ๔ ให้หมดจด จึงชื่อว่านิปุณะ.  นิปุณญฺจ  โว  ภิกฺขเว  เทสิสฺสามิ  นิปุณคามิญฺจ  มคฺคํ   ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางดำเนินถึงนิพพานแก่พวกเธอ.  ในอัตถสาลินีอัตถโยชนากล่าวว่า นิ ในคำว่า นิปุณ มีอรรถว่าเฉกะ ฉลาด.  ส่วนสัททนีติธาตุมาลา๑๐ แสดงไว้ว่า  นิปุณ มาจาก นิปุพฺพ + ปุณ นิปุเณ  คือธรรมอันมีความหมายที่ละเอียดอ่อน, ธรรมเครื่องชำระกิเลสให้หมดจดโดยเฉพาะ

 

๑  สํ.สฬา. ๑๘/๗๒๙/๔๕๑    ๒  กจฺจายน. ๓๓๓    ๓  ขุ.ขุทฺทก. ๒๕/๑๖๐/๒๐๘
๔  นานตฺถสงฺคห    ๕  สํ.สา.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๖  สํ.สฬา. ๑๘/๗๒๙/๔๕๑
๗  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๘  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๙  สํ.สฬา. ๑๘/๗๒๔/๔๕๐
๑๐  สทฺทนีติธาตุมาลา ๖๑

๒๘

อนนฺต  (น+อนฺต)  นิพพาน,  ธรรมที่ไม่พินาศ,  อนันตธรรม.  น  กทาจิปิ  ยสฺส  อนฺโต  วินาโส  อตฺถิ,  ตํ  อนนฺตํ   นิพพานไม่มีความเสื่อมสลายไปตลอดกาล จึงชื่อว่าอนันตะ (อาเทศ น เป็น อน, ลบสระหน้า).  ปริยนฺตปริจฺเฉทภาวรหิตตฺตา  อนนฺตํ  วุจฺจติ  นิพฺพานํ   นิพพานเรียกว่าอนันตะ เพราะไม่มีที่สุดและไม่มีการกำหนดขอบเขต


อกฺขร  (น+ขร วินาเส+อ, น+ขี ขเย+อร)  นิพพาน, อักขรธรรม, ธรรมที่ไม่เสื่อมสลาย. 

ขรนฺติ  วินสฺสนฺตีติ  ขรา,  สงฺขตา.  เต  ยตฺถ  น  สนฺติ,  ตํ  อกฺขรํ,  ขรสงฺขาตานํ  วา  สงฺขตานํ   ปฏิปกฺขตฺตา  อกฺขรํ  ธรรมที่เสื่อมไปชื่อว่าขระ ได้แก่สังขตธรรม, นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีความเสื่อมเหล่านั้น จึงชื่อว่าอักขระ, นิพพานชื่อว่าอักขระ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรมคือสิ่งที่เสื่อม (อาเทศ น เป็น อ, ซ้อน กฺ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ และสระหน้า)


ทุกฺขกฺขย  (ทุกฺข+ขย)  นิพพาน, ทุกขักขยธรรม, ธรรมเป็นเหตุสิ้นทุกข์. 

สพฺพทุกฺขานํ  ขยการณตฺตา  ทุกฺขกฺขโย  นิพพานชื่อว่าทุกขักขยะ เพราะเป็นเหตุสิ้นทุกข์ทั้งปวง (ซ้อน กฺ).  ทุกฺขกฺขโย  อนุปฺปตฺโต  ปตฺโต  เม  อาสวกฺขโย  เราบรรลุถึงความสิ้นทุกข์ สิ้นอาสวะแล้ว


อพฺยาพชฺฌ, อพฺยาปชฺฌ, อพฺยาปชฺช  (น+พฺยาพชฺฌ)  นิพพาน, ธรรมที่ทุกข์เบียดเบียนไม่ได้, ธรรมที่ไม่มีความพินาศ. 

