<<<< >>>>
๒๔๑
๒. ภูกณฺฑ
๒.๑ ภูมิวคฺควณฺณนา
ว่าด้วยแผ่นดินเป็นต้น
[๑๘๐] วคฺคา ภูมิปุรีมจฺจ- จตุพฺพณฺณวนาทิหิ
ปาตาเลน จ วุจฺจนฺเต สงฺโคปงฺเกหิธกฺกมา.
ในภูมิกัณฑ์นี้ ท่านกล่าวภูมิวรรค ปุรวรรค นรวรรค จตุพพัณณวรรค อรัญญวรรค และ
ปาตาลวรรค ซึ่งมีศัพท์คือ วสุนฺธรา (แผ่นดิน) เป็นต้น มีปริยายศัพท์คือ ขาร (ดินเค็ม) มีศัพท์คือ อุปานฺตภู (พื้นที่ใกล้) มีปริยายศัพท์คือ อทฺธา (ทาง) เป็นต้น ตามลำดับ ดังนี้
[๑๘๑] วสุนฺธรา ฉมา ภูมิ ปถวี เมทนี มหี
อุพฺพี วสุมตี โค กุ วสุธา ธรณี ธรา
ปุถวี ชคตี ภูรี ภู จ ภูตธราวนี.
แผ่นดิน, พื้นที่ ๑๙ ศัพท์
วสุนฺธรา (วสุสทฺทูปปท+ธร ธารเณ+อ+อา) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
วสูนิ รตนานิ ธารยตีติ วสุนฺธรา แผ่นดินที่ทรงรัตนะทั้งหลายไว้ ชื่อว่าวสุนธรา (ซ้อน นฺ, ลบสระหน้า). สํวฏฺเฏยฺย ภูตธรา วสุนฺธรา๑ ผืนแผ่นดินจะพึงม้วนไปก็ตาม
ฉมา (ขมุ สหเน+อ+อา) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
สตฺตานํ ฐิตํ ขมติ สหตีติ ฉมา ผืนแผ่นดินที่ทนต่อการเหยียบย่ำของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าฉมา (อาเทศ ข เป็น ฉ, ลบสระหน้า). สตฺตานํ อโธปตนํ ฉินฺทตีติ ฉมา พื้นดินที่กั้นการตกลงไปของสัตว์ ชื่อว่าฉมา (ฉิ เฉทเน+ม+อา. อาเทศ อิ เป็น อ, ลบสระหน้า). ฉมนฺติ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ ฉมา พื้นที่ที่สัตว์ย่ำไป ชื่อว่า ฉมา (ฉม คติยํ +อ+อา, ลบสระหน้า). ยสฺส มูลํ ฉมา นตฺถิ ปณฺณา นตฺถิ กุโต ลตา๒ พระอริยบุคคลใด ไม่มีรากคืออวิชชา ไม่มีผืนดินคืออาสวะ ไม่มีเถาคือมานะ ใบคือความมัวเมาจักมีแต่ไหน
ภูมิ (ภู สตฺตายํ+มิ) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, ภูมิ.
ภวนฺตฺยสฺสํ ภูตานีติ ภูมิ แผ่นดินที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ ชื่อว่าภูมิ. ภูมิ อุทเกน ปริปฺโผเสตฺวา สมฺมชฺชิตพฺพา มา วิหาโร รเชน อูหญฺญิ๓ ควรพรมพื้นดินด้วยน้ำแล้วจึงเก็บกวาด วิหารจะได้ไม่เปื้อนฝุ่น
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๒๒๕๖/๓๖๐ ๒ ขุ.อุทาน. ๒๕/๑๕๒/๒๐๑ ๓ วิ.มหา. ๔/๘๒/๙๕
๒๔๒
ปถวี (ป+ถว คติยํ+อ+อี) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, ปฐพี.
ปถวติ เอตฺถาติ ปถวี แผ่นดินเป็นสถานที่ที่เที่ยวไปของสัตว์ ชื่อว่าปถวี (ลบสระหน้า). สพฺพตฺถ ปตฺถรตีติ ปถวี แผ่นดินที่แผ่ออกไปทุกที่ ชื่อว่าปถวี (ป+ถร ปตฺถรเณ+อ+อี, อาเทศ ร เป็น ว, ลบสระหน้า). สหชาตรูปานิ ปถนฺติ ปติฏฺฐนฺติ เอตฺถาติ ปถวี แผ่นดินเป็นสถานที่ที่มีสิ่งเกิดขึ้นคล้ายกัน ชื่อว่าปถวี (ปถ ปติฏฺ€ายํ +อว+อี). ปถติ คจฺฉติ เอตฺถาติ ปถวี แผ่นดินเป็นสถานที่ให้สัตว์ย่ำไป ชื่อว่าปถวี (ปถ คติยํ+อว+อี, ลบสระหน้า). ปถวิยญฺจ นิพฺพตฺตานิ ภูตานิ๑ ภูตทั้งหลายเกิดบนแผ่นดิน
เมทนี (เมท+อินี) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, เมทนี.
วจนโต เมทโยคา เมทนี เพราะกล่าวกันว่าแผ่นดินมีน้ำมัน จึงชื่อว่าเมทนี (ลบสระหน้า). มิทติ สเนหติ เอตฺถาติ เมทนี แผ่นดินเป็นสถานที่ที่สัตว์หวงแหน จึงชื่อว่าเมทนี (มิท เสฺนหเน+ยุ+อี, วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า). หตฺถินาเค ปทินฺนมฺหิ เมทนี สมกมฺปถ๒ เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานพญาช้างตัวประเสริฐ แผ่นดินก็ไหว
มหี (มห ปูชายํ+อ+อี) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
มหียเตติ มหี แผ่นดินที่คนบูชา ชื่อว่า มหี (ลบสระหน้า). ปพฺพตา สมนาทึสุ มหี อากมฺปิตา อหุ๓ ภูเขาสะเทือนเลื่อนลั่น แผ่นดินก็สั่นไหว
อุพฺพิ (อว รกฺขเณ+อิ) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
วิตฺถิณฺณตฺตา อุพฺพิ เพราะแผ่นดินเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ จึงชื่อว่าอุพพิ. ภูตานิ อวติ รกฺขตีติ วา อุพฺพิ หรือแผ่นดินที่รักษาภูตทั้งหลายไว้ ชื่อว่าอุพพิ (อาเทศ อ เป็น อุ, ซ้อน ว, อาเทศ วฺว เป็น พฺพ, ลบสระหน้า)
วสุมตี (วสุ+มนฺตุ+อี) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
วสูนิ สนฺติ อสฺสนฺติ วสุมตี แผ่นดินเป็นแหล่งที่มีรัตนะทั้งหลาย จึงชื่อว่าวสุมตี (อาเทศ นฺตุ เป็น ต, ลบสระหน้า). ปญฺญา เม วสุมตีปิ น สเมยฺย๔ ปัญญาของเรา แม้แผ่นดินก็ไม่กว้างเท่า
โค (คมุ คติมฺหิ+อ) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
โลกา คจฺฉนฺติ อสฺสนฺติ โค แผ่นดินเป็นสถานที่ที่สัตว์โลกท่องเที่ยวไป ชื่อว่าโค (อาเทศ คมุ ธาตุเป็น โค, ลบสระหลัง). โค วุจฺจติ ปฐวี๕ แผ่นดินท่านก็เรียกว่า โค
กุ (กา สทฺเท+อุ) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
กายติ มารวิชยกาเลติ กุ แผ่นดินที่ส่งเสียงในเวลาที่พระมหาบุรุษทรงชนะมาร ชื่อว่ากุ (ลบสระหน้า). กายติ เอตฺถาติ วา กุ หรือแผ่นดิน เป็นที่ที่สัตว์ส่งเสียง ชื่อว่ากุ. กุ วุจฺจติ ปฐวี๖ แผ่นดินท่านเรียกว่ากุ
๑ ขุ.อฏฺ. ๒๙/๘ ๒ ขุ.ชา ๒๘/๑๐๕๖/๓๖๗ ๓ ขุ.ชา. ๒๘/๑๒๕๖/๔๔๗
๔ ขุ.อฏฺ. ๓๓/๙๘๐/๓๖๗ ๕ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๖๒๘/๓๖๗ ๖ ขุ.อฏฺ. ๕๐/๑๒๑๓/๑๙๑
๒๔๓
วสุธา (วสุสทฺทูปปท+ธา ธารเณ+กฺวิ) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, ผืนดิน, พสุธา.
วสูนิ ธารยตีติ วสุธา แผ่นดินที่ทรงรัตนะทั้งปวงไว้ ชื่อว่าวสุธา (ลบ กฺวิ). ฉปฺปการมกมฺปิตฺถ เกวลา วสุธา อยํ ๑ แผ่นดินทั้งหมดนี้ไหวด้วยเหตุ ๖ ประการ
ธรณี (ธร ธารเณ+ยุ+อี) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, ธรณี.
สพฺพโลกํ ธาเรตีติ ธรณี แผ่นดินที่รองรับสัตว์โลกทั้งปวง ชื่อว่าธรณี (อาเทศ ยุ เป็น อน, น เป็น ณ). ทสสหสฺสี โลกธาตุ กมฺปติ ธรณี ตทา๒ เวลานั้น แผ่นดินหนึ่งหมื่นโลกธาตุย่อมสั่นไหว
ธรา (ธร ธารเณ+อ+อา) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
ธรตีติ ธรา แผ่นดินที่ทรงไว้ ชื่อว่าธรา (ลบสระ หน้า). ยถา ธรา ถาวรชงฺคมานํ ปติฏฺฐา๓ เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งอยู่ของถาวรวัตถุและสัตว์ทั้งหลาย
ปุถวี (ปุถ วิตฺถาเร+อว+อี) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, ปฐวี.
ปุถติ วิตฺถาเรตีติ ปุถวี แผ่นดินที่กว้างใหญ่ ชื่อว่าปุถวี (ลบสระหน้า). ปุถวิยา นิปฺปนฺนสฺส๔ ผู้นอนบนแผ่นดิน
ชคตี (คมุ คมเน+ต+อี) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, ลานดิน.
คจฺฉนฺติ อสฺสนฺติ ชคตี แผ่นดินเป็นที่ไปของสัตว์ ชื่อว่าชคตี (ซ้อน ค, อาเทศ ค ตัวหน้าเป็น ช, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ, ลบสระหน้า). ชคตี การิตา มยฺหํ พุทฺธสฺส ถูปมุตฺตเม๕ เราให้สร้างลานดินไว้ที่บริเวณพระสถูปอันประเสริฐสุดของพระพุทธเจ้า
ภูริ, ภูรี (ภู สตฺตายํ+ริ) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, ภูรี.
ภวตีติ ภูรี แผ่นดินที่มีอยู่ ชื่อว่า ภูรี (ทีฆะ อิ เป็น อี บ้าง). ภูรี วุจฺจติ ปฐวี๖ แผ่นดิน ท่านเรียกว่าภูรี
ภู (ภู สตฺตายํ+กฺวิ) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่, ภู.
ภวตีตี ภู แผ่นดินที่มีอยู่ ชื่อว่าภู
ภูตธรา (ภูตสทฺทูปปท+ธร ธารเณ+อ+อา) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
ภูเต สตฺเต ธรตีติ ภูตธรา แผ่นดินที่ทรงสัตว์ทั้งหลายไว้ ชื่อว่าภูตธรา (ลบสระหน้า). สํวฏฺเฏยฺย ภูตธรา วสุนฺธรา๗ ผืนแผ่นดินจะพึงม้วนไปก็ตาม
อวนี (อว รกฺขเณ+ยุ+อี) แผ่นดิน, ผืนดิน, พื้นที่.
อตฺเถ อวติ รกฺขตีติ อวนี แผ่นดิน ที่รักษาประโยชน์ทั้งหลายไว้ ชื่อว่าอวนี (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า)
[๑๘๒] ขารา ตุ มตฺติกา อูโส อูสวา ตูสโร ติสุ
ถลํ ถลีตฺถี ภูภาเค ถทฺธลูขมฺหิ ชงฺคโล.
๑ ขุ.อปทาน. ๓๓/๖๐/๘๕ ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑/๔๑๔ ๓ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๒๖๘/๑๗๖
๔ ขุ.อฏฺ. ๕๑/๕๘/๑๓๘ ๕ ขุ.อปทาน. ๓๒/๒๔๑/๓๓๒ ๖ ขุ.มหานิ. ๒๙/๑๓๒/๑๑๓
๗ ขุ.ชา. ๒๗/๒๑๙๒/๔๕๑
๒๔๔
ดินเค็ม, เกลือ, ดินโป่ง ๒ ศัพท์
ขาร (ขาท ภกฺขเน+อ) ดินเค็ม, เกลือ, ดินโป่ง.
ขารา ลวณรสา มตฺติกา อูโสตฺยุจฺจนฺเต ดินที่มีรสเค็มท่านเรียกว่าอูสะ. ขาทตีติ ขาโร ดินที่สัตว์เคี้ยวกิน ชื่อว่าขาระ (อาเทศ ท เป็น ร). ขารญฺจ ปฏิจฺจ โคมยญฺจ ปฏิจฺจ อุทกญฺจ ปฏิจฺจ๑ อาศัยดินเค็ม โคมัยและน้ำ
อูส (อูส รุชายํ+อ) ดินเค็ม, เกลือ, ดินโป่ง.
อูสติ รุชติ เอเตนาติ อูโส ดินเค็มทำให้ร่างกายแสบ ชื่อว่าอูสะ. อูสญฺจ ปฏิจฺจ ขารญฺจ ปฏิจฺจ๒ อาศัยดินเค็มแล้ว. ตีสุ ขารศัพท์ และอูสศัพท์มีใช้ในลิงค์ทั้ง ๓
ผืนดินเค็ม ๒ ศัพท์
อูสวนฺตุ (อูส+วนฺตุ) ผืนดินเค็ม.
อูโส ภวติ เอตฺถาติ อูสวา ผืนดินที่มีดินเค็ม ชื่อว่า อูสวันตุ (รูปสำเร็จ อาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา)
อูสร (อูส+ร) ผืนดินเค็ม.
อูสมตฺติกาโยคา อูสโร เพราะเป็นพื้นที่ที่มีดินเค็ม จึงชื่อว่าอูสระ. อูสรญฺจ โหติ๓ และมีดินเค็ม. ตีสุ อูสวนฺตุศัพท์ และ อูสรศัพท์มีใช้ในลิงค์ทั้ง ๓
พื้นที่ดอน, ที่บก ๒ ศัพท์
ถล (ถล ฐาเน+อ) พื้นที่ดอน, ที่บก.
ถลนฺติ ติฏฺฐนฺติ เอตฺถาติ ถลํ พื้นที่ดอนที่สัตว์พากันยืนอยู่ ชื่อว่าถละ. ติฏฺฐติ เอตฺถาติ ถลํ พื้นที่ดอนเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ ชื่อว่าถละ (ฐา คตินิวตฺติมฺหิ+อล, อาเทศ ฐ เป็น ถ, ลบสระหน้า). ถลํ นินฺนญฺจ ปูเรติ๔ ทำให้พื้นที่ดอน และพื้นที่ลุ่มเต็ม
ถลี (ถล นิปฺผตฺติยํ+อ+อี) พื้นที่ดอน, ที่บก.
ตถาเยว ถลตีติ ถลี พื้นที่ที่สำเร็จเป็นที่ดอนอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าถลี (ลบสระหน้า). อิตฺถี ถลีศัพท์เป็นอิตถีลิงค์
พื้นที่ที่ขรุขระ, ผืนดินที่แห้งแล้ง
ชงฺคล (ชลสทฺทูปปท+คล จวนาโธปตนาทเนสุ+อ) พื้นที่ที่ขรุขระ, ผืนดินที่แห้งแล้ง.
ถทฺธลูขมฺหิ ภูภาเค ภูมิปฺปเทเส ชงฺคลสทฺโท วตฺตติ ชงฺคลศัพท์เป็นภูมิประเทศที่ขรุขระ. ชลํ คลติ เอตฺถ, ชเลน วา คลนฺติ เอตฺถาติ ชงฺคโล, นิชฺชโล พื้นที่ที่ถูกน้ำชะหน้าดินไปหมด ชื่อว่าชังคละ ได้แก่ พื้นที่แล้งน้ำ (ลบ ล, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิต เป็น งฺ). เอกํ เขตฺตํ หีนํ ชงฺคลํ ๕ นาแปลงหนึ่งไม่ดีแล้งน้ำ
๑ องฺ.ติก. ๒๐/๕๑๐/๒๖๗ ๒ องฺ.ติก. ๒๐/๕๐๑/๒๖๗ ๓ องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒๔/๒๔๑
๔ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๓๑/๓๖ ๕ สำ.สฬา. ๑๘/๖๐๓/๓๘๘
๒๔๕
[๑๘๓] ปุพฺพวิเทโห จาปร- โคยานํ ชมฺพุทีโป จ
อุตฺตรกุรุ เจติ สิยุํ จตฺตาโรเม มหาทีปา.
ทวีปใหญ่ ๔ ทวีป
ปุพฺพวิเทห (ปุพฺพ+วิเทห) ทวีปปุพพวิเทหะ.
เวเทน ปญฺญาย อีหนฺติ เอตฺถาติ เวเทโห ทวีปที่ผู้คนเป็นอยู่ด้วยปัญญา ชื่อว่าเวเทหะ (เวทสทฺทูปปท+อีห ปวตฺติยํ+อ, ลบสระหน้า, วิการ อี ของ อีหธาตุ เป็น เอ). โส เอว วิเทโห ทวีปเวเทหะนั่นแหละ ชื่อว่าวิเทหะ (อาเทศ เอ เป็น อิ). อิมํ ทีปมุปาทาย สิเนรุโน ปุพฺพทิสาภาคตฺตา ปุพฺโพ จ โส วิเทโห เจติ ปุพฺพวิเทโห ทวีปวิเทหะอยู่ด้านหน้าเพราะเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ จึงได้ชื่อว่าปุพพวิเทหะ. ตาวตึสภุวนํ ทสสหสฺสโยชนํ, ตถา อสุรภุวนํ อวีจิมหานิรโย ชมฺพุทีโป จ, อปรโคยานํ สตฺตสหสฺสโยชนํ, ตถา ปุพฺพวิเทโห, อุตฺตรกุรุ อฏฺฐสหสฺสโยชโน. เอกเมโก เจตฺถ มหาทีโป ปญฺจสตปญฺจสตปริตฺตทีปปริวาโร๑ วิมานชั้นดาวดึงส์ วิมานอสูร อเวจีมหานรกและชมพูทวีป กว้าง ๑ หมื่นโยชน์เหมือนกัน, อปรโคยานทวีปและปุพพวิเทหทวีปกว้าง ๗ พันโยชน์, อุตตรกุรุทวีป กว้าง ๘ พันโยชน์, ในจำนวนนั้น มหาทวีปหนึ่งๆ มีทวีปบริวารล้อมรอบ ๕๐๐ ทวีป
อปรโคยาน (อปร+โคยาน) ทวีปอปรโคยานะ.
คเวน ยนฺติ เอตฺถาติ โคยาโน ทวีปที่ชาวทวีปใช้โคเป็นพาหนะ ชื่อว่าโคยานะ (โคสทฺทูปปท+ยา คมเน+ยุ, อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหลัง). อปโร จ โส โคยาโน จาติ อปรโคยาโน ทวีปโคยานะนั้นอยู่ด้านตะวันตกของภูเขาสิเนรุ จึงชื่อว่าอปรโคยานะ. เตสํ มม สิสฺสานํ อนฺตเร อญฺเญ เอกจฺเจ โคยานํ อปรโคยานํ ทีปํ คจฺฉนฺติ๒ ในจำนวนศิษย์ของเราเหล่านั้น ศิษย์บางพวกพากันไปอปรโคยานทวีป
ชมฺพุทีป (ชมฺพู+ทีป) ชมพูทวีป.
ชมฺพุยา ลกฺขิโต กปฺปฏฺฐายิตาทิปฺปภาเวน วา ตปฺปธาโน ทีโปติ ชมฺพุทีโป ทวีปที่มีต้นหว้าเป็นสัญลักษณ์ หรือทวีปที่มีต้นหว้านั้นเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นต้นไม้ที่ตั้งอยู่ตลอดกัป จึงชื่อว่าชัมพุทีปะ. ชมพูทวีปนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ. อุรุเวลกสฺสปํ ชฏิลํ อุยฺโยเชตฺวา ยาย ชมฺพุยา ชมฺพุทีโป ปญฺญายติ ตโต ผลํ คเหตฺวา ปฐมตรํ อาคนฺตฺวา อคฺยาคาเร นิสีทติ๓ พระผู้มีพระภาคทรงส่งอุรุเวลกัสสปชฎิลไปแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บเอาผลหว้าประจำชมพูทวีป แล้วเสด็จกลับมาประทับนั่งอยู่ในเรือนบูชาไฟก่อน
๑ ขุ.อฏฺ. ๒๙/๕๕๐/๒๖๙ ๒ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๑๘๖/๒๖๖ ๓ วิ.มหา. ๔/๔๕/๕๕
๒๔๖
อุตฺตรกุรุ (อุตฺตร+กุรุ) ทวีปอุตตรกุรุ.
ธมฺมตาสิทฺธสฺส ปญฺจสีลสฺส อานุภาเวน กํ สุขํ อุรุ มหนฺตเมตฺถาติ กุรุ ทวีปที่มีความสุขอันประเสริฐ เพราะอานุภาพของศีล ๕ ที่สำเร็จได้เอง ตามธรรมดา ชื่อว่ากุรุ (ก+อุรุ). กุํ ปาปํ รุนฺธนฺติ เอตฺถาติ วา กุรุ หรือทวีปที่เป็นสถานที่ที่ผู้คนปิดกั้นบาปไว้ ชื่อว่ากุรุ (กุ+รุธ อวทารเณ+อ, ลบ ธฺ ที่สุดธาตุ). อุตฺตโร อุตฺตโม กุรุ อุตฺตรกุรุ ทวีปกุรุอยู่ด้านทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ ชื่อว่าอุตตรกุรุ. เอกจฺเจ อุตฺตรกุรุํ ทีปํ คจฺฉนฺติ๑ ศิษย์บางพวกพากันไปทวีปอุตตรกุรุ
จกฺกวาฬสมํ กายํ สีสํ อุตฺตรโต กุรุ
อุโภ ปกฺขา ทุเว ทีปา ชมฺพูทีปํ สรีรโต.๒
แสดงกายให้เท่ากับจักรวาล แสดงศีรษะให้เท่ากับทวีปอุตตรกุรุ แสดงแขนสองข้างให้เท่ากับทวีปทั้งสอง (คือปุพพวิเทหะและอปรโคยานะ) แสดง สรีระให้เท่ากับชมพูทวีป
มหาทีป (มหนฺต+ทีป ทิตฺติปฺปกาสเนสุ+อ) ทวีปใหญ่.