พฺยาพาธตีติ  พฺยาพาโธ,  โส  เอว  พฺยาปาโท,  ทุกฺขสจฺจํ,  ตสฺส  ภาโว  พฺยาพชฺฌํ,  ทุกฺขสฺส  ปีฬนาทฺยตฺโถ,  ตํ ยตฺถ นตฺถิ,  ตํ  อพฺยาพชฺฌํ   ธรรมที่เบียดเบียน ชื่อว่าพยาพาธะ (วิ+อา+พาธ พฺยาฆาเต+อ, อาเทศ อิ เป็น ย, วฺ เป็น พฺ),  พยาพาธะนั่นแหละ ชื่อว่าพยาปาทะ หมายถึงทุกขสัจ (อาเทศ พ เป็น ป), ความเป็นธรรม ที่บีบคั้น ชื่อว่าพยาพัชฌะ (พฺยาพาธ+ณฺย, ลบ ณฺ และสระหน้า, อาเทศ ธฺย เป็น ฌฺ, ซ้อน ชฺ, รัสสะ อา เป็น อ)  หมายความว่า ทุกขสัจมีความบีบคั้นเป็นต้น,  นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีทุกขสัจนั้น จึงชื่อว่าอัพยาพัชฌะ (อาเทศ น เป็น อ).  พฺยาปชฺฌาภาเวเนว  อพฺยาปชฺฌํ   นิพพานชื่อว่าอัพยาปัชฌะ เพราะไม่มีความเบียดเบียน.  อพฺยาปชฺฌํ  สุขํ  โลเก นิพพานเป็นสุขในโลก.   อพฺยาปชฺฌญฺจ  โว  ภิกฺขเว  เทสิสฺสามิ  อพฺยาปชฺฌคามิญฺจ  มคฺคํ   ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางดำเนินถึงนิพพานแก่พวกเธอ.  อพฺยาปาโท  อพฺยาปชฺโช  อโทโส  ความไม่เบียดเบียน คือการไม่ประทุษร้าย


วิวฏฺฏ  (วิ+วฏฺฏ)  นิพพาน, วิวัฏฏธรรม. 

กิเลสกมฺมวิปากวฏฺฏานมภาวโต  วิวฏฺฏํ  นิพพานชื่อว่าวิวัฏฏะ เพราะไม่มีกิเลสวัฏ กัมมวัฏ และวิปากวัฏ.   "อวิชฺชานิโรธา   สงฺขารนิโรโธ  ...  เอวเมตสฺส  เกวลสฺส  ทุกฺขกฺขนฺธสฺส  นิโรโธ  โหตี"ติ  เอวํ  โยนิโส  มนสิการมูลกํ  


๑  วิ.อฏฺ. ๓/๕๙๗    ๒  ขุ.อฏฺ. ๓๒/๑๒๐/๓๖๙    ๓  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔
๔  วิ.มหา. ๔/๕/๖    ๕  สํ.สฬา. ๑๘/๗๔๒/๔๕๒    ๖  อภิ.ธมฺมสงฺ. ๓๔/๓๓/๑๒

๒๙

วิวฏฺฏํ  เวทิตพฺพํ   พึงทราบว่า นิพพานมีโยนิโสมนสิการเป็นมูลเหตุให้รู้อย่างนี้ว่า "เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ... การดับกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ มีอยู่"


เขม  (ขี ขเย+ม)  นิพพาน, เขมธรรม, แดนเกษม, สถานที่ไม่มีภัย, ธรรมอันเป็นเครื่องดับราคัคคิเป็นต้น. 

นิพฺภยฏฺเฐน  เขมํ,  ขยนฺติ  วา  เอเตน  ราคฺคิอาทโยติ  เขมํ  นิพพานชื่อว่าเขมะ เพราะปราศจากภัย หรือเป็นที่สิ้นไฟราคะเป็นต้น จึงชื่อว่าเขมะ (วุทธิ อี เป็น เอ).  เขมํ  ปตฺเถถ  ภิกฺขโว  ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงปรารถนานิพพานอันเกษม.  นิรุปทฺทวตาย  เขมํ   นิพพานชื่อว่าเขมะ เพราะไม่มีอันตราย


อาโรคฺยปรมา  ลาภา    นิพฺพานํ  ปรมํ  สุขํ
อฏฺฐงฺคิโก  จ  มคฺคานํ    เขมํ  อมตคามินํ.


    ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม


เกวล  (เกว วิสํโยเค+อล)  นิพพาน, เกวลธรรม, ธรรมที่ไม่มีสังขารปรุงแต่ง.  