ชลมชฺเฌ ทิปฺปนฺตีติ ทีปา สถานที่ที่รุ่งเรืองอยู่ท่ามกลางน้ำ ชื่อว่าทีปะ. ทิปฺปนหฺติ เอตฺถ สทฺธมฺมาติ วา ทีปา หรือสถานที่ที่มีพระสัทธรรมรุ่งเรือง ชื่อว่าทีปะ. ปมาณโต มหนฺตา ทีปา มหาทีปา ทวีปที่กว้างใหญ่เป็นประมาณ ชื่อว่ามหาทีปะ (อาเทศ มหนฺต เป็น มหา)
[๑๘๔] ปุมฺพหุตฺเต กุรู สกฺกา โกสลา มคธา สิวี
กลิงฺคาวนฺติ ปญฺจาลา วชฺชี คนฺธาร เจตโย.
[๑๘๕] วงฺคา วิเทหา กมฺโพชา มทฺทา ภคฺคงฺคสีหฬา
กสฺมีรา กาสิ ปณฺฑวาที สิยุํ ชนปทนฺตรา.
แคว้น ๒๑ แคว้น
แคว้นทั้ง ๒๑ ต่อไปนี้ มีความเจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงปรากฏเป็นที่รู้จักกันมาก, ชื่อแคว้นทั้ง ๒๑ นี้ มีรูปบาลีเป็นปุงลิงค์พหูพจน์เสมอ
กุรุ (กุ+รุธ รุนฺธเน+กฺวิ) แคว้นกุรุ.
กุรุ นาม ชานปทิโน ราชกุมารา มีพระราชกุมาร เมืองชนบทหลายองค์ พระนามว่ากุรุ. เตสํ นิวาโส เอโกปิ ชนปโท รุฬฺหีสทฺเทน "กุรู"ติ พหุวจเนน วุจฺจติ ท่านเรียกชนบทเป็นที่ประทับแห่งเดียวกันของพระราชกุมารเหล่านั้น ด้วยการกำหนดคำเป็นพหูพจน์ว่า "กุรู". กุํ ปาปํ รุนฺธนฺตีติ กุรู, ขตฺติยกุมารา ขัตติยกุมาร ผู้ทรงปิดกั้นบาปไว้ ชื่อว่ากุรุ. เตสํ นิวาโส กุรู แคว้นเป็นที่ประทับของขัตติยกุมารเหล่านั้น ชื่อว่ากุรุ. กุํ ปาปํ รุนฺธติ เอเตสูติ กุรู แคว้นเป็นสถานที่ปิดกั้นบาป ชื่อว่ากุรุ (ลบ ธฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิปัจจัย)
๑ ขุ.อฏฺ. ๔๙/๑๘๖/๒๖๖ ๒ ขุ.อปทาน. ๓๓/๑๖๘/๓๕๙
๒๔๗
สกฺก (สก สตฺติยํ+อ) แคว้นสักกะ.
อริวิชยโลกมริยาทาติกฺกมาทีสุ สกฺโกนฺตีติ สกฺกา แคว้นที่พระราชาทรงสามารถข้ามสิ่งกีดขวางในโลกแล้วรบชนะข้าศึกได้ ชื่อว่าสักกะ (ซ้อน กฺ)
โกสล (โกสสทฺทูปปท+ลา อุปาทาเน+อ) แคว้นโกศล.
โกสํ ลนฺติ คณฺหนฺติ เอเตสูติ โกสลา แคว้นที่ผู้คนถือครองยุ้งข้าว ชื่อว่าโกสละ (ลบสระหน้า). กุสลํ ปุจฺฉนฺตีติ วา โกสลา หรือชาวแคว้นที่ถามถึงบุญกุศล ชื่อว่าโกสละ (กุสล ปุจฺฉายํ+อ, วุทธิ อุ เป็น โอ). ชนปเทหิ สงฺคตาติ องฺคา จ มคธา จ กาสิยา จ โกสลา จ วชฺชิยา จ มลฺลา จ เจติยมฺหา จ สาครมฺหา จ ปญฺจาลา จ อวนฺติยา จ โยนกา จ กมฺโพชา จ๑ ประชาชนจากหลายแคว้นไปรวมกันคือ จากแคว้นอังคะ มคธ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจตี สาคระ ปัญจาละ อวันตี โยนก และแคว้นกัมโพชะ
มคธ (มคสทฺทูปปท+ธาว คติสุทฺธิยํ+กฺวิ) แคว้นมคธ.
มเคน สทฺธึ ธาวนฺตีติ มคธา ชาวแคว้นที่กระตือรือร้นในการทำมาหากิน ชื่อว่ามคธะ (ลบ วฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ ปัจจัย, รัสสะ อา เป็น อ). มเคสุ มํเสสุ คิชฺฌนฺตีติ วา มคธา หรือชาวแคว้นผู้มักมากในเนื้อ (ชอบกินเนื้อ) จึงชื่อว่ามคธะ (มคสทฺทูปปท+คิธ อภิกงฺขายํ+อ, ลบ คิ ต้นธาตุ). สมฺปนฺนสสฺสา มคธา เกวลา อิติ เม สุตํ ๒ เราได้ยินว่า แคว้นมคธล้วนมีข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์
สิวิ (สิ เสวายํ+วิ) แคว้นสิวิ.
เสวนฺติ อเนนาติ สิวิ แคว้นเป็นที่อาศัยให้บุคคลคบหากัน ชื่อว่าสิวิ. สิวํ กโรนฺตีติ วา สิวี หรือแคว้นที่ผู้คนทำความดี ชื่อว่าสิวิ (สิว+อิ, ลบสระหน้า)
กลิงฺค (กลิงฺค+ณ) แคว้นกลิงคะ.
กลิงฺคราชกุมารานํ นิวาโส กลิงฺคา แคว้นเป็นที่ประทับของกลิงคราชกุมาร ชื่อว่ากลิงคะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). กลึ มธุรสทฺทํ คายนฺตีติ วา กลิงฺคา แคว้นที่ชาวเมืองพูดจาไพเราะ จึงชื่อว่ากลิงคะ (กลิสทฺทูปปท+คา สทฺเท+อ, ลบสระหน้า, ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ). กลึ คณฺหนฺตีติ วา กลิงฺคา หรือแคว้นที่ชาวเมืองได้รับเคราะห์ร้าย ชื่อว่ากลิงคะ (กลิสทฺทูปปท+คห อุปาทาเน+อ, ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น งฺ, ลบ หฺ ที่สุดธาตุ). เกน สุเขน ลิงฺคนฺตีติ วา กลิงฺคา หรือแคว้นที่ชาวเมืองเป็นอยู่อย่างมีความสุข ชื่อว่ากลิงคะ (กสทฺทูปปท +ลิงฺค คมเน+อ). จิณฺณา กลิงฺคา จริตา วณิชฺชา๓ พ่อค้าชาวแคว้นกลิงคะเที่ยวค้าขายกันเป็นประจำ
๑ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๔๑๙/๒๐๐ ๒ ขุ.เถร. ๒๖/๓๐๑/๓๐๑ ๓ ขุ.ชา. ๒๗/๑๓๑๖/๒๖๙
๒๔๘
อวนฺติ (น+วมุ อุคฺคิรเณ+ติ) แคว้นอวันตี.
อตฺตนา ขาทิตํ ลญฺชํ ปราชิเตหิ ยาจิเตปิ ปุน น วมนฺตีติ อวนฺตี แคว้นที่ชาวเมืองไม่ยอมคืนสินบนที่ตนใช้สอยแล้ว แม้ผู้แพ้คดีจะขอคืนก็ตาม ชื่อว่าอวันติ (อาเทศ น เป็น อ, มฺ เป็น นฺ). อวนฺติยา โขหํ คหปติ อาคจฺฉามิ๑ ท่านคฤหบดี เรามาจากแคว้นอวันตี
ปญฺจาล (ปญฺจ+อล) แคว้นปัญจาละ.
ปญฺจนฺนํ ราชูนํ อลนฺติ ปญฺจาลา แคว้นที่เพียงพอสำหรับพระราชา ๕ พระองค์ ชื่อว่าปัญจาละ (ลบสระหน้า, ทีฆะสระหลัง). ปญฺจาลสฺส ปุตฺตา ปญฺจาลา พระโอรสของพระเจ้าปัญจาละ พระนามว่าปัญจาละ (ด้วย). อุโภ ชาเตตฺถ ปญฺจาลา สหายา สุสมาวยา๒ ปัญจาลกุมารทั้ง ๒ องค์ เกิดในกรุงปัญจาละพร้อมกันมีวัยเสมอกันจึงเป็นสหายกัน
วชฺชี (วชฺช วชฺชเน+อี) แคว้นวัชชี.
วชฺเชตพฺพาติ วชฺชี แคว้นที่บุคคลควรหลีกเว้น ชื่อว่าวัชชี. "วชฺเชตพฺพา อิเม"ตฺยาทินา ปวตฺตวจนมุปาทาย วชฺชีติ ลทฺธนามา ราชาโน พระราชาทั้งหลายทรงได้พระนามว่าวัชชี เพราะถือตามคำกล่าวที่ว่า "พระราชาเหล่านี้ บุคคลควรเว้นให้ห่าง" เป็นต้น. วชฺชีรฏฺฐสฺส วา ราชาโน วชฺชี หรือพระราชาแห่งแคว้นวัชชี ชื่อว่าวัชชี (ตั้งชื่อแคว้นตามพระเจ้าวัชชี). เตน โข ปน สมเยน วชฺชี ทุพฺภิกฺขา โหติ๓ ครั้งนั้น แคว้นวัชชีเกิดทุพภิกขภัย
คนฺธาร (คสทฺทูปปท+ธร ธารเณ+ณ) แคว้นคันธาระ.
คํ ปถวึ ธาเรนฺตีติ คนฺธารา แคว้นที่ทรงแผ่นดินไว้ (มีพื้นที่กว้างใหญ่) ชื่อว่าคันธาระ (ไม่ลบทุติยาวิภัตติ, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). กิตฺติคนฺเธน อรนฺตีติ วา คนฺธารา หรือแคว้นที่มีกลิ่นคือชื่อเสียงขจรไป ชื่อว่าคันธาระ (คนฺธสทฺทูปปท+อร คติยํ+อ, ลบสระหน้า, ทีฆะ อ หลังเป็น อา). โย อิเมสํ โสฬสนฺนํ มหาชนปทานํ ปหูตสตฺตรตนานํ อิสฺสราธิปจฺจํ รชฺชํ กาเรยฺย เสยฺยถีทํ องฺคานํ มคธานํ กาสีนํ โกสลานํ วชฺชีนํ มลฺลานํ เจตีนํ วํสานํ กุรูนํ ปญฺจาลานํ มจฺฉานํ สุรเสนานํ อสฺสกานํ อวนฺตีนํ คนฺธารานํ กมฺโพชานํ อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตสฺส อุโปสถสฺส เอตํ กลํ นาคฺฆติ โสฬสึ ๔ บุคคลจะพึงให้เขาอภิเษกเป็นพระราชาผู้อิสสราธิบดีแห่งแคว้นใหญ่ทั้ง ๑๖ เหล่านี้ คือ อังคะ มคธ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ ที่เพรียบพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
เจติ (จิต อุสฺสาหเน+อิ) แคว้นเจตี.
เจนฺติ อุสฺสหนฺติ ยุทฺธกมฺมาทีสูติ เจตโย แคว้นที่ผู้คนมีความพยายามในการทำสงครามเป็นต้น ชื่อว่าเจติ (วุทธิ อิ เป็น เอ)
วงฺค (วงฺค คมเน+อ) แคว้นวังคะ.
วงฺคนฺติ คจฺฉนฺตีติ วงฺคา แคว้นที่ผู้คนพอเป็นไปได้ ชื่อว่า วังคะ (แคว้นที่ไม่มั่งคั่งและไม่แร้นแค้น)
๑ สำ.สฬา. ๑๘/๕๕๑/๓๕๕ ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๒๓๘๐/๕๑๐ ๓ วิ.มหาวิ. ๑/๑๕/๒๖
๔ องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๓๕/๒๖๖
๒๔๙
วิเทห (วิ+เทห) แคว้นวิเทหะ.
วิสิฏฺฐานิ เทหานิ เยสํ เต วิเทหา แคว้นที่ผู้คนมีรูปร่างหน้าตาดี ชื่อว่าวิเทหะ. ปุพฺพวิเทหทีปโต อาคตตฺตา วา วิเทหา หรือเพราะเป็นแคว้นที่ชาวเมือง อพยพมาจากปุพพวิเทหทวีป จึงชื่อว่าวิเทหะ. มา วิเทหํ ปจฺจาคมา๑ อย่ากลับไปแคว้นวิเทหะอีกเลย
กมฺโพช (กมฺพุสทฺทูปปท+โอช ทิตฺติยํ+อ) แคว้นกัมโพชะ.
กมฺพุนา สมฺพุเกน โอชนฺติ อสฺสํ โวหารกรณโตติ กมฺโพชา เพราะเป็นแคว้นที่มีชื่อเสียงด้านสังข์ทองคำ จึงได้รับการขนานนามว่ากัมโพชะ. กมฺพุกโช โอโช พลเมเตสนฺติ วา กมฺโพชา หรือแคว้นที่มีขุมทองคำเป็นกำลัง ชื่อว่ากัมโพชะ (กมฺพุ+โอช, ลบสระหน้า)
มทฺท (มท มทฺทเน+ย) แคว้นมัททะ.
มทฺทนฺตีติ มทฺทา แคว้นที่ถูกย่ำยี ชื่อว่ามัททะ. (ย เป็น ท) มํ สิวํ ททนฺตีติ วา มทฺทา หรือแคว้นที่ให้สิริมงคล ชื่อว่ามัททะ (มสทฺทูปปท+ทา ทาเน+อ, ซ้อน ทฺ, ลบสระหน้า). ปญฺจกามคุณาทีหิ โมทนฺตีติ วา มทฺทา หรือแคว้นที่ชาวเมืองหลงระเริงอยู่ในกามคุณ ๕ เป็นต้น ชื่อว่ามัททะ (มท โมทเน+อ, ซ้อน ทฺ)
ภคฺค (ภญฺช อวมทฺทเน+อ) แคว้นภัคคะ.
ภญฺชิตพฺพาติ ภคฺคา แคว้นที่ถูกทำลาย ชื่อว่าภัคคะ (อาเทศ ญฺชฺ เป็น ค, ซ้อน คฺ). อถ โข ภควา เวสาลิยํ ยถาภิรมนฺตํ วิหริตฺวา เยน ภคฺคา เตน จาริกํ ปกกามิ ๒ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในเมืองเวสาลีพอสมควรแล้ว จึงเสด็จจาริกไปทางแคว้นภัคคะ
องฺค (องฺค คมเน+อ) แคว้นอังคะ.
องฺคนฺติ คจฺฉนฺตีติ องฺคา แคว้นที่เป็นไปตามปรกติ ชื่อว่าอังคะ
จิณฺณา องฺคา จ มคธา วชฺชี กาสี จ โกสลา
อนณา ปณฺณาสวสฺสานิ รฏฺฐปิณฺฑํ อภุญฺชิหํ.๓
เราเป็นผู้ไม่มีหนี้สิน ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้น คือแคว้นอังคะ มคธ วัชชี กาสี และโกศล อยู่เนืองนิตย์ตลอด ๕๐ ปี
สีหล, สีหฬ (สีหสทฺทูปปท+ลา เฉทเน+อ) แคว้นสีหละ.
สีหํ ลนฺตีติ สีหฬา แคว้นที่ชาวเมืองพากันฆ่าราชสีห์ ชื่อว่าสีหละ หรือ สีหฬะ
กสฺมีร (กาส ทิตฺติยํ+มีร) แคว้นกัสมีระ.
สมฺปตฺติยา กาสนฺตีติ กสฺมีรา แคว้นที่ชาวเมืองรุ่งเรืองด้วยสมบัติ ชื่อว่ากัสมีระ (รัสสะ อา เป็น อ)
กาสิ (กาส ทิตฺติยํ+อิ) แคว้นกาสี.
สมฺปตฺติยา กาสนฺตีติ กาสี แคว้นที่ชาวเมืองรุ่งเรืองด้วยสมบัติ ชื่อว่ากาสิ
ปณฺฑุ (ปฑิ คติยํ+อุ) แคว้นปัณฑุ.
ปกาเรน ปณฺฑนฺติ คจฺฉนฺตีติ ปณฺฑู แคว้นที่ชาวเมืองเที่ยวไปทั่ว ชื่อว่าปัณฑุ (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น ณฺ)
๑ ขุ.ชา. ๒๘/๖๗๔/๒๔๒ ๒ วิ.จุลฺล. ๗/๑๑๙/๔๖ ๓ ขุ.เถรี. ๒๖/๔๔๗/๔๕๗
๒๕๐
[๑๘๖] โลโก จ ภุวนํ วุตฺตํ เทโส ตุ วิสโย ปฺยถ
มิลกฺขเทโส ปจฺจนฺโต มชฺฌเทโส ตุ มชฺฌิโม.
โลก, ภพ ๒ ศัพท์
โลก (ลุช วินาเส+อ) โลก, ภพ.
ลุชฺชตีติ โลโก โลกที่มีความเสื่อม ชื่อว่าโลกะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ชฺ เป็น กฺ). ลุจฺจติ ปลุจฺจติ วินาสํ คจฺฉตีติ โลโก โลกที่กำลังถึงความพินาศ ชื่อว่าโลกะ (ลุจ วินาเส+อ, วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ จฺ เป็น กฺ). ปุญฺญาปุญฺญวิเสสกานิ โลกิยนฺติ ปติฏฺฐหนฺติ เอตฺถาติ โลโก โลกเป็นสถานที่ที่ตั้งอยู่ของความต่างกันแห่งบุญและบาป ชื่อว่าโลกะ (โลก ปติฏฺฐายํ+อ). นสฺสติ วต โภ โลโก วินสฺสติ วต โภ โลโก๑ ท่านผู้เจริญ โลกย่อมพินาศย่อยยับไป
ภุวน (ภู สตฺตายํ+ยุ) โลก, ภพ.
ภวนฺติ เอตฺถาติ ภุวนํ โลกที่มีทุกอย่าง ชื่อว่าภุวนะ (อาเทศ อู เป็น อุว, ยุ เป็น อน)
โลกมีอีกหลายศัพท์ เช่น ชคติ, วิฏฺฐป
ประเทศ, สถานที่ ๒ ศัพท์
เทส (ทิส อติสชฺชเน+ณ) ประเทศ, สถานที่, ท้องถิ่น, ภูมิ.
"อยํ อิตฺถนฺนาโม"ติ ทิสติ อปทิสตีติ เทโส ประเทศที่แสดงให้รู้ว่า "สถานที่แห่งนี้ มีชื่ออย่างนี้" ชื่อว่าเทสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). อยํ กามภูมิ อยํ รูปภูมีติอาทินา นานปฺปการโต ปญฺญายตีติ เทโส สถานที่อันให้รู้โดยประการต่างๆ ว่า สถานที่นี้เป็นกามภูมิ สถานที่นี้เป็นรูปภูมิ เป็นต้น ชื่อว่าเทสะ (ทิส ปกาสเน+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อิ เป็น เอ). เทโส วิจริโต มยา๒ ประเทศที่เราได้เที่ยวไปแล้ว. สเจ โส เทโส อุกฺลาโป โหติ โส เทโส สมฺมชฺชิตพฺโพ๓ ถ้าสถานที่นั้นรก ภิกษุก็ควรเก็บกวาดสถานที่นั้นเสีย
วิสย (วิ+สิ เสวายํ+อ) ประเทศ, สถานที่.
วิสยติ ปวตฺตติ เอตฺถาติ วิสโย สถานที่ที่มีความเป็นไปของสิ่งต่างๆ ชื่อว่าวิสยะ (วุทธิ อิ เป็น เอ, อาเทศ เอ เป็น อย)
๑ วิ.มหา. ๔/๘/๙ ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๒๖๓/๗๖ ๓ วิ.มหา. ๔/๘๑/๘๕
๒๕๑
ปัจจันตประเทศ, ชายแดน ๒ ศัพท์
มิลกฺขเทส (มิลกฺข+เทส) ปัจจันตประเทศ, ชายแดน, มิลักขชนบท.
มิลกฺขนฺติ อพฺยตฺตวาจํ ภาสนฺตีติ มิลกฺขา ประเทศที่ผู้คนกล่าวถ้อยคำไม่ชัดเจน ชื่อว่ามิลักขะ (มิลกฺข อพฺยตฺติยํ วาจายํ+อ). สิฏฺฐาจารมคฺคทสฺสนตฺถาย ปญฺญาจกฺขุโน อภาวา ราคาทิมลํ อกฺขิมฺหิ เยสนฺติ วา มิลกฺขา หรือหมู่ชนที่มีผงธุลีคือราคะเป็นต้นเข้าตา เพราะไม่มีปัญญาจักษุเพื่อเห็น ทางประพฤติอันประเสริฐสุด จึงชื่อว่ามิลักขะ. เตสํ นิวาสฏฺฐานํ มิลกฺขเทโส ถิ่นที่อยู่ของชาวมิลักขะเหล่านั้น ชื่อว่ามิลักขเทสะ
พฺยวตฺถา จตุวณฺณานํ ยสฺมึ เทเส น วิชฺชเต,
มิลกฺขเทโส โส วุตฺโต มชฺฌภูมิ ตโต ปรํ.
ถิ่นฐานที่อยู่ประจำของพวกวัณณะ ๔ ไม่มีอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นท่านเรียกว่า มิลักขเทสะ ประเทศอื่นนอกนั้นท่านเรียกว่ามัชฌิมประเทศ
ปจฺจนฺต (ปจฺจนฺต+ณ) ปัจจันตประเทศ, ชายแดน.
ปจฺจนฺเต มชฺฌิมเทสสฺส พหิทฺธาภาเค ชาโต ปจฺจนฺโต ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นนอกพื้นที่มัชฌิมประเทศ ชื่อว่าปัจจันตะ (ลบ ณฺ และสระหน้า). พาลา อิเม ปจฺจนฺตชนปทา มนุสฺสา กถญฺหิ นาม อโยนิโส สงฺขสทฺทํ คเวสิสฺสนฺติ๑ พวกมนุษย์ชาวปัจจันตชนบทเหล่านี้ช่างโง่จริง ยังไม่ทันพิจารณาก็ออกแสวงหาเสียงของสังข์
มัชฌิมประเทศ, เมืองหลวง ๒ ศัพท์
มชฺฌเทส (มชฺฌ+เทส) มัชฌิมประเทศ, เมืองหลวง.
อริยาจารภูมิตฺตา มชฺโฌ จ โส เทโส จาติ มชฺฌเทโส ประเทศที่อยู่ใจกลาง ชื่อว่ามัชฌเทสะ เพราะเป็นสถานที่ที่จาริกไปของพระอริยเจ้า. นวโยชนสตปริกฺเขโป มชฺฌิมเทโส มัชฌิมประเทศมีพื้นที่ประมาณ ๙๐๐ โยชน์
ทุเว กมฺเม ฐเปตฺวาน มชฺฌเทสุปสมฺปทํ
อพฺภานํ ปญฺจวคฺคิโก สพฺพกมฺเมสุ กมฺมิโก.๒
ยกเว้นกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมประเทศและอัพภานกรรม กรรมที่เหลือทั้งหมด สงฆ์ ๕ รูป กระทำได้
มชฺฌิม (มชฺฌ+อิม) มัชฌิมประเทศ, เมืองหลวง.