สงฺขาเรหิ  อสมฺมิสฺสตาย  วิสํโยคตาย  จ  เกวลํ  นิพพานชื่อว่าเกวละ เพราะไม่ประกอบด้วยสังขารธรรมเครื่องปรุงแต่ง.  เกวลศัพท์ แปลว่า เยภุยฺยตา มีมาก  อวฺยามิสฺส ไม่เจือปน  วิสํโยค นิพพาน  ทฬฺหตฺถ อรรถมั่นคง  อนติเรก พอประมาณ และ อนวเสส ทั้งหมดทั้งสิ้น,  ในอรรถวิสังโยคะ  เช่น  มญฺญามิ  เต  อมตเมว  เกวลํ  อธิคจฺฉนฺติ  ปทํ  อสงฺขตํ   ข้าพเจ้าเข้าใจว่า คนเหล่านั้น จะได้บรรลุอมตบทอันไม่มีปัจจัยปรุงแต่งอย่างแน่นอน


อปวคฺค  (อป+วชฺช วชฺชเน+อ)  นิพพาน, อปวัคคธรรม, ธรรมที่เว้นจากสังขารปรุงแต่ง.

อปวชฺชนฺติ  สงฺขารา  เอตสฺมาติ  อปวคฺโค   นิพพานที่เว้นจากสังขาร ชื่อว่าอปวัคคะ (อาเทศ ชฺช ป็น คฺค).  อินฺทฺริยตปฺปนปุตฺตมุขทสฺสนาทีหิ  วินา  อปวคฺโค นตฺถีติ  คเหตฺวา  กถาปวตฺตนํ  กามสุขลฺลิกานุโยโค  การกล่าวถือเอาเหตุว่า นิพพานที่เว้นจากการบำรุงอินทรีย์ให้อิ่มเอิบ และ มีความสุขจากการเห็นหน้าบุตรเป็นต้น ย่อมไม่มี เป็นกามสุขัลลิกานุโยค.  อปวคฺโค  โมกฺโขติ  คหณํ  อปวคฺคคฺคาโห การถือเอาว่า นิพพานเป็นธรรมเครื่องหลุดพ้น ชื่อว่าอปวัคคัคคาหะ


วิราค  (วิ+รญฺช ราเค+อ) นิพพาน, วิราคธรรม, ธรรมอันปราศจากราคะ. 

ยสฺมา  ราโค วิคโต,  โส  วิราโค  นิพพานที่ปราศจากราคะ ชื่อว่าวิราคะ (อาเทศ รญฺช เป็น ราค).  วิรชฺชนฺติ  เอตฺถ  สํกิเลสธมฺมาติ  วิราโค  นิพพานเป็นที่สำรอกออกจากกิเลส ชื่อว่าวิราคะ. 

 

๑  มชฺ.อฏฺ. ๗/๑๕/๗๒    ๒  มชฺ.มูล. ๑๒/๓๙๑/๔๒๑    ๓  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔
๔  มชฺ.มชฺ. ๑๓/๒๘๗/๒๘๑    ๕  ขุ.เปต. ๒๖/๑๑๗/๒๑๘    ๖  วิสุทฺธิ.ฏี. ๖๓/๙๙/๒๐๘
๗  วิสุทฺธิ.ฏี. ๖๓/๙๙/๒๐๗-๘

๓๐

สพฺพสงฺขารสมโถ  สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค  ตณฺหกฺขโย  วิราโค  นิโรโธ  นิพฺพานํ   ธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดออกซึ่งอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา คลายกำหนัด ดับสนิท ปราศจากตัณหา.  วิราคาธิคมสฺส  ปจฺจยโต  วิราคํ   เพราะนิพพานเป็นปัจจัยให้บรรลุซึ่งความปราศจากราคะ จึงชื่อว่าวิราคะ.  วิราคาทิคมสฺส  ปจฺจยโต  วิราคํ ๓  เพราะนิพพานเป็นเหตุแห่งความสิ้นราคะเป็นต้น จึงชื่อว่าวิราคะ


ปณีต  (ป+นี ปาปุณเน+ต)  นิพพาน, ธรรมที่เป็นประธาน. 

ปธานภาวํ  นีตํ  ปณีตํ   นิพพานถึงความเป็นธรรมอันเป็นประธาน จึงชื่อว่าปณีตะ (อาเทศ น เป็น ณ).  เอตํ  สนฺตํ  เอตํ  ปณีตนฺติ  นิพฺพานํ  ทสฺเสนฺโต  อาห  พระพุทธเจ้าตรัสแสดงนิพพานว่า "เอตํ  สนฺตํ  เอตํ  ปณีตํ".   อุตฺตมฏฺเฐน  ปณีตํ   นิพพานชื่อว่าปณีตะ เพราะมีอรรถว่าประเสริฐสุด


อจฺจุต  (น+จุ จวเน+ต)  นิพพาน, อัจจุตธรรม, ธรรมที่ไม่มีจุติของพระอรหันต์. 