มชฺเฌ ติฏฺฐตีติ มชฺฌิโม ประเทศที่ตั้งอยู่ใจกลาง ชื่อว่ามัชฌิมะ (ลบสระหน้า)
๑ ที.มหา. ๑๐/๓๑๕/๓๗๕ ๒ วิ.มหา. ๕/๒๓๗/๓๐๗
๒๕๒
[๑๘๗] อนูโป สลิลปฺปาโย กจฺฉํ ปุมนปุํสเก
สทฺทโล หริเต เทเส ตุเณนาภินเวน หิ.
พื้นที่ที่ชื้นแฉะ, ที่มีน้ำขัง ๓ ศัพท์
อนูป (อนุ+อาป) พื้นที่ที่ชื้นแฉะ, ที่ที่มีน้ำขัง.
อนุคตา อาปา อตฺราติ อนูโป พื้นที่ที่มีน้ำขังเฉอะแฉะ ชื่อว่าอนูปะ (ลบสระ อา, ทีฆะ อุ เป็น อู)
สลิลปฺปาย (สลิล+ปาย) พื้นที่ที่ชื้นแฉะ, ที่ที่มีน้ำขัง.
พหูทโก เทโส สลิลปฺปาโย พื้นที่ที่มีน้ำขังอยู่มาก ชื่อว่าสลิลัปปายะ. ปาโย พหุลํ สลิลํ เอตฺถาติ สลิลปฺปาโย พื้นที่ที่มีน้ำขังอยู่มาก ชื่อว่าสลิลัปปายะ (ซ้อน ปฺ)
กจฺฉ (กจ พนฺธเน+ฉ) พื้นที่ที่ชื้นแฉะ, ที่ที่มีน้ำขัง.
กจิยติ พนฺธิยตีติ กจฺฉํ พื้นที่อันน้ำขังอยู่ ชื่อว่ากัจฉะ. ปุมนปุํสเก กจฺฉศัพท์มีใช้ในปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์
พื้นที่สีเขียว
สทฺทล (สนฺตสทฺทูปปท+ทล ทิตฺติยํ+อ) พื้นที่สีเขียว.
สทฺทโล หริเต เทเส ติเณน อภินเวน สทฺทลศัพท์หมายถึงพื้นที่อันเขียวขจีด้วยหญ้าปกคลุมจำนวนมาก. วิชฺชติ ทโล เอตฺถาติ สทฺทโล พื้นที่ซึ่งมีพืชสีเขียวปกคลุม ชื่อว่าสัททละ (อาเทศ สนฺต เป็น ส, ซ้อน ทฺ). สทฺทลา หริตา ภูมิ๑ ผืนดินเขียวขจี
[๑๘๘] นทฺยมฺพุชีวโน เทโส วุฏฺฐินิปฺปชฺชสสฺสโก
โย นทีมาติโก เทว- มาติโก จ กเมน โส.
พื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยแม่น้ำ
นทีมาติก (นที+มาติก) พื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยแม่น้ำ.
นทฺยมฺพุชีวโน เทโส นทีมาติโก พื้นที่ที่ข้าวกล้างอกงามด้วยน้ำจากแม่น้ำ ชื่อว่านทีมาติกะ. นที มาตา อสฺสาติ นทีมาติโก พื้นที่ที่แม่น้ำเป็นหลัก ชื่อว่านทีมาติกะ. นทิยา อาภเตน อมฺพุนา อุทเกน ชีวนฺติ เอตฺถาติ นทีมาติโก, นทฺยมฺพุชีวโน เทโส พื้นที่ที่พืชเจริญงอกงามได้ด้วยน้ำที่ทดมาจากแม่น้ำ ชื่อว่า นทีมาติกะ ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยน้ำจากแม่น้ำเป็นหลัก
พื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยน้ำฝน
เทวมาติก (เทว+มาติก) พื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยน้ำฝน.
วุฏฺฐินิปฺปชฺชสสฺสโก เทโส เทวมาติโก พื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับผลิตผลจากน้ำฝน ชื่อว่าเทวมาติกะ. เทโว มาตา อสฺสาติ เทวมาติโก พื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ชื่อว่าเทวมาติกะ. วุฏฺฐิยา วสฺเสน นิปฺผชฺชติ สสฺสเมตฺถาติ เทวมาติโก, วุฏฺฐินิปฺปชฺชสสฺสโก เทโส พื้นที่ที่ข้าวกล้าเจริญงอกงามด้วยน้ำฝน ชื่อว่า เทวมาติกะ ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูกที่อาศัยน้ำจากฝนตกเป็นหลัก. ตีสุ อนูปาที อนูปศัพท์ ถึง เทวมาติกศัพท์ใช้ได้ในลิงค์ทั้ง ๓
๑ ขุ.ชา. ๒๘/๑๑๔๙/๔๐๘
๒๕๓
[๑๘๙] ตีสฺวนูปาทฺยโถ จนฺท- สูราโท สสฺสตีริโต
รฏฺฐํ ตุ วิชิตญฺจาถ ปุริเส เสตุ อาลิยํ.
สิ่งที่มีอยู่ตลอดไป
สสฺสติ (สพฺพสทฺทูปปท+สร คติยํ+ติ) สิ่งที่มีอยู่ตลอดไป.
สพฺพทา สรนฺติ คจฺฉนฺตีติ สสฺสติโย สิ่งที่เป็นไปตลอดกาล ชื่อว่าสัสสติ (อาเทศ สพฺพ เป็น ส, ซ้อน สฺ, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ). จนฺทสูราโท สสฺสตีริโต สสฺสตีศัพท์ล่าวถึงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้นที่มีอยู่ ตลอดกาล. จนฺทสุริยสมุทฺทมหาปฐวีปพฺพตา โลกโวหาเรน "สสฺสติโย"ติ วุจฺจติ๑ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ สมุทร แผ่นดินกว้างใหญ่ และภูเขา ท่านเรียกตามโวหารของชาวโลกว่า "สัสสติ"
แว่นแคว้น, รัฐ ๒ ศัพท์
รฏฺฐ (รฐ คติยํ+ต) แว่นแคว้น, รัฐ, บ้านเมือง.
รฐนฺติ เอตฺถ นคราทโยติ รฏฺฐํ พื้นที่สำหรับตั้งบ้านเมืองเป็นต้น ชื่อว่ารัฏฐะ (อาเทศ ฐฺต เป็น ฏฺฐ). ราชาว รฏฺฐํ วิชิตํ ปหาย เอโก จเร มาตงฺครญฺเญว นาโค๒ พึงเที่ยวไปผู้เดียว ดุจพระราชาทรงสละแว่นแคว้น ดุจช้างประเสริฐละโขลงเที่ยวไปในป่า ฉันนั้น
วิชิต (วิ+ชิ ชเย+ต) แว่นแคว้น, รัฐ, บ้านเมือง.
นาคเรหิ วิชินิตพฺพนฺติ วิชิตํ แว่นแคว้นที่ประชาชนควรชนะอย่างเด็จขาด (คือถือประชาชนเป็นใหญ่) ชื่อว่าวิชิตะ. กินฺติ อนาคตา จ อรหนฺโต วิชิตํ อาคจฺเฉยฺยุํ อาคตา จ อรหนฺโต วิชิเต ผาสุํ วิหเรยฺยุํ ๓ อย่างไรหนอ พระอรหันต์ผู้ยังไม่มาจะมาสู่แว่นแคว้น ผู้มาแล้วจะอยู่ในแว่นแคว้นอย่างผาสุก
สะพาน, เขื่อน, คู, คันนา ๒ ศัพท์
เสตุ (สิ พนฺธเน+ตุ) สะพาน, เขื่อน, คู, คันนา.
ปุริเส เสตุ อาลิยํ เสตุศัพท์ในปุงลิงค์ หมายถึงสะพาน เขื่อนและคันนา. อาฬิยํ ปวตฺตมาโน โย เสตุ สะพานที่อยู่ในเขื่อนเป็นต้น ชื่อว่าเสตุ (วุทธิ อิ เป็น เอ). มหาปถมฺหิ วิสเม เสตุ การาปิโต มยา๑ เราให้สร้างสะพานไว้ บนถนนใหญ่ที่ขรุขระ
อาลิ, อาฬิ (อล ภูสเน+ อิ) สะพาน, เขื่อน, คู, คันนา.
อลตีติ อาฬิ สะพานที่ประดับ (ลำคลอง) ชื่อว่าอาฬิ (วุทธิ อ เป็น อา, อาเทศ ลฺ เป็น ฬฺ บ้าง)
๑ มชฺ.อฏฺ. ๗/๑๙/๓๘ ๒ วิ.มหา. ๕/๒๔๗/๓๓๖ ๓ ที.มหา. ๑๐/๖๘/๘๙
๔ ขุ.อปทาน. ๓๒/๒๘๒/๓๖๒
๒๕๔
[๑๙๐] อุปานฺตภู ปริสโร โคฏฺฐํ ตุ โคกุลํ วโช
มคฺโค ปนฺโถ ปโถ อทฺธา อญฺชสํ วฏุมํ ตถา.
[๑๙๑] ปชฺโชยนํ จ ปทวี วตฺตนี ปทฺธติตฺถิยํ
ตพฺเภทา ชงฺฆสกฏ- มคฺคา เต จ มหทฺธนิ.
พื้นที่ที่ติดเมืองและภูเขา
ปริสร (ปริ+สร คติยํ+อ) พื้นที่ที่ติดเมืองและภูเขา.
อุปานฺตภู นครปพฺพตาทิโน อุปานฺตภู สมีปภูมิ ปริสโร พื้นที่ที่อยู่ติดกับเมืองและภูเขาเป็นต้น ชื่อว่าปริสระ. ปริโต สรนฺติ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ ปริสโร พื้นที่ที่มีเมืองและภูเขารายล้อม ชื่อว่าปริสระ
คอก, คอกปศุสัตว์, สถานที่ใช้กักขังสัตว์เลี้ยง ๓ ศัพท์
โคฏฺฐ (โคสทฺทูปปท+ฐา คตินิวตฺติมฺหิ+อ) คอก, คอกปศุสัตว์, สถานที่ใช้กักขังสัตว์เลี้ยง.
คาโว ติฏฺฐนฺติ อตฺราติ โคฏฺฐํ คอกเป็นที่อยู่ของโค ชื่อว่าโคฏฐะ (ซ้อน ฏฺ, ลบสระหน้า). พฺราหฺมโณ พหินคเร คาโว โคฏฺเฐ ทุหาเปติ๑ พราหมณ์ให้คนรีดนมวัวที่คอกนอกเมือง
โคกุล (โคสทฺทูปปท+กุล สงฺขฺยาเน+อ) คอก, คอกปศุสัตว์, สถานที่ใช้กักขังสัตว์เลี้ยง.
คาโว กุลนฺติ เอตฺถาติ โคกุลํ คอกที่เจ้าของใช้นับจำนวนโค ชื่อว่าโคกุละ. คุนฺนํ กุลํ ฆรนฺติ วา โคกุลํ หรือคอกสำหรับโค ชื่อว่าโคกุละ (โค+กุล). เถรา ภิกฺขู ปตฺตจีวรมาทาย เยน จิตฺตสฺส คหปติโน โคกุลํ เตนุปสงฺกมึสุ๒ ภิกษุเถระพากันถือบาตรและจีวรเข้าไปยังคอกโคของจิตตะคฤหบดี
วช (วช คติยํ+อ) คอก, คอกปศุสัตว์, สถานที่ใช้กักขังสัตว์เลี้ยง.
คาโว วชนฺติ เอตฺถาติ วโช สถานที่ที่ฝูงโคไปสู่ ชื่อว่าวชะ. มนุสฺสา วชํ คตา๓ มนุษย์ทั้งหลายไปยังคอก
คอกมีอีกหลายศัพท์ เช่น โคฏฺฐานก, โคฏฺฐาน
ถนน, ทาง ๑๑ ศัพท์
มคฺค (มชฺช สุทฺธิยํ+ณ) ถนน, ทาง, หนทาง, มรรค.
ปถิเกหิ มชฺชเต นิตฺติณํ กรียเตติ มคฺโค ทางที่นักเดินทางพากันทำให้สะอาดไม่ให้มีหญ้าขึ้น ชื่อว่ามัคคะ (ลบ ณฺ, อาเทศ ชฺช เป็น คฺค). ปถิเกหิ มคฺคียเตติ วา มคฺโค ทางที่คนเดินทางพากันแสวงหา ชื่อว่ามัคคะ (มคฺค อนฺเวสเน+อ).
* มชฺ.มชฺ. ๑๓/๖๗๔/๖๒๔
* สำ.สฬา. ๑๘/๕๕๔/๓๕๖
* วิ.มหาวิ. ๒/๕๕๖/๓๗๐
๒๕๕
มํ สิวํ คจฺฉติ เอตฺถ, เอเตนาติ วา มคฺโค หรือทางที่บุคคลใช้ดำเนินไปสู่นิพพาน ชื่อว่ามัคคะ (มสทฺทูปปท+คมุ คติมฺหิ+อ, ซ้อน คฺ, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ). มูฬฺหสฺส วา มคฺคํ อาจิกฺเขยฺย๑ หรือบอกทางแก่คนหลงทาง
ปนฺถ (ปถิ คติยํ+อ) ถนน, ทาง, หนทาง.
ปนฺถยนฺติ ยนฺตฺยเนนาติ ปนฺโถ หนทางที่บุคคลพากัน ใช้เป็นทางเดิน ชื่อว่าปันถะ (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ)
ยถา นที จ ปนฺโถ จ ปานาคารํ สภา ปปา
เอวํ โลกิตฺถิโย นาม นาสํ กุชฺฌนฺติ ปณฺฑิตา.๒
แม่น้ำ ถนน ร้านเหล้า หอประชุม และบ่อน้ำดื่ม เป็นฉันใด ชื่่อว่าหญิงชาวโลกก็เป็นฉันนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่โกรธหญิงเหล่านั้น
ปถ (ปถิ คติยํ+อ) ถนน, ทาง, หนทาง.
ปถติ ยาติ อเนนาติ ปโถ ถนนที่บุคคลพากันใช้เป็นทางเดิน ชื่อว่าปถะ
ธมฺโม ปโถ มหาราช อธมฺโม ปน อุปฺปโถ
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ.๓
มหาบพิตร ธรรมเป็นทางถูก ส่วนอธรรมเป็นทางผิด อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมส่งให้ถึงสุคติ
อทฺธ (อร คมเน+ธ) ถนน, ทาง, ทางไกล.
อรนฺติ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ อทฺธา ทางสำหรับเดิน ชื่อว่าอัทธะ (อาเทศ รฺ เป็น ทฺ). สตฺตานํ วิชิตํ อสติ เขเปตีติ อทฺธา ทางที่ขับไล่ที่อยู่ของสัตว์ ชื่อว่าอัทธะ (อสุ เขปเน+ธ, อาเทศ สฺ เป็น ทฺ). สตตํ อตตีติ อทฺธา ทางเดินอย่างเดียว ชื่อว่าอัทธะ (อต สาตจฺจคมเน+ธ, อาเทศ ตฺ เป็น ทฺ). น ปติฏฺฐาติ เอตฺถาติ อทฺธา ทางที่หญ้าเกิดขึ้นไม่ได้ ชื่อว่าอัทธะ (น+ฐา คตินิวตฺติมฺหิ+อ, อาเทศ น เป็น อ, ฐา เป็น ธ, ซ้อน ทฺ). อทฺธศัพท์ถ้าเป็นปุงลิงค์จัดเป็นราชาทิคณะ ถ้าเป็นนปุงสกลิงค์เป็นจิตตาทิคณะ. อทฺธาสทฺโทยํ กาเลปิ อทฺธาศัพท์นี้ใช้ในกาลเวลาก็มี. เตน โข ปน สมเยน ภิกฺขู มนุสฺเสหิ สทฺธึ อทฺธานํ คจฺฉนฺติ๔ ครั้งนั้น ภิกษุพากันเดินทางไปพร้อมกับผู้คน
อญฺชส (อญฺช คติยํ+อส) ถนน, ทาง.
อญฺเชติ คจฺฉติ เอตฺถาติ อญฺชสํ ทางสำหรับเดิน ชื่อว่าอัญชสะ. ตฺวญฺจ เม มคฺคมกฺขาหิ อญฺชสํ อมโตคธํ๕ ขอท่านจงบอกทางดำเนินไปสู่อมตมหานิพพานแก่เราด้วยเถิด
๑ วิ.มหาวิ. ๑/๔/๙ ๒ ขุ.ชา. ๒๗/๖๕/๒๑ ๓ ขุ.ชา. ๒๘/๙๒/๓๙
๔ วิ.มหาวิ. ๒/๔๗๙/๓๑๑ ๕ ขุ.เถร. ๒๖/๒๘๑/๒๙๔
๒๕๖
วฏุม (วช คติยํ+อุม) ถนน, ทาง.
วชนฺติ เอตฺถาติ วฏุมํ ทางสำหรับเดิน ชื่อว่าวฏุมะ (อาเทศ ชฺ เป็น ฏฺ). โสหํ ตเทว ปุนปฺปุนํ วฏุมํ อาจริสฺสามิ๑ ข้าพเจ้าจักดำเนินไปตามทางนั้นเสมอๆ
ปชฺช (ปท คติยํ+ณฺย) ถนน, ทาง.
ปชฺชติ คจฺฉติ เอตฺถาติ ปชฺโช ทางสำหรับเดิน ชื่อว่า ปัชชะ (อาเทศ ทฺย เป็น ชฺ, ซ้อน ชฺ). มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชสํ วฏุมายนํ๒ ทั้ง ๖ บท แปลว่าทางเหมือนกัน
อยน (อย คติยํ+ยุ) ถนน, ทาง.
อยติ คจฺฉติ เอตฺถาติ อยนํ ทางสำหรับเดิน ชื่อว่าอยนะ (อาเทศ ยุ เป็ อน). สมฺโพธิ ปรํ อยนํ ๓ ปัญญาญาณเป็นทางดำเนินไปสู่นิพพาน
ปทวี (ปท คติยํ+อว+อี) ถนน, ทาง.
ปทติ คจฺฉติ เอตฺถาติ ปทวี ทางสำหรับเดิน ชื่อว่าปทวี (ลบสระหน้า)
วตฺตนี (วตฺต วตฺตเน+ยุ+อี) ถนน, ทาง.
วตฺตติ เอตฺถาติ วตฺตนี ทางเป็นที่ไป ชื่อว่าวัตตนี (อาเทศ ยุ เป็น อน, ลบสระหน้า)
ปทฺธติ (ปาทสทฺทูปปท+ธิ หึสายํ+ติ) ถนน, ทาง.
ปถิเกหิ ปาเทหิ หญฺญเตติ ปทฺธติ ทางที่ถูกเท้าของคนเดินทางเหยียบย่ำ ชื่อว่าปัทธติ (ลบ อ ที่ ท, รัสส อาเป็น อ, อาเทศ อิ ที่ ธิ เป็น อ). อิตฺถิยํ ปทวีศัพท์ วตฺตนีศัพท์ และ ปทฺธติศัพท์ใช้ในอิตถีลิงค์
ทางกว้าง ๒ ศัพท์
ชงฺฆมคฺค (ชงฺฆา+มคฺค) ทางเดินเท้า.
ชงฺฆาหิ คโต มคฺโค ชงฺฆมคฺโค ทางที่ต้อง เดินด้วยเท้า ชื่อว่าชังฆมัคคะ (รัสสะ อา เป็น อ). ชงฺฆมคฺโค วา สกฏมคฺโค วา วฏฺฏติ๔ จะเป็นทางเดินเท้าหรือทางเกวียนก็ใช้ได้. ปจฺเจกพุทฺธานํ ชงฺฆมคฺคคมนํ วิย๕ เหมือนการไปตามทางที่พระปัจเจกพุทธเจ้าใช้เดิน
สกฏมคฺค (สกฏ+มคฺค) ทางเกวียน.
สกเฏหิ คโต มคฺโค สกฏมคฺโค ทางที่ต้องไปด้วยเกวียน ชื่อว่าสกฏมัคคะ. พุทฺธานํ มหาสกฏมคฺคคมนํ วิย โหติ๖ เหมือนการเสด็จ ไปตามทางเกวียนใหญ่ของพระพุทธเจ้า
๑ ขุ.ชา. ๒๗/๑๑๑๑/๒๓๕ ๒ ขุ.จูฬนิ. ๓๐/๕๖๘/๒๗๗ ๓ วิ.อฏฺ. ๑/๒๒๖
๔ วิ.อฏฺ. ๓/๑๑๙ ๕ ขุ.อฏฺ. ๔๗/๑๗๗/๓๗๗ ๖ ขุ.อฏฺ. ๔๗/๑๗๗/๓๗๗
๒๕๗
[๑๙๒] เอกปเทฺยกปทิเก กนฺตาโร ตุ จ ทุคฺคเม.
ทางแคบ, ทางเล็ก
เอกปที (เอก+ปท+อี) ทางแคบ, ทางเล็ก.
เอกปทิเก เอกปที เอกปทีศัพท์เป็นอิตถีลิงค์ ใช้ในทางแคบฝ่าเท้าเดียว (คือทางพอเดินไปได้คนเดียว เดินสวนทางกันไม่ได้). คจฺฉตํ เอโก อสหาโย ปาโท อสฺสนฺติ เอกปที ทางแคบสำหรับเดินทีละคน ชื่อว่าเอกปที. อยํ เอกปที ราช๑ ขอเดชะ ทางนี้เดินไปได้ทีละคน พระเจ้าข้า
ทางกันดาร, ทางไม่ดี ๒ ศัพท์
กนฺตาร (กสทฺทูปปท+ตร ตรเณ+ณ) ทางกันดาร, ทางไม่ดี, ทางที่สัญจรลำบาก.
เกน ปานีเยน ตรนฺติ อติกฺกมนฺติ เอตฺถาติ กนฺตาโร ทางที่คนเดินทางหาน้ำดื่มไม่ได้ ชื่อว่ากันตาระ (ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). โจรกนฺตาราทีสุ ปนายํ รูฬฺหิวเสน วุตฺโต ทางกันดารนี้ท่านกล่าวโดยรวมถึงทางที่กันดารเพราะมีโจรเป็นต้น. สปฺปฏิภยตฺตา กนฺตติ ฉินฺทติ นิจฺจคมนาคมนเมตฺถาติ กนฺตาโร ทางที่มนุษย์ตัดการสัญจรไปมาโดยสิ้นเชิง เพราะมีภัยอันตราย ชื่อว่ากันตาระ (กติ เฉทเน+อาร, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ). เกน อุทเกน ทรียติ ปทาลิยตีติ กนฺตาโร เส้นทางกันดารที่บุคคลขาดน้ำ ชื่อว่ากันตาระ (กสทฺทูปปท+ ทร วิทารเณ+ณ, ลงนิคหิตอาคม, อาเทศนิคหิตเป็น นฺ, อาเทศ ท เป็น ต, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ทุคฺคเม กนฺตาโร กนฺตารศัพท์ใช้ในทางที่สัญจรลำบาก. เสยฺยถาปิ มหาราช ปุริโส สธโน สโภโค กนฺตารํ อทฺธานมคฺคํ ปฏิปชฺเชยฺย ทุพฺภิกฺขํ สปฺปฏิภยํ ๒ มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษมีทรัพย์สมบัติ เดินทางไกล กันดาร หาอาหารได้ยาก ทั้งมีภัยเฉพาะหน้า
ทุคฺคม (ทุ+คม คติมฺหิ+อ) ทางกันดาร, ทางไม่ดี, ทางที่สัญจรลำบาก.