นตฺถิ  เอตสฺมึ  อธิคเต  อริยานํ  จุตํ  จวนนฺติ  อจฺจุตํ   นิพพานที่พระอริยบุคคลถึงแล้ว ไม่มีการเคลื่อนไปเป็นอย่างอื่น ชื่อว่าอัจจุตะ (อาเทศ น เป็น อ, ซ้อน จฺ).  อมตาธิคโต  กจฺจิ  นิพฺพานํ  อจฺจุตํ  ปทํ ท่านบรรลุอมตบทอันปราศจากตัณหาแล้ว ไม่เคลื่อนไปหรือ.   นิพฺพานํ  ตาณํ  เลณํ  สรณํ  ปรายณํ  อจฺจุตํ  อมตํ นิพพานเป็นที่พึ่งพิง ที่หลีกเร้น ที่ระลึก ที่มุ่งหมาย ไม่เคลื่อนไป ไม่มีความตาย


ปท (ปท คติมฺหิ+อ) นิพพาน, ปทธรรม, ธรรมที่พระอริยะบรรลุ.

อริเยหิ ปชฺชิตพฺพตฺตา  คนฺตพฺพตฺตา  ปทํ  นิพพานชื่อว่าปทะ เพราะพระอริยเจ้าบรรลุ.  สนฺตํ  ปทํ  อชฺฌคมา  บรรลุนิพพานอันสงบ.  สนฺตํ  ปทนฺติ  นิพฺพานํ   บททั้ง ๒ คือ สนฺตํ ปทํ  ได้แก่นิพพาน


โยคกฺเขม  (โยคสทฺทูปปท+ขี ขเย+ม)  นิพพาน, ธรรมเครื่องช่วยให้สิ้นโยคะ. 

จตฺตาโร  โยคา ขยนฺติ  เอเตนาติ  โยคกฺเขโม  นิพพานเป็นเครื่องสิ้นโยคะทั้ง ๔ (คือ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา) ชื่อว่าโยคักเขมะ (ซ้อน กฺ, วุทธิ อี เป็น เอ).  มยฺหํ  ภิกฺขเว  อปฺปมาทาธิคตา  โพธิ  อปฺปมาทาธิคโต  อนุตฺตโร  โยคกฺเขโม๑๐   ภิกษุทั้งหลาย เราบรรลุโพธิญาณด้วยความไม่ประมาท บรรลุนิพพานอันสูงสุดด้วยความไม่ประมาท


ปาร  (ปาร สมตฺถิยํ+อ)  นิพพาน, ปารธรรม, ธรรมที่สามารถสงบความเร่าร้อนเพราะทุกข์ในสงสาร, ธรรมที่ไม่เป็นซี่ล้อแห่งสังสารวัฏ. 

ปาเรติ  สกฺโกติ  สํสารทุกฺขสนฺตาปํ  สเมตุนฺติ ปารํ,  "สํสารทุกฺขสนฺตาปตตฺตสฺสาลํสเมตเว"ติ  หิ  วุตฺตํ.   ปคตา  สํสารจกฺกสฺส  อรา  เอตสฺมาติ  วา  ปารํ  นิพพานสามารถดับความเร่าร้อนคือทุกข์ในสงสาร จึงชื่อปาระ ดังที่ท่าน

 

๑  มชฺ.มชฺ.๑๓/๑๕๗/๑๕๙    ๒  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๓  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔
๔  องฺ.อฏฺ. ๑๕/๒๖๓/๑๑๓    ๕  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๖  ขุ.อปทาน. ๓๒/๓/๓๗
๗  อภิ.กถา. ๓๗/๑๐๗๖/๓๔๕    ๘  สํ.สคาถ. ๑๕/๗๓๒/๒๗๕    ๙  สํ.อฏฺ. ๑๑/๒๑๐/๒๕๗

๑๐  องฺ.เอก. ๒๐/๒๕๑/๖๔

๓๑

กล่าวว่า นิพพานทำให้ความเร่าร้อนคือทุกข์ในสงสารสงบลงได้ ไม่เป็นซี่ล้อแห่งสังสารวัฏ จึงชื่อว่าปาระ.  วฏฺฏสฺส  ปรภาคฏฺเฐน  ปารํ   นิพพานชื่อว่าปาระ เพราะมีอรรถตรงข้ามกับวัฏฏะ.  ปารญฺจ  โว  ภิกฺขเว  เทสิสฺสามิ  ปารคามิญฺจ  มคฺคํ   ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพานและทางดำเนินถึงนิพพานแก่พวกเธอ


มุตฺติ  (มุจ โมจเน+ติ)  นิพพาน, มุตติธรรม, ธรรมอันหลุดพ้นจากกิเลส. 