ทุกฺเขน คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ ทุคฺคโม ทางที่มนุษย์สัญจรด้วยความลำบาก ชื่อว่าทุคคมะ (ซ้อน คฺ). ทุคฺคโม ภควา วิสโม มคฺโค๓ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทางไม่ดี ทางไม่สม่ำเสมอ
[๑๙๓] ปฏิมคฺโค ปฏิปโถ อทฺธานํ ทีฆมญฺชสํ
สุปฺปโถ ตุ สุปนฺโถ จ อุปฺปถํ ตฺวปถํ ภเว.
ทางสวน, ทางกลับ ๒ ศัพท์
ปฏิมคฺค (ปติ+มคฺค) ทางสวน, ทางกลับ.
ปฏิ อภิมุเขน คนฺตพฺโพ มคฺโค ปฏิมคฺโค ทางที่บุคคลสวนมาข้างหน้าได้ ชื่อว่าปฏิมัคคะ (อาเทศ ตฺ เป็น ฏฺ). ปฏิมคฺคํ อาคนฺตฺวา๔ สวนทางมา
๑ ขุ.ชา. ๒๘/๑๔๖/๕๙ ๒ ที.สีล. ๙/๑๒๖/๙๗ ๓ สำ.สคาถ. ๑๕/๒๓๕/๖๖
๔ ธมฺม.อฏฺ. ๑๙/๕๒
๒๕๘
ปฏิปถ (ปติ+ปถ) ทางสวน, ทางกลับ.
ปฏิ อภิมุเขน คนฺตพฺโพ ปโถ ปฏิปโถ ทางที่มีคนเดินสวนมาข้างหน้าได้ ชื่อว่าปฏิปถะ (อาเทศ ตฺ เป็น ฏฺ). เสฏฺฐี คหปติ รเถน ปฏิปถํ อาคจฺฉนฺโต๑ ท่านเศรษฐีคฤหบดีนั่งรถสวนทางมา
ทางไกล
อทฺธาน (อทฺธ+อยน) ทางไกล.
อทฺธานํ ทีฆํ อญฺชสํ ทางอันยาวไกล ชื่อว่าอัทธานะ. ทีฆมญฺชสํ อติทูโร มคฺโค อทฺธานนฺติ วุจฺจเต ทางที่ยาวไกลท่านเรียกว่าอัทธานะ. อทฺธานํ อยนํ อทฺธานํ ทางยาวไกล ชื่อว่าอัทธานะ (ลบ ย, ลบสระหน้าแล้วทีฆะสระหลัง). กจฺจิสิ อปฺปกิลมเถน อทฺธานํ อาคโต๒ เธอเดินทางมาไกล ลำบากบ้างไหม
ทางดี, ทางถูก ๒ ศัพท์
สุปฺปถ (สุ+ปถ) ทางดี, ทางถูก.
โสภโน ปโถ สุปฺปโถ ทางดี ชื่อว่าสุปปถะ (ซ้อน ปฺ)
สุปนฺถ (สุ+ปนฺถ) ทางดี, ทางถูก.
โสภโน ปนฺโถ สุปนฺโถ ทางดี ชื่อว่าสุปันถะ
ไม่ใช่ทาง, ทางผิด ๒ ศัพท์
อุปฺปถ (อุ+ปถ) ไม่ใช่ทาง, ทางผิด.
คนฺตพฺพปถาภาวโต อเปตํ อุปฺปถํ ทางที่ควรเว้น เพราะไม่ใช่ทางที่บุคคลควรไป ชื่อว่าอุปปถะ (ซ้อน ปฺ). อุปฺปถํ คณฺหาติ มิจฺฉาทิฏฺฐึ คณฺหาติ๓ ถือเอาทางผิด ถือเอาความเห็นผิด
อปถ (น+ปถ) ไม่ใช่ทาง, ทางผิด.
อคนฺตพฺพปถภาวโต อเปตํ อปถํ ทางที่ควรเว้น เพราะเป็นทางที่บุคคลไม่ควรไป ชื่อว่าอปถะ (อาเทศ น เป็น อ)
[๑๙๔] ฉตฺตึสปรมาณูน- เมโกณุ จ ฉตฺตึส เต
ตชฺชารี ตาปิ ฉตฺตึส รถเรณุ ฉตฺตึส เต.
[๑๙๕] ลิกฺขา ตา สตฺต อูกา ตา ธญฺญมาโสติ สตฺต เต
สตฺตงฺคุลามุทฺวิจฺฉ วิทตฺถิ ตา ทุเว สิยุํ.
[๑๙๖] รตนํ ตานิ สตฺเตว ยฏฺฐิ ตา วีสตูสภํ
คาวุตมุสภาสีติ โยชนํ จตุคาวุตํ.
๑ วิ.มหาวิ. ๒/๗๘๑/๕๑๔ ๒ วิ.มหาวิ. ๑/๕๐๐/๓๓๕ ๓ ขุ.มหานิ. ๒๙/๒๓๘/๑๗๘
๒๕๙
มาตราวัด
๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู
๓๖ อณู เป็น ๑ ตัชชารี
๓๖ ตัชชารี เป็น ๑ รถเรณู
๓๖ รถเรณู เป็น ๑ ลิกขา
๗ ลิกขา เป็น ๑ อูกา
๗ อูกา เป็น ๑ ธัญญมาสะ (เมล็ดข้าวเปลือก)
๗ ธัญญมาสะ เป็น ๑ อังคุลิ (นิ้ว)
๑๒ อังคุลิ เป็น ๑ วิทัตถิ (คืบ)
๒ วิทัตถิ เป็น ๑ รตนะ (ศอก)
๗ รตนะ เป็น ๑ ยัฏฐิ (ไม้วัด)
๒๐ ยัฏฐิ เป็น ๑ อุสภะ (ระยะเสียงโคร้อง)
๘๐ อุสภะ เป็น ๑ คาวุตะ (พอมองเห็นโค)
๔ คาวุตะ เป็น ๑ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร)
ชื่อมาตราวัด
ปรมาณุ (ปรม+อณุ) ปรมาณู.
อณุโตปิ อณุภรตฺตา ปรโม อณุ, อนุโต วา ปรโมติ ปรมาณุ อณูที่ละเอียดยิ่งขึ้น หรือละเอียดยิ่งกว่าอณู เพราะเล็กกว่าอณู ชื่อว่าปรมาณุ (ลบสระหน้าแล้วทีฆะสระหลัง)
อณุ (อณ ปวตฺตเน+อุ) อณู.
สุขุมภาเวน อณติ ปวตฺตตีติ อณุ มาตราที่มีลักษณะละเอียด ชื่อว่าอณุ. สุขุมภาเวน อณตีติ อณุ มาตราที่เปล่งด้วยเสียงเพียงเล็กน้อย ชื่อว่าอณุ (อณ สทฺเท+อุ). ปรมาณูนํ ฉตฺตึส เอโก อณุ นาม ๓๖ ปรมาณู ชื่อว่าอณู
ตชฺชารี (ต+ชร ชีรเณ+ณ+อี) ตัชชารี.
ตํ ตํ อตฺตโน นิสฺสยํ มลีนกรณวเสน ชราเปตีติ ตชฺชารี มาตราที่ทำสิ่งอาศัยตนนั้นๆ ให้คร่ำคร่า โดยการทำให้เศร้าหมอง จึงชื่อว่าตัชชารี (ซ้อน ชฺ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา, ลบสระหน้า). เต อณโว ฉตฺตึส ตชฺชารี นาม ๓๖ อณูนั้น ชื่อว่าตัชชารี
รถเรณุ (รถ+เรณุ) รถเรณู.
รถานํ สญฺจรณวเสน ปวตฺตา เรณุ รถเรณุ ฝุ่นละอองที่ปลิวไปตามหลังรถ ชื่อว่ารถเรณุ (มีขนาดเท่ากับฝุ่นละอองที่ปลิวไปตามหลังรถ). ตาปิ ตชฺชาริโย ฉตฺตึส รถเรณุ นาม ๓๖ ตัชชารี ชื่อว่ารถเรณู
ลิกฺขา (ลกฺข ทสฺสเน+อ+อา) ลิกขา.
ปกติจกฺขุนาปิ ลกฺขียเตติ ลิกฺขา ฝุ่นละอองที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ชื่อว่าลิกขา (อาเทศ อ เป็น อิ). เต รถเรณโว ฉตฺตึส ลิกฺขา นาม ๓๖ รถเรณู ชื่อว่าลิกขา
๒๖๐
อูกา (อูกา) อูกา.
อูกาติ วุจฺจติ สิโรวตฺตกิมิ ปลายจะงอยหัวหนอน ท่านเรียกว่าอูกา. ตปฺปมาณตฺตา อูกา มาตรา ชื่อว่าอูกา เพราะมีขนาดเท่าปลายจะงอยหัวหนอนนั้น. ตา ลิกฺขา สตฺต อูกา นาม ๗ ลิกขานั้น ชื่อว่าอูกา
ธญฺญมาส (ธญฺญ+มาส) เมล็ดข้าวเปลือก, ธัญมาส.
มสิยเต ปริมาณิยเตติ มาโส มาตราที่บุคคลนับ ชื่อว่ามาสะ (มสิ ปริมาเณ+ณ, ลบ ณฺ, วุทธิ อ เป็น อา). ธญฺโญ วีหิเยว ปริมาณิตพฺพตฺตา มาโส จาติ ธญฺญมาโส เมล็ดข้าวเปลือกเป็นมาตราสำหรับนับ เพราะควรนับด้วยขนาดเมล็ดข้าวเปลือก จึงชื่อว่าธัญญมาสะ. ตา สตฺต อูกา ธญฺญมาโส นาม ๗ อูกา ชื่อว่าธัญญมาสะ
องฺคุล, องฺคุลิ (องฺค คมเน+อุล,อุลิ) นิ้ว, องคุลี.
องฺคติ อุคฺคจฺฉตีติ องฺคุลํ, องฺคุลิ, กรสาขา อวัยวะที่ชี้ขึ้น ชื่อว่าอังคุละและอังคุลิ ได้แก่นิ้วมือ(สำหรับใช้วัด). เต สตฺต ธญฺญมาสา องฺคุลํ นาม ๗ เมล็ดข้าวเปลือกนั้น ชื่อว่าอังคุละ. เตน องฺคุลคฺเคน ตํ องฺคุลคฺคํ ปรามสติ๑ ลูบคลำปลายนิ้วนั้นด้วยปลายนิ้ว
วิทตฺถิ (วิ+ตนุ วิตฺถาเร+ติ) คืบ, คืบวิทัตถิ.
อมุทฺวิจฺเฉติ อทุํ ทฺวาทสงฺคุลํ วิทตฺถิ นาม บทว่า "อมุทฺวิจฺเฉ" ในคาถา คือ ๑๒ นิ้ว ชื่อว่าวิทัตถิ. กฎิฏฺฐสหิเตนงฺคุฏฺเฐน วิตฺถารียเต วิธียเตติ วา วิทตฺถิ คืบที่ท่านวัดด้วยหางไถที่เป็นส่วนโค้ง ชื่อว่าวิทัตถิ (อาเทศ ต ของ ตนุ เป็น ท, นฺ เป็น ตฺ, ต ของ ติ เป็น ถ). ทีฆโส เทฺว วิทตฺถิโย สุคตวิทตฺถิยา๒ ด้านยาว ๒ คืบสุคต
รตน (รมุ กีฬายํ+ตน) ศอก, ศอกรตนะ.
รมติ เอเตนาติ รตนํ ศอกช่วยให้ยินดี(ใช้วัดเอาตามต้องการ) ชื่อว่ารตนะ (ลบ มฺ ที่สุดธาตุ). ตา ทุเว วิทตฺถี รตนํ สิยุํ ๒ คืบ เป็น ๑ ศอก
ยฏฺฐิ (ยต ปยตเน+ติ) ไม้, ไม้วัด, ไม้ค้ำ, ไม้เท้า, ไม้ยัฏฐิ.
ยตตีติ ยฏฺฐิ ช่วงที่บุคคลพยายามวัด ชื่อว่ายัฏฐิ (อาเทศ ตฺตฺ เป็น ฏฺฐฺ). ตานิ สตฺเตว รตนานิ ยฏฺฐิ นาม ๗ ศอกนั้น ชื่อว่าไม้วัด
อุสภ (อุส ทาเห+อภ) อุสภะ, ระยะได้ยินเสียงโคร้อง.
อุสภนทนฺตรํ อุสภํ ระยะที่พอได้ยินเสียงโคร้อง ชื่อว่าอุสภะ. ตา วีสติ ยฏฺฐิโย อุสภํ นาม ๒๐ ไม้วัด ชื่อว่าอุสภะ
คาวุต (โค+ยุต) คาวุต.
ควํ คเวหิ วา ยุตํ คาวุตํ ระยะที่มองเห็นโคเดินเหมือนหยุดนิ่ง ชื่อว่าคาวุตะ (อาเทศ โค เป็น คา, ย เป็น ว). อุสภานํ อสีติปฺปมาณํ คาวุตํ นาม ๘๐ อุสภะ ชื่อว่าคาวุตะ. ราชราชมหามตฺตา วิหารํ การาเปตฺวา คาวุตํ วา อฑฺฒโยชนํ วา โยชนํ วา๓ พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาให้สร้างวิหารกว้าง ๑ คาวุตบ้าง ครึ่งโยชน์บ้าง ๑ โยชน์บ้าง
๑ อภิ.กถา. ๓๗/๑๐๗๓/๓๔๓ ๒ วิ.มหาวิ. ๒/๗๖๔/๕๐๕ ๓ วิ.อฏฺ. ๓/๒๔
๒๖๑
โยชน (ยุช โยเค+ยุ) โยชน์.
ยุชฺชเตติ โยชนํ ระยะที่ท่านกำหนดไว้ ชื่อว่าโยชนะ (วุทธิ อุ เป็น โอ, อาเทศ ยุ เป็น อน). "เอตฺตกํ โยชนํ นาม โหตู"ติ จตุคาวุเตหิ สมาธานนฺตฺยตฺโถ หมายความว่า การกำหนดด้วย ๔ คาวุตว่า "ระยะเท่านี้ ชื่อว่าเป็นโยชน์". ตํ จตุคาวุตํ โยชนํ นาม ๔ คาวุตนั้น ชื่อว่าโยชน์. ธมฺโม อานนฺท ปาสาโท ปุรตฺถิเมน จ ปจฺฉิเมน จ โยชนํ อายาเมน อโหสิ๑ อานนท์ ธรรมปราสาท ทั้งด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก มีความยาวด้านละ ๑ โยชน์
มติของผู้เขียนเกี่ยวกับมาตราวัด
๑ ปรมาณู เท่ากับ ๑ ใน ๘๒,๓๐๑,๑๘๔ ส่วนของ ๑ เมล็ดข้าวเปลือก หมายความว่า ใน ๑ เมล็ดข้าวเปลือกนั้น นับได้ถึง ๘๒,๓๐๑,๑๘๔ ปรมาณู
๑ อณู เท่ากับ ๑ ใน ๒,๒๘๖,๑๔๔ ส่วนของ ๑ เมล็ดข้าวเปลือก หมายความว่า ใน ๑ เมล็ดข้าวเปลือกนั้น นับได้ถึง ๒,๒๘๖,๑๔๔ อณู
๑ ตัชชารี เท่ากับ ๑ ใน ๖๓,๕๐๔ ส่วนของ ๑ เมล็ดข้าวเปลือก หมายความว่า ใน ๑ เมล็ดข้าวเปลือกนั้น นับได้ถึง ๖๓,๕๐๔ ตัชชารี
๑ รถเรณู เท่ากับ ๑ ใน ๑,๗๖๔ ส่วนของ ๑ เมล็ดข้าวเปลือก หมายความว่า ใน ๑ เมล็ดข้าวเปลือกนั้น นับได้ถึง ๑,๗๖๔ รถเรณู
๑ ลิกขา เท่ากับ ๑ ใน ๔๙ ส่วนของ ๑ เมล็ดข้าวเปลือก หมายความว่า ใน ๑ เมล็ดข้าวเปลือกนั้น นับได้ถึง ๔๙ ลิกขา
๑ อูกา เท่ากับ ๑ ใน ๗ ส่วนของ ๑ เมล็ดข้าวเปลือก หมายความว่า ใน ๑ เมล็ดข้าวเปลือกนั้น นับได้ถึง ๗ อูกา
๑ เมล็ดข้าวเปลือกที่ท่านใช้เป็นมาตราวัดในที่นี้ หมายถึง เมล็ดข้าวเปลือกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางด้านตัด ๐.๒๑๒๕ เซนติเมตร
นำเอาเมล็ดข้าวเปลือกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางด้านตัด ๐.๒๑๒๕ เชนติเมตร มาวางนอนเรียงกัน ๗ เมล็ด นับเป็น ๑ องคุลี เท่ากับ ๑.๔๘๘ เซนติเมตรโดยประมาณ
๑ คืบ เท่ากับ ๑๗.๘๕๗ เซนติเมตร
๑ ศอก เท่ากับ ๓๕.๗๑๔ เซนติเมตร
๑ ไม้วัด เท่ากับ ๒.๔๙๙ เมตร
๑ อุสภะ เท่ากับ ๕๐ เมตร
๑ คาวุต เท่ากับ ๔ กิโลเมตร
๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร
๑ ที.มหา. ๑๐/๑๗๗/๒๐๙
๒๖๒
[๑๙๗] ธนุปญฺจสตํ โกโส กรีสํ จตุรมฺพณํ
อพฺภนฺตรํ ตุ หตฺถาน- มฏฺฐวีส ปมาณโต.
มาตราวัดโบราณ
โกส (กุส อวฺหาเน+ณ) โกสะ.
กุสนํ อวฺหานํ โกโส การร้องเรียก ชื่อว่าโกสะ (ลบ ณฺ, วุทธิ อุ เป็น โอ). อิธ ปน โกสปฺปมาณตฺตา โกโส, ทฺวิสหสฺสกรปฺปมาโณ ในที่นี้ มาตราชื่อว่าโกสะ เพราะมีระยะประมาณร้องเรียกกันได้ยิน คือประมาณ ๒,๐๐๐ ศอก. อาโรปิตานํ อาจริยธนูนํ ปญฺจสตํ โกโส นาม ๕๐๐ ช่วงคันธนูใหญ่ที่ขึ้นสายแล้ว ชื่อว่าโกสะ. อนาโรปิตานนฺตฺยปเร อาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า คันธนูที่ยังไม่ขึ้นสาย (ประมาณ ๒,๕๐๐ ศอก). คาวุตสฺส จตุตฺโถ ภาโค โกโสติ วุจฺจติ, ทฺวิสหสฺสทณฺฑปฺปมาณฏฺฐานํ๑ ๑ ส่วน ๔ คาวุต เรียกว่าโกสะ ได้แก่ระยะประมาณ ๒,๐๐๐ ศอก (ประมาณ ๑ กิโลเมตร)
บางคัมภีร์กล่าวว่า
จตุกฺกาธิวีสติยา องฺคุเลหิ กโร ภเว,
ขฺยาตมฏฺฐสหสฺเสหิ โกสมานํ วิภาวินา.
๒๔ องคุลี เป็น ๑ กระ (๑ ศอก หรือ ๓๕.๗๑๒ เซนติเมตร), ๘,๐๐๐ ศอก ผู้รู้กล่าวว่าเป็น ๑ โกสะ
มาตราวัดพื้นที่ ๒
พื้นที่หว่านพืชได้ ๔ อัมพณะ (๔๔ ทะนาน) เป็น ๑ กรีส
๒๘ ศอกโดยประมาณ เป็น ๑ อัพภันดร
กรีส (กร กรเณ+อีส) กรีส, พื้นที่ประมาณแปลงกล้า.
จตุรมฺพณวีหิพีชชาตโรปนโยคฺโย ภูมิปฺปเทโส กรีสํ นาม พื้นที่ที่เพียงพอต่อการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกได้ ๔ อัมพณะ (๔๔ ทะนาน) ชื่อว่ากรีสะ. กโรนฺติ เอตฺถ กสนโรปนาทิกนฺติ กรีสํ พื้นที่ที่ชาวนาไถและหว่านเป็นต้น ชื่อว่ากรีสะ. จตุรมฺพณพีชชาตานิ โรเปนฺติ เอตฺถาติ จตุรมฺพณํ พื้นที่ที่พอหว่านเมล็ดพันธุ์พืชได้ ๔ อัมพณะ ชื่อว่าจตุรัมพณะ (จตุ+อมฺพณ, ลง รฺ อาคม). อมฺพณํ เอกาทสโทณมตฺตํ ๑ อัมพณะ ประมาณ ๑๑ ทะนาน. อญฺเญ ปน "จตุรมฺพณํ จตุยฏฺฐิกํ ฐานํ กรีสํ นาม" ติ วทนฺติ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พื้นที่ ๔ อัมพณะ คือ ๔ ยัฏฐิ (๑๒๕ ศอก) ชื่อว่ากรีสะ
อพฺภนฺตร (อภิ+อนฺตร) อัพภันดร, พื้นที่กว้างประมาณยุ้งเก็บข้าวเปลือก.
ปมาณโต หตฺถานมฏฺฐวีสปฺปมาณํ ฐานํ อพฺภนฺตรํ นาม พื้นที่ประมาณ ๒๘ ศอก (หรือ ๑๐ เมตร) ชื่อว่าอัพภันตระ. อพฺภนฺตเร อนฺโตโกฏฺฐาเส ชาตํ, น พหิโกฏฺฐาเสติ อพฺภนฺตรํ พื้นที่ภายใน ยุ้งเก็บข้าวเปลือก ไม่ใช่ภายนอก ชื่อว่าอัพภันตระ (อาเทศ อภิ เป็น อพฺภ, ลบสระหน้า). ยตฺถ หิ โย โย ฐิโต นิสินฺโน วา, ตตฺถ ตตฺถ สมนฺตา อฏฺฐวีสติหตฺถปฺปมาณํ ฐานํ ตสฺส ตสฺส อพฺภนฺตรํ ฐานํ นาม ได้แก่พื้นที่ภายในประมาณ ๒๘ ช่วงแขนของบุคคลไม่ว่ายืนหรือนั่งรายล้อมรอบที่นั้นไว้ ชื่อว่าอัพภันตระ
มติของผู้เขียน
๑ กรีส เท่ากับ ๓๙.๙๘๔ ตารางเมตร
๑ อัพภันดร เท่ากับ ๒๘ ตารางศอก หรือ ๑๐ ตารางเมตร
ภูมิวคฺควณฺณนา นิฏฺฐิตา.
ว่าด้วยแผ่นดินเป็นต้น จบ
๑ องฺ.ฏี. ๒/๑๑๙
<<<<< >>>>>