กิเลเสหิ  มุจฺจนโต  มุตฺติ,  สรีเรนฺทฺริเยหิ  อตฺตโน  มุตฺตตฺตา  มุตฺติ  เพราะนิพพานหลุดพ้นจากกิเลส พ้นจากสรีระและอินทรีย์(ไม่มีตัวตน) จึงชื่อว่ามุตติ (ลบ จฺ, ซ้อน ตฺ).  ตีหิ  ภเวหิ  มุตฺตตาย  มุตฺติ   เพราะนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากภพทั้ง ๓ จึงชื่อว่ามุตติ


สนฺติ  (สมุ อุปสเม+ติ) นิพพาน, สันติธรรม, ธรรมที่สงบจากกิเลส. 

กิเลสสมนโต  สนฺติ   เพราะนิพพานเป็นธรรมที่สงบจากกิเลส จึงชื่อว่าสันติ.   สมนํ  สนฺติ   ความสงบ ชื่อว่าสันติ (อาเทศ มฺ เป็น นฺ).  ผุฏฺฐสฺส  ปรมา  สนฺติ  นิพฺพานํ  อกุโตภยํ   สัมผัสความสงบอย่างยิ่ง  คือนิพพานอันไม่่มีภัยจากที่ไหน ๆ


วิสุทฺธิ  (วิ+สุธ โสเจยฺเย+ติ)  นิพพาน, วิสุทธิธรรม, ธรรมอันหมดจดจากมลทินมีราคะเป็นต้น.

วิสุชฺฌนฺติ  สตฺตา  เอตาย  ราคาทิมเลหีติ  วิสุทฺธิ  นิพพานยังสัตว์ให้หมดจดจากมลทินมีราคะเป็นต้น จึงชื่อว่าวิสุทธิ (อาเทศ ตฺ เป็น ธฺ, ธฺ ที่สุดธาตุ เป็น ทฺ).  วิสุทฺธีติ  สพฺพมลวิรหิตํ  อจฺจนฺตปริสุทฺธํ  นิพฺพานํ  เวทิตพฺพํ    พึงทราบว่า คำว่า วิสุทฺธิ คือนิพพานอันเว้นจากมลทิน ทั้งปวง มีความบริสุทธิ์อย่างเดียว


วิมุตฺติ  (วิ+มุจ โมจเน+ติ)  นิพพาน, วิมุตติธรรม, ธรรมที่พ้นจากสังขาร. 

สพฺพสงฺขารา  วิมุจฺจนโต  วิมุตฺติ   เพราะพ้นจากสังขารทั้งปวง  นิพพานจึงชื่อว่าวิมุตติ (ลบ จฺ, ซ้อน ตฺ).    วิกฺขมฺภนวิมุตฺติ  ตทงฺควิมุตฺติ  สมุจฺเฉทวิมุตฺติ  ปฏิปสฺสทฺธิวิมุตฺติ  นิสฺสรณวิมุตฺตีติ  ปญฺจธา  วิมุตฺติ๖  วิมุตติมี ๕ ประการ คือ  (๑) วิกฺขมฺภนวิมุตฺติ พ้นด้วยข่มกิเลสไว้  (๒) ตทงฺควิมุตฺติ พ้นด้วยธรรมที่ตรงข้ามกัน  (๓) สมุจฺเฉทวิมุตฺติ พ้นโดยตัดขาดจากกิเลสด้วยโลกุตรมรรค  (๔) ปฏิปสฺสทฺธิวิมุตฺติ พ้นด้วยความสงบโดยอาศัยโลกุตรมรรคเป็นปัจจัยแล้วบรรลุโลกุตรผล  (๕) นิสฺสรณวิมุตฺติ พ้นด้วยสลัดกิเลสออกได้


อสงฺขตธาตุ  (น+สงฺขต+ธาตุ) นิพพาน, อสังขตธาตุ, ธาตุที่ไม่ถูกสร้างขึ้นโดยเหตุปัจจัย,  ธาตุที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะความสงบ. 

อสงฺขตเมว  นิสฺสตฺตนิชฺชีวฏฺเฐน  สนฺติลกฺขณธารณโต  วา  ธาตูติ  อสงฺขตธาตุ   นิพพาน คือธาตุที่เป็นเพียงอสังขตะ(ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง) เพราะไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต หรือเพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะความสงบ จึงชื่อว่าอสังขตธาตุ (อาเทศ น เป็น อ).

 

๑  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๒  สํ.สฬา. ๑๘/๗๒๓/๔๕๐    ๓  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔
๔  องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๓/๓๑    ๕  วิสุทฺธิ. ๑/๓    ๖  สํ.อฏฺ. ๑๓/๗๙๘/๒๘๒

๓๒

เอกนฺตสุขาวหํ  นิพฺพานํ  อสงฺขตธาตุ  นิพพานอันไม่มีตัณหา จึงนำมาซึ่งความสุขแน่นอน


สุทฺธิ  (สุธ โสเจยฺเย+ติ)  นิพพาน, สุทธิธรรม, ธรรมเครื่องชำระมลทินมีราคะเป็นต้น. 

สุชฺฌนฺติ  สตฺตา  เอตาย  ราคาทิมเลหีติ  สุทฺธิ  นิพพานชำระสัตว์จากมลทินมีราคะเป็นต้น จึงชื่อว่าสุทธิ.  ปรมตฺถสุทฺธิตาย  สุทฺธิ  เพราะนิพพานเป็นธรรมที่บริสุทธิ์โดยปรมัตถ์ จึงชื่อว่า สุทธิ (อาเทศ ตฺ เป็น ธฺ, ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ทฺ).  ปรมตฺถสุทฺธิตาย  สุทฺธิ  นิพพานชื่อว่าสุทธิ เพราะหมดจดที่สุด


นิพฺพุติ  (นิ+วุ อาวรเณ+ติ) นิพพาน, นิพพุติธรรม, ธรรมที่ออกจากตัณหา, ธรรมที่ปราศจากตัณหาเครื่องกั้นให้ติดอยู่ในสงสาร. 

อาวุโณติ  สํสารโต  นิกฺขนฺตุมปฺปทานวเสนาติ  วุติ,  ตณฺหา,  ตโต  นิกฺขนฺตตฺตา  นิพฺพุติ  ตัณหาร้อยสัตว์ไว้ เพราะไม่ให้ออกไปจากสงสาร จึงชื่อว่าวุติ,  นิพพานชื่อว่านิพพุติ  เพราะออกจากตัณหานั้น (ซ้อน วฺ, อาเทศ วฺว เป็น พฺพ).    ตถาคเตน  สา  นิพฺพุติ  อธิคตา  นิพพานนั้นพระตถาคตทรงบรรลุแล้ว


    ในสังยุตตนิกาย ท่านรวบรวมบทที่มีความหมายว่านิพพานไว้เป็นคาถาว่า


อสงฺขตํ  อนตํ  อนาสวํ
สจฺจญฺจ  ปารํ  นิปุณํ  สุทุทฺทสํ
อชชฺชรนฺตํ  ธุวํ  อปโลกิตํ
อนิทสฺสนํ  นิปฺปปญฺจสนฺตํ.


อมตํ  ปณีตญฺจ  สิวญฺจ  เขมํ
ตณฺหกฺขโย  อจฺฉริยญฺจ  อพฺภุตํ
อนีติกํ  อนีติกธมฺมํ
นิพฺพานเมตํ  สุคเตน  เทสิตํ.


อพฺยาปชฺโฌ  วิราโค  จ       สุทฺธิ  มุตฺติ  อนาลโย
ทีโป  เลณญฺจ  ตาณญฺจ      สรณญฺจ  ปรายนํ.

 


พุทฺธาทิวณฺณนา  สมตฺตา.
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าเป็นต้น จบ

 

๑  ขุ..อฏฺ. ๒๖/๒๕/๒๐๑    ๒  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔    ๓  สํ.อฏฺ. ๑๓/๓๗๗/๑๗๔
๔  ขุ.มหานิ. ๒๙/๗๐๙/๔๒๓    ๕  สํ.สฬา. ๑๘/๗๕๑/๔๕๓

 

<<<               >>